ข้ามไปเนื้อหา

เทศบาลเมืองท่าข้าม

พิกัด: 9°6′21.2″N 99°13′57.4″E / 9.105889°N 99.232611°E / 9.105889; 99.232611
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลเมืองท่าข้าม
ตัวเมืองท่าข้ามบริเวณหน้าสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี
ตัวเมืองท่าข้ามบริเวณหน้าสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองท่าข้าม
ตรา
คำขวัญ: 
ท่าข้ามเมืองน่าอยู่ คนมีคุณภาพและคุณธรรม เป็นผู้นำองค์กรการเรียนรู้และกีฬา เมืองแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่น
แผนที่
ทม.ท่าข้ามตั้งอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทม.ท่าข้าม
ทม.ท่าข้าม
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองท่าข้ามในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทม.ท่าข้ามตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทม.ท่าข้าม
ทม.ท่าข้าม
ทม.ท่าข้าม (ประเทศไทย)
พิกัด: 9°6′21.2″N 99°13′57.4″E / 9.105889°N 99.232611°E / 9.105889; 99.232611
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
อำเภอพุนพิน
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีวสุ ประดิษฐพร
พื้นที่
 • ทั้งหมด14.10 ตร.กม. (5.44 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (พฤษภาคม พ.ศ. 2567)[1]
 • ทั้งหมด17,880 คน
 • ความหนาแน่น1,300 คน/ตร.กม. (3,300 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04841701
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลเมืองท่าข้าม เลขที่ 168 ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84130
โทรศัพท์0 7731 1833
เว็บไซต์www.takhamcity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองท่าข้าม เป็นเทศบาลเมืองในอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี มีขนาดพื้นที่ 14.10 ตารางกิโลเมตร มีประชากร ณ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567 จำนวน 17,880 คน[1] เป็นเมืองศูนย์กลางของอำเภอพุนพิน รวมถึงเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางรางของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื่องจากเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี

ภูมิศาสตร์[แก้]

เทศบาลเมืองท่าข้ามมีพื้นที่ 14.10 ตารางกิโลเมตร ลักษณะพื้นที่ตอนใต้เป็นที่สูง ตอนเหนือเป็นที่ราบตั้งอยู่ริมแม่น้ำตาปี มีอาณาเขตทิศเหนือติดต่อตำบลวัดประดู่ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทิศตะวันตกติดต่อตำบลพุนพิน และตำบลท่าข้าม

ส่วนที่มีความหนาแน่นของอาคารมากที่สุดอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำตาปี ต่อเนื่องไปตามเส้นทางสายหลักของชุมชน โดยเฉพาะบริเวณซึ่งกำหนดไว้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย จะมีการขออนุญาตก่อสร้างอาคารมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 68 ของจำนวนพื้นที่การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร รองลงมาจะเป็นบริเวณพาณิชยกรรมที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก พื้นที่บริเวณที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง อาคารที่เพิ่มขึ้นใหม่ในพื้นที่ต่าง ๆ จะเพิ่มมากตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4153 ถนนธราธิบดี และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401

เมืองท่าข้ามเป็นเมืองศูนย์กลางของอำเภอพุนพิน ซึ่งเป็นชุมชนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของจังหวัด โดยเป็นแหล่งซื้อขายสินค้าเกษตร สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าอุตสาหกรรมสำหรับประชาชนซึ่งอาศัยอยู่ตามอำเภอต่าง ๆ ในอดีตเส้นทางคมนาคมทางน้ำมีความสำคัญมาก ปัจจุบันได้ลดความสำคัญลง แต่พื้นที่ของเทศบาลยังมีทางรถไฟ รถยนต์ และเส้นทางคมนาคมขนส่งระหว่างท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานีกับตัวเมืองสุราษฎร์ธานี โดยผ่านในเขตเทศบาลเมืองท่าข้าม

ประวัติ[แก้]

ท่าข้ามที่จะกล่าวถึงในที่นี้ หมายถึงท้องที่ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในอดีตท่าข้ามเป็นท่าเรือริมแม่น้ำตาปี สำหรับข้ามแม่น้ำ เป็นที่ตั้งด่านชายแดนสำหรับตรวจ ผู้คน และเก็บภาษีอากรระหว่างเมืองไชยา กับท้องที่ลำพูนซึ่งเป็นแขวงขึ้นเมืองนครศรีธรรมราช เป็นที่สร้างสะพานข้ามแม่น้ำตาปี ปัจจุบันคือ สะพานจุลจอมเกล้า "ท่าข้าม" เป็นชื่อเรียกอำเภอพุนพินเป็นเวลา 31 ปี คือระหว่าง พ.ศ. 2473–2504

ในอดีตท่าข้ามเคยมีความสำคัญในฐานะชุมทางและจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในฐานะชุมทาง นอกจากจะเป็นท่าเรือสำหรับข้ามแม่น้ำตาปีแล้ว ยังเป็นสถานที่สำคัญในการเดินทางติดต่อผ่านแม่น้ำตาปีไมว่าจะเดินทางไปทางลำน้ำพุมดวงไปยังคีรีรัฐนิคม พนม ตะกั่วป่า พังงา และภูเก็ต หรือไปตามลำน้ำตาปีไม่ว่าตอนสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ส่งกองทัพไปตีเมืองนครศรีธรรมราชใน พ.ศ. 2321 หรือตอนที่พม่าตีเมืองนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2328 ต่างก็ใช้เส้นทางเดินทัพผ่านท่าข้ามทั้งสิ้น จึงเป็นจุดที่ทางฝ่ายเมืองนครศรีธรรมราชตั้งด่านตรวจและตั้งกองทหารไว้กองหนึ่ง

อำเภอพุนพินเป็นอำเภอที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของจังหวัดสุราษฎร์ธานีมาแต่อดีต โดยนักประวัติศาสตร์สันนิษฐานตามจดหมายของพ่อค้าชาวอาหรับ และชาวจีนว่า ชาวอินเดียทาง ภาคใต้ได้มาติดต่อค้าขายกับชาวสุวรรณภูมิแห่งนี้ด้วยเรือสำเภา โดยเดินทางไปยังปากน้ำ คีรีรัฐ (คลองพุมดวง) และที่นั่นได้กลายเป็นเมืองและสถานที่พักสินค้าขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ระหว่าง แม่น้ำตาปีกับแม่น้ำคีรีรัฐ (คลองพุมดวง) มาบรรจบกัน ซึ่งเมืองดังกล่าวนี้ในปัจจุบันคือ ชุมชนเมืองพุนพิน หลังจากมีการปฏิรูปการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการจัดตั้งอำเภอพุนพินขึ้นใน พ.ศ. 2439 ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่หมู่ 1 ตำบลท่าข้าม แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอท่าข้าม" ใน พ.ศ. 2473 ทางราชการได้สั่งยุบอำเภอท่าโรงช้างมารวมกับอำเภอท่าข้ามด้วย จนถึง พ.ศ. 2481 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอพุนพิน" อีกครั้งหนึ่ง ต่อมาใน พ.ศ. 2523 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาสร้างใหม่ ตั้งอยู่ที่ถนนจุลจอมเกล้า หมู่ที่ 3 ตำบลท่าข้าม

บ้านท่าข้ามมีความเจริญเป็นอย่างมาก จึงมีการจัดตั้งสุขาภิบาลขึ้นในท้องที่เป็นลำดับที่ 3 ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีใน พ.ศ. 2498 ชื่อว่า "สุขาภิบาลท่าข้าม"[2] (ต่อจากสุขาภิบาลเมืองสุราษฎร์ธานีและเทศบาลตำบลนาสาร) ต่อมาได้รับยกฐานะขึ้นเป็น "เทศบาลตำบลท่าข้าม" เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2529[3] สำนักงานเทศบาลเปิดทำการเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2529 โดยใช้อาคารห้องประชุมสุขาภิบาลท่าข้ามเป็นสำนักงานชั่วคราว นายนิพนธ์ บุญญภัทโร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีขณะนั้น เป็นประธานพิธีเปิด เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2529 และยกฐานะเป็น "เทศบาลเมืองท่าข้าม" ในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2543[4] ตามลำดับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของพื้นที่ ส่งผลให้การเลือกตั้งของเทศบาลครั้งต่อไป จะต้องเป็นการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรง ตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2543) ที่ประกาศเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2543

การขนส่ง[แก้]

สถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี

เมืองท่าข้ามเป็นศูนย์กลางคมนาคมทางบกของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และภาคใต้ตอนบน และเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี

ทางหลวง[แก้]

มีทางหลวงแผ่นดินสายสำคัญหลายสาย ผ่านในพื้นที่เมืองท่าข้าม ดังนี้

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "สถิติจำนวนประชากร พื้นที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ข้อมูลเดือน พฤษภาคม 2567". สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2024.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (74 ง): (ฉบับพิเศษ) 130-131. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-09. สืบค้นเมื่อ 2022-06-27. วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2498
  3. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลท่าข้าม จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. ๒๕๒๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (99 ก): (ฉบับพิเศษ) 1-5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2022-06-27. วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2529
  4. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองท่าข้าม พ.ศ. ๒๕๔๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 117 (119 ก): 18–20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-09. สืบค้นเมื่อ 2022-06-27. วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2543

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]