วัดบ้านไร่เจริญผล
วัดบ้านไร่เจริญผล | |
---|---|
ที่ตั้ง | เลขที่ 130 หมู่ที่ 5 ทางหลวงชนบท สค.2004 ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 74000 |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | ธรรมยุติกนิกาย |
เจ้าอาวาส | พระครูรัตนธรรมโสภณ (สุทัศน์ ถิรจิตฺโต) |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดบ้านไร่เจริญผล เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 5 บ้านไร่ ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
ประวัติ
[แก้]วัดบ้านไร่เจริญผลเป็นวัดมอญ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2414 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เดิมมีเนื้อที่ 25 ไร่ เนื่องจากวัดนี้อยู่ติดกับคลองที่มีเรือเครื่องวิ่งผ่านไปมาเป็นประจำ จึงถูกคลื่นซัดเซาะที่ของวัดลงน้ำไปเสียเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันมีเนื้อที่เหลือ 17 ไร่ 60 ตารางวา ทางทิศใต้จดคลองสนามชัย ทิศตะวันออกจดโรงเรียน ทิศตะวันตกจดคลองวัดบ้านไร่
อาคารเสนาสนะ
[แก้]อุโบสถกว้าง 5.50 เมตร ยาว 12.50 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2485 เป็นอาคารเครื่องไม้หลังคาซ้อนชั้น 2 ชั้น หลังคามุงกระเบื้องซีเมนต์สีแดงใช้ปูนปั้นทับสันหลังคา ช่อฟ้าใบระกาปั้นปูนเป็นรูปหงส์ทาสีทอง มีประตูทางเข้าทั้งสองด้านด้านละ 2 ประตู ผนังอุโบสถไม้ทำเป็นช่องหน้าต่างด้านละ 5 ช่อง ทาสีขาว[1] ภายในประดิษฐานพระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 42 นิ้ว ทำจากมรกตซึ่งเป็นศิลปะแบบมอญ นำมาจากประเทศพม่า
เจดีย์พระพุทธรัตนชยันตมหาเจดีย์สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2556 เป็นจดีย์ทรงมอญ สีเหลืองทองอร่าม จำลองจากเจดีย์ชเวดากองที่พม่า มีความกว้าง 29 เมตร สูง 29 เมตร ด้านในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ส่วนบนของเจดีย์บรรจุหินหยกทั้ง 8 ที่นำมาจากพม่า[2]
ศาลาการเปรียญกว้าง 15.50 เมตร ยาว 22 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2512 หอสวดมนต์กว้าง 11 เมตร ยาว 24.75 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2540 กุฏิสงฆ์จำนวน 8 หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ 8 หลัง ศาลาอเนกประสงค์กว้าง 12 เมตร ยาว 21.30 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาบำเพ็ญกุศลจำนวน 2 หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก 1 หลัง สร้างด้วยไม้ 1 หลัง เจดีย์เก่า 2 องค์ อาคารเสนาสนะอื่น ๆ ได้แก่ หอระฆังและโรงครัว[3] วัดยังมีเรือโบราณตั้งไว้ที่ด้านหลังของพระพุทธปฏิมากรหยกขาว
กิจกรรม
[แก้]วัดดำรงรักษาประเพณีมอญ เช่น ในวันสงกรานต์ มีแห่หงส์ธงตะขาบ งานเทศกาลลอยกระทงของไทยซึ่งจะจัดเป็นประจำทุกปี วัดมีตลาดนัดในวันจันทร์ วันพฤหัสบดี และวันเสาร์[2]
รายนามเจ้าอาวาส
[แก้]- พระจุ๊
- พระตั้ว
- พระเร
- พระมหาแน๊ต
- พระวงศ์
- พระเครื่อง
- พระมาก
- พระเอม
- พระเชิญ
- พระครูรัตนธรรมโสภณ (พ.ศ. 2509–ปัจจุบัน)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "วัดบ้านไร่เจริญผล". ฐานข้อมูลแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย.
- ↑ 2.0 2.1 "วัดบ้านไร่เจริญผล".
- ↑ "วัดบ้านไร่เจริญผล". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.