ข้ามไปเนื้อหา

เทศบาลนครอ้อมน้อย

พิกัด: 13°42′00.3″N 100°19′26.4″E / 13.700083°N 100.324000°E / 13.700083; 100.324000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลนครอ้อมน้อย
ถนนเศรษฐกิจ 1 บริเวณแยกอ้อมน้อย
ถนนเศรษฐกิจ 1 บริเวณแยกอ้อมน้อย
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลนครอ้อมน้อย
ตรา
คำขวัญ: 
ศรัทธาหลวงพ่อเพ็งหลวงพ่อพักตร์ อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ลือไกลอุตสาหกรรม งามล้ำเบญจรงค์
ทน.อ้อมน้อยตั้งอยู่ในจังหวัดสมุทรสาคร
ทน.อ้อมน้อย
ทน.อ้อมน้อย
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลนครอ้อมน้อย
ทน.อ้อมน้อยตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ทน.อ้อมน้อย
ทน.อ้อมน้อย
ทน.อ้อมน้อย (กรุงเทพมหานครและปริมณฑล)
ทน.อ้อมน้อยตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทน.อ้อมน้อย
ทน.อ้อมน้อย
ทน.อ้อมน้อย (ประเทศไทย)
พิกัด: 13°42′00.3″N 100°19′26.4″E / 13.700083°N 100.324000°E / 13.700083; 100.324000
ประเทศ ไทย
จังหวัดสมุทรสาคร
อำเภอกระทุ่มแบน
จัดตั้ง
  •  • 22 พฤษภาคม 2510 (สุขาภิบาลอ้อมน้อย)
  •  • 1 พฤษภาคม 2537 (ทต.อ้อมน้อย)
  •  • 21 กันยายน 2545 (ทม.อ้อมน้อย)
  •  • 11 พฤศจิกายน 2553 (ทน.อ้อมน้อย)
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีบุญชู นิลถนอม
พื้นที่
 • ทั้งหมด30.4 ตร.กม. (11.7 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)[1]
 • ทั้งหมด53,821 คน
 • ความหนาแน่น1,770.43 คน/ตร.กม. (4,585.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.03740201
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 234 หมู่ที่ 11 ซอยเพชรเกษม 87 ถนนเพชรเกษม ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 74130
เว็บไซต์www.omnoi.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลนครอ้อมน้อย เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลนครแห่งหนึ่งในอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอ้อมน้อยทั้งตำบล มีประชากรในปี พ.ศ. 2563 จำนวน 53,821 คน[1]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

สำนักงานเทศบาลนครอ้อมน้อยตั้งอยู่ที่เลขที่ 234 หมู่ที่ 11 ซอยเพชรเกษม 87 ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เขตเทศบาลมีเนื้อที่ 30.40 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

[แก้]

เทศบาลนครอ้อมน้อยเดิมทีมีฐานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบสุขาภิบาลมีชื่อว่า สุขาภิบาลอ้อมน้อย[2] และได้รับการจัดตั้งเป็น เทศบาลตำบลอ้อมน้อย เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. 2537 เล่มที่ 111 ตอนที่ 12 ก หน้า 18–20 ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2537[3] จากนั้นอีก 8 ปีต่อมา เทศบาลตำบลอ้อมน้อยได้รับการยกฐานะตามพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลอ้อมน้อยเป็น เทศบาลเมืองอ้อมน้อย ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองอ้อมน้อย พ.ศ. 2545 เล่มที่ 119 ตอนที่ 93 ก หน้า 1–3 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2545[4] มีผลบังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2545)

ปัจจุบันมีฐานะเป็น เทศบาลนครอ้อมน้อย ได้รับการยกฐานะตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลเมืองอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นเทศบาลนครอ้อมน้อย เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553[5]

หน่วยการปกครอง

[แก้]

เทศบาลนครอ้อมน้อยมีชุมชนทั้งหมด 28 ชุมชน ดังต่อไปนี้

  • ชุมชนปากคลองอ้อมน้อย (หมู่ที่ 1)
  • ชุมชนหมู่บ้านอิ่มอัมพร (หมู่ที่ 2)
  • ชุมชนบ้านรางน้ำใส (หมู่ที่ 3)
  • ชุมชนบ้านแถว (หมู่ที่ 4)
  • ชุมชนซอยโรงนุ่น (หมู่ที่ 4)
  • ชุมชนหมู่บ้านสิวารัตน์ (หมู่ที่ 5)
  • ชุมชนหมู่ 6 พัฒนา (หมู่ที่ 6)
  • ชุมชนฟาร์มปลา (หมู่ที่ 7)
  • ชุมชนหนองนกกระสา (หมู่ที่ 9)
  • ชุมชนซอยกำนันวิจิตร (หมู่ที่ 10)
  • ชุมชนดอนสอง (หมู่ที่ 11)
  • ชุมชนหมู่บ้านพงษ์ศิริชัย 1 (หมู่ที่ 12)
  • ชุมชนกิตติพร (หมู่ที่ 13)
  • ชุมชนโรงหมู่ (หมู่ที่ 13)
  • ชุมชนบ้านคลองแค (หมู่ที่ 2)
  • ชุมชนหมู่บ้านเพชรเกษมธานี (หมู่ที่ 2)
  • ชุมชนหัวคู้ (หมู่ที่ 4)
  • ชุมชนบ้านแถว 2 (หมู่ที่ 4)
  • ชุมชนหมู่ 5 พัฒนา (หมู่ที่ 5)
  • ชุมชนอรรคภัทรก้าวหน้า (หมู่ที่ 5)
  • ชุมชนหัวถนน (หมู่ที่ 6)
  • ชุมชนหนองบัว (หมู่ที่ 8)
  • ชุมชนหมู่บ้านสินสมบูรณ์ (หมู่ที่ 10)
  • ชุมชนผู้ใหญ่แอ้น (หมู่ที่ 10)
  • ชุมชนดอนหนึ่ง (หมู่ที่ 11)
  • ชุมชนศรีสำราญ (หมู่ที่ 12)
  • ชุมชนหมู่บ้านหรรษา อ้อมน้อย (หมู่ที่ 13)
  • ชุมชนโรงหมู่ 2 (หมู่ที่ 13)

การศึกษา

[แก้]

การสาธารณสุข

[แก้]

เขตเทศบาลนครอ้อมน้อยมีสถานบริการด้านสาธารณสุข 4 แห่ง คือ

  • ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองอ้อมน้อย (ไทยกาเมนท์)
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 2 (หมู่บ้านสิวารัตน์)
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 (สำนักงานเทศบาลนครอ้อมน้อย) และศูนย์ทันตกรรม
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 4 (ซอยคลองแค)

นอกเหนือจากศูนย์บริการสาธารณสุขของเทศบาลแล้ว ในเขตเทศบาลยังมีหน่วยงานทั้งของภาครัฐและเอกชนที่ให้บริการทางด้านสาธารณสุข คือ

  • โรงพยาบาลเอกชน 2 แห่ง 320 เตียง คือ โรงพยาบาลมหาชัย 2 (120 เตียง) และโรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล อ้อมน้อย (200 เตียง)
  • สถานประกอบการประเภทเวชกรรมชนิดมีและไม่มีเตียง, แผนโบราณ, ทันตกรรม ชั้น 1 และ 2, ผดุงครรภ์ชั้น 1, กายภาพบำบัด และเทคนิคการแพทย์) ประมาณ 40–50 แห่ง
  • รพ.สต.1 แห่ง คือ รพ.สต.สายสี่ ตั้งอยู่ในซอยเพชรเกษม 116
  • ศูนย์สุขภาพชุมชนอ้อมน้อย ตั้งอยู่ในพื้นที่วัดอ้อมน้อย แต่เดิมเป็น รพ.สต.หัวถนน แต่หลังจากเกิดอุทกภัยในเดือนพฤศจิกายน–ธันวาคม 2554 จึงได้ย้ายที่ตั้งมาอยู่ในบริเวณวัดอ้อมน้อย และเปลี่ยนเป็นศูนย์สุขภาพชุมชนอ้อมน้อย

การขนส่ง

[แก้]

เนื่องจากเป็นชุมชนเมืองที่มีที่ตั้งอยู่ใกล้กับกรุงเทพมหานคร สามารถเดินทางเชื่อมต่อกับกรุงเทพมหานครและจังหวัดนครปฐม หรือสามารถเดินทางไปยังอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดสมุทรสาครได้อย่างทั่วถึง สะดวก และรวดเร็ว

ถนน

[แก้]

ถนนสายหลักในเขตเทศบาลนครอ้อมน้อย ได้แก่

บริการขนส่งสาธารณะ

[แก้]

การบริการขนส่งสาธารณะในเขตเทศบาล ได้แก่ รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง, รถแท็กซี่มิเตอร์ซึ่งมีรูปแบบคล้ายกับกรุงเทพมหานคร และรถยนต์โดยสารประจำทาง มีรายละเอียดดังนี้

รถยนต์โดยสารประจำทางที่ผ่านเขตเทศบาลนครอ้อมน้อย แบ่งออกเป็น 4 หมวด คือ

  • หมวด 1 คือ รถ ขสมก.(สาย 189) และรถเอกชนบริษัท​ ไทยสมายล์​บัส ​จำกัด​(สาย 81 84 123 163 157 547) หจก.บุญมงคลกาญจน์(สาย 539)
  • หมวด 2 คือ รถร่วม บขส.ทั้งหมด
  • หมวด 3 และ หมวด 4 คือ รถสองแถวทั้งหมด (ยกเว้นสาย 402)

ศาสนสถาน

[แก้]

เทศบาลนครอ้อมน้อยมีวัดทั้งหมด 2 แห่ง ได้แก่ วัดอ้อมน้อยและวัดศรีสำราญราษฎร์บำรุง

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2563 ท้องถิ่นเทศบาลนครอ้อมน้อย". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องจัดตั้งสุขาภิบาลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (พิเศษ 51 ง): 1–2. 5 มิถุนายน 2510.
  3. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลอ้อมน้อย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (12 ก): 18–20. 1 เมษายน 2537.
  4. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองอ้อมน้อย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 119 (93 ก): 1–3. 20 กันยายน 2545. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2009-02-07.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลเมืองอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นเทศบาลนครอ้อมน้อย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 127 (พิเศษ 149 ง): 45. 27 ธันวาคม 2553. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-10. สืบค้นเมื่อ 2010-12-27.
  6. "โรงเรียนวัดอ้อมน้อย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-23. สืบค้นเมื่อ 2009-12-03.
  7. "โรงเรียนวัดศรีสำราญราษฎร์บำรุง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-23. สืบค้นเมื่อ 2009-12-03.
  8. "โรงเรียนบ้านคลองแค". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-23. สืบค้นเมื่อ 2009-12-03.
  9. "โรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-25. สืบค้นเมื่อ 2009-12-03.