เทศบาลเมืองบ้านพรุ
เทศบาลเมืองบ้านพรุ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Thetsaban Mueang Ban Phru |
ศาลาขุนนิพัทธ์จีนนครอนุสรณ์ สุสานบ้านพรุ | |
พิกัด: 6°56′52.5″N 100°28′45.5″E / 6.947917°N 100.479306°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สงขลา |
อำเภอ | หาดใหญ่ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 17.97 ตร.กม. (6.94 ตร.ไมล์) |
ประชากร (เดือนมีนาคม 2567)[1] | |
• ทั้งหมด | 27,983 คน |
• ความหนาแน่น | 1,557.20 คน/ตร.กม. (4,033.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 04901102 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 99 ถนนเทศบาลใหม่ ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90250 |
เว็บไซต์ | www |
บ้านพรุ เป็นเทศบาลเมืองที่จัดตั้งลำดับที่ 2 ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อปี พ.ศ. 2545[2] ปัจจุบันเป็นพื้นที่ที่มีการเพิ่มของประชากรสูงอันดับต้นของจังหวัด เนื่องจากรองรับประชากรและมีการขยายตัวของชุมชนเมืองที่รองรับความเจริญเติบโตของนครหาดใหญ่ ปี พ.ศ. 2566 มีประชากรทั้งหมด 27,860 คน[3]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]เทศบาลเมืองบ้านพรุ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเทศบาลเมืองคอหงส์
- ทิศใต้ ติดต่อกับเทศบาลตำบลบ้านไร่ (องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพรุเดิม)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเทศบาลตำบลบ้านไร่ (องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพรุเดิม)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเทศบาลตำบลทุ่งลาน (อำเภอคลองหอยโข่ง) เทศบาลตำบลบ้านไร่ (องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพรุเดิม)
ประวัติ
[แก้]บ้านพรุ เป็นชุมชนบริเวณถนนกาญจนวนิช มีชุมนุมชนหนาแน่น และสถานีรถไฟบ้านพรุ เป็นคมนาคมสำคัญของชุมชน ความเจริญของตำบลบ้านพรุที่มีมากขึ้นตามลำดับ กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศแบ่งเขตบางส่วนของตำบลบ้านพรุ ตั้งแต่ถนนกาญจนวนิชฝั่งเหนือ กม.ที่ 34.50–ถนนกาญจนวนิชฝั่งใต้ กม.ที่ 35.56 ฝั่งตะวันออกมีเขตตามทางรถไฟสายชุมทางหาดใหญ่–ปาดังเบซาร์ และเขตทิศตะวันตกห่างจากถนนกาญจนวนิช 675 เมตร จัดตั้งขึ้นเป็น สุขาภิบาลบ้านพรุ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508[4] โดยกำหนดให้มีกรรมการสุขาภิบาล 11 คน มาจากการแต่งตั้ง 7 คน และอีก 4 คน เป็นกรรมการที่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
ในปี พ.ศ. 2528 กระทรวงมหาดไทยได้ขยายเขตสุขาภิบาลบ้านพรุ โดยมีเขตทิศเหนือบริเวณสี่แยกคลองหวะ ชนเขตตำบลคอหงส์ ถนนกาญจนวนิชฝั่งเหนือ กม.ที่ 32.50 เขตทิศตะวันตกห่างจากถนนกาญจนวนิช 1,000 เมตร ทิศใต้อยู่ที่ถนนกาญจนวนิชฝั่งใต้ กม.ที่ 37.50 และทิศตะวันตกห่างจากถนนกาญจนวนิช 1,350 เมตร[5]
ในปี พ.ศ. 2536 สุขาภิบาลบ้านพรุมีพื้นที่ 15.01 ตารางกิโลเมตร ประชากร 14,349 คน และ 3,510 ครัวเรือน[6] มีความเหมาะสมที่จัดตั้งขึ้นเป็นเทศบาลตำบล จึงจัดตั้งเป็น เทศบาลตำบลบ้านพรุ ในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2536[7] พร้อมทั้งขยายเขตเทศบาลฝั่งทิศตะวันตก ตั้งแต่หลักเขตที่ 4–6 โดยมีเขตแบ่งตามเขตตำบลบ้านพรุกับตำบลทุ่งลาน โดยเป็นพื้นที่ของหมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 7
ในปี พ.ศ. 2544 เทศบาลตำบลบ้านพรุมีพื้นที่ 17.97 ตารางกิโลเมตร ประชากร 16,941 คน และ 4,576 ครัวเรือน[8] กระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาว่าเทศบาลตำบลบ้านพรุมีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้วติดต่อกันสามปีได้ตามเงื่อนไขของเทศบาลเมือง กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาจะจัดตั้งเป็นเทศบาลเมืองได้ จึงจัดตั้งเป็น เทศบาลเมืองบ้านพรุ ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2545[2] โดยใช้อาณาเขตเดิมของเทศบาลตำบลบ้านพรุ ที่ประกาศเมื่อปี พ.ศ. 2536[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลเมืองบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ 2.0 2.1 "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองบ้านพรุ พ.ศ. ๒๕๔๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 119 (53 ก): 3–5. วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2545
- ↑ ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 (เขตท้องถิ่นเทศบาลเมืองบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (103 ง): 2954–2955. วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (38 ง): (ฉบับพิเศษ) 10-11. วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2528
- ↑ ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2537 (เขตท้องถิ่นสุขาภิบาลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
- ↑ 7.0 7.1 "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พ.ศ. ๒๕๓๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (223 ก): (ฉบับพิเศษ) 28-30. วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2536
- ↑ ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544 (เขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567