เทศบาลตำบลคลองแงะ
เทศบาลตำบลคลองแงะ | |
---|---|
![]() ศาลเจ้าไซทีฮุกโจ้วในเขตเทศบาล | |
พิกัด: 6°47′35.5″N 100°27′17.4″E / 6.793194°N 100.454833°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | สงขลา |
อำเภอ | สะเดา |
จัดตั้ง | • 30 พฤษภาคม 2499 (สุขาภิบาลพังลา) • 25 พฤษภาคม 2542 (ทต.พังลา) • 19 กรกฎาคม 2550 (เปลี่ยนชื่อเป็น ทต.คลองแงะ) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 5.30 ตร.กม. (2.05 ตร.ไมล์) |
ประชากร (เดือนมีนาคม 2567)[1] | |
• ทั้งหมด | 8,111 คน |
• ความหนาแน่น | 1,530.37 คน/ตร.กม. (3,963.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 05901005 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 48 หมู่ 5 ถนนกอบกุลอุทิศ 3 ตำบลพังลา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา 90170 |
เว็บไซต์ | khlongngae |
![]() |
เทศบาลตำบลคลองแงะ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลตำบลที่ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 6 และพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 5 ตำบลพังลา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เป็นเทศบาลตำบลขนาดกลาง มีสถานีรถไฟคลองแงะเป็นสถานีรายทางแห่งเดียวของทางรถไฟสายชุมทางหาดใหญ่–ปาดังเบซาร์
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]เขตเทศบาลตำบลคลองแงะมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพังลา
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพังลา
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพังลา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์
ประวัติ
[แก้]คลองแงะ เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลที่จัดตั้งขึ้นในชื่อ "สุขาภิบาลพังลา" เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2499[2] โดยมีท้องที่ครอบคลุมบ้านคลองแงะ และบ้านคลองผ่าน ตั้งแต่ถนนกาญจนวนิชฝั่งเหนือ กม.ที่ 52.00–ถนนกาญจนวนิชฝั่งใต้ กม.ที่ 54.75 ฝั่งตะวันออกมีเขตตามทางรถไฟสายชุมทางหาดใหญ่–ปาดังเบซาร์และถนนกาญจนวนิชออกไป 2,700 เมตร และเขตทิศตะวันตกตามแนวคลองใหญ่ฝั่งตะวันออก และยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลในปี พ.ศ. 2542[3]
ในปี พ.ศ. 2549 ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลพังลามีเจตนารมณ์ขอเปลี่ยนชื่อเทศบาล เพื่อให้ตรงกับท้องที่ตั้งในความเป็นจริง เนื่องจากชื่อ "พังลา" เป็นชื่อท้องที่หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2 ของตำบลพังลาในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพังลา ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกับท้องที่ อนึ่งชื่อ "คลองแงะ" เป็นชื่อท้องที่หมู่ 5 ของตำบลพังลาในเขตเทศบาล ทั้งเป็นชื่อของสถานีรถไฟคลองแงะ สถานีตำรวจภูธรคลองแงะ ที่ทำการไปรษณีย์คลองแงะ ไม่มีผู้ใดเรียกว่า "พังลา" ในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "เทศบาลตำบลคลองแงะ"[4] จนถึงปัจจุบัน
สถานที่สำคัญ
[แก้]- ที่ทำการไปรษณีย์คลองแงะ เปิดเป็นที่ทำการในวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2512[5] ตั้งอยู่ริมถนนกาญจนวนิช ใช้รหัส 90170 (ใช้รหัสแยกกับ ปณ.สะเดา 90120) โดยมีเขตบริการทั้งหมด 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลเขามีเกียรติท้ัง 5 หมู่บ้าน ตำบลท่าโพธิ์ทั้ง 8 หมู่บ้าน และตำบลพังลาทั้ง 7 หมู่บ้าน
- สถานีตำรวจภูธรคลองแงะ เปิดเป็นที่ทำการในปี พ.ศ. 2496 มีเนื้อที่ 18 ไร่ 3 งาน 34.68 ตารางวา ซึ่งเป็นที่ดินราชพัสดุ เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวยกสูง ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ได้ทำการสร้างอาคารไม้ชั้นเดียวยกสูง (ทดแทน สภ.คลองแงะหลังเก่า) โดยมี ร.ต.อ.ประเสริฐ จันทร์สว่าง ตำแหน่งสารวัตร เป็นหัวหน้าสถานีตำรวจ ในปี พ.ศ.2538 ได้รับงบประมาณก่อสร้างเป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้นเป็นที่ทำงาน โดยมีเขตรับผิดชอบทั้งหมด 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลเขามีเกียรติท้ัง 5 หมู่บ้าน ตำบลท่าโพธิ์ทั้ง 8 หมู่บ้าน และตำบลพังลาทั้ง 7 หมู่บ้าน
- สถานีรถไฟคลองแงะ เป็นสถานีชั้น 2 ในทางรถไฟสายชุมทางหาดใหญ่–ปาดังเบซาร์ ตั้งอยู่กม.ที่ 952.64 ยุคสมัยการค้าทางรถไฟ เมืองที่รถไฟพาดผ่านจะเกิดชุมชนความรุ่งเรือง โดยรอบเส้นทางรถไฟหาดใหญ่ - ปาดังเบซาร์ จะมีทั้งชุมชนหลายชุมชนเช่น บ้านพรุ, ศาลาทุ่งลุ่ง, บ้านท่าข่อย, คลองรำ ปัจจุบันมีสถานีรถไฟคลองแงะที่ยังคงอยู่
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลคลองแงะ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลพังลา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (45 ง): (ฉบับพิเศษ) 91-92. วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2499
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อเทศบาลตำบลพังลา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เป็นเทศบาลตำบลคลองแงะ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (0 ก): 1. วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
- ↑ "ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง เปิดที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขท่ามะกา, ท่าม่วง, แก้งคล้อ, คีรีรัฐนิคม, คลองแงะ, ละงู, บาเจาะ และอุดรธานี ๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (76 ง): 2549. วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2512