จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
1. วัดพระบาท ต้นปาปที่เพิ่งล้มไปในวัดพระบาท ต้นปาปที่วัดพระบาท(บ้านพรุ)นั้น นักพฤกษศาสตร์คำนวนอายุว่าไม่ต่ำกว่า 400 ปี ดังนั้นเมื่อล้มแล้ว ชาวบ้านพรุจึงตัดช่วงกลางลำต้นแล้วนำมาตั้งไว้ในศาลาหน้าวัดเพื่อเป็นอนุสรณ์ ต้นปาปต้นนั้นยังมีประวัติที่น่าสนใจเกี่ยวโยงไปถึงสมัยที่หลวงปู่ทวดยังมีชนม์ชีพอยู่ด้วย คือเป็นวัดที่องค์สมเด็จเจ้าเกาะ(เจ้าเกาะยอ ) ซึ่งเป็น 1 ใน 4 สมเด็จแห่งเมืองสงขลาครั้งกรุงศรีอยุธยา สมเด็จเจ้าเกาะฯนั้น ท่านเป็นสหธรรมมิกของหลวงปู่ทวด เล่าว่าท่านเป็นคนบ้านพรุ เดิมชื่อ ขาว และได้บวชเรียนกับสมภารอ่ำวัดต้นปาบ และเคยอยู่อาศัยที่วัดต้นปาป (แสดงว่าต้นปาปมีมาก่อนแล้ว) ส่วนชื่อวัดพระบาทนั้นก็มาจากสมเด็จเจ้าเกาะฯได้ประทับพระบาทไว้นั่นเอง เพราะฉะนั้นหากพี่น้องผ่านวัดต้นปาบ(วัดพระบาท) ก็สามารถยกมือไหว้โมทนาสาธุฯได้โดยไม่เสียหลาย เพราะเป็นสถานที่ที่มีประวัติที่มาอันยาวนานและงดงาม ปัจจุบันถึงแม้ต้นปาปจะล้มแล้ว แต่ก็ยังมีการตัดชิ้นส่วนเพื่อไว้เป็นอนุสรณ์อยู่ริมถนนกาญจนวนิช ให้คนที่ผ่านไปมาได้มองต่างหน้าและรำลึกถึงเมื่อครั้งอดีต
2. วัดเทพชุมนุม เดิมชื่อวัดบ้านพรุ เล่ากันมาว่าเมื่อคราวสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง(รัชกาลที่ 5)เสด็จประพาส จากอินเดีย ผ่านไทรบุรี (ประมาณปี พ.ศ. 2414) เจ้าเมืองสงขลาและเจ้าเมืองไทรบุรีได้ตัดถนนสายไทรบุรีขึ้นเพื่อเป็นเส้นทางพระราชดำเนิน และสร้างพลับพลาที่ประทับพักแรมที่วัดบ้านพรุ เจ้าคณะอำเภออาศัยเหตุที่มีมหาชนจำนวนมากมาเฝ้ารับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นสมมติเทพ จึงได้เปลี่ยนชื่อวัดบ้านพรุ เป็นวัดเทพชุมนุม (ความตอนนี้สันนิษฐานว่าจะใช้ท่าหาดเตยเป็นท่าน้ำเสด็จทางชลมารถจากบ้านพรุ ไปหาดใหญ่ เกาะยอ และสงขลาตามลำดับ)
3. ศาลาราหู เล่ากันมาว่าเมื่อคราวเสด็จประพาสครั้งนั้น พระเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 5) ได้เสด็จไปยังศาลาราหูด้วย