ตำบลพุนพิน
บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป |
ตำบลพุนพิน | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Phunphin |
สถานีรถไฟชุมทางบ้านทุ่งโพธิ์ในพื้นที่หมู่ 1 บ้านทุ่งโพธิ์ | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุราษฎร์ธานี |
อำเภอ | พุนพิน |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 13.20 ตร.กม. (5.10 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565) | |
• ทั้งหมด | 2,416 คน |
• ความหนาแน่น | 183.03 คน/ตร.กม. (474.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 84130 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 841709 |
องค์การบริหารส่วนตำบลพุนพิน | |
---|---|
พิกัด: 9°07′27.7″N 99°11′39.2″E / 9.124361°N 99.194222°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุราษฎร์ธานี |
อำเภอ | พุนพิน |
จัดตั้ง | • 5 กรกฎาคม 2516 (สภาตำบลพุนพิน) • 2540 (อบต.พุนพิน) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 13.20 ตร.กม. (5.10 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565)[1] | |
• ทั้งหมด | 2,416 คน |
• ความหนาแน่น | 183.03 คน/ตร.กม. (474.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 06841717 |
ที่อยู่ที่ทำการ | เลขที่ 111 หมู่ที่ 1 ถนนพุนพิน–ไชยา ตำบลพุนพิน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84130 |
เว็บไซต์ | www |
พุนพิน เป็น 1 ใน 16 ตำบลของอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟชุมทางบ้านทุ่งโพธิ์ซึ่งเป็นทางแยกระหว่างทางรถไฟสายใต้กับทางรถไฟสายคีรีรัฐนิคมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายสุราษฎร์ธานี–พังงา–ท่านุ่น และในอนาคตมีแผนจะขยายไปถึงท่านุ่น
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตำบลพุนพินมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลศรีวิชัย (อำเภอพุนพิน)
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลท่าข้าม (อำเภอพุนพิน)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลท่าข้าม (อำเภอพุนพิน)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลหัวเตยและตำบลมะลวน (อำเภอพุนพิน)
ประวัติ
[แก้]พื้นที่ตำบลพุนพินตั้งอยู่ริมแม่น้ำตาปีและแม่น้ำพุมดวง มีประวัติศาสตร์ยาวนาน สืบเนื่องกรณีสำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช พบหลักฐานที่แหล่งโบราณคดีเขาศรีวิชัย อำเภอพุนพิน โดยเฉพาะจักรที่ทำจากโลหะสัมฤทธิ์และเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถัง และเศษภาชนะดินเผาจากเปอร์เซีย สนับสนุนข้อสันนิษฐานว่าเป็นรัฐโบราณตามเอกสารจีนที่เรียกว่า "พันพัน" ถือเป็นเมืองท่าสำคัญทั้งการค้าและศาสนาที่รุ่งเรืองในอดีตเมื่อ 1,300 ปีก่อน เป็นที่มาของชื่ออำเภอในปัจจุบัน ซึ่งใช้ชื่อว่าอำเภอ "พุนพิน" ตั้งแต่แรกตั้ง[2] ใน พ.ศ. 2463 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอ "ท่าข้าม"[3] และใน พ.ศ. 2482 ได้กลับมาใช้ชื่ออำเภอ "พุนพิน"[4] ดังเดิม เพื่อรักษาไว้ซึ่งชื่อประวัติศาสตร์แห่งท้องถิ่น อีกทั้งประชาชนในท้องที่คุ้นชินชื่อ "พุนพิน" มากกว่า
ตำบลพุนพินได้รับการจัดตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2440 พร้อมกับการตั้งอำเภอ[5] เดิมมีการปกครองทั้งหมด 11 หมู่บ้าน ซึ่งในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2481 ได้โอนพื้นที่หมู่ที่ 1–3 (ในขณะนั้น) ของตำบลพุนพิน ไปขึ้นกับตำบลท่าข้าม และโอนพื้นที่หมู่ที่ 11 (ในขณะนั้น) ของตำบลพุนพิน ไปขึ้นกับตำบลมะลวน[6] และในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2492 ได้โอนพื้นที่หมู่ที่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลพุนพิน ไปขึ้นกับตำบลท่าข้าม[7] และในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2519 ได้แยกพื้นที่หมู่ที่ 1 (บ้านดอนทราย) และหมู่ที่ 5 (บ้านหัวเขา) ของตำบลพุนพิน รวมกับพื้นที่หมู่ที่ 7 (บ้านทุ่งอ่าว) ของตำบลลีเล็ด ไปจัดตั้งเป็นตำบลศรีวิชัย[8] จึงทำให้เขตตำบลพุนพินเหลือการปกครองเพียง 3 หมู่บ้าน จนปัจจุบัน
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]ตำบลพุนพินแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 3 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ 1 | บ้านทุ่งโพธิ์ | (Ban Thung Pho) | |||||||||
หมู่ที่ 2 | บ้านดอนเนียง | (Ban Don Niang) | |||||||||
หมู่ที่ 3 | บ้านสระพัง | (Ban Saphang) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่ตำบลพุนพินมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลพุนพิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพุนพินทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลพุนพินที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2516[9] และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลพุนพินใน พ.ศ. 2540[10]
ประชากร
[แก้]พื้นที่ตำบลพุนพินประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 3 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 2,370 คน แบ่งเป็นชาย 1,158 คน หญิง 1,212 คน (เดือนธันวาคม 2564)[11] เป็นตำบลที่มีประชากรน้อยเป็นอันดับสองในอำเภอพุนพิน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ใน พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้าน | พ.ศ. 2564[12] | พ.ศ. 2563 [13] | พ.ศ. 2562[14] | พ.ศ. 2561[15] | พ.ศ. 2560[16] | พ.ศ. 2559[17] | พ.ศ. 2558[18] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ดอนเนียง | 881 | 879 | 858 | 851 | 856 | 867 | 873 |
ทุ่งโพธิ์ | 789 | 794 | 784 | 795 | 799 | 797 | 791 |
สระพัง | 700 | 670 | 661 | 653 | 646 | 641 | 647 |
รวม | 2,370 | 2,343 | 2,303 | 2,299 | 2,301 | 2,305 | 2,311 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 (8): 143. วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2449
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายที่ว่าการอำเภอพุนพิน มาตั้งที่ตำบลท่าข้ามเรียกว่าอำเภอท่าข้าม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 37 (0 ก): 159. วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2463
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 354–363. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 2022-06-27. วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2482
- ↑ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ [ในท้องที่มณฑลสุราษฎร์]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 489–498. วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2464
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ง): 13–14. วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2482
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้ง, ยุบ, เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 66 (2 ง): 4–6. วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2492
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (104 ง): 2221–2224. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2519
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-06-27. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.