เทศบาลตำบลตลาดไชยา
เทศบาลตำบลตลาดไชยา | |
---|---|
วัดหลง ซึ่งอยู่ในพื้นที่เทศบาลตำบลตลาดไชยา | |
พิกัด: 9°23′28″N 99°12′3″E / 9.39111°N 99.20083°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุราษฎร์ธานี |
อำเภอ | ไชยา |
จัดตั้ง | • 30 พฤษภาคม 2499 (สุขาภิบาลตลาดไชยา) • 25 พฤษภาคม 2542 (ทต.ตลาดไชยา) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 29.64 ตร.กม. (11.44 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 5,121 คน |
• ความหนาแน่น | 172.77 คน/ตร.กม. (447.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 05840602 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 600 หมู่ 1 ตำบลตลาดไชยา อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84110 |
เว็บไซต์ | www |
ตลาดไชยา เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลตำบลที่ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลาดไชยาทั้งตำบลรวมทั้งพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 1, 4–5 ของตำบลเลม็ด ในอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลตลาดไชยาที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2499[2] ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาขยายเขตสุขาภิบาลให้มีเนื้อที่เพิ่ม 4.12 ตารางกิโลเมตร โดยมีพื้นที่ไปถึงฝั่งตะวันออกของคลองท่าโพธิ์ของเขตตำบลเลม็ด ในปี พ.ศ. 2502[3]
สุขาภิบาลตลาดไชยาได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลในปี พ.ศ. 2542[4] ต่อมาปี พ.ศ. 2546 กระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาให้เขตองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไชยาที่มีประชากร 2,016 คน และ 387 ครัวเรือน[5] ควบรวมพื้นที่เข้ากับเทศบาลตำบลตลาดไชยาในวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2547[6] เนื่องจากเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดไชยามีเจตนารมณ์ในการรวมพื้นที่เข้ากับเขตเทศบาล
โดยการควบรวมนี้ทำให้เทศบาลตำบลตลาดไชยา มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลตลาดไชยาทั้งหมด และมีพื้นที่เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 25.52 ตารางกิโลเมตร รวมแล้วเป็นพื้นที่ในเขตปกครองทั้งหมดของเทศบาลตำบลตลาดไชยาประมาณ 29.64 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 18,525.1 ไร่ ปัจจุบันเทศบาลเป็นที่ตั้งศูนย์ราชการสำคัญหลายแห่ง ได้แก่ ศาลจังหวัดไชยา สำนักงานอัยการจังหวัดไชยา สถานีตำรวจภูธรไชยา ที่ว่าการอำเภอไชยา โรงพยาบาลไชยา และมีสถานีรถไฟไชยา เป็นสถานีชั้น 1 มีขบวนรถให้บริการทั้งหมด 18 ขบวน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลตลาดไชยา อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลตลาดไชยา อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (45 ง): (ฉบับพิเศษ) 85-86. วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2499
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลตลาดไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 76 (42 ง): 1020–1022. วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2502
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
- ↑ ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (เขตตำบลพังกาญจน์ อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 75 ง): 19–21. วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2547