ตำบลเขาพัง
ตำบลเขาพัง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Khao Phang |
เขื่อนรัชชประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน) | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุราษฎร์ธานี |
อำเภอ | บ้านตาขุน |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,203.85 ตร.กม. (464.81 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 4,545 คน |
• ความหนาแน่น | 3.77 คน/ตร.กม. (9.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 84230 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 840904 |
เทศบาลตำบลบ้านเชี่ยวหลาน | |
---|---|
พิกัด: 8°58′02.9″N 98°50′16.2″E / 8.967472°N 98.837833°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุราษฎร์ธานี |
อำเภอ | บ้านตาขุน |
จัดตั้ง | • 7 ตุลาคม 2534 (สุขาภิบาลเขาพัง) • 25 พฤษภาคม 2542 (ทต.เขาพัง) • 17 ธันวาคม 2547 (เปลี่ยนชื่อเป็นทต.บ้านเชี่ยวหลาน) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,203.85 ตร.กม. (464.81 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 4,545 คน |
• ความหนาแน่น | 3.77 คน/ตร.กม. (9.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 05840901 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 444 ถนนเขื่อนรัชชประภา หมู่ 5 ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84230 |
เว็บไซต์ | chiewlarn |
เขาพัง เป็นตำบลในอำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นที่ตั้งของเขื่อนรัชชประภา เขตพื้นที่ทั้งหมดเป็นพื้นที่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และมีพื้นที่อ่างเก็บน้ำและภูเขาเป็นส่วนมาก จึงมีพื้นที่อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา[2] เขตรักษาสัตว์ป่าคลองแสง[3][4]และอุทยานแห่งชาติเขาสก[5]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตำบลเขาพัง มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[6]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลนาคา (อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง) และตำบลตะกุกเหนือ (อำเภอวิภาวดี)
- ทิศตะวันออก ติดต่อตำบลท่าขนอน ตำบลกะเปา (อำเภอคีรีรัฐนิคม) และตำบลพะแสง ตำบลพรุไทย
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลคลองศก ตำบลพังกาญจน์ (อำเภอพนม) และตำบลคุระ (อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลคุระ ตำบลแม่นางขาว (อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา) และตำบลกำพวน ตำบลนาคา (อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง)
ประวัติ
[แก้]เขาพัง เดิมเป็นตำบลของอำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปี พ.ศ. 2516 มีการแยกกิ่งอำเภอบ้านตาขุน ออกจากการปกครองของอำเภอคีรีรัฐนิคม มี 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลเขาวง ตำบลไกรสร ตำบลเขาพัง ตำบลพะแสง และตำบลพรุไทย[7] และตั้งเป็นอำเภอบ้านตาขุนในปี พ.ศ. 2519[8] ตำบลเขาพังจึงย้ายมาขึ้นกับอำเภอบ้านตาขุน
ต่อมาเขื่อนรัชชประภา เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525[9] มีการเพิกถอนพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสงที่อยู่ในพื้นที่ตำบลไกรสร และตำบลเขาพัง 3 ครั้งเนื่องจากเป็นพื้นที่น้ำท่วมตามโครงการเขื่อนเชี่ยวหลาน ในปี พ.ศ. 2526[10] พ.ศ. 2528[11] พ.ศ. 2529[12] ทำให้พื้นที่ตำบลไกรสรสิ้นสภาพความเป็นตำบล ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2529 จึงดำเนินการยุบตำบลไกรสร และโอนพื้นที่หมู่บ้านให้ตำบลเขาพัง ดังนี้[13]
- หมู่ที่ 1 บ้านบางแก้ว ตำบลไกรสร (เดิม) โอนมาขึ้นกับหมู่ที่ 3 บ้านหน้าฮะ ตำบลเขาพัง
- หมู่ที่ 2 บ้านปากแปะ ตำบลไกรสร (เดิม) โอนมาขึ้นกับหมู่ที่ 3 บ้านหน้าฮะ ตำบลเขาพัง
- หมู่ที่ 3 บ้านไกรสร ตำบลไกรสร (เดิม) โอนมาขึ้นกับหมู่ที่ 3 บ้านหน้าฮะ ตำบลเขาพัง
- หมู่ที่ 4 บ้านเชี่ยวกอ ตำบลไกรสร (เดิม) โอนมาขึ้นกับหมู่ที่ 3 บ้านหน้าฮะ ตำบลเขาพัง
- หมู่ที่ 5 บ้านวังขอน ตำบลไกรสร (เดิม) โอนมาขึ้นกับหมู่ที่ 3 บ้านหน้าฮะ ตำบลเขาพัง
เขื่อนรัชชประภาแล้วเสร็จในเดือนกันยายน พ.ศ. 2530 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดเขื่อนรัชชประภา และโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2530 หลังจากนั้นได้อพยพประชาชนจากแนวสร้างเขื่อนให้มีที่อยู่ที่ทำกิน บริเวณใกล้เขื่อนฯ บางส่วน
ปี พ.ศ. 2534 ชุมชนจัดสรรของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่ประชาชนอพยพจากแนวสร้างเขื่อน ได้แยกพื้นที่บางส่วนของหมู่ 3 บ้านหน้าฮะ, หมู่ 4 บ้านไกรสร และหมู่ 5 บ้านเชี่ยวหลาน ที่มีชุมชนหนาแน่น เป็นที่ตั้งของโรงเรียน สถานีตำรวจภูธร ของเขตสภาตำบลเขาพัง มาตั้งเป็น สุขาภิบาลเขาพัง[14]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]ตำบลเขาพังแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ 1 | บ้านเขาเทพพิทักษ์ | (Ban Khao Thep Phithak) | ||||
หมู่ 2 | บ้านหน้าเขา | (Ban Na Khao) | ||||
หมู่ 3 | บ้านหน้าฮะ | (Ban Na Ha) | ||||
หมู่ 4 | บ้านไกรสร | (Ban Kraison) | ||||
หมู่ 5 | บ้านเชี่ยวหลาน | (Ban Chiao Lan) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ตำบลเขาพังเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลเขาพัง ในปี พ.ศ. 2517[15] ก่อนที่บางส่วนของสภาตำบลเขาพังจะแยกไปตั้งเป็นสุขาภิบาลเขาพัง ในปี พ.ศ. 2534[14] ส่วนเขตสภาตำบลเขาพัง (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลเขาพัง) ได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพังใน พ.ศ. 2539[16]
สุขาภิบาลเขาพังจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลเขาพังใน พ.ศ. 2542[17] ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 กระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาให้องค์การบริหารส่วนตำบลเขาพังที่มีประชากรเพียง 1,253 คน และ 411 ครัวเรือน[18] ต้องควบรวมพื้นที่เข้ากับเทศบาลตำบลเขาพังในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2547[19] เนื่องจากมีประชากรและรายได้ไม่เพียงพอต่อการเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล โดยการควบรวมนี้ทำให้เทศบาลตำบลเขาพัง มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลเขาพังทั้งหมด
ในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2547 เทศบาลตำบลเขาพังมีประสงค์ที่จะขอเปลี่ยนชื่อเพื่อความเหมาะสมและสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของประชาชนในเขตเทศบาล โดยเปลี่ยนชื่อเทศบาลตำบลเป็น "เทศบาลตำบลบ้านเชี่ยวหลาน"[20]
ประชากร
[แก้]พื้นที่ตำบลเขาพังประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 5 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 4,545 คน แบ่งเป็นชาย 2,270 คน หญิง 2,275 คน (เดือนธันวาคม 2566)[21] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 2 ในอำเภอบ้านตาขุน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้าน | พ.ศ. 2566[22] | พ.ศ. 2565[23] | พ.ศ. 2564[24] | พ.ศ. 2563[25] | พ.ศ. 2562[26] | พ.ศ. 2561[27] | พ.ศ. 2560[28] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ไกรสร | 2,178 | 2,173 | 2,167 | 2,156 | 2,156 | 2,167 | 2,160 |
เชี่ยวหลาน | 1,131 | 1,131 | 1,153 | 1,154 | 1,170 | 1,170 | 1,171 |
เขาเทพพิทักษ์ | 564 | 559 | 539 | 535 | 529 | 529 | 526 |
หน้าฮะ | 453 | 459 | 462 | 481 | 475 | 481 | 494 |
หน้าเขา | 219 | 218 | 214 | 221 | 232 | 237 | 229 |
รวม | 4,545 | 4,540 | 4,535 | 4,547 | 4,562 | 4,584 | 4,580 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลบ้านเชี่ยวหลาน อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาขยายเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ป่าคลองนาคา ในท้องที่ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. ๒๕๓๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (162 ก): (ฉบับพิเศษ) 5-7. วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2534
- ↑ "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าคลองแสง ในท้องที่ตำบลตะกุกเหนือ อำเภอคีรีรัฐนิคม และตำบลเขาพัง ตำบลไกรสร กิ่งอำเภอบ้านตาขุน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๑๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (216 ก): (ฉบับพิเศษ) 10-12. วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2517
- ↑ "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าคลองยัน ในท้องที่ตำบลปากฉลุย อำเภอท่าฉาง ตำบลตะกุกเหนือ ตำบลตะกุกใต้ ตำบลน้ำหัก ตำบลท่าขนอน ตำบลกะเปา อำเภอคีรีรัฐนิคม และตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (126 ก): 3–4. วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2535
- ↑ "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าคลองหยีและคลองพะแสง ในท้องที่ตำบลไกรสร ตำบลเขาพัง ตำบลพะแสง อำเภอบ้านตาขุน และตำบลคลองสก ตำบลพนม อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (197): (ฉบับพิเศษ) 6-7. วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2523
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 115 (ตอนพิเศษ 133 ง): 110–118. วันที่ 292 เมษายน พ.ศ. 2541
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอบ้านตาขุน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (86 ง): 2153. วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2516
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเลาขวัญ อำเภอคำม่วง คำเภอพิปูน อำเภอศรีเทพ อำเภอนาแห้ว อำเภอส่องดาว อำเภอควนกาหลง อำเภอค่ายบางระจัน อำเภอบ้านตาขุน และอำเภอกุดจับ พ.ศ. ๒๕๑๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (109 ก): (ฉบับพิเศษ) 31-34. วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2519
- ↑ "ประกาศการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดเขตสำรวจสายส่งไฟฟ้า ขนาด ๑๑๕ กิโลโวลท์ จากโครงการก่อสร้างเขื่อนเชี่ยวหลาน ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปยังสถานีไฟฟ้าย่อยพังงา ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (187 ง): 3940–3941. วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเพิกถอนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ป่าคลองแสง บางส่วนในท้องที่ตำบลตะกุกเหนือ อำเภอคีรีรัฐนิคม และตำบลเขาพัง ตำบลไกรสร อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. ๒๕๒๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (67 ก): (ฉบับพิเศษ) 21-22. วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2526
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเพิกถอนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ป่าคลองแสง บางส่วน ในท้องที่ตำบลไกรสร อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. ๒๕๒๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (154 ก): (ฉบับพิเศษ) 46-47. วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2528
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเพิกถอนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ป่าคลองแสง บางส่วน ในท้องที่ตำบลตะกุกเหนือ อำเภอคีรีรัฐนิคม และตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. ๒๕๒๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (77 ก): (ฉบับพิเศษ) 5-6. วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2529
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบและเปลี่ยนแปลงเขตตำบล ในท้องที่อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (219 ง): (ฉบับพิเศษ) 117-119. วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2529
- ↑ 14.0 14.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (177 ง): (ฉบับพิเศษ) 28-30. วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2534
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (ตอนพิเศษ 6 ง): 1–63. วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2538
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
- ↑ ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (เขตตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 108 ง): 10–11. วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2547
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อเทศบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121: 1. วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2547
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.