ข้ามไปเนื้อหา

อาณาจักรหริภุญชัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อาณาจักรหริภุญไชย)
หริภุญชัย

Sarhāsta Asām (บาลี)
พุทธศตวรรษที่ 14–พ.ศ. 1835
พ.ศ. 1543–1643 เขียว: หริภุญไชย ฟ้าอ่อน: อาณาจักรละโว้ แดง: จักรวรรดิเขมร เหลือง: อาณาจักรจามปา ฟ้า: ได่เวียด ชมพู: อาณาจักรพุกาม มะนาว: อาณาจักรศรีวิชัย
พ.ศ. 1543–1643
เขียว: หริภุญไชย
ฟ้าอ่อน: อาณาจักรละโว้
แดง: จักรวรรดิเขมร
เหลือง: อาณาจักรจามปา
ฟ้า: ได่เวียด
ชมพู: อาณาจักรพุกาม
มะนาว: อาณาจักรศรีวิชัย
เมืองหลวงลำพูน (พ.ศ. 1172-1835)
การปกครองราชาธิปไตย
ยุคประวัติศาสตร์ยุคกลาง
• ก่อตั้ง
ราว พ.ศ. 1172
• สิ้นสุด
ราว พ.ศ. 1743
ก่อนหน้า
ถัดไป
อาณาจักรละโว้
อาณาจักรล้านนา

อาณาจักรหริภุญชัย หรือ หริภุญไชย เป็นอาณาจักรมอญ[1]ที่ตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือของประเทศไทยปัจจุบัน

ตำนานจามเทวีวงศ์โบราณได้บันทึกไว้ว่า ฤๅษีวาสุเทพเป็นผู้สร้างเมืองหริภุญชัยขึ้นในปี พ.ศ. 1310 แล้วทูลเชิญพระนางจามเทวี ซึ่งเป็นเจ้าหญิงจากอาณาจักรละโว้ ขึ้นมาครองเมืองหริภุญชัย ในครั้งนั้นพระนางจามเทวีได้นำพระภิกษุ นักปราชญ์ และช่างศิลปะต่าง ๆ จากละโว้ขึ้นไปด้วยเป็นจำนวนมากราวหมื่นคน พระนางได้ทำนุบำรุงและก่อสร้างบ้านเมือง ทำให้เมืองหริภุญชัย (ลำพูน) นั้นเป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ต่อมาพระนางได้สร้างเขลางค์นคร (ลำปาง) ขึ้นอีกเมืองหนึ่งให้เป็นเมืองสำคัญ สมัยนั้นปรากฏมีการใช้ภาษามอญโบราณในศิลาจารึกของหริภุญชัย มีหนังสือหมานซูของจีนสมัยราชวงศ์ถัง กล่าวถึงนครหริภุญชัยไว้ว่าเป็น “อาณาจักรของสมเด็จพระราชินีนาถ” (女王國 หนี่ว์ หวัง กว๋อ)

ต่อมา พ.ศ. 1824 พญามังรายมหาราชผู้สถาปนาอาณาจักรล้านนา ได้ยกกองทัพเข้ายึดเอาเมืองหริภุญชัยจากพญาญี่บาได้ ต่อจากนั้นอาณาจักรหริภุญชัยจึงสิ้นสุดลงหลังจากรุ่งเรืองมา 618 ปี มีพระมหากษัตริย์ครองเมือง 49 พระองค์

ปัจจุบัน โบราณสถานสำคัญของอาณาจักรหริภุญชัยคือพระธาตุหริภุญไชย ที่จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นบริเวณที่สันนิษฐานว่าเป็นราชธานีในสมัยนั้น และยังมีโบราณสถานอีกหลายแห่งที่จังหวัดเชียงใหม่เช่น เวียงมโน ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง, เวียงเถาะ ตำบลบ้านสองแคว อำเภอดอยหล่อ และเวียงท่ากาน ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง

ได้มีการพบจารึกอักษรมอญโบราณสมัยหริภุญไชย ราวพุทธศตวรรษที่ 17 จำนวน 7 หลัก ที่ลำพูน ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย จังหวัดลำพูน[2] บางหมู่บ้านของจังหวัดลำพูนนั้นพบว่ายังมีคนพูดภาษามอญและอนุรักษ์วัฒนธรรมมอญอยู่

รายพระนามผู้ปกครอง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • 'Historic Lamphun: Capital of the Mon Kingdom of Haripunchai', in: Forbes, Andrew, and Henley, David, Ancient Chiang Mai Volume 4. Chiang Mai, Cognoscenti Books, 2012. ASIN: B006J541LE
  • Swearer, Donald K. and Sommai Premchit. The Legend of Queen Cama: Bodhiramsi's Camadevivamsa, a Translation and Commentary. New York: State University of New York Press, 1998.