เขตการปกครองของประเทศไทย
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดบทความว่าด้วย |
การเมืองไทย |
---|
สถานีย่อยประเทศไทย |
เขตการปกครอง ของประเทศไทย |
---|
การปกครองส่วนภูมิภาค และการปกครองท้องที่ |
การปกครองส่วนท้องถิ่น |
|
เขตการปกครองของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ การปกครองส่วนภูมิภาค และการปกครองส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ที่แบ่งการบริหารราชการแผ่นดินออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น
การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ประกอบไปด้วย จังหวัด ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 76 จังหวัด ไม่รวมกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก่อนหน้าปี พ.ศ. 2515 กรุงเทพมหานครเคยเป็นส่วนหนึ่งของการปกครองส่วนภูมิภาค แต่ละจังหวัดนั้นมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าปกครอง
แต่ละจังหวัดแบ่งออกเป็น อำเภอ[1] ปัจจุบันประเทศไทยมี 878 อำเภอ มีระดับเทียบเท่ากับเขต มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครอง[2] แต่ละจังหวัดมีอำเภอเมือง เช่น อำเภอเมืองของจังหวัดเชียงใหม่ คือ อำเภอเมืองเชียงใหม่ ยกเว้นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีชื่อจังหวัดและชื่ออำเภอเมืองเหมือนกัน แต่ละอำเภอสามารถแบ่งออกได้เป็น ตำบล ซึ่งมีระดับเทียบเท่ากับแขวง ในกรุงเทพมหานคร แต่ละตำบลสามารถแบ่งออกเป็น หมู่บ้าน ซึ่งเป็นเขตการปกครองหน่วยเล็กที่สุด
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ประเทศไทยมีรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น 2 รูปแบบหลักคือ
- การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป เป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีอยู่ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
- การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มีระบบการบริหารจัดการที่ต่างจากรูปแบบทั่วไป ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
เขตการปกครองอย่างไม่เป็นทางการ
[แก้]กรุงเทพมหานครและอีก 5 จังหวัดซึ่งอยู่ติดกัน หรือที่เรียกว่าปริมณฑล มักเรียกรวมกันว่าเป็น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เนื่องจากเขตเมืองของกรุงเทพมหานคร ขยายตัวมาถึงพื้นที่ดังกล่าวแล้ว
การแบ่งภูมิภาคในประเทศไทย มีการจำกัดความที่แตกต่างกัน โดยการแบ่งอย่างเป็นทางการของราชบัณฑิตยสถานและคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยสภาวิจัยแห่งชาติ ได้แบ่งภูมิภาคของไทยออกเป็น 6 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้
เขตการปกครองในอดีต
[แก้]นับตั้งแต่ราว พ.ศ. 2458 ถึง พ.ศ. 2475 ประเทศไทยเคยมีเขตการปกครองซึ่งเรียกว่า มณฑลเทศาภิบาล โดยมีพื้นที่หน่วยใหญ่กว่ามณฑล เรียกว่าบริเวณ จังหวัดแรก ๆ ของไทย เคยถูกเรียกว่าเมือง โดยพัฒนามาจากนครรัฐในประวัติศาสตร์ มีทั้งเมืองซึ่งเป็นอิสระจากกรุงเทพมหานคร (หรือที่กลายมาเป็นจังหวัดในปัจจุบัน) เช่นเดียวกับเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองดูแลของเมืองใกล้เคียงที่มีอำนาจเหนือกว่า หรือเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบรรณาการกึ่งเอกราช ใน พ.ศ. 2449 เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงคำว่า "เมือง" ไปเป็น "จังหวัด" ก่อนที่จะแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2459[3] หลังจากการยกเลิกมณฑล เขตการปกครองใหม่ที่ใช้แทนเรียกว่า ภาค ในระยะแรกนั้น ประเทศไทยแบ่งออกเป็น 4 ภาค โดยมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเป็น 9 ภาค เมื่อ พ.ศ. 2494 แต่การแบ่งเขตการปกครองแบบนี้ ก็ยกเลิกไปใน พ.ศ. 2499
สำหรับเทศบาล เคยมีชื่อเรียกว่าสุขาภิบาล ซึ่งส่วนใหญ่มีหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านสุขาภิบาล เช่น การกำจัดของเสีย สุขาภิบาลก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2451[4] และได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลทั้งหมดเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542[5] ส่วนกิ่งอำเภอ ถือเป็นอำเภอประเภทพิเศษ ซึ่งบางส่วนยังคงเป็นส่วนหนึ่งของอีกอำเภอหนึ่ง โดยปกติแล้วกิ่งอำเภอซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่มักจะพัฒนาขึ้นจนกลายเป็นอำเภออย่างสมบูรณ์ภายในเวลาไม่กี่ปี โดยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 กิ่งอำเภอซึ่งมีอยู่ 81 แห่งก็ได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอโดยสมบูรณ์ แม้ว่ากิ่งอำเภอหลายแห่งจะยังมีคุณสมบัติไม่ถึงเกณฑ์ของอำเภออย่างสมบูรณ์ในขณะนั้นก็ตาม
แผนที่เขตการปกครองในอดีต
[แก้]หมายเหตุ: อาณาเขตของเขตการปกครองในอดีตอิงจากเขตการปกครองในปัจจุบัน ดังนั้นแผนที่ต่อไปนี้อาจไม่ถูกต้องทั้งหมด
-
การแบ่งเขตการปกครองของอาณาจักรอยุธยา พ.ศ. 2310 (ในยุคของพระเจ้าบรมราชาที่ 3)
-
การแบ่งเขตการปกครองของอาณาจักรธนบุรี พ.ศ. 2323 (ในยุคของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช)
-
การแบ่งเขตการปกครองของสยาม พ.ศ. 2343 (ในยุคของรัชกาลที่ 1)
-
การแบ่งเขตการปกครองของสยาม พ.ศ. 2348 (ในยุคของรัชกาลที่ 1)
-
การแบ่งเขตการปกครองของสยาม พ.ศ. 2367 (ในยุคของรัชกาลที่ 2)
-
การแบ่งเขตการปกครองของสยาม พ.ศ. 2380 (ในยุคของรัชกาลที่ 3)
-
การแบ่งเขตการปกครองของสยาม พ.ศ. 2393 (ในยุคของรัชกาลที่ 3)
-
การแบ่งเขตการปกครองของสยาม พ.ศ. 2425 (ในยุคของรัชกาลที่ 5)
-
การแบ่งเขตการปกครองของสยาม พ.ศ. 2433 (ในยุคของรัชกาลที่ 5)
-
การแบ่งเขตการปกครองของสยาม พ.ศ. 2436 (ในยุคของรัชกาลที่ 5)
-
การแบ่งเขตการปกครองของสยาม พ.ศ. 2443 (ในยุคของรัชกาลที่ 5)
-
การแบ่งเขตการปกครองของสยาม พ.ศ. 2449 (ในยุคของรัชกาลที่ 5)
-
การแบ่งเขตการปกครองของสยาม พ.ศ. 2459 (ในยุคของรัชกาลที่ 6)
-
การแบ่งเขตการปกครองของสยาม พ.ศ. 2475 (ในยุคของรัชกาลที่ 7)
-
การแบ่งเขตการปกครองของประเทศไทย พ.ศ. 2484 (ในยุคของรัชกาลที่ 8)
-
การแบ่งเขตการปกครองของประเทศไทย พ.ศ. 2488 (ในยุคของรัชกาลที่ 8)
-
การแบ่งเขตการปกครองของประเทศไทย พ.ศ. 2493 (ในยุคของรัชกาลที่ 9)
-
การแบ่งเขตการปกครองของประเทศไทย พ.ศ. 2516 (ในยุคของรัชกาลที่ 9)
-
การแบ่งเขตการปกครองของประเทศไทย พ.ศ. 2566 (ในยุคของรัชกาลที่ 10)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ National Government Organisation Act, BE 2534 (1991), sections 51, 54 and 61.
- ↑ National Government Organisation Act, BE 2534 (1991), section 62.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเรียกว่าจังหวัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 33 (0 ก): 51. 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2459. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2010-08-08.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.ศ.127" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (24): 668–673. 13 กันยายน พ.ศ. 2451. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-09-27. สืบค้นเมื่อ 2012-05-22.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2010-08-08.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)
- มรุต วันทนากร. 2549. การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงกับเทศบาลไทย : บทสรุปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยในภาพรวม[ลิงก์เสีย]. กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก๊อปปี้ (ประเทศไทย).
- มรุต วันทนากร. 2548. ผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงของเทศบาล ภายหลังการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรง[ลิงก์เสีย].วิทยานิพนธ์ดีเด่น สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2548. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
- สมคิด เลิศไพฑูรย์ และ มรุต วันทนากร. 2546. แนวคิดว่าด้วยฝ่ายบริหารเข้มแข็งกับการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรงในประเทศไทย[ลิงก์เสีย]. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.