ข้ามไปเนื้อหา

สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย

พิกัด: 13°44′10.2″N 100°32′47.2″E / 13.736167°N 100.546444°E / 13.736167; 100.546444
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย
แผนที่
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ที่อยู่95 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°44′10.2″N 100°32′47.2″E / 13.736167°N 100.546444°E / 13.736167; 100.546444
วันเปิดพ.ศ. 2490; ข้อผิดพลาดนิพจน์: มีตัวดำเนินการ < ซึ่งไม่ควรมีข้อผิดพลาดนิพจน์: มีตัวดำเนินการ < ซึ่งไม่ควรมี (2490)
เอกอัครราชทูตรอเบิร์ต เอฟ. โกเด็ก
อุปทูตไมเคิล ฮีธ
เว็บไซต์Bangkok Embassy Edit this at Wikidata

สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย (อังกฤษ: Embassy of the United States, Bangkok) ตั้งอยู่เลขที่ 95 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ตรงข้ามอาคารสินธร ส่วนฝ่ายการพาณิชย์ ตั้งอยู่เลขที่ 93/1 อาคารจีพีเอฟ วิทยุ เอ ชั้น 3 ห้อง 302 ซึ่งตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับสถานเอกอัครราชทูต

ความสัมพันธ์ทางการทูต

[แก้]

ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2376 จากที่ทั้งสองฝ่ายมีสนธิสัญญาไมตรีและการพาณิชย์ (Treaty of Amity and Commerce) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) โดยในปีดังกล่าว ประธานาธิบดี แอนดรูว์ แจ็กสัน ของสหรัฐอเมริกา (ดำรงตำแหน่งปี พ.ศ. 2372-2380) ได้ส่ง นายเอ็ดมันด์ โรเบิร์ตส์ เป็นเอกอัครราชทูตเดินทางมายังกรุงเทพมหานคร สหรัฐอเมริกาได้เปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทพมหานคร และสถานกงสุลใหญ่ประจำจังหวัดเชียงใหม่

เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยคนล่าสุด คือ นายกลิน ที. เดวีส์ ซึ่งได้รับการเสนอชื่อเข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยโดยประธานาธิบดีบารัก โอบามา เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2558 ได้รับการรับรองจากวุฒิสภาสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม และเข้าสาบานตนเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558 ต่อจาก นางคริสตี้ เคนเนย์ ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยในปี พ.ศ. 2553-2558 [1]ปัจจุบันอยู่ระหว่างขั้นตอนของการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยคนใหม่

ประเทศไทยเปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน และมีสถานกงสุลใหญ่ใน 3 เมือง คือ ชิคาโก ลอสแอนเจลิส และนิวยอร์ก

การขอวีซ่าเข้าประเทศ

[แก้]

บุคคลที่ไม่ได้ถือสัญชาติอเมริกันจำเป็นต้องขอวีซ่าเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา โดยการที่จะเดินทางเข้าออก หรืออยู่ในประเทศอเมริกาได้ อย่างถูกต้องตามกฎหมาย นั้นมีอยู่ 3 ฉบับ ได้แก่ Passport (หนังสือเดินทาง) , US Visa (วีซ่าสหรัฐอเมริกา) และหนังสือ I-20/DS-2019

วีซ่าเข้าประเทศสหรัฐอเมริกามีหลายประเภท แบ่งตามวัตถุประสงค์ของผู้ที่จะเดินทาง ได้แก่

  • F-1 วีซ่า - วีซ่าสำหรับผู้ที่ประสงค์ไปเรียน
  • J-1 วีซ่า - วีซ่าสำหรับผู้ที่ได้รับคัดเลือกเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน รวมถึงผู้ที่ไปศึกษาดูงานและอบรมตามคำเชิญของหน่วยงานในสหรัฐ
  • B-2 วีซ่า - วีซ่าสำหรับผู้ที่ประสงค์จะเดินทางไปท่องเที่ยว
  • วีซ่า ประเภทอื่นๆ

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]