สยามอะเมซิ่งพาร์ค
สไลเดอร์ยักษ์ในดินแดนวอเตอร์เวิลด์ | |
ที่ตั้ง | 203 ถนนสวนสยาม แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร |
---|---|
สถานะ | เปิดบริการ |
เปิดกิจการ | 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523[1] |
ผู้ดำเนินการ | บริษัท สยามพาร์ค บางกอก จำกัด |
ฤดูกาลดำเนินงาน | รอบปี |
ผู้เข้าชม | >2,000,000 (2016) |
พื้นที่ | 300 ไร่ |
เครื่องเล่น | |
รวม | >30 |
เว็บไซต์ | www |
สยามอะเมซิ่งพาร์ค (อังกฤษ: Siam Amazing Park) หรือชื่อเดิม สวนสยาม (อังกฤษ: Siam Park City) เป็นพิพิธภัณฑ์ ศูนย์การค้า สวนสนุก และสวนน้ำ ตั้งอยู่ที่ถนนสวนสยาม แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร บนเนื้อที่ 300 ไร่ มีจุดเด่นที่ภายในโครงการมีทะเลเทียมขนาดใหญ่ อันเป็นที่มาของฉายาว่า "ทะเลกรุงเทพ" โดยทะเลเทียมแห่งนี้เป็นทะเลเทียมที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยการรับรองของบันทึกสถิติโลกกินเนสส์
สยามอะเมซิ่งพาร์ค หรือชื่อเดิมคือ สวนสยาม เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523[1] ดำเนินงานโดย บริษัท อมรพันธ์นคร-สวนสยาม จำกัด โดยไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ เป็นประธานกรรมการ แรกเริ่มมีเพียงสวนน้ำภายหลังจึงได้ซื้อเครื่องเล่นเดิมจากสวนสนุกแฮปปี้แลนด์ที่ได้ปิดกิจการมาให้เปิดบริการ สวนสยามจึงเป็นทั้งสวนน้ำและสวนสนุกที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีรางน้ำวน สปา พร้อมเครื่องเล่นทางน้ำครบครัน สไลเดอร์ที่สูงเท่ากับตึก 7 ชั้น ซูเปอร์สไปรัลรางน้ำคดเคี้ยว รถไฟเหาะวอร์เท็กซ์ รถไฟเหาะบูมเมอแรง และเครื่องเล่นอื่น ๆ อีกเกือบ 40 ชนิด
ภายในสยามอะเมซิ่งพาร์ค
[แก้]ประกอบด้วย 5 พื้นที่ และ 1 สวนน้ำ[2]
พื้นที่
[แก้]บางกอกเวิลด์
[แก้]สถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บางกอกเวิลด์ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยการนำสถาปัตยกรรมของกรุงรัตนโกสินทร์มาปรับใช้ เช่น ศาลาเฉลิมไทย ศาลาเฉลิมกรุง ห้างแบดแมนแอนด์โก ห้างบี.กริมแอนด์โก เยาวราชไชน่าทาวน์
เอ็กซ์ตรีมเวิลด์
[แก้]ประกอบไปด้วยเครื่องเล่นที่มีความตื่นเต้นและหวาดเสียว เช่น รถไฟเหาะตีลังกาเกลียวสว่าน (Vortex), ยักษ์ตกตึก (Giant Drop), รถไฟเหาะตีลังกาถอยหลัง (Boomerang) และล่องแก่งมหาสนุก (Log Flume) และมัตัวละครมาสคอตที่สำคัญคือ Golden the Tiger
แอดเวนเจอร์เวิลด์
[แก้]เป็นพื้นที่ผจญภัย มีตัวละครมาสคอตคือ ไดโน่ ประกอบไปด้วยเครื่องเล่นที่สำคัญคือ ผจญภัยดินแดนไดโนเสาร์ (Jurassic Adventure), เครื่องเล่นแฟนตาซี อาทิ Twin Dragon, Monster, Astrofighter เป็นต้น
แฟมมิลีเวิลด์
[แก้]มีตัวละครมาสคอตคือ ม้าวิลลี่ ประกอบไปด้วยเครื่องเล่นที่สำคัญคือ ท่องป่าแอฟริกา (Africa Adventure), หอคอยชมวิว (Si-Am Tower) และม้าหมุนสองชั้น (The Merry-Go-Round)
สมอลล์เวิลด์
[แก้]มีตัวละครมาสคอตคือ ป้าหงส์แซลลี่ ประกอบไปด้วยเครื่องเล่นที่สำคัญคือ ม้าหมุนเล็ก, เพลย์พอร์ท, มอเตอร์ไซค์เล็ก, เรือหงส์, เรือหมุน
สวนน้ำ
[แก้]วอเตอร์เวิลด์
[แก้]เป็นสวนน้ำที่มีทะเลเทียมใหญ่ที่สุดในโลก ธารน้ำวน สปาคลับ รวมถึงมีเครื่องเล่นที่สำคัญคือ สไลเดอร์ยักษ์สายรุ้ง 7 สี, Super Spiral และ Si-Am Lagoon เป็นต้น มีตัวละครมาสคอตคือ Ranger the Whale
พื้นที่อื่น ๆ
[แก้]นอกจากนี้ยังทีพื้นที่อื่น ๆ คือ
- สัมมนาจัดเลี้ยง เป็นสถานที่รับรองสำหรับการประชุมหรืองานกิจกรรมต่าง ๆ
- ค่ายพักแรม สำหรับกิจกรรมการเข้าค่ายลูกเสือ มีฐานต่าง ๆ ห้องพักแบบเชลเตอร์และเรือนนอน 48 หลัง มีพัดลมปรับอากาศ ห้องน้ำในตัว
เหตุการณ์สำคัญ
[แก้]พ.ศ. 2528 เคยใช้เป็นสถานที่จัดการประกวดนางสาวไทยรอบตัดสิน
พ.ศ. 2550 เกิดอุบัติเหตุกับเครื่องเล่น อินเดียน่าล็อก เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ทำให้มีผู้เสียชีวิต และวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2551 เกิดเหตุกับซูเปอร์สไปรัล ทำให้มีผู้บาดเจ็บ 28 ราย ทางเจ้าของจึงประกาศขายกิจการแต่มีหลายฝ่ายให้กำลังใจและขอร้องอย่าขาย เจ้าของจึงตัดสินใจบริหารสวนสยามต่อไป[3]
พ.ศ. 2552 เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552 กินเนสส์ เวิลด์ เร็คคอร์ด ร่วมกับสมาคมสวนน้ำโลก มอบรางวัลหนังสือรับรอง "ทะเลเทียมที่ใหญ่ที่สุดในโลก" ให้แก่ ทะเล-กรุงเทพฯ สวนสยาม โดยมีนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นประธานรับมอบ ร่วมด้วย นายไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ ที่ปรึกษาบริษัท สยามพาร์คซิตี้ จำกัด และนายทาลาล โอมาร์ ผู้แทนจากกินเนสส์ เวิลด์ เร็คคอร์ด ทั้งนี้ ทะเลเทียมของสวนสยาม มีขนาด 13,600 ตารางเมตร รองรับผู้ใช้บริการได้พร้อมกัน 13,000 คน ส่วนเจ้าของสถิติทะเลเทียมที่ใหญ่ที่สุดในโลกเดิมคือ ดีโน่ พาร์ค นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน มีขนาด 6,053 ตารางเมตร
พ.ศ. 2553 วันที่ 19 พฤศจิกายน - 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553 สยามพาร์คซิตี้ สวนสยาม ได้ จัดงานฉลองครบรอบเปิดกิจการ 30 ปี[4] นับว่าเป็นสวนสนุกและสวนน้ำที่มีอายุมากที่สุดในประเทศไทยที่เปิดดำเนินการอยู่จนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. 2562 สวนสยามประกาศปิดปรับปรุงใหญ่บางส่วน พร้อมกับเปลี่ยนชื่อโครงการเป็น สยามอะเมซิ่งพาร์ก ภายใต้การบริหารของทายาทรุ่นที่สองคือ สิทธิศักดิ์ เหลืองอมรเลิศ, วุฒิชัย เหลืองอมรเลิศ และจิรวรรณ ดิศกุล ณ อยุธยา โดยมีการปรับภาพลักษณ์ให้ดูทันสมัยและสดใสมากขึ้น มีการปรับปรุงเครื่องเล่นให้ใช้งานได้ตามปกติ ปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรวมของโครงการ และก่อสร้างส่วนขยายบริเวณด้านหน้าโครงการ ภายใต้การควบคุมและดูแลของ Spikeband บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของโลกที่เป็นผู้พัฒนาสวนสนุกโตเกียวดิสนีย์แลนด์ ที่ประเทศญี่ปุ่น[5] และยังเป็นการปรับปรุงเพื่อรองรับการเปิดให้บริการของรถไฟฟ้าสายสีชมพู และรถไฟฟ้าสายสีส้ม โดยการปรับปรุงจะแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2564[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "สวนสยาม"ทุบ 3 เครื่องเล่นสู้วิกฤติโควิด สู่ภารกิจใหญ่ "บางกอกเวิลด์"". คมชัดลึกออนไลน์. 2021-05-20.
- ↑ "เกี่ยวกับเรา". bbc.co.uk. สยามอะเมซิ่งพาร์ค. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-17. สืบค้นเมื่อ 2008-01-15.
- ↑ http://www.thairath.co.th/content/ent/131219
- ↑ ปิดตำนาน 39 ปี “สวนสยาม” เปลี่ยนชื่อ “Siam Amazing Park” ทรานส์ฟอร์มสู่ยุค Gen 2
- ↑ ‘สวนสยาม’ รับรถไฟฟ้า 2 สาย อัดงบ 3 พันล้าน ปั้น!! ‘บางกอกเวิลด์’
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ภาสวร สังข์สร. “การเปลี่ยนแปลงของธุรกิจการพักผ่อนหย่อนใจในกรุงเทพ ปี พ.ศ. 2470-2540.” วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์). คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559.
- เว็บไซต์สวนสยาม
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สยามอะเมซิ่งพาร์ค
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์