เดือน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เดือน คือชื่อเรียกดวงจันทร์ เช่นเดือนหงาย หรือเดือนดับ หรือเป็นหน่วยวัดระยะเวลา เท่ากับระยะเวลาที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก ซึ่งมีระยะประมาณ 29.53 วัน โดยปกติ หนึ่งเดือน หมายถึงช่วงเวลาประมาณ 30 วัน
เดือนมีวิธีการนับต่าง ๆ ดังนี้
เดือนตามระบบดาวฤกษ์
[แก้]คำนวณจากวงโคจรของดวงจันทร์ มีระยะเวลา 27.321 661 วัน
เดือนตามระบบจูเลียนและเกรกอเรียน
[แก้]เป็นระบบที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน ใน 1 ปี มี 12 เดือนได้แก่
- มกราคม มี 31 วัน
- กุมภาพันธ์ มี 28 วัน (ในปีอธิกสุรทิน มี 29 วัน)
- มีนาคม มี 31 วัน
- เมษายน มี 30 วัน
- พฤษภาคม มี 31 วัน
- มิถุนายน มี 30 วัน
- กรกฎาคม มี 31 วัน
- สิงหาคม มี 31 วัน
- กันยายน มี 30 วัน
- ตุลาคม มี 31 วัน
- พฤศจิกายน มี 30 วัน
- ธันวาคม มี 31 วัน
เดือนตามระบบปฏิทินฮิจญ์เราะหฺ
[แก้]ในหนึ่งปีฮิจญ์เราะหฺมี 12 เดือน คือ
- มุฮัรรอม
- ศอฟัร
- รอบีอุลเอล
- รอบีอุษษานี
- ญุมาดัลอูลา
- ญุมาดัษษานียะหฺ
- ร่อญับ
- ชะอฺบาน
- รอมะฎอน
- เชาวาล
- ซุลกออิดะหฺ
- ซุลฮิจญะหฺ
เดือนตามระบบปฏิทินฮินดู
[แก้]ปฏิทินฮินดูมีระบบต่างๆในการตั้งชื่อเดือน เดือนในปฏิทินจันทรคติ ได้แก่
ชื่อไทย | ชื่อบาลี | ชื่อสันสกฤต | ชื่อทมิฬ | ชื่อเตลูกู | ชื่อเนปาล | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | ไจตฺร | จิตตมาศ | Caitra (चैत्र) | Chitirai (சித்திரை) | Chaithramu (చైత్రము) | Chaitra (चैत्र/चैत) |
2 | ไวศาข | วิสาขมาส | Vaiśākha (वैशाख) | Vaikasi (வைகாசி) | Vaisaakhamu (వైశాఖము) | Baisakh (बैशाख) |
3 | เชฺยษฺฐ | เชฏฐมาส | Jyeṣṭha (ज्येष्ठ) | Aani (ஆனி) | Jyeshttamu (జ్యేష్ఠము) | Jesth (जेष्ठ/जेठ) |
4 | อาษาฒ | อาสาฬหมาส | Ashadha (आषाढ) | Aadi (ஆடி) | Aashaadhamu (ఆషాఢము) | Aasad (आषाढ/असार) |
5 | ศฺราวณ | สาวนมาส | Śrāvaṇa (श्रावण) | Aavani (ஆவணி) | Sraavanamu (శ్రావణము) | Srawan (श्रावण/साउन) |
6 | ภาทฺร | ภัททปทมาส | Bhadrapada (भाद्रपद) | Purratasi (புரட்டாசி) | Bhaadhrapadamu (భాద్రపదము) | Bhadau (भाद्र|भदौ) |
7 | อาศฺวิน | อัสสยุชมาส | Āśvina (अश्विन) | Aiypasi (ஐப்பசி) | Aasveeyujamu (ఆశ్వయుజము) | Asoj (आश्विन/असोज) |
8 | การฺตฺติก | กัตติกมาส | Kārtika (कार्तिक) | Kaarthigai (கார்த்திகை) | Kaarthikamu (కార్తీకము) | Kartik (कार्तिक) |
9 | อักรหายนา | มิคสิรมาส | Mārgaśīrṣa (मार्गशीर्ष) | Maargazhi (மார்கழி) | Maargaseershamu (మార్గశిరము) | Mangsir (मार्ग/मंसिर) |
10 | เปาษ | ปุสสมาส | Pauṣa (पौष) | Thai (தை) | Pushyamu (పుష్యము) | Push (पौष/पुष/पूस) |
11 | มาฆ | มาฆมาส | Māgha (माघ) | Maasi (மாசி) | Maaghamu (మాఘము) | Magh (माघ) |
12 | ผาลฺคุน | ผัคคุณมาส | Phālguna (फाल्गुन) | Panguni (பங்குனி) | Phaalgunamu (ఫాల్గుణము) | Falgun (फाल्गुन/फागुन) |
นอกจากนี้ยังเป็นชื่อที่ใช้ในปฏิทินประจำชาติอินเดีย สำหรับการกำหนดเดือนแบบใหม่
ปุรุษุตมมาส (Purushottam Maas) หรือ อธิกมาส (Adhik Maas) (แปล อธิก (adhika) = 'เพิ่ม', มาส (māsa) = 'เดือน') เป็นเดือนพิเศษในปฏิทินฮินดูที่แทรกเพิ่มเพื่อให้ปฏิทินจันทรคติและสุริยคติสอดคล้องกัน
ชื่อที่ใช้ในปฏิทินสุริยคติฮินดู คือการนำชื่อของ(จักร)ราศีที่ดวงอาทิตย์เดินทางผ่านมาใช้ ดังนี้
- เมษะ (Mesha)
- พฤษภะ (Vrishabha)
- มิถุนะ (Mithuna)
- กฎกะ (Kataka)
- สิงหะ (Simha)
- กันยา (Kanyaa)
- ตุลา (Tulaa)
- พฤศจิกะ (Vrisika)
- ธนู (Dhanus)
- มกระ (Makara)
- กุมภะ (Kumbha)
- มีนะ (Miina)
เดือนทางดาราคติ
[แก้]เดือนทางดาราคติ (Sidereal Month) เดือนทางดาราคติ เป็นการนับการโคจรของดวงจันทร์รอบโลกโดยเทียบกับดาวฤกษ์ โดยเริ่มนับตั้งแต่ดวงจันทร์เคลื่อนที่จาก ดาวฤกษ์ ดวงหนึ่งไปจนกลับมาถึงดาวฤกษ์ดวงเดิมอีกใช้เวลาประมาณ 27.3 วัน