การท่องเที่ยวในประเทศจีน
การท่องเที่ยวในประเทศจีน มีการขยายตัวขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมาตั้งแต่การเริ่มต้นของการปฏิรูปและการเปิดประเทศ การเกิดขึ้นของชนชั้นกลางเศรษฐีใหม่และการผ่อนคลายข้อจำกัดการเคลื่อนไหวโดยทางการจีนต่างก็เป็นการเพิ่มการบูมต่อการท่องเที่ยวนี้ ประเทศจีนได้กลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มีผู้ชมมากที่สุดของโลก และเป็นการตลาดการท่องเที่ยวขาเข้าและขาออกที่ร้อนแรงที่สุด นับว่าการท่องเที่ยวของประเทศจีนมีความเฟื่องฟูอย่างยั่งยืนในอันดับต้น ๆ ของโลก[1]
ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีผู้มาเยือนมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 55.98 ล้านคนในปี ค.ศ. 2010 [2] และมีรายได้จากการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศถึง 45.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นอันดับ 4 ของโลกในปีดังกล่าว ตลอดจนมีผู้มาเยือนสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศรวมทั้งสิ้น 1.61 พันล้านคน กับรายได้รวมที่ 777.1 พันล้านหยวน[1]
ตามองค์การการท่องเที่ยวโลก ในปี ค.ศ. 2010 ประเทศจีนจะกลายเป็นประเทศท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดและมีกลุ่มเดินทางในต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุด ส่วนในแง่ของการใช้จ่ายการเดินทางขาออกทั้งหมด คาดว่าประเทศจีนจะมีการเจริญเติบโตเร็วที่สุดในโลกนับตั้งแต่ ค.ศ. 2006 ตลอดถึงปี ค.ศ. 2015 โดยก้าวกระโดดขึ้นสู่อันดับสองสำหรับค่าใช้จ่ายในการเดินทางรวมในปี ค.ศ. 2015 [1]
เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจีนยังสร้างความพรั่งพรูในธุรกิจการท่องเที่ยว ในประเทศจีน เปอร์เซ็นต์ของยอดขายขึ้นอยู่กับธุรกิจการท่องเที่ยวที่สูงขึ้น 38% เมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกา 21% และ 28% ในสหราชอาณาจักร ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์การเดินทางทางธุรกิจ ค.ศ. 2013 สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของสภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลก[3]
การท่องเที่ยวขาเข้า
[แก้]ประเทศจีนได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญจากการปฏิรูปและการเปิดประเทศสู่โลกกว้างในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 ที่ได้รับการส่งเสริมโดยเติ้ง เสี่ยวผิง ในปี ค.ศ. 1978 ประเทศจีนได้ทำการต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติประมาณ 230,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพราะข้อจำกัดเข้มงวดที่รัฐบาลวางไว้สำหรับผู้ที่ได้รับอนุญาตและผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต[4] ทว่าในปี ค.ศ. 2006 ประเทศจีนได้ต้อนรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศถึง 49.6 ล้านคน ทำให้เป็นประเทศที่มีผู้มาเยือนมากที่สุดเป็นอันดับสี่ของโลก[5] ส่วนในปี ค.ศ. 2007 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศไปยังประเทศจีนได้เพิ่มขึ้นเป็น 54.7 ล้านคน[6]
สถิติ
[แก้]นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เดินทางสู่ประเทศจีนในปี ค.ศ. 2015 มาจากประเทศดังต่อไปนี้:[7]
อันดับ | ประเทศ | จำนวน (คน) |
---|---|---|
1 | เกาหลีใต้ | 4,444,400 |
2 | ญี่ปุ่น | 2,497,700 |
3 | เวียดนาม | 2,160,800 |
4 | สหรัฐอเมริกา | 2,085,800 |
5 | รัสเซีย | 1,582,300 |
6 | มาเลเซีย | 1,075,500 |
7 | มองโกเลีย | 1,014,100 |
8 | ฟิลิปปินส์ | 1,004,000 |
9 | สิงคโปร์ | 905,300 |
10 | อินเดีย | 730,500 |
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุและอ้างอิง
[แก้]บทความนี้รวมเอางานสาธารณสมบัติจากประเทศศึกษา หอสมุดรัฐสภา
- ↑ 1.0 1.1 1.2 Factbox: Basic facts about China's economy
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-25. สืบค้นเมื่อ 2016-10-02.
- ↑ "Chinese appetite for business travel going strong". TTGmice. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 18 April 2013.
- ↑ Lew, Alan A. 1987. The History, Policies and Social Impact of International Tourism in the People’s Republic of China. Asian Profile 15(2)April:117 28.
- ↑ World Tourism Organization UNTWO Tourism Barometer. June 2007 issue เก็บถาวร 2011-07-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "UNTWO World Tourism Barometer, Vol.5 No.2" (PDF). United Nations World Tourism Organization. June 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-10-15.
- ↑ China Inbound Tourism in 2015
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- China travel and tourism ที่เว็บไซต์ Curlie
- China National Tourist Office (CNTO)
- China National Tourism Administration เก็บถาวร 2017-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (CNTA)
- Health Information for Travelers to China เก็บถาวร 2009-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC).
- China Tourism Statistics เก็บถาวร 2007-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The Phenomena of Collective Travel Magazine article on tourism in China