ศิริวรรณ ปราศจากศัตรู
ศิริวรรณ ปราศจากศัตรู | |
---|---|
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556 | |
ดำรงตำแหน่ง 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 – 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 – 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ศิริวรรณ ศุภศิริ 21 มีนาคม พ.ศ. 2499 อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2538–2566) รวมไทยสร้างชาติ (2566–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | ไถง ปราศจากศัตรู (สมรส 2534) |
ศิริวรรณ ปราศจากศัตรู (เกิด 21 มีนาคม พ.ศ. 2499) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ 2 สมัย อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ดูแลพื้นที่ภาคเหนือ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ปัจจุบันสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ[1]
ประวัติ
[แก้]ศิริวรรณ เกิดวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2499 เป็นบุตรสาวของนายศานิตย์ หรือพ่อเลี้ยงศานิตย์ ศุภศิริ อดีตนักการเมืองจังหวัดแพร่ชื่อดังในอดีต กับนางวัลลีย์ หรือแม่เลี้ยงวัลลีย์ ศุภศิริ มีพี่น้อง 5 คน คือ
- นางศุภวัลย์ (รุธีรยุทธ) ศุภศิริ (แม่เลี้ยงไก่) ผู้จัดการทีมสโมสรฟุตบอลแพร่ ยูไนเต็ด
- นายสุรพงษ์ ศุภศิริ
- นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู (แม่เลี้ยงติ๊ก)
- นางภาวนา โชติกเสถียร
- นายพงษ์สวัสดิ์ ศุภศิริ (โกปี้) ประธานสโมสรฟุตบอลแพร่ ยูไนเต็ด อดีตประธานสภาองค์บริหารส่านจังหวัดแพร่
ศิริวรรณ เป็นนักการเมืองสตรีที่มีบทบาทโดดเด่น และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ได้รับมอบหมายให้ดูแลการเลือกตั้ง ของพรรคประชาธิปัตย์ ในโซน 1 (ภาคเหนือตอนบน 11 จังหวัด) ร่วมกับ นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ และนายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ นางศิริวรรณมีชื่อเล่นว่า ติ๊ก จึงมีชื่อที่ทุกคนเรียกกันจนติดปากว่า แม่เลี้ยงติ๊ก ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ พล.ต.ท.ไถง ปราศจากศัตรู อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 มีบุตรชาย 1 คน คือ นายปารย์ ปราศจากศัตรู (ท่านขุน)
การศึกษา
[แก้]ศิริวรรณ ปราศจากศัตรู สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร[2] การศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และระดับปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยนเรศวร[3]
การทำงาน
[แก้]ร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์
[แก้]ศิริวรรณ ปราศจากศัตรู เป็นทายาทนักการเมืองของจังหวัดแพร่ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2538, 2539, 2544 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 นางศิริวรรณเป็นฝ่ายแพ้ให้แก่ นายอนุวัธ วงศ์วรรณ จากพรรคไทยรักไทย ลูกชายนายณรงค์ วงศ์วรรณ อดีตหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ศิริวรรณลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตจังหวัดแพร่ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งโดยแพ้ให้กับทีมผู้สมัครจากพรรคพลังประชาชน
เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ศิริวรรณ ปราศจากศัตรู ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และในปี พ.ศ. 2554 ศิริวรรณได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รับผิดชอบดูแลพื้นที่ภาคเหนือ[4] ต่อมาเขาได้ลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556[5] เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับกลุ่ม กปปส.
ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 เธอได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ[6] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัย เช่นเดียวกับในปี พ.ศ. 2562[7]
ศิริวรรณ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (คำรณ ณ ลำพูน) เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (สุเทพ เทือกสุบรรณ) และเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (วิทยา แก้วภราดัย) ในปี พ.ศ. 2551
ร่วมงานกับพรรครวมไทยสร้างชาติ
[แก้]ในการเลือกตั้งปี พ.ศ.2566 นางศิริวรรณ พร้อมด้วยหลานชายและหลานสาวอีก 2 คน ได้เข้าสมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ และได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน เธอได้เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์[8]
งานสังคม
[แก้]ศิริวรรณ ยังได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดแพร่ เมื่อปี พ.ศ. 2538 และเป็นกรรมการบริหารชมรมสมาชิกสภาสตรีไทย ปี พ.ศ. 2543
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ศิริวรรณ ปราศจากศัตรู ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 6 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดแพร่ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดแพร่ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดแพร่ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ (เลื่อนแทน)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประยุทธ์ลาราชการเข้าพรรครวมไทยสร้างชาติทำบุญใหญ่ สวมเสื้อต้อนรับอดีต ส.ส. และสมาชิกใหม่อีก 40 คน
- ↑ สถาบันพระปกเกล้า. นักการเมืองถิ่นจังหวัดแพร่ กรุงเทพ : สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2555
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (จำนวน ๑๙ คน), เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๕๑ง หน้า ๕๓ วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (จำนวน ๑๙ ราย), เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑ง หน้า ๑๗๗ วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๕๗
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ัง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 พฤษภาคม 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-05-10.
- ↑ ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง (นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู พรรครวมไทยสร้างชาติ)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2499
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอลอง
- นักการเมืองจากจังหวัดแพร่
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- นักการเมืองพรรครวมไทยสร้างชาติ
- นักการเมืองที่เป็นแนวร่วมกปปส.
- บุคคลจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
- บุคคลจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.