วรยศ ศุขสายชล
วรยศ ศุขสายชล | |
---|---|
เกิด | 31 ธันวาคม พ.ศ. 2488 บ้านคลองบางขุนศรี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
สัญชาติ | ไทย |
ชื่ออื่น | จงกล ศุขสายชล |
อาชีพ | นักดนตรี ครูดนตรี นักประพันธ์เพลง |
มีชื่อเสียงจาก | การบรรเลงเครื่องสายไทย (ซอ) การเรียบเรียงเพลงสำหรับเครื่องสาย |
ผลงานเด่น | ทฤษฎี 17 เสียง |
คู่สมรส | กิตติมา ศุขสายชล |
บิดามารดา |
|
รางวัล | ชนะเลิศ การประกวดเครื่องสายไทย ระดับประชาชน พ.ศ. 2530 |
เกียรติยศ | ศิลปินอาวุโสคึกฤทธิ์ มูลนิธิคึกฤทธิ์ 80 พ.ศ. 2546 |
วรยศ ศุขสายชล เป็นนักดนตรี นักประพันธ์เพลง ศิลปินชาวไทยผู้มีความสามารถในการบรรเลงเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายไทย (ซอ) ในแนวทางที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีผลงานการประพันธ์และเรียบเรียงเพลงสำหรับบรรเลงเดี่ยวและรวมวง และมีผลงานการค้นคว้าเรียบเรียงทฤษฎีเสียงดนตรีไทย และพัฒนาต่อยอดขิมไทยที่สามารถบรรเลงได้ทั้งอนุรักษ์และร่วมสมัย เคยร่วมแสดงดนตรีไทยทั้งระดับชาติและนานาชาติ มีผลงานการบันทึกเสียงเพลงไทยแนวอนุรักษ์และร่วมสมัยอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ประวัติ
[แก้]วัยเด็ก
[แก้]วรยศ ศุขสายชล เกิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2488 มีชื่อเดิมว่า จงกล เป็นบุตรคนที่ 7 ของ เขียน ศุขสายชล กับ สระสม ศุขสายชล มีพี่น้อง 7 คน คือ ประสงค์, ไพเราะ, ลิขิต, อารีย์, พินิจ, ชาญ และ ไพลิน[1] ครอบครัวเป็นตระกูลนักดนตรีในย่านคลองบางขุนศรี เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร[2]
การศึกษา
[แก้]วรยศ ศุขสายชล เริ่มเข้าศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดบางเสาธง ศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดปราสาท และสำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ด้านดนตรี เมื่อออายุประมาณ 12 - 13 ปี เริ่มเรียนฆ้องวงใหญ่กับบิดา ซึ่งเป็นทหารในสังกัดกองดุริยางค์ทหารเรือ และเป็นศิษย์ของจางวางทั่ว พาทยโกศล แห่งสำนักดนตรีพาทยโกศล จากนั้นฝึกหัดเครื่องดนตรีอื่นในวงปี่พาทย์ จนสามารถบรรเลงออกงานกับคณะปี่พาทย์ของครอบครัวได้ ขณะเดียวกันได้ฝึกหัดขลุ่ยและขิมกับบิดา และฝึกหัดขับร้องกับมารดา จนเมื่ออายุ 17 ปี ได้เริ่มฝึกหัดซอด้วงกับบิดาอย่างจริงจัง เพราะมีความชื่นชอบซอด้วงเป็นพิเศษ เมื่อบิดาเห็นว่ามีความสามารถ จึงพาไปฝากเป็นศิษย์กับ จิตร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา ต่อมาบิดาได้พาไปฝากเป็นศิษย์ หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน)[3] โดยฝึกหัดตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนถึงขั้นสูง และได้ฝึกหัดทั้งซอด้วง ซออู้ และซอสามสาย ครบทั้ง 3 ซอ ภายหลังได้เรียนเพลงชุดของวงเครื่องสายปี่ชวาจาก เทียบ คงลายทอง รวมถึงได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการประยุกต์ทำนองปี่สำหรับปรับใช้กับซอ[4] อีกทั้งยังได้รับถ่ายทอดทำนองร้องเพลงทยอยเดี่ยวจาก อุษา สุคันธมาลัย อีกด้วย[5]
ประสบการณ์ทางดนตรี
[แก้]ผลงานทางวิชาชีพ
[แก้]วรยศ ศุขสายชล เริ่มเข้ารับราชการที่กองดุริยางค์ทหารเรือ เมื่อ พ.ศ. 2506[6] ในตำแหน่งกำลังพลนักดนตรี (ซอด้วง) และเริ่มเป็นที่รู้จักในวงการเครื่องสายไทยอย่างเต็มตัวเมื่ออายุ 21 ปี โดยได้เข้าร่วมการประกวดเดี่ยวซอด้วงและขลุ่ยเพียงออ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม เมื่อ พ.ศ. 2509 ได้รับรางวัลชนะเลิศซอด้วง และรางวัลรองชนะเลิศขลุ่ยเพียงออ[4] จนถึง พ.ศ. 2517 ได้ลาออกจากราชการมาบรรจุเป็นพนักงานประจำวงดนตรีไทยโรงงานสุราบางยี่ขัน จนถึง พ.ศ. 2528 ได้ผันตัวมาเป็นนักดนตรีอิสระ ขณะเดียวกันได้รับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษสอนเครื่องสายไทยในสถาบันการศึกษาหลายแห่ง ได้แก่ วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา,[7] วิทยาลัยครูสวนสุนันทา,[8] มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,[9] คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร,[8] วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ชุมนุมดนตรีไทย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,[10] ชมรมดนตรีไทย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ,[8] ชมรมดนตรีไทย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ[4]
เมื่อ พ.ศ. 2530 ได้รวบรวมสมาชิก ได้แก่ ปี๊บ คงลายทอง, สุธารณ์ บัวทั่ง, ธีระ ภู่มณี, พจนีย์ รุ่งเรือง, วิทยา หนูจ้อย, และ อารีย์ (ธัญทิพย์) คงลายทอง ก่อตั้งคณะ "วัยหวาน"[4] เข้าร่วมการประกวดวงเครื่องสายไทย ระดับประชาชน ในรายการประกวดเฉลิมพระเกียรติพระบาทเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ จัดโดย กรมประชาสัมพันธ์ ร่วมกับธนาคารกรุงไทย จำกัด ได้รับรางวัลชนะเลิศ รับพระราชทานรางวัลจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[11]
วรยศ ศุขสายชล เคยได้รับเชิญจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนร่วมงานการแสดงดนตรีระดับชาติที่สำคัญ เช่น
- พ.ศ. 2527 "การบรรเลงบทเพลงเชิดชูนักแต่งเพลงไทย ครั้งที่ 2" จัดโดยสมาคมนักแต่งเพลงแห่งประเทศไทย ได้รับเชิญให้นำเพลงตะเลงรัญจวน เถา เข้าร่วมบรรเลง ณ โรงละครแห่งชาติ[10]
- พ.ศ. 2531 "มหกรรมเดี่ยวเพลงไทยชัยมงคล" จัดโดยมหาวิทยาลัยมหิดล กรมศิลปากร และสมาคมนักแต่งเพลงแห่งประเทศไทย ได้รับเชิญเดี่ยวซอด้วง เพลงกราวใน แสดงเฉพาะพระพักตร์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ โรงละครแห่งชาติ[12]
- พ.ศ. 2535 "เสียงทิพย์จากสายซอ" ในวาระครบ 100 ปีเกิด หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) ได้รับเชิญเดี่ยวซอด้วง เพลงกราวใน ณ โรงละครแห่งชาติ[13]
- พ.ศ. 2560 เป็น 1 ใน 9 ครู "อัญมณีดนตรีไทย" ที่ได้รับคัดเลือกจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรมให้ร่วมบรรเลงเพลงไทย "ร้อยใจดนตรีไทย น้อมรำลึกองค์อัครศิลปิน" จัดขึ้นเพื่อน้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย[14]
ในด้านการอนุรักษ์เพลงไทย มีผลงานการบันทึกเสียงร่วมกับคณะดนตรีที่มีชื่อเสียงหลายคณะ เช่น ดุริยประณีต, ดุริยพันธุ์, บัวทั่ง, เสริมมิตรบรรเลง[10] ฯลฯ รวมถึงมีผลงานการบันทึกเสียงออกอากาศทางสถานีวิทยุหลายแห่ง เช่น สถานีวิทยุศึกษา สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย สถานีวิทยุกระจายเสียง 1 ปณ ฯลฯ ปรากฏผลงานการบันทึกเสียงในฐานข้อมูลห้องสมุดระดับชาติ เช่น ห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร หอสมุดแห่งชาติ, หอสมุดดนตรีไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,[15] [16] ห้องสมุดดนตรีไทยสมเด็จพระเทพรัตน์ มหาวิทยาลัยมหิดล,[17] [18] ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ[19] ฯลฯ ในด้านดนตรีไทยร่วมสมัย ได้ร่วมงานบันทึกเสียงกับวงฟองน้ำ ของ บรูซ แกสตัส และ บุญยงค์ เกตุคง และร่วมงานกับวงกังสดาล ของ เทวัญ ทรัพย์แสนยากร[20]
วรยศ ศุขสายชล ได้รับเชิญจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นกรรมการตัดสินการประกวดดนตรีไทยที่สำคัญระดับชาติหลายรายการ เช่น
- "การประกวดดนตรีไทยระดับนักเรียนภาคตะวันออก" ครั้งที่ 3-6, ครั้งที่ 8-12 และครั้งที่ 18-20 ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จัดโดยมหาวิทยาลัยบูรพา[21]
- "การประกวดดนตรีไทยเพื่อความมั่นคงของชาติ" ครั้งที่ 3 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดโดยสหพันธ์ประสานงานเพื่อความมั่นคง ธนาคารกสิกรไทย และมูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)[22]
- การประกวดรายการ "ประลองเพลง ประเลงมโหรี" ครั้งที่ 1-2 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดโดยสำนักงานส่งเสริมสัวสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ และธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)[23]
- การประกวดรายการ "ประชันลีลาบรรเลง เพลงคีตศิลป์" ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดโดยมูลนิธิคึกฤทธิ์ 80[24] [25]
- การประกวดรายการ "ศรทอง" ครั้งที่ 3-4 จัดโดยมูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)[26] [27]
นอกจากนี้ยังได้รับเชิญเป็นวิทยากรพิเศษแก่หน่วยงานภาครัฐหลายแห่ง เช่น กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักการสังคีต กรมศิลปากร, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, มหาวิทยาลัยบูรพา, วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ฯลฯ
ผลงานค้นคว้าและงานทางวิชาการ
[แก้]วรยศ ศุขสายชล มีงานค้นคว้าที่สำคัญคือ ทฤษฎีเสียง โดยอธิบายระบบเสียงในดนตรีไทยผ่านการวิเคราะห์จากเสียงขับร้อง ซึ่งแบ่งระดับเสียงใน 1 ช่วงเสียงออกเป็น 17 เสียงย่อย (Microtone) ต่างจากทฤษฎีดนตรีไทยดั้งเดิมที่แบ่งระดับเสียงเป็น 7 เสียง และต่างจากทฤษฎีดนตรีตะวันตกที่แบ่งระดับเสียงเป็น 12 เสียง ได้ตั้งชื่อทฤษฎีว่า "วรยศ" ตามชื่อผู้ค้นคว้า หรือเรียกกันทั่วไปว่าทฤษฎี "17 เสียง"[28] แล้วเรียบเรียงเป็นหนังสือชื่อว่า "ทฤษฎีเสียงดนตรีไทย" ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2541[29]
วรยศ ศุขสายชล ได้ทำการค้นคว้าพัฒนาต่อยอดขิมและซอ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางด้านคุณภาพเสียงและวิธีการบรรเลง โดยขิมได้ปรับเปลี่ยนการใช้วัสดุและปรับขยายสัดส่วนเครื่องดนตรี เพื่อให้ได้ช่วงเสียงที่กว้างมากยิ่งขึ้น สามารถบรรเลงได้ 4 ช่วงเสียง (Octave) และคิดกลวิธีที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้งการบรรเลงดนตรีไทยแนวอนุรักษ์และแนวร่วมสมัย ขิมที่พัฒนาใหม่นี้มีชื่อเรียกเฉพาะว่า "ขิมตักกศิลา" หรือเรียกอีกชื่อว่า "ขิมใหญ่"[30] ส่วนซอ ได้ปรับขยายสัดส่วนเครื่องดนตรี เพื่อให้ได้ช่วงเสียงที่กว้างมากยิ่งขึ้นและมีเสียงที่ชัดเจน ปรับเปลี่ยนการใช้สายโลหะแทนการใช้สายไหม เพื่อให้ได้เสียงที่คมชัดและใส
นอกจากนี้ วรยศ ศุขสายชล ยังมีผลงานการเรียบเรียงบทความลงเผยแพร่ในวารสารถนนดนตรี ได้แก่เรื่อง "อยากจำเพลงเก่ง ๆ ได้จังเลย"[31] และ "คดีโน้ตเพลง"[32]
การสร้างสรรค์และเผยแพร่ผลงานต่อสาธารณชน
[แก้]การประพันธ์และเรียบเรียงเพลง
[แก้]วรยศ ศุขสายชล มีผลงานการประพันธ์เพลง ได้แก่ ตะเลงรัญจวน เถา,[33] พม่าแปลง เถา, โหมโรงชมสมุทร (เที่ยวกลับ),[30] เทพประนมกร (ทางเปลี่ยน),[34] แขกมอญบางช้าง (ทางเปลี่ยน สองชั้นและชั้นเดียว)[5] จีนซัวเถา[35] และ ท่อนนำตับจูล่ง มีผลงานการเรียบเรียงเพลง ได้แก่ ชุดระบำแขก,[36] ชุดลำตัดดนตรี, ชุดพม่าเห่, เวสสุกรรม (5 จังหวะ), วิลันดาโอด (ประสานเสียง), สิงโตคำรณ, อาลีบาบา, พม่าคะเมีย, แขกเชิญเจ้า, คางคกปากสระ (แจ๊ส), ซัมเซ และ อาหรับราตรี มีผลงานการปรับทางเพลงสำหรับวงเครื่องสายหลายเพลง เช่น โหมโรงเชิดนอก, ทยอยใน, บุหลัน,[37] แขกโอด,[30] ทยอยเขมร, บาทสกุณี,[38] ฯลฯ รวมถึงมีผลงานการเรียบเรียงทางเดี่ยวสำหรับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายหลายเพลง เช่น เดี่ยวซอด้วง นกขมิ้น, ม้าย่อง, พญาโศก, พญาครวญ, แขกมอญ, เชิดนอก, กราวใน, ทยอยเดี่ยว เดี่ยวซออู้ พญาโศก, พญาครวญ, ทะแย, ต่อยรูป, กราวใน เดี่ยวซอสามสาย เชิดนอก, หกบท เดี่ยวขิม มโนราห์บูชายัญ เดี่ยวจะเข้ 2 ตัว กราวใน ฯลฯ[4]
โดยผลงานที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางคือ
- เพลงตะเลงรัญจวน เถา ประพันธ์เพื่อเข้าร่วมประกวดการแต่งเพลงไทย ในรายการพิณทอง ครั้งที่ 1 ของธนาคารกสิกรไทย เมื่อ พ.ศ. 2524[39]
- เพลงอาลีบาบา เรียบเรียงสำหรับบรรเลงต่อท้ายเพลงแขกลพบุรี เถา ในการประกวดวงเครื่องสายไทย ระดับประชาชน ในรายการประกวดเฉลิมพระเกียรติพระบาทเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2530 ได้รับรางวัลชนะเลิศ[40]
- เพลงแขกโอด เรียบเรียงให้คณะดุริยางคศิลป์เพื่อเข้าร่วมประกวดวงเครื่องสายผสม ระดับประชาชน ครั้งที่ 5 ประจำปี พ.ศ. 2551 จัดโดยมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้รับรางวัลชนะเลิศ
- เดี่ยวซอด้วง เพลงกราวใน ได้บรรเลงในงานมหกรรมเดี่ยวเพลงไทยชัยมงคล เมื่อ พ.ศ. 2531[12] และงานครบ 100 ปี หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) เมื่อ พ.ศ. 2535[13]
- เดี่ยวซอด้วง เพลงนกขมิ้น ได้ถ่ายทอดให้กับ ธีระ ภู่มณี อดีตข้าราชการสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ได้รับรางวัลชนะเลิศฆ้องทองคำพระราชทานเมื่อ พ.ศ. 2528[41]
การบันทึกเสียง
[แก้]วรยศ ศุขสายชล มีผลงานการบันทึกเสียงดนตรีที่สำคัญ ได้แก่
อัลบั้มเดี่ยวและอัลบั้มที่ควบคุมการบรรเลงด้วยตนเอง
- "เดี่ยวซอด้วง" ในซีรีส์อัลบั้ม ชุด 13 "สยามสังคีต ดนตรีไทยฉบับบรมครู" โดย เสรี หวังในธรรม (Remaster) (โอเชี่ยนมีเดีย, 2544)[42]
- "เดี่ยวซออู้ - เดี่ยวซอสามสาย" ในซีรีส์อัลบั้ม ชุด 14 "สยามสังคีต ดนตรีไทยฉบับบรมครู" โดย เสรี หวังในธรรม (Remaster) (โอเชี่ยนมีเดีย, 2544)[43]
- อัลบั้ม "ดนตรีไทยชนะการประกวด เฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ" (กรมประชาสัมพันธ์ และธนาคารกรุงเทพ จำกัด, 2530)
อัลบั้มที่มีส่วนร่วมในการบันทึกเสียง
- แผ่นเสียง คณะยอดศิลปิน (สิงห์โตแดง, 2510)
- อัลบั้ม ปี่พาทย์ไม้นวม คณะดุริยพันธุ์ (โรต้า RT.2012)
- อัลบั้ม มโหรีวงใหญ่ คณะบัวทั่ง (โรต้า RT.2018)
- อัลบั้ม มโหรีวงใหญ่ คณะดุริยพันธุ์ (โรต้า RT.2017)
- อัลบั้ม ปี่พาทย์ไม้นวม คณะดุริยพันธุ์ (กมลสุโกศล KCS.44)
- อัลบั้ม ปี่พาทย์ไม้นวม คณะดุริยพันธุ์ (Golden TS-2038)
- อัลบั้ม "แหยม" (Siamese Jam) วงกังสดาล (ไพซิสมิวสิค, 2533)[39]
- "เพลงเรื่องพญาพายเรือ" จากอัลบั้ม "Shiva’s Drum" วงฟองน้ำ (Pacific (TAO), 2531)
- "ชื่นใจ" จากอัลบั้ม "อ้อน" ของ เทวัญ ทรัพย์แสนยากร (Epic Records, 2536)[20]
- เดี่ยวซอด้วง "ทยอยเดี่ยว" จากอัลบั้ม "สุดจิตต์ 80 กะรัต" ในโอกาสครบรอบอายุ 80 ปี ของ สุดจิตต์ ดุริยประณีต (มูลนิธิดุริยประณีต, 2551)
- เดี่ยวซอด้วง ซออู้ "สารถี" ในซีรีส์อัลบั้ม ชุด 19 "สารถีนานาลีลา 1" โดย เสรี หวังในธรรม (โอเชี่ยนมีเดีย, 2558)[44]
การแสดงดนตรี
[แก้]วรยศ ศุขสายชล จัดการแสดงดนตรีในรูปแบบคอนเสิร์ตหลายครั้งทั้งในไทยและต่างประเทศ ดังนี้
วัน เดือน ปี | ชื่อการแสดง | รายการ | สถานที่จัดแสดง | หมายเหตุ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|
3 พฤษภาคม 2539 | วงวัยหวาน | จุฬาวาทิต ครั้งที่ 62 | เรือนไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | รายการของศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | [45] |
6 มีนาคม 2541 | คณะศิษย์ศุขสายชล | จุฬาวาทิต ครั้งที่ 75 | เรือนไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | รายการของศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | [46] |
7 มกราคม 2554 | ครูวรยศ ศุขสายชล | จุฬาวาทิต ครั้งที่ 162 | เรือนไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | รายการของสำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | [30] |
15 มิถุนายน 2562 | สุนทรียภาพในดนตรีไทย | Siam Music Festival | ศูนย์ศึกษาดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป (สยามพารากอน) วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล | รายการของศูนย์ศึกษาดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล | [47] |
4 มิถุนายน 2565 | An Evening of Thai Classical Music | An Evening of Thai Classical Music | Seekers Church, Washington, D.C., USA | [48] | |
5 มิถุนายน 2565 | Thai Classical Music Concert | A Journey through Thailand | Motor House, Baltimore, USA | [49] | |
2565 | Thai Classical Music Concert | Strawberry Festival | Sandy Spring Museum, MD, USA | จัดแสดงในนาม Somapa Thai Dance Company | [50] |
2 กรกฎาคม 2566 | Thai Music and Dance | Sawasdee DC Thai festival เนื่องในการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ไทย-อเมริกา ครบ 190 ปี | Washington, D.C., USA | รายการของสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน
จัดแสดงในนาม Somapa Thai Dance Company |
[51] |
6 กันยายน 2566 | Thai Music and Dance | Thai Delight : a sweet Journey through a Dessert Making | Royal Thai Ambassador’ Resident, Washington, D.C., USA | รายการของสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน
จัดแสดงในนาม Somapa Thai Dance Company |
[52] |
24 กันยายน 2566 | Thai Music and Dance | Maryland Flok Festival | Downtown Salisbury, MD, USA | จัดแสดงในนาม Somapa Thai Dance Company | |
1 ตุลาคม 2566 | Thai Music and Dance | World Culture Festival | National mall, Washington. D.C., USA | จัดแสดงในนาม Somapa Thai Dance Company | |
23 เมษายน 2566 | Thai Music and Dance | การแสดงละครเด็กเรื่องพระสุธน-มโนราห์ | Children’s Theatre-in-the-Woods, Wolf Trap National Park for the Performing Arts, VA, USA | จัดแสดงในนาม Somapa Thai Dance Company | |
3 พฤษภาคม 2567 | Thai Music and Dance | Asia North Festival | The Parlor Art Center, Baltimore, USA | รายการของ The Asian Arts & Culture Center at Towson University
จัดแสดงในนาม Somapa Thai Dance Company |
[53] |
4 พฤษภาคม 2567 | Thai Music and Dance | Thai Open House 2024 | Royal Thai Ambassador’ Resident, Washington, D.C., USA | รายการของสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน
จัดแสดงในนาม Somapa Thai Dance Company |
[54] |
23 พฤษภาคม 2567 | Thai music and Dance | The Somapa Thai Dance Company and Orchestra in Concert | Library of Congress, USA | รายการของ Library of Congress
จัดแสดงในนาม Somapa Thai Dance Company |
[55] [56] |
การถ่ายทอดองค์ความรู้
[แก้]วรยศ ศุขสายชล ถ่ายทอดการบรรเลงเครื่องสายไทยทั้งในระบบการศึกษาและแบบตามอัธยาศัย โดยเริ่มถ่ายทอดตั้งแต่ พ.ศ. 2526 จนถึงปัจจุบัน มีศิษย์ที่เป็นศิลปิน ครูอาจารย์ นักวิชาการที่มีชื่อเสียงหลายคน อาทิ กฤษฏาธาร จันทะโก, กันต์ อัศวเสนา, โดม สว่างอารมณ์, ธีระ แถบสิงห์, ธีระ ภู่มณี,[41] [57] นัฐชา โพธิ์ศรี, นิติธร หิรัญหาญกล้า,[58] พชร ธารีเพียร, เลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี,[59] วรพล มาสแสงสว่าง, วันชัย เอื้อจิตรเมศ,[9] วีรศิลป์ ห่วงประเสริฐ, สุธีรา นาควัชระ, สุรพงษ์ บ้านไกรทอง, สุวรรณี ชูเสน, อำนาจ บุญอนนท์ ฯลฯ และเคยเข้าถวายการแนะนำกลวิธีการสีซอแด่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[60]
ภายหลังเมื่อ พ.ศ. 2542 ได้ก่อตั้งโรงเรียนดนตรี "ตักกศิลา" เพื่อสอนและให้ความรู้ด้านดนตรีไทยแก่เยาวชนและบุคคลผู้สนใจทั่วไป
ความสำเร็จในการถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประจักษ์ เช่น
- ธีระ ภู่มณี ชนะเลิศการประกวดเดี่ยวซอด้วง ในรายการฆ้องทองคำ ครั้งที่ 2 รางวัลพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เมื่อ พ.ศ. 2528 จัดโดยมหาวิทยาลัยมหิดล[61]
- นิติธร หิรัญหาญกล้า ชนะเลิศการประกวดเดี่ยวซอด้วง ระดับประชาชน ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2548 จัดโดยมหาวิทยาลัยรามคำแหง[62]
- นัฐชา โพธิ์ศรี ชนะเลิศการบรรเลงเดี่ยวซอด้วง ระดับประชาชนทั่วไป ในการประกวดมหกรรมดนตรีไทยเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลดิถีเฉลิมพระชนมายุครบ 7 รอบ พ.ศ. 2554 จัดโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี และมูลนิธิมนตรี ตราโมท ในพระราชูปถัมภ์
- คณะดุริยางคศิลป์ (สมาชิกที่สำคัญคือ กิตติมา ศุขสายชล, นิติธร หิรัญหาญกล้า, วรพล มาสแสงสว่าง, กันต์ อัศวเสนา) ชนะเลิศการประกวดวงเครื่องสายผสม ระดับประชาชน ครั้งที่ 5 ประจำปี พ.ศ. 2551 จัดโดยมหาวิทยาลัยรามคำแหง[63]
การกล่าวถึง
[แก้]วรยศ ศุขสายชล ได้รับการกล่าวถึงในบทความ รายการวิทยุ รวมถึงมีการจัดคอนเสิร์ตเพื่อยกย่องเชิดชู ดังนี้
- บทสัมภาษณ์ "สนทนากับครูจงกล ศุขสายชล : ศิษย์เอกครูหลวงไพเราะเสียงซอ" ในวารสารถนนดนตรี[64]
- บทสัมภาษณ์ "จากชีวิตบทเพลงเปล่งสำเนียง ไพเราะเพียงเสียงซอวรยศ" ในวารสารเพลงดนตรี[4]
- บทวิจารณ์ "ด้วยหลักการของศิลปะส่องทางให้เเก่กัน" โดย เจตนา นาควัชระ[65]
- รายการวิทยุ "พบครูดนตรีไทย ตอนที่ 113" ดำเนินรายการโดย พูนพิศ อมาตยกุล[66]
- การแสดง รายการจุฬาวาทิต ครั้งที่ 208 "สายสดับแบบฉบับครูวรยศ" ณ หอแสดงดนตรี อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[38] จัดโดยคณะศิษย์ ในการสนับสนุนของสำนักศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- การแสดง รายการดนตรีไทยไร้รสหรือ ชุดดนตรีไทยพรรณนา "สายเสียงทิพย์ สำเนียงซอ ครูวรยศ ศุขสายชล" ณ โรงละครแห่งชาติ[67] จัดโดยคณะศิษย์ ในการสนับสนุนของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]วรยศ ศุขสายชล สมรสครั้งแรกกับ มะลิ ฟักเขียว มีบุตร 3 คน คือ อุบล ศุขสายชล (ชาย), กมลรัตน์ ศุขสายชล (หญิง) และ วัชระ ศุขสายชล (ชาย)[68] ต่อมาสมรสกับ สุธารณ์ บัวทั่ง ปัจจุบันสมรสกับ กิตติมา ศุขสายชล
เกียรติประวัติ
[แก้]- พ.ศ. 2546 ได้รับเกียรติเป็นศิลปินอาวุโสคึกฤทธิ์ จากมูลนิธิคึกฤทธิ์ 80 ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- พ.ศ. 2541 ได้รับโล่เกียรติคุณ ในฐานะผู้มีอุปการคุณต่อมหาวิทยาลัยบูรพา[21]
ลำดับสาแหรก
[แก้]ลำดับสาแหรกของ วรยศ ศุขสายชล เป็นดังนี้[3] [69] [70]
ลำดับสาแหรกของวรยศ ศุขสายชล | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ชีวประวัติและผลงานของครูเขียน ศุขสายชล ศิลปิน 5 แผ่นดิน. (2527). บพิธการพิมพ์. https://db.sac.or.th/siamrarebooks/books/507/SRB-0507
- ↑ สาธิต ดอนฉิมพลี. (2560). การศึกษาการสืบทอดความรู้ทางดนตรีของครูเขียน ศุขสายชล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. https://libsearch.swu.ac.th/primo-explore/fulldisplay?docid=ALEPH_MONO000430186&context=L&vid=SWU&lang=en_US&search_scope=library_catalog&adaptor=Local%20Search%20Engine&tab=default_tab&query=any,contains,เขียน%20ศุขสายชล&mode=Basic
- ↑ 3.0 3.1 พูนพิศ อมาตยกุล และคนอื่นๆ. (2527). เมื่อปู่ให้สัมภาษณ์หลาน. เกียรติธุรกิจ. https://db.sac.or.th/siamrarebooks/books/508/SRB-0508
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 ฤทธีฤาชา เลกะกุล. (2546). จากชีวิตบทเพลงเปล่งสำเนียง ไพเราะเพียงเสียงซอวรยศ. เพลงดนตรี, 9(7), 37-46.
- ↑ 5.0 5.1 “วัชโรดม” วงเครื่องสายผสมออร์แกนและขิม (Full), สืบค้นเมื่อ 2024-01-10
- ↑ ชมรมศิษย์เก่าดุริยางค์ทหารเรือ. (2561). ทำเนียบรุ่นนักเรียนดุริยางค์ทหารเรือ พ.ศ. 2479-ปัจจุบัน. https://www.rtnsm.com/doc/other/ทำเนียบนักเรียนดุริยางค์ทหารเรือ.pdf
- ↑ วันชัย เอื้อจิตรเมศ. (2563). 50 ปี เครื่องสายไทยบ้านสมเด็จเจ้าพระยา การเรียนการสอนเครื่องสายไทยจากยุควิทยาลัยสู่มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สุริยวาทิต, (มกราคม - ธันวาคม 2563), 42-46.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน. (2533) การประกวดดนตรีไทยระดับนักเรียนภาคตะวันออก ครั้งที่ 10. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน.
- ↑ 9.0 9.1 วันชัย เอื้อจิตรเมศ. (2537). อาศรมศึกษาครูวรยศ ศุขสายชล. อาศรมศึกษาในวิชาเฉพาะ สาขาวิชาดุริยางค์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 สมาคมนักแต่งเพลงแห่งประเทศไทย. (2527). การบรรเลงบทเพลงเชิดชูนักแต่งเพลงไทย ครั้งที่ 2. ศักดิ์โสภาการ. https://apcbpi.com/km_detail.php?id=1135
- ↑ กรมประชาสัมพันธ์ และธนาคารกรุงไทย. (2530). พิธีพระราชทานรางวัลการประกวดดนตรีไทย สำหรับประชาชน. กรมประชาสัมพันธ์.
- ↑ 12.0 12.1 มหาวิทยาลัยมหิดล. (2531). มหกรรมเดี่ยวเพลงไทยชัยมงคล. รักสิบป์.
- ↑ 13.0 13.1 คณะกรรมการจัดงาน 100 ปี หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน). (2535). เสียงทิพย์จากสายซอ. [ม.ป.ท.].
- ↑ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (6 ตุลาคม 2560). ขอเชิญชมเทปบันทึกภาพการแสดง “ร้อยใจดนตรีไทย น้อมรำลึกองค์อัครศิลปิน” ทางสถานีโทรทัศน์ Thai PBS. [มีรูปภาพแนบ] Facebook. https://www.facebook.com/share/b98jGEbz3eSQvbFj/?mibextid=dD9HTC
- ↑ Office of Art & Culture. (4 พฤศจิกายน 2563). หอสมุดดนตรีไทย: โครงการบันทึกข้อมูลนักดนตรีไทยอาวุโสเพื่อการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมดนตรีไทย. Office of Art & Culture. https://www.cuartculture.chula.ac.th/article/5267/ เก็บถาวร 2022-11-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ หอสมุดดนตรีไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (24 ธันวาคม 2561). เผยโฉมครูดนตรี ร้อยคนดนตรี 100 ปี จุฬาฯ ลำดับที่ 53. [มีรูปภาพแนบ]. Facebook. https://www.facebook.com/share/By9E9RskrLHjViPM/?mibextid=dD9HTC
- ↑ ห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์. (2552). รายการพบครูดนตรีไทย. ห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์. https://sirindhornmusiclibrary.li.mahidol.ac.th/music-teachers/
- ↑ ห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์. (2552). รายการสังคีตภิรมย์. ห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์. https://sirindhornmusiclibrary.li.mahidol.ac.th/thai-music/
- ↑ อนุรักษ์ ก้านจันทร์. (2552). พูนพิศ อมาตยกุล : ชีวิตประวัติและผลงาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล]. หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล. http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2552/cd437/4736629.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ 20.0 20.1 อานันท์ นาคคง. (2556). การศึกษาวงดนตรีไทยร่วมสมัยและผลงานดนตรีไทยร่วมสมัยในสังคมไทยปัจจุบัน. สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม. https://www.ocac.go.th/3d-flip-book/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1/ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ ":4" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ 21.0 21.1 มหาวิทยาลัยบูรพา. (2543). การประกวดดนตรีไทยระดับนักเรียนภาคตะวันออก ครั้งที่ 20. มหาวิทยาลัยบูรพา.
- ↑ สหพันธ์ประสานงานเพื่อความมั่นคง, ธนาคารกสิกรไทย, และมูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ. (2530). พิธีพระราชทานรางวัลการประกวดดนตรีไทยเพื่อความมั่นคงของชาติ ครั้งที่ 3. [ม.ป.ท.].
- ↑ พูนพิศ อมาตยกุล (บรรณาธิการ). (2554). 25 ปี ประลองเพลง ประเลงมโหรี. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับชิชชิ่ง. https://www.dcy.go.th/public/mainWeb/file_download/1679390270407-709488592.pdf
- ↑ ไทยรัฐออนไลน์. (7 พฤศจิกายน 2558). บุคคลในข่าว 07/11/58. ไทยรัฐออนไลน์. https://www.thairath.co.th/content/537507
- ↑ สถาบันคึกฤทธิ์ Kukrit Institute. (6 พฤศจิกายน 2558). ขอขอบคุณ. [มีรูปภาพแนบ]. Facebook. https://www.facebook.com/share/62udQFLFRpqtCtJK/?mibextid=dD9HTC
- ↑ ที่ระลึกพิธีไหว้ครูและแจกรางวัลศรทอง. (2532). พิฆเนศ.
- ↑ มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง). (2533). ที่ระลึกพิธีแจกรางวัลศรทอง. มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง).
- ↑ กันต์ อัศวเสนา. (6 กรกฎาคม 2560). ทฤษฎีวรยศ: ระบบเสียงดนตรีไทย. Kanasva. https://kanasva.com/vorayot-thai-music-modes/ เก็บถาวร 2021-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ วรยศ ศุขสายชล. (2541). ทฤษฎีเสียงดนตรีไทย. ห้องภาพสุวรรณ.
- ↑ 30.0 30.1 30.2 30.3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม. (2554). จุฬาวาทิตครั้งที่ 162 วงเครื่องสายผสมครูวรยศ ศุขสายชล. [สูจิบัตร]. [ม.ป.ท.].
- ↑ วรยศ ศุขสายชล. (2530). อยากจำเพลงเก่ง ๆ ได้จังเลย. ถนนดนตรี, 1(4), 42-45.
- ↑ วรยศ ศุขสายชล. (2530). คดีโน้ตเพลงไทย. ถนนดนตรี, 1(12), 50-51.
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. (2549). สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคประวัติและบทร้องเพลงเถา. ราชบัณฑิตยสถาน.
- ↑ มหาวิทยาลัยบูรพา. (2558). สูจิบัตรงานดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ 41. [ม.ป.ท.]. http://thaimusic41.buu.ac.th/application/views/download/doc/Thaimusic41.pdf เก็บถาวร 2024-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ พูนพิศ อมาตยกุล. (ผู้ดำเนินรายการ). (ม.ป.พ.). รายการสังคีตภิรมย์ ตอนที่ 600 เพลงจีนเลือกคู่ เถา ออกจีนซัวเถา, จีนขิมใหญ่ สองชั้น [รายการวิทยุ]. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด. https://soundcloud.com/user-427014429/600-2sangkeetpirom
- ↑ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม. (2552). จุฬาวาทิต ครั้งที่ 150 วงเครื่องสาย…เลอเกียรติ [สูจิบัตร]. [ม.ป.ท.].
- ↑ บุหลัน ๓ ชั้น วงเครื่องสายผสมขิม, สืบค้นเมื่อ 2024-01-10
- ↑ 38.0 38.1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม. (2562). จุฬาวาทิต ครั้งที่ 208 "สายสดับแบบฉบับครูวรยศ" [สูจิบัตร]. [ม.ป.ท.].
- ↑ 39.0 39.1 พูนพิศ อมาตยกุล, เสถียร ดวงจันทร์ทิพย์, อานันท์ นาคคง, และอัษฎาวุธ สาคริก. (2550). จดหมายเหตุดนตรี 5 รัชกาล : งานวิจัยเอกสารและลำดับเหตุการณ์ พุทธศักราช 2411-2549. มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง).
- ↑ Wanchai Uejitmet. (24 ธันวาคม 2561). ประวัติครูวรยศ ศุขสายชล. Issuu. https://issuu.com/wanchai_uejitmet/docs/___________________________________
- ↑ 41.0 41.1 เลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี, อานันท์ นาคคง, และวรการ ธรรมสังคีติ. (2552). ธีระ ภู่มณี คิดครวญหวนหา [CD-ROM].
- ↑ วรยศ ศุขสายชล - หัวข้อ. (15 ตุลาคม 2558). อ.เสรี, Vol. 13: เดี่ยวซอด้วง. [Video] YouTube. https://youtube.com/playlist?list=OLAK5uy_mBqtu_hPaoe0V2Et17HXVXQH6OQi8vXEo&si=Gnw71_yKPnEE8-nx
- ↑ วรยศ ศุขสายชล - หัวข้อ. (15 ตุลาคม 2558). อ.เสรี, Vol. 14: เดี่ยวซออู้ ซอสามสาย. [Video] YouTube. https://youtube.com/playlist?list=OLAK5uy_liyo-OB3ErSIUzGfD3UVEOL-vkLsSUdmo&si=JztxncL_64jtNK_p
- ↑ วรยศ ศุขสายชล - หัวข้อ. (15 ตุลาคม 2558). อ.เสรี, Vol. 19: สารถีนานาลีลา 1. [Video] https://youtube.com/playlist?list=OLAK5uy_kFU0S_83XbdAkKG4dhmczaH1ZRXfLnDdA&si=X8hOwhReNlsLeS8g
- ↑ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม. (2539). จุฬาวาทิตครั้งที่ 62 เครื่องสายไทย วงวัยหวาน. [สูจิบัตร]. [ม.ป.ท.].
- ↑ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม. (2541). จุฬาวาทิตครั้งที่ 75 วงเครื่องสายไทย คณะศิษย์ศุขสายชล. [สูจิบัตร]. [ม.ป.ท.].
- ↑ MCGP PARAGON. (19 มิถุนายน 2562). Siam Music Festival: สุนทรียภาพในดนตรีไทย. [มีรูปภาพแนบ]. Facebook. https://www.facebook.com/media/set/?vanity=mcgpparagon&set=a.10158586697213502
- ↑ Sandy Spring Museum. (2022 June 11). Supporting Partners’ Programs: Enchanted Evening of Thai Classical Music – Masters Vorayot & Kittima Suksaichon. https://www.sandyspringmuseum.org/event/thai-classical-music/ เก็บถาวร 2022-11-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Allevents. (2022). A Journey through Thailand - Thai Classical Music. Allevents. https://goallevents.com/e/a-journey-through-thailand-thai-classical-music-concert-E10000339354176477
- ↑ Sandy Spring Museum. (2022). Strawberry Festival Main Stage Schedule. https://www.sandyspringmuseum.org/strawberry-festival-main-stage-schedule/ เก็บถาวร 2022-12-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Royal Thai Ambassy, Washington D.C. (2566 มิถุนายน 8). ยินดีต้อนรับ!. [Photograph] Facebook. https://www.facebook.com/100064849201720/posts/pfbid0UGWPeHMfBRMvNVybJQQhnxk1gpbvycwX4hfj56ULcwgqnXxKiGxzYrHAJQFo1aP7l/?
- ↑ สถานเอกอัครราชทูต ณ วอชิงตัน. (2566 กันยายน 7). ภริยาเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตันส่งเสริม soft power ไทยและคู่สมรสคณะทูตอาเซียน. https://washingtondc.thaiembassy.org/th/content/thai-delight-asean
- ↑ Asian Arts & Culture Center. (2024 May 31). Celebrate Asia North Closing Event this Friday June 2 5-9pm. [Photograph] Facebook. https://www.facebook.com/100064848696315/posts/pfbid0qFDauSVsz6nTvVjP2ctmxGcTiRhksX3Q4zKzhGcQvaWoqg8HrVCHE6Xv8owSVbGZl/?
- ↑ สถานเอกอัครราชทูต ณ วอชิงตัน. (2567 พฤษภาคม 14). สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน จัดงาน Thai Open House 2024. https://washingtondc.thaiembassy.org/th/content/thaiopenhouse2024-news?cate=641a7db08233434b9f23fe05
- ↑ Library of Congress. (2024). Live! At the Library: Somapa Thai Dance Company in Concert. https://www.etix.com/ticket/p/62042179/liveat-the-librarysomapa-thai-dance-company-in-concert-washington-events-from-the-library-of-congress?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR36cmi3_VLNN4sP5tbYtmYv7RgfR_4h3R0A_zXnIkrXTjnA6dgw6PfCZrA_aem_AWAVjuhnW1Y5uwqZEBIf41wH7vhAohgtb1DSgZsm_hokWG_rgTSaUyC1Z2pv0Zdn4U7Fu6ljkrbTY6aSXEfX82NS[ลิงก์เสีย]
- ↑ Library of Crongress. (2024 April 23). Somapa Thai Dance Company. https://www.loc.gov/item/webcast-11384/
- ↑ อุมาพร เปลี่ยนสมัย. (2547). อาศรมศึกษาครูธีระ ภู่มณี. อาศรมศึกษาในวิชาเฉพาะ สาขาวิชาดุริยางค์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- ↑ อนันท์สิทธิ์ การหนองใหญ่. (2559). อาศรมศึกษา : อาจารย์นิติธร หิรัญหาญกล้า. อาศรมศึกษาในวิชาเฉพาะ สาขาวิชาดุริยางค์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- ↑ วีรศิลป์ ห่วงประเสริฐ. (2559). อาศรมศึกษา : คุณครูเลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี. อาศรมศึกษาในวิชาเฉพาะ สาขาวิชาดุริยางค์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- ↑ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย. (2532). สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี กับการอนุรักษ์มรดกไทย. ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
- ↑ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2528). งานเสด็จพระราชดำเนินประชันดนตรีไทย มหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 1 และประกวดขับร้อง และบรรเลงเพลงไทย ฆ้องทองคำ ครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัยมหิดล.
- ↑ วิชาญ จันตะนี. (2548). ผู้ชนะการประกวดดนตรีไทยที่ ม.ร.เชิญชวนคนเล่นดนตรีไทยเล่นดนตรีไทยเพื่อสืบสาน-อนุรักษ์มรดกของไทย. ข่าวรามคำแหง, 35(22), 3. http://www.info.ru.ac.th/Vol35/22_35.pdf
- ↑ กุศิรา เจริญสุข. (2551). เปิดใจคนรุ่นใหม่ที่มีดนตรีไทยในหัวใจ. ข่าวรามคำแหง, 38(23), 4. http://www.info.ru.ac.th/Vol38/23_38.pdf
- ↑ กองบรรณาธิการ. (2530). สนทนากับครูจงกล ศุขสายชล : ศิษย์เอกครูหลวงไพเราะเสียงซอ. ถนนดนตรี, 1(6), 16-18.
- ↑ เจตนา นาควัชระ. (17 มิถุนายน 2562). ด้วยหลักการของศิลปะส่องทางให้เเก่กัน. TRF Criticism Project. http://www.arts.su.ac.th/thaicritic/?p=4110
- ↑ พูนพิศ อมาตยกุล (ผู้ดำเนินรายการ). (ม.ป.พ.). รายการพบครูดนตรีไทย ตอนที่ 113 ครูวรยศ (จงกล) ศุขสายชล เดี่ยวซอด้วงเพลงกราวใน [แถบบันทึกเสียง]. พูนพิศ อมาตยกุล. https://sirindhornmusiclibrary.li.mahidol.ac.th/music_teacher/worayot-suksaichon/
- ↑ โรงละครแห่งชาติ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร. (16 กุมภาพันธ์ 2562). การแสดงดนตรีไทยรายการดนตรีไทยไร้รสหรือ ชุด ดนตรีไทยพรรณนา "สายเสียงทิพย์ สำเนียงซอ ครูวรยศ ศุขสายชล". โรงละครแห่งชาติ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร. https://ntt.finearts.go.th/Gallery/Gallery.aspx?id=7
- ↑ ธวัช ศรีศุภจินดารัตน์. (2548). วิวัฒนาการของการสอนซอด้วง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67906
- ↑ อ่อน บุญญพันธุ์. (2510). พึ่งธรรม. กรมสารบรรณทหารเรือ. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:6902
- ↑ ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ 52 เก็บถาวร 2022-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (16 กรกฎาคม 2459). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 33 ตอน ง หน้า 955-959.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- การพระราชทานรางวัลการประกวดวงเครื่องสายไทยและวงมโหรี พ.ศ. 2530
- ข่าวไทยบันเทิง ThaiPBS: สายเสียงทิพย์ สำเนียงซอ ครูวรยศ ศุขสายชล
- ช่าวไทยบันเทิง ThaiPBS: เรียนดนตรีไทยออนไลน์กับ ครูวรยศ ศุขสายชล
- การแสดงของศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ ครั้งที่ 421 รายการคุยกับครูดนตรีไทย ปี 2531
- Conversation with Somapa Thai Dance Company
- ข่าวการแสดงคอนเสิร์ตที่ The Library of Congress
- รายการแสดงคอนเสิร์ตที่ The Library of Congress
- จุฬาวาทิตครั้งที่ 208 “สายสดับแบบฉบับครูวรยศ” เก็บถาวร 2021-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ทฤษฎีวรยศ: ระบบเสียงดนตรีไทย