ข้ามไปเนื้อหา

พูนพิศ อมาตยกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พูนพิศ อมาตยกุล
เกิด4 มิถุนายน พ.ศ. 2480 (87 ปี)
พูนพิศ อมาตยกุล
ประเทศไทย
อาชีพนักวิจารณ์, นักเขียน, อาจารย์
ปีที่แสดงปัจจุบัน

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ พูนพิศ อมาตยกุล (4 มิถุนายน พ.ศ. 2480 - ปัจจุบัน) เป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์[1] เป็นนักวิชาการสาขาดนตรีวิทยา และเป็นที่ปรึกษาวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล

พูนพิศ อมาตยกุล หรือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล เกิดที่อำเภอดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนที่ 4 ของร้อยโทพิศ และนางประเทือง เจริญเติบโตอยู่ในวัง และเป็นมหาดเล็กของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี เป็นเวลากว่า 30 ปี ได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับพระราชวงศ์และเรื่องราวเกี่ยวกับดนตรีไทยมาจากในวัง

การศึกษากับรางวัล

[แก้]
  • จบแพทย์จากศิริราชเมื่อปี พุทธศักราช 2505
  • รับใบประกาศนียบัตรชั้นสูงหลังปริญญา สาขาหู คอ จมูก University of Pennsylvania ในปีพุทธศักราช 2508
  • M.A. Communication Disorders, Temple University, U.S.A ในปีพุทธศักราช 2511
  • จบปริญญาโทสาขาวิชาความผิดปกติของการสื่อความหมาย จากประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วกลับมาทำงานที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีเมื่อปี 2511
  • อนุมัติบัตร (พ.บ., อ.ว.) โสต ศอ นาสิก ลาริงซ์วิทยา ในปีพุทธศักราช 2515
  • ได้รับปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ดุริยางคศิลป์ ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ในปีพุทธศักราช 2537
  • ได้เป็นศาสตราจารย์ ระดับ 10 (ดุริยางคศาสตร์) และ รองศาสตราจารย์ ระดับ 10 (แพทยศาสตร์) ในปีพุทธศักราช 2540
  • ได้เป็นนักวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ (Communication Disorders) มหาวิทยาลัยมหิดล ในปีพุทธศักราช 2545

แรกเริ่ม

[แก้]

เรียนดนตรีไทยกับนายเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล เรียนขับร้องจากครูแช่มช้อย ดุริยพันธ์ อาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน คุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ ครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต และครูสุรางค์ ดุริยพันธ์ มีความสามารถในการขับร้องเพลงไทยและประพันธ์บทร้องเพลงไทย เป็นนักจัดรายการเพลงทางวิทยุและโทรทัศน์ที่สนใจการเก็บรักษาผลงานที่ออกอากาศ รวบรวมลงานและรักษาไว้ในห้องสมุดดนตรีเป็นจำนวนมากกว่า 1,600 รายการ ต้นฉบับรายการวิทยุเหล่านี้ยังรักษาไว้เพื่อการอ้างอิง ในห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และที่หน่วยโสตทัศน์ หอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ยังเป็นนักเขียนสารคดีเกี่ยวกับดนตรี และมีบทความเก็บไว้เพื่ออ้างอิงได้ มากกว่า 900 เรื่อง เป็นนักวิชาการสาขาดนตรีวิทยา (Musicologist) สอนวิชาดนตรีวิทยาควบคู่กับวิชาแพทยศาสตร์ตลอดเวลากว่า 30 ปี ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นศาสตราจารย์สาขาดนตรีเป็นคนที่ 3 ของประเทศไทย และเป็นคนแรกของมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปีพุทธศักราช 2540 เขียนหนังสือไว้หลายเล่ม เช่น สยามสังคีต ลำนำสยาม หนังสือรวมประวัติสตรีนักร้องเพลงไทยและนักระนาดเอกของไทย รายการวิทยุที่ผลิตแล้ว ยังเก็บรักษาไว้ในห้องสมุดดนตรี เช่น รายการพบครูดนตรีไทย สยามสังคีต เพลงไทยจากมหาวิทยาลัยมหิดล สังคีตภิรมย์ เพลงไทยสากลจากอดีต ฯลฯ

การงานอดีต จนถึง ปัจจุบัน

[แก้]
  • ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนประจำหลักสูตรปริญญาเอก สาขาดนตรีวิทยา วิทยาลัยดุริยางค์ศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
  • เป็นคณะกรรมการ และ เลขานุการ ประจำมูลนิธิราชสุดา
  • เป็นข้าราชการบำนาญ และ เป็นที่ปรึกษาวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ได้รับตำแหน่ง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ระดับ 10 อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อดีตผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อดีตหัวหน้าภาควิชา โสต ศอ นาสิก คณะแพทยศาสตร์ รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในปีพุทธศักราช 2522 - 2529
  • เป็นประธานคณะอนุกรรมการเผยแพร่ความรู้ และผลงานทางวิชาการผ่านสื่อมวลชน มหาวิทยาลัยมหิดล ในปีพุทธศักราช 2527 - 2531
  • ประธานคณะอนุกรรมการ จัดงานประกวดดนตรีไทย"ฆ้องทองคำครั้งที่ 2"
  • เป็นคณะกรรมการจัดงานมหกรรมเดี่ยวเพลงไทยชัยมงคล ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ฉลองพระชันษา ครบ 30 พรรษา จัดโดยมหาวิทยาลัยมหิดล โรงละครแห่งชาติ
  • เป็นคณะกรรมการจัดงานประชันดนตรีไทยหน้าพระที่นั่ง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
  • เป็นคณะกรรมการจัดการงานเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเรือนไทย ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และ การทรงสักวากลอนสด เรื่องสังข์ทองตอนเลือกคู่ (ทรงสักวาครั้งแรก)
  • เป็นประธานคณะอนุกรรมการ ประกวดขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ ณ.มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
  • เป็นกรรมการพิจารณาผลงานเพื่อขอเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ในปี 2542 - ปัจจุบัน
  • เป็นกรรมการบริหารประเภทผู้ทรงคุณวุฒิสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยมหิดล ในปีพุทธศักราช 2539
  • เป็นที่ปรึกษาคณะทำงานศึกษา เรื่อง วิชาเลือกเสรีสำหรับหลักสูตรปริญญาตรี ในปีพุทธศักราช 2539 (คำสั่ง มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ ๕๒๔/๒๕๓๙ วันที่ ๒๐ ก.พ.๒๕๓๙)
  • เป็นคณะกรรมการจัดทำปทานุกรมศัพท์เฉพาะสาขาการศึกษาพิเศษของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • เป็นกรรมการอำนวยการ การจัดการศึกษาพิเศษ กระทรวงศึกษาธิการ (คำสั่ง กระทรวงศึกษาธิการ สป ๒๙๖/๒๕๓๙ วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๓๙)
  • เป็นอนุกรรมการทำงานจัดทำรายละเอียดโครงการสร้างสื่อเพื่อการเรียนรู้ของเด็กพิการของ ทบวงมหาวิทยาลัย ในปีพุทธศักราช 2536 (คำสั่ง คณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัย ที่ ๔๓/๒๕๓๖
  • เป็นกรรมการพิจารณาขอเปิดดำเนินการหลักสูตร และการรับรองมาตรฐานการศึกษา ของ สถาบันอุดม ศึกษาเอกชน สาขาวิชาวิจิตรศิลป์ประยุกต์ และดุริยศิลป์ ทบวงมหาวิทยาลัย ในปีพุทธศักราช 2539 – 2549 (คำสั่ง ทบวงที่ ๔๑/๒๕๓๙ วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๙)
  • เป็นคณะอนุกรรมการสร้างเกณฑ์มาตรฐานสาขาวิชาดนตรีไทย ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ ในปีพุทธศักราช 2532 - 2541
  • เป็นอนุคณะกรรมการฝ่ายคัดเลือกเพลงลูกทุ่ง ประจำงานคอนเสิร์ตกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ของคุณเจนภพ จบกระบวนวรรณ และ กระทรวงวัฒนธรรม ในปีพุทธศักราช 2532 - 2534
  • เป็นกรรมการส่งเสริมและประสานงาน ดนตรีไทยอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย ในปีพุทธศักราช 2530 - 2542
  • เป็นอนุกรรมการจัดทำเกณฑ์ประเมินการบรรเลงเครื่องดนตรีไทยทบวงมหาวิทยาลัย ในปีพุทธศักราช 2537
  • เป็นกรรมการพิจารณาผลงานวิชาการ ระดับรองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ในปีพุทธศักราช 2540 - ปัจจุบัน
  • เป็นกรรมการพิจารณาผลงานวิชาการข้าราชการครู กรมการฝึกหัดครู
  • เป็นคณะกรรมการสถาบันไทยคดีศึกษา ในปีพุทธศักราช 2534 - 2540
  • เป็นกรรมการสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในปีพุทธศักราช 2546 - ปัจจุบัน
  • เป็นหัวหน้าหลักสูตร ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตสาขางานบริการคนพิการ (ผู้ก่อตั้งครั้งแรกในประเทศไทย) และ เป็นผู้อำนวยการ วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล ในปีพุทธศักราช ในปีพุทธศักราช 2536 - 2540
  • เป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมฯ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปีพุทธศักราช 2531 - 2536
  • เป็นหัวหน้าหลักสูตร ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวัฒนธรรมศึกษา (ดนตรีชาติพันธุ์) (ผู้ก่อตั้งครั้งแรกในประเทศไทย) และ ยังเป็นหัวหน้าหลักสูตร ป.เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ สาขาความผิดปกติของการสื่อความหมาย ภาควิชาโสตฯ คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี (ผู้ก่อตั้งครั้งแรกในประเทศไทย) อาจารย์ ภาควิชาโสต ศอ นาสิก ลาริงซ์ คณะแพทยศาสตร์ รามาธิบดี ในปีพุทธศักราช 2512 - 2531

รางวัลเกียรติยศ

[แก้]
  • รางวัลหนังสือสารคดียอดเยี่ยม "สังคีตสยาม" พ.ศ. 2529 จาองค์การยูเนสโก และ กระทรวงศึกษาธิการ
  • รางวัลสังข์เงิน จากการปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ดีเด่น ในปีพุทธศักราช 2531
  • รางวัลสายฟ้าทองคำ การจัดรายการวิทยุ ในปีพุทธศักราช 2532
  • รางวัลปาฐกถา สุด แสงวิเชียร ในปีพุทธศักราช 2532
  • รางวัลเมขลา จากการจัดรายการโทรทัศน์ สาระสังคีต ในปีพุทธศักราช 2533
  • รางวัลผู้อนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น กรมศิลปากร รุ่นที่ 1 ในปีพุทธศักราช 2534
  • รางวัลแพทย์ดีเด่นจากสมาคมศิษย์เก่าศิริราช
  • รางวัลอาจารย์ดีเด่นของสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปีพุทธศักราช 2537
  • รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล (ประเภทครูดีเด่น) ในปีพุทธศักราช 2537
  • เข็มที่ระลึกบุคคลดีเด่นของสมาคมศิษย์เก่า คณะแพทยศาสตร์ ศิริราช
  • เข็มพระรูปทองคำลงยาชั้นที่ 1 มูลนิธิราชสุดา ในปีพุทธศักราช 2544
  • รางวัลปาฐกถา ประสงค์ ตู้จินดา ในปีพุทธศักราช 2545
  • รางวัล The American Audiology Academy, Global Village Award 2001 (เป็นคนเอเซียคนแรกที่ รับรางวัลนี้จากสหรัฐ อเมริกา) ในปีพุทธศักราช 2544
  • รางวัลมหิดลวิทยาการ มหาวิทยาลัยมหิดล 1 มีนาคม พุทธศักราช 2545
  • รางวัลสุกรี เจริญสุข สาขานักส่งเสริมดนตรี ประจำปีพุทธศักราช 2552 รางวัลนี้เป็นรางวัลภายใต้โครงการเชิดชูบุคคลดีเด่นสาขาดนตรี โดยมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และมูลนิธิสุกรี เจริญสุข เป็นรางวัลที่มอบแด่บุคคลที่ปฏิบัติงานและมีผลงานดีเด่นเพื่อสังคมในสาขาส่งเสริมดนตรี
  • ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์

ลำดับสาแหรก

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศาสตราจารย์ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา ศาสตราจารย์ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ศาสตราจารย์พูนพิศ อมาตยกุล)
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2022-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑๐ ข หน้า ๓, ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๘
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๕๘๙, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๒, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๗