ข้ามไปเนื้อหา

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Faculty of Social Science, Srinakharinwirot university
สถาปนา22 สิงหาคม พ.ศ. 2517; 50 ปีก่อน (2517-08-22)[1]
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณบดีรองศาสตราจารย์ ดร.ภูมิ มูลศิลป์
ที่อยู่
อาคาร 11 เลขที่ 114 ซอยสุขุมวิท 23 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10110
สี  สีม่วงเม็ดมะปราง[2]
เว็บไซต์soc.swu.ac.th
สภาพอาคารคณะสังคมศาสตร์ก่อนถูกทุบแยกส่วนจากคณะศึกษาศาสตร์ ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2549
บริเวณด้านหน้าอาคาร 11 คณะสังคมศาสตร์ในปัจจุบัน
อาคาร 11 คณะสังคมศาสตร์

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นคณะวิชาหนึ่งในกลุ่มคณะวิชาสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในสังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เปิดทำการสอนในระดับปริญญาบัณฑิต และบัณฑิตศึกษา

ประวัติ

[แก้]

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีต้นกำเนิดมาจากวิทยาลัยวิชาการศึกษา โดยได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2517 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 91 ตอนที่ 112 วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2517) ในระยะที่เป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษา คณะสังคมศาสตร์ยังมิได้แยกออกมาเป็นหน่วยงานอิสระ เรียกชื่อว่า คณะวิชามนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ ประกอบด้วยแผนกวิชาต่าง ๆ คือ

  1. แผนกวิชาภาษาและวรรณคดีไทย
  2. แผนกวิชาภาษาและวรรณคดีต่างประเทศ
  3. แผนกวิชาศิลปะและวัฒนธรรม
  4. แผนกวิชาศาสนาและปรัชญา
  5. แผนกวิชาประวัติศาสตร์
  6. แผนกวิชาภูมิศาสตร์
  7. แผนกวิชาสังคมวิทยา
  8. แผนกวิชาเศรษฐศาสตร์

เมื่อวิทยาลัยวิชาการศึกษาได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยแล้ว แผนกวิชาต่าง ๆ ของคณะมนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ได้เปลี่ยนเป็นภาควิชา และแยกสังกัดใน คณะมนุษยศาสตร์ และคณะสังคมศาสตร์

จากประกาศของทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2518 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 92 ตอนที่ 166 วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2518) นั้น ถือได้ว่าวันที่ 22 สิงหาคม เป็นวันกำเนิดของคณะสังคมศาสตร์ มีหน่วยงานในสังกัด 6 ภาควิชา และหน่วยงานสนับสนุน 1 หน่วยงาน ได้แก่ ภาควิชาบริหารธุรกิจ ภาควิชาภูมิศาสตร์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ ภาควิชาสังคมวิทยา ภาควิชารัฐศาสตร์ และสำนักงานคณบดี

ต่อมาวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ได้แยกออกจากคณะสังคมศาสตร์ ไปเป็นสำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ และในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ภาควิชาบริหารธุรกิจได้แยกออกจากคณะสังคมศาสตร์ ไปเป็นคณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม ตามประกาศการจัดตั้งส่วนงานของมหาวิทยาลัย[3]

ทำเนียบผู้บริหารคณะสังคมศาสตร์

[แก้]
ภาพ รายนามผู้บริหาร[4] วาระการดำรงตำแหน่ง
หัวหน้าคณะวิชามนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ วิทยาลัยวิชาการศึกษา
ศาสตราจารย์ ดร.เทือก กุสุมา ณ อยุธยา พ.ศ. 2497 - 2516
ศาสตราจารย์ ดร.ประสาท หลักศิลา พ.ศ. 2516 - 2517
คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
1.ศาสตราจารย์ ดร.ประสาท หลักศิลา พ.ศ. 2517 - 2522
2.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ เจียมเจริญ พ.ศ. 2522 - 2526
3.รองศาสตราจารย์ ดร.ธวัช บุรีรักษ์ พ.ศ. 2526 - 2530
4.รองศาสตราจารย์ ดร.ธำรงค์ อุดมไพจิตรกุล พ.ศ. 2530 - 2534 (ครั้งที่ 1)

พ.ศ. 2538 - 2542 (ครั้งที่ 2)

5.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลัช จงสืบพันธ์ พ.ศ. 2534 - 2538
6.ผู้ช่วยศาสตราจารย์กวี วรกวิน พ.ศ. 2542 - 2546
7.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติมา สังข์เกษม พ.ศ. 2546 - 2555
8.รองศาสตราจารย์ ดร.ชลวิทย์ เจียรจิตต์ พ.ศ. 2555 - 2564
9.รองศาสตราจารย์ ดร.ภูมิ มูลศิลป์ พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน

หน่วยงาน

[แก้]

หลังจาก ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" แล้ว คณะวิชามนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ ก็ได้แยกออกเป็น 2 คณะ คือ คณะมนุษยศาสตร์ และคณะสังคมศาสตร์ ซึ่งในปัจจุบัน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประกอบด้วย 4 ภาควิชา คือ

  • ภาควิชาภูมิศาสตร์ (พ.ศ. 2497) ได้มีการเรียนการสอนทางภูมิศาสตร์เกิดขึ้น โดยมีสถานภาพเป็นแผนกวิชาภูมิศาสตร์ในคณะมนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ สังกัดวิทยาลัยวิชาการศึกษา ต่อมาใน พ.ศ. 2517 ได้มีการยกฐานะจากวิทยาลัยวิชาการศึกษาเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แผนกวิชาภูมิศาสตร์จึงเปลี่ยนสถานะเป็นภาควิชาภูมิศาสตร์ สังกัดคณะสังคมศาสตร์ ในปัจจุบันภาควิชาภูมิศาสตร์ผลิตบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต(วท.บ.) สาขาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ภูมิสารสนเทศ)
  • ภาควิชาประวัติศาสตร์ (พ.ศ. 2518) เดิมมีสถานะเป็นแผนกวิชาประวัติศาสตร์ สังกัดคณะวิชามนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร ต่อมา ในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ทบวงมหาวิทยาลัยออกประกาศเรื่องแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งกำหนดให้มีภาควิชาประวัติศาสตร์ สังกัดคณะสังคมศาสตร์ขึ้น
  • ภาควิชาสังคมวิทยา (พ.ศ. 2497) ถือกำเนิดขึ้นมาพร้อมกับวิทยาลัยวิชาการศึกษา เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2497 ในขณะนั้นภาควิชาสังคมวิทยาเป็นแผนกวิชาประวัติศาสตร์ในคณะวิชามนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ หลังจากนั้น ภาควิชาสังคมวิทยามีการปรับเปลี่ยนชื่อเป็นครั้งคราวเพื่อความเหมาะสม เช่น "แผนกวิชาสังคมวิทยาและเศรษฐศาสตร์" ต่อมาเมื่อวิทยาลัยวิชาการศึกษาได้รับการยกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" กำหนดให้คณะสังคมศาสตร์เป็นอีกคณะหนึ่ง แผนกวิชาสังคมวิทยาและเศรษฐศาสตร์จึงแยกตัวออกมาเป็น "ภาควิชาสังคมวิทยา" จนถึงปัจจุบัน
  • ภาควิชารัฐศาสตร์ เก็บถาวร 2020-09-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (พ.ศ. 2517) เดิมสังกัดอยู่ในคณะสังคมศาสตร์และคณะมนุษยศาสตร์ เริ่มแรกภาควิชารัฐศาสตร์จัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป รายวิชาเลือกเสรี และวิชาโท ให้แก่นิสิตที่สนใจ จนกระทั่งสภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้เปิดสอนในหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิตในปี พ.ศ. 2542 ทางภาควิชารัฐศาสตร์จึงมีหน้าที่ผลิตบัณฑิตสาขาวิชารัฐศาสตร์ตั้งแต่ปีการศึกษา 2543 เป็นต้นไป

หน่วยงานในอดีต

[แก้]
  • ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ เดิมภาควิชาเศรษฐศาสตร์เป็นหนึ่งในภาควิชาของคณะสังคมศาสตร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ภาควิชาได้แยกตัวออกไป และจัดตั้งเป็น "สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ" และเปลี่ยนชื่อเป็น "คณะเศรษฐศาสตร์" เมื่อปี พ.ศ. 2559
  • ภาควิชาบริหารธุรกิจ ในปี พ.ศ. 2518 ได้มีการเปิดหลักสูตรวิชาเอกธุรกิจศึกษา สาขาการตลาด และการบัญชี โดยในขณะนั้นมีคณาจารย์ในภาควิชา จำนวน 7 คน และพัฒนาเรื่อยมา โดยปัจจุบันภาควิชาบริหารธุรกิจได้ยกฐานะเป็นคณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม เมื่อปี พ.ศ. 2561

หลักสูตร

[แก้]

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เปิดทำการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา โดยมีการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีให้กับนิสิตภาคปกติ นิสิตภาคพิเศษ นิสิตระดับปริญญาโท และนิสิตระดับปริญญาเอก จัดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร

ปริญญาตรี[5] ปริญญาโท[6] ปริญญาเอก[7]

หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.)

  • สาขาวิชาสังคมศึกษา

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

  • สาขาวิชาสังคมวิทยาเพื่อการพัฒนา
    • วิชาเอกการวิจัยสังคมวิทยาเพื่อการพัฒนา
    • วิชาเอกการพัฒนาชุมชนเมือง
  • สาขาวิชาประวัติศาสตร์

หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.)

  • สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
  • สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.)

  • สาขาวิชานิติศาสตร์

หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)

  • สาขาวิชาสังคมศึกษา

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาภูมิสารสนเทศ

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)

  • สาขาวิชาประวัติศาสตร์
  • สาขาวิชาการจัดการทางสังคม

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)

หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาภูมิสารสนเทศ
  • สาขาวิชาสังคมศึกษา
  • สาขาวิชาการจัดการทางสังคม

หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต (น.ด.)


อาคารและสถานที่

[แก้]
  • อาคาร 11 (คณะสังคมศาสตร์ อาคาร 1) ส่วนสำนักงานคณบดี โถง 40 ปี ห้องประชุม ห้องเรียน และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ อาคาร 36 อาคารบริการ ศาสตราจารย์ ม.ล.ปิ่น มาลากุล คณะสังคมศาสตร์ อาคาร 2 (ชั้น 1 และ ชั้น 4-12) ส่วนสำนักงานคณบดี ห้องพักคณาจารย์ ภาควิชา และห้องประชุม

กิจกรรมนิสิต

[แก้]
  • โครงการสวัสดีสังคมศาสตร์
  • โครงการไหว้ครู และปฐมนิเทศนิสิตใหม่คณะสังคมศาสตร์
  • โครงการ SOMUSIC
  • โครงการค่ายสังคมอาสา
  • โครงการกีฬาสังคมศาสตร์สัมพันธ์ (Social Games)

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศของทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2518
  2. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะและครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2552
  3. "ประวัติคณะ | คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ". มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะสังคมศาสตร์.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-09. สืบค้นเมื่อ 2020-05-13.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-29. สืบค้นเมื่อ 2020-05-13.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-09. สืบค้นเมื่อ 2020-05-13.
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-09. สืบค้นเมื่อ 2020-05-13.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]