คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทความเรื่อง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น ถ้าคุณเป็นผู้เขียนเรื่องนี้หรือต้องการร่วมแก้ไข สามารถทำได้โดยกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน ดูรายละเอียดและวิธีการเขียนได้ที่ โครงการวิกิสถานศึกษา โดยเมื่อแก้ไขแล้วให้นำป้ายนี้ออกได้ |
Faculty of Humanities and Social Science Burapha University | |
สถาปนา | พ.ศ. 2498 |
---|---|
คณบดี | รศ. ดร.สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์[1] |
ที่อยู่ | |
สี | 1 1 สีขาว-สีม่วง |
เว็บไซต์ | [1] |
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นคณะที่จัดการเรียนการสอนด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยบูรพา
ประวัติ
[แก้]คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พัฒนามาจากคณะวิชามนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน จังหวัดชลบุรี ซึ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2498 เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกในภูมิภาคของประเทศไทย สังกัดกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ (กศ.บ.) วิชาเอกสังคมศึกษา ภูมิศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และศิลปศึกษา ต่อมาใน พ.ศ. 2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษาได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะวิชามนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ จึงแยกออกจากกันเป็น 2 คณะ คือ คณะมนุษยศาสตร์และคณะสังคมศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน
ใน พ.ศ. 2533 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศโดยสมบูรณ์ชื่อมหาวิทยาลัยบูรพา คณะมนุษยศาสตร์และคณะสังคมศาสตร์ได้รวมเป็นคณะเดียวกันชื่อ "คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์" ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2533
อนึ่ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2532 ภาควิชาศิลปะและวัฒนธรรม และภาควิชาดุริยางคศาสตร์ ได้เสนอโครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ผ่านทบวงมหาวิทยาลัย และในที่สุดคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ ให้จัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ได้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2538 ภาควิชาทั้งสองจึงแยกไปสังกัดในคณะศิลปกรรมศาสตร์
การดำเนินงานของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในระยะเริ่มแรกใช้ "ตึกสังคมศาสตร์" ซึ่งเป็นอาคารเก่าตั้งแต่สมัยเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษา เป็นที่ตั้งสำนักงานเลขานุการคณะและสำนักงานฝ่ายบริหาร รวมทั้งสำนักงานของภาควิชาทางด้านสังคมศาสตร์เดิมทั้งหมด ส่วนสำนักงานของภาควิชาทางมนุษยศาสตร์ใช้อาคารเดิมคือ "ตึกมนุษยศาสตร์" ต่อมาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2535 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารใหม่ให้เป็นที่ทำการของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และเป็นอาคารเรียนรวมด้วย ในวงเงินงบประมาณ 195 ล้านบาท โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณผูกพันในการก่อสร้างเป็นเวลา 4 ปี การก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2537 หน่วยงานในสังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ทั้งหมดจึงได้ย้ายมาอยู่ที่อาคารใหม่ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2537 เป็นต้นมา ในปีเดียวกันนี้เป็นวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ มีพระชนมพรรษา 60 พรรษา มหาวิทยาลัยจึงขอพระราชทานนามอาคารเพื่อเป็นสิริมงคล และได้รับพระราชทานนามว่า "60 พรรษามหาราชินี" (อาคาร 2) นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอาคารเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2538 นับเป็นสิริมงคลยิ่งแก่อาจารย์ ข้าราชการ และนิสิตของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง
สีประจำคณะ
[แก้]"สีขาว - ม่วง"
ดอกไม้ประจำคณะ
[แก้]"ดอกแก้ว" เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ใบออกเป็นช่อเป็นแผงออกใบเรียงสลับกันช่อหนึ่งประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 4-8 ใบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Murraya paniculata (L.) Jack.; ชื่ออังกฤษ: Orange Jessamine, Satin-wood, Cosmetic Bark Tree) ชื่อพื้นเมืองอื่น กะมูนิง, แก้วขาว, แก้วขี้ไก่ (ใต้), แก้วพริก (เหนือ), แก้วลาย, จ๊าพริก, ตะไหลแก้ว
หน่วยงานและภาควิชา
[แก้]คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประกอบด้วย 1 สำนักงาน 11 ภาควิชา และ 5 ศูนย์การเรียนรู้ ได้แก่
- สำนักงานเลขานุการ
- ภาควิชาจิตวิทยา
- ภาควิชานิเทศศาสตร์
- ภาควิชาประวัติศาสตร์
- ภาควิชาภาษาตะวันตก
- ภาควิชาภาษาตะวันออก
- ภาควิชาภาษาไทย
- ภาควิชาศาสนาและปรัชญา
- ภาควิชาเศรษฐศาสตร์
- ภาควิชาสังคมวิทยา
- ภาควิชาสารสนเทศศึกษา
- ศูนย์ภาษา
- ศูนย์เกาหลีศึกษา
- ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
- ศูนย์ปฏิบัติการค้นคว้าและวิจัย
- ศูนย์สังคมและสิ่งแวดล้อมศึกษา (CIET)
ภาควิชานิเทศศาสตร์
[แก้]ภาควิชานิเทศศาสตร์ เป็นหน่วยงานหนึ่งในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่เปิดการเรียนการสอนในด้านการสื่อสารมวลชน[2] เกิดจากความร่วมมือของอาจารย์ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่มีความตั้งใจจะเปิดสอนในด้านการสื่อสารมวลชน
หลักสูตรการศึกษา
[แก้]ปัจจุบันคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เปิดทำการเรียนการสอนในหลักสูตรระดับปริญญาตรี 21 สาขาวิชา และหลักสูตรวิชาโท 12 วิชาโท , ระดับปริญญาโท 6 สาขาวิชา ,ระดับปริญญาเอก 1 สาขาวิชา ดังต่อไปนี้
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
หลักสูตรเศรษฐศาสตร์บัณฑิต (ศ.บ.)
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.)
(**หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต จะเลือกสาขาในชั้นปีที่ 2) (**หลักสูตรปริญญาตรีเปิดสอนภาคพิเศษในบางสาขาวิชา) |
หลักสูตรวิชาโท
|
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
(**หลักสูตรปริญญาโททุกสาขาวิชาเปิดสอนทั้งภาคปกติและภาคพิเศษ) |
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
|
สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน
[แก้]สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยบูรพา มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา การพัฒนาชุมชน" เป็นหลักสูตรสาขาวิชาเอก สาขาแรกของภาควิชาสังคมวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกในปีการศึกษา 2536
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา เก็บถาวร 2005-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
แม่แบบ:คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในประเทศไทย
- ↑ คำสั่งสภามหาวิทยาลัยบูรพา เรื่อง แต่งตั้งคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
- ↑ [2] เก็บถาวร 2013-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน,เกี่ยวกับภาควิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.