ข้ามไปเนื้อหา

ฟุตบอลทีมชาติซีเรีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซีเรีย
Shirt badge/Association crest
ฉายานุซูรกอซิยูน[1]
(อาหรับ: نسور قاسيون, แปลตรงตัว'อินทรีแห่งเขากอซิยูน')
สมาคมสหพันธ์ฟุตบอลซีเรีย
สมาพันธ์ย่อยWAFF (เอเชียตะวันตก)
UAFA (โลกอาหรับ)
สมาพันธ์เอเอฟซี (เอเชีย)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนอาร์เจนตินา เฮคตอร์ คูเปอร์
กัปตันอุมัร อัสซูมะฮ์
ติดทีมชาติสูงสุดมาฮัร อัสซะยีด (109)
ทำประตูสูงสุดฟิรอส อัลเคาะฏีบ (36)
สนามเหย้าสนามกีฬาอับบาซียีน
สนามกีฬานานาชาติอะเลปโป
รหัสฟีฟ่าSYR
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 93 ลดลง 4 (20 มิถุนายน 2024)[2]
อันดับสูงสุด68 (1 กรกฎาคม ค.ศ. 2018)
อันดับต่ำสุด152 (กันยายน ค.ศ. 2014, มีนาคม ค.ศ. 2015)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติเลบานอน เลบานอน 1–2 ซีเรีย ธงชาติซีเรีย
(เบรุต ประเทศเลบานอน; 19 เมษายน ค.ศ. 1942)[3]
ชนะสูงสุด
ธงชาติซีเรีย ซีเรีย 13–0 มัสกัตและโอมาน
(ไคโร ประเทศอียิปต์; 6 กันยายน ค.ศ. 1965)
แพ้สูงสุด
ธงชาติกรีซ กรีซ 8–0 ซีเรีย ธงชาติซีเรีย
(เอเธนส์ ประเทศกรีซ; 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1949)
ธงชาติอียิปต์ อียิปต์ 8–0 ซีเรีย ธงชาติซีเรีย
(อะเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์; 16 ตุลาคม ค.ศ. 1951)
เอเชียนคัพ
เข้าร่วม6 (ครั้งแรกใน 1980)
ผลงานดีที่สุดรอบ 16 ทีมสุดท้าย (2023)
อาหรับคัพ
เข้าร่วม7 (ครั้งแรกใน 1963)
ผลงานดีที่สุดรองชนะเลิศ (1963, 1966, 1988)
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชียตะวันตก
เข้าร่วม8 (ครั้งแรกใน 2000)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (2012)

ฟุตบอลทีมชาติซีเรีย (อาหรับ: منتخب سوريا لكرة القدم) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของประเทศซีเรีย อยู่ภายใต้การบริหารของสหพันธ์ฟุตบอลซีเรีย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลฟุตบอลในประเทศซีเรีย ซีเรียไม่เคยผ่านเข้าไปเล่นในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย แต่เคยเข้าถึงรอบคัดเลือกรอบที่สี่ของฟุตบอลโลก 2018 ปัจจุบันพวกเขาถูกฟีฟ่าสั่งห้ามไม่ให้ลงเล่นเกมเหย้าในประเทศมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2010[4]

ประวัติ

[แก้]

ซีเรียได้เข้าร่วมแข่งขันรอบคัดเลือกของฟุตบอลโลก 1950 และ 1958 นับเป็นหนึ่งในสองทีมจากภูมิภาคนี้ที่ได้เข้าร่วมแข่งขันรอบคัดเลือก ต่อมาระหว่าง ค.ศ. 1958 ถึง 1961 ทีมชาติซีเรียได้รวมกับทีมชาติอียิปต์เพื่อก่อตั้งฟุตบอลทีมชาติสาธารณรัฐสหรัฐอาหรับ แม้ว่าสถิติการแข่งขันของทีมชาติจะถูกฟีฟ่านับเป็นของอียิปต์ก็ตาม ต่อมาในฟุตบอลโลก 1966 รอบคัดเลือก ซีเรียเป็นหนึ่งในสองทีมจากโซนเอเชียร่วมกับอิสราเอลที่ย้ายไปเล่นในรอบคัดเลือกโซนยุโรป โดยในตอนแรก พวกเขาอยู่ในกลุ่มเดียวกับสเปนและสาธารณรัฐไอร์แลนด์ อย่างไรก็ตาม พวกเขาได้คว่ำบาตรในการแข่งขันรอบคัดเลือก หลังจากที่ฟีฟ่าลงมติให้ทีมจากเอเชียและแอฟริกาผ่านเข้ารอบได้เพียงทีมเดียวเท่านั้น

ซีเรียไม่เคยผ่านเข้าไปเล่นในรอบสุดท้ายของฟุตบอลโลก โดยในฟุตบอลโลก 1986 รอบคัดเลือก พวกเขาพ่ายแพ้ต่ออิรัก ต่อมาในฟุตบอลโลก 2014 รอบคัดเลือก พวกเขาถูกสั่งห้ามไม่ให้แข่งขันเนื่องจากมีการใช้งานผู้เล่นที่ลงทะเบียนผิดกฎ[5]

ทีมชาติซีเรียพบปาเลสไตน์ในเอเชียนคัพ 2019

เดือนธันวาคม ค.ศ. 2012 ซีเรียเอาชนะอิรักในนัดชิงชนะเลิศของฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชียตะวันตก ทำให้พวกเขาสามารถคว้าถ้วยรางวัลใบแรกในประวัติศาสตร์ทีมชาติได้

นับตั้งแต่ที่สงครามกลางเมืองซีเรียได้เกิดขึ้นภายในประเทศ ซีเรียถูกสั่งห้ามไม่ให้ลงแข่งขันเกมเหย้าภายในประเทศ โดยในฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก พวกเขาลงเล่นเกมเหย้าทั้งหมดที่ประเทศมาเลเซีย และในครั้งนั้น ซีเรียสามารถผ่านเข้าถึงรอบคัดเลือกรอบที่สี่ ก่อนที่จะแพ้ออสเตรเลียด้วยผลประตูรวม 3–2[6]

สถิติการแข่งขัน

[แก้]

ฟุตบอลโลก

[แก้]
ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก
ปี ผล อันดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย
อุรุกวัย 1930 ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม
อิตาลี 1934
ฝรั่งเศส 1938
บราซิล 1950 ถอนตัว 1 0 0 1 0 7
สวิตเซอร์แลนด์ 1954 ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม
สวีเดน 1958 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 2 0 1 1 1 2
ชิลี 1962 ถอนตัว ถอนตัว
อังกฤษ 1966
เม็กซิโก 1970 ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม
เยอรมนีตะวันตก 1974 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 6 3 1 2 6 6
อาร์เจนตินา 1978 ถอนตัว 4 1 0 3 2 6
สเปน 1982 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 4 0 0 4 2 7
เม็กซิโก 1986 8 4 3 1 8 4
อิตาลี 1990 4 2 1 1 7 5
สหรัฐอเมริกา 1994 6 3 3 0 14 4
ฝรั่งเศส 1998 5 2 1 2 27 5
เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น 2002 6 4 1 1 40 6
เยอรมนี 2006 6 2 2 2 7 7
แอฟริกาใต้ 2010 10 6 2 2 23 10
บราซิล 2014 Disqualified 2 0 0 2 0 6
รัสเซีย 2018 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 20 9 5 6 36 22
ประเทศกาตาร์ 2022 18 8 3 7 31 23
แคนาดา เม็กซิโก สหรัฐอเมริกา 2026 6 2 1 3 9 12
Total 0/22 108 46 24 38 214 132

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Smale, Simon (5 January 2019). "Who the Socceroos are facing as the Asian Cup kicks off, and when to watch". ABC News. Australian Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 6 January 2019.
  2. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 20 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.
  3. "Lebanon vs Syria". FA Lebanon (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-04-08.
  4. "الفيفا يدرس رفع الحظر عن الملاعب السورية". Elsport News. 11 June 2018.
  5. FIFA.com (19 August 2011). "Syria disqualified from 2014 FIFA World Cup". fifa.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2011. สืบค้นเมื่อ 23 August 2017.
  6. Maasdorp, James (10 October 2017). "Australia v Syria World Cup qualifying play-off second leg in Sydney, as it happened". abc.net.au. สืบค้นเมื่อ 10 October 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]