ฟุตบอลทีมชาติบังกลาเทศ
ฉายา | เสือโคร่งเบงกอล แดงและเขียว | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สมาคม | สหพันธ์ฟุตบอลบังกลาเทศ | |||||||||||||||||
สมาพันธ์ย่อย | สหพันธ์ฟุตบอลเอเชียใต้ (SAFF) | |||||||||||||||||
สมาพันธ์ | สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC) | |||||||||||||||||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | ฆาบิเอร์ กาเบรรา | |||||||||||||||||
กัปตัน | Jamal Bhuyan | |||||||||||||||||
ติดทีมชาติสูงสุด | Zahid Hasan Ameli (64) | |||||||||||||||||
ทำประตูสูงสุด | Ashraf Uddin Ahmed Chunnu (17) | |||||||||||||||||
สนามเหย้า | สนามกีฬาแห่งชาติบังกาบันธุ | |||||||||||||||||
รหัสฟีฟ่า | BAN | |||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||
อันดับฟีฟ่า | ||||||||||||||||||
อันดับปัจจุบัน | 185 (19 ธันวาคม 2024)[1] | |||||||||||||||||
อันดับสูงสุด | 110 (เมษายน 1996) | |||||||||||||||||
อันดับต่ำสุด | 197 (กุมภาพันธ์–พฤษภาคม 2018) | |||||||||||||||||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | ||||||||||||||||||
บังกลาเทศ 2–2 ไทย (กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย; 26 กรกฎาคม 1973) | ||||||||||||||||||
ชนะสูงสุด | ||||||||||||||||||
บังกลาเทศ 8–0 มัลดีฟส์ (ธากา บังกลาเทศ; 23 ธันวาคม 1985) | ||||||||||||||||||
แพ้สูงสุด | ||||||||||||||||||
เกาหลีใต้ 9–0 บังกลาเทศ (อินช็อน เกาหลีใต้; 16 กันยายน 1979) | ||||||||||||||||||
เอเชียนคัพ | ||||||||||||||||||
เข้าร่วม | 1 (ครั้งแรกใน 1980) | |||||||||||||||||
ผลงานดีที่สุด | รอบแบ่งกลุ่ม (1980) | |||||||||||||||||
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชียใต้ | ||||||||||||||||||
เข้าร่วม | 12 (ครั้งแรกใน 1995) | |||||||||||||||||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (2003) | |||||||||||||||||
เกียรติยศ
|
ฟุตบอลทีมชาติบังกลาเทศ (เบงกอล: বাংলাদেশ জাতীয় ফুটবল দল) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของประเทศบังกลาเทศ อยู่ภายใต้การดูแลของสหพันธ์ฟุตบอลบังกลาเทศ (BFF) พวกเขาเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียและได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่าใน ค.ศ. 1974
บังกลาเทศลงเล่นนัดแรกใน ค.ศ. 1973 และจนถึงปัจจุบัน พวกเขายังไม่เคยผ่านเข้าไปในรอบสุดท้ายของฟุตบอลโลก แต่เคยเข้าร่วมแข่งขันเอเชียนคัพเพียงครั้งเดียวในปี 1980 ซึ่งพวกเขาตกรอบแรก ทำให้บังกลาเทศเป็นเพียงหนึ่งในสองชาติจากเอเชียใต้ที่ได้เข้าร่วมแข่งขันในรายการนี้ ผลงานที่ดีที่สุดของบังกลาเทศในระดับภูมิภาคเอเชียใต้คือการชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชียใต้ใน ค.ศ. 2003 ภายใต้การคุมทีมของ György Kottán นอกจากนี้ พวกเขายังคว้าเหรียญทองในการแข่งขันฟุตบอลในกีฬาภูมิภาคเอเชียใต้ได้อีกหนึ่งครั้ง บังกลาเทศเคยเป็นทีมชั้นนำของเอเชียใต้ในทศวรรษ 2000 ก่อนที่ความนิยมของฟุตบอลภายในประเทศจะตกเป็นรองคริกเกต ทำให้ฟุตบอลในบังกลาเทศขาดการพัฒนาที่ดี[2][3] ปัจจุบัน ฟุตบอลยังคงเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมในประเทศ แต่ก็ยังคงเป็นรองคริกเกตอยู่ดี[4]
ดูเพิ่ม
[แก้]- ฟุตบอลในประเทศบังกลาเทศ
- ทีมเยาวชน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 19 ธันวาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2024.
- ↑ "Bangladesh football fails to live up to dream". New Age.
- ↑ "No point shying away from reality". The Daily star. 7 September 2020.
- ↑ "'Improvement only in money, not quality'". The Daily Star. 4 September 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ก่อนหน้า | ฟุตบอลทีมชาติบังกลาเทศ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
1999 อินเดีย | แชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชียใต้ (2003 บังกลาเทศ (สมัยแรก)) |
2005 อินเดีย |