วงเดือน อินทราวุธ
พ.วงเดือน อินทราวุธ | |
---|---|
เกิด | 11 ตุลาคม พ.ศ. 2498 พ.วงเดือน อินทราวุธ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย |
คู่สมรส | ณัฐ ยนตรรักษ์ |
บุตร | 3 คน |
อาชีพ |
|
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2521–2523 |
ผลงานเด่น | ดร.วิกันดา - เมียหลวง (2521) คุณน้ำทิพย์ - ลูกทาส (2522) |
พ.วงเดือน อินทราวุธ หรือ พ.วงเดือน ยนตรรักษ์ (อ่านว่า พะวงเดือน) ชื่อเล่น น้ำตาล เป็นอดีตนักแสดงหญิงชาวไทย ที่มีผลงานแสดงช่วงสั้นๆ ระหว่าง พ.ศ. 2521–2523 มีผลงานจากภาพยนตร์เรื่อง เมียหลวง (2521), ลูกทาส (2522) และผลงานแสดงละครจำนวนหนึ่ง
ประวัติ
[แก้]วงเดือน อินทราวุธ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2498 เป็นบุตรคนสุดท้องของเจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ กับนายพิรุณ อินทราวุธ อดีต ส.ส. จังหวัดเชียงใหม่ [1] จบการศึกษาจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และแสดงภาพยนตร์และละครโทรทัศน์อยู่ช่วงหนึ่ง ก่อนเดินทางไปศึกษาต่อปริญญาโทที่ต่างประเทศ และสมรสกับณัฐ ยนตรรักษ์ นักเปียโนที่มีชื่อเสียง มีบุตร 3 คน ชื่อ พณ (ลูกนัท) [2] พารณี (ลูกตาล) และ พิณนรี (ลูกจันทร์) [3]
ในช่วงการขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2549 พ-วงเดือน และสามี ร่วมการแสดงบนเวทีโดยขึ้นมาเล่นเปียโน และขับร้องเพลง ที่สนามหลวงและลานพระบรมรูปทรงม้าด้วย[4] และในปี พ.ศ. 2551 ที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ชุมนุมขับไล่รัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ที่เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ ทั้งคู่ก็ได้กลับมาร่วมร้องและดนตรีบนเวทีอีกหลายครั้ง โดยเฉพาะเพลงหนักแผ่นดิน
ผลงานภาพยนตร์
[แก้]- เมียหลวง (2521)
- ลูกทาส (2522) กำกับโดย รพีพร และ กำธร สุวรรณปิยะศิริ นำแสดงโดย สรพงศ์ ชาตรี, นันทนา เงากระจ่าง,สมภพ เบญจาธิกุล, เศรษฐา ศิระฉายา, สมจินต์ ธรรมทัต, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, พิภพ ภู่ภิญโญ, พนม นพพร, เสกสรรค์ ภู่ประดิษฐ์, เทพ โพธิ์งาม, และ ชาลี อินทรวิจิตร
ละครโทรทัศน์
[แก้]พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของวงเดือน อินทราวุธ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประวัติ เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-16. สืบค้นเมื่อ 2007-11-14.
- ↑ สัมภาษณ์ พณ ยนตรรักษ์ จากสกุลไทย ฉบับที่ 2653 ปีที่ 51 ประจำวัน อังคาร ที่ 23 สิงหาคม 2548[ลิงก์เสีย]
- ↑ ขอเวลานอก : "เสียงเพลงเพื่อความสุข" จากใจทายาทนักเปียโน "ลูกจันทร์" พิณนรี ยนตรรักษ์ [ลิงก์เสีย]
- ↑ "เพลงพระราชนิพนธ์ ความฝันอันสูงสุด บรรเลง-ขับร้องโดย ณัฐ - พ.วงเดือน ยนตรรักษ์ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2549 ในการชุมนุมการขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2007-11-14.