การทัพปราบตั๋งโต๊ะ
การทัพปราบตั๋งโต๊ะ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามในสมัย ยุคสิ้นราชวงศ์ฮั่น | |||||||
ภาพจิตรกรรมฝาผนังบนเขาเซียงชาน ซึ่งเป็นภาพวาดที่มีชื่อเสียงของการต่อสู้บนหลังม้าระหว่างสามพี่น้องสาบานในสวนดอกท้อ (เล่าปี่ กวนอู และเตียวหุย) กับขุนพลลิโป้ที่ด่านเฮาโลก๋วนในศึกปราบตั๋งโต๊ะ | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ทัพพันธมิตรกวานตง | ตั๋งโต๊ะ | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
อ้วนเสี้ยว โจโฉ อ้วนสุด ซุนเกี๋ยน เตียวเมา ฮันฮก เปาสิ้น อ้วนอุ๋ย เตียวเถียว เตียวเอี๋ยง ยฺหวีฝูหลัว ขงมอ อองของ เล่าต้าย เตียวโป้ |
ตั๋งโต๊ะ ลิโป้ ลิฉุย กุยกี ฮัวหยง † ซีเอ๋ง โฮจิ้น เตียวเจ งิวฮู หวนเตียว ลิยู | ||||||
กำลัง | |||||||
100,000+[1] | ระบุว่ามีกำลังด้อยกว่าทัพพันธมิตร[2] |
การทัพปราบตั๋งโต๊ะ | |||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 董卓討伐戰 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 董卓讨伐战 | ||||||
|
การทัพปราบตั๋งโต๊ะ (จีนตัวย่อ: 董卓讨伐战; จีนตัวเต็ม: 董卓討伐戰; พินอิน: Dǒng Zhuó Tǎofá Zhàn) เป็นการทัพเพื่อปราบปรามที่ถูกริเริ่มขึ้นโดยการร่วมมือกันของผู้ครองแว่นแคว้นและขุนศึกเพื่อต่อกรกับขุนศึกตั๋งโต๊ะในปี ค.ศ. 190 ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก สมาชิกของพันธมิตรร่วมได้กล่าวอ้างว่าตั๋งโต๊ะมีความคิดกำเริบเสิบสานที่หมายมั่นจะแย่งชิงราชบังลังก์โดยจับพระเจ้าเหี้ยนเต้เป็นองค์ประกัน และสร้างอิทธิพลอันแข็งแกร่งในราชสำนัก พวกเขาต่างมีเหตุผลในการทัพเพื่อโค่นล้มตั๋งโต๊ะออกจากอำนาจ การทัพครั้งนี้ได้นำไปสู่การอพยพออกจากเมืองหลวงลกเอี๋ยงและโยกย้ายราชสำนักไปยังเตียงฮัน เป็นบทนำสู่การสิ้นสุดของราชวงศ์ฮั่นและต่อมาคือยุคสามก๊ก
ในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กในศตวรรษที่ 14 การทัพครั้งนี้เป็นที่จดจำจากเหตุการณ์ที่มีชื่อเสียงอย่างน้อยสองเหตุการณ์ เหตุการณ์หนึ่งคือการสังหารฮัวหยงของกวนอู อีกเหตุการณ์หนึ่งคือการต่อสู้แบบสามต่อหนึ่งระหว่างสามพี่น้องร่วมสาบาน (เล่าปี่ กวนอู เตียวหุย) และลิโป้ ทั้งสองเหตุการณ์นี้มักนำมาแสดงในการแสดงงิ้วร่วมกับเหตุการณ์ที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ ในนวนิยาย อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ทั้งสองเป็นเรื่องที่ถูกสมมติขึ้น ในความเป็นจริงฮัวหยงถูกสังหารในยุทธการที่รยกับซุนเกี๋ยน เล่าปี่ กวนอู และเตียวหุยเข้ารบในการทัพแต่บันทึกประวัติศาสตร์ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับบทบาทของทั้งสามในการทัพ[3] ไม่มีการระบุว่าทั้งสามต่อสู้กับลิโป้ ซึ่งตามประวัติศาสตร์แล้วลิโป้พ่ายแพ้ในยุทธการที่รบกับซุนเกี๋ยน
เบื้องหลัง
[แก้]ภายหลังพระเจ้าเลนเต้สวรรคตในปี ค.ศ. 189 แม่ทัพใหญ่โฮจิ๋นได้เรียกตั๋งโต๊ะ แม่ทัพชายแดนจากทางตะวันตกเฉียงเหนือมายังเมืองหลวงลั่วหยาง ตั๋งโต๊ะได้รับคำสั่งให้นำกองทัพของเขาเข้าไปยังเมืองหลวงเพื่อช่วยเหลือโฮจิ๋นในการกำจัดสิบขันทีให้หมดสิ้นไปจากราชสำนัก อย่างไรก็ตาม ก่อนการมาถึงของตั๋งโต๊ะ แผนการของโฮจิ๋นได้ถูกเปิดเผยและเขาถูกลอบสังหารโดยเหล่าขันทีในวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 189 เหล่าสมุนของโฮจิ๋นที่นำโดยอ้วนเสี้ยวได้บุกเข้าไปในวังภายหลังจากการลอบสังหารและเริ่มทำการสังหารหมู่ขันที พระเจ้าฮั่นเช่าตี้ยุวจักรพรรดิและตันลิวอ๋องหองจูเหียบ ผู้เป็นพระราชอนุชาได้ถูกลักพาตัวออกนอกวังโดยขันทีที่รอดชีวิตในช่วงความโกลาหล องค์จักรพรรดิได้สูญเสียตราหยกแผ่นดินไปในช่วงระหว่างการหลบหนี ในที่สุดพวกเขาก็ถูกพบเจอโดยทหารที่ออกติดตามค้นหาและพาเสด็จกลับพระราชวังอย่างปลอดภัยโดยตั๋งโต๊ะและคนของเขา
ต่อมาภายหลัง ขุนศึกนามว่า เต๊งหงวน ได้ถูกสังหารโดยลิโป้ ผู้ใต้บังคับบัญชาของเขา เนื่องจากคัดค้านการตัดสินใจของตั๋งโต๊ะในการปลดพระเจ้าฮั่นเช่าตี้ลงจากราชบังลังก์ จากนั้นลิโป้ก็แปรพัตร์มาอยู่ข้างฝ่ายตั๋งโต๊ะ
ในปี ค.ศ. 190 ตั๋งโต๊ะได้ปลดพระเจ้าฮั่นเช่าตี้และอัญเชิญตันลิวอ๋องหองจูเหียบให้ขึ้นครองราชย์ อ๋องผู้นี้ได้กลายเป็นที่รู้จักกันในประวัติสตร์ในพระนามว่า พระเจ้าเหี้ยนเต้ ตั๋งโต๊ะได้แต่งตั้งตนเองเป็นอัครมหาเสนาบดี(เซียงก๊ก) ซึ่งตำแหน่งนี้ได้ถูกยกเลิกอย่างทางการ เมื่อเกือบ 200 ปีก่อน วันที่ 26 มีนาคมในปีเดียวกัน ตั๋งโต๊ะได้ปลงพระชนม์หองจูเปียน(อดีตพระเจ้าฮั่นเช่าตี้) และพระนางโฮเฮา พระมารดาของหองจูเปียน
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ตั๋งโต๊ะได้สร้างอิทธิพลอย่างมากในราชสำนัก เขาเป็นเผด็จการและแสดงไม่เคารพต่อระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในขณะที่เขาได้ตัดสินใจขั้นตอนสุดท้ายเกี่ยวกับนโยบายโดยไม่ปรึกษาหรือขอความเห็นชอบจากองค์จักรพรรดิ เขาได้กำจัดศัตรูมาหลายคนในราชสำนักเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับการยึดครองเครื่องมือของรัฐ อ้วนเสี้ยวได้หลบหนีออกจากลั่วหยาง ภายหลังจากไม่เห็นด้วยอย่างเปิดเผยกับการตัดสินใจของตั๋งโต๊ะในการปลดพระเจ้าฮั่นเช่าตี้ ตั๋งโต๊ะได้เกรงกลัวว่าอ้วนเสี้ยวอาจจะลุกฮือต่อต้านเขา เนื่องจากอ้วนเสี้ยวก็เป็นผู้มีอิทธิพลในการเมืองเช่นกัน ตั๋งโต๊ะได้รับฟังข้อเสนอแนะจากที่ปรึกษาและเสนอให้องค์จักรพรรดิแต่งตั้งอ้วนเสี้ยวให้เป็นเจ้าเมืองปุดไฮ(ปั๋วไห่) เพื่อเป็นการเอาใจ
ช่วงเวลาของเหตุการณ์
[แก้]การก่อตั้งแนวร่วมพันธมิตร
[แก้]ในขณะที่อยู่ในเมืองปุดไฮ อ้วนเสี้ยวไม่ได้ให้ความสนใจจากข้อเสนอของตั๋งโต๊ะที่จะแต่งตั้งตนให้เป็นเจ้าเมือง เขาได้วางแผนที่เริ่มจะก่อรัฐประหารเพื่อปลดตั๋งโต๊ะออกจากอำนาจโดยการลุกฮือก่อกบฎ แต่เขาก็ถูกฮันฮก สมุหเทศาภิบาลมณฑลกิจิ๋ว(冀州) คอยตรวจสอบ
ในเวลาเดียวกัน เจ้าเมืองแห่งเมืองตองกุ๋น เตียวโป้ ได้เขียนสารจดหมายปลอมขึ้นมาหลายฉบับเพื่อกล่าวหาตั๋งโต๊ะ ได้ประณามเขาในฐานะกบฎ โดยมีเจตนาที่จะแย่งชิงราชบังลังก์ โดยมีการเรียกร้องให้ออกมาทำการปราบตั๋งโต๊ะ สารฉบับนี้ได้ถูกแจกจ่ายไปทั่วทั้งแผ่นดินในนามของข้าราชการจากเมืองหลวง ข้าราชการระดับภูมิภาคและขุนศึกทั่วทั้งแผ่นดินต่างได้รับสารและตอบสนองต่อการเรียกร้องในการโค่นล้มตั๋งโต๊ะลงจากอำนาจ
ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 190 กองกำลังร่วมพันมิตรแห่งกวนตัง (關東聯軍, literally: Coalition East of the Pass) ได้ถูกก่อตั้งขึ้น ภายหลังจากผู้ครองแว่นแคว้นและขุนศึกหลายคนได้มารวมตัวกันทางด้านตะวันออกของด่านงักขุนก๋วน(หันกู่กวน) กับกองทัพของพวกเขาเพื่อตอบสนองต่อการเรียกร้องให้ทำสงครามปราบปรามตั๋งโต๊ะ อ้วนเสี้ยวได้รับเลือกให้เป็นแม่ทัพใหญ่แห่งกองกำลังร่วมพันมิตร กองทัพของซุนเกี๋ยนและโจโฉยังได้เข้าร่วมในการทัพภายใต้ธงของอ้วนสุดและเตียวเมาตามลำดับ ผู้เข้าร่วมการทัพประกอบไปด้วย:
- อ้วนสุด แม่ทัพหลัง(後將軍)[4]
- ฮันฮก สมุหเทศาภิบาลมณฑล(牧) แห่งกิจิ๋ว[4]
- ขงมอ ผู้ตรวจราชการมณฑล(刺史) แห่งอิจิ๋ว[4]
- เล่าต้าย ผู้ตรวจราชการมณฑลแห่งกุนจิ๋ว[4]
- อองของ เจ้าเมือง(太守) แห่งเมืองโห้ลาย(เหอเน่ย์)[4]
- อ้วนเสี้ยว เจ้าเมืองแห่งเมืองปุดไฮ(ปั๋วไห่)[4]
- เตียวเมา เจ้าเมืองแห่งเมืองตันลิว(เฉินหลิว)[4]
- เตียวโป้ เจ้าเมืองแห่งเมืองตองกุ๋น[4]
- อ้วนอุ๋ย เจ้าเมืองแห่งเมืองซุนหยง(ซานหยาง)[4]
- เปาสิ้น เสนาบดีรัฐ(相) แห่งรัฐเจปัก(จี้เป่ย)[4]
- เตียวเถียว เจ้าเมืองแห่งเมืองก่องเล่ง(ก่วงหลิง)
- เตียนเอี๋ยง เจ้าเมืองแห่งเมืองเสียงต๋ง{ซ่างตั่ง}
- ยฺหวีฟูหลัว ประมุขแห่งเผ่าซฺยงหนูใต้
กองทัพพันธมิตรได้ตั้งค่ายอยู่หลายแห่งทางด้านตะวันออกของเมืองหลวงลั่วหยาง โดยรอบอย่างมีประสิทธิภาพ สถานที่ตั้งของสมาชิกพันธมิตรที่เกี่ยวข้องกับลั่วหยาง มีดังนี้:
- ทางตอนเหนือ ในเมืองโห้ลาย(เหอเน่ย์)(河內) : อ้วนเสียว อองของ เตียนเอี๋ยง ยฺหวีฟูหลัว
- ทางด้านตะวันออก ในอำเภอซวนเจ่า(酸棗) : เตียวเมา เล่าต้าย เตียวโป้ อ้วนอุ๋ย
- ทางตอนใต้ ในอำเภอหลูหยาง(魯陽) : อ้วนสุด
- ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ ในเมืองเองฉ่วนหรือหยิ่งชวน (穎川) : ขงมอ
- ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ในอำเภอเงียบกุ๋น : ฮันฮก
การปิดล้อมนั้นได้มีผลในการตัดเสบียงจากภาคตะวันออกของจักรวรรดิฮั่นกันไม่ให้ไปยังเมืองหลวง ซึ่งทำให้รายได้จากการเก็บภาษีของทางการลดลงอย่างมาก ในการตอบสนอง ตั๋งโต๊ะได้ทำการหล่อหลอมทั้งเก้าตัวของสิบสองคนทองและสมบัติอื่น ๆ เพื่อรวบรวมแร่สัมฤทธิ์ที่เขาสามารถใช้ทำเหรียญเงินได้มากขึ้น[5] เหรียญใหม่เหล่านี้ได้เข้าสู่ตลาด ก็ส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างร้ายแรงทั่วทั้งแผ่นดิน[6]
แม้จะมีการแสดงแสนยานุภาพของกองทัพที่น่าประทับใจ แต่กองทัพพันธมิตรส่วนใหญ่ต่างเร่งรีบรวบรวมครอบครัวข้าทาสบริวาร และคอยฉวยโอกาสเพื่อทำการปล้นโดยมีประสบการณ์การต่อสู้รบเพียงเล็กน้อย ผู้นำของพันธมิตร อ้วนเสี้ยวเองก็ไม่เคยเห็นการกระทำใด ๆ มาก่อนในช่วงทศวรรษที่ 180 เนื่องจากเขาอยู่ในช่วงไว้ทุกข์ให้กับมารดาของเขาก่อน และจากนั้นก็เป็นพ่อบุญธรรมของเขา ในช่วงที่เขาไม่สามารถเข้าร่วมในเรื่องการทหารได้ สิ่งนี้แตกต่างกับกองกำลังชายแดนที่แข็งกร้าวด้านการสู้รบของตั๋งโต๊ะ ซึ่งเคยต่อสู้รบกับกลุ่มกบฎจากมณฑลเหลียงมาก่อน[7]
การเผาเมืองลั่วหยาง
[แก้]ตั๋งโต๊ะได้ตื่นตระหนกกับการก่อตั้งพันธมิตรกวานตงเพื่อต่อต้านตน เขาได้เสนอให้ทำการอพยพออกจากเมืองหลวงลั่วหยางทันทีและโยกย้ายราชสำนักไปยังฉางอานทางด้านตะวันตก พลเรือนทั้งหมดต้องอพยพออกจากลั่วหยางเช่นกันและมุ่งหน้าไปยังฉางอานโดยมีเพียงตั๋งโต๊ะและกองกำลังทหารของเขาที่อยู่ด้านหลังเพื่อป้องกันเมืองลั่วหยางจากกองทัพพันธมิตร
ข้อเสนอของตั๋งโต๊ะได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากขุนนางในราชสำนักคนอื่น ๆ แต่ตั๋งโต๊ะก็ทำการปิดปากพวกเขา โดยข่มขู่ว่าหากใครก็ตามที่ต่อต้านเขา จะต้องตายสถานเดียว เมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 190 ข้อเสนอของตั๋งโต๊ะได้ถูกดำเนินการ เขาออกคำสั่งให้ทหารของเขาทำการสังหารหมู่และปล้นบ้านเรือนที่ร่ำรวยในลั่วหยางและขับไล่พลเรือนในลั่วหยางให้ไปยังฉางอาน พระเจ้าเหี้ยนเต้ ราชนิกุล ขุนนาง และเจ้าหน้าที่ได้เดินทางติดตามพลเรือนและกองทหารของตั๋งโต๊ะซึ่งเดินทางไกลไปยังฉางอาน ใครก็ตามที่ไม่ยอมเชื่อฟังคำสั่งให้อพยพไปยังฉางอานจะต้องถูกฆ่าทันที ตั๋งโต๊ะได้สั่งให้ลิโป้นำกำลังคนบุกเข้าไปยังสุสานหลวงและที่ฝังพระศพเพื่อหาของมีค่าและสมบัติ ภายหลังจากการอพยพ ลั่วหยางก็ถูกวางเพลิงจนลุกเป็นไฟ ในจดหมายเหตุสามก๊กของตันซิ่วได้กล่าวว่า "จำนวนผู้บริสุทธิ์ที่เสียชีวิตไปนั้นยากเกินกว่าจะนับได้"
ในอำเภอซวนเจ่า (酸棗), โจโฉได้นำกำลังคนของเขามุ่งไปยังตะวันตกเพื่อเข้าโจมตีกองทัพของตั๋งโต๊ะ เขาได้ถูกติดตามมาโดยกองกำลังจากกองทัพของเตียวเมาที่นำโดยอุยซีหรือเว่ยจือ(衛茲) กองทัพของโจโฉได้พบความปราชัยต่อกองทัพของตั๋งโต๊ะที่นำโดยซีเอ๋ง ในยุทธการที่เอ๊งหยง และโจโฉเองก็ได้รับบาดเจ็บจากการสู้รบ โจหองได้ยื่นม้าให้ได้ขึ้นขี่และเดินทางเท้าตามโจโฉไป และพวกเขาก็ได้หนีออกจากสนามรบ ส่วนซีเอ๋งก็ถอนกำลังทหาร ภายหลังการสู้รบ
เมื่อโจโฉได้เดินทางกลับมายังอำเภอซวนเจ่า เขาได้เสนอให้พันธมิตรไล่ติดตามกองทัพของตั๋งโต๊ะที่กำลังล่าถอยเพื่อคุกคามตั๋งโต๊ะ โดยแสดงให้เห็นว่า แนวร่วมพันธมิตรยังคงเคลื่อนไหวอยู่ อย่างไรก็ตาม เตียวเมาและคนอื่น ๆ ต่างไม่สนใจคำแนะนำของเขาเลย หลังจากนั้นโจโฉก็ได้พาคนของเขาเข้าไปสมทบกับอ้วนเสี้ยวในเมืองโห้ลาย ร่วมกับแฮหัวตุ้น ภายหลังการจากไปของโจโฉ กองทัพพันธมิตรที่ประจำอยู่ในอำเภอซวนเจ่า ก็ได้หมดเสบียงและแยกย้ายกันไป เล่าต้ายได้ฉวยโอกาสที่จะกำจัดเตียวโป้ ผู้ซึ่งเป็นคนที่เขาไม่พอใจ
ในเวลาเดียวกัน ตั๋งโต๊ะได้ส่งคนที่เป็นที่นับหน้าถือตา เช่น ฮันหยง(韓融), ยินซิว(陰修), หูหมูปาน(胡毋班), งอสิ้ว(吳修), และอองกุ๋ย(王瑰) เพื่อเข้าพบกับอ้วนเสี้ยวและเจรจาสงบศึก อย่างไรก็ตาม อ้วนเสี้ยวสั่งจับกักขังเหล่าผู้เจรจาทั้งหมดและทำการประหารชีวิต ยกเว้นเพียงฮันหยง เมื่อมองเห็นว่าการเจรจาสงบศึกไม่เป็นผล ตั๋งโต๊ะจึงรีบโอบล้อมค่ายของอองของในท่าข้ามแม่น้ำที่อำเภอเหอหยาง(河陽津) ทางตอนเหนือของลั่วหยาง และทำการบดขยี้อย่างรุนแรงจนอองของต้องละทิ้งแนวร่วมพันธมิตร และหนีกลับไปที่บ้านเกิดของเขาที่เมืองเมืองไทสันหรือไท่ซาน (泰山郡)
การรุกของซุนเกี๋ยน
[แก้]ในลั่วหยางสู่ทางตอนใต้ ซุนเกี๋ยนที่เข้าร่วมกับอ้วนสุดด้วยกำลังทหารจำนวน 20,000 - 30,000 นาย ซึ่งได้รับตำแหน่งเป็นแม่ทัพผู้กำจัดเชลยศึก(破虜將軍) และสมุหเทศาภิบาลมณฑลอิจิ๋วโดยอ้วนสุด อ้วนสุดได้ให้ซุนเกี๋ยนเป็นทัพหน้าและซุนเกี๋ยนก็เริ่มฝึกกำลังคนของเขาในอำเภอหลูหยาง
ในฤดูหนาว ปี ค.ศ. 190 ตั๋งโต๊ะได้ส่งกองกำลังจำนวนหมื่นนายบุกเข้าโจมตีอำเภอหลูหยาง ในช่วงเวลานั้น คนของซุนเกี๋ยนกำลังดื่มสร้างสรรคกันอยู่ แต่ซุนก็ไม่ได้เอะใจอะไรเมื่อได้ยินข่าว แต่เขายังคงส่งเหล้าไปรอบ ๆ อย่างใจเย็น ในขณะที่กองกำลังของเขารวมตัวกันเป็นขบวนทัพ เมื่อเห็นระเบียบวินัยเช่นนี้ คนของตั๋งโต๊ะจึงหันหลังและถอยทัพออกไป
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 191 ซุนเกี๋ยนได้ย้ายค่ายของเขาไปยังทางตอนเหนือสู่อำเภอเลียงต๋ง(เหลียงตง)(梁東) แต่เขาถูกโอบล้อมโดยซีเอ๋ง ด้วยกำลังหลายสิบคน เขาบุกตีฝ่าโอบล้อม เมื่อเห็นว่าผ้าพันคอสีแดงของเขาสามารถระบุตัวเขาได้อย่างง่ายดาย เขาจึงมอบมันให้กับผู้ช่วยคนสนิทอย่างโจเมา(祖茂) ผู้ซึ่งถูกทหารของซีเอ๋งไล่ติดตาม ในขณะที่ซุนเกี๋ยนหลบหนี ต่อมาโจเมาได้แขวนผ้าพันคอไว้บนเสาที่ถูกไฟไหม้ครึ่งนึงและซ่อนตัวอยู่ในพงหญ้าสูงที่อยู่ใกล้ ๆ ศัตรูได้ทำการโอบล้อมรอบเสาและเดินเข้าหาอย่างระมัดระวัง จนกระทั่งพวกเขารู้ตัวแล้วว่าถูกหลอก ดังนั้นพวกเขาจึงพากันถอยกลับไป
ซุนเกี๋ยนได้รวบรวมกองทัพที่กระจัดกระจายไปตั้งค่ายในอำเภอหยางเหริน(陽人; ซึ่งเชื่อว่าอยู่ใกล้กับเหวินฉวน หรู่โจว มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) ในเวลานี้ ตั๋งโต๊ะได้ส่งฮัวหยง โฮจิ้น และลิโป้ด้วยกำลังทหาร 5,000 นายบุกเข้าโจมตีซุนเกี๋ยน อย่างไรก็ตาม ลิโป้ ซึ่งเป็นผู้ควบคุมกองกำลังทหารม้ามีความขัดแย้งและกำลังวิวาทอยู่กับโฮจิ้น ซุนเกี๋ยนได้ฉวยโอกาสในการเข้าโจมตีพวกเขา และกองทัพของตั๋งโต๊ะก็ต้องปราชัยอย่างยับเยิน ฮัวหยงถูกจับและประหารชีวิตทันทีโดยซุนเกี๋ยน
ในเวลานี้ มีคนมาบอกกับอ้วนสุดว่า ถ้าซุนเกี๋ยนสามารถเอาชนะตั๋งโต๊ะและเข้ายึดเมืองหลวงมาได้ เขาจะไม่สามารถควบคุมได้อีกต่อไป ด้วยความเคลือบแคลงสงสัยของอ้วนสุดจึงทำให้ตัดสินใจไม่ส่งเสบียงให้กับซุนเกี๋ยน ซุนเกี๋ยนได้ขี่ม้าประหลาดที่เดินทางได้ไกลเป็นร้อยลี้จากอำเภอหยางเหรินไปยังอำเภอหลูหยาง ในตอนกลางคืนเพื่อเข้าพบอ้วนสุด จากนั้นเขาได้กล่าวว่า "ข้าพเจ้าสู้อุตส่าห์เสี่ยงชีวิตในการศึก ประการแรกก็เพื่อกำจัดกบฏ (ตั๋งโต๊ะ) ด้วยเห็นแก่ประโยชน์ของแผ่นดิน และประการสองก็เป็นไปเพื่อชำระแค้นให้กับการมรณกรรมของญาติผู้ใหญ่ของท่าน (หมายถึงอ้วนหงุย อาของอ้วนสุดและอ้วนเสี้ยวซึ่งถูกตั๋งโต๊ะสังหาร) ท่านก็ทราบดีว่าข้าพเจ้าหาได้มีความขุ่นแค้นใดๆ ต่อตั๋งโต๊ะเป็นการส่วนตัว แต่ท่านก็ยังเชื่อถือในคำพูดกล่าวร้ายและสงสัยในตัวข้าพเจ้าถึงเพียงนี้เชียวหรือ” อ้วนสุดได้ฟังถึงกับเกิดความละอาย จึงจัดส่งลำเลียงเสบียงอาหารไปให้ตามปกติ
ด้วยความเกรงกลัวต่อซุนเกี๋ยน ตั๋งโต๊ะจึงส่งลิฉุย ผู้ใต้บังคับบัญชาของเขาไปเป็นทูตเพื่อเจรจาสงบศึกและสานสัมพันธไมตรีกับซุนเกี๋ยนโดยเสนอจะยกบุตรสาวให้แต่งงานด้วย และสัญญาว่าจะหาตำแหน่งในราชธานีให้กับบุตรชายของซุนเกี๋ยนอีกด้วย ซุนเกี๋ยนกลับตอบว่า "ตั๋งโต๊ะขัดบัญชาสวรรค์และฝ่าฝืนกฎหมาย จนกว่าข้าพเจ้าจะสามารถประหารมันและโตตรเง้าของมันจนสิ้นไป และตัดศีรษะของมันไปประกาศต่อมหาสมุทรทั้งสี่แล้วก็คงจะตายตาไม่หลับ จะมากล่าวถึงไมตรีอะไรกัน?"
ซุนเกี๋ยนได้นำกองกำลังของเขาไปยังด่านต้ากู๋ (大谷關) ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านที่คอยป้องกันเมืองลั่วหยางไปยังทางทิศใต้ห่างจากลั่วหยาง 90 ลี้ ตั๋งโต๊ะได้เข้าปะทะแบบตัวต่อตัวที่สุสานหลวง แต่กลับประสบความพ่ายแพ้และหลบหนีไปยังอำเภอลุคคี(เมี่ยนฉือ)และ อำเภอส่าน(ซ่าน)(陝), ทางตะวันตกของลั่วหยาง ซุนเกี๋ยนก็ได้กรีฑาทัพเข้าสู่ลั่วหยาง ซึ่งเขาได้พบและเข้าปะทะกับกองกำลังของลิโป้ ในอาศัยอยู่ที่แห่งนี้ ซุนเกี๋ยนได้สั่งให้คนของเขาทำการปิดผนึกที่ฝังพระศพของอดีตจักรพรรดิที่ถูกตั๋งโต๊ะขุดขึ้นมา มีการกล่าวไว้ในตำราวู่(吳書) ของเว่ย จ้าวว่า ซุนเกี๋ยนได้พบตราหยกแผ่นดินที่หายสาปสูญไปในกำแพงทางตอนใต้ของลั่วหยางและเก็บไว้กับตัวเขาเอง
ซุนเกี๋ยนได้ส่งกองกำลังส่วนหนึ่งไปยังอำเภอซินอัน และอำเภอลุคคี เพื่อกดดันตำแหน่งป้องกันของตั๋งโต๊ะ ตอนนี้ตั๋งโต๊ะได้ส่งตั๋งอวดหรือต่งหยุ่ย (董越) ไปตั้งค่ายที่อำเภอลุคคี ตวนอุยหรือต้วนเวย (段煨) ไปตั้งค่ายที่อำเภอฮัวหิม(หัวยิน) และงิวฮู ไปตั้งค่ายที่อำเภออันอิบหรืออันยี่ (安邑) ส่วนนายทัพคนอื่น ๆ ของเขาได้ถูกส่งกระจัดกระจายออกไปท่ามกลางมณฑลเพื่อสกัดป้องกันการโจมตีใด ๆ จากทางตะวันออกของภูเขา ภายหลังจากจัดการส่วนเหล่านี้แล้ว ตั๋งโต๊ะได้นำกองกำลังของเขากลับไปยังฉางอาน
ภายหลังจากซ่อมแซมที่ฝังพระศพของจักรพรรดิ ซุนเกี๋ยนก็ได้นำกองทัพของเขากลับไปยังอำเภอหลูหยาง เนื่องจากลั่วหยางที่ถูกทำลายนั้นมีความเสี่ยงต่อการโจมตีตอบโต้กลับที่อาจจะเกิดขึ้นโดยตั๋งโต๊ะ ลั่วหยาง เมืองหลวนอันเก่าแก่ในตอนนี้ได้ถูกละทิ้งโดยกองกำลังทั้งสองฝ่าย
ความขัดแย้งภายใน
[แก้]แม้ว่าซุนเกี๋ยนจะประสบความสำเร็จ แต่แนวร่วมพันธมิตรก็ไม่ได้ก่อตัวขึ้นอีก เนื่องจากการสื่อสารและการประสานงานที่แย่ในท่ามกลางผู้นำ เหล่าขุนศึกทางตะวันออกยังไม่ทราบว่าพระเจ้าเหี้ยนเต้ยังทรงมีพระชนม์อยู่ เนื่องจากพวกเขาถูกแบ่งแยกออกจากเส้นทางที่แบ่งแยกจากลั่วหยางออกจากทางตะวันออก อ้วนเสี้ยวและฮันฮกได้เสนอที่จะแต่งตั้งให้เล่าหงี ผู้ตรวจราชการมณฑลแห่งอิจิ๋ว (幽州) และเชื้อพระวงศ์ของราชวงศ์ให้ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิองค์ใหม่ โจโฉและอ้วนสุดต่างไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้ เมื่ออ้วนเสี้ยวและฮันฮกได้ส่งสารไปยังเล่าหงีเพื่อแจ้งให้รับทราบ เล่าหงีได้กล่าวตำหนิตีเตียนคนส่งสารอย่างเคร่งขรึมและปฏิเสธข้อเสนออย่างไม่ใยดี เล่าหงียังคงจงรักภักดีต่อพระเจ้าเหี้ยนเต้ จักรพรรดิองค์ปัจจุบัน และข่มขู่ว่า จะมุ่งหน้าขึ้นเหนือไปยังดินแดนซยงหนู หากอ้วนเสี้ยวยังยืนกรานที่จะให้เขากลายเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่ ภายหลังจากความพยายามล้มเหลวหลายครั้ง อ้วนเสี้ยวตัดสินใจยอมแพ้ นอกจากนี้เหล่าขุนศึกต่างเลิกให้ความสนใจจากตั๋งโต๊ะกลับมาที่ตัวพวกเขาเอง และเริ่มติดตามหาผลประโยชน์ของตนอีกครั้ง แทนที่จะรวมตัวกันต่อต้านตั๋งโต๊ะ
ฮันฮกซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบด้านเสบียงก็ค่อย ๆ หยุดส่งให้กับกองทัพพันธมิตร จ๊กยี่ ผู้ใต้บังคับบัญชาของเขาได้ก่อกบฏต่อเขาและเอาชนะเขาได้ ก่อนที่จะพ่ายแพ้ให้กับอ้วนเสี้ยว เหตุการณ์ดังกล่าวได้ย้ำเตือนแก่อ้วนเสี้ยวถึงความจำเป็นที่จะรักษาแหล่งเสบียงของเขาและเขาได้วางแผนที่จะยึดครองแผ่นดินฮั่น อ้วนเสี้ยวได้ร่วมมือกับกองซุนจ้านอย่างลับ ๆ เพื่อเข้าโจมตีแคว้นกิจิ๋วของฮันฮก และในที่สุดฮันฮกก็ยอมยกแคว้นกิจิ๋วให้กับอ้วนเสี้ยว
อ้วนเสี้ยวได้ส่งโจวหย่งเพื่อเข้าโจมตีซุนเกี๋ยนที่เดินทางกลับมาจากลั่วหยางเพื่อเข้าสมทบกับอ้วนสุด ในยุทธการที่หยางเฉิง โจวหย่งได้เข้าจู่โจมอย่างน่าประหลาดใจต่อค่ายของซุนเกี๋ยนที่หยางเฉิงและเข้ายึดที่นั้นมาได้ อ้วนสุดได้ส่งกองซุนอวด (公孫越) เพื่อช่วยเหลือซุนเกี๋ยนในการสู้รบกับโจวหย่ง กองซุนอวดถูกฆ่าตายในการรบ แม้ว่าชัยชนะจะเป็นของซุนเกี๋ยนก็ตาม กองซุนจ้านได้ให้อ้วนเสี้ยวรับผิดชอบต่อการตายของกองซุนอวดและประกาศสงครามกับอ้วนเสี้ยว ซึ่งนำไปสู่ยุทธการที่สะพานจีเกี้ยวในเวลาต่อมา
หลังจากนั้น แนวร่วมพันธมิตรก็ล้มเหลวและแตกแยก โดยหลงเหลือแต่เพียงในนามเท่านั้น
จุดจบของตั๋งโต๊ะ
[แก้]ในปีต่อมา เหล่าขุนศึกต่าง ๆ ได้หยุดที่จะกระทำใด ๆ ในการต่อต้านตั๋งโต๊ะ ตั๋งโต๊ะได้ส่งกองทัพเข้าไปโจมตีขุนศึก จูฮี เป็นครั้งคราวและปล้นสดมดินแดนของเขา
ตั๋งโต๊ะได้กลับเข้าสู่ความเป็นทรราชย์ของเขาในราชสำนัก แต่เขามีความอดทนต่อความขัดแย้งน้อยลง เนื่องจากเจ้าหน้าที่คนใดที่พูดคำที่ไม่เป็นที่พอใจเพียงเล็กน้อยก็จะถูกสังหารทันที เขาได้แต่งตั้งให้กับสมาชิกทุกคนในครอบครัวตระกูลและญาติของเขาโดยการแต่งงานในตำแหน่งยศระดับชั้นสูง แม้แต่ลูกชายวัยแรกเกิดของเขาก็ยังได้รับยศถาบรรดาศักดิ์เป็นมาร์ควิส และได้เล่นกับสิงโตทะเลสีทองและพู่สีม่วง
ขุนนางในราชสำนัก ได้แก่ อ้องอุ้น อุยอ๋วน (黃琬), ซุนซอง (士孫瑞) และหยางจ้าน (楊瓚) ได้วางแผนลอบสังหารตั๋งโต๊ะ พวกเขาได้เกลี้ยกล่อมให้ลิโป้มาเข้าร่วม สาเหตุเพราะความสัมพันธ์ของลิโป้และตั๋งโต๊ะเริ่มตึงเครียดเรื่อย ๆ ภายหลังจากที่ตั๋งโต๊ะซักขว้างทวนง้าวใส่เขาและเนื่องจากเขาไปแอบมีความสัมพันธ์กับหนึ่งในสาวใช้ของตั๋งโต๊ะ
ในวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 192 ตั๋งโต๊ะกำลังเดินทางไปประชุมด้วยรถม้าประจำตัวของเขา เมื่อลิซกได้บุกเข้ามาหาเขาและจัดการแทงเขา ตั๋งโต๊ะได้ตะโกนเรียกหาลิโป้ให้มาปกป้อง แต่ลิโป้กลับสังหารเขาแทน ญาติพี่น้องของตั๋งโต๊ะก็ถูกตัดหัวเสียบประจานทั้งโคตร หลังจากที่เขาตาย ในขณะที่ศพของเขาถูกทิ้งไว้บนถนนในฉางอาน เจ้าพนักงานเอาไส้ตะเกียงเสียบไว้ตรงสะดือศพแล้วจุดเป็นแสงสว่างโดยใช้ไขมันจากความอ้วนของตั๋งโต๊ะเป็นเชื้อเพลิงได้หลายวัน
ภายหลังจากการเสียชีวิตของตั๋งโต๊ะ เหล่าผู้จงรักภักดีของเขาหลายคน เช่น หวนเตียว กุยกี และลิฉุย ต่างพากันหลบหนี เนื่องจากพวกเขาเชื่อว่าความจงรักภักดีที่พวกเขามีต่อตั๋งโต๊ะ จะถูกตราหน้าว่าเป็นคนทรยศ อ้องอุ้นซึ่งได้เข้าควบคุมราชสำนักภายหลังการเสียชีวิตของตั๋งโต๊ะ ได้รับคำอุธรณ์ของพวกเขาให้อภัยโทษและกล่าวว่า "ในบรรดาผู้ควรอภัย คนพวกนี้ไม่ควรอภัย" ผู้จงรักภักดีของตั๋งโต๊ะต่างโกรธแค้นจากคำพูดของอ้องอุ้นและทำสงคราม อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็ได้พ่ายแพ้ต่อลิโป้และกองทัพหลวง จนในที่สุดกองกำลังที่เหลืออยู่ของตั๋งโต๊ะก็สามารถเอาชนะลิโป้มาได้โดยการเบี่ยงเบนความสนใจเขา และพวกเขาก็ได้บุกเข้าควบคุมฉางอาน อ้องอุ้นจึงถูกสังหาร
อำนาจของราชวงศ์ฮั่นตะวันออกได้ตกอยู่ในกำมือของเหล่าผู้จงรักภักดีต่อตั๋งโต๊ะที่หลงเหลืออยู่ในช่วงหลังจากนั้นและค่อย ๆ พัฒนาไปสู่การแก่งแย่งชิงอำนาจซึ่งแผ่ขยายไปทั่วทั้งแผ่นดิน
ในวรรณกรรมสามก๊ก
[แก้]ในสมัยศตรวรรษที่ 14 วรรณกรรมอ้างอิงประวัติศาสตร์อย่างสามก๊ก ผู้เขียนนามว่า ล่อกวนตง ได้ว่าจ้างผู้ได้รับใบอนุญาตด้านศิลปะค่อนข้างได้อย่างอิสระ ในขณะที่เขาได้เปลี่ยนแปลงรายละเอียดบางอย่างของการทัพครั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นถึงตัวละครหลัก ตัวอย่างเช่น ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ใด ๆ ที่ระบุว่า เล่าปี่ กวนอู และเตียวหุย ได้เข้าร่วมในการทัพครั้งนี้ แต่พวกเขากลับนำความสำเร็จของซุนเกี๋ยนมาไว้ในวรรณกรรม ล่อกวนตงยังทำให้เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์บางอย่างง่ายขึ้น คิดค้นการต่อสู้แบบสมมติ และเปลี่ยนลำดับของเหตุการณ์ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความนิยมของวรรณกรรม หลายคนได้ถือเอาเหตุการณ์ที่มีรายละเอียดในวรรณกรรมเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบประวัติศาสตร์ที่แท้จริงตามที่ได้นำเสนอในแหล่งที่มาอย่างชัดเจน เช่น Book of the Later Han จดหมายเหตุสามก๊ก หรือ Zizhi Tongjian เรื่องราวสมมุติในประวัติศาสตร์นี้ยังถูกนำมาใช้ในโรงละครงิ้วและวิดีโอเกมมากมาย
การก่อการกำเริบต่อต้านตั๋งโต๊ะ
[แก้]ในตอนที่ 5 ของวรรณกรรมสามก๊ก โจโฉได้พยายามจะลอบสังหารตั๋งโต๊ะแต่กลับล้มเหลวและหลบหนีกลับบ้านเกิดในเฉินหลิว ต่อจากนั้นโจโฉได้ได้ปลอมแปลงราชโองการในนามของจักรพรรดิไปยังขุนศึกและเจ้าหน้าที่ในภูมิภาคต่าง ๆ สั่งให้พวกเขาทำการลุกขึ้นออกมาต่อต้านตั๋งโต๊ะและปลดเขาออกจากอำนาจ หลายคนได้ตอบสนองคำเรียกร้องและพวกเขาได้จัดตั้งแนวร่วมพันธมิตรต่อต้านตั๋งโต๊ะ(反董卓聯合軍)
ในวรรณกรรมเรื่องนี้ มีรายชื่อผู้เข้าร่วมที่แตกต่างกันเล็กน้อยในแนวร่วมพันธมิตร:
- โจโฉ นายพันเอกกองทหารม้าผู้เด็ดเดี่ยว (驍騎校尉)
- อ้วนสุด แม่ทัพหลัง(後將軍), เจ้าเมืองลำหยง(南陽太守)
- ฮันฮก สมุหเทศาภิบาลมณฑลแห่งกิจิ๋ว(冀州刺史)
- ขงมอ ผู้ตรวจราชการมณฑลแห่งอิจิ๋ว (豫州刺史)
- เล่าต้าย ผู้ตรวจราชการมณฑลแห่งกุนจิ๋ว (兗州刺史)
- อองของ เจ้าเมืองแห่งเมืองโห้ลาย (河內太守)
- เตียวเมา เจ้าเมืองแห่งเมืองตันลิว (陳留太守)
- เตียวโป้ เจ้าเมืองแห่งเมืองตองกุ๋น (東郡太守)
- อ้วนอุ๋ย เจ้าเมืองแห่งเมืองซุนหยงหรือซานหยาง (山陽太守)
- เปาสิ้น เสนาบดีรัฐแห่งรัฐเจปัก (濟北相)
- ขงหยง เจ้าเมืองแห่งเมืองปักไฮ (北海太守)
- เตียวเถียว เจ้าเมืองแห่งเมืองกองเหลง (廣陵太守)
- โตเกี๋ยม ผู้ตรวจราชการมณฑลแห่งซีจี๋ว (徐州刺史)
- ม้าเท้ง เจ้าเมืองแห่งเมืองเสเหลียง (西涼太守)
- กองซุนจ้าน เจ้าเมืองแห่งเมืองปักเป๋ง (北平太守)
- เตียนเอี๋ยง เจ้าเมืองแห่งเมืองเสียงต๋ง (上黨太守)
- ซุนเกี๋ยน เจ้าเมืองแห่งเมืองเตียงสา(長沙太守), ตำแหน่งบรรดาศักดิ์คืออู่เฉิงโหว(烏程侯)
- อ้วนเสี้ยว เจ้าเมืองแห่งเมืองปุดไฮ(渤海太守), ตำแหน่งบรรดาศักดิ์คือฉีโหว(祁鄉侯)
ด้วยขุนศึกสิปแปดคนที่เข้าร่วมในวรรณกรรม การทัพครั้งนี้จึงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในชื่อ "การทัพสิบแปดขุนศึกเพื่อต่อต้านตั๋งโต๊ะ"(十八路諸侯討董卓) ในการทัพครั้งนี้ เล่าปี่ร่วมกับพี่น้องร่วมสาบานอย่างกวนอู และเตียวหุยได้เข้าร่วมการทัพโดยอยู่ภายใต้สังกัดของกองซุนจ้าน ซึ่งเป็นสหายและอดีตเพื่อนร่วมชั้นเรียนของเล่าปี่ ภายหลังจากขุนศึกได้ให้คำมั่นสาบานว่าจะจงรักภักดีต่อแนวร่วมพันธมิตร พวกเขายืนยันที่จะให้อ้วนเสี้ยวเป็นแม่ทัพใหญ่ ซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่ที่อ้วนเสี้ยวมิอาจปฏิเสธได้ จากนั้นอ้วนเสี้ยวก็แต่งตั้งให้อ้วนสุด น้องชายของตนเป็นผู้ดูแลด้านเสบียงและแต่งตั้งให้ซุนเกี๋ยนเป็นแม่ทัพคุมกองทัพหน้าเข้าโจมตีด่านกิสุยก๋วน
การสลายตัว
[แก้]ในขณะที่ดูแลความสงบเรียบร้อยในลั่วหยางหลังถูกไฟเผา ซุนเกี๋ยนได้รับแจ้งจากคนของเขาว่า พบแสงสีเขียวพุ่งขึ้นจากบ่อน้ำ เขาจึงสั่งให้คนดึงสิ่งนั้นออกมา และพวกเขาก็พบศพเป็นหญิงสาวที่มีตราหยกแผ่นดินซึ่งถูกใส่ไว้ในถุงผ้าไหมแขวนคอเธออยู่ ตามคำแนะนำของเทียเภา ซุนเกี๋ยนจึงเก็บตราหยกแผ่นดินไว้กับตัวเองและสั่งกำชับคนของเขาว่า ห้ามแพร่งพรายให้ใครคนอื่นรู้เด็ดขาด
โชคร้ายสำหรับซุนเกี๋ยน หนึ่งในทหารของเขาได้นำความลับไปบอกแก่อ้วนเสี้ยวจนได้รับปูนบำเหน็จรางวัล ในช่วงการประชุมในวันรุ่งขึ้น ซุนเกี๋ยนได้กล่าวว่า ตนมีปัญหาด้านสุขภาพจึงขอเดินทางกลับเตียงสา อ้วนเสี้ยวได้กล่าวประชดว่า "ที่ท่านป่วยคงเป็นเพราะตราหยกแผ่นดินละสิท่า" ทำให้ซุนเกี๋ยนตกตะลึง หลังจากนั้นอ้วนเสี้ยวจึงสั่งให้มอบตราหยกแผ่นดินมาให้กับตน แต่ซุนเกี๋ยนให้การปฏิเสธและแสร้งว่าไม่รู้เรื่องพร้อมกับกล่าวคำสาบาน "ถ้าข้ามีตราหยกแผ่นดินจริง ก็ขอให้ข้ามีอันเป็นไป" แต่อ้วนเสี้ยวกลับไม่เชื่อและสั่งให้เอามา เมื่อทั้งสองฟังกันไม่รู้จึงเตรียมชักกระบี่เพื่อเตรียมต่อสู้แต่กลับถูกห้ามปราบเอาไว้ ซุนเกี๋ยนจึงรีบหนีออกจากลั่วหยางพร้อมกับคนของเขา ด้วยความโกรธ อ้วนเสี้ยวจึงส่งสารไปหาเล่าเปียว เจ้าเมืองเกงจิ๋ว เพื่อออกคำสั่งให้สกัดกั้นซุนเกี๋ยนระหว่างทางและชิงตราหยกแผ่นดินมาให้ได้ สิ่งนี้ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างซุนเกี๋ยนและเล่าเปียว จนท้ายที่สุดแล้ว ซุนเกี๋ยนถูกสังหารในยุทธการที่ซงหยง
วันรุ่งขึ้น โจโฉเดินทางกลับค่ายหลัก ภายหลังจากพบความปราชัยในเอ๊งหยง เขาคร่ำครวญถึงความล้มเหลวและความแตกแยกสามัคคีกันของแนวร่วมพันธมิตรทำให้เกิดท้อหมดกำลังใจและเดินทางจากไป กองซุนจ้านได้บอกกับเล่าปี่ว่า "อ้วนเสี้ยว เป็นผู้นำที่ไร้ความสามารถ และทำให้เกิดความขัดแย้งกันเอง พวกเราก็ควรจากไปเสียดีกว่า" ดังนั้นพวกเขาจึงนำกองทัพของตนเดินทางกลับไปยังเมืองของตน เมื่อเห็นว่าทุกคนต่างแยกย้ายกันไปหมดแล้ว อ้วนเสี้ยวจึงรื้อค่ายและนำกองทัพกลับไปยังเมืองของตนเช่นกัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ (操到酸棗,諸軍十餘萬,日置酒高會,不圖進取) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 59.
- ↑ Cao Cao's claims. de Crespigny (2010), p. 358
- ↑ (《英雄記》云:靈帝末年,備嘗在京師,後與曹公俱還沛國,募召合眾。會靈帝崩,天下大亂,備亦起軍從討董卓。) อรรถาธิบายจากอิงสฺยงจี้ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 32.
- ↑ 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 (初平元年春正月,後將軍袁術、兾州牧韓馥、豫州刺史孔伷、兖州刺史劉岱、河內太守王匡、勃海太守袁紹、陳留太守張邈、東郡太守橋瑁、山陽太守袁遺、濟北相鮑信同時俱起兵,衆各數萬,推紹為盟主。太祖行奮武將軍。) Sanguozhi vol. 1.
- ↑ de Crespigny (1996), passage 1916U, note 47
- ↑ de Crespigny (2010), p. 55
- ↑ de Crespigny (2010), p. 54