พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล | |
---|---|
พระเจ้าวรวงศ์เธอ ชั้น 5 พระองค์เจ้าชั้นโท | |
ประสูติ | 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 |
สิ้นพระชนม์ | 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 (84 ปี) |
พระราชทานเพลิง | 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส |
หม่อม | |
พระบุตร | |
ราชสกุล | ยุคล |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ |
พระมารดา | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล |
ศาสนา | พุทธ |
ผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยศิลปากร | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2492 – 2494 | |
ก่อนหน้า | ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) |
ถัดไป | ศาสตราจารย์ หลวงรณสิทธิพิชัย (เจือ กาญจนิทุ) |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
แผนก/ | กองทัพไทย |
ชั้นยศ | พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี[1] |
พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล หรือ พระองค์ชายใหญ่ (27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 – 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538) เป็นพระโอรสองค์โตใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล และเป็นพระอัยกาฝ่ายพระมารดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ เป็นผู้อำนวยการสร้าง ผู้กำกับละครและภาพยนตร์ ทรงพระนิพนธ์เรื่องและคำร้องเพลงประกอบหลายเรื่อง เป็นผู้ร่วมก่อตั้งธนาคารไทยทนุ เมื่อปี พ.ศ. 2492 และโปรดการสะสมโบราณวัตถุ
พระประวัติ
[แก้]ประสูติ
[แก้]พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ประสูติเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล (พระธิดาใน สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ซึ่งเป็นพระโสทรกนิษฐภาดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) มีพระอนุชา 2 พระองค์ คือ
การศึกษา
[แก้]เริ่มแรกทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ แล้วเสด็จไปทรงศึกษาที่โรงเรียนแฮร์โรว์ (Harrow School) ประเทศอังกฤษ แล้วเสด็จกลับมาทรงศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก
รับราชการ
[แก้]ทรงรับราชการที่กองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ และทรงดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกาฯ ระหว่างปี พ.ศ. 2500 - 2502[2]
ผนวช
[แก้]ปี พ.ศ. 2473 ทรงเป็นนาคหลวง วันที่ 2 กรกฎาคม ทรงรับสมโภช ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย วันต่อมาเวลา 17.00 น. จึงบรรพชาและอุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เป็นพระศีลาจารย์ แลสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (หม่อมราชวงศ์ชื่น สุจิตฺโต)เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เวลา 18.40 น. เสด็จโดยรถม้าพระที่นั่งไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร[3]
พระกรณียกิจ
[แก้]ในรัชกาลที่ 9 ทรงเป็นผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ในหลายประเทศ โปรดการละครและภาพยนตร์ ทรงเป็นผู้อำนวยการสร้างและกำกับภาพยนตร์หลายเรื่อง ในด้านดนตรีโปรดนิพนธ์คำร้องเพลงต่าง ๆ หลายเพลง อาทิ เพลงบัวขาว เพลงเรือนแพ เพลงลมหวน อีกทั้งโปรดการสะสมโบราณวัตถุด้วย
สิ้นพระชนม์
[แก้]ศาสตราจารย์ พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 พระชันษา 85 ปี ในการนี้พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร) เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระโกศกุดั่นใหญ่ ทรงพระศพ ประดิษฐานพระศพ ณ พระที่นั่งทรงธรรม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร[4] และในวันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พุทธศักราช 2539 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ไปในการพระราชทานเพลิงพระศพ ศาสตราจารย์ พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร[5][6]
ภายหลังสิ้นพระชนม์ ในปี พ.ศ. 2559 กระทรวงวัฒนธรรมได้ประกาศยกย่องเชิดชูพระเกียรติ ศาสตราจารย์ พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เป็น "บูรพศิลปิน สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สาขาศิลปะการแสดง" โดยมีการเชิดชูเกียรติศิลปินผู้ล่วงลับ ซึ่งมีคุณูปการต่องานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติอันเป็นที่ประจักษ์ต่อสังคม ควรค่าแก่การเคารพยกย่องซึ่งอนุชนรุ่นต่อมาได้พัฒนาและสืบทอดให้เจริญก้าวหน้ามาจนปัจจุบัน ซึ่งในโอกาสดังกล่าวสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมพระราชทานชื่อสำหรับศิลปินผู้ล่วงลับว่า “บูรพศิลปิน”[7]
การเสด็จแทนพระองค์ปฏิบัติพระกรณียกิจยังต่างประเทศ
[แก้]พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เสด็จแทนพระองค์ไปในพระราชพิธีสำคัญ ณ ต่างประเทศ ได้แก่
- ในปี พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์แห่งลาว ณ นครหลวงพระบาง
- ในปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในงานพระราชพิธีอภิเษกสมรสเจ้าชายพิเรนทรา พีระ พิกรม ชาห์ เทพ กับ เจ้าหญิงไอศวรรยา ราชชายาลักษมีเทวี ชาห์ มกุฎราชกุมารและมกุฎราชกุมารีแห่งเนปาล (พระนามเดิมของเจ้าสาวคือ ไอศวรรยา รานา) ณ กรุงกาฐมาณฑุ
- ในปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในงานฉลอง 2,500 ปีแห่งจักรวรรดิเปอร์เซีย ซึ่งจัดขึ้นโดยสมเด็จพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวีแห่งอิหร่าน ณ เมืองเปอร์เซเปอลิส
- ในปี พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในงานพระราชพิธีพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 แห่งเดนมาร์ก ณ กรุงโคเปนเฮเกน
พระโอรส-ธิดา
[แก้]พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลทรงจดทะเบียนสมรสกับหม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์; 4 ตุลาคม พ.ศ. 2452 – 28 ธันวาคม พ.ศ. 2527) เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 และมีหม่อมคือ บุญล้อม ฐานะวร (สกุลเดิม นาตระกูล; 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 – 19 มกราคม พ.ศ. 2517) และปริม บุนนาค (13 กันยายน พ.ศ. 2466 – 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564) ต่อมาหม่อมหลวงสร้อยระย้าถึงแก่อนิจกรรม พระองค์ทรงจดทะเบียนสมรสใหม่กับหม่อมไฉไล ยุคล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ถาวร; เกิด 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499) โดยมีพระโอรส-ธิดา ดังนี้
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล มีพระโอรส-ธิดา 6 องค์ โดยประสูติแต่หม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล 3 องค์[8] หม่อมบุญล้อมหนึ่งองค์ หม่อมไฉไลสององค์ ปรากฏรายพระนามดังนี้
ลำดับ | พระนาม | ประสูติ | สิ้นชีพตักษัย |
มารดา | เสกสมรส | พระนัดดา |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | ท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร | 24 กันยายน พ.ศ. 2476 | หม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์) |
หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ หม่อมหลวงสราลี กิติยากร | |
2. | หม่อมเจ้าภูริพันธุ์ ยุคล | 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2477 | 20 เมษายน พ.ศ. 2557 | บุญล้อม ฐานะวร (สกุลเดิม นาตระกูล) |
หม่อมนิติมา ยุคล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ยนเปี่ยม) |
หม่อมราชวงศ์อัครินทร์ ยุคล หม่อมราชวงศ์ทักขิญ ยุคล |
3. | หม่อมเจ้าฐิติพันธุ์ ยุคล | 11 ตุลาคม พ.ศ. 2478 | 27 สิงหาคม พ.ศ. 2538 | หม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์) |
ภรณ์พัชร ธรรมเสน วาสนา ฐวลางกุล (สกุลเดิม ไฝเครือ) โชติกา ขวัญฐิติ (สกุลเดิม รอดอ่อน) |
หม่อมราชวงศ์นิภานพดารา ยุคล หม่อมราชวงศ์จุลรังษี ยุคล หม่อมราชวงศ์สุทธิพัฒน์ ยุคล |
4. | คุณหญิงรังษีนภดล ยุคล | 2 ตุลาคม พ.ศ. 2480 | 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 | หม่อมหลวงตวง สนิทวงศ์ วิเชียร ตระกูลสิน |
สายฝน ชัชกุล ดุลสิทธิ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รังษิดล สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ตรรค สนิทวงศ์ ณ อยุธยา | |
5. | หม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคล | 1 มกราคม พ.ศ. 2521 | หม่อมไฉไล ยุคล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ถาวร) |
หม่อมอัญวิดา ยุคล ณ อยุธยา (สกุลเดิม สง่าศิลป์) |
หม่อมราชวงศ์พริมา ยุคล หม่อมราชวงศ์นภพิมพ์ ยุคล | |
6. | ภานุมา ยุคล | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2524 | เมธ พิพิธโภคา | ญาใจ พิพิธโภคา เปรม พิพิธโภคา |
ละครและภาพยนตร์
[แก้]ทรงก่อตั้ง บริษัทไทยฟิล์ม ร่วมกับนายพจน์ สารสิน และนายประสาท สุขุม สร้างภาพยนตร์ 35 มม.ขาวดำ ไวด์สกรีน เสียงในฟิล์ม เรื่องแรก ถ่านไฟเก่า ฉายในช่วงปีใหม่ (เม.ย.) พ.ศ. 2481 ตามด้วยเรื่อง แม่สื่อสาว วันเพ็ญ จุดใต้ตำตอ ปิดทองหลังพระ และเรื่องสุดท้าย ลูกทุ่ง (2483) ก่อนยุติบทบาทลงเนื่องจากประสบภาวะขาดทุนและได้ขายกิจการกับโรงถ่ายให้แก่กองทัพอากาศไปในปีนั้น อย่างไรก็ตามเพลง "บัวขาว" และ "ในฝัน" จากภาพยนตร์เรื่องแรกและอีกหลายเพลงในเรื่องต่อ ๆ มายังคงเป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบัน
เสด็จพระองค์ชายใหญ่ทรงตั้งคณะอัศวินการละคร สัญลักษณ์ "พระอัศวเทพ" ในยุคละครเวทีเฟื่องฟู มีผลงานเด่น ที่ศาลาเฉลิมไทย เมื่อ พ.ศ. 2494 ผู้ชมเรียกร้องให้นำนวนิยายเรื่อง บ้านทรายทอง ที่กำลังดังมากเวลานั้นมาทำเป็นละครเวที ทรงให้ สวลี ผกาพันธ์ และ ฉลอง สิมะเสถียร แสดงนำ ได้รับความสำเร็จอย่างสูง ทั้งได้ทรงพระนิพนธ์คำร้องเพลงเอก ชื่อ หากรู้สักนิด ซึ่งกลายเป็นเพลงอมตะคู่บทประพันธ์, มโนราห์ ละครที่มีคำร้องของเพลงเอกงดงามในเชิงวรรณศิลป์อย่างยิ่ง นำแสดงโดย สวลี ผกาพันธ์ และ สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ ฯลฯ
ชื่อละครเรื่องหนึ่งคือ บุษบาริมทาง นำแสดงโดย เพ็ญศรี พุ่มชูศรี เสด็จฯ ได้ทรงประทานชื่อละครเรื่องนี้แก่คณะผู้บริหารโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย ตามที่ได้ทูลขอประทานอนุญาตใช้เป็นชื่อภาษาไทยสำหรับภาพยนตร์เพลงยิ่งใหญ่จากฮอลลีวู๊ดเมื่อ พ.ศ. 2507 อีกเรื่องที่มีชื่อเสียงคือ พันท้ายนรสิงห์ ได้ทรงนำบทละครเวทีของอัศวินที่เคยได้รับความนิยมมาสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของบริษัทอัศวินภาพยนตร์ ถ่ายทำด้วยฟิล์ม 16 มม.สี พากย์สด นำแสดงโดย ชูชัย พระขรรค์ชัย และ สุพรรณ บูรณพิมพ์ กำกับการแสดงโดย ครูมารุต ฉายที่โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง พ.ศ. 2493 (ฉายซ้ำในปี พ.ศ. 2501 และ พ.ศ. 2509) ภายหลังอีกหลายปีได้ขยายภาพและบันทึกเสียงลงฟิล์ม 35 ม.ม.ฉายที่โรงภาพยนตร์พาราเมาท์ ประตูน้ำ (2518)
อัศวินยังคงสร้างภาพยนตร์เรื่องยาว 16 มม. เช่นเดียวกับค่ายหนังไทยทั่วไปในสภาวะเศรษฐกิจหลังสงครามระยะแรก ๆ ขณะนั้น จนถึง นเรศวรมหาราช เป็นเรื่องสุดท้าย ในปี พ.ศ. 2500
เมื่อบรรยากาศบ้านเมืองเข้าสู่สภาพปกติ จึงเดินหน้าพัฒนางานสร้างระดับมาตรฐานสากลอีกครั้ง ใช้ฟิล์มสี 35 มม.ถ่ายทำในระบบจอโค้งใหม่ล่าสุด "ซีเนมาสโคป " ด้วยกล้องและเลนส์รวมทั้งอุปกรณ์บันทึกเสียงระดับสตูดิโอฮอลลีวู๊ดมูลค่ามหาศาล ซึ่งมีเฉพาะที่อัศวินเพียงแห่งเดียวในเมืองไทย ระหว่าง พ.ศ. 2504 - 2519 เริ่มจาก เรือนแพ, จำปูน, เป็ดน้อย, ละครเร่, เรารักกันไม่ได้, น้ำผึ้งขม และ ทะเลฤๅอิ่ม ตามลำดับ (สามเรื่องแรกได้ดาราของชอว์ บราเดอร์ส ร่วมแสดงด้วย) ตามด้วยโครงการสร้างภาพยนตร์อีก 3-4 เรื่องในนามอัศวินอินเตอร์เนชั่นแนล แต่ยกเลิกไป
เรื่องสุดท้าย เงาะป่า ทรงสร้างจากบทพระราชนิพนธ์ร้อยกรองในรัชกาลที่ 5 และทรงกำกับการแสดงร่วมกับเปี๊ยก โปสเตอร์ ในนาม อัศวินภาพยนตร์ - ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น พ.ศ. 2523
ทรงได้รับรางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ประจำปี พ.ศ. 2540 บุคคลยอดเยี่ยมแห่งวงการภาพยนตร์ไทย (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล และ สักกะ จารุจินดา)
ผลงานภาพยนตร์
[แก้]ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2
[แก้]ไทยฟิล์ม
ภาพยนตร์ขาวดำ 35 มม.ไวด์สกรีน เทคนิคอคาเดมิค บันทึกเสียงขณะถ่ายทำ
- ถ่านไฟเก่า (2481) - สร้างปี 2480 ในนามบริษัทภาพยนตร์ไทย จำกัด เรื่องและกำกับการแสดงโดย ภาณุพันธ์ ถ่ายภาพโดย ประสาท สุขุม บันทึกเสียงโดย ชาญ บุนนาค แสดงโดย เกลียวพันธ์ บุนนาค ทองแท้ สดศรีทอง ตัวแสดงประกอบได้แก่ ไพฑูรย์ และ สุ่น ถ่ายทำที่ จ.สงขลา เป็นเรื่องราวความรักของลูกครึ่งจีนไทยชาวใต้ ที่เกิดความวุ่นวายสุดท้ายต้องสลับคู่กันในวันแต่งงาน มี 2 เพลง คือ ในฝัน และ บัวขาว
- แม่สื่อสาว (2481) - อำนวยการแสดงและกำกับการแสดงโดย ภาณุพันธ์ เรื่องโดยตะวัน ลัดดาวัลย์ ถ่ายภาพโดย ประสาท สุขุม บันทึกเสียงโดย ชาญ บุนนาค ลำดับภาพโดย หม่อมราชวงศ์อนุศักดิ์ หัสดินทร์ ช่างศิลปโดย เฉลิม พันธุ์นิล นำแสดงโดย ศักดิ์ วีรศร และ โสภา อุณหกะ ร่วมด้วย สอาด บุนนาค, นิตย์ มหากนก, สายจิตร์ อาจน้อย ฉายเมื่อวันที่ 9 – 15 สิงหาคม พ.ศ. 2481 มีเพลง ลมหวน และ เพลิน
- วันเพ็ญ (2482) - สร้างปี พ.ศ. 2482 เรื่องและกำกับการแสดงโดย ภาณุพันธ์ นำแสดงโดย ปริม บุนนาค และ ประดิษฐ์ อุตตะมัง มีเพลงคือ วันเพ็ญ และ ดอกไม้
- ปิดทองหลังพระ (2482) - ฉายที่ศาลาเฉลิมกรุง อำนวยการสร้าง กำกับการแสดงและประพันธ์เรื่องโดย ภาณุพันธ์ ถ่ายภาพโดย ประสาท สุขุม บันทึกเสียงโดย ชาญ บุนนาค มี 6 เพลง เช่น แรกรัก ,สายสิโหมง และ ฮัชชัชชา ประพันธ์ โดย หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์ นำแสดงโดย ทวี ณ บางช้าง (ทวี มณีสุนทร) และ สุภาพ สง่าเมือง ตัวแสดงประกอบได้แก่ พระยาบำรุงราชบริพาร, ลิขิต สารสนอง, อบ บุญติด, รวมพันธุ์, ศรี กุลศรี, ไพฑูรย์, สุ่น, พนม สุทธาศิริ
- ลูกทุ่ง (2483) - สร้างปี พ.ศ. 2482 ฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2483 ที่ ศาลาเฉลิมกรุง สร้างและกำกับโดยทีมงานเดียวกับเรื่องปิดทองหลังพระ นำแสดงโดย โปร่ง แสงโสภณ และ สมพร เฉลิมศรี พร้อมนักแสดงประกอบได้แก่ ละม่อม พุ่มเสนาะ, เสริม ประสพชัย, อบ บุญติด, โต คุ้มสอน และ พรรณี กาญจนันทุ มี 5 เพลง ได้แก่ เงาไม้ แรกรัก ต้อนกระบือ เกี้ยวสาว และ ไม้งาม
อัศวินภาพยนตร์
ภาพยนตร์สีธรรมชาติ 16 มม.พากย์สด
- พันท้ายนรสิงห์ (2493) - สร้างปี พ.ศ. 2491 ฉายที่ศาลาเฉลิมกรุง นำแสดงโดย สุพรรณ บูรณะพิมพ์ และ ชูชัย พระขรรค์ชัย เพลงเอกชื่อ น้ำตาแสงไต้
- ตุ๊กตาจ๋า (2494) - นำแสดงโดย อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา, สมพงษ์ พงษ์มิตร
- คู่ชีวิต (2496)
- นางกลางเมือง (2497) - เพลงเอกชื่อเดียวกับภาพยนตร์ ร้องโดย วินัย จุลละบุษปะ
- นเรศวรมหาราช (2500) - ภาพยนตร์สงครามอิงประวัติศาสตร์ การกอบกู้เอกราชของไทยจากพม่า ฉายเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2500 ที่ศาลาเฉลิมไทย นำแสดงโดย ชูชัย พระขรรค์ชัย และ รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง (ณ ราชสีมา) ร่วมด้วย สุรชัย ลูกสุรินทร์, ถนอม อัครเศรณี, สถาพร มุกดาประกร, สมถวิล มุกดาประกร, ทัต เอกทัต, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ล้อต๊อก, ดอกดิน กัญญามาลย์, อธึก อรรถจินดา และ ชูศรี โรจน์ประดิษฐ์ ได้รับรางวัลสำเภาทอง งานรางวัลตุ๊กตาทอง "ละคอนรำ" ประจำปี 2500 (กำกับศิลป์ สำหรับภาพยนตร์ 16 มม.)
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
[แก้]ภาพยนตร์สีธรรมชาติ 16 มม. พากย์สด
- ถ่านไฟเก่า (2500) - สร้างครั้งที่ 2 นำแสดงโดย สมบัติ คงจำเนียร และ วิไลวรรณ วัฒนพานิช ฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2500 ที่ศาลาเฉลิมไทย
- สองพี่น้อง (2501) - นำเรื่องเดียวกับลูกทุ่ง (2483) มาสร้างใหม่ ฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2501 ที่เอ็มไพร์ นำแสดงโดย สถาพร มุกดาประกร, เรณู พิบูลย์ภาณุวัฒน (ภมรมนตรี), ปิต กำเนิดพลอย, สมจิตร มุกดาประกร, สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย และ อบ บุญติด
- สุดชีวิต (2503) - นำแสดงโดย สุพรรณ บูรณะพิมพ์, ไชยา สุริยัน, อมรา อัศวนนท์ และ อาคม มกรานนท์ รางวัลพระสุรัสวดี ประจำปี 2503 (ออกแบบและสร้างฉาก)
- 15 นาทีในอินเดีย (16 มม.) - รางวัลพระสุรัสวดี ประจำปี 2503 (ภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม บทภาพยนตร์)
ภาพยนตร์สีอัศวินอีสต์แมน 35 มม. อัศวินซูเปอร์ซีเนสโคป (เสียงพากย์ในฟิล์ม 2504-2523)
- เรือนแพ / Houseboat (2504) - นำแสดงโดย ไชยา สุริยัน, มาเรีย จาง, จินฟง และ ส.อาสนจินดา ฉายครั้งแรกในเปี พ.ศ. 2504 และอีกสองครั้ง ที่ศาลาเฉลิมไทย รางวัลพระสุรัสวดี ประจำปี 2505 (ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ดารานำชาย ดาราประกอบชาย ออกแบบและสร้างฉาก บันทึกเสียง) มีเพลงเก่า คือ บัวขาว วันเพ็ญ เงาไม้ และเพลงใหม่ชื่อเดียวกับภาพยนตร์ ร้องโดย ชรินทร์ นันทนาคร
- จำปูน / Chumpoon (2507) - นำแสดงโดย แมน ธีระพล, จูลี่ ซีเหย่น, ทัต เอกทัต, ทักษิณ แจ่มผล และ มาลี เวชประเสริฐ ฉายที่เฉลิมเขตร์ รางวัลพระสุรัสวดี ประจำปี 2507 (ดาราประกอบหญิง) เพลงเด่นคือ คืนหนึ่ง และ จำปูน
- เป็ดน้อย / The Ducklin' (2511) - นำแสดงโดย สุทิศา พัฒนุช (เรื่องแรก), ไชยา สุริยัน และ จินฟง เรื่องความรักต่างชนชั้นของสาวชนบทกับหนุ่มผู้ดีมีศักดิ์ท่ามกลางความรังเกียจของญาตพี่น้องฝ่ายชาย มีเพลงเก่า คือ ต้อนกระบือ เพลินไพ่ตอง (เพลงดัดแปลงจาก "เพลิน") และเพลงใหม่ เช่น ตะวันรุ่น สามคำจากใจ รักฉันสักนิด และ เป็ด (ทรงเคยทดลองทำเป็นละครโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ขาวดำ นำแสดงโดย ทม วิศวชาติ, บุศรา นฤมิตร และจันตรี สาริกบุตร ก่อนขยายบทสร้างเป็นภาพยนตร์ประกอบเพลงเรื่องนี้)
- ละครเร่ / The Road Show (2512) - นำแสดงโดย มานพ อัศวเทพ (ดารานำเรื่องแรก) , สุทิศา พัฒนุช, ดอกดิน กัญญามาลย์ และ ชรินทร์ นันทนาคร เป็นนักแสดงรับเชิญ ร่วมด้วย กนกวรรณ ด่านอุดม ดาราทีวีช่อง 4 ,จารุวรรณ ปัญโญภาส (เรื่องแรก) และ สายัณห์ จันทรวิบูลย์ (เรื่องแรก) เรื่องการต่อสู้ดิ้นรนของคณะละครรำในสังคมยุคใหม่ มีเพลงเก่า คือ ในฝัน มโนราห์ เพลงใหม่ ได้แก่ ชีวิตละคร ชะนีเรียกผัว/Gibbon Says และ ละครชีวิต (คำร้องของ ดอกดิน) ฉายที่เฉลิมเขตร์ รางวัลชมเชยกำกับศิลป์ งานมหกรรมภาพยนตร์เอเซียแปซิฟิค ครั้งที่ 15 ณ กรุงมนิลา ฟิลิปปินส์ 2512
- เรารักกันไม่ได้ / Love Without Heart (2513) - เรื่องของคอมมิวนิสต์สาวที่ฝ่าฝืนกฎของลัทธิข้อห้ามมีความรักใคร่ผสมแนวผีปีศาจ นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี, สุทิศา พัฒนุช, เมตตา รุ่งรัตน์, วิไลวรรณ วัฒนพานิช, มานพ อัศวเทพ และ สมชาย สามิภักดิ์ เพลงเอกชื่อเดียวกับภาพยนตร์ ฉายที่ศาลาเฉลิมกรุง
- น้ำผึ้งขม/ Bitter Honey (2517) - สร้างจากบทประพันธ์ของ กฤษณา อโศกสิน เรื่องของชายหนุ่มนักธุรกิจมีความแค้นฝังใจกับแฟนสาวที่ทิ้งเขาไป เมื่อหญิงสาวกลับมาขอความช่วยเหลือจากเขา เขาจึงแก้แค้นด้วยการซื้อตัวลูกสาวของเธอ ก่อนที่ความรักจะหลอมละลายให้ความแค้นในใจเขาดับไป [9] นำแสดงโดย นฤมล นิลวรรณ, สอาด เปี่ยมพงษ์สานต์, อมรา อัศวนนท์, ภัทราวดี ศรีไตรรัตน์ และ สุทิศา พัฒนุช
- ทะเลฤๅอิ่ม / Sea of Lust (2519) - บทประพันธ์ของ สุวรรณี สุคนธา เรื่องของสาววัยรุ่นที่หลงเดินทางผิด นำตนเองไปสู่ความมืดมนของชีวิต นำแสดงโดย สรพงศ์ ชาตรี, วิยะดา อุมารินทร์ ฉายที่พาราเมาท์ ประตูน้ำ
- อัศวิน 19 (2519) - บทประพันธ์และกำกับการแสดงโดย ส.อาสนจินดา นำแสดงโดย กรุง ศรีวิไล, อรัญญา นามวงศ์, นิรุตติ์ ศิริจรรยา และ เรวดี ปัตตะพงษ์
- ยมบาลจ๋า (2521) - กำกับการแสดงโดย เนรมิต นำแสดงโดย กรุง ศรีวิไล, อรัญญา นามวงศ์, ไพโรจน์ ใจสิงห์, มานพ อัศวเทพ และ สายัณห์ จันทรวิบูลย์
- คนมีคาว (2521) - สร้างโดย ปริม บุนนาค กำกับการแสดงโดย พันคำ นำแสดงโดย สรพงศ์ ชาตรี, นัยนา ชีวานันท์, เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ และ คธา อภัยวงศ์
- วันเพ็ญ (2521) - สร้างใหม่ กำกับการแสดงโดย หม่อมเจ้าฐิติพันธุ์ ยุคล (พระโอรสของพระองค์เจ้าภาณุพันธุ์) นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี, นิภาพร นงนุช, มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช, สุทิศา พัฒนุช, จักรกฤษณ์ พันธุ์ชัย และ วาสนา รัตนงาม เพลงเอกของเก่า ร้องใหม่ โดย สมบัติ เมทะนี
- เงาะป่า (2523) - เรื่องสุดท้ายที่ทรงสร้างร่วมกับไฟว์สตาร์โปรดักชั่น ดัดแปลงจากบทพระราชนิพนธ์ เรื่องเงาะป่าของ รัชกาลที่ 5 นำแสดงโดย จตุพล ภูอภิรมย์ และ ศศิธร ปิยะกาญจน์ ได้รับรางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ประจำปี 2523 (ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม กำกับการแสดง ดารานำชาย บทภาพยนตร์ ประพันธ์เพลง เพลงและดนตรีประกอบ บันทึกเสียง) และรางวัลพระสุรัสวดี ประจำปี 2524 (ผู้แสดงประกอบชาย ดนตรีประกอบ) ฉายที่พาราเมาท์
การจัดจำหน่ายของอัศวินภาพยนตร์
- โทน (2513) - สร้างโดย สุวรรณฟิล์ม นำแสดงโดย ไชยา สุริยัน, อรัญญา นามวงศ์
- เพชรพระอุมา (2514) - สร้างโดย วิทยาภาพยนตร์ นำแสดงโดย วิทยา เวสสวัฒน์, สุทิศา พัฒนุช
- สะใภ้หัวนอก (2514) - สร้างโดย ปราจีนภาพยนตร์ นำแสดงโดย ไชยา สุริยัน, พิศมัย วิไลศักดิ์
- ดวง (2514) - สร้างโดย เปี๊ยก โปสเตอร์ นำแสดงโดย ไพโรจน์ ใจสิงห์, วนิดา อมาตยกุล
- วิวาห์ลูกทุ่ง (2515) - สร้างโดย รามาภาพยนตร์ นำแสดงโดย ไชยา สุริยัน, เพชรา เชาวราษฎร์
- ชู้ (2515) - สร้างโดย เปี๊ยก โปสเตอร์ นำแสดงโดย กรุง ศรีวิไล, มานพ อัศวเทพ, วันดี ศรีตรัง
- ธนูสวาท (2516) - สร้างโดย อาทิตย์ฟิล์ม นำแสดงโดย ไชยา สุริยัน, ชีวัน จันทรายุ, ทาริกา ธิดาทิตย์
- 2 ชาติสมิง (2516) - สร้างโดย ก้าวหน้าภาพยนตร์ นำแสดงโดย กรุง ศรีวิไล, ไพโรจน์ ใจสิงห์, ภาวนา ชนะจิต
- อำนาจเงิน (2516) - สร้างโดย ศรีไพรภาพยนตร์ นำแสดงโดย ยอดชาย เมฆสุวรรณ, บุปผา สายชล
- ซำเหมา (2516) - สร้างโดย บางกอกสโคป นำแสดงโดย ยอดชาย เมฆสุวรรณ, พิศมัย วิไลศักดิ์
- ทุ่งใหญ่อินทนนท์ (2517) - สร้างโดย อุทัยภาพยนตร์ นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี, อรัญญา นามวงศ์
- รอยมลทิน (2517) - สร้างโดย กรุงสยามภาพยนตร์ นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี, รุ้งลาวัลย์ ศรีปฎิมากูร
- คุณครูที่รัก (2517) - สร้างโดย ประสพสุขภาพยนตร์ นำแสดงโดย นาท ภูวนัย, อรัญญา นามวงศ์
- หนุมานพบเห้งเจีย (2518) - สร้างโดย สตาร์ฟิล์ม บางกอก นำแสดงโดย อุเทน บุญยงค์, ไพโรจน์ ใจสิงห์, ปริศนา โลหะนันท์
- กบฎหัวใจ (2519) - สร้างโดย อุทัยภาพยนตร์ นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี, อรัญญา นามวงศ์
- เพชรมหาภัย (2519) - สร้างโดย ดิษยภาพยนตร์ นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี, อรัญญา นามวงศ์
พระเกียรติยศ
[แก้]ศาสตราจารย์ พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[6] ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2488 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)[10]
- พ.ศ. 2500 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[11]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[13]
- พ.ศ. 2456 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)[14]
- พ.ศ. 2473 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 2 (ป.ป.ร.2)[15]
- พ.ศ. 2489 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 2 (อ.ป.ร.2)[16]
- พ.ศ. 2496 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)[17]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญราชรุจิเงิน รัชกาลที่ 6 (ร.จ.ง.6)
- พ.ศ. 2503 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[18]
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
- พ.ศ. 2494 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2509 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 1[19]
- สวีเดน :
- พ.ศ. 2509 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซราฟีม[19]
- อาร์เจนตินา :
- พ.ศ. 2509 - เครื่องอิสริยาภรณ์นายพลซาน มาร์ติน ผู้ปลดปล่อย ชั้นประถมาภรณ์[19]
- เนปาล :
พระยศ
[แก้]พระยศทางทหาร
[แก้]- 14 มีนาคม พ.ศ. 2475: นายร้อยตรี ในกองพันที่ 1 รักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรมทหารม้าที่ 1[22]
- 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506: พันเอก (พิเศษ) นายทหารพิเศษ สังกัด กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ และราชองครักษ์พิเศษ[23]
พงศาวลี
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระราชทานยศทหาร
- ↑ สมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา ในพระบรมราชูปถัมภ์
- ↑ "การทรวงผนวชและบวชนาคหลวง กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๗๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 47 (ง): 1382–1386. 13 กรกฎาคม 2473. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปในการพระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ พลตรี พระเจ้าวรงวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ณ พระที่นั่งทรงธรรม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม". kudo shin-ichi สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3. 10 มีนาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ข่าวในพระราชสำนัก ช่อง 3 ประจำวันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2539". Mr_Thapanin TH สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3. 24 พฤษภาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 6.0 6.1 "ข่าวในพระราชสำนัก [9-13 พฤษภาคม 2539" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (40 ง): 201. 16 พฤษภาคม 2539. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ประกาศกระทรวงวัฒนธรรม เรื่อง การยกย่องเชิดชูเกียรติบูรพศิลปิน พุทธศักราช 2559 http://www.culture.go.th/cul_fund/download/bygone/bygone59.pdf เก็บถาวร 2020-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
- ↑ Bitter Honey (2517)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2009-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๗๐ ง หน้า ๑๙๐๐, ๑๑ ธันวาคม ๒๔๘๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๔๗ ง หน้า ๑๒๑๙, ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๗๗, ๔ มกราคม ๒๔๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๘๑, ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๑๗ ง หน้า ๔๒๖, ๒๖ มีนาคม ๒๔๘๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๑๗ ง หน้า ๑๐๑๑, ๑๐ มีนาคม ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๙๓๗, ๒๒ มีนาคม ๒๕๐๓
- ↑ 19.0 19.1 19.2 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 83 ตอนที่ 87 ฉบับพิเศษ หน้า 16, 1 ตุลาคม 2509
- ↑ Badraie เก็บถาวร มีนาคม 5, 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Semakan Penerima Darjah Kebesaran, Bintang dan Pingat Persekutuan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-19. สืบค้นเมื่อ 2017-06-10.
- ↑ พระราชทานยศทหารบก
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Untitled Documentเก็บถาวร 2012-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร, ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ วังหลวง, 2545
- HRH Prince Bhanubandhu YUGALAเก็บถาวร 2007-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) | ผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 2 (พ.ศ. 2492 – พ.ศ. 2494) |
พลเอก หลวงรณสิทธิพิชัย (เจือ กาญจนิทุ) |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2453
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2538
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ
- พระองค์เจ้าชาย
- ราชสกุลยุคล
- นาคหลวง
- ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย
- นักแต่งเพลงลูกกรุง
- นักการธนาคารชาวไทย
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ อ.ป.ร.2
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ป.ป.ร.2
- บุคคลจากโรงเรียนเทพศิรินทร์
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- บุคคลในยุครัชกาลที่ 9