ข้ามไปเนื้อหา

วันดี ศรีตรัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วันดี ศรีตรัง
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493
วัยดี บริมาตร์[1]
อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
เสียชีวิต31 สิงหาคม พ.ศ. 2518 (25 ปี)
อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี
คู่สมรสสิน สินไชย (หย่า)
สมชาย พงษ์สว่าง
บุตร1 คน
อาชีพนักแสดง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2511 - 2518
ฐานข้อมูล
IMDb

สาธนา พงษ์สว่าง[2] มีชื่อแต่แรกเกิดว่า วัยดี บริมาตร์ และเป็นที่รู้จักในชื่อ วันดี ศรีตรัง (23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 — 31 สิงหาคม พ.ศ. 2518) เป็นนักแสดงชาวไทย ซึ่งมีชื่อเสียงจากผลงานภาพยนตร์เรื่อง ชู้ ในปี พ.ศ. 2515

ประวัติ

[แก้]

วันดี ศรีตรัง เกิดเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 ที่อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง บิดาของเธอเป็นช่างก่อสร้าง ชื่อ เปรียม บริมาตร์ กับมารดาชื่อ กิมเจ็ง พิพัฒนกุล ภายหลังบิดามารดาได้หย่าร้างกัน เธอและวิชัย บริมาตร์ พี่ชายจึงอยู่ในการดูแลของย่าที่ย่านตาขาว[1] ส่วนมารดาแยกไปพำนักอยู่ในทับเที่ยง

เธอมีหน้าตาคมขำนัยน์ตาโต แต่มีเชื้อสายจีนจากมารดา[3] และเธออาจมีเชื้อสายแขกจากบิดา เนื่องจากสกุลบริมาตร์ของเธอมีทั้งชาวพุทธและมุสลิม[3]

เธอเคยชนะเลิศประกวดเทพีศรีตรัง และนางงามเทศบาลประจำปี 2510[1]

เข้าสู่วงการ

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2511 เธอได้ขอเปี๊ยก โปสเตอร์ เพื่อมาแสดงภาพยนตร์ แต่ถูกปฏิเสธไปในช่วงแรกเนื่องจากเปี๊ยกต้องการนักแสดงสาวชาวบ้าน แต่ครั้งนั้นเธอแต่งตัวอย่างเพชรา เชาวราษฎร์ และภายหลังเธอก็กลับมาหาเปี๊ยกอีกครั้งโดยไม่แต่งหน้า ครั้งนี้เธอจึงได้แสดงหนังเรื่อง ชู้ ซึ่งประกบคู่กับ กรุง ศรีวิไล และมานพ อัศวเทพ[1]

หลังจากงานแสดงภาพยนตร์ดังกล่าวก็มีชื่อเสียงมากขึ้น และมีผลงานภาพยนตร์ 14 เรื่องในช่วง 3 ปีของการแสดง และรับบทเป็นนางเอกทั้งหมดแต่เป็นนางเอกสาวกร้านโลก[1] และได้ร่วมแสดงกับดาราชายที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น กรุง ศรีวิไล, สรพงศ์ ชาตรี, ไพโรจน์ ใจสิงห์, สมบัติ เมทะนี, ยอดชาย เมฆสุวรรณ และนาท ภูวนัย[1]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

เธอเป็นนักแสดงที่กล้าเปิดเผยว่าเธอเคยผ่านการสมรสมาแล้ว ก่อนเข้าวงการ เธอได้สมรสกับสิน สินไชย พ่อค้าขายหมูในตลาดของจังหวัดตรัง[1]

ต่อมาช่วงปี พ.ศ. 2517 เธอมีความสัมพันธ์กับสมชาย พงษ์สว่าง (หย็อง ไบคาน) ชาวไทยเชื้อสายปากีสถาน ที่ต่อมาได้ถูกสมชายลักพาตัวเธอไปแต่งงานที่ประเทศปากีสถาน ก่อนกลับมาประเทศไทย เธอถูกคุมตัวอยู่ในไร่ของสมชายมาโดยตลอด[4] ทั้งสองมีบุตรด้วยกันหนึ่งคน เป็นหญิงชื่อ โซเบดา พงษ์สว่าง[2] ขณะที่บุตรดังกล่าวมีอายุได้เพียงห้าเดือน วันดีก็เสียชีวิตอย่างเป็นปริศนาเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2518 สภาพศพไม่มีบาดแผลใด พบเพียงเสื้อผ้าที่สวมใส่หลุดลุ่ย ซึ่งสมชายผู้สามีได้อ้างว่าวันดีเสียชีวิตเพราะกินยาเกินขนาด[4] และศพถูกฝังในมัสยิดมะฮ์บาคูล่านารี[3]

ส่วนนายสมชาย พงษ์สว่าง ก็มิได้สมรสใหม่กับใคร ภายหลังเขาถูกลอบยิงเสียชีวิต[5]

ผลงานการแสดงภาพยนตร์

[แก้]
  • ชู้ (2515)
  • ยอดสงสาร (2516)
  • สวรรค์เวียงพิงค์ (2516)
  • เจ้าชายห่อหมก (2516)
  • น้ำเซาะทราย (2516)
  • เหลือแต่รัก (2516)
  • รัญจวนจิต (2516)
  • คนกินเมีย (2517)
  • น้ำตานาง (2517)
  • สาวสิบเจ็ด (2517)
  • มาลัยเสี่ยงรัก (2517)
  • ชายผ้าเหลือง (2517)
  • กรุงเทพพิศวาส (2517)
  • ปล้นครั้งสุดท้าย (2518)
  • ตัณหา (2518)
  • ฟ้ามิอาจกั้น (2519)

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 "สยามดารา - รำลึกถึงวันดี ศรีตรัง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-27. สืบค้นเมื่อ 2012-05-14.
  2. 2.0 2.1 "ลูก วันดี ศรีตรัง เข้าร้องเรียนอธิบดีดีเอสไอ อ้างถูกป้าข่มขู่และทำสูติบัตรเท็จขอเป็นผู้จัดการมรดก". สำนักข่าวแห่งชาติ. 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  3. 3.0 3.1 3.2 "ตำนานเจ้าพ่อไบคานลำนารายณ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-06. สืบค้นเมื่อ 2012-05-14.
  4. 4.0 4.1 "ไบคานเปิดศึกมรดกพันล้าน" (PDF). สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  5. "ลูกสาว "ไบคาน" ร้อง "ดีเอสไอ" ป้าข่มขู่ฆ่าแย่งมรดกพันล้าน". บ้านเมือง. 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)[ลิงก์เสีย]