ข้ามไปเนื้อหา

งานฉลอง 2,500 ปีแห่งจักรวรรดิเปอร์เซีย

พิกัด: 29°56′04″N 52°53′29″E / 29.93444°N 52.89139°E / 29.93444; 52.89139
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
งานฉลอง 2,500 ปีสถาปนาจักรวรรดิเปอร์เซีย
ตราสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการ ตรงกลางเป็นภาพกระบอกจารึกพระบรมราชโองการของพระเจ้าไซรัส
เปอร์เซเปอลิสตั้งอยู่ในประเทศอิหร่าน
เปอร์เซเปอลิส
เปอร์เซเปอลิส
แผนที่เปอร์เซเปอลิส อดีตราชธานีของจักรวรรดิอะคีเมนิด สถานที่จัดงาน
ชื่อพื้นเมือง دوهزار و پانصدمین سال بنیانگذاری شاهنشاهی ایران
วันที่12–16 ตุลาคม ค.ศ. 1971 (1971-10-12 – 1971-10-16); 53 years ago
ที่ตั้ง อิหร่าน
พิกัด29°56′04″N 52°53′29″E / 29.93444°N 52.89139°E / 29.93444; 52.89139
ชื่ออื่นงานฉลอง 2,500 ปีแห่งจักรวรรดิเปอร์เซีย

งานเฉลิมฉลองครบรอบ 2,500 ปี แห่งการสถาปนาจักรวรรดิเปอร์เซีย (เปอร์เซีย: جشن‌های دوهزار و پانصدمین سال بنیانگذاری شاهنشاهی ایران; อังกฤษ: The Celebration of the 2,500th Anniversary of the Founding of the Persian Empire)[1] เป็นงานระดับชาติใน อิหร่าน ที่ประกอบด้วยการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ในช่วงเดือนตุลาคม ค.ศ. 1971 เพื่อเฉลิมฉลองการสถาปนาจักรวรรดิอะคีเมนิดโบราณโดยพระเจ้าไซรัสมหาราช[2][3] จุดประสงค์ของการเฉลิมฉลองคือการเผยแพร่อารยธรรมและประวัติศาสตร์โบราณของอิหร่าน ตลอดจนเพื่อแสดงความก้าวหน้าร่วมสมัยภายใต้การนำของชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี[4] อีกทั้งยังเน้นย้ำถึงต้นกำเนิดของประเทศก่อนอิสลาม ในขณะเดียวกันก็ยกย่องไซรัสมหาราชในฐานะวีรบุรุษของชาติอีกด้วย[5] แม้ว่างานฉลองนี้ตามจริงครบรอบ 2,521 ปีตามปีสถาปนาจักรวรรดิอะคีเมนิด เนื่องจากจักรวรรดินี้สถาปนาเมื่อ 550 ปีก่อน ค.ศ.

ในเวลาต่อมานักประวัติศาสตร์บางส่วน วิจารณ์ว่าการเฉลิมฉลองครั้งใหญ่นี้มีส่วนทำให้เกิดการปฏิวัติอิหร่านในอีกแปดปีต่อมา แม้จะมีการแย้งว่าผู้ก่อการปฏิวัตินั้นอ้างเรื่องความฟุ่มเฟือยของการจัดงานดังกล่าวเกินความจริง เพื่อหวังทำลายความน่าเชื่อถือของระบอบการปกครองของชาห์ก็ตาม[6] เนื่องด้วยเหตุนี้ ทำให้มีหลายรายงานกล่าวถึงต้นทุนและความหรูหราเกินจริง

การวางแผน

[แก้]
สุสานหลวงไซรัส ที่ปาซาร์กาด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเฉลิมฉลอง
ขบวนพาเหรดของทหารในเมืองเปอร์เซเปอลิสระหว่างการเฉลิมฉลอง
กองทัพเปอร์เซียอมตะ ระหว่างขบวนพาเหรด
ตราสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการ

การวางแผนสำหรับงานนี้ใช้เวลาหนึ่งปี ตราสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการเป็นภาพกระบอกพระบรมราชโองการแห่งพระเจ้าไซรัสมหาราช งานฉลองหลักจัดที่เมืองโบราณเปอร์เซเปอลิส ใกล้กับชีรอซ โครงสร้างพื้นฐานในท้องถิ่นได้รับการปรับปรุงเพื่องานนี้ รวมถึงท่าอากาศยานและทางหลวง แม้ว่าสื่อมวลชนและเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนจะประจำอยู่ที่ชีรอซ แต่งานเฉลิมฉลองหลักก็ได้รับการวางแผนไว้สำหรับเปอร์เซเปอลิส ซึ่งมีการวางแผนนครกระโจมอันประณีตเพื่อรองรับผู้เข้าร่วมงาน พื้นที่รอบ ๆ เปอร์เซเปอลิสปราศจากงูและสัตว์รบกวนอื่น ๆ[7] มีการประดับด้วยต้นไม้และดอกไม้ อีกทั้งนำเข้านกร้องเพลง 50,000 ตัวจากยุโรป[4] งานเฉลิมฉลองยังจัดขึ้นที่เมืองปาซาร์กาดและเตหะรานอีกด้วย

นครกระโจมแห่งเปอร์เซเปอลิส

[แก้]
นครกระโจมแห่งเปอร์เซเปอลิส
กระโจมในเพอร์เซโปลิส

นครกระโจม (หรือสุวรรณธานี) ออกแบบโดยบริษัทออกแบบตกแต่งภายในของปารีส Maison Jansen บนพื้นที่ 160 เอเคอร์ (0.65 ตารางกิโลเมตร) โดยได้แรงบันดาลใจจากพบปะระหว่างพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ และพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส ที่ทุ่งภูษาทอง[7] นครดังกล่าวประกอบด้วย 'กระโจม' ห้าสิบหลัง ซึ่งตกแต่งในลักษณะอพาร์ทเมนต์หรูหราสำเร็จรูปประดับด้วยผ้าเปอร์เซียแบบดั้งเดิม จัดเรียงเป็นรูปดาวล้อมรอบน้ำพุตรงกลาง มีการปลูกต้นไม้จำนวนมากในทะเลทราย เพื่อฟื้นเมืองโบราณขึ้นมาใหม่ กระโจมแต่ละหลังมีการเชื่อมต่อโทรศัพท์สายตรงและเทเล็กซ์สำหรับผู้เข้าร่วมไปยังประเทศของตน การเฉลิมฉลองทั้งหมดมีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ไปทั่วโลกโดยการเชื่อมต่อผ่านดาวเทียมจากสถานที่จัดงาน

'กระโจมแห่งเกียรติยศ' ขนาดใหญ่ได้รับการออกแบบเพื่อรองรับแขกผู้มีเกียรติ 'ห้องจัดเลี้ยง' เป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ที่สุด บริเวณกระโจมล้อมรอบด้วยสวนต้นไม้และพืชอื่น ๆ จากฝรั่งเศส และอยู่ติดกับซากปรักหักพังของเพอร์เซโปลิส บริการจัดเลี้ยงโดย Maxim's de Paris ซึ่งปิดร้านอาหารในปารีสเป็นเวลาเกือบสองสัปดาห์เพื่องานเฉลิมฉลองนี้ Max Blouet เจ้าของโรงแรมระดับตำนานลาออกจากตำแหน่งมาดูแลงานเลี้ยงนี้ Lanvin ออกแบบเครื่องแบบของราชวงศ์ รถลีมูซีนเมอร์เซเดส-เบนซ์ 600 สีแดงจำนวน 250 คัน ถูกนำมาใช้เพื่อรับและส่งแขกจากสนามบิน อีกทั้งยังมี Limoges เป็นผู้ดูแลภาชนะเครื่องลายครามและผ้าลินินบนโต๊ะอาหาร

งานเฉลิมฉลอง

[แก้]
การเฉลิมฉลอง 2,500 ปีของจักรวรรดิเปอร์เซีย
การเฉลิมฉลอง 2,500 ปีของจักรวรรดิเปอร์เซีย
การเฉลิมฉลอง 2,500 ปีของจักรวรรดิเปอร์เซีย

งานเฉลิมฉลองเริ่มขึ้นในวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1971 เมื่อชาห์และชาห์บานู เสด็จพระราชดำเนินไปยังสุสานหลวงปาซาร์กาดเพื่อทรงสักการะพระเจ้าไซรัสมหาราช อีกสองวันต่อมาชาห์และมเหสีทรงต้อนรับแขกที่มาถึง ซึ่งส่วนใหญ่จะเสด็จและเดินทางโดยตรงจากสนามบินชีราซ งานกาลาดินเนอร์ใหญ่จัดในคืนวันที่ 14 ตุลาคม เพื่อฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพของชาห์บานู สมาชิกราชวงศ์และประมุขแห่งรัฐรวมตัวกันที่โต๊ะขนาดใหญ่ในห้องจัดเลี้ยง เพื่อเสวยและรับประทานอาหารค่ำแบบพิเศษ ซึ่งจานในงานเลี้ยงดังกล่าวจำนวน 10,000 ใบ ผลิตโดยบริษัท Spode ผู้ผลิตเครื่องเคลือบสัญชาติอังกฤษ โดยแต่ละจานตกแต่งด้วยสีเทอร์ควอยซ์และสีทอง พร้อมด้วยตราแผ่นดินของชาห์ อีกทั้งยังมีไวน์ Dom Perignon Rosé 1959 เพื่อการดื่มฉลอง

อาหารและไวน์สำหรับการเฉลิมฉลองจัดทำโดยร้านอาหารปารีส Maxim's[8] แขก 600 คน/พระองค์ รับประทานอาหารร่วมกันนานกว่าห้าชั่วโมงครึ่ง ถือเป็นงานเลี้ยงอย่างเป็นทางการที่ยาวนานที่สุดและหรูหราที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ดังที่จารึกไว้ในบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ ในงานดังกล่าวมีการแสดง Son et lumière Polytope of Persepolis ออกแบบโดย Iannis Xenakis และคอนเสิร์ตดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ Persepolis ที่ประพันธ์สำหรับงานนี้โดยเฉพาะ[9] เป็นการปิดท้าย วันรุ่งขึ้นมีขบวนพาเหรดทหารชุดใหญ่ของกองทัพของจักรวรรดิอิหร่านในยุคต่าง ๆ โดยทหารอิหร่าน 1,724 คน แต่งกายด้วยชุดย้อนยุค ตามมาด้วยตัวแทนของกองทัพจักรวรรดิพร้อมวงโยธวาทิตขนาดใหญ่ ควบคุมโดยนักดนตรีทหารและบรรเลงดนตรีสำหรับขบวนพาเหรด แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ วงดนตรีสมัยใหม่ที่เล่นเครื่องดนตรีตะวันตก และวงดนตรีแบบดั้งเดิมที่สวมเครื่องแบบของนักดนตรีจากยุคต่าง ๆ ของอิหร่าน ในตอนเย็นมีการจัด "งานเลี้ยงเปอร์เซียแบบดั้งเดิม" ที่เป็นทางการน้อยกว่าวันก่อนหน้าในห้องจัดเลี้ยงเดิม ซึ่งเป็นการปิดท้ายงานที่เมืองเปอร์เซเปอลิส[10]

พิธีเปิดหอคอยแชฮ์ยอด

ในวันสุดท้าย พระเจ้าชาห์ทรงเปิดหอคอยแชฮ์ยอด (หลังการปฏิวัติอิหร่านได้เปลี่ยนชื่อเป็นหอคอยออซอดี) ณ กรุงเตหะราน เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าว หอคอยแห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เปอร์เซียอีกด้วย ในนั้นมีการจัดแสดงกระบอกไซรัส ซึ่งพระเจ้าชาห์ทรงประกาศว่าเป็น "กฎบัตรสิทธิมนุษยชน ฉบับแรกในประวัติศาสตร์"[11][12] กระบอกนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ของการเฉลิมฉลองอย่างเป็นทางการอีกด้วย และการกล่าวสุนทรพจน์ครั้งแรกของพระเจ้าชาห์ ณ สุสานหลวงไซรัสเป็นการยกย่องอิสรภาพตามที่ได้ประกาศไว้เมื่อสองพันปีก่อน ในวันสุดท้ายของพิธี พระเจ้าชาห์ทรงสักการะ เรซา ชาห์ ปาห์ลาวี พระบิดาของพระองค์ ณ สุสานทางใต้ของเตหะราน[10]

ประมุขของสองในสามสถาบันกษัตริย์ที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่ในขณะนั้น เสด็จพระราชดำเนินร่วมงานนี้ นั่นคือ ชาห์ และจักรพรรดิฮัยเลอ ซึลลาเซที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย ส่วนจักรพรรดิฮิโรฮิโตะแห่งญี่ปุ่น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าชายมิกาซะ พระอนุชา เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ เมื่อถึงปลายทศวรรษ 1970 ทั้งระบอบกษัตริย์ของเอธิโอเปียและอิหร่านถูกล้มล้าง

ความปลอดภัย

[แก้]

ความปลอดภัยเป็นข้อกังวลหลัก เปอร์เซเปอลิสเป็นสถานที่ได้รับเลือกในการเฉลิมฉลอง เนื่องจากอยู่ห่างจากเมืองหลวง จึงมีการคุ้มกันอย่างแน่นหนา ซึ่งเป็นข้อพิจารณาที่สำคัญมากเมื่อผู้นำของโลกมารวมตัวกันที่นั่น ซอวอก หน่วยรักษาความปลอดภัยของอิหร่าน สามารถจับกุมและควบคุมตัวใครก็ตามที่สงสัยว่าอาจเป็นภัยคุกคามได้

ข้อวิจารณ์

[แก้]

กระทรวงวังอิหร่านตั้งงบประมาณการจัดงานไว้ที่ 17 ล้านดอลลาร์สหรัฐ Ansari หนึ่งในผู้จัดงาน ตั้งไว้ที่ 22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (มูลค่าในเวลานั้น)[7] ตัวเลขจริงนั้นยากต่อการคำนวณให้แม่นยำและอาจมีความไม่ชัดเจน

สารคดีของ BBC เรื่อง Decadence and Downfall กล่าวว่าการเฉลิมฉลองใช้เงินประมาณ 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม คำกล่าวอ้างนี้ได้รับการอธิบายว่าไม่มีพื้นฐานที่แท้จริง ตัวอย่างเช่น สารคดีอ้างว่าชาห์นำเข้านกประมาณ 50,000 ตัวที่ตายภายในไม่กี่วันเนื่องจากสภาพอากาศในทะเลทราย ในขณะที่นักประวัติศาสตร์ โรเบิร์ต สตีล อธิบายว่าคำกล่าวอ้างนี้เป็นไปไม่ได้ และเมื่อพิจารณาจากสภาพอากาศในเดือนตุลาคมในเปอร์เซเปอลิส นกเหล่านี้อาจคุ้นเคยกับสภาพอากาศในท้องถิ่น[13] งานดังกล่าวมีการประมาณการค่าใช้จ่ายที่เกินข้อเท็จจริงไปมากในรายงานของนักข่าวและนักประวัติศาสตร์จำนวนหนึ่ง โดยอ้างว่ารัฐบาลต้องการใช้จ่ายทุกอย่างที่จำเป็นโดยไม่สนมูลค่า อย่างไรก็ตาม พระเจ้าชาห์ทรงอนุมัติแผนการเฉลิมฉลองที่มีงบประมาณเหลือเพียงหนึ่งในสี่ของแผนเดิมเพื่อลดต้นทุน[14]

รายชื่อแขก

[แก้]
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ประทับข้างกับเจ้าชายเรซา ปาห์ลาวี มกุฎราชกุมารแห่งอิหร่าน
ชุดที่ระลึกเหรียญทองและเงิน 9 เหรียญ สร้างในแคนาดา
เหรียญเงินที่ระลึกจากชุดสร้างเสร็จเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง
ด้านหน้าเหรียญที่ระลึกครบรอบ 2,500 ปี จักรวรรดิเปอร์เซีย
ด้านหลังเหรียญที่ระลึกครบรอบ 2500 ปี จักรวรรดิเปอร์เซีย

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงร่วมพิธีดังกล่าว

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงได้รับคำแนะนำไม่ให้เข้าร่วมงาน เนื่องจากการรักษาความปลอดภัยเป็นปัญหา[7] จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ดยุคแห่งเอดินบะระ และเจ้าหญิงแอนน์ เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์[15] ผู้นำสำคัญคนอื่นที่ไม่ได้เข้าร่วม ได้แก่ ริชาร์ด นิกสัน และฌอร์ฌ ปงปีดู ในตอนแรกนิกสันวางแผนที่จะเข้าร่วม แต่ต่อมาเปลี่ยนใจและส่งสปิโร แอกนิวแทน[7]

ต่อไปนี้เป็นรายพระนามและชื่อแขกบางส่วนที่ได้รับเชิญเข้าร่วมงาน

สมาชิกราชวงศ์และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

[แก้]
ตำแหน่ง พระนาม ประเทศ
จักรพรรดิ ฮัยเลอ ซึลลาเซ[15]  เอธิโอเปีย
เจ้าหญิง Princess Sara Gizaw of Ethiopia[15]  เอธิโอเปีย
สมเด็จพระราชาธิบดี เฟรเดอริกที่ 9  เดนมาร์ก
สมเด็จพระราชินี อิงกริด
สมเด็จพระราชาธิบดี โบดวง  เบลเยียม
สมเด็จพระราชินี ฟาบิโอลา
สมเด็จพระราชาธิบดี ฮุสเซน  จอร์แดน
เจ้าหญิงพระชายา มูนา
สมเด็จพระราชาธิบดี มเหนทระ  เนปาล
สมเด็จพระราชินี รัตนา
สมเด็จพระราชาธิบดี โอลาฟที่ 5  นอร์เวย์
เอมีร์ เชคอีซา บิน ซัลมาน อัลเคาะลีฟฮ์  บาห์เรน
เอมีร์ Sheikh Ahmad bin Ali Al Thani  กาตาร์
เอมีร์ Sheikh Sabah III Al-Salim Al-Sabah  คูเวต
สมเด็จพระราชาธิบดี กอนสตันดีโนสที่ 2  กรีซ
สมเด็จพระราชินี อันเนอ-มารี
สุลต่าน กอบูส บิน ซะอีด อัสซะอีด  โอมาน
Musahiban Abdul Wali Khan  อัฟกานิสถาน
เจ้าหญิง บิลควิส เบกุม
สมเด็จพระราชาธิบดี โมฮัมเหม็ด ซาเฮียร์ ชาห์
สมเด็จพระราชาธิบดี โมโชโชที่ 2  เลโซโท
ยังดีเปอร์ตวนอากง ตวนกู อับดุล ฮาลิม  มาเลเซีย
ราจาเปอร์ไมซูรีอากง Bahiyah
เชค Zayed bin Sultan Al Nahyan Abu Dhabi Abu Dhabi
เจ้าผู้ครองรัฐ ฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 2  ลีชเทินชไตน์
เจ้าหญิงพระชายา เกออร์กีนา
เจ้าผู้ครองรัฐ แรนีเยที่ 3  โมนาโก
เจ้าหญิงพระชายา เกรซ
แกรนด์ดยุก ฌ็อง  ลักเซมเบิร์ก
แกรนด์ดัชเชส โฌเซฟีน-ชาร์ล็อต
เจ้าชายพระราชสวามี แบร์นฮาร์ท  เนเธอร์แลนด์
เจ้าชายพระราชสวามี ฟิลิป  สหราชอาณาจักรและ
เครือจักรภพ
เจ้าหญิง แอนน์
เจ้าชาย อากา ข่านที่ 4

inline Nizari Imamate

เจ้าหญิง Begum Om Habibeh Aga Khan
มกุฎราชกุมาร คาร์ล กุสตาฟ  สวีเดน
เจ้าชาย ฆวน การ์โลส  สเปน
เจ้าหญิง โซเฟีย
เจ้าชาย วิตตอริโอ เอ็มมานูเอล  อิตาลี
เจ้าหญิง มารีนา
เจ้าชาย ทากาฮิโตะ  ญี่ปุ่น
เจ้าหญิง ยูริโกะ
พระองค์เจ้า ภาณุพันธุ์ยุคล  ไทย
เจ้าชาย มูลัย อับดัลลาห์  โมร็อกโก
เจ้าหญิง Lamia
ผู้สำเร็จราชการ Roland Michener  แคนาดา
ผู้สำเร็จราชการ Sir Paul Hasluck  ออสเตรเลีย

ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และอื่นๆ

[แก้]
Title Guest Country
ประธานาธิบดี ยอซีป บรอซ ตีโต  ยูโกสลาเวีย
สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง Jovanka Broz
ประธานคณะผู้บริหารสูงสุด นีโคไล ปอดกอร์นืย  สหภาพโซเวียต
ประธานาธิบดี ฟรันทซ์ โยนัส  ออสเตรีย
ประธานาธิบดี ตอดอร์ ซีฟกอฟ  บัลแกเรีย
ประธานาธิบดี Emílio Garrastazu Médici  บราซิล
ประธานาธิบดี Urho Kekkonen  ฟินแลนด์
ประธานาธิบดี Cevdet Sunay  ตุรกี
ประธานาธิบดี Pál Losonczi  ฮังการี
ประธานาธิบดี ซูฮาร์โต  อินโดนีเซีย
ประธานาธิบดี Ludvík Svoboda  เชโกสโลวาเกีย
ประธานาธิบดี ยาห์ยา ข่าน  ปากีสถาน
ประธานาธิบดี Suleiman Frangieh  เลบานอน
ประธานาธิบดี Jacobus Johannes Fouché  แอฟริกาใต้
ประธานาธิบดี เลออปอล เซดาร์ ซ็องกอร์  เซเนกัล
ประธานาธิบดี V. V. Giri  อินเดีย
ประธานาธิบดี Moktar Ould Daddah  มอริเตเนีย
ประธานาธิบดี Hubert Maga  ดาโฮมีย์
ประธานสภาแห่งรัฐโรมาเนีย นีกอลาเอ ชาวูเชสกู  สาธารณรัฐสังคมนิยมโรมาเนีย[15]
สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง Elena Ceaușescu
ประธานาธิบดี โมบูตู เซเซ เซโก  ซาอีร์
ประธานาธิบดี Rudolf Gnägi  สวิตเซอร์แลนด์
นายกรัฐมนตรี Jacques Chaban-Delmas  ฝรั่งเศส
นายกรัฐมนตรี Kim Jong-pil  เกาหลีใต้
นายกรัฐมนตรี Emilio Colombo  อิตาลี
นายกรัฐมนตรี Prince Makhosini  เอสวาตินี
รองประธานสภาแห่งรัฐ Mieczysław Klimaszewski  โปแลนด์
รองประธานาธิบดี สปิโร แอกนิว  สหรัฐอเมริกา
Chief Earl Old Person

inline Blackfeet Nation

รองประธานสภาประชาชนแห่งชาติ Guo Moruo  จีน
ประธานสภาสหพันธ์ Kai-Uwe von Hassel  เยอรมนีตะวันตก
รัฐมนตรีต่างประเทศ Rui Patrício  โปรตุเกส
สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง อีเมลดา มาร์กอส  ฟิลิปปินส์
พระคาร์ดินัล Maximilian von Fürstenberg  สันตะสำนัก

ภาพยนตร์

[แก้]
สารคดี "Flames of Persia"

คณะกรรมการภาพยนตร์แห่งชาติของอิหร่านจัดทำสารคดีเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองชื่อ Forugh-e Javidan (فروغ جاویدان) ใน ภาษาเปอร์เซีย และ Flames of Persia เป็นภาษาอังกฤษ Farrokh Golestan กำกับและ ออร์สัน เวลส์ ผู้ซึ่งกล่าวถึงงานนี้ว่า "นี่ไม่ใช่งานปาร์ตี้แห่งปี แต่เป็นการเฉลิมฉลอง 25 ศตวรรษ!"[7] เป็นผู้บรรยายภาษาอังกฤษที่จากบทของ แมคโดนัลด์ เฮสติงส์ เพื่อแลกกับการสนับสนุนทุนสร้างภาพยนตร์ The Other Side of the Wind โดยพระเทวัน (พี่เขย) ของชาห์[16][17] ภาพยนตร์เรื่องนี้มุ่งเป้าไปที่ผู้ชมชาวตะวันตก[18] แม้จะมีข้อกำหนดให้ฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ในโรงภาพยนตร์ 60 แห่งในเตหะราน แต่ "วาทกรรมที่ทำให้ตื่นเต้นมากเกินไป" และความไม่พอใจต่อความฟุ่มเฟือยของงาน ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำรายได้ในอิหร่านไม่ดีนัก[19]

มรดก

[แก้]
โครงสร้างนครกระโจมเปอร์เซเปอลิส ในปี 2007

เปอร์เซเปอลิสยังคงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในอิหร่าน ในปี ค.ศ. 2005 มีรายงานระบุว่ารัฐบาลอิสลามของอิหร่านตั้งใจที่จะสร้างนครกระโจมขึ้นใหม่อีกครั้ง[15] ปีเดียวกันมีผู้คนมาเยี่ยมชมเกือบ 35,000 คนในช่วงวันหยุดปีใหม่ของอิหร่าน[15]

นครกระโจมแห่งนี้ยังคงเปิดดำเนินการจนถึงปี 1979 เพื่อให้เช่าทั้งภาครัฐและเอกชน สถานที่นี้ถูกปล้นหลังการปฏิวัติอิหร่านและการลี้ภัยของชาห์ โครงสร้างกระโจมและถนนที่สร้างขึ้นสำหรับพื้นที่จัดงานเทศกาลยังคงอยู่และเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชมได้ แต่ไม่มีเครื่องหมายใดที่อ้างอิงถึงจุดประสงค์เดิม[20] หอคอยแชฮ์ยอดที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะยังคงเป็นสถานที่สำคัญในกรุงเตหะราน แม้ว่าจะเปลี่ยนชื่อเป็นหอคอยออซอดีในปี 1979 ก็ตาม

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Celebration of the 2,500th Anniversary of the Founding of the Persian Empire" (ภาษาอังกฤษ). Ministry of Information. 14 September 1971. สืบค้นเมื่อ 9 May 2022.
  2. Amuzegar, The Dynamics of the Iranian Revolution, (1991), pp. 4, 9–12
  3. Narrative of Awakening : A Look at Imam Khomeini's Ideal, Scientific and Political Biography from Birth to Ascension by Hamid Ansari, Institute for Compilation and Publication of the Works of Imam Khomeini, International Affairs Division, [no date], p. 163
  4. 4.0 4.1 Nina Adler (14 February 2017). "Als der Schah zur größten Party auf Erden lud" (ภาษาเยอรมัน). Der Spiegel. สืบค้นเมื่อ 14 February 2017.
  5. Steele, Robert. The Shah's Imperial Celebrations of 1971 AD.
  6. Steele, Robert. The Shah's Imperial Celebrations of 1971 AD.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 Kadivar C (25 January 2002). "We are awake. 2,500-year celebrations revisited". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 November 2002. สืบค้นเมื่อ 23 October 2006.
  8. Van Kemenade, Willem (November 2009). "Iran's relations with China and the West" (PDF). Clingendael. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 October 2021. สืบค้นเมื่อ 9 August 2013.
  9. Karkowski, Z.; Harley, J.; Szymanksi, F.; Gable, B. (2002). "Liner Notes". Iannis Xenakis: Persepolis + Remixes. San Francisco: Asphodel LTD.
  10. 10.0 10.1 "The Persepolis Celebrations". สืบค้นเมื่อ 23 October 2006.
  11. British Museum explanatory notes, "Cyrus Cylinder": "For almost 100 years the cylinder was regarded as ancient Mesopotamian propaganda. This changed in 1971 when the Shah of Iran used it as a central image in his own propaganda celebrating 2500 years of Iranian monarchy. In Iran, the cylinder has appeared on coins, banknotes and stamps. Despite being a Babylonian document it has become part of Iran's cultural identity."
  12. Neil MacGregor, "The whole world in our hands", in Art and Cultural Heritage: Law, Policy, and Practice, p. 383–4, ed. Barbara T. Hoffman. Cambridge University Press, 2006. ISBN 0-521-85764-3
  13. Steele, Robert. The Shah's Imperial Celebrations of 1971 AD.
  14. Steele, Robert (2020). The Shah's Imperial Celebrations of 1971 AD_ Nationalism, Culture and Politics in Late Pahlavi Iran. loomsbury Academic _ I.B. Tauris. p. 144.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 15.5 Tait, Robert (22 September 2005). "Iran to rebuild spectacular tent city at Persepolis". The Guardian. Persepolis. สืบค้นเมื่อ 8 August 2013.
  16. Naficy, Hamid (2003). "Iranian Cinema". ใน Oliver Leaman (บ.ก.). Companion Encyclopedia of Middle Eastern and North African Film. Routledge. p. 140. ISBN 9781134662524.
  17. Welles, Orson (1998). This is Orson Welles. Perseus Books Group. p. xxvii. ISBN 9780306808340.
  18. Watson, James A.F. (March 2015). "Stop, look, and listen: orientalism, modernity, and the Shah's quest for the West's imagination" (PDF). The UBC Journal of Political Studies. Vancouver: Department of Political Science at the University of British Columbia. 17: 22–36: 26–28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 February 2016. สืบค้นเมื่อ 15 February 2016.
  19. Naficy, Hamid (2011). A Social History of Iranian Cinema, Volume 2: The Industrializing Years, 1941–1978. Duke University Press. p. 139. ISBN 9780822347743.
  20. Iran Daily (23 June 2007). "Team Named For Renovating Persepolis". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2007. สืบค้นเมื่อ 9 March 2008.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Steele, Robert (2021). The Shah's Imperial Celebrations of 1971: Nationalism, Culture and Politics in Late Pahlavi Iran. London: I.B. Tauris. ISBN 978-1-8386-0417-2.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]