สุรสิทธิ์ สัตยวงษ์
สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ | |
---|---|
เกิด | 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 บุญชู สัตยวงศ์ อำเภอกรุงเก่า มณฑลกรุงเก่า ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 9 กันยายน พ.ศ. 2526 (60 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | ประไพพิศ นวราษฎร์ธิรเดช |
อาชีพ | นักร้อง นักแสดง |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2486 - 2526 |
ผลงานเด่น | พันท้ายนรสิงห์ (2487) น้ำตาแสงไต้ (ต้นฉบับ) สุภาพบุรุษเสือไทย (2492) กตัญญูประกาศิต (2501) แม่นาคพระโขนง (2502) |
รางวัล | |
พระสุรัสวดี | นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม พ.ศ. 2501 - กตัญญูประกาศิต |
สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 - 9 กันยายน พ.ศ. 2526 [1]) อดีตนักร้อง นักแสดงชาวไทย
ประวัติ
[แก้]สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขามีความสามารถรอบด้าน ทั้งด้านการเรียน กีฬา และร้องเพลง เขาเคยรับราชการเป็นทั้งครูและตำรวจ แต่ด้วยน้ำเสียงอันไพเราะหม่อมเจ้าศุกรวรรณดิศ ดิศกุลจึงชักชวนให้รับราชการเป็นนักร้องของวงดุริยางค์กองทัพเรือ (รุ่นเดียวกับ สมยศ ทัศนพันธุ์ และเสน่ห์ โกมารชุน) โดยเรียนร้องเพลงกับครูล้วน ควันธรรมพร้อมกับชาลี อินทรวิจิตร ต่อมาจึงย้ายไปเป็นนักร้องในวงดนตรีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ รุ่นเดียวกับ สุพรรณ บูรณพิมพ์ ปิติ เปลี่ยนสายสืบ และสถาพร มุกดาประกร ก่อนเข้าเรียนที่โรงเรียนจ่าอากาศ และประจำที่กองภาพยนตร์ทหารอากาศ
จากนักร้องสุรสิทธิ์กลายมาเป็นนักแสดงด้วยการชักชวนของนาวาอากาศเอกสวัสดิ์ ฑิฆัมพร แห่งกองภาพยนตร์ทหารอากาศ เมื่อราวปี 2486 ในช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 วงการละครเวทีได้รับความนิยมขึ้นมาแทนที่ภาพยนตร์ซึ่งกำลังซบเซา สุรสิทธิ์ได้ไต่เต้าขึ้นมาเป็นพระเอกละครระดับแถวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยมีผลงานที่เป็นตำนานคือเรื่อง "พันท้ายนรสิงห์" ที่เขารับบทนำและร้องเพลงเอก "น้ำตาแสงไต้" เป็นที่จับใจแฟน ๆ
เมื่อสงครามโลกสิ้นสุดลง วงการภาพยนตร์ไทยค่อย ๆ ล้มลุกคลุกคลานเพื่อตั้งหลักใหม่ จนกระทั่งกลับมาคึกคักได้เมื่อ "สุภาพบุรุษเสือไทย"ที่สร้างโดย ม.จ.ศุกรวรรณดิศ ดิศกุล และแท้ ประกาศวุฒิสาร (ดัดแปลงจากนวนิยายเรื่องดัง 'เสือไทยผู้สุภาพ' ของ เสนีย์ บุษปะเกศ คู่กับ สอางค์ ทิพย์ทัศน์) เข้าฉายที่โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง[2]โดยมีสุรสิทธิ์เล่นเป็นพระเอก ผลงานเรื่องนี้ได้รับการตอบรับอย่างเกรียวกราวจากแฟน ๆ ภาพยนตร์ ชื่อเสียงของสุรสิทธิ์ก็ยิ่งขจรขจาย และมาดเสือของเขาก็กลายเป็นต้นแบบแฟชั่นให้บรรดาชายหนุ่มน้อยใหญ่ได้ลอกเลียนแบบ
ช่วงหลังสุรสิทธิ์มีปัญหาด้านสุขภาพแต่ยังคงรับงานแสดงภาพยนตร์เรื่อยมา และยังคงเป็นนักร้องรับเชิญในรายการเพลง ทางโทรทัศน์ช่อง 7 สี ติดต่อกันนานหลายปี
ผลงาน
[แก้]ละครเวที
[แก้]- 2487 - 2500: เป็นนักแสดงละครเวทีที่ได้รับความนิยมมาก (รุ่นเดียวกับส.อาสนจินดา)
- 2487: พันท้ายนรสิงห์ (คู่กับสุพรรณ บูรณะพิมพ์)
- 2492: นางไพร (คู่กับรัตนาภรณ์ อินทรกำแหง)
- 2494: สลัดดำ (ร่วมกับสถาพร มุกดาประกร)
- 2495: เทวีขวัญฟ้า (ร่วมกับฉลอง สิมะเสถียร, เพ็ญศรี พุ่มชูศรี)
- 2496: ล่องอเวจี (คู่กับมารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา) ฯลฯ
เพลง
[แก้]- เพลงน้ำตาแสงไต้ (ประกอบละครเวทีเรื่องพันท้ายนรสิงห์โดยขับร้องเป็นคนแรก)
- เพลงเดียวดาย (ประกอบละครเวทีเรื่องนางไพร พ.ศ.2492)
- เพลงแก้วตานิทราเถิด (ผลงานสง่า อารัมภีร)
- เพลงลุ่มเจ้าพระยา (ร้องคู่ประชุม พุ่มศิริ)
- เพลงดวงจันทร์ (ผลงานแก้ว อัจฉริยะกุลและนารถ ถาวรบุตร)
- เพลงพรวันเกิด (คู่กับสุพรรณ บูรณะพิมพ์ประกอบภาพยนตร์ชายใจเพชรพ.ศ.2494)
- เพลงเถิดเทิงบอง
- เพลงกรุงศรีอยุธยา (ผลงานหลวงวิจิตรวาทการร้องคู่เพ็ญศรี พุ่มชูศรี)
- เพลงสูงสุดสอย (ผลงานพรานบูรพ์)
- เพลงคนเห็นคน (คู่กับเพ็ญศรี พุ่มชูศรีผลงานพรานบูรพ์)
- เพลงฉันรักเธอจริง ๆ (ผลงานพรานบูรพ์)
ภาพยนตร์
[แก้]- 2492: สุภาพบุรุษเสือไทย
- 2493: ชายใจเพชร
- 2493: ชายสไบ
- 2493: ศาสนารักของนางโจร
- 2494: โตนงาช้าง
- 2494: เสือดำ
- 2494: ลุ่มน้ำเจ้าพระยา
- 2496: สมิงสาว
- 2496: กาหลงรัง
- 2496: ไฟรักไฟบาป
- 2496: ตรางดวงใจ
- 2497: สามหัวใจ
- 2497: น้ำตาชาย
- 2497: สามเสือสมุทร
- 2497: เกาะมุกดาดำ
- 2498: เทวีขวัญฟ้า
- 2498: เหนือธรณี
- 2498: สลัดดำ
- 2498: สามเสือ
- 2498: รักคู่ฟ้า
- 2498: เพลิงโลกันตร์
- 2498: ยอดกตัญญู
- 2498: สี่สิงห์นาวี
- 2498: ทหารเสือพระเจ้าตาก
- 2499: วิมานชีวิต
- 2499: พรจากนรก
- 2499: หงส์หยก
- 2499: ชายสะไบ
- 2499: กาหลงรัง
- 2499: สุภาพบุรุษเสือผา
- 2499: แผ่นดินว่างกษัตริย์
- 2500: จอมไพร
- 2500: สายโลหิต
- 2500: สุรนารี
- 2500: ขุนโจร 5 นัด
- 2500: โรงแรมนรก
- 2500: ดอนทราย
- 2501: รมดี
- 2501: บุกแหลก
- 2501: สวรรค์หาย
- 2501: เทวรูปหยก
- 2501: สั่งอินทรีขาวถล่มกรุง
- 2501: กตัญญูประกาศิต
- 2501: หนึ่งต่อเจ็ด
- 2501: ยูงรำแพน
- 2501: สาวน้อย
- 2501: สุรนารี
- 2502: รอยเสือ
- 2502: กล่อมกากี
- 2502: ชาติสมิง
- 2502: รักเธอเท่าฟ้า
- 2502: เลือดทาแผ่นดิน
- 2502: ไอ้เสือมือเปล่า
- 2592: มัจจุราชประกาศิต
- 2502: แม่นาคพระโขนง
- 2503: ดวงชีวัน
- 2503: เด็กเสเพล
- 2504: ศักดิ์ไอ้เสือ
- 2505: ยอดธง
- 2505: รุ่งทิพย์
- 2505: สิงห์เมืองชล
- 2505: วิมานรักสีชมพู
- 2505: วิญญาณรักแม่นาค
- 2506: ใจเดียว
- 2506: ชโลมเลือด
- 2506: กลางดงเสือ
- 2506: เจ็ดตะลุมบอน
- 2506: ผู้พิชิตมัจจุราช
- 2506: เจ็ดประจัญบาน
- 2507: วันปืน
- 2507: ทรพีร้องไห้
- 2507: เก้ามหากาฬ
- 2508: นางไม้
- 2508: เพชรน้ำผึ้ง
- 2508: ศึกเสือไทย
- 2509: 4 สมิง
- 2509: ตัวต่อตัว
- 2509: คมสีหราช
- 2509: ชุมทางหาดใหญ่
- 2510: มนต์รัก
- 2510: บุหรงทอง
- 2510: สุดแผ่นดิน
- 2510: กู่การะเวก
- 2510: 5 พยัคฆ์สาว
- 2510: 7 พระกาฬ
- 2510: บ้าบิ่นบินเดี่ยว
- 2511: พระลอ
- 2511: จ้าวอินทรี
- 2511: สิงห์เหนือเสือใต้
- 2511: 7 ป่าช้า
- 2511: สิงห์ล้างสิงห์
- 2511: เลือดอาชาไนย
- 2511: เล็บครุฑ ตอนประกาศิตจางซูเหลียง
- 2512: ดอนเจดีย์
- 2512: ด่วนเหนือ
- 2512: ยอดรักยูงทอง
- 2512: หลั่งเลือดแดนสิงห์
- 2512: พยัคฆ์เหนือ-เสืออีสาน-ยมบาลใต้
- 2513: จอมโจรมเหศวร
- 2513: ฟ้าคะนอง
- 2513: กำแพงแสน
- 2513: เทวีกายสิทธิ์
- 2513: วนาสวรรค์
- 2513: กิ่งแก้ว
- 2513: ฝนใต้
- 2513: เงินจางนางจร
- 2514: มันมากับความมืด
- 2515: แควเสือ
- 2515: ชาละวัน
- 2515: รักต้องห้าม
- 2515: เพชรตาแมว
- 2516: ไผ่ล้อมรัก
- 2516: ทางสายใหม่
- 2516: หนึ่งในดวงใจ
- 2516: รัญจวนจิต
- 2516: ผู้กองยอดรัก
- 2517: แม่
- 2518: หัวใจราชสีห์
- 2519: กบฎหัวใจ
- 2520: มันทะลุฟ้า
- 2520: เจ้าพ่อ 7 คุก
- 2520: ดวล
- 2522: เตือนใจ
- 2522: เรือเพลง
- 2522: กำนันช้อง
- 2522: อาญานรก
- 2522: อยุธยาทีข้ารัก
- 2522: หักเหลี่ยมนักเลงปืน
- 2522: เพียงคำเดียว
- 2523: ฉุยฉาย
- 2523: ไอ้ขุนเพลง
- 2523: ตาพระยาบ้าเลือด
- 2523: รักลอยลม
- 2524: รักพยาบาท
- 2524: เฉยแหลก
โทรทัศน์
[แก้]- ทศวรรษ 2500-2510: ขับร้องเพลงในรายการ"เพลงแห่งความหลัง"
ผลงานกำกับ
[แก้]- 2501: กำกับภาพยนตร์เรื่อง"สั่งอินทรีขาวถล่มกรุง"
เสียชีวิต
[แก้]สุรสิทธิ์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2526 ด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว ขณะอายุได้ 60 ปี ที่โรงพยาบาลเมโย มีงานพระราชทานเพลิงศพ เป็นกรณีพิเศษ ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร(บางเขน) ในวันเสาร์ ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2526
อ้างอิง
[แก้]- ไพบูลย์ สำราญภูติ. เพลงลูกกรุง, TK Park Music Library ชุดดนตรีไทย. กรุงเทพ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, พ.ศ. 2550. 168 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-8218-82-3
- ↑ "กระทู้จาก thaifilm.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2008-03-13.
- ↑ วีดิทัศน์ "หนังแท้" รวมผลงานหลายเรื่องของแท้ ประกาศวุฒิสาร ศิลปินแห่งชาติ จัดทำโดย มูลนิธิหนังไทย, 2544