ข้ามไปเนื้อหา

ฉลอง สิมะเสถียร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฉลอง สิมะเสถียร
เกิด3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468
ฉลอง สิมะเสถียร
จังหวัดธนบุรี
เสียชีวิต2 เมษายน พ.ศ. 2520 (51 ปี)
คู่สมรสกัณฑรีย์ นาคประภา
อาชีพ
  • นักแสดง
  • นักร้อง
  • ผู้จัดละครทีวี

ฉลอง สิมะเสถียร (3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 – 2 เมษายน พ.ศ. 2520) เป็นนักแสดงชาวไทยที่มีชื่อเสียงในละครเวทีช่วงหลังสงครามมหาเอเชียบูรพา จนถึงยุคจอแก้วทางไทยทีวี ช่อง 4 บางขุนพรหม

ประวัติ

[แก้]

ฉลอง สิมะเสถียร เปชาวไทยเชื้อสายจีนฮกเกี้ยนตระกูลซิม/ซิ้ม (สมัยรัชกาลที่ 3) เกิดที่ตำบลวัดกัลยาณมิตร ฝั่งธนบุรี ในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 เป็นบุตรคนที่สองในบรรดาพี่น้องรวม 8 คน ของนายสุจินต์ และนางสังวาลย์ สิมะเสถียร

เข้าสู่วงการ

[แก้]

หลังจบโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้เข้าทำงานที่ บริษัทสหไทยวัฒนา จำกัด ต่อมาสมัครเป็นนักร้องวงทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จนยุบวงแล้วไปสมัครเป็นนักแสดงละครเวทีของคณะศิวารมย์ เริ่มด้วย ขุนทัพพญายม ของ อรวรรณ พ.ศ. 2492 ตามด้วย ราชินีบอด ของ สุวัฒน์ วรดิลก พ.ศ. 2493 ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง

ปีเดียวกัน บนเวทีศาลาเฉลิมไทย นำแสดงเป็น กษัตริย์อริยวัต ในละครประกอบเพลงวงสุนทราภรณ์ จุฬาตรีคูณ ของ พนมเทียน ซึ่งมี มัณฑนา โมรากุล รับบท เจ้าหญิงดาราราย, ชาลี อินทรวิจิตร รับบท เจ้าชายอนุวัต และ สวลี ผกาพันธุ์ รับบท เจ้าหญิงอารียา บทเด่นที่ยังเป็นที่กล่าวขวัญจนทุกวันนี้คือ ชายกลาง คู่กับ พจมาน (สวลี ผกาพันธุ์) คู่แรกของเมืองไทย ใน บ้านทรายทอง ของ ก.สุรางคนางค์ โดยคณะอัศวินการละคร ปีต่อมา [1]และบทอื่นๆ เช่น ขุนวรวงศาธิราช ใน เจ้าแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ [2] เป็นต้น

เมื่อหมดยุคละครเวที ขณะมีอายุราว 32 ปี จำนง รังสิกุล ผู้อำนวยการบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด ชวนเข้าทำงานเป็นหัวหน้าแผนกผู้ประกาศ ฝ่ายจัดรายการ ของสถานีไทยทีวีช่อง 4 บางขุนรหม ยุคบุกเบิก รับผิดชอบการเตรียมบทผู้ประกาศเช้า-เย็น และเริ่มปรากฏตัวทางจอแก้วใน ละครชวนหัวภาคค่ำชุด นุสรา [3]ด้วยบท คุณทายาท ทนายความหนุ่มใหญ่ สามีของนุสรา สาวน้อยจอมยุ่ง (อารีย์ นักดนตรี) ร่วมด้วยป้ากัลยา (กัณฑรีย์ นาคประภา) ที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ในช่วงเปิดสถานีใหม่ ๆ พ.ศ. 2501 - 2504[4]นอกจากนี้ยังมีหน้าที่รวบรวมเพลงเก่ายุคละครเวทีเพื่อนำมาสอนเพื่อนร่วมงานรุ่นน้องสำหรับรายการ เพลงแห่งความหลัง ออกอากาศ พ.ศ. 2507 ซึ่งได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน[5]

ที่ช่อง 4 ช่วงแรกมักแสดงคู่กับ อารีย์ นักดนตรี ต่อมาเป็นผู้จัดและพระเอกละครประจำ คณะกัญชลิกา (ชื่อบุตรสาว) และบันทึกแผ่นเสียงไว้หลายเพลง ปัจจุบันยังมีเผยแพร่ในรูปแบบซีดี เช่น นันทาเทวี, น้ำตาแสงไต้, เมื่อแดนฟ้าขาดเดือน, ค่าของคน, สำคัญที่ใจ (คู่ รวงทอง ทองลั่นทม ) เป็นต้น

ความภูมิใจ

[แก้]

ตัวอย่างผลงาน

[แก้]

ละครเวที

[แก้]
  • 2488-2495: พระอกละครเวทีที่ได้รับความนิยมอย่างมากมีผลงานหลายร้อยเรื่อง
  • 249-: เจ้าแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ (คู่กับ กัณฑรีย์ นาคประภา)
  • 249-: ผาคำรณ (คู่กับ สุพรรณ บูรณะพิมพ์)
  • 2492: ขุนทัพพญายม
  • 2493: ราชินีบอด (คู่กับ สุพรรณ บูรณะพิมพ์)
  • 2493: จุฬาตรีคูณ (คู่กับ มัณฑนา โมรากุล)
  • 2494: บ้านทรายทอง (คู่กับ สวลี ผกาพันธ์)
  • 2495: เทวีขวัญฟ้า
  • 2496: นิมิตสวรรค์
  • 2497: แผ่นดินของเรา
  • 2498: นเรนทร์ริษยา (คู่กับ สุพรรณ บูรณะพิมพ์)
  • 2507: จันทกินรี (คู่กับ นงลักษณ์ โรจนพรรณ)
  • 2508: พันท้ายนรสิงห์
  • 2518: นันทาเทวี (คู่กับ อารีย์ นักดนตรี)

ละครโทรทัศน์

[แก้]

ภาพยนตร์

[แก้]
  • 2497: เจ้าสาวชาวไร่ (คู่กับ กรองจิตต์ เตมียศิลปิน)[6]
  • 2497: เจ้าแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์
  • 2497: นางกลางเมือง
  • 2497: เพลิงชีวิต
  • 2498: พิมพิลาไลย
  • 2498: อัศวินเหล็ก
  • 2498: ศรีสะใภ้
  • 2498: แม่พระ (คู่กับ สวลี ผกาพันธุ์)
  • 2499: ดาวเรือง (คู่กับ รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง)
  • 2499: ปีศาจคะนองรัก (คู่กับ มารศรี ณ บางช้าง)
  • 2499: เสน่ห์สาวฮ่องกง
  • 2499: สุดฟากฟ้า
  • 2500: น้ำตาแม่
  • 2500: กะล่อนทอง
  • 2500: โชคมนุษย์
  • 2500: ปักธงไชย (พากย์เสียงลงฟิล์มแทน สมยศ อินทรกำแหง ดารานำแสดง)[7]
  • 2502: เชลยศักดิ์ (พากย์เสียงลงฟิล์มแทน ประศาสน์ คุณะดิลก ดารานำแสดง)[8]
  • 2513: ทุ่งมหาราช (ขับร้องเพลงหมู่ประกอบภาพยนตร์)
  • 2515: แม่ยาย

อ้างอิง

[แก้]
  1. วัลลภา ดิเรกวัฒนะ,ชาลี อินทรวิจิตร ปรมาจารย์แห่งวงการเพลง
  2. รายการ เพื่อนฝัน,สวท 891
  3. สะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์, คอลัมน์โปกฮา ดารารุ่นเดอะ:พระเอกในดวงใจ ฉลอง สิมะเสถียร, ไทยโพสต์, 4 ก.ค. 2553
  4. อารีย์ นักดนตรี, โลกมายาของอารีย์, กายมารุต, 2546 ISBN 974-91018-4-7 หน้า 167-170
  5. อารีย์ นักดนตรี, หน้า 357-361
  6. อิงคศักดิ์ เกตุหอม,นี่คือชีวิตของ...ดอกดิน,หอภาพยนตร์(องค์การมหาชน),2514 ISBN 978-616-543-135-4 หน้า
  7. วีดิทัศน์ ปักธงไชย,มูลนิธิหนังไทย,2540
  8. วีดิทัศน์ เชลยศักดิ์ ,มูลนิธิหนังไทย ,2540