ข้ามไปเนื้อหา

ภาวนา ชนะจิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาวนา ชนะจิต
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด20 ธันวาคม พ.ศ. 2485
อรัญญาภรณ์ เหล่าแสงทอง (เดิม อรัญญา เหล่าแสงทอง)
จังหวัดธนบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต10 กันยายน พ.ศ. 2555 (69 ปี)
จังหวัดนครปฐม ประเทศไทย
คู่ครองไพจิตร ศุภวารี
อาชีพนักแสดง นางแบบ
ปีที่แสดงพ.ศ. 2503 - 2529
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

ภาวนา ชนะจิต (อักษรโรมัน: Parwarna Liu Lan Ying; จีน: 劉蘭英; ชื่อเล่น: หยิน) มีชื่อจริงว่า อรัญญาภรณ์ เหล่าแสงทอง (ชื่อเดิม: อรัญญา; 20 ธันวาคม พ.ศ. 2485 — 9 กันยายน พ.ศ. 2555) นักแสดงภาพยนตร์ชาวไทย ที่ได้รับฉายา ไข่มุกแห่งเอเชีย

ประวัติ

[แก้]

ชื่อจริงคือ อรัญญาภรณ์ เหล่าแสงทอง (ชื่อเดิม: อรัญญา; ชื่อเล่น: หยิน) มีเชื้อสายจีนกวางตุ้ง เกิดวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2485 ที่อำเภอธนบุรี กรุงเทพฯ จบมศ. 3 พิทยศึกษา

มีชื่อจีนแมนดารินว่า หลิว หลานอิง หรือ อ่านเป็นภาษาจีนกวางตุ้ง ว่า Lau Lan Ying (จีน: 劉蘭英)

ภาวนาเสียชีวิตในเช้าวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555 ที่บ้านพักของตนเองในตำบลขุนแก้ว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยตำรวจสรุปว่าเสียชีวิตจากการจมน้ำ สิริอายุได้ 69 ปี[1] มีพิธีฌาปนกิจศพ ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร

สู่วงการบันเทิง

[แก้]

จุดเริ่มต้น

[แก้]

เริ่มแสดงภาพยนตร์ไทยเรื่องแรก โดย รังสรรค์ ตันติวงศ์ ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ ผ่านการแนะนำของ “เด็กยกรีเฟลค”[2] ในกองถ่าย และ ศรินทิพย์ ศิริวรรณ ดาราในวงการเป็นผู้พาออกงาน[3] เมื่อ พ.ศ. 2503 เรื่อง แสงสูรย์ ซึ่งมี มิตร ชัยบัญชา และ อมรา อัศวนนท์ แสดงนำ กำกับโดย ประทีป โกมลภิส ภาพยนตร์เรื่องนี้ ทำให้เธอได้รับรางวัล ตุ๊กตาทอง ดาราสมทบหญิงยอดเยี่ยม จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิง

โลกจอเงิน

[แก้]

ดารานำหรือประชันบทในภาพยนตร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2503-2522 คู่กับ สรพงศ์ ชาตรี, มิตร ชัยบัญชา, ไชยา สุริยัน, สมบัติ เมทะนี, ยอดชาย เมฆสุวรรณ, ลือชัย นฤนาท, อุเทน บุญยงค์, นาท ภูวนัย, กรุง ศรีวิไล และ ภาพยนตร์จีน คู่กับเดวิด เจียง พระเอกชาวฮ่องกง

ส่วนใหญ่มักเป็นรับบทเด็กสาว เมื่ออายุมากขึ้นก็ยังรับบทที่เด็กกว่าอายุจริงเสมอ จนกระทั่งตัดสินใจยุติบทบาทการแสดงในวัยใกล้ 40 ปี โดยให้เหตุผลว่า ต้องการให้คนจดจำภาพนางเอกในวัยสาวของเธอตลอดไป

เจ้าของฉายา ไข่มุกแห่งเอเชีย จากการแสดงนำในภาพยนตร์ฮ่องกงหลายเรื่องของชอว์ บราเดอร์ เรื่อง Duel of Fists (จีน: 拳擊)[4] ผลงานกำกับของ จางเชอะ ซึ่งมี ตี้หลุง และ เดวิด เจียง แสดงนำ เข้ามาถ่ายทำในประเทศไทย ประมาณปี ค.ศ.1971 เกี่ยวกับศิลปะแม่ไม้มวยไทย ซึ่งนับเป็นหนังต่างประเทศเรื่องแรก ๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับมวยไทย

ปี ค.ศ. 1971 แสดงนำใน The King Boxer (Xiao quan wang)[5] ประกบนักแสดงกังฟูชื่อดัง เมิ่งเฟย และดาราชาวญี่ปุ่น ยะซุอะกิ คุระตะ รวมถึง นาท ภูวนัย ฉายในเมืองไทยชื่อ “หมัดสังหาร” หลังจากนั้นได้แสดงนำในหนังฮ่องกงแนวกังฟู The Bloody Fight (Xue dou) [6] ในปี ค.ศ. 1972 และ Shi hou[7] ซึ่งเป็นภาคต่อของ The Bloody Fight ในปีเดียวกัน

ถัดมาอีก 2 ปี แสดงนำในภาพยนตร์ร่วมทุนระหว่าง ไทย-ญี่ปุ่น ปี ค.ศ.1974 เรื่อง หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์ (Urutora 6-kyodai tai kaijû gundan)[8] และภาพยนตร์ฮ่องกงปี ค.ศ.1976 เรื่อง Chun man Ba Di Ya[9]อีกด้วย

ผลงานสู่สายตาผู้ชมระดับสากลในช่วงนี้ยังมี "ตัดเหลี่ยมเพชร" (H-Bomb) ภาพยนตร์ไทย-ฮ่องกง จากงานกำกับของ "ฟิลิป" ฉลอง ภักดีวิจิตร ประชันบทกับดาราชั้นนำ โอลิเวีย ฮัสซี่ และคริส มิตชั่ม

ผลงานภาพยนตร์

[แก้]
  • แสงสูรย์ (2503)
  • ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งเก้า (2503)
  • เด็ดดอกฟ้า (2504)
  • สุรีรัตน์ล่องหน (2504)
  • นันทาวดี (2505)
  • สุริยาที่รัก(2505)
  • พะเนียงรัก (2506)
  • มัตติกา (2506)
  • ทับเทวา (2507)
  • เลือดข้น (2507)
  • กำไลหยก (2508)
  • นางพรายคะนอง (2508)
  • นางไม้ (2508)
  • บัวน้อย (2508)
  • ปลาบู่ทอง (2508)
  • สันดานดิบ (2508)
  • แว่วเสียงยูงทอง (2508)
  • เชลยใจ (2509)
  • ซัมเซ็ง (2509)
  • น้ำตาเทียน (2509)
  • เสน่ห์บางกอก (2509)
  • หมอชนินทร์ผู้วิเศษ (2509)
  • อ้ายค่อม (2509)
  • กู่การะเวก (2510)
  • บุหรงทอง (2510)
  • บ้าบิ่นบินเดี่ยว (2510)
  • เมขลา (2510)
  • สิงห์สองแผ่นดิน (2510)
  • เหนือนักเลง (2510)
  • ที่รักจ๋า (2511)
  • พิศวาสไม่วาย (2511)
  • ลาวแพน (2511)
  • สีดา (2511)
  • ดอนเจดีย์ (2512)
  • ยอดรักยูงทอง (2512)
  • พญาโศก (2512)
  • วังกาเหว่า (2512)
  • กำแพงแสน (2513)
  • เทวีกายสิทธิ์ (2513)
  • ฟ้าคะนอง (2513)
  • เสน่ห์ลูกทุ่ง (2513)
  • คนใจบอด (2514)
  • เทวดามาแล้ว (2514)
  • เพลงสวรรค์นางไพร (2514)
  • หนึ่งนุช (2514)
  • พี่น้องตระกูลอึด (2514)
  • นี่แหละรัก (2515)
  • พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ (2515)
  • ไอ้หนุ่ม-อีสาว (2515)
  • หมัดสังหาร (2515)
  • 2 ชาติสมิง (2516)
  • เขาสมิง (2516)
  • จินตหรา (2516)
  • ทางสายใหม่ (2516)
  • ไม่มีสวรรค์สำหรับคุณ (2516)
  • ยอดชาย (2516)
  • แรงรัก (2516)
  • เศรษฐีถังแตก (2516)
  • แม่นาคบุกโตเกียว (2516)
  • หนึ่งในดวงใจ (2516)
  • 4 สีทีเด็ด (2517)
  • กังหันชีวิต (2517)
  • ก้องตะวัน (2517)
  • คมเคียว (2517)
  • ความรัก (อุบัติเหตุ)(2517)
  • ใครจะร้องไห้เพื่อฉัน (2517)
  • เจ้าสาวแสนกล (2517)
  • ด้วยปีกของรัก (2517)
  • ประทีปอธิษฐาน (2517)
  • พยานบาป (2517)
  • พ่อจอมโวย (2517)
  • มาแต่เลือด (2517)
  • รักครั้งแรก (2517)
  • สิงห์ดง (2517)
  • อาถรรพณ์สวาท (2517)
  • นี่หรือผู้หญิง (2517)
  • เพชฌฆาตเหล็ก (2517)
  • คำมั่นสัญญา (2518)
  • ชาตินักเลง (2518)
  • ตัดเหลี่ยมเพชร (2518)
  • แบ๊งค์ (2518)
  • พ่อยอดมะกอก (2518)
  • ไฟรักสุมทรวง (2518)
  • รางวัลชีวิต (2518)
  • วัยไฟ (2518)
  • เศรษฐีรัก (2518)
  • สมิหรา (2518)
  • พ่อยอดกะล่อน (2518)
  • แบ๊งค์ (2519)
  • ชาติอาชาไนย (2519)
  • เหมือนฝัน (2519)
  • บ้องไฟ (2519)
  • ยอดกระล่อน (2519)
  • สามนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ (2519) รับบท ทับทิม
  • ใครใหญ่ใครอยู่ (2519) รับบท สีดา
  • สันดานชาย (2519)
  • 12 สิงห์สยาม (2520)
  • 3 นัด (2520)
  • 9 พยัคฆราช (2520)
  • กูซิใหญ่ (2520) รับบท อรชา
  • ตาปีอีปัน (2520)
  • ตามฆ่า 2 หมื่นไมล์ (2520)
  • รถไฟ เรือเมล์ ยี่เก ตำรวจ (2520)
  • เพลิงทะเล (2520)
  • เมียรายเดือน (2520)
  • รักไม่รู้ลืม (2520)
  • หน้าเนื้อใจเสือ (2520)
  • นักเลงไม่มีอันดับ (2520)
  • ลุยแหลก (2520)
  • ขุนดอน (2521)
  • เขาใหญ่ (2521)
  • เดนนรก (2521)
  • ด่านนรก (2521)
  • เล็กพริกขี้หนู (2521)
  • นักเลงกตัญญู (2521)
  • ปริศนาแห่งหัวใจ (2522)
  • รักพี่ต้องหนีพ่อ (2522)
  • คุณพ่อขอโทษ (2522)
  • ชาติหน้าก่อนเที่ยง (2522)
  • ชาติหินดินระเบิด (2522)
  • เจ้าพ่อมหาหิน (2522)
  • นรกสาว (2523)
  • รักนี้บริสุทธิ์ (2524)
  • ส่วนเกินของหัวใจ (2524)
  • ไม่มีชาติหน้าอีกแล้ว (2524)
  • มหานอกวัด (2524)
  • เดี่ยวกระดูกเหล็ก (2526)
  • รจนายอดรัก (2526)
  • พยาบาลที่รัก (2528)
  • ดวงยิหวา (2529)
  • โหดหน้าเหี่ยว 966 (ถูกตัดออก และใส่เครดิตช่วงท้าย) (2553)

ละครโทรทัศน์

[แก้]
  • นางสาวโพระดก (ไทยทีวีสีช่อง 3 ปี 2522)

อ้างอิง

[แก้]
  • หนึ่งเดียว. พิพิธภัณฑ์หนังไทย ฉบับ "ประวัติการณ์ที่สุดหนังไทย". กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ป็อปคอร์น, พ.ศ. 2549. หน้า 328. ISBN 974-94228-8-0