ข้ามไปเนื้อหา

โดมแห่งศิลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โดมแห่งศิลา
مسجد قبة الصخرة‎
โดมแห่งศิลา
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทมัสยิด
สถาปัตยกรรมอิสลาม
เมืองเยรูซาเลมตะวันออก
พิกัด31°46′40.8″N 35°14′7.44″E / 31.778000°N 35.2354000°E / 31.778000; 35.2354000
เริ่มสร้างค.ศ. 685 - 691
ผู้สร้างกาหลิบอับด์ อัล-มาลิค
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกยาซิด อิบุน ซาลาม
ราชา อิบุน เฮย์วาห์
ภาพพิมพ์จาก ค.ศ. 1887. (เชื่อกันว่าสถาปนิกเฟรเดอริค เคเธอร์วูด (Frederick Catherwood) เป็นชาวตะวันตกคนแรกที่มีโอกาสวาดราดละเอียดของโดมทอง ที่ทำสำเร็จภายในหกอาทิตย์ในปี ค.ศ. 1833)[1]
สุลต่านสุลัยมานแห่งจักรวรรดิออตโตมันส่งกลุ่มของคนงานจากอิสตันบูลไปยังกรุงเยรูซาเล็มเพื่อประดับอาคารในกระเบื้องเซรามิก

โดมแห่งศิลา (อาหรับ: مسجد قبة الصخرة, ทับศัพท์: กุบบะฮ์ อัชซักรอฮ์, ฮีบรู: כיפת הסלע, ทับศัพท์: Kipat Hasela, อังกฤษ: Dome of the Rock) เป็นศาสนสถานของศาสนาอิสลามที่เป็นที่ตั้งของศิลาฤกษ์ (Foundation Stone), เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของศาสนายูดาห์ และเป็นสิ่งก่อสร้างที่เด่นที่สุดบนเนินพระวิหารในกรุงเยรูซาเลม โดมทองสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 691 ซึ่งทำให้เป็นสิ่งก่อสร้างของอิสลามที่เก่าที่สุดในโลก[2]

ที่ตั้ง การก่อสร้าง และ ขนาด

[แก้]

โดมทองตั้งเด่นอยู่บนเนินที่สร้างโดยมนุษย์ในสมัยโบราณที่เรียกว่าเท็มเพิลเมานท์ที่ชาวมุสลิมเรียกว่า “Noble Sanctuary” เนินสูงขยายใหญ่ขึ้นเป็นอันมากในรัชสมัยของพระเจ้าแฮรอดมหาราชเพื่อใช้เป็นที่สร้างพระวิหารที่สองที่ต่อมาถูกทำลายโดยโรมันระหว่างการล้อมกรุงเยรูซาเลมในปี ค.ศ. 70 ในปี ค.ศ. 637 เยรูซาเลมก็ถูกพิชิตโดยกองทัพของจักรวรรดิราชิดันระหว่างการรุกรานของอิสลามในจักรวรรดิไบแซนไทน์

โดมทองก่อสร้างขึ้นระหว่าง ค.ศ. 685 จนถึง ค.ศ. 691 โดยมี ยาซิด อิบุน ซาลาม จากเยรูซาเลม และ ราชา อิบุน เฮย์วาห์จากเบย์ซาน (Baysan) กาหลิบอุมัยยะห์อับด อัล-มาลิค (عبد الملك بن مروان‎ - Abd al-Malik) ผู้ริเริ่มโครงการหวังว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใช้เป็นสถานที่สำหรับ “พำนักของมุสลิมทั้งยามหนาวและร้อน”[3] และเป็นสถานที่สักการะสำหรับนักแสวงบุญที่ไม่แต่จะเป็นเพียงมัสยิดสำหรับการสักการะโดยทั่วไปเท่านั้น[4] นักประวัติศาสตร์โต้ว่าการโครงการการก่อสร้างของกาหลิบอัล-มาลิคเป็นโครงการเพื่อแข่งขันกับสิ่งก่อสร้างทางศาสนาอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้วในเยรูซาเลมในขณะนั้น นักภูมิศาสตร์ชาวอาหรับอัล-มูคัดดาซิ (محمد بن أحمد شمس الدين المقدسي‎‎ - Al-Muqaddasi) บันทึกว่ากาหลิบอัล-มาลิค

ตั้งใจจะสร้างสิ่งก่อสร้างสำหรับชาวมุสลิมในลักษณะของ “มัสยิด” ที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์และเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลก และในบริบทนี้เมื่อ[กาหลิบอัล-มาลิค]เห็นความสง่างามของโบสถ์พระคูหาศักดิ์สิทธิ์ แล้วไม่ต้องการที่จะให้เป็นที่ดึงดูดชาวมุสลิม จึงทำให้[กาหลิบอัล-มาลิค]ไปสร้างสิ่งก่อสร้างบนเนินที่เห็นกันในขณะนี้[5]

ศาสตราจารย์ชโลโม โดฟ กอยไทน์ (Shlomo Dov Goitein) แห่งมหาวิทยาลัยฮิบรูกล่าวว่าโดมทองเป็นการก่อสร้างเพื่อเป็นการแข่งขันกับศาสนสถานของศาสนาอื่น ๆ ที่ตั้งเด่นอยู่ในเยรูซาเลมในขณะนั้น โดยเฉพาะการใช้โดมใหญ่ (rotunda) ที่ใช้ในการก่อสร้างโดมทอง (Qubbat as-Sakhra) ซึ่งเป็นลักษณะการก่อสร้างแบบใหม่สำหรับสถาปัตยกรรมอิสลามเป็นการสร้างเพื่อแข่งกับสิ่งก่อสร้างที่เป็นโดมของโบสถ์คริสต์[6] เอ.ซี. เครสเวลล์ตั้งข้อสังเกตในหนังสือ Origin of the plan of the Dome of the Rock (ที่มาของผังการก่อสร้างโดมแห่งศิลา) ว่าผู้สร้างโดมทองใช้การวัดสัดส่วนจากพระคูหาศักดิ์สิทธิ์ เส้นผ่าศูนย์กลางของโดมคือ 20 เมตร 20 เซนติเมตร และสูง 20เมตร 48 เซนติเมตร ขณะที่เส้นผ่าศูนย์กลางของโดมของพระคูหาศักดิ์สิทธิ์คือ 20 เมตร 90 เซนติเมตร และสูง 21 เมตร 5 เซนติเมตร มาร์ค ครินสันผู้เชี่ยวชาญทางสถาปัตยกรรมจักรวรรดินิยมมีความเห็นว่าโดมทองเป็น “ตัวอย่างของสิ่งก่อสร้างแบบเผยแพร่ลัทธิและแสดงอำนาจทางการเมืองที่ภายนอกตกแต่งด้วยคำจารึกของประมุขมุสลิมที่เข้ามาใหม่ที่จงใจให้เป็นที่เห็นโดยชาวคริสเตียนที่อยู่ในท้องถิ่น”[7]

ทรงสิ่งก่อสร้างเป็นแปดเหลี่ยมที่ตอนบนเป็นโดมไม้ที่ตั้งอยู่บนเสา 16 เสา[4] รอบโดมด้านล่างเป็นโค้งแปดเหลี่ยมที่รับโดยเสาอีก 24 เสา ระหว่างที่นักเขียนชาวอเมริกันมาร์ค เทวนท่องเที่ยวในเยรูซาเลมก็ได้เขียนบันทึกว่า:

ทุกหนทุกแห่งรอบมัสยิดแห่งโอมาร์เต็มไปด้วยชิ้นส่วนของเสา แท่นบูชาลักษณะแปลก และซากหินอ่อนที่แกะอย่างงดงาม - สิ่งที่มีคุณค่าจากพระวิหารโซโลมอน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ถูกขุดขึ้นมาจากระดับต่าง ๆ ของผิวดินและเศษขยะจากโมริยะห์ และชาวมุสลิมก็เก็บรักษาไว้ด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างดี[8]

ด้านนอกของโดมทองทำด้วยกระเบื้องเคลือบ[9] และสะท้อนทรงแปดเหลี่ยมของสิ่งก่อสร้าง แต่ละช่วงมีขนาดกว้าง 18 เมตร และสูง 11 เมตร ทั้งโดมและผนังมีหน้าต่างเป็นระยะ ๆ[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ""Drawings of Islamic Buildings: Dome of the Rock, Jerusalem."". Victoria and Albert Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (html)เมื่อ 2008-01-16. สืบค้นเมื่อ 2009-08-14. Until 1833 the Dome of the Rock had not been measured or drawn; according to Victor Wolfgang von Hagen, ‘no architect had ever sketched its architecture, no antiquarian had traced its interior design…’ On 13 November in that year, however, Frederick Catherwood dressed up as an Egyptian officer and accompanied by an Egyptian servant ‘of great courage and assurance’, entered the buildings of the mosque with his drawing materials … ‘During six weeks, I continued to investigate every part of the mosque and its precincts.’ Thus, Catherwood made the first complete survey of the Dome of the Rock, and paved the way for many other artists in subsequent years, such as William Harvey, Ernest Richmond and Carl Friedrich Heinrich Werner.
  2. Rizwi Faizer (1998). "The Shape of the Holy: Early Islamic Jerusalem". Rizwi's Bibliography for Medieval Islam. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2002-02-10. สืบค้นเมื่อ 2009-08-14.
  3. Abu-Bakr al-Wasiti, Fada'il Bayt al-Maqdis, pp. 80-81, vol 136
  4. 4.0 4.1 4.2 Encyclopædia Britannica: Dome of the Rock
  5. Shams al-Din al-Maqdisi, Ahsan al-Taqasim fi Mar'rifat al-Aqalim, 2nd ed. (Leiden, 1967) pp. 159-171
  6. Shlomo Dov Goitein; The Historication background of the erection of the Dome of the Rock, Journal of American Oriental Society, Vol. 70, No. 2, 1950
  7. Mark Crinson, Empire Building, Routledge,London, 1996, p.8
  8. Mark Twain, The Innocents Abroad, Chapter LIV เก็บถาวร 2007-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  9. Dome of the Rock, The. Glass Steel and Stone.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ โดมแห่งศิลา