ข้ามไปเนื้อหา

พระราชินีแห่งเชบา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชินีแห่งเชบา ภาพช่วงศตวรรษที่ 15

พระราชินีแห่งเชบา (อาหรับ: ملكة سبأ Malikat Sabaʾ, กีเอซ: ንግሥተ ሳባ Nigista Saba, ฮีบรู: 'מלכת שבא Malkat Shva) เป็นพระราชินีนาถที่ปรากฏในพระคัมภีร์ไบเบิลที่ว่าพระนางได้เสด็จไปเข้าเฝ้ากษัตริย์ซาโลมอน[1] ซึ่งเรื่องดังกล่าวได้แพร่หลายในหมู่ชาวยิว, อาหรับ และเอธิโอเปีย และกลายเป็นตำนานที่แพร่หลายที่สุดเรื่องหนึ่งของโลกตะวันออก[2] ตามคติชนยิวว่า พระราชินีแห่งเชบาทรงปกครองอียิปต์และเอธิโอเปียสลับกัน[3] บ้างก็ว่าเป็นกษัตริย์บุรุษเพศปกครองอาณาจักรเชบาแถบอาระเบียใต้ (ปัจจุบันคือบริเวณประเทศเยเมน)[2]

ในคติชนเอธิโอเปียว่า พระราชินีแห่งเชบาทรงมีสัมพันธ์สวาทกับกษัตริย์ซาโลมอน ดังปรากฏใน เกแบรแนแกสต์ (กีเอซ: ክብረ ነገሥት, kəbrä nägäst) อันเป็นวรรณกรรมของเอธิโอเปีย กล่าวถึงผลจากความสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้นางตั้งครรภ์มีพระหน่อประสูติกาลเป็นจักรพรรดิเมเนลิกที่ 1 จักรพรรดิพระองค์แรกแห่งเอธิโอเปีย[4]

ในศิลปะ

[แก้]

เรื่องราวของพระราชินีแห่งเชบาได้รับความนิยมในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี ดังปรากฏในงานศิลป์ อาทิ บานประตูของหอศีลจุ่มซันโจวันนี ผลงานของโลเรนโซ กีแบร์ตี, จิตรกรรมฝาผนังที่กัมโปซันโตโมนูเมนตาเล และห้องราฟาเอล ผลงานของเบนอซโซ กอซโซลี และในศตวรรษที่ 17 โกลด ลอแร (Claude Lorrain) ได้เขียนภาพ การเดินทางของพระราชินีแห่งเชบา (The Embarkation of the Queen of Sheba)[5]

นอกจากนี้เรื่องราวของนางยังได้รับการดัดแปลงเป็นวรรณกรรม, ภาพยนตร์ และเพลง เป็นต้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. สุทัศน์ ยกส้าน (9 กันยายน 2554). "อัศวประวัติ". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 E. Ullendorff (1991), "BILḲĪS", The Encyclopaedia of Islam, vol. 2 (2nd ed.), Brill, pp. 1219–1220
  3. Yosef Tobi (2007), "QUEEN OF SHEBA", Encyclopaedia Judaica, vol. 16 (2nd ed.), Gale, p. 765
  4. "อาณาจักรโบราณแห่งแอฟริกา (ตอนที่ 2: แหล่งอารยธรรมอักซุม)". กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ. 28 พฤศจิกายน 2554. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. Samuel Abramsky; S. David Sperling; Aaron Rothkoff; Haïm Zʾew Hirschberg; Bathja Bayer (2007), "SOLOMON", Encyclopaedia Judaica, vol. 18 (2nd ed.), Gale, pp. 755–763

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]