ข้ามไปเนื้อหา

รายพระนามพระมหากษัตริย์ลาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระมหากษัตริย์ลาว)

พระมหากษัตริย์ลาว (ลาว: ພຣະມະຫາກະສັຕຍ໌ລາວ) ลำดับกษัตริย์ลาว อ้างอิงตาม พงศาวดารหลวงพระบาง ชินกาลมาลีปกรณ์ และตำนานพระแก้วมรกต กรณีศักราชไม่ตรงกัน จะยึดตามตำนานพระแก้วมรกตเป็นหลัก

พระมหากษัตริย์
แห่งพระราชอาณาจักรลาว
ราชาธิปไตยในอดีต
ตราแผ่นดินราชอาณาจักรลาว

ปฐมกษัตริย์ ขุนลอ (ตามตำนาน)
พระเจ้าฟ้างุ้ม (ตามสากลนิยม)
องค์สุดท้าย สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา
สถานพำนัก หลวงพระบาง ราชอาณาจักรลาว
เริ่มระบอบ ราวพุทธศตวรรษที่ 13 (นครเชียงทอง)
พ.ศ. 1896 (ค.ศ.​ 1353) (ล้านช้าง)
สิ้นสุดระบอบ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975)
(622 ปี)
ผู้อ้างสิทธิ์ สมเด็จเจ้าฟ้าชายสุริวงศ์สว่าง

ขุนบรมราชาธิราช (พ.ศ. 1240 – 1293) ได้ย้ายจากหนองแส (เมืองหลวงของอาณาจักรน่านเจ้า) มาอยู่ที่ใหม่เรียกว่า นาน้อยอ้อยหนู (เมืองแถนหรือเมืองกาหลง) ปัจจุบันเรียกว่าเชียงรุ่งเขตสิบสองพันนา พร้อมทั้งขยายอาณาเขตออกไปโดยส่งโอรส 7 องค์ไปครองเมืองต่าง ๆ คือ

  1. ขุนลอ - ปกครองเมืองชวา(หลวงพระบาง)
  2. ท้าวผาล้าน - ปกครองเมืองหอแต(ต้าหอ)
  3. ท้าวจุลง - ปกครองเมืองโกดแท้แผนปม
  4. ท้าวคำผง - ปกครองเมืองเชียงใหม่
  5. ท้าวงั่วอิน - ปกครองเมืองศรีอยุธยา (ละโว้)
  6. ท้าวกม - ปกครองเมืองมอน (อินทรปัต)
  7. ท้าวเจือง - ปกครองเมืองพวน (เชียงขวาง)

นครเชียงทอง

[แก้]

ขุนลอ องค์ปฐมกษัตริย์ลาว ผู้ตั้งเมืองชวาเป็นราชธานีครั้งแรกเมื่อ (พ.ศ. 1300) และได้เปลี่ยนนามใหม่ว่า เมืองเชียงทอง มีกษัตริย์สืบต่อมา 16 ขุน 6 ท้าว จนมาถึงองค์ที่ 23 คือ พระยาลังธิราช

นครเชียงทอง
ลำดับ รายพระนาม ครองราชย์ (พ.ศ.)
1 ขุนลอ ราวพุทธศตวรรษที่ 13 - พ.ศ. 1323
2 ขุนชวา พ.ศ. 1323 จนสิ้นรัชกาล
3 ขุนชวาเลา ไม่ปรากฏ
4 ขุนสูง ไม่ปรากฏ
5 ขุนเค็ด ไม่ปรากฏ
6 ขุนคุม ไม่ปรากฏ
7 ขุนคีบ ไม่ปรากฏ
8 ขุนคบ ไม่ปรากฏ
9 ขุนเคา ไม่ปรากฏ
10 ขุนคาน ไม่ปรากฏ
11 ขุนแพง ไม่ปรากฏ
12 ขุนเพ็ง ไม่ปรากฏ
13 ขุนเพิง ไม่ปรากฏ
14 ขุนพี ไม่ปรากฏ
15 ขุนคำ ไม่ปรากฏ
16 ขุนฮุ่ง 1406 - ไม่ปรากฏ
17 ท้าวแท่นโม ไม่ปรากฏ
18 ท้าวยุง ไม่ปรากฏ
19 ท้าวเยิก ไม่ปรากฏ
20 ท้าวพิน ไม่ปรากฏ
21 ท้าวพาด ไม่ปรากฏ
22 ท้าวหว่าง ไม่ปรากฏ - 1814
23 พระยาลังธิราช 1814 - 1859
24 พระยาสุวรรณคำผง 1859 - 1887
25 เจ้าฟ้าเงี้ยว 1887 - 1894
26 เจ้าฟ้าคำเฮียว 1894 - 1896

อาณาจักรล้านช้าง

[แก้]

พระเจ้าฟ้างุ้มเป็นปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้าง [1] จนถึงรัชสมัยพระหน่อแก้วกุมารได้สิ้นสุดราชวงศ์ที่สืบมาแต่ขุนลอ เมื่อพระเจ้าวรวงศาธรรมิกราชได้ก่อตั้งราชวงศ์เจ้าวรวงศาปกครองล้านช้างกษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งอาณาจักรล้านช้างคือพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2

อาณาจักรล้านช้าง
ลำดับ รายพระนาม ครองราชย์ (พ.ศ.)
1 พระเจ้าฟ้างุ้ม 1896 - 1915
2 พระเจ้าสามแสนไท 1916 - 1959
3 พระยาล้านคำแดง (กษัตริย์หุ่น) 1959 - 1971
4 เจ้าพรหมทัต (กษัตริย์หุ่น) 1971 - 1972
5 เจ้าคำเต็มซ้า (กษัตริย์หุ่น) 1973
6 พระยาหมื่นบ้าน (กษัตริย์หุ่น) 1973
7 เจ้าไค้บัวบาน (กษัตริย์หุ่น) 1974 - 1977
8 เจ้าก้อนคำ (กษัตริย์หุ่น) 1978
9 เจ้ายุคล (กษัตริย์หุ่น) 1979
10 เจ้าคำเกิด (กษัตริย์หุ่น) 1979 - 1981
11 นางแก้วพิมพา หรือ พระมหาเทวีอามพัน 1981
12 พระเจ้าไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้ว 1981 - 2023
13 พระเจ้าสุวรรณบัลลังก์ 1981 - 2029
14 พระยาหล้าแสนไทไตรภูวนาถ 2029 - 2039
15 เจ้าชมพู 2039 - 2044
16 พระเจ้าวิชุลละราช 2044 - 2063
17 พระเจ้าโพธิศาละราช 2063 - 2090
18 เจ้ากิจธนวราธิราชหรือเจ้าท่าเรือ 2090 - 2091
19 สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช 2091 - 2114
20 พระยาแสนสุรินทร์ลือชัย 2114 - 2118
21 พระเจ้าศรีวรวงษาธิราช หรือ พระมหาอุปราชศรีวรวงษา 2118 - 2123
22 พระยาแสนสุรินทร์ลือชัย (ครั้งที่ 2) 2123 - 2125
23 พระยานครน้อย 2125 - 2126
24 พระหน่อเมือง (ประกาศอิสรภาพจากพม่า) 2134 - 2139
25 พระวรปิตา 2139 - 2140
26 พระเจ้าวรวงศาธรรมิกราช 2140 - 2165
27 พระอุปยุวราช 2165 - 2166
28 พระบัณฑิตโพธิศาละราช 2166 - 2170
29 พระหม่อมแก้ว 2170 - 2176
30 เจ้าวิชัย 2176 - 2179
31 เจ้าต่อนคำ 2179 - 2181
32 พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช 2181 - 2238
33 พระยาจันทสีหราช 2238
34 เจ้าองค์หล่อ 2239 - 2242
35 เจ้านันทราช 2242 - 2245
36 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 (พระไชยองค์เว้) 2241 - 2250

ยุคแตกแยกของอาณาจักรล้านช้าง

[แก้]

ราชอาณาจักรล้านช้าง ได้แตกออกเป็นอาณาจักรต่างๆ ได้แก่ อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ เป็นต้น

อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์
ลำดับ รายพระนาม ครองราชย์ สิ้นสุด หมายเหตุ
1 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2
(พระไชยองค์เว้)
พ.ศ. 2250 พ.ศ. 2273 พระราชนัดดาในพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช
2 เจ้าองค์ลอง พ.ศ. 2273 พ.ศ. 2283 พระราชโอรสในพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2
3 เจ้าอุปราช (ท้าวนอง) พ.ศ. 2283 พ.ศ. 2294 พระราชอนุชาในพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 เเละยังเป็นพระราชบิดาของพระวอพระตา เเห่งหนองบัวลุ่มภู
4 พระเจ้าสิริบุญสาร พ.ศ. 2294 พ.ศ. 2323 พระราชโอรสในเจ้าองค์ลอง
ตกเป็นประเทศราชแก่สยามในราวกลางปี พ.ศ. 2323[2] พระเจ้าศิริบุญสารหนีไปอยู่เมืองคำเกิด
สยามให้พระยาสุโภ รั้งเมืองเวียงจันทน์
4 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 3
(พระเจ้าสิริบุญสาร)
ธันวาคม

พ.ศ. 2323

พ.ศ. 2325 ราวเดือนธันวาคม พระเจ้าสิริบุญสารกลับจากเมืองคำเกิดกลับมาสังหารพระยาสุโภ แล้วครองเวียงจันทน์ตามเดิม[3]
5 พระเจ้านันทเสน พ.ศ. 2325 พ.ศ. 2337 พระราชโอรสในพระเจ้าสิริบุญสาร, ปีครองราชย์ตามพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา
6 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 4 พ.ศ. 2337 พ.ศ. 2348 พระราชอนุชาในพระเจ้านันทเสน, พระอัยกาในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
7 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 5
(เจ้าอนุวงศ์)
พ.ศ. 2348 พ.ศ. 2371 พระราชอนุชาในพระเจ้านันทเสนและพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 4, สิ้นวงศ์กษัตริย์เวียงจันทน์ หลังพระองค์พยายามแยกตัวเป็นอิสระจากสยามกรุงเทพฯ​ แต่ไม่สำเร็จ
อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์
ลำดับ รายพระนาม ครองราชย์ สิ้นสุด หมายเหตุ
1 พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร พ.ศ. 2256 พ.ศ. 2280 พระราชนัดดาของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช
2 พระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร พ.ศ. 2280 พ.ศ. 2334 พระราชโอรสในพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร เสียเอกราชแก่สยามในปี พ.ศ. 2322
3 พระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช
(เจ้าหน้า)
พ.ศ. 2334 20 สิงหาคม

พ.ศ. 2354[4]

พระโอรสพระวรราชปิตาแห่งหนองบัวลำภู เชื้อสายเจ้าอุปราชนองเมืองนครหลวงเวียงจันทน์ ได้เป็นเจ้าประเทศราชผู้ครองนครจำปาศักดิ์ในชั้นพระสุพรรณบัฏ โดยได้ความชอบในการปราบปรามกบฏอ้ายเชียงแก้ว พระอนุชาของพระปทุมววรราชสุริยวงษ (ท้าวคำผง) แห่งเมืองอุบลราชธานีศรีวะนาไลประเทษราช ในสมัยพระวิไชยฯ นี้เองเป็นเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ที่ได้รับพระราชทานจารึกพระนามเจ้าประเทศราชในชั้นพระสุพรรณบัฏ (สูงสุด) องค์สุดท้าย หลังจากนี้เจ้านครจำปาศักดิ์ถูกลดฐานะเจ้าผู้ครองนครลงมาเป็นเพียงชั้นหิรัญบัฏเเละสัญญาบัตร
4 เจ้านู ตุลาคม

พ.ศ. 2354

21 ตุลาคม[5]

พ.ศ. 2354

พระราชโอรสในพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร ถึงแก่พิราลัยหลังรับสัญญาบัตรเจ้าเมืองได้ 3 วัน
5 เจ้าหมาน้อย พ.ศ. 2356 พ.ศ. 2360 พระราชนัดดาในพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร
6 เจ้าราชบุตร (โย้) พ.ศ. 2362 พ.ศ. 2370 พระราชโอรสในเจ้าอนุวงศ์ ร่วมกับเจ้าอนุวงศ์ประกาศแยกตัวเป็นอิสระจากไทยในปี พ.ศ. 2369 - 2370
7 เจ้าฮุย พ.ศ. 2371 พ.ศ. 2383 พระราชนัดดาในพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร
8 เจ้านาค พ.ศ. 2384 พ.ศ. 2393 พระเชษฐาของเจ้าฮุย
9 เจ้าบัว พ.ศ. 2396 พ.ศ. 2398 หนังสือ ลำดับกษัตริย์ลาว ระบุว่า ยุคนี้ว่างเจ้าผู้ครองนคร 5 ปี (2394-98)
10 เจ้ายุติธรรมสุนทร (คำใหญ่) พ.ศ. 2399 พ.ศ. 2401 พระราชโอรสในเจ้าฮุย หลังถึงแก่พิราลัย เจ้าอุปราช (จู) รักษาราชการแทน
11 เจ้ายุติธรรมธร (คำสุก ณ จำปาศักดิ์) พ.ศ. 2405 พ.ศ. 2443 พระราชโอรสในเจ้าฮุย พระราชอนุชาในเจ้ายุติธรรมสุนทร (คำใหญ่)
12 เจ้ายุติธรรมธร (หยุย ณ จำปาศักดิ์) พ.ศ. 2443 พ.ศ. 2489 พระราชโอรสในเจ้ายุติธรรมธร (คำสุก ณ จำปาศักดิ์) หลัง พ.ศ. 2446 ฝรั่งเศสลดฐานะเป็นผู้ว่าราชการนครจำปาศักดิ์ ต่อมาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครจัมปาศักดิ์ ภายใต้การปกครองของไทย พ.ศ. 2484 - 2489
อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง
ลำดับ พระรูป รายพระนาม ครองราชย์ สิ้นสุด หมายเหตุ
1 เจ้ากิ่งกิสราช พ.ศ. 2246 พ.ศ. 2265 พระราชนัดดาในพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช
2 เจ้าองค์คำ พ.ศ. 2265 พ.ศ. 2266 พระราชโอรสในเจ้าอินทรกุมาร เชื้อสายกษัตริย์เมืองเชียงรุ้ง
3 เจ้าอินทโฉม พ.ศ. 2266 พ.ศ. 2292 พระราชอนุชาในเจ้ากิ่งกิสราช
4 เจ้าอินทพรหม พ.ศ. 2292 พ.ศ. 2293 พระราชโอรสในเจ้าอินทโฉม ครองราชย์ 8 เดือน จึงถวายราชสมบัติให้เจ้าโชติกะ
5 เจ้าโชติกะ พ.ศ. 2293 พ.ศ. 2314 พระเชษฐาองค์โตในเจ้าอินทพรหม
6 เจ้าสุริยวงศ์ พ.ศ. 2314 พ.ศ. 2334 พระราชอนุชาในเจ้าโชติกะ เสียเอกราชแก่สยามเมื่อปี พ.ศ. 2322
7 เจ้าอนุรุทธ พ.ศ. 2334 พ.ศ. 2359 พระราชโอรสองค์ที่ 2 ในเจ้าอินทโฉม พระเชษฐาในเจ้าสุริยวงศ์
8 เจ้ามันธาตุราช พ.ศ. 2359 พ.ศ. 2378 พระราชโอรสในเจ้าอนุรุทธ
9 เจ้าสุกเสริม พ.ศ. 2381 พ.ศ. 2393 พระราชโอรสในเจ้ามันธาตุราช
10 พระเจ้าจันทรเทพประภาคุณ
(เจ้าจันทราช)
พ.ศ. 2395 พ.ศ. 2414 พระราชอนุชาในเจ้าสุกเสริม
11 พระเจ้ามหินทรเทพนิภาธร
(เจ้าอุ่นคำ)
พ.ศ. 2415 พ.ศ. 2431 พระราชอนุชาในพระเจ้าจันทรเทพประภาคุณ พระราชโอรสในเจ้ามันธาตุราช, เกิดเหตุโจรจีนฮ่อยกทัพปล้นสะดมตามหัวเมืองลาวต่างๆ เป็นเวลาหลายปี เมืองหลวงพระบางถูกเผาจากเหตุการณ์ครั้งนี้, รัชกาลที่ 5 ทรงให้ออกจากตำแหน่งเจ้านครหลวงพระบาง ฐานหย่อนสมรรถภาพ และอยู่ในฐานะจางวางเจ้าประเทศราช, ถึงแก่พิราลัยใน พ.ศ. 2438
12 พระเจ้าสักรินทรฤทธิ์
(เจ้าคำสุก)
พ.ศ. 2432 พ.ศ. 2448 พระราชโอรสในพระเจ้ามหินทรเทพนิภาธร สมัยนี้ดินแดนลาวตกเป็นของฝรั่งเศส
13 พระเจ้าศรีสว่างวงศ์ พ.ศ. 2447 พ.ศ. 2488 พระราชโอรสในพระเจ้าสักรินทรฤทธิ์ หลัง พ.ศ. 2488 ทรงเปลี่ยนพระราชฐานะเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรลาว
พระราชอาณาจักรลาว
(ພຣະຣາຊອານາຈັກລາວ)
ลำดับ พระรูป รายพระนาม ครองราชย์ สิ้นสุด หมายเหตุ
1 พระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ พ.ศ. 2488 พ.ศ. 2502 ก่อนหน้านี้มีพระอิสริยยศเป็น พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง
2 พระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา
พ.ศ. 2502 พ.ศ. 2518 สละราชสมบัติ หลังพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเข้ากุมอำนาจรัฐสำเร็จ ต่อมาถูกส่งตัวไปค่ายสัมมนาที่เมืองเวียงชัย และเสด็จสวรรคตที่นั่น

ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ลาว

[แก้]
ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ลาว
ลำดับ พระรูป รายพระนาม ครองราชย์ สิ้นสุด หมายเหตุ
1 พระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา พ.ศ. 2518 พ.ศ. 2521?2527 อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ลาว หลังถูกถอดออกจากราชสมบัติ
2 สมเด็จเจ้าฟ้าชายมกุฎราชกุมารวงศ์สว่าง พ.ศ. 2521 พ.ศ. 2524
3 สมเด็จเจ้าฟ้าชายสุริวงศ์สว่าง พ.ศ. 2524 ปัจจุบัน พระโอรสในเจ้าฟ้าชายมกุฎราชกุมารวงศ์สว่าง

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.royalark.net/Laos/lanxang1.htm
  2. "พงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์ - วิกิซอร์ซ". th.wikisource.org.
  3. นางชาญสงคราม (แฉล้ม ชาลีจันทน์).พงศาวดารเมืองล้านช้าง และลำดับสกุลชาลีจันทร์ ราชตระกูลล้านช้างเวียงจันทน์.กรมศิลปากรเผยแพร่ไฟล์ดิจิตอล.พงศาวดารเมืองล้านช้าง.หน้า36
  4. หม่อมอมรวงศ์วิจิตร (ม.ร.ว.ปฐม คเนจร).2458.พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน.หน้า27
  5. หม่อมอมรวงศ์วิจิตร (ม.ร.ว.ปฐม คเนจร).2458.พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน.หน้า28
  • เติม วิภาคย์พจนกิจ. ประวัติศาสตร์อีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2546.
  • คำหมั้น วงกตรัตนะ,เจ้า.พงศาวดารชาติลาว. พิมพ์ครั้งที่ 2 .เวียงจันทน์:หอสมุดแห่งชาติ.1971.
  • สุรศักดิ์ ศรีสำอาง. ลำดับกษัตริย์ลาว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร. 2545.