ข้ามไปเนื้อหา

นางแก้วพิมพา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นางแก้วพิมพา
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งล้านช้าง
ครองราชย์ค.ศ. 1438
ราชาภิเษกค.ศ. 1438
ก่อนหน้าเจ้าคำเกิด
ถัดไปไร้ผู้ปกครอง
ประสูติค.ศ. 1343
สวรรคตค.ศ. 1438
ถูกประหารชีวิตที่ Pha Dieo เมืองซวา
คู่อภิเษกอำมาตย์เชียงลอง
พระรัชกาลนาม
สมเด็จพระยาสาธุเจ้าหญิงแก้วพิมพามหาเทวี (ສົມເດັຈພຣະຍາ ສາທຸເຈົ້າຍິງ ແກ້ວພິມພາ ມະຫາເທວີ)

พระมหาเทวีอามพัน หรือ พระนางแก้วพิมพา (ลาว: ນາງແກ້ວພິມພາ; ค.ศ. 1343–1438) เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งล้านช้างใน ค.ศ. 1438 พระนางยังเป็นที่รู้จักในตำแหน่งมหาเทวี และอาจเป็นพระประมุขหญิงองค์เดียวแห่งอาณาจักรล้านช้าง[1] พงศาวดารบางส่วนรายงานว่า พระนางขึ้นครองราชย์เพียงไม่กี่เดือนก่อนที่จะถูกถอดถอนและปลงพระชนม์ตอนมีพระชนมมายุ 95 พรรษา[1] รัชสมัยอันสั้นของพระนางเป็นจุดสูงสุดของช่วงเวลาสิบปีแห่งการปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ที่พระนางได้จัดฉากผ่านกษัตริย์หุ่นเชิดหลายพระองค์[1][2]

อัตลักษณ์ที่แท้จริงของ มหาเทวี ยังคงเป็นประเด็นพิพาททั้งในพระราชพงศาวดารยุคหลัง และในบรรดานักวิชาการปัจจุบัน[3] เธอได้รับการอธิบายว่าเป็นพระราชธิดาองค์โต[4] พระกนิษฐภคินี[5] พระมเหสีองค์หลัก[6] หรือพระวิมาดา (แม่เลี้ยง) ของพระเจ้าสามแสนไท[1][3] จากเบาะแสแน่นอนเพียงไม่กี่แห่งที่บอกถึงตัวตนของพระนาง ตำแหน่ง มหาเทวี สงวนไว้สำหรับราชินีองค์หลักของกษัตริย์ผู้ปกครองเท่านั้น[1][3] นักวิชาการ มาร์ติน สจวต-ฟอกซ์และ Amphay Dore ชี้ให้เห็นว่า ทั้งพระชนมพรรษาตอนถูกประหารชีวิตและตำแหน่ง มหาเทวี ระบุอัตลักษณ์ที่แท้จริงเป็น Keo Lot Fa แห่งอยุธยา สมเด็จพระราชินีของพระเจ้าฟ้างุ้ม ผู้ที่น่าจะถือครองตำแหน่ง มหาเทวี หลังพระนางแก้วเก็งยาสวรรคตใน ค.ศ. 1368 ไม่นานก่อนที่พระเจ้าฟ้างุ้มถูกถอดถอนใน ค.ศ. 1371[3] แม้ว่าตัวตนของพระนางยังคงเป็นปริศนา พระราชพงศาวดารหลายฉบับเห็นพ้องกันว่าพระนางเป็นผู้ปกครองโดยพฤตินัยในช่วงที่เกิดข้อพิพาทการสืบราชสมบัติอันโหดร้ายระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ในราชสำนัก ตั้งแต่การสวรรคตของพระยาล้านคำแดง จนถึงการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้ว[7][1][2][3][4][5][6]

ความขัดแย้งในราชสำนักและการสืบทอด

[แก้]

ช่วงระหว่าง ค.ศ. 1428 ถึง 1438 ในล้านช้าง เริ่มต้นตั้งแต่การสวรรคตก่อนวัยอันควรของพระยาล้านคำแดง เป็นช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์การสืบทอดราชสมบัติอันยาวนาน ซึ่งเกิดจากคู่แข่งฝ่ายต่าง ๆ ในราชสำนัก[7][1][2][5] พระราชพงศาวดารหลายฉบับมีความขัดแย้งในเรื่องลำดับเหตุการณ์ที่แน่นอน หรือแม้กระทั่งการครองราชย์ของพระมหากษัตริย์ที่แน่นอน[1][2] ในช่วงเวลาแห่งความสับสนนี้ มีพระมหากษัตริย์ 7 พระองค์ต้องสวรรคตติดต่อกัน ซึ่งเชื่อกันว่าพระมหาเทวีเป็นผู้จัดฉาก ดังนี้:[1]

ในช่วงดังกล่าวไม่เป็นที่กระจ่างว่ามีกลุ่มต่าง ๆ ในราชสำนักเท่าใด[2] ฝ่ายหนึ่งเป็นขุนนางเก่าจากเมืองซวาที่ต่อต้านพระเจ้าฟ้างุ้มตอนที่พระองค์รวบอำนาจปกครองใน ค.ศ. 1954 และสถาปนาอาณาจักรล้านช้างผ่านการพิชิตทางทหาร ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้สนับสนุนพระเจ้าฟ้างุ้มจากชาวลาวและเขมรในช่วงพิชิตดินแดนและต่อมาได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสำคัญภายในราชอาณาจักร และอีกฝ่ายหนึ่ง รวมถึงผู้มีอิทธิพลภายนอกจากอาณาจักรอยุธยาและล้านนา อาณาจักรคู่แข่งที่ได้ประโยชน์จากความอ่อนแอทางการเมืองภายในอาณาจักรล้านช้าง[1][2][3]

พระราชประวัติ

[แก้]

Le Boulanger ระบุไว้ใน Histoire du Laos Français ว่า มหาเทวี เป็นพระราชธิดาองค์โตในพระเจ้าสามแสนไท[4] สิลา วีระวงส์ นักประวัติศาสตร์ลาว เชื่อว่าพระนางเป็นพระกนิษฐภคินีของพระเจ้าสามแสนไท[5] Michel Oger โต้แย้งว่าพระนางเป็นพระมเหสีหลักของพระเจ้าสามแสนไท พระราชมารดาของพระยาล้านคำแดง[6] Amphay Dore และมาร์ติน สจวต-ฟอกซ์โต้แย้งว่าพระนางเป็น Keo Lot Fa พระราชินีของพระเจ้าฟ้างุ่ม ผู้เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1[3] ข้อมูลของแต่ละคนใช้พงศาวดารลาวในยุคหลังตามฉบับและการวิเคราะห์ที่แตกต่างกัน[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 Simms, Peter and Sanda (1999). The Kingdoms of Laos: Six Hundred Years of History. Surrey: Curzon Press. pp. 48–50. ISBN 9780700715312.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 Stuart-Fox, Martin (1998). The Lao Kingdom of Lan Xang: Rise and Decline. Bangkok: White Lotus Press. pp. 61–62. ISBN 9748434338.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 Stuart-Fox, Martin (1993). "Who was Maha Thevi?". Journal of the Siam Society. 81 (1): 103–108.
  4. 4.0 4.1 4.2 Le Boulanger, Paul (1930). "Histoire du Laos français. Essai d'une étude chronologique des principautés laotiennes". Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient. 30 (1): 423–430.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Viravong, Sila (1964). History of Laos. New York: Paragon Book Reprint Corp. pp. 41–43. ISBN 0685419630.
  6. 6.0 6.1 6.2 Oger, Michel (1972). "La Légende de Mahathevi". Bulletin des Amis du Royaume Lao. 7: 109.
  7. 7.0 7.1 René de Berval: Kingdom of Laos: the land of the million elephants and of the white parasol France-Asie, 1959 p.27

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • de Berval, Rene (1959). Kingdom of Laos: The Land of the Million Elephants and the White Parasol. Saigon: France-Asie.
  • Dore, Amphay (1987). Aux sources de la civilisation Lao: Contribution ethno-historique a a connaissance de la culture louang phrabanaise (Doctoral Thesis ed.). Paris: Cercle de la Culture et de Recherches Laotiennes.
  • Hoshino, Tatsuo (1986). Pour une histoire medievale du moyen Mekcong. Bangkok: Editions Duang Kamol. ISBN 9742104115.
  • Le Boulanger, Paul (1930). "Histoire du Laos français. Essai d'une étude chronologique des principautés laotiennes". Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient. 30 (1): 423–430.
  • Oger, Michel (1972). "La Iegende de Mahathevi". Bulletin des Amis du Royaume Lao. 7: 109.
  • Simms, Peter and Sanda (1999). The Kingdoms of Laos: Six Hundred Years of History. Curzon Press. ISBN 0-7007-1531-2.
  • Stuart-Fox, Martin (1993). "Who was Maha Thevi?". Siam Society Journal. 81.
  • Stuart-Fox, Martin (1998). The Lao Kingdom of Lan Xang: Rise and Decline. White Lotus Press. ISBN 974-8434-33-8.
  • Stuart-Fox, Martin (2006). Naga Cities of the Mekong: A Guide to the Temples, Legends, and History of Laos. Media Masters. ISBN 978-981-05-5923-6.
  • Stuart-Fox, Martin (2008). Historical Dictionary of Laos. The Scarecrow Press, Inc. ISBN 978-0-8108-5624-0.
  • Viravong, Sila (1964). History of Laos (trans.). New York: Paragon Book. ISBN 0-685-41963-0.
ก่อนหน้า นางแก้วพิมพา ถัดไป
เจ้าคำเกิด
กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้าง
(ค.ศ. 1438)
พระเจ้าไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้ว