ข้ามไปเนื้อหา

เจ้ากิ่งกิสราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้ากิ่งกิสราช

พระธรรมกิจล้านช้างร่มขาวบรมบพิตรราชธานีกรุงศรีสตนาคนหุต อุดมราชธานีบุรีรมย์ยมจักรพรรดิราชเจ้า
พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรหลวงพระบาง
ครองราชย์พ.ศ. 2246 - พ.ศ. 2265
รัชสมัย19 ปี
รัชกาลก่อนหน้าปราบดาภิเษก
รัชกาลถัดไปเจ้าองค์คำ
พระมเหสีหม่อมทุมมา หม่อมยึง หม่อมลิ
พระราชบุตรธิดา 3 องค์
พระนามเดิม
เจ้ากิ่งกิสราช
ราชวงศ์ราชวงศ์ล้านช้างหลวงพระบาง
พระราชบิดาเจ้าราชวงษ์
พระราชมารดาเจ้านางจันทรกุมารี

พระธรรมกิจล้านช้างร่มขาวบรมบพิตรราชธานีกรุงศรีสตนาคนหุต อุดมราชธานีบุรีรมย์ยมจักรพรรดิราชเจ้า มีพระนามเดิมว่า พระเจ้ากิ่งกิสราช เป็นพระราชโอรสของ เจ้าราชวงษ์ พระราชโอรสในพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช และเจ้านางจันทรกุมารี เป็นพระขนิษฐาในเจ้าอินทกุมาร เจ้าเมืองศรีฟ้าวาหะหัวขาว โดยเมืองศรีฟ้าวาหะหัวขาวเกิดการแย่งชิงบัลลังค์ขึ้น เจ้าอินทกุมารจึงได้อพยกไพล่พลมาขอลี้ภัยที่เมืองล้านช้าง และได้พาเจ้านางจันทรกุมารีมาด้วย เจ้าราชวงษ์มีใจประดิพัทธด้วยเจ้านางจันทรกุมารีจึงได้ขอเจ้านางจันทรกุมารีไปเป็นชายา ทรงมีพระราชโอรสด้วยกัน 2 พระองค์ คือ เจ้ากิ่งกิสราช และเจ้าอินทโฉม[1]

พระราชประวัติ

[แก้]

เจ้ากิ่งกิสราช เป็นโอรสของ เจ้าราชวงษ์ และ เจ้านางจันทรกุมารี ขนิษฐาใน เจ้าอินทกุมาร เจ้าเมืองศรีฟ้าวาหะหัวขาว หลังจากที่พระองค์ประสูติพระราชบิดาของพระองค์ลักลอบเป็นชู้ กับ พระชายาของพระอัยกา คือ พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช พระบิดาจึงถูกโทษประหาร เป็นเหตุให้ อาณาจักรล้านช้าง ขาดรัชทายาทที่ชัดเจน ขณะนั้น พระเจ้ากิ่งกิสราชและ เจ้าอินทโฉม ซึ่งเป็นพระราชนัดดาใน พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ทรงพระเยาว์อยู่มาก ทำให้เกิดความปั่นป่วนและแย่งชิงเชื้อพระวงศ์มาเป็นพวกตน บางองค์ได้หลบหนีออกนอกราชอาณาจักร การแย่งชิงราชสมบัติหลังการสวรรคตของ พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช นำไปสู่การแยกอาณาจักรล้านช้างเป็น 3 อาณาจักรในที่สุด

สถาปนาราชวงศ์ล้านช้างหลวงพระบาง

[แก้]

เมื่อสมเด็จพระพระอัยกา พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช สวรรคคตลง เจ้าอินทกุมาร พระปิตุลาของพระองค์ได้พาเจ้ากิ่งกิสราชและเจ้าอินทโฉมอพยกหนีไปยังเมืองเชียงแสน เหตุเพราะ พระไชยองค์เว้ หรือ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 ส่งท้าวนองมาตีเอาเมืองหลวงพระบางแล้วขึ้นรักษาเมืองแทน แต่บรรดาขุนนางเก่าไม่ยินยอมอยู่ใต้อำนาจการปกครองจึงพากันไปพึ่งเมืองเชียงแสน ล่วงมาปี พ.ศ. 2246 พระเจ้ากิ่งกิสราช จึงรวบรวมกำลังผู้คนจาก เมืองล่า เมืองพง และบรรดาหัวเมืองหลวงพระบาง มาตั้งเมืองเชียงขอม เพือเตรียมไปชิง เมืองหลวงพระบาง โดยได้รับการสนับสนุนจาก พระยาเมืองราชา เจ้าเมืองน่าน แต่เมือพม่าทราบข่าวว่า พระยาเมืองราชา เจ้าเมืองน่านนำทัพไปตีหลวงพระบางจึงถือโอกาสเข้ามาตีเมืองน่าน พระยาเมืองราชา เจ้าเมืองน่านไม่สามารถรับมือไม่ไหวเพราะไพล่พลน้อยจึงพาครอบครัวหนีไป ทำให้ศึกครั้งนี้พ่ายไป

เจ้ากิ่งกิสราชและเจ้าอินทโฉมได้หนีไปอยู่กับญาติองค์หนึ่งซึ่งเป็นเจ้าเมืองสิบสองปันนาชื่อ เจ้ากระหม่อมน้อย เกณฑ์กองทัพให้เจ้ากิ่งกิสราชและเจ้าอินทโฉมได้ 6000 นายจึงยกมาขับไล่ตีเอาเมืองคืนจาก ท้าวนอง ได้สำเร็จ[2] พระเจ้ากิ่งกิสราช ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระแผ่นดินเมืองหลวงพระบาง ทรงพระนามว่า "พระธรรมกิจล้านช้างร่มขาวบรมบพิตรราชธานีกรุงศรีสัตนาคนหุต อุดมราชธานีบุรีรมย์ยมจักรพรรดิราชเจ้า" ส่วน เจ้าองค์คำ เป็นอุปราช[3] และทรงส่งพระอนุชา เจ้าอินทโฉม ไปครองเมือง เชียงขอม

พระราชสันตติวงศ์

[แก้]

ครั้งทรงปราบดาภิเษกเป็นพระแผ่นดินเมืองหลวงพระบางขุนนางจึงนำบุตรีผู้มีตระกุลทั้งสามมาเป็นบาทบริจา 3 นาง ได้แก่[4]

อ้างอิง

[แก้]

พงศาวลี

[แก้]