ผู้ใช้:Stirz117/ทดลองเขียน10
รายชื่อการยิงเป้าจากการเผยแพร่ของอรรถยุทธพวงสุวรรณกับเนื้อหาที่โดเด่นไม่เพียงพอจะเป็นบทความ โดยเป็นไปตามผู้ใช้:Stirz117/บทความตามแผน
วาด ขุนจันทร์(อ้างอิงน้อย)
[แก้]วาด ขุนจันทร์ เป็นผู้ต้องโทษประหารชีวิตคนที่ 284 ของประเทศไทยด้วยการยิงเป้า ในความผิดฐานวางเพลิงบ้านพักคนงานก่อสร้างเพื่อสังหารหมู่ครอบครัวแก้วเกลี้ยงจนเป็นเหตุให้นางสาววันดี แก้วเกลี้ยง อายุ 16 ปี เสียชีวิต และนายจำนงค์ แก้วเกลี้ยง อายุ 40 ปี กับเด็กหญิง สายสุณี แก้วเกลี้ยง อายุ 13 ปี ได้รับบาดเจ็บสาหัส
วาด ขุนจันทร์ | |
---|---|
เกิด | พ.ศ 2517 ตำบลควนชะริส อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช |
เสียชีวิต | 19 กรกฎาคม พ.ศ.2542 (อายุ 25 ปี) เรือนจำกลางบางขวาง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย |
สาเหตุเสียชีวิต | ประหารชีวิตด้วยการยิง |
ชื่ออื่น | เขียว, จุล |
อาชีพ | คนงานก่อสร้าง |
สถานะทางคดี | ถูกประหารชีวิต |
เหตุจูงใจ | ล้างแค้น |
ข้อหา | วางเพลิงโรงเรือนที่คนอยู่อาศัยเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และกักขังหน่วงเหนี่ยวให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย |
บทลงโทษ | ประหารชีวิต |
รายละเอียด | |
วันที่ | 25 สิงหาคม พ.ศ.2538 |
ประเทศ | ประเทศไทย |
รัฐ | จังหวัดสงขลา |
ตำแหน่ง | หมู่บ้านวาสนาวิลเลส หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านพลุ อำเภอหาดใหญ่ |
เป้าหมาย | ครอบครัวแก้วเกลี้ยง |
ตาย | นางสาววันดี แก้วเกลี้ยง อายุ 16 ปี |
บาดเจ็บ | นายจำนงค์ แก้วเกลี้ยง อายุ 40 ปี เด็กหญิง สายสุณี แก้วเกลี้ยง อายุ 13 ปี |
วันที่ถูกจับ | 29 กันยายน พ.ศ.2538 |
ประัวิตอาชญกรรมก่อนหน้า
[แก้]วาด ขุนจันทร์เป็นชาวตำบลควนชะริส โดยเขาเคยถูกจับกุมในคดีกระทำผิดฐานบุกรุกและกระทำอนาจาร โดยถูกตัดสินจำคุก 2 ปี และถุกตัดสินจำคุก 2 เดือนฐานหลบหนีการควบคุม ก่อนจะพ้นโทษออกจากเรือนจำเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2538 หลังจากที่เขาพ้นโทษเขาได้ไปทำงานเป็นคนงานก่อสร้างที่หมู่บ้านจัดสรรในอำเภอหาดใหญ่ ทำให้เขารู้จักกับครอบครัวแก้วเกลี้ยง หลังจากที่เขาได้พบกับวันดี แก้วเกลี้ยวเขาก้รู้สึกชอบเธอจึงพยายามจีบ แต่เธอไม่ได้สนใจ ส่วนพ่อของเธอแสดงความรังเกียจวาด ทำให้เขาจึงเก็บความแค้นเอาไว้ ในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2538 วาดได้บุกเข้าไปในบ้านของวันดีซึ่งเธอไม่สบายทำให้ต้องนอนอยู่บ้าน วาดจึงใช้มีดจี้วันดีและได้ข่มขืนเธอจนสำเร็จความใคร่ไป 2 ครั้ง และสั่งวันดีว่าเรื่องที่ข่มขืนไปบอกใครอย่างเด็ดขาด แต่วันดีไม่เชื่อวาดและได้นำเรื่องดังกล่าวบอกพ่อของเธอพร้อมกับแจ้งความ วาดจึงส่งจดหมายมาข่มขู่วันดีว่า"เตือนแล้วไม่เชื่อก็อย่าอยู่ร่วมโลกกันอีกเลย" และเขาก็หาโอกาสล้างแค้นครอบครัวของวันดี
การก่อเหตุ
[แก้]วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2538 วาดได้วางแผนล้างแค้นครอบครัววันดีโดยการเผาให้หมดทั้งครอบครัว เขาจึงไปซื้อน้ำมันและเตรียมโซ่กับกุญแจเพื่อล็อกประตูห้อง หลังจากนั้นเขาได้ไปดื่มเหล้าเพื่อย้อมใจจนคนในครอบครัววันหลับทั้งหมด วาดจึงใช้กุญแจและโซ่ปิดทางออกก่อนจะใช้น้ำราดจนทั่วแล้วจุดไฟเผาก่อนจะหลบหนีไป หลังจากเกิดไฟไหม้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงต้องใช้เวลาควบคุมเพลิงเป็นเวา 1 ชั่วโมง โดยเจ้าหน้าที่สามารถช่วยเหลือจำนงค์กับสายสุณีได้ แต่ไม่สามารถช่วยเหลือวันดีได้ หลังจากควบลคุมเพลิงได้พบว่าบ้านพักคนงานก่อสร้างถูกเผาไป 11 ห้องและพบศพของันดีในที่เกิดเหตุ จากการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจทำให้ทราบชื่อผู้ก่อเหตุคืนวาด ขุนจันทร์
การจับกุม การพิจารณาคดีแและการประหารชีวิต
[แก้]วาดถูกจับกุมเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2538 โดยวาดได้ปฎิเสธทุกข้อกล่าวหาในชั้นสืบสวน ต่อมาศาลจังหวัดสงขลาได้ตัดสินประหารชีวิตวาด และเชื่อว่าวาดได้กระทำผิดจริงตามฟ้อง และมีพฤติการณ์ที่โหดเหี้ยมอำมหิต ตั้งใจที่จะฆ่าคนให้ตายอย่างทรมาน โดยการปิดล็อกประตูห้องซึ่งเป็นทางออก แล้วทำการจุดไฟเพื่อวางเพลิงเผาบ้านในขณะที่มีคนนอนหลับอยู่ข้างใน จนมีคนตายและบาดเจ็บสาหัส อีกทั้งยังได้เคยกระทำการข่มขืนผู้ตายอีก เมื่อผู้ตายแจ้งความเอาผิด ยังได้เคยกระทำการข่มขู่อาฆาตผู้ตาย โดยการเขียนจดหมายมาข่มขู่อีกด้วย และยังได้เคยก่อเหตุลักษณะเดียวกันนี้มาก่อน จนถูกตัดสินลงโทษให้จำคุกมาแล้ว แต่เมื่อพ้นโทษออกมาได้ไม่นาน กลับมาก่อเหตุซ้ำขึ้นอีก แสดงว่าไม่มีความหลาบจำต่อโทษทัณฑ์ที่ได้รับ ไม่ยำเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง มีสันดานเป็นผู้ร้ายก่อเหตุซ้ำซ้อน เจตนาที่จะฆ่าได้แม้กระทั่งผู้หญิงและเด็กซึ่งไม่มีทางต่อสู้ เห็นควรให้ลงโทษขั้นสูงสุด คือประหารชีวิต ต่อมาวาดถูกศาลอุทธรณ์แต่เขาไม่ยื่นฎีกาประหารชีวิต เขาทำหนังสือถวายฎีกาทูลเกล้าเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ฎีกาดังกล่าวก็ถูกยก
วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2542 เวลา 16.00น. วาดถูกเบิดตัวจากห้องขังในแดน 1 เพื่อนำตัวไปประหารชีวิต ในระหว่างการเบิกตัววาดมีอาการตัวสั่นและหน้าซีดพร้อมกับขอตัวไปเข้าห้องน้ำก่อน เมื่อนำตัววาดออกจากห้องขังเขามีอาการเข่าอ่อนทำให้ต้องพยุงตัวมายังหมวดผู้ช่วยเหลือ เพื่อตรวจสอบประวัติบุคคลและพิมพ์ลายนิ้วมือนักโทษ หลังจากที่เจ้าหน้าที่พิมพ์ลายนิ้วมือเสร็จ เวรผู้ใหญ่ได้เข้ามาทำการอ่านคำสั่งจากสำนักนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้นได้ให้ทำพินัยกรรมและเขียนจดหมายตามสะดวก เขาได้เขียนจดหมายมีใจความว่า “ลูกหมดเวรกรรมที่ได้ก่อมาแล้ว ขอฝากให้น้องๆช่วยกันดูแลพ่อแม่ด้วย” วาดได้ขออาหารมื้อสุดท้ายเป็นแกงไตปลากับข้าวเหนียวสังขยา เจ้าหน้าที่ราชฑัณฑ์คนหนึ่งซึ่งมาดูนักโทษประหารทั้งสามคนได้ยกกับข้าวมื้อเย็นซึ่งประกอบดด้วยแกงไตปลาและข้าวเหนียวสังขยา วาดจึงกล่าวขอบคุณและกินอาหารจนหมด โดยวาดได้กล่าวว่า “คนใต้อย่างผม แกงไตปลาถือว่าเป็นอาหารโปรดที่สุด ขอขอบคุณทุกคนมากครับ” วาดถูกประหารชีวิตเมื่อเวลา 17.05 น. โดยใช้กระสุนจำนวน 9 นัด เชาวเรศน์ จารุบุณย์เป็นเพชณฆาต หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้นำตัวของเก้า ปั้นหยัด นักโทษปะหารในคดีฆ่าข่มขืนเด็กหญิงอายุ 10 ขวบ ที่จังหวัดนครปฐม เข้าสู่ห้องประหารเป็นคนที่ 2 หลังจากนั้นประหารชีวิตเก้าได้นำตัวของอุทัย กัญชนะกาญจน์ มือปืนรับจ้าง มาประหารชีวิตเป็นคนสุดท้าย
ก่อนหน้า เดชา สุวรรณสุก |
บุคคลที่ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าในประเทศไทย วาด ขุนจันทร์ , เก้า ปั้นหยัด และ อุทัย กัญชนะกาญน์ |
ถัดไป นพดล แขกเต้า |
อุทัย กัญชนะกาญจน์
[แก้]อุทัย กัญชนะกาญจน์ | |
---|---|
เกิด | พ.ศ. 2504 ป. จังหวัดนครศรีธรรมราช |
เสียชีวิต | 19 กรกฎาคม พ.ศ.2542 (อายุ 38 ปี) เรือนจำกลางบางขวาง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย |
สาเหตุเสียชีวิต | ประหารชีวิตด้วยการยิง |
ชื่ออื่น | ชื่อ:อนุรักษ์,ทัย สกุล:กัญชนะกาญจน์,กัญจนกาญจน์ |
อาชีพ | มือปืนรับจ้าง |
สถานะทางคดี | ถูกประหารชีวิต |
ข้อหา | ฆ่าคนตายโดยเจตนา (2525) ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน (2 กระทง) (2535) |
บทลงโทษ | ไม่ทราบลดโทษเหลือจำคุกน้อยกว่า 7 ปี (ติดจริง 7 ปี) (2525) ประหารชีวิต (2535) |
รายละเอียด | |
ผู้เสียหาย | 5 (ถูกพิจารณาคดี) 8+ (รวมคดีที่ถูกอายัดไว้) 50+ (กล่าวอ้าง) |
ระยะเวลาอาชญากรรม | ประมาณพ.ศ. 2520–20 พฤษภาคม พ.ศ.2535 |
ประเทศ | ประเทศไทย |
รัฐ | จังหวัดนครศรีธรรมราช (ถูกตัดสิน) จังหวัดระนอง (ถูกตัดสิน) |
ตำแหน่ง | ภาคใต้ของประเทศไทย |
อาวุธ | ปืน |
วันที่ถูกจับ | 20 พฤษภาคม พ.ศ.2535 (เป็นครั้งสุดท้าย) |
อุทัย กัญชนะกาญจน์ เป็นมือปืนรับจ้างและผู้ต้องโทษประหารชีวิตคนที่ 286 ของประเทศไทยด้วยการยิงเป้า ในความผิดฐานจากยิงนายเอียด พรหมนุชจนเสียชีวิต ที่อำเภอกระบุรี เมื่อวันที่20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 และถูกศาลชั้นต้นตัดสินประหารชีวิตในคดีฆาตกรรมในพื้นที่สถานีภูธรราชกรูด อำเภอเมืองระนอง แต่เขาถูกยกฎีกาและประหารชีวิตจากคดีฆาตกรรมที่อำเภอกระบุรี โดยเขายังมีคดีฆาตกรรมที่ถูกอายัดเอาไว้แล้วยังไม่ได้ฟ้องอีกอย่างน้อย 3 คดี ก่อนการประหารชีวิตเขายังอ้างว่าเขาฆ่ามาคนมาอย่างน้อย 50 ศพ
ประวัติ
[แก้]ในช่วงวัยรุ่นอุทัยได้มีเรื่องกับกลุ่มวัยรุ่น และเขาได้ก่อเหตุฆาตกรรมวัยรุ่นคนหนึ่งระหว่างการทะเลาะวิวาท เขาจึงหนีการจับกุมของตำรวจไปอยู่กับผู้ใหญ่คนหนึ่ง ซึ่งผู้ใหญ่คนดังกล่าวให้ความช่วยเหลือเขามาโดยตลอด เนื่องจากผู้ใหญ่คนดังกล่าวมีศัตรูมาก เขาจึงรับงานฆ่าเพื่อตอบแทนบุญคุณ ในบางครั้งผู้ใหญ่ได้มอบหมายงานนอกให้ทำ ซึ่งเขาได้ทำงานฆ๋าสำเร็จทำครั้งโดยไม่เคยพลาดเลย จนกระทั่งเขามือชื่อเสียงโด่งดังในวงการมือปืน ต่อมาผู้ใหญ่คนดังกล่าวถูกยิงเสียชีวิตทำให้เขาไร้ที่พึ่งพิงและถูกตำรวจับกุมในปีพ.ศ.2525 ก่อนจะถูกศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชตัดสินในคดีฆ่าคนตาย 3 คดี และพ้นโทษออกจากเรือนจำเมื่อ 25 ตุลาคม พ.ศ.2532 หลังจากพ้นโทษเขาได้ไปทำงานให้ซุ้มมือปืนชื่อดังในภาคใต้ และรับงานฆ่าคนหลายคนโดยในบางครั้งได้รับค่าจ้างสูงถึง 1 ล้านบาท และยังมีหมายจับในคดีฆาตกรรมที่ตำบลราชกรูด
เหตุฆาตกรรมเอียด พรหมนุช
[แก้]วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ได้มีรถกระบะยี่ห้อนิสสันสีดำจอดรอเอียด พรหมนุชที่ร้านกาแฟในตลาดทับหลี ได้มีชายคนหนึ่งเข้ามานั่งรอเอียดในร้านกาแฟ เมื่อเอียดเดินทางมาถึง ชายคนดังกล่าวจึงทำท่าคล้ายจะชักอาวุธออกจากหน้าท้อง ส่งผลให้ให้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจคนหนึ่งเห็นความผิดปกติจึงได้วิทยุขอกำลังมาตรวจสอบชายคนดังกล่าว แต่ชายคนดังกล่าวไหวตัวทันและหลบหนีขึ้นรถไป วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2535 ระหว่างที่เอียดกำลังขับรถจักรยานยนต์ถนนเพชรเกษม ที่อำเภอกระบุรี ได้มีชาย 2 คน ขับรถจักรยานยนต์ซ้อนท้ายขับรถเข้าประกบรถของเอียด ก่อนที่ชายคนซ้อนท้ายจะใช้ปืนจ่อยิงเอียดจนเสียชีวิต แล้วขับรถจักรยานยนต์ออกจากจากที่เกิดเหตุ ก่อนจะเปลี่ยนไปขับรถกระบะยี่ห้อนิสสันสีดำซึ่งไม่ติดทะเบียนหลบหนีไป ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถหยุดรถกระบะคันดังกล่าวที่ถนนเพชรเกษมขณะมุ่งหน้าไปยังจังหวัดชุมพร โดยพบแผ่นทะเบียนซ่อนอยู่ใต้ที่นั่งและอุทัย กัญชนะกาญน์ กับนายศรีพัฒน์ กัญชนะกาญน์ อยู่บนรถยนต์ ซึ่งเขากับศรีพัฒน์ได้ปฎิเสธว่าไม่มีส่วนร่วมกับการฆาตกรรม ก่อนนำนำตัวของทั้งสองไปยังสถานีตำรวจและนำพยานมาชี้ตัว จากการสอบสวนทราบว่าเอียดมีหน้าที่ดูแลบ่อนการพนันในประเทศพม่าให้นายแก้ว ข้าราชการอำเภอกระบุรี ต่อมานายสุขสวัสดิ์ ข้าราชการของอำเภอกระบุรีอีกคน ได้เปิดบ่อนการพนันขึ้นในประเทศพม่าเช่นกัน แต่สู้บ่อนที่เอียดดูแลอยู่ไม่ได้ จึงขอร้องในายประเทืองบอกนายแก้วให้ปิดบ่อนการพนัน เพื่อให้ลูกค้าเข้ามาเล่นที่บ่อนแห่งใหม่ แต่ก็นายแก้วถูกปฎิเสธ
การพิจารณาคดีและการประหารชีวิต
[แก้]ศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องศรีพัฒน์และอุทัยในคดีฆาตกรรมเอียด และทั้งคู่ยังคงถูกฝากขังที่เรือนจำจังหวัดระนอง ต่อมาพนักงานอัยการจังหวัดระนองได้ศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้พิพากษาประหารชีวิตอุทัย ส่วนศรีพัฒน์พิพากษษยืนยกฟ้อง และย้ายตัวอุทัยจากเรือนจำจังหวัดระนองไปเรือนจำกลางบางขวาง เขาจึงยื่นฎีกา แต่ศาลฏีกาพิพากษายืนประหารชีวิต ส่วนคดีฆาตกรรมในพื้นที่สถานีตำรวจภูธรราชกรูดเขาถูกตัดสินประหารชีวิตแต่คดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีในชั้นอุทธรณ์ ส่วนคดีอื่นๆถูกอายัดไว้ไม่ได้ฟ้อง เขาจึงทำหนังสือถวายฎีกาทูลเกล้าขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ฎีกาดังกล่าวก็ถูกยก
วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2542 เจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงได้เบิกตัวของอุทัย, เก้า ปั้นหยัด นักโทษประหารในคดีฆ่าข่มขืนเด็กหญิงอายุ 10 ขวบ ที่จังหวัดนครปฐม และ วาด ขุนจันทร์ ในคดีวางเพลิงบ้านพักคนงานก่อสร้างที่จังหวัดสงขลา เพื่อล้างแค้นเนื่องจากผู้เสียหายนำเรื่องที่ถูกข่มขืนไปแจ้งความ จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 1 คน และบาดเจ็บสาหัส 2 คน ระหว่างการเบิกตัวอุทัยได้มีสีหน้ายิ้มแย้มและสามารถเดินได้ตามปกติ เมื่อนำตัวเขามาถึงหมวดผู้ช่วยเหลือเพื่อพิมพ์ลายนิ้วมือและตรวจสอบประวัติอาชญกรรม ระหว่างการพิมพ์ลายนิ้วมือได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจถามอุทัยว่า “คุณอุทัย คุณถูกตัดสินประหารชีวิตถึง 2 คดีเชียวหรือ แล้วรู้สึกว่าจะมีคดีอายัดอีกตั้งหลายคดี” อุทัยตอบว่า “ใช่ครับ ผมถูกตัดสินมาถึงสองประหาร แล้วยังมีคดีอายัดที่ยังไม่ได้ฟ้องอีก ถ้ารอให้ตัดสินหมดทุกคดี ผมคงจะมีถึง 5 หรือ 6 ประหารเป็นอย่างต่ำ ก็ผมเป็นมือปืนอาชีพนี่ครับ” เมื่อพี่เลี้ยงได้ถามเขาว่า “อุทัยเคยฆ่าคนมาแล้วกี่ศพพอจะจำได้ไหม” ้ เขาตอบว่า “เท่าที่ผมพอจะจำได้คิดว่าไม่ต่ำกว่า 50 ศพ บางคดีเรื่องก็เงียบไปเลย บางคดีตำรวจตามเต็มที่ ผมทำคดีดังๆมาเยอะ งานมันง่ายเงินก็ดี แค่เดินเข้าไปหาเหยื่อแล้วกดโป้งเข้าให้ เสร็จแล้วเก็บตัวสักพักรอเรื่องเงียบ ค่อยออกมาใช้เงินอย่างสบายใจ มือปืนอาชีพอย่างพวกผม ไปหลบอยู่ที่ไหนก็มีผู้ใหญ่คอยช่วยเหลือดูแลตลอดแหละครับ ถ้าไม่พลาดซะอย่างตำรวจทำอะไรไม่ได้ง่ายๆหรอกครับ”
เขาได้อ้างว่าเขาไม่ได้ก่อคดีฆ่าเอียด แต่ก่อคดีฆาตกรรมที่ตำบลราชกรูด ซึ่งในระหว่างเกิดเหตุเขาอยู๋บริเวณจังหวัดระนอง โดยเขาไปรับงานยิงคนอีกคนแต่ยังไม่ได้ก่อเหตุ เมื่อเกิดเหตุพยานได้บอกรูปพรรณสัณฐานของมือปืนให้ตำรวจฟัง ทำให้ตำรวจคิดว่าเป็นเขาเพราะคนร้ายที่ฆ่าเอียดมีรูปร่างคล้ายกับเขา และสามารถจับตัวเขากับศรีพัฒน์ทั้งที่บนรถไม่มีหลักฐาน เขากับศรีพัฒน์จึงปฎิเสธข้อกล่าวหาไป ส่วนคนที่ฆาตกรรมเอียดถูกตัดสินขำคุกตลาดชีวิตจากคดีที่ไม่ได้ก่อ และถูกคุมขังที่แดน 2 ของเรือนจำกลางบางขวาง อทุยได้กล่าวเสริมว่า"แต่ถ้ามาเปรียบเทียบดูแล้ว ระหว่างชีวิตคนที่ผมฆ่าตั้ง 50 กว่าศพ ส่วนผมแค่ชีวิตเดียวเท่านั้น ผมว่าผมคุ้มมากๆ ผมตายแค่ครั้งเดียวเท่านั้นจะกลัวอะไร ถ้าคดีนี้ไม่ประหารผม คดีอื่นก็ต้องประหารผมอยู่ดีแหละครับ"
พี่เลี้ยงคนดังกล่าวจึงถามว่า “อุทัยฆ่าคนมามากขนาดนี้ไม่กลัวบาปกรรมบ้างหรือ” เขาหัวเราะแล้วตอบว่า “บาปหน้าตาเป็นยังไงหรือครับ ผมเองก็นับถือพุทธ แต่ผมไม่เชื่อเรื่องนรกสวรรค์อะไรหรอกครับ คนตายไปแล้วก็เป็นอันสิ้นสุด ไม่มีใครย้อนกลับมาเกิดใหม่ได้หรอกครับ ที่จริงคนที่ผมฆ่าบางคน เลวยิ่งกว่าอะไรทั้งนั้น สิ่งไหนที่ผิดกฎหมายมันเอาหมด บางคนต่อหน้าทำตัวดูเป็นนักบุญ แต่เบื้องหลังมันค้าทั้งยา ค้าผู้หญิง บ่อนซ่องเป็นของมันหมด เวลาผมยิงกบาลมัน เห็นสมองมันกระจาย ผมรู้สึกสะใจดีพิลึกครับ เวลาตายมันก็นอนตายเหมือนหมา ไม่เห็นมันจะมีอะไรพิเศษกว่าคนอื่น ผมยังไม่เคยเห็นผีคนที่ผมฆ่ามาหาผมสักที ไม่มีหรอกครับเรื่องบาปกรรม คนเราสมมุติกันขึ้นมาเองมากกว่า ถ้าคนตายแล้วเกิดใหม่ได้ ป่านนี้คนล้นโลกไปแล้วละครับเชื่อผมเถอะ” หลังจากพิมพ์ลายนิ้วมือ เวรผู้ใหญ่ได้เข้ามาอ่านคำสั่งจากสำนักนายกรัฐมนตรีและให้เซ็นทราบในคำสั่งนั้นตามระเบียบ หลังจากนั้นให้ทำพินัยกรรมและเขียนจดหมาย เขาได้เขียนจดหมายถึงพ่อแม่โดยมีใจความว่า “เมื่อพ่อและแม่ได้อ่านจดหมายฉบับนี้ ลูกได้จากโลกนี้ไปแล้ว ขอให้พ่อและแม่ดูแลตัวเองให้ดี ลูกขอลาก่อน ลูกทำผิดมามาก สมควรแล้วที่จะต้องมาถูกประหาร ขอให้พ่อและแม่มาจัดการเรื่องศพของลูกด้วย” หลังจากเขียนจดหมาย เขาปฎิเสธอาหารมื้อสุดท้ายและดื่มน้ำเย็นเท่านั้น ถัดจากนั้นจึงนำทั้งหมดไปฟังเทศนาธรรมจากพระสงฆ์ทุกคนได้ตั้งใจฟังอย่างสงบ หลังจากนั้นได้นำตัววาดไปประหารชีวิตก่อน แล้วนำตัวเก้าไปประหารชีวิตต่อเป็นคนที่ 2 ก่อนจะนำตัวของเขามาประหารชีวิตเป็นคนสุดท้าย
ในระหว่างที่ผูกมัดอุทัยกับหลักประหารอุทัยได้พูดกับอรรถยุทธ พวงสุวรรณ ซึ่งเป็นพี่เลี้ยงนักโทษประหารว่าว่า “ช่วยเร่งให้เสร็จเร็วๆหน่อยเถอะครับ จะได้ตายให้สิ้นเรื่องสิ้นราวไปสักที” อรรถยุทธตอบว่า “นึกถึงพระไว้นะอุทัย” เขาพูดว่า “ครับหัวหน้า ผมแค่ชีวิตเดียวเท่านั้น คุ้มเหลือเกินครับ” อุทัยถูกประารีชวิตเมื่อเวลา 18.23 น. ใช้กระสุนจำนวน 8 นัด โดยเพชรฆาตเชาวเรศน์ จารุบุณย์ และเป็นบุคคลที่ 287 ที่ถูกประหารชีวิตโดยประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478
ก่อนหน้า เดชา สุวรรณสุก |
บุคคลที่ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าในประเทศไทย วาด ขุนจันทร์ , เก้า ปั้นหยัด และ อุทัย กัญชนะกาญน์ |
ถัดไป นพดล แขกเต้า |
อาหารมื้อสุดท้ายของนักโทษในไทย
[แก้]ชื่อ | อาชญกรรม | ศาล | ปี | วิธีการประหารชีวิต | อาหารมื้อสุดท้าย |
---|---|---|---|---|---|
ฉลาด หิรัญศิริ | บ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน,ร่วมกันเป็นตัวการสำคัญในการสะสมกำลังพลและอาวุธเพื่อเป็นกบฎ, ฆ่าเจ้าพนักงานโดยทารุณโหดร้าย | ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี | 2520 | ยิงเป้า | น้ำส้ม 1 ขวด |
คำพูดก่อนประหาร
[แก้]ชื่อ | อาชญกรรม | ศาล | ปี | วิธีการประหารชีวิต | คำพูด |
---|---|---|---|---|---|
ณ เณร ตาละลักษมณ์ | กบฎ | ศาลพิเศษ | 2482 | ยิงเป้า | เมื่อยเต็มที เมื่อไหร่จะยิง |
ครอง จันดาวงศ์ | บ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร | ประหารตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี(สกลนคร) | 2504 | ยิงเป้าเป็นชุด | ของผมยังดีอยู่ จะยิงก็ยิงเร็วๆ เถอะ |
ฉลาด หิรัญศิริ | บ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน,ร่วมกันเป็นตัวการสำคัญในการสะสมกำลังพลและอาวุธเพื่อเป็นกบฎ, ฆ่าเจ้าพนักงานโดยทารุณโหดร้าย | ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี | 2520 | ยิงเป้า | ถ้าพร้อมแล้วบอกนะ |
กิ่งแก้ว ลอสูงเนิน | ลักพาตัวเด็กเพื่อเรียกค่าไถ่, ฆ่าคนตายโดยเจตนา | ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี | 2522 | ยิงเป้า | หาหมอ หาหมอ |
สมศักดิ์ พรนารายณ์ | ฆ่าผู้อื่นโดยกระทำทารุณโหดร้ายเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน,ข่มขืนกระทำชำเรา | เลย | 2542 | ยิงเป้า | ครับหัวหน้า |
สำรวย โตสุข | ลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | สิงห์บุรี | 2542 | ยิงเป้า | ทำไมผูกแน่นจังเลย ผมจะหายใจไม่ออกแล้ว |
เดชา สุวรรณสุก | ข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบสามปีจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย และฆ่าผู้อื่นโดยกระทำทารุณโหดร้ายหรือทรมาน | มีนบุรี | 2542 | ยิงเป้า | ผมขออโหสิกรรมให้ทุกคน รวมทั้งตำรวจที่มาจับกุมผมด้วย ผมไม่ขอมีเวรกรรมกับใครอีก แต่ผมขอยืนยันครั้งสุดท้ายว่าไม่ได้ทำน้องนุ่น |
วาด ขุนจันทร์ | ข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบสามปีจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย และฆ่าผู้อื่นโดยกระทำทารุณโหดร้ายหรือทรมาน | สงขลา | 2542 | ยิงเป้า | ผมกลัวจังเลยครับหัวหน้า อย่าให้ผมต้องทรมานนะครับ |
อุทัย กัญชนะกาญจน์ | ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน | ระนอง | 2542 | ยิงเป้า | ครับหัวหน้า ผมแค่ชีวิตเดียวเท่านั้น คุ้มเหลือเกินครับ |
นพดล แขกเต้า | ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน | สุราษฎร์ธานี | 2542 | ยิงเป้า | หัวหน้าต้องโทรให้ได้ภายในวันนี้นะครับ บอกด้วยว่าผมคิดถึงบ้านคิดถึงทุกคนผมอยากกลับบ้าน อย่าลืมมารับผมกลับบ้านด้วย หลังจากที่ถูกยิงชุดแรกนพดลไม่เสียชีวิตจากการยิงชุดแรกและส่งเสียงร้อง |
สุรศักดิ์ ยิคซัง | ฆ่าผู้อื่นเพื่อจะเอา หรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่ตนได้กระทำความผิดอื่น เพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน หรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้, ชิงทรัพย์จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และพยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย | กาญจนบุรี | 2542 | ยิงเป้า | โอย โอย ปวดเหลือเกิน โอย (สุรศักดิ์หลังจากถูกยิงชุดแรกซึ่งเขาต้องยิงถึง 3 ชุดจึงจะเสียชีวิต) |
สมพร เชยชื่นจิตร | ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน | ตรัง | 2542 | ยิงเป้า | ต้องขอโทษหัวหน้าด้วยครับที่ต้องช่วยกันหิ้วปีกผมมา ผมพยายามทำใจให้เข้มแข็งแล้ว แต่จู่ๆขาของผมมันอ่อนทรุดลงไปเอง รีบๆยิงผมเถอะครับ ผมเสียวเหลือเกิน เอาให้ตายทันทีเลยนะครับ ผมไม่อยากทรมาน ผมขออโหสิกรรมให้หัวหน้าทุกคนครับ |
สมัย ปานอินทร์ | ผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เพื่อจำหน่าย | อาญากรุงเทพ | 2542 | ยิงเป้า | จะให้ท่องในใจใช่ไหม ได้ตกลง |
ประยุทธ์ ผลพันธ์ | ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน | พัทลุง | 2542 | ยิงเป้า | ปอยโว้ย ผู้หญิงได้ไปรอเราอยู่แล้ว เราตาม… |
ตะปอยโฮ | ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อจะเอา หรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่ตนได้กระทำความผิดอื่น เพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน หรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้ | สีคิ้ว | 2542 | ยิงเป้า | ขอให้หัวหน้าโชคดีมีเงินมากๆผมขอลาก่อน |
ลี ยวน กวง | ร่วมกันครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตและมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัมขึ้นไป | อาญากรุงเทพ | 2544 | ยิงเป้า | ผงซี้เลี้ยวทังบุงให้ล่วย |
บุญเกิด จิตปราณี | อาญากรุงเทพ | 2544 | ยิงเป้า | เฮียเขาไปแล้วใช่ไหมครับ | |
วิเชียร แสนมหายักษ์ | นำเข้ายาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เพื่อจำหน่าย และครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัมขึ้นไป | เชียงราย | 2544 | ยิงเป้า | ทำไมนานเหลือเกิน ผมเสียวหลังจนไม่รู้ว่าจะเสียวยังไงแล้ว จะฆ่าจะแกงก็รีบๆทำเถอะ มันทรมานจิตใจผมเหลือเกิน |
รอมาลี ตาเย๊ะ | จ้างวานให้ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน | นราธิวาส | 2544 | ยิงเป้า | ขอโทษทีเพื่อนที่ให้รอ ผมละหมาดนานไปหน่อย |
โปร่ง เกตุศิริ | ครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตและมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัมขึ้นไป | อาญากรุงเทพ | 2544 | ยิงเป้า | ครับหัวหน้า ผมขออโหสิกรรมให้กับทุกคน ผมขอลาก่อนนะครับ |
อำไพ ไสโพธิ์ | กระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย, พรากผู้เยาวน์เพื่อการอนาจาร และฆ่าผู้อื่นโดยกระทำทารุณโหดร้ายเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน | บุรีรัมย์ | 2544 | ยิงเป้า | หัวหน้าครับ ฝากเตือนคนทั่วไปด้วยนะครับ เหล้ายาเป็นสิ่งไม่ดี เป็นต้นเหตุของความผิดหลายๆอย่าง ถ้าใครเลิกได้ก็ขอให้เลิกซะ แต่ถ้าเลิกไม่ได้ ก็ขอให้กินอย่างมีสติ อย่าให้เหมือนอย่างผมเลยนะครับ |
สุรกิจ ลิ้มเจริญวงศ์ | ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน, ทำลายศพเพื่อปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตาย, กักขังหน่วงเหนี่ยวผู้อื่นให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย และร่วมกันปล้นทรัพย์โดยผู้กระทำแม้แต่คนหนึ่งคนใดมีอาวุธติดตัวไปด้วย | สีคิ้ว | 2545 | ยิงเป้า | กลัวแล้ว อย่ายิงผมเลยครับ ผมกลัวแล้ว อย่ายิ… |
จาย ส่างออ | ครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตและมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัมขึ้นไป | อาญากรุงเทพ | 2545 | ยิงเป้า | หยุดร้องได้หรือยังวะ จะตายกันอยู่แล้วยังจะร้องอยู่ได้ เสียสมาธิหมด มันก็กลัวกันทุกคนแหละวะ จะร้องไปทำไม |
กุลชนก อินเทศราช | 2545 | ยิงเป้า | ป่านนี้ไอ้จายมันไปรอเราอยู่แล้ว พวกเราตามมันไปเป็นเพื่อนกันเถอะวะ | ||
เนตรน้อย ส่างคิด | 2545 | ยิงเป้า | ตกลง | ||
คง สุเพือน | กักขังหน่วงเหนี่ยวผู้อื่นให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกายเพื่อให้ได้ค่าไถ่จนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย | สุรินทร์ | 2545 | ยิงเป้า | ที่เหนอะหนะอยู่นี่คือเลือดพี่ชาติใช่ไหมครับ |
จิรวัฒน์ พุ่มพฤกษ์ | ร่วมกันมียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ไว้ครอบครองเพื่อจำหน่าย | อาญากรุงเทพ | 2552 | ฉีดสารพิษ | เฮียครับ ผมลาก่อน ผมขออโหสิกรรมให้เฮีย และขอให้เฮียอโหสิกรรมให้ผมด้วย เราจะได้ไม่มีเวรกรรมต่อกันอีกต่อไปนะเฮีย |
บทความที่น่าจะโดดเด่นพอ
[แก้]นั่นคือนักโทษคนสุดท้านที่ถูกยิงเป้าซึ่งผมจะเขียนภายในสัปดาห์นี้คดีของสุดใจมีความน่าสนใจหลายขั้นตอน ซึ่งอตนนี่้มีคำพิพกาษาคดีและข้อมูลจากหนังสือของเชาว์เรศน์ จารุบุศย์ ซึ่งจะเขียนได้ในเร็วๆนี้ ส่วนสุพจน์ เพ็งคล้าย ตำรวจสถานีตำรวจป่าพยอม ที่ยิงชายคนหนึ่งจนเสียชีวิต และ 2 คนได้รับบาดเจ็บ ก่อนจะหลบหนีไปเป็นเวลา 1 เดือน ก่อนจะขว้างะเบิดมือใส่ตำรวจจนได้รับบาดเจ็บหลายราย ตอนนี้คดียังอยู่ระหว่างหาข้อมูล ซึ่งจะเขียนร่างในทดลองเขียนเพราะอ้างอิงมีแค่ของแอมเนสตี้เท่านั้น กับหนังสือพิมพ์ในงานวิจัยโทษประหาร ซึ่งยืนยันได้อีกขั้นว่าข้อมูลคดีจากแอมเนสตี้น่าจะถูกโดยมีคำพิพากษษคดีอยู่ แต่สุพจน์ไม่น่ามีข้อมู,มากพอจะเขียนในบทความ แต่สุดใจชนะน่าจัะเป็นบทความได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2681/2527
[แก้]คดีของสน่ัน อำกอง จำเลยจะข่มขืนกระทำชำเรา น. เด็กหญิงอายุ 13 ปีน. ไม่ยอม จำเลยฟัน น. ถึง 8 แผล ส. น้องชาย อายุ 11 ปีเข้าช่วย จำเลยฟัน ส. 4 แผล ซึ่งแต่ละแผลถูกอวัยวะสำคัญเช่น คอ ศีรษะ คอเกือบขาด แม้ ส. จะร้องว่ากลัวแล้วไหว้แล้ว จำเลยก็ไม่หยุดยั้งดังนี้ จำเลยกระทำโดยเจตนาฆ่าด้วยจิตใจอำมหิต ขาดความเมตตาเท่านั้นมิใช่เป็นการกระทำทารุณโหดร้ายต่อผู้ตายทั้งสองตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(5) คงมีความผิดตาม มาตรา 288 โจทก์ - พนักงานอัยการจังหวัดชุมพร สืบค้นจากเว็บไซค์ศาลฎีกาโดยใช้ำค้นหาว่าสนั่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2509
[แก้]น้อย แหลมไธสงและผู้ก่อเหตุร่วม 3 คน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเองเป็นผู้ใช้มีดเชือดคอเด็กหญิงอายุ 5 ขวบถึงแก่ความตาย และจำเลยยังร่วมกับจำเลยอื่นกระทืบเด็กชายอายุ 8 เดือน ทั้งได้ใช้ผ้าอุดจมูกจนหายใจไม่ออกตาย นอกจากนี้ยังใช้ยาพิษกรอกปากกับใช้มีดเชือดคอมารดาของเด็กทั้งสองผู้ตายจนหลอดเสียงขาด เพื่อจะฆ่าให้ตายด้วย การกระทำของจำเลยดังกล่าวนี้จึงถือได้ว่าเป็นการฆ่าผู้อื่นโดยกระทำทารุณโหดร้าย จำเลยย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 617/2526
[แก้]นายประเสริฐหรือหมัน ฉิมเจริญ จำเลยสมัครใจดื่มสุราเองและขณะกระทำความผิดก็มีความรู้ผิดชอบเป็นอย่างดีจะอ้างว่าได้กระทำความผิดไปด้วยความไร้สติ ไม่รู้ผิดรู้ชอบและไม่สามารถบังคับตนเองได้อันเนื่องมาจากจำเลยดื่มสุรา เป็นข้ออ้างให้ศาลลดหย่อนผ่อนโทษหาได้ไม่
หลังจากผู้ตายร้องให้ช่วยประมาณ 5 นาทีเศษ ว. กับพวกได้ไปยังที่เกิดเหตุพบรอยหญ้าราบจากไหล่ถนนลงไปในคูน้ำ มีจำเลยซ่อนอยู่ใต้ผิวน้ำ และต่อมาได้พบศพผู้ตายอยู่ห่างจากที่จำเลยซ่อนตัวอยู่ประมาณ 1 ศอกที่ตัวผู้ตายและตัวจำเลยมีบาดแผล แสดงว่าผู้ตายต่อสู้ขัดขวางจำเลย เมื่อตรวจศพผู้ตายหลังจากเกิดเหตุประมาณ 7 ชั่วโมงเศษก็พบน้ำอสุจิและตัวอสุจิในช่องคลอดผู้ตายจำนวนมาก สาเหตุที่ตายเพราะขาดอากาศเนื่องจากถูกบีบคอและสำลักน้ำ ข้อเท็จจริงฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้ตายและฆ่าผู้ตายโดยวิธีกดให้จมน้ำจนสำลักน้ำตายเพื่อปกปิดความผิดของจำเลย โดยไม่จำเป็นต้องนำคำรับสารภาพของจำเลยมาประกอบการพิจารณา ดังนั้น การที่จำเลยให้การรับสารภาพจึงหาเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดีอันจะเป็นเหตุให้ได้รับการบรรเทาโทษไม่ เพราะจำเลยให้การรับสารภาพโดยจำนนต่อพยานหลักฐาน
การกระทำความผิดครั้งแรกมิใช่เหตุบรรเทาโทษที่จะลดโทษได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1701/2512
[แก้]คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1701/2512 พนักงานอัยการกรมอัยการโจทก์ นายเจริญ หรือจ๊ะ ยิ้มละมัย ที่ 1 นายเต็ง พูลสุข ที่ 2จำเลย
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 289 (7), 340 วรรคท้าย จำเลยสมคบกับพวกทำการปล้นทรัพย์ เมื่อปล้นทรัพย์แล้วระหว่างที่พาเอาทรัพย์หนีไปและเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นจากการจับกุมและปกปิดการกระทำของพวกตน พวกของจำเลยคนใดคนหนึ่งซึ่งไม่ปรากฏจากข้อเท็จจริงแน่ชัดว่าเป็นคนใดได้ยิงพวกผู้เสียหายถึงตาย เป็นเรื่องสมคบกันมาปล้นทรัพย์แล้วมีการตายเกิดขึ้น เมื่อโจทก์นำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนยิงพวกเจ้าทรัพย์ตายหรือจำเลยได้สมคบกับคนร้ายในการปล้นรายนี้ฆ่าพวกของเจ้าทรัพย์หลังจากทำการปล้นทรัพย์แล้ว และระหว่างที่พาเอาทรัพย์หนีไปความผิดของจำเลยจึงไม่ต้องด้วยความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(7)
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกับพวกที่ถึงแก่ความตายไปแล้ว กับพวกอีก 1 คน มีอาวุธสมคบกันปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายโดยขู่เข็ญว่าจะทำร้ายและใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหาย เพื่อให้เป็นความสะดวกแก่การปล้นทรัพย์ การพาเอาทรัพย์ไป เพื่อให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์ และเพื่อยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้และจำเลยกับพวกได้บังอาจสมคบกันใช้อาวุธปืนยิงสิบเอกอภิรัตน์พวกผู้เสียหายถึงแก่ความตาย เพื่อปกปิดการกระทำความผิดของจำเลย เพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นจากการจับกุม และเพื่อจะหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดฐานปล้นทรัพย์นั้น ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340, 289(7), 83 และสั่งคืนของกลางที่เป็นของผู้เสียหายให้แก่ผู้เสียหาย และให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหาย
จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า นายเจริญหรือจ๊ะ ยิ้มละมัย จำเลยที่ 1มีความผิดฐานร่วมกับพวกปล้นทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรคท้าย จำคุกจำเลยที่ 1 ตลอดชีวิต แต่คำให้การชั้นสอบสวนและชั้นศาลเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา ลดโทษให้ 1 ใน 3 ตามมาตรา 78ประกอบมาตรา 53(1) จำคุกจำเลยที่ 1 ไว้ 16 ปี ส่วนนายเต็งจำเลยที่ 2 หลักฐานไม่พอเชื่อว่าได้ร่วมทำการปล้นด้วย จึงให้ยกฟ้อง ปล่อยจำเลยที่ 2 พ้นข้อหาไป ให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ 2,450 บาทให้ผู้เสียหาย กับคืนขันน้ำพานรองกับสร้อยข้อมือให้ผู้เสียหาย ข้อหานอกจากนี้ให้ยกเสีย
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289(7) ด้วยและอุทธรณ์ว่า คำให้การชั้นสอบสวนและชั้นพิจารณามิได้เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาเลย ไม่สมควรลดโทษให้จำเลยที่ 1 และอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 2 ควรมีความผิดตามฟ้องโจทก์หรืออย่างน้อยก็ควรมีความผิดฐานเป็นผู้สมรู้ช่วยเหลือในการกระทำผิดครั้งนี้
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโจทก์ปล่อยจำเลย ต่อมาได้ขอถอนอุทธรณ์เสียศาลอุทธรณ์สั่งอนุญาต
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่า ไม่ลดโทษ 1 ใน 3 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบด้วยมาตรา 53(1) ให้จำเลยที่ 1 คงจำคุกจำเลยที่ 1 ไว้ตลอดชีวิตนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(7)
จำเลยที่ 1 ฎีกาขอให้ยกฟ้อง
ศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยที่ 1 เป็นคนร้ายกระทำการปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายจริงส่วนที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยควรจะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(7) นั้นเห็นว่า จำเลยสมคบกับพวกทำการปล้นทรัพย์ เมื่อปล้นทรัพย์แล้ว ระหว่างที่พาเอาทรัพย์หนีไปและเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นจากการจับกุมและปกปิดการกระทำผิดของพวกตน พวกของจำเลยคนใดคนหนึ่งซึ่งไม่ปรากฏจากข้อเท็จจริงแน่ชัดว่าเป็นคนใดได้ยิงสิบเอกอภิรัตน์พวกผู้เสียหายถึงตายเป็นเรื่องสมคบกันมาปล้นทรัพย์แล้วมีการตายเกิดขึ้น เมื่อโจทก์นำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนยิงพวกเจ้าทรัพย์ตาย หรือจำเลยที่ 1 ได้สมคบกับคนร้ายในการปล้นรายนี้ฆ่าพวกของเจ้าทรัพย์หลังจากทำการปล้นทรัพย์แล้วและระหว่างที่พาเอาทรัพย์หนีไป ความผิดของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องด้วยความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(7)
พิพากษายืน ยกฎีกาจำเลยที่ 1 และโจทก์
(แสวง ลัดพลี-ทองคำ จารุเหติ-ใหญ่ ศาลยาชีวิน) แหล่งที่มากองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา แผนก หมายเลขคดีดำศาลฎีกา หมายเลขคดีดำศาลชั้นต้น หมายเลขคดีแดงศาลชั้นต้น หมายเหตุ
ชัยพร มหาพรหม
[แก้]คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2525 อัยการพะเยาโจทก์ นายมา ไชยมหาพรหมจำเลย
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 289 ผู้ตายเป็นสมาชิกสภาจังหวัด เป็นคนดีเป็นที่รักใคร่ของประชาชนเคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับ ก. กำนันที่มีอิทธิพลหลายเรื่อง เมื่อรถยนต์สองแถวที่ผู้ตายนั่งมาหยุด จำเลยกับพวกที่สะกดรอยมาก็หยุดรถจักรยานยนต์ด้วย พวกจำเลยเข้าไปยิงผู้ตายทางด้านหลังแล้วจำเลยเข้าไปยิงทางด้านหลังซ้ำอีกโดยมิได้พูดจากับผู้ตายเลย ไม่ปรากฏว่าจำเลยและพวกกับผู้ตายมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน ดังนี้ จึงเชื่อว่า ถูกจ้างวานใช้จากผู้อื่นให้มาฆ่าผู้ตายเป็นการฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
(ชลูตม์ สวัสดิทัต-บรรเทอง ภู่กฤษณา-สุรัช รัตนอุดม) แหล่งที่มากองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา แผนก หมายเลขคดีดำศาลฎีกา หมายเลขคดีดำศาลชั้นต้น หมายเลขคดีแดงศาลชั้นต้น หมายเหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2514
[แก้]อัยการจังหวัดชลบุรีโจทก์ นายสวัสดิ์ รัตนทายะโจทก์ร่วม นายศักดิ์ หรือสมศักดิ์ ปาทาน หรือมุ่งจงรักษ์ ที่1 นายเปี๊ยก หรือธวัช สุธากุล ที่ 2 นายดวน หรือสมควร ศิริเลิศ ที่ 3จำเลย
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 78, 289 จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่ปรากฏจากพยานหลักฐานของโจทก์ที่สืบประกอบคำรับสารภาพว่า เจ้าพนักงานได้ทรัพย์สินของผู้เสียหาย ที่ถูกปล้นไปจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 หัวกระสุนปืนที่ขุดได้ที่พื้นดินใต้ศพผู้ตาย เป็นหัวกระสุนปืนที่ใช้ยิงจากปืนของกลางที่จับได้จาก จำเลยที่ 1 ผู้เสียหายแจ้งถึงรูปร่าง ผิวเนื้อลักษณะหน้าตา ตลอดจนอายุและเครื่องแต่งกายของจำเลยได้ละเอียดและชี้ตัวได้ถูกต้อง และพยานโจทก์อีก 2 ปาก ก็จำจำเลยได้ เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ซึ่งมีทั้งพยานบุคคลและพยานพฤติเหตุแวดล้อมกรณีของคดีแน่นหนามั่นคงเช่นนี้ คำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 และ 2 จึงไม่พอจะถือได้ว่าให้ความรู้แก่ศาลอันจะเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดี จึงไม่เป็นเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78
ส่วนจำเลยที่ 3 นั้น เจ้าพนักงานตำรวจจับได้เพราะคำซัดทอดของจำเลยที่ 1 และ 2 คำซัดทอดของจำเลยด้วยกันย่อมฟังเป็นหลักฐานยันจำเลยไม่ได้ และพนักงานสอบสวนไม่ได้ทรัพย์สินของผู้เสียหายซึ่งถูกปล้นไปจากจำเลยที่ 3 เลย ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพตั้งแต่ชั้นสอบสวนตลอดมาถึงชั้นศาลจึงพอถือได้ว่าเป็นการให้ความรู้แก่ศาล เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดีอยู่มากเป็นเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยร่วมกันใช้ปืน มีดเป็นอาวุธปล้นทรัพย์และทำร้ายร่างกายนายสุชาติผู้เสียหาย และร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราและฆ่านางสาวสุภาพรรณเพื่อปกปิดความผิดฐานปล้นทรัพย์ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๔๐, ๒๘๘, ๒๘๙, ๒๘๔, ๙๒, ๘๓, ๕๘ และพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ
จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๔๐, ๒๘๘, ๒๘๙, ๘๓ และพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๙ ซึ่งเป็นกระทงหนัก ให้ประหารชีวิตจำเลยทั้งสาม แต่จำเลยทั้งสามรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามมาตรา ๗๘ คงจำคุกจำเลยทั้งสามไว้ตลอดชีวิต
โจทก์ร่วมอุทธรณ์ว่าไม่ควรลดโทษให้
ศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำรับสารภาพของจำเลยไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาพิพากษาแก้ ให้ประหารชีวิตจำเลยทั้งสาม
จำเลยทั้งสามฎีกาขอให้ลดโทษ
ศาลฎีกาเห็นว่า นอกจากโจทก์มีประจักษ์พยานรู้เห็นว่าจำเลยร่วมกันปล้นเอาทรัพย์ผู้เสียหาย และบังคับขู่เข็ญพานางสาวสุภาพรรณไปแล้วแม้ขณะที่นางสาวสุภาพรรณถูกยิงทำร้ายถึงตาย โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็น แต่เมื่อพิเคราะห์ถึงหัวกระสุนปืนที่ขุดได้ที่พื้นดินใต้ศพผู้ตายประกอบกับปืนสตาร์ของกลางที่ยึดได้จากจำเลยซึ่งพยานผู้ชำนาญตรวจพิสูจน์แล้ว ก็ให้ความเห็นว่าลูกกระสุนปืนของกลางใช้ยิงมาจากปืนสตาร์ของจำเลยจริง ข้อเท็จจริงบ่งชี้ให้เชื่อได้ว่าจำเลยได้ร่วมกันฆ่านางสาวสุภาพรรณจริง
คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ยังปรากฏข้อเท็จจริงต่อไปอีกว่าเจ้าพนักงานตรวจค้นได้ทรัพย์สินของผู้เสียหายที่ถูกปล้นไป จากจำเลยทั้งสองอีกหลายอย่าง ศาลฎีกาเห็นว่า เมื่อพิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์ซึ่งมีทั้งพยานบุคคลและพยานพฤติเหตุแวดล้อมกรณีของคดีดังวินิจฉัยมาแล้ว เป็นที่เห็นได้ชัดว่าโจทก์มีพยานหลักฐานมัดตัวจำเลยที่ ๑, ๒ แน่นหนามั่นคงพอให้ฟังได้ว่า จำเลยได้กระทำผิดจริงโดยปราศจากเหตุอันควรสงสัย คำรับสารภาพของจำเลยที่ ๑, ๒ ในกรณีเช่นนี้ไม่พอจะถือว่าให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดี จึงไม่เป็นเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ ดังที่จำเลยทั้งสองฎีกาการรับสารภาพของจำเลยจึงเป็นการจำนนต่อพยานหลักฐานโจทก์ ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่ลดโทษประหารชีวิตให้จำเลยที่ ๑, ๒ นั้นชอบแล้ว
ส่วนคดีเฉพาะตัวจำเลยที่ ๓ นั้น แม้จะปรากฏชัดว่าผู้เสียหายนายสุรีย์ นายรัตน์และนายประเสริฐพยานโจทก์ จำหน้าจำเลยได้ว่าเป็นคนร้ายรายนี้ด้วย แต่พยานโจทก์ดังกล่าวแล้วทุกคนต่างไม่รู้จักชื่อและตัวจำเลยนี้มาก่อน คดีคงเพียงแต่ได้ความจากคำของนายประเสริฐคนเดียวว่าเคยเห็นหน้าจำเลยนี้ขับรถอยู่แถวศรีราชาการได้ตัวจำเลยนี้มาดำเนินคดีก็ไม่ใช่เพราะอาศัยคำของพยานโจทก์ แต่หากเป็นเพราะอาศัยคำซัดของจำเลยที่ ๑, ๒ ซึ่งเป็นคำซัดทอดของจำเลยด้วยกันย่อมฟังเป็นหลักฐานยันจำเลยไม่ได้ เมื่อพันตำรวจตรีบุณยชัยผู้สอบสวนติดต่อสอบถามไปทางพนักงานสอบสวนอำเภอศรีราชา จึงได้ความว่าจำเลยนี้ถูกจับกุมไว้อยู่แล้วในข้อหาขับรถชนคนตายโดยประมาทอีกคดีหนึ่ง เมื่อให้พยานดูตัวจำเลยนี้ พยานจึงยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้ายรายนี้ ข้อเท็จจริงดังกล่าวหากคำนึงถึงว่าการที่จะได้ตัวจำเลยที่ ๓ มาดำเนินคดี ประกอบทั้งไม่ได้ทรัพย์สินผู้เสียหายที่ถูกปล้นไปจากจำเลยที่ ๓ เป็นของกลางแต่อย่างใดเลย เช่นนี้ การที่จำเลยรับสารภาพชั้นสอบสวนตลอดมาถึงชั้นศาล จึงพอถือได้ว่าเป็นการให้ความรู้แก่ศาล เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่มาก ฉะนั้นโดยเหตุผลทางคดี ควรปรานีลดโทษให้จำเลยที่ ๓ เป็นการเฉพาะตัว
พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เป็นว่า ให้ลดโทษประหารชีวิตจำเลยที่ ๓ กึ่งหนึ่งตามมาตรา ๗๘ ประกอบมาตรา ๕๒ ประมวลกฎหมายอาญาคงจำคุกจำเลยที่ ๓ ไว้ตลอดชีวิต นอกจากที่แก้แล้ว คงให้บังคับไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
(จรัญ อิศระ-ประสม เภกะสุต-สวัสดิ์ ภู่งาม) ศาลจังหวัดชลบุรี - นายสำราญ ศรีประสาธน์ ศาลอุทธรณ์ - นายประพจน์ ถิระวัฒน์ แหล่งที่มากองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา แผนก หมายเลขคดีดำศาลฎีกา หมายเลขคดีดำศาลชั้นต้น หมายเลขคดีแดงศาลชั้นต้น หมายเหตุ
เกริ่น
[แก้]ในปีพ.ศ. 2477 ได้มีการแก้ไขกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 โดยเปลี่ยนวิธีการประหารชีวิตจากการตัดศีรษะเป็นการยิงด้วยปืน และเปลี่ยนผู้มีอำนาจการสั่งโทษจากพระมหากษัตริย์เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่[note 1] โดยประกาศใช้กฎหมายนั้นเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2478[1] ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญาในปี พ.ศ. 2499 ยังคงให้ใช้การยิงด้วยปืนเป็นวิธีการประหารชีวิต[2] ปืนที่ใช้ในการประหารชีวิตตั้งแต่ปีพ.ศ. 2478 - พ.ศ. 2520 คือเอ็มเพ 18 หรือ เบิร์กมันน์ เอ็มเพ 18 ซึ่งใช้ในการประหารชีวิตสิบเอกสวัสดิ์ มะหะหมัด เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2478 หลังจากการประหารชีวิตปังจอง แซ่อึ้ง เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2521 ในความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษไว้ครอบครองเพื่อจำหน่าย ได้มีการเปลี่ยนปืนกลมือจากเบิร์กมันน์เป็นเฮคแลร์อุนด์คอค เอ็มเพ 5 หรือ ปืนกลมือเอ็มพี 5 เอสดี 3 และใช้เป็นครั้งแรกในการประหารชีวิตปลั่ง ยิ่งสกุล กับ วิเชียร อ่างแก้ว ในอีก 23 วันถัดมา และเฮคแลร์อุนด์คอค เอ็มเพ 5ถูกใช้จนกระทั่งการประหารชีวิตสุดใจ ชนะซึ่งเป็นบุคคลสุดท้ายที่ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า[3][4]
หลังจากการประหารชีวิตสมโภชน์ ชื่นชม, ไพริน ณ วันดี, คำพัน อรรถศรี และ สุวรรณ คำภูษา เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2530 ในความผิดฐานฆาตกรรม ประเทศไทยได้ไม่มีการประหารชีวิตเป็นเวลาเกือบ 9 ปี ก่อนจะกลับมาประหารชีวิตใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2539 โดยเป็นการประหารชีวิตพรหมมาศ หรือจุน เลื่อมใส เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2539[5][6] และมีการประหารชีวิตอีก 42 ครั้งหลังจากพรหมาศ ในปี พ.ศ. 2546 รัฐบาลได้มีการเสนอแก้พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2546 โดยแก้ไขมาตรา 19 ว่า " ผู้ใดต้องโทษประหารชีวิต ให้ดำเนินการด้วยวิธีฉีดยาหรือสารพิษให้ตาย"ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาโดยเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 กันยายน 2546 โดยเป็นการเปลี่ยนวิธีการประหารชีวิตจากการยิงเป้าเป็นการฉีดสารพิษ[7]
รายชื่อบุคคลที่ถูกยิงเป้าตั้งแต่ปีพ.ศ.2478 - พ.ศ 2520
[แก้]นี่คือรายชื่อบุคคลที่ถูกประหารชีวิตโดยเพชณฆาตของกรมราชทัณฑ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 - พ.ศ.2530 โดยไม่รวมถึงการประหารชีวิตนอกเรือนจำโดยเพชณฆาตซึ่งเป็นตำรวจหรือทหาร หลังจากการแก้ไขประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 ว่าด้วยการประหารชึวิตจากการ "ให้เอาไปตัดศีรษะเสีย" เป็น "ให้เอาไปยิงเสียให้ตาย" ในปี พ.ศ. 2477 ซึ่งรายชื่อดังกล่าวถูกรวบรวมตามข้อมูลที่บันทึกไว้โดยเรือนจำกลางบางขวางและเผยแพร่ผ่านทางเฟสบุ๊ค แฟนคลับยุทธ บางขวาง เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558 โดยอรรถยุทธ พวงสุวรรณ อดีตเจ้าพนักงานอบรมและฝึกวิชาชีพชำนาญงาน เรือนจำกลางบางขวาง และเป็นอดีตพี่เลี้ยงนักโทษประหาร
ลำดับที่ | ชื่อ | อายุ | เพศ | วันที่ถูกประหารชีวิต | ศาล/คำสั่งนายกรัฐมนตรี | ความผิดฐาน | เพชณฆาต | นายกรัฐมนตรี |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | สวัสดิ์ มะหะหมัด[note 2][8][9] | - | ชาย | 11 กันยายน พ.ศ 2478[10][11] | ศาลพิเศษ | ประทุษร้ายต่อพระบรมราชตระกูล | ทิพย์ มียศ | พระยาพหลพลพยุหเสนา |
2 | เขียน บุญกันสอน[12] | 40 | ชาย | 12 กรกฎาคม พ.ศ 2480[note 3] | พิษณุโลก | สมคบคิดกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา | ||
3 | เคลิ้ม น้ำทอง | - | ชาย | 27 กันยายน พ.ศ 2481 | อ่างทอง | ฆ่าคนด้วยกระทำทรมาน หรือแสดงความดุร้ายทำแก่ผู้ตายให้ได้ความลำบากอย่างสาหัส | ||
4 | คูณ นกอิน | 41 | ชาย | 16 ธันวาคม พ.ศ 2481 | สุโขทัย | ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย | ||
5 | เขียว จ้อยขำ | 32 | ชาย | 7 มกราคม พ.ศ 2481[note 4] | นครนายก | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าคนเพื่อประโยชน์ที่จะตระเตรียมการ หรือให้เป็นความสะดวกในการที่จะกระทำผิดอย่างอื่น | แปลก พิบูลสงคราม | |
6 | นิตย์ อินสมุทร์ | - | ชาย | 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2481[note 4] | สมุทรปราการ | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | ||
7 | สมบุญ พรรณขาม | 41 | ชาย | 28 พฤศจิกายน พ.ศ 2482 | ราชบุรี | ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย,ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, วางเพลิงและเผาเคหะสถาน | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | |
8 | เจียม ใจเลิศ | 26 | ชาย | สุพรรณบุรี | ร่วมกันปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น | ทิพย์ มียศ | ||
9 | จอม ใจเลิศ | 24 | ชาย | |||||
10 | เบี่ยง สังข์พันธ์เคราะห์ | 27 | ชาย | เพชรบุรี | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||
11 | หับ พัดริน | - | ชาย | 29 พฤศจิกายน พ.ศ 2482 | สุราษฎร์ธานี | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | ทิพย์ มียศ | |
12 | พุด วงษ์เจริญ | 37 | ชาย | ชลบุรี | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายเพื่อจะเอาผลประโยชน์และสะดวกในการปล้น | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||
13 | ชม พึ่งยนต์ | 31 | ชาย | นครนายก | ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย | |||
14 | ปาน จุนทอง | 36 | ชาย | พัทลุง | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | |||
15 | พระสุวรรณชิต (วร กังสวร) | - | ชาย | 30 พฤศจิกายน พ.ศ 2482 | ศาลพิเศษ | สมคบกันกระทำการประทุษร้ายเพื่อจะทำลายรัฐบาล[13] | ทิพย์ มียศ | |
16 | เผ่าพงษ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา | - | ชาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||||
17 | ผุดพันธ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา | - | ชาย | ทิพย์ มียศ | ||||
18 | บุญมาก ฤทธิสิงห์ | - | ชาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง
| ||||
19 | ขุนคลี่พลพฤณฑ์ (คลี่ สุนทรารชุน) | - | ชาย | 1 ธันวาคม พ.ศ 2482 | ทิพย์ มียศ | |||
20 | แม้น เลิศนาวี | - | ชาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||||
21 | หลวงมหิทธิโยธี (สุ้ย ยุกตวิสาร) | - | ชาย | ทิพย์ มียศ | ||||
22 | พระสิทธิเรืองเดชพล (แสง พันธ์ประภาส) | - | ชาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||||
23 | แสง วัณณะศิริ | - | ชาย | 2 ธันวาคม พ.ศ 2482 | ทิพย์ มียศ | |||
24 | ขุนไววิทยาศร (เสงี่ยม ไวยวิทย์) | - | ชาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||||
25 | ขุนนามนฤนาท (นาม ประดิษฐานนท์) | - | ชาย | ทิพย์ มียศ | ||||
26 | จรัส สุนทรภักดี | - | ชาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||||
27 | สัย เกษจินดา | - | ชาย | 3 ธันวาคม พ.ศ 2482 | ทิพย์ มียศ | |||
28 | ทง ช่างชาญกล | - | ชาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||||
29 | เสริม พุ่มทอง | - | ชาย | |||||
30 | พวง พลนาวี | - | ชาย | ทิพย์ มียศ | ||||
31 | ณเณร ตาละลักษณ์ | - | ชาย | ทิพย์ มียศ[note 5] | ||||
32 | ลี บุญตา | - | ชาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||||
33 | หยุง ซิมแซ | 34 | ชาย | 5 มกราคม พ.ศ. 2482[note 4] | กาญจนบุรี | ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย | ทิพย์ มียศ | |
34 | มิ่ง อิ่มอ้น | 41 | ชาย | สุโขทัย | ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||
35 | หง แซ่เซียว | 26 | ชาย | กาญจนบุรี | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | ทิพย์ มียศ | ||
36 | มัด ศรีมัย | - | ชาย | 6 มกราคม พ.ศ. 2482[note 4] | อุตรดิตถ์ | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | ||
37 | ค่ำ สระทองสังข์ | 47 | ชาย | นครปฐม | ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||
38 | ผาย อุทัยวรรณ | 36 | ชาย | พิจิตร | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนา | ทิพย์ มียศ | ||
39 | ยัง เม่นรักษ์ | 48 | ชาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||||
40 | นงค์ ขันอาษา | 28 | ชาย | ประจวบคีรีขันธ์ | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนาและฉุดคร่าเพื่อทำอนาจาร | ทิพย์ มียศ | ||
41 | เทียบ เขียวไปรเวศ | 28 | ชาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||||
42 | เหลา โกฏละออง | 33 | ชาย | 8 มกราคม พ.ศ. 2482[note 4] | สวรรคโลก | ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย | ทิพย์ มียศ | |
43 | กราน ใจแน่ | 37 | ชาย | พิษณุโลก | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||
44 | แคล้ว สังข์ลอย | 31 | ชาย | ราชบุรี | ร่วมกันปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าคนเพื่อประโยชน์ที่จะตระเตรียมการ หรือให้เป็นความสะดวกในการที่จะกระทำผิดอย่างอื่น | ทิพย์ มียศ | ||
45 | เถา อารมย์ดี | 31 | ชาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||||
46 | ใบ เพ็ชร์นิลบุตร์ | 43 | ชาย | ทิพย์ มียศ | ||||
47 | นวม ขันอาษา | 31 | ชาย | ประจวบคีรีขันธ์ | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||
48 | สังข์ สว่างใจ | 33 | ชาย | 10 มกราคม พ.ศ. 2482[note 4] | ธนบุรี | ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย | ทิพย์ มียศ | |
49 | ใช้ วะตัญญู | 40 | ชาย | ราชบุรี | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||
50 | จันทา สายทัน | 29 | ชาย | อุบลราชธานี | ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย และด้วยกระทำทรมาน หรือแสดงความดุร้ายทำแก่ผู้ตายให้ได้ความลำบากอย่างสาหัส | ทิพย์ มียศ | ||
51 | ชั้น น้ำจันทร์ | 26 | ชาย | ชัยนาท | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||
52 | วัน มายัง | 31 | ชาย | พิจิตร | สมคบคิดกันปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์, ฆ่าคนเพื่อประโยชน์ที่จะตระเตรียมการ หรือให้เป็นความสะดวกในการที่จะกระทำผิดอย่างอื่น | ทิพย์ มียศ | ||
53 | สวัสดิ์ ชูนาม | 28 | ชาย | ราชบุรี | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนาด้วยความพยาบาทมาดหมายและลักทรัพย์โดยมีอาวุธติดตัวไปด้วย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||
54 | อันตรา คาน | 29 | ชาย | 15 มกราคม พ.ศ. 2482[note 4] | พิษณุโลก | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนา | ทิพย์ มียศ | |
55 | หลวงทิพอักษร (ทิพ รัตตะพันธ์) | - | ชาย | 22 มกราคม พ.ศ. 2484 | ศาลพิเศษ | กบฏภายนอกราชอาณาจักร | ||
56 | ทอง สุทธิโสภา | - | ชาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||||
57 | เจริญ แซ่ลี้ | - | ชาย | 3 มีนาคม พ.ศ. 2484 | กบฏภายนอกราชอาณาจักร | ทิพย์ มียศ | ||
58 | งาม ใยบัวเทศ | 40 | ชาย | 7 มีนาคม พ.ศ. 2484 | อาญากรุงเทพ | ฆ่าคนตายโดยเจตนาและพยายามลักทรัพย์ | ||
59 | มงคล อินสอน | 25 | ชาย | สรรคโลก | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||
60 | ไปล่ บุญเพ็ชร์ | 48 | ชาย | สุโขทัย | ร่วมกันฆ่าวางเพลิงและฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย | ทิพย์ มียศ | ||
61 | ย้อย แสงอ่ำ | 48 | ชาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||||
62 | ปัน ธรรมวงศ์ | 40 | ชาย | ลำพูน | ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมายเพื่อจะปกปิดการกระทำผิดและหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญา | ทิพย์ มียศ | ||
63 | เม้า ดิษฐวงษ์ | - | ชาย | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2484 | ศาลพิเศษ | กบฏภายนอกราชอาณาจักร | ||
64 | อิ๊ด เป้าจินดา | 41 | ชาย | 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 | นครปฐม | ใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิดและปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์ | ||
65 | ใย สนบำรุง | 62 | หญิง | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||||
66 | มี เจนสาริกิจ | 41 | ชาย | อุทัยธานี | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | ทิพย์ มียศ | ||
67 | พุด สานะเสน | - | ชาย | 14 ธันวาคม พ.ศ. 2485 | ศาลมลฑลทหารบกที่ 3[note 6] | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าเจ้าพนักงานผู้ประจำหน้าที่ | ||
68 | สวัสดิ์ นิ่มละม่อม | - | ชาย | 24 ธันวาคม พ.ศ. 2485 | ศาลมลฑลทหารบกที่ 5[note 6] | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าคนเพื่อที่จะเอาผลประโยชน์อันเกิดแต่การกระทำผิดอย่างอื่นมาเป็นของมัน หรือเพื่อจะปกปิดการกระทำผิดอย่างอื่น หรือเพื่อจะหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิด | ||
69 | หมู มูนดา | - | ชาย | ศาลมลฑลทหารบกที่ 4[note 6] | ฆ่าบิดามารดา หรือฆ่าญาติที่สืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||
70 | มี มินโสด | - | ชาย | ศาลทหารกรุงเทพ[note 6] | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและฆ่าเจ้าพนักงานผู้ประจำหน้าที่ | ทิพย์ มียศ | ||
71 | สนอง คชริทธิ์ | - | ชาย | 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 | ศาลมลฑลทหารบกที่ 4[note 6] | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | ||
72 | ตุง แซ่หว่อง | 28 | ชาย | 15 เมษายน พ.ศ. 2486 | เลย | ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมายและซ่อนเร้นศพ | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | |
73 | อ่อน แดงกูล | - | ชาย | กาญจนบุรี | ปล้นทรัพย์, ฆ่าคนตายโดยเจตนา และพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน | |||
74 | กุลยา มันคาล | - | ชาย | 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 | ปัตตานี | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | ||
75 | น้อย ลังกะวงส์ | - | ชาย | 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 | ศาลทหารกรุงเทพ[note 6] | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | ||
76 | แอ๊ว ชูนาม[note 7] | - | ชาย | 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 | ฆ่าเจ้าพนักงาน | |||
77 | พัน จูจัน | - | ชาย | ฆ่าเจ้าพนักงาน และหลบหนีที่คุมขัง | ทิพย์ มียศ | |||
78 | โปร่ง สมบุญ | - | ชาย | 12 กรกฎาคม พ.ศ 2486 | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนาด้วยความพยาบาทมาดหมาย | |||
79 | ก๋อ สมบุญ | - | ชาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||||
80 | สอน กันสิริ | - | ชาย | ทิพย์ มียศ | ||||
81 | เปล่ง สมบุญ | - | ชาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||||
82 | หวน สานุสิส | - | ชาย | 30 ตุลาคม พ.ศ 2486 | ศาลมลฑลทหารบกที่4[note 6] | ฆ่าคนตายโดยเจตนาด้วยความพยาบาทมาดหมายและละทิ้งเด็ก | ทิพย์ มียศ | |
83 | ผิน เจริญสุข | - | ชาย | ศาลทหารกรุงเทพ[note 6] | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนา | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||
84 | แสง ปัญญาวุทโท หรือ สังวาล กสิรัต | - | ชาย | 4 มกราคม พ.ศ 2487 | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | |||
85 | อุดม บุนนาค | - | ชาย | 10 มีนาคม พ.ศ 2487 | ฆ่าเจ้าพนักงาน | |||
86 | ฉาย ยิ้มสุข | - | ชาย | 19 เมษายน พ.ศ 2487 | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | |||
87 | สุชิต เหล็งสิทธิ | - | ชาย | 24 พฤษภาคม พ.ศ 2487 | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | |||
88 | แว่ว อำพันภูธร | - | ชาย | 1 กรกฎาคม พ.ศ 2487 | ฆ่าคนตายโดยเจตนาด้วยความพยาบาทมาดหมาย | |||
89 | กี่ โพธิ์สลัก | - | ชาย | 1 พฤศจิกายน พ.ศ 2494 | ตราด | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | ||
90 | จิตต์ ศิริสวัสดิ์ | - | ชาย | สงขลา | ฆ่าคนตายเพื่อปกปิดความผิดฐานปล้นทรัพย์ | |||
91 | บุรี ศรีรอดบาง | - | ชาย | |||||
92 | เฉลียว ปทุมรส | 52 | ชาย | 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 | อาญากรุงเทพ | สมคบกันประทุษร้ายต่อองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว[14] | ||
93 | บุศย์ ปัทมศริน | 55 | ชาย | |||||
94 | ชิต สิงหเสนี | 50 | ชาย | |||||
95 | สิงห์ อินทนนท์ | 26 | ชาย | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2498 | เชียงใหม่ | ฆ่าคนตายโดยเจตนาและพยายามฆ่าคนตายโดยเจตนา | ||
96 | ประถม อุบลอิ่มชัย | - | ชาย | 31 สิงหาคม พ.ศ. 2499 | บุรีรัมย์ | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนา | ||
97 | ประยูร กกประโคน | - | ชาย | |||||
ไม่ถูกนับ | ศุภชัย ศรีสติ[15] | 34 | ชาย | 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 | ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 17 | กระทำการร้ายเพื่อบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรและราชบัลลังก์, คุกคามความสงบภายในประเทศไทย | ป. เพี้ยน คนแรงดี[note 8] | สฤษดิ์ ธนะรัชต์ |
98 | ซีอุย แซ่อึ้ง[16][17][18] | 32 | ชาย | 16 กันยายน พ.ศ. 2502 | ระยอง | ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย | เพี้ยน คนแรงดี | |
99 | โฉม ฉิมมา | - | ชาย | 30 ธันวาคม พ.ศ. 2502 | ศาลมลฑลทหารบกที่ 2 | ร่วมกันฆ่าคนตายเพื่อปกปิดความผิดฐานปล้นทรัพย์ | ||
100 | ใจ ฉิมมา | - | ชาย | |||||
101 | เชื่อม เมฆอ่ำ | - | ชาย | 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 | ศาลมลฑลทหารบกที่ 4 | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ | มุ่ย จุ้ยเจริญ | |
102 | ดุ่ย ศุภรังษี | - | ชาย | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ | ||||
103 | ม้วน คล้ายสกุล | - | ชาย | นครสวรรค์ | ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้ายเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น,ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | เพี้ยน คนแรงดี | ||
104 | กอง ผาวัน | - | ชาย | อุบลราชธานี | ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ | |||
105 | บัน ใจกล้า | - | ชาย | ศาลมลฑลทหารบกที่7 | ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ | |||
106 | อั้น แซ่พู่ | - | ชาย | 19 สิงหาคม พ.ศ.2503 | ระนอง | เป็นโจรสลัดปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์ | มุ่ย จุ้ยเจริญ | |
107 | เล็ก วิเชียรลักษณ์ | - | ชาย | เพี้ยน คนแรงดี | ||||
108 | สง ทองสองแก้ว | - | ชาย | 11 ตุลาคม พ.ศ.2503 | ศาลมลฑลทหารบกที่5 | ฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ | มุ่ย จุ้ยเจริญ | |
109 | เลี้ยงฮ้อ แซ่เล้า[19] | - | ชาย | 29 สิงหาคม พ.ศ.2504 | ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 17 | ผลิตเฮโรอีนเพื่อจำหน่าย | ||
110 | ลี อยู่พงษ์[note 9][20] | - | ชาย | 31 ตุลาคม พ.ศ.2504 | ศาลทหารกรุงเทพ | ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย | เพี้ยน คนแรงดี | |
111 | เฟือง มากศิริ | - | ชาย | ปากพนัง | ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน | มุ่ย จุ้ยเจริญ | ||
112 | เฉลียง ไวทยาพิศาล | - | ชาย | นราธิวาส | ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน | เพี้ยน คนแรงดี | ||
113 | ฟ้อน คำภินวม | - | ชาย | 16 มีนาคม พ.ศ.2505 | ศาลมลฑลทหารบกที่ 4 | ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน | ||
114 | อั้น องอาจ | - | ชาย | ศาลมลฑลทหารบกที่ 2 | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ | |||
115 | อิน ชาญสูงเนิน | - | ชาย | สวรรคโลก | ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน | |||
116 | ราม หริอ รวม วงศ์พันธ์[21][22][23] | 40 | ชาย | 24 เมษายน พ.ศ.2505 | ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 17 | การกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ | มุ่ย จุ้ยเจริญ | |
117 | สำเนียง ต้นแขม | - | ชาย | 12 พฤษภาคม พ.ศ.2505[note 10] | นครสวรรค์ | ฆ่าผู้อื่นเพื่อเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน | เพี้ยน คนแรงดี | |
118 | ประเสริฐ โพธิ์ทอง | - | ชาย | 10 กรกฎาคม พ.ศ.2505 | ศาลมลฑลทหารบกที่ 2 | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการหรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดเพื่อปกปิดความผิดของตน | ||
119 | นุกูล ปานเทศ | - | ชาย | 1 ตุลาคม พ.ศ.2505 | นครศรีธรรมราช | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | มุ่ย จุ้ยเจริญ | |
120 | สำลี ฤทธิ์รื่น | - | ชาย | หล่มสัก | ลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย ,ฆ่าผู้อื่นเพื่อเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน | เพี้ยน คนแรงดี | ||
121 | เขียว ทาคำมา | - | ชาย | เชียงราย | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการหรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอื่น | มุ่ย จุ้ยเจริญ | ||
122 | เจือ กาญจนรักษ์ | - | ชาย | ฉะเชิงเทรา | ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการหรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดเพื่อปกปิดความผิดฐานชิงทรัพย์ | เพี้ยน คนแรงดี | ||
123 | แอ๊ว คำสัตย์ | - | ชาย | 26 ธันวาคม พ.ศ.2505 | ศาลมลฑลทหารบกที่ 4 | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการหรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอื่น | มุ่ย จุ้ยเจริญ | |
124 | บุญยืน แสงชมพู | - | ชาย | 9 เมษายน พ.ศ. 2506 | เชียงใหม่ | มีวัตถุระเบิดสําหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงคราม และฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา[note 11] | เพี้ยน คนแรงดี | |
125 | ปัญญา หงส์ป้อง | - | ชาย | กบินทร์บุรี | พาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจาร โดยใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ หรือใช้กำลังประทุษร้าย, ฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเรา | มุ่ย จุ้ยเจริญ | ||
126 | สุวรรณ สวัสดี หรือ ชิต เรืองสวัสดิ์ | - | ชาย | ฉะเชิงเทรา | ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ | เพี้ยน คนแรงดี | ||
127 | พวน บำเพ็ญทาน | - | ชาย | อ่างทอง | ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา | มุ่ย จุ้ยเจริญ | ||
128 | ประจวบ พันธ์เจริญ | - | ชาย | 25 มิถุนายน พ.ศ. 2506 | ศาลมลฑลทหารบกที่ 2 | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | เพี้ยน คนแรงดี | |
129 | เลย ทาวรรณ์ | - | ชาย | ศาลมลฑลทหารบกที่ 7 | ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ | มุ่ย จุ้ยเจริญ | ||
130 | สี เย็นจิตร | - | ชาย | ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ | เพี้ยน คนแรงดี | |||
131 | สมพงษ์ ละอองสะอาด | - | ชาย | 14 สิงหาคม พ.ศ. 2506 | ศาลมลฑลทหารบกที่ 2 | ฆ่าคนตายเพื่อปกปิดความผิดฐานลักทรัพย์ | ||
132 | คล่อง ทองแก้ว | - | ชาย | ศาลมลฑลทหารบกที่ 5 | ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน | มุ่ย จุ้ยเจริญ | ||
133 | หนม เจริญสุข | - | ชาย | ศาลมลฑลทหารบกที่ 2 | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการหรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดเพื่อปกปิดความผิดฐานปล้นทรัพย์ | |||
134 | โฉม ม่วงวงศ์ | 59 | ชาย | 28 สิงหาคม พ.ศ. 2506 | ศาลมลฑลทหารบกที่ 4 | จ้างวานให้ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน | เพี้ยน คนแรงดี | |
135 | ทรวง ดวงนภา | - | ชาย | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2506 | อาญากรุงเทพ[note 12] | ร่วมกันฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย(ทรวง,สุวรรณ และซ้อน)/ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน(เตี้ย) [note 13] | ||
136 | สุวรรณ อุยะตุง | - | ชาย | มุ่ย จุ้ยเจริญ | ||||
137 | ซ้อน ผลวานิช | - | ชาย | เพี้ยน คนแรงดี | ||||
138 | เตี้ย วิรัช | - | ชาย | ศาลมลฑลทหารบกที่ 2[note 14] | มุ่ย จุ้ยเจริญ | |||
139 | อนันต์ เกิดบ้านใหม่ | - | ชาย | 26 ตุลาคม พ.ศ. 2507 | ศาลมลฑลทหารบกที่ 5 | ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ | เพี้ยน คนแรงดี | |
140 | ห้อย อยู่ยา | - | ชาย | ศาลมลฑลทหารบกที่ 4 | ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน | |||
141 | สวัสดิ์ ศิริศรี | - | ชาย | ศาลมลฑลทหารบกที่ 5 | ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ | |||
142 | จำลอง แจ่มจำรัส | - | ชาย | 21 มกราคม พ.ศ. 2508 | ศาลทหารกรุงเทพ | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการหรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิด และฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดของตน | ||
143 | ปิ่น ศรัทรา | - | ชาย | 10 มิถุนายน พ.ศ. 2508 | ศาลมลฑลทหารบกที่ 5 | ฆ่าบุพการีโดยไตร่ตรองไว้ก่อน,ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิด | ||
144 | จง ศรีงามฉ่ำ | - | ชาย | 24 กันยายน พ.ศ. 2508 | สุพรรณบุรี | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | มุ่ย จุ้ยเจริญ | |
145 | ฉลวย ทับวิเศษ | - | ชาย | 4 ตุลาคม พ.ศ. 2508 | ศาลทหารกรุงเทพ | ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น | เพี้ยน คนแรงดี | |
146 | เซ่ง ศิริพัน | - | ชาย | 4 ตุลาคม พ.ศ. 2508 | ศาลมลฑลทหารบกที่ 5 | จับคนเพื่อได้มาซึ่งค่าไถ่เป็นเหตุให้ผู้ถูกเอาตัวไปถึงแก่ความตาย | มุ่ย จุ้ยเจริญ | |
147 | เย็น วงค์ใน | - | ชาย | 10 มีนาคม พ.ศ. 2509 | ศาลมลฑลทหารบกที่ 7 | จ้างวานให้ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน | เพี้ยน คนแรงดี | ถนอม กิตติขจร |
148 | หลั่น ดอกดิน | - | ชาย | มุ่ย จุ้ยเจริญ | ||||
149 | บุญมี เชี่ยวบางยาง[24][25] | 26 | ชาย | 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 | ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 17 | ปล้นทรัพย์, ฆ่าคนตาย บ่อนทำลายและคุกคามความสงบภายในราชอาณาจักรและกระทบกระเทือนต่อการปกครอง | เพี้ยน คนแรงดี | |
150 | เสี่ยงเอี้ยว แซ่เซียว | - | ชาย | 10 มีนาคม พ.ศ. 2510 | ผลิตเฮโรอีนเพื่อจำหน่าย | เพี้ยน คนแรงดี | ||
151 | จิ้วซิว แซ่ฉั่ว | - | ชาย | มุ่ย จุ้ยเจริญ | ||||
152 | น้อย แหลมไธสง[26] | - | ชาย | 15 มีนาคม พ.ศ. 2510 | นครราชสีมา | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย, ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการหรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น และฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิด | เพี้ยน คนแรงดี | |
153 | เชื่อม เหมือนนรุธ | - | ชาย | 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 | ศาลทหารกรุงเทพ | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนา | มุ่ย จุ้ยเจริญ | |
154 | ถนอม ฝากฝัง | - | ชาย | เพี้ยน คนแรงดี | ||||
155 | วิชิต เกตุคำศรี[27][28][29] | - | ชาย | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2510 | ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 17 | ปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์ | ||
156 | ก๊กง้วน แซ่ฉั่ว | - | ชาย | 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 | ผลิตเฮโรอีนเพื่อจำหน่าย | มุ่ย จุ้ยเจริญ | ||
157 | บุญมี ดวงภูเขียว | - | ชาย | 18 มีนาคม พ.ศ. 2511 | ขอนแก่น | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ | เพี้ยน คนแรงดี | |
158 | ถนอม โรจนภัทร์ภาษิต | - | สุราษฎร์ธานี | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ | มุ่ย จุ้ยเจริญ | |||
159 | เขียด สุระกำแหง | - | ชาย | 4 มิถุนายน พ.ศ. 2512 | นครศรีธรรมราช | ลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย,ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ | ||
160 | บุญธรรม โพธิ์รอด | - | ชาย | 9 กันยายน พ.ศ. 2512 | สุพรรณบุรี | หลบหนีไประหว่างที่ถูกคุมขัง,ทำร้ายร่างกาย และร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ | ||
161 | สัมฤทธิ์ พวงเนียม | - | ชาย | |||||
162 | ฟ่อน พิทักษ์ | - | ชาย | 27 ตุลาคม พ.ศ. 2513 | สงขลา | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อปกปิดความผิดของตน | ||
163 | ดีน เหล้หวัน | 30 | ชาย | 21 มกราคม พ.ศ. 2514 | สงขลา | ลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย,ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ | ||
164 | วินัย โพธิ์ภิรมย์ | 19 | ชาย | 17 ธันวาคม พ.ศ. 2514 | ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 17 | ปล้นทรัพย์และฆ่าคนตายโดยเจตนา | ||
165 | เสน่ห์ อ่อนแก้ว | 21 | ชาย | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 | ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 17 | ร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าคนตายโดยเจตนา | ||
166 | ซ้งหลี แซ่ตั้ง | 20 | ชาย | ปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์[note 15] | ||||
167 | ปิยะ อำพันปอง | 27 | ชาย | |||||
168 | เจริญ ยิ้มละมุน | 34 | ชาย | 15 มิถุนายน พ.ศ. 2515 | ลพบุรี | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | ||
169 | สมศักดิ์ ปาทาน | 26 | ชาย | ชลบุรี | สมคบกันปล้นทรัพย์, ร่วมกันโทรมหญิง, สมคบกันฆ่าคนตายโดยเจตนา, ต่อสู้ขัดขวางเจ้าหน้าที่ขณะปฏิบัติหน้าที่ และมีอาวุธปืนไม่มีทะเบียนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต | |||
170 | ธวัช สุธากุล หรือ เปี๊ยก เฉลิมไทย | 26 | ชาย | |||||
171 | หงี ลิ้มประเสริฐ | - | ชาย | 16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 | ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 17 | ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาด้วยความทารุณโหดร้ายและไตร่ตรองไว้ก่อน | ||
172 | จำเนียร จันทรา | 19 | ชาย | 19 มิถุนายน พ.ศ. 2515 | สมคบกันพยายามลักทรัพย์ และฆ่าคนตายโดยเจตนา | |||
173 | ธนูชัย มนตรีวัต | 19 | ชาย | |||||
174 | สนอง โพธิ์บาง | 20 | ชาย | |||||
175 | ชู ภักดี | 36 | ชาย | 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 | ร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราและพยายามฆ่าคนเพื่อปกปิดความผิด | |||
176 | ไส้ออก ชื่นบุญ | 34 | ชาย | |||||
177 | ชัยยศ สมบูรณ์ | 19 | ชาย | 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 | ชิงทรัพย์และฆ่าคนตาย | |||
178 | จุ่งเพ้ง แซ่ตียว | - | ชาย | 18 ธันวาคม พ.ศ. 2515 | ร่วมกันผลิตและจำหน่ายเฮโรอีน | |||
179 | ซ้ง แซ่เอี่ยว | - | ชาย | |||||
180 | ภิญโญ ชูช่วยสุวรรณ | - | ชาย | 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 | ศาลมลฑลทหารบกที่ 5 | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | สัญญา ธรรมศักดิ์ | |
181 | สมยศ ปิ่นเกตุ | - | ชาย | ชุมพร | ชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | |||
182 | บัณฑิต รักษ์พันธิ์ | - | ชาย | ศาลมลฑลทหารบกที่ 5 | ข่มขืนกระทำชำเรา และฆ่าคนตายโดยเจตนา | |||
183 | สุพรรณ์ บุญศัทธา | - | ชาย | 11 ธันวาคม พ.ศ. 2516 | ศรีสะเกษ | ชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | ||
184 | น้อย วิลากลาง | - | ชาย | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 | ศาลมลฑลทหารบกที่ 7 | สมคบคิดกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ | ||
185 | มนัส อุนจะนำ | - | ชาย | เพี้ยน คนแรงดี | ||||
186 | สมจิตร สำเนียงดี | - | ชาย | อาญากรุงเทพ | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | มุ่ย จุ้ยเจริญ | ||
187 | สม จันทร์ติ๊บ | - | ชาย | ศาลมลฑลทหารบกที่ 7 | ปล้นทรัพย์โดยแต่งเครื่องแบบทหารหรือตำรวจ หรือแต่งกายให้เข้าใจว่าเป็นทหารหรือตำรวจ หรือโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิด หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุมจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | เพี้ยน คนแรงดี | ||
188 | ชาญ เอ่งฉ้วน | - | ชาย | กระบี่ | ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และพาอาวุธไปในเมือง | มุ่ย จุ้ยเจริญ | ||
189 | อำคา ฟองดี | - | ชาย | 4 มีนาคม พ.ศ. 2517 | ลพบุรี | ชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | ||
190 | ประเสริฐ ซื่อสัตย์ | - | ชาย | 16 ตุลาคม พ.ศ. 2517 | ศาลมลฑลทหารบกที่ 7 | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | เพี้ยน คนแรงดี | |
191 | ธรรมศิริ ซื่อสัตย์ | - | ชาย | มุ่ย จุ้ยเจริญ | ||||
192 | ศรีนวล นาวาระ | - | ชาย | เพี้ยน คนแรงดี | ||||
193 | สำรอง นิรโส | 34 | ชาย | 31 ตุลาคม พ.ศ. 2517 | ศาลมลฑลทหารบกที่ 5 | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | ||
194 | นิรันดร์ เกิดผิวดี | 22 | ชาย | ศาลมลฑลทหารบกที่ 3 | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | |||
195 | ไฉน พบพิมาย | 30 | ชาย | ปล้นทรัพย์โดยแต่งเครื่องแบบทหารหรือตำรวจ หรือแต่งกายให้เข้าใจว่าเป็นทหารหรือตำรวจ หรือโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิด หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุมจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย |
รายชื่อบุคคลที่ถูกยิงเป้าในช่วงปีพ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2530
[แก้]หลังจากธานินทร์ กรัยวิเชียร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการใช้มาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2519 ต่อมาพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ได้ทำรัฐประหารธานินทร์ กรัยวิเชียรแล้วให้พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการใช้มาตรา 27 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2520 และ มาตรา200 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2521[30] ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะมีอำนาจที่จะสั่งการหรือกระทำใดๆก็ได้ เช่นประหารชีวิตในกรณีที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์ในการระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร หรือราชบัลลังก์ หรือการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลาย ก่อกวน หรือคุกคามความสงบที่เกิดขึ้นภายในหรือมาจากภายนอกราชอาณาจักร[31] โดยการประหารชีวิตในท้องที่เกิดเหตุในช่วงเวลาดังกล่าวต่างจากการประหารชีวิตโดยอำนาจมาตรา 17[32] ซึ่งการประหารโดยอำนาจมาตรา 17 จะเกิดในที่สาธารณะ และดำเนินการโดยเพชณฆาตที่เป็นทหารหรือตำรวจ[33] ส่วนการประหารชีวิตในช่วงการใช้มาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2519 จนถึง มาตรา200 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2521 การประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีในท้องที่เกิดเหตุจะเกิดขึ้นภายในเรือนจำของจังหวัดท้องที่เกิดเหตุ และประหารชีวิตโดยเพชณฆาตจากกรมราชฑัณฑ์ หลังจากการประหารชีวิตพลทหารสายทอง แสงแก้ว เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 ที่เรือนจำจังหวัดอุดรธานี การประหารชีวิตถัดจากนั้นทั้งหมดได้เกิดที่เรือนจำกลางบางขวางจนถึงปัจจุบัน หลังจากการประหารชีวิตคำพัน อรรถศรี และ สุวรรณ คำภูษา เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2530 ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ก่อนจะว่างเว้นการประหารชีวิตไปเกือบ 9 ปี ก่อนจะกลับมาประหารชีวิตใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2539 โดยเป็นการประหารชีวิตพรหมมาศ หรือจุน เลื่อมใส อายุ 38 ปี เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2539[34]
ลำดับที่ | ชื่อ | อายุ | เพศ | วันที่ถูกประหารชีวิต | ศาล/คำสั่งนายกรัฐมนตรี | สถานที่ประหารชีวิต | ความผิดฐาน | เพชรฆาต | นายกรัฐมนตรี |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
196 | ถาวร อุดมรีเดด หรือ เอ็งจือ แซ่โค้ว | 44 | ชาย | 14 เมษายน พ.ศ 2520 | ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 21 | เรือนจำกลางบางขวาง | ยาเสพติด | ประถม เครือเพ่ง | ธานินทร์ กรัยวิเชียร |
197 | ฉลาด หิรัญศิริ[35][36][37][38] | 54 | ชาย | 21 เมษายน พ.ศ 2520 | บ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน , ร่วมกันเป็นตัวการสำคัญในการสะสมกำลังพลและอาวุธเพื่อเป็นกบฎ, ฆ่าเจ้าพนักงานโดยทารุณโหดร้าย | ||||
198 | สมปอง พุมวงศ์ | 21 | ชาย | 21 พฤษภาคม พ.ศ 2520 | เรือนจำจังหวัดนครนายก | ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าคนตาย | |||
199 | หมั่นโคก บุญประเสริฐ | - | ชาย | 14 มิถุนายน พ.ศ 2520 | เรือนจำจังหวัดปราจีนบุรี | บังอาจกระทำความผิดต่อประเทศชาติอย่างร้ายแรง[39][40] | |||
200 | อยู่ จาก | - | ชาย | ||||||
201 | เตี้ย จันทร์ตรา | - | ชาย | ||||||
202 | อัศวิน พูนเต่า[41] | 24 | ชาย | 1 กรกฎาคม พ.ศ 2520 | เรือนจำกลางบางขวาง | ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าคนตาย | ธิญโญ จันทร์โอทาน[note 16] | ||
203 | สมพร สีม่วง | 19 | ชาย | 26 สิงหาคม พ.ศ 2520 | เรือนจำจังหวัดหนองคาย | ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าคนตาย | ประถม เครือเพ่ง | ||
204 | วิชิต ปานนท์ | 25 | ชาย | เรือนจำกลางนครสวรรรค์ | ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าคนตาย | ธิญโญ จันทร์โอทาน | |||
205 | อุดร อำรินทร์ | 23 | ชาย | เรือนจำจังหวัดระยอง | ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าคนตาย | เรียบ เทียมสระคู | |||
206 | ดอน เกิดเป็ง | 21 | ชาย | 7 กันยายน พ.ศ 2520 | เรือนจำกลางเชียงใหม่ | ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าคนตาย | ประถม เครือเพ่ง | ||
207 | เล่าฝั่น แซ่ย่าง หรือ ฝั่น ชูเสียง | 39 | ชาย | 3 พฤศจิกายน พ.ศ 2520[note 17] | เรือนจำกลางบางขวาง | ยาเสพติด | สงัด ชลออยู่ | ||
208 | ชาญ ศรีผดุงกุล | - | ชาย | ||||||
209 | วิเชียร ชูทอง | - | ชาย | ศาลมณฑลทหารบกที่ 5 | ข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย ได้กระทำโดยทำให้ผู้ถูกกระทำเข้าใจว่าผู้กระทำมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด, ชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | ธิญโญ จันทร์โอทาน | |||
210 | คำหล้า คำลือวงศ์ หรือ หล้า สอนขันธ์ | 28 | ชาย | 23 มิถุนายน พ.ศ 2521 | ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 27 | ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าคนตาย | ประถม เครือเพ่ง | เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ | |
211 | ซิม ผึงหว่าง | - | ชาย | 3 สิงหาคม พ.ศ 2521 | ร่วมกันผลิตเฮโรอีนเพื่อจำหน่ายและมีไว้ครอบครอบโดยผิดกฎหมาย | ||||
212 | ฮีเซี้ยม แซ่เฮ้ง | - | ชาย | ||||||
213 | ปังจอง แซ่อึ้ง หรือ อึ้งปังจอง, พังฉ่าง | 42 | ชาย | 4 ตุลาคม พ.ศ 2521 | มียาเสพติดให้โทษไว้ครอบครองเพื่อจำหน่าย | ||||
214 | ปลั่ง ยิ่งสกุล | 37 | ชาย | 27 ตุลาคม พ.ศ 2521 | ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าคนตายเพื่อปกปิดความผิดของตน | ||||
215 | วิเชียร อ่างแก้ว | 22 | ชาย | ข่มขืนกระทำชำเรา, ฆ่าคนตายเพื่อปกปิดคามผิดของตน, ชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | |||||
216 | แสวง อินปรางค์ | 50 | ชาย | 23 พฤศจิกายน พ.ศ 2521 | ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าชิงทรัพย์ | ||||
217 | กิ่งแก้ว ลอสูงเนิน[42] | 28 | หญิง | 13 มกราคม พ.ศ 2522 | ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 200 | ร่วมกันจับคนเพื่อได้มาซึ่งค่าไถ่และฆ่าคนตายโดยเจตนา[43] | |||
218 | เกษม สิงห์ลา | - | ชาย | ||||||
219 | ปิ่น พึ่งญาติ | 30 | ชาย | ||||||
220 | สมคิด ศรีบัวขาว | - | ชาย | 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2520 | เรือนจำกลางอุดรธานี | ร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราอันมีลักษณะโทรมหญิงและร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนาเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราอันมีลักษณะโทรมหญิง | |||
221 | นิยม แก้วมาตย์ | - | ชาย | ธิญโญ จันทร์โอทาน | |||||
222 | คำสิงห์ อาจหาญ | - | ชาย | ||||||
223 | สายทอง แสงแก้ว | - | ชาย | 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2522[note 18] | ประถม เครือเพ่ง | ||||
224 | มะดะโอ๊ะ แวมายอ | - | ชาย | 21 กรกฎาคม พ.ศ 2523 | ศาลมณฑลทหารบกที่ 5 | เรือนจำกลางบางขวาง | ฆ่าคนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน | เปรม ติณสูลานนท์ | |
225 | น้อม จำปาทอง[note 19] | 61 | ชาย | 24 พฤศจิกายน พ.ศ 2523 | นครปฐม | ร่วมกันเอาตัวเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่เป็นเหตุให้ผู้ถูกเอาตัวไปถึงแก่ความตาย | |||
226 | อรรณพ จำปาทอง | 31 | ชาย | ธิญโญ จันทร์โอทาน | |||||
227 | จรูญ คงระเรื่อย | 32 | ชาย | 8 เมษายน พ.ศ 2524 | สุราษฏร์ธานี | ฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ | ประถม เครือเพ่ง | ||
228 | ประกอบ สกุลจันทร์ หรือ น้อย ชาสูงเนิน | 22 | ชาย | 22 พฤษภาคม พ.ศ 2524 | ศาลมณฑลทหารบกที่ 3 | พาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต, มีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต, ปล้นทรัพย์โดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิดจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายวัตถุระเบิดจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายวัตถุระเบิดจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ | |||
229 | สมบัติ เกตุจันทร์ | 30 | ชาย | ธิญโญ จันทร์โอทาน | |||||
230 | จ้อย โนนกระโทก | 24 | ชาย | ||||||
231 | ชลอ อยู่หล่ำ | - | ชาย | 9 มิถุนายน พ.ศ 2524 | พิษณุโลก | ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์, ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา, พยายามฆ่า,หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายผู้แทนรัฐต่างประเทศซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มาสู่พระราชสำนัก และกระทำความผิดอีกในระหว่างที่ยังจะต้องรับโทษอยู่ หรือ ภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ | ประถม เครือเพ่ง | ||
232 | บรรจง สว่างจิตร | - | ชาย | 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2525 | ศาลทหารกรุงเทพ | ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน | |||
233 | เล็ก เพชรบูรณ์ | - | ชาย | 8 มีนาคม พ.ศ 2525 | ศาลมลฑลทหารบกที่ 5 | จ้างวานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน | |||
234 | วัน ถวิลรัมย์ | - | ชาย | 29 เมษายน พ.ศ 2525 | ฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดฐานปล้นทรัพย์ | ||||
235 | บุญธรรม ขวัญสุข | - | ชาย | ศาลทหารกรุงเทพ | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | ธิญโญ จันทร์โอทาน | |||
236 | ถาวร พูลศิลป์ | - | ชาย | ||||||
237 | สมนึก สุขศรี | - | ชาย | 30 มกราคม พ.ศ 2527 | นครสวรรค์ | กระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตนจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย, พรากผู้เยาวน์เพื่อการอนาจาร และฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดของตน | ประถม เครือเพ่ง | ||
238 | ชัยพร ไชยมหาพรหม | - | ชาย | 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2527 | พะเยา | ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์(ฆ่าอบจ.พะเยาเมื่อปี2524) | |||
239 | เชาวลิต เกลี้ยงขำ หรือ ฆธาวุฒิ รัตนวงศ์ | - | ชาย | นครศรีธรรมราช | ปล้นทรัพย์โดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิดเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | ธิญโญ จันทร์โอทาน | |||
240 | ประเสริฐ ฉิมเจริญ | 33 | ชาย | 2 พฤษภาคม พ.ศ 2527 | สมุทรสาคร | ฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดของตนเอง, ข่มขืนกระทำชำเราโดยใช้กำลังประทุษร้าย และพกพาอาวุธ | ประถม เครือเพ่ง | ||
241 | บุญส่ง ตาละคำ | - | ชาย | 5 มิถุนายน พ.ศ 2527 | กาญจนบุรี | ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ | |||
242 | ชวลิต มีสมยา | - | ชาย | 12 มิถุนายน พ.ศ 2527 | ศาลทหารกรุงเทพ | พาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง, ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน | |||
243 | ละมัย โพธิ์สุวรรณ[44] | 27 | ชาย | 3 กรกฎาคม พ.ศ 2527 | สมุทรปราการ | ข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นโดยใช้กำลังประทุษร้ายเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำถึงแก่ความตาย | |||
244 | จำลอง ปัญญาวงษ์ | - | ชาย | ตราด | ฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดฐานปล้นทรัพย์ | ธิญโญ จันทร์โอทาน | |||
245 | มนตรี อินทรัตน์ | - | ชาย | 11 ตุลาคม พ.ศ 2527 | ทุ่งสง | ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้ายเพื่อปกปิดความผิดของตนเอง, ข่มขืนกระทำชำเราโดยใช้กำลังประทุษร้าย | |||
246 | ฉลอง อำภา | - | ชาย | 9 พฤศจิกายน พ.ศ 2527 | เชียงใหม่ | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์, ปล้นทรัพย์โดยใช้อาวุธปืน | |||
247 | ณรงค์ ปิ่นแก้ว | 30 | ชาย | 9 พฤศจิกายน พ.ศ 2527 | อาญากรุงเทพ | ฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น เพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้ และปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย[45] | |||
248 | สำราญ ปิ่นแก้ว | 34 | ชาย | เชาวเรศน์ จารุบุณย์ | |||||
249 | หลี แดงอร่าม | 49 | ชาย | ||||||
250 | สด เปล้ากระโทก | - | ชาย | 28 พฤศจิกายน พ.ศ 2527 | นครราชสีมา | ฆ่าบุพการี และพยายามฆ่าบุพการี | ธิญโญ จันทร์โอทาน | ||
251 | สิงห์ อนันทภักดิ์ | - | ชาย | 25 ธันวาคม พ.ศ 2527 | จันทบุรี | ฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดฐานชิงทรัพย์ | เชาวเรศน์ จารุบุณย์ | ||
252 | สมศักดิ์ ฉั่วตระกูล หรือ อับดุลลา | 27 | ชาย | 15 มีนาคม พ.ศ 2528 | อาญากรุงเทพ | ชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าผู้อื่นเพื่อสะดวกในการกระทำผิดและปกปิดความผิดให้พ้นจากคดีอาญา และพกพาอาวุธโดยไม่ได้รับอนุญาต | ธิญโญ จันทร์โอทาน | ||
253 | แก้วมณี ปั้นมาดี | - | ชาย | 27 มีนาคม พ.ศ 2528 | พิจิตร | มีอาวุธปืนติดตัวโดยไม่ได้รับอนุญาต, ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน | |||
254 | ชูชาติ เมฆสุทัศน์ | 36 | ชาย | 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2529 | ศาลทหารกรุงเทพ | ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน | |||
255 | จรูญ ฉายวงษ์ | 34 | ชาย | เชาวเรศน์ จารุบุณย์ | |||||
256 | วรา วรดิลก หรือ ไข่ดำ ทับเหลียว | 35 | ชาย | ศาลมณฑลทหารบกที่ 5 | ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์, พยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา | ธิญโญ จันทร์โอทาน | |||
257 | สนั่น อำกอง[46] | 54 | ชาย | 20 สิงหาคม พ.ศ 2529 | ชุมพร | ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา | |||
258 | เกรียง พิมพ์ทอง | - | ชาย | 24 ธันวาคม พ.ศ 2529 | เชียงใหม่ | ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น, พยายามฆ่าฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น, ลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์สินเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | เชาวเรศน์ จารุบุณย์ | ||
259 | วัฒนา ทิพวรรณ | - | ชาย | ธิญโญ จันทร์โอทาน | |||||
260 | หล่ง ยินดี | 35 | ชาย | 26 มกราคม พ.ศ 2530 | พะเยา | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน, พยามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา[note 20] | |||
261 | เสนอ โพธิ์ยงค์ | - | ชาย | สุราษฏร์ธานี | ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา, ลักทรัพย์โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป | ประถม เครือเพ่ง | |||
262 | เฉ่วเหงียน แซ่ว่อง | - | ชาย | สุพรรณบุรี | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์,ปล้นทรัพย์ | ธิญโญ จันทร์โอทาน | |||
263 | กมล เอี่ยมน้อย หรือ ศักดิ์สิทธิ์ พรประเสริฐ | - | ชาย | ศาลมณฑลทหารบกที่ 4 | ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา | เชาวเรศน์ จารุบุณย์ | |||
264 | เจริญ แก้วบางพระ | - | ชาย | 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 | ทุ่งสง | ร่วมกันลักทรัพย์โดยใช้อาวุธ, ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา, วางเพลิงโรงเรือนที่คนอยู่อาศัย | ธิญโญ จันทร์โอทาน | ||
265 | ทองพูน ชะลอนันท์[note 21] | - | ชาย | 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 | ศาลทหารกรุงเทพ | ร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น, พยายามฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น และปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | |||
266 | อุส่าห์ ทะเดช | - | ชาย | ทุ่งสง | ลักทรัพย์โดยใช้อาวุธปืนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | เชาวเรศน์ จารุบุณย์ | |||
267 | สุชาติ ประสาททอง หรือ สานนท์ สังข์ทอง | - | ชาย | 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 | ศาลทหารกรุงเทพ | ร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น, พยายามฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น และปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | ธิญโญ จันทร์โอทาน | ||
268 | สำรวม ชะเอมไทย | - | ชาย | เชาวเรศน์ จารุบุณย์ | |||||
269 | อินสอน ชัยมูล | - | ชาย | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2530 | เชียงใหม่ | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์, ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา | ธิญโญ จันทร์โอทาน | ||
270 | ไข่ พนาลี | - | ชาย | 17 มิถุนายน พ.ศ. 2530 | นครศรีธรรมราช | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ | |||
271 | สมศักดิ์ อุดมโสภกิจ หรือ อ้อ โสภากิจ | - | ชาย | 9 กันยายน พ.ศ. 2530 | ศาลมลฑลทหารบกที่ 5 | พาอาวุธปืนที่ไม่มีใบอนุญาตติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต, ฆ่าคนตายโดยเจตนา, พยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา | |||
272 | สมโภชน์ ชื่นชม | - | ชาย | 18 กันยายน พ.ศ. 2530 | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์, พยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา | ||||
273 | ไพริน ณ วันดี | - | ชาย | สมุทรปราการ | ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตองไว้ก่อน, มีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต | เชาวเรศน์ จารุบุณย์ | |||
274 | คำพัน อรรถศรี | - | ชาย | อาญากรุงเทพ | ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตองไว้ก่อน | ธิญโญ จันทร์โอทาน | |||
275 | สุวรรณ คำภูษา | - | ชาย | เชาวเรศน์ จารุบุณย์ |
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ แต่ไม่ตัดสิทธิ์ของผู้ต้องโทษที่จะทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ
- ↑ ผู้ต้องโทษประหารชีวิตคนแรกที่ถูกประหารด้วยการยิง ตามคำพิพากษาของศาลพิเศษในคดีกบฏนายสิบ โดยถูกประหารชีวิตที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า เนื่องจากยังไม่มีพื้นที่ประหารชีวิตเป็นการเฉพาะ หลังจากการประหารครั้งนี้ อาคารสถานที่หมดทุกข์ (อาคารประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า) ในเรือนจำกลางบางขวางสร้างแล้วเสร็จ ผู้ถูกประหารรายต่อ ๆ มาจะถูกประหารในอาคารนั้น เว้นแต่มีคำสั่งเป็นอื่นไป
- ↑ เป็นบุคคลแรกที่ถูกประหารชีวิตในอาคารสถานที่หมดทุกข์ (อาคารประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า)
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 ในปีพ.ศ. 2432 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวัน 1 เมษายน จนกระทั่งในวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2483 แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศให้ใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ แทนวันที่ 1 เมษายน ส่งผลให้ในปี พ.ศ. 2483 มี 9 เดือน
- ↑ ทิพย์ มียศทำหน้าที่เป็นเพชณฆาตมือหนึ่งยิงเป้าณเณรที่หลักประหารหลักที่ 1 ส่วนเหรียญ เพิ่มกำลังเมืองเพชณฆาตมือสองยิงเป้าลี หลังจากการยิงชุดแรกลีได้เสียชีวิต แต่ณเณรยังไม่เสียชีวิตและเขาได้ตะโกนว่าผมยังไม่ตาย..ยิงผมอีก ทิพย์เกิดอาการมือไม้สั่นและผงะออกจากแท่นปืน ทำให้เหรียญ เพิ่มกำลังเมืองต้องทำหน้าที่แทนทิพย์และยิงณเณรจากแท่นปืนของทิพย์จำนวน 1 ชุดและณเณรก็เสียชีวิตจากการยิงในชุดที่สอง
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 6.7 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกและจัดตั้งศาลทหารระหว่างวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2484 จนถึง วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2489 โดยมีการนำคดีของพลเรือนหลายประเภทมาขึ้นศาลทหาร ซึ่งนักโทษจะไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์หรือฎีกา
- ↑ แอ้วหรือชั้น,สน ชูนาม พี่ชายของสวัสดิ์ ผู้สมรุร่วมคิดของสวัสดิ์ ชูนาม ได้ร่วมกันก่อคดีฆาตกรรมผล ชูนาม ลูกพี่ลูกน้องของเขา ที่จังหวัดราชบุรี สวัสดิ์ถูกจับกุมและถูกประหารชีวิตในปี พ.ศ 2482 แต่แอ้วหลบหนีไปและได้ก่อคดีไว้หลายคดี และแอ้วยังได้ก่อเหตุฆ่าเจ้าหน้าที่ตำรวจขณะยิงต่อสู้เจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อหลบหนีการจับกุม ก่อนที่เขาจะถูกจับกุมในปี พ.ศ. 2486 แอ้วถูกศาลทหารกรุงเทพตัดสินประหารชีวิตโดยไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์หรือฎีกา เนื่องจากเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ประกาศใช้กฎอัยการศึก แอ้วถูกตัดสินประหารชีวิตในคดีฆ่าเจ้าหน้าที่ตำรวจและถูกประหารชีวิตในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 พร้อมกับพัน จูจันในคดีฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งคนละคดีกัน
- ↑ ข้อมูลบางแหล่งระบุว่าศุภชัยถูกประหารชีวิตที่ท้องสนามหลวง แต่คำสั่งประหารชีวิตศุภชัยให้ทำในบริเวณเรือนจำบางขวาง หากการประหารชีวิตเกิดขึ้นภายในเรือนจำกลางบางขวาง เพชณฆาตน่าจะเป็นเพี้ยน คนแรงดี เนื่องจากเขาเป็นคนเดียวที่ปฎิบัติหน้าที่เป็นเพชณฆาตในช่วงเวลาดังกล่าว
- ↑ เฉลิม กัปตันแดงผู้สมรุร่วมคิดของลีซึ่งถูกตัดสินประหารชีวิตได้แหกคุกเรือนจำกลางบางขวางเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2504 สำเร็จ โดยถูกพบเห็นเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ที่ป่าในจังหวัดบุรีรัมย์ บริเวณชายแดนไทย–กัมพูชา หลังจากนั้นก็ไม่มีใครพบเห็นเขาอีกเลย
- ↑ หนึ่งในสามนักโทษประหารแหกคุกที่สามารถหลบหนีออกจากเรือนจำกลางบางขวางเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ก่อนจะถูกจับกุมในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 และถูกนำกลับไปคุมขังที่เรือนจำกลางบางขวางเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ก่อนจะมีคำสั่งให้ประหารชีวิตในอีกสองวันต่อมาและการประหารชีวิตเกิดขึ้นเมื่อเวลา01.24 น.ของวันถัดมา
- ↑ หนึ่งในสามนักโทษประหารแหกคุกที่สามารถหลบหนีออกจากเรือนจำกลางบางขวางเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ก่อนจะถูกจับกุมในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2505
- ↑ สำหรับทรวง,สุวรรณ และซ้อน ซึ่งถูกจับกุมมาก่อน ศาลชั้นต้นได้พิพากษาจำคุกตลอดชีวิตทั้งสามตามประมวลกฎหมายลักษณะอาญามาตรา250(3)ในปี พ.ศ. 2500 ศาลเห็นว่าคดีเกิดก่อนการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย จึงยังใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 มาพิจารณาคดี ต่อศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2506 ศาลฎีกาได้แก้คำตัดสินจากจำคุกตลอดชีวิตเป็นประหารชีวิต
- ↑ ทรวง ,สุวรรณ,ซ้อน,เตี้ย และสิบตำรวจตรีทรงศักดิ์ วัจวาทินได้ร่วมกันพาพ่อค้าวัวควายผิดกฎหมาย 4 คนไปยังตำบลไร่วุ้ง อำเภอเกาะกง จังหวัดกำปอด เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ 2498 เมื่อเดินทางเข้าไปถึงป่ารกในเกาะกง ทั้ง 5 คนได้ใช้ปืนจี้พ่อค้าวัวควายและปลดทรัพย์สินก่อนจะยิงทั้ง 4 คนจนเสียชีวิต
- ↑ เตี้ยหนึ่งในผู้ก่อเหตุฆาตกรรมพ่อค้าวัวควายผิดกฎหมาย 4 คนที่อำเภอเกาะกง เตี้ยถูกจับกุมในปีพ.ศ. 2506 ในช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ในระหว่างช่วงที่สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นนายกรัฐมนตรี และมีการประกาศใช้กฏอัยการศึก ซึ่งผู้ที่กระทำความผิดจะถูกพิจารณาคดีโดยศาลทหารโดยไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์หรือฎีกา เขาถูกตัดสินตามประมวลกฎหมายอาญาในปี พ.ศ. 2499
- ↑ ปิยะได้พาพรรคพวกรวม 7 คนบุกเข้าปล้นธนาคารไทยพัฒนา เมื่อปีพ.ศ. 2515 ระหว่างการประกาศใช้กฎอัยการศึกโดยคณะปฎิวัติ เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 3 คนแต่ไม่มีผู้เสียชีวิต
- ↑ ประถม เครือเพ่งเพชณฆาตมือหนึ่งได้มอบหมายให้ธิญโญ จันทร์โอทาน เพชณฆาตมือสองทำหน้าที่แทน แต่ในบันทึกการประหารชีวิตระบุว่าประถมเป็นผู้ทำหน้าที่เพชณฆาต
- ↑ เล่าฝั่น แซ่ย่าง และชาญ ศรีผดุงกุล พ่อค้ายาเสพติด ถูกประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 21 ในช่วงเช้า ส่วนวิเชียร ชูทอง ฆาตกรฆ่าข่มขืนที่จังหวัดพังงาซึ่งถูกตัดสินโดยศาลทหารถูกประหารชีวิตในช่วงเย็นของวันเดียวกัน
- ↑ พลทหารสายทอง แสงแก้ว หนึ่งในสี่ผู้ร่วมก่อเหตุโทรมหญิงและฆาตกรรมที่อำเภอโนนสัง ซึ่งถูกคุมขังที่เรือนจำทหารจังหวัดนครราชสีมา วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2522 เวลา 04.30 น. เขาถูกเบิกตัวออกจากห้องขังรวมไปยังห้องควบคุมพิเศษเพื่อรอเจ้าหน้าที่ตำรวจจากจังหวัดอุดรธานีรับตัวไปประหารชีวิต เมื่อนำตัวสายทองเข้าไปในห้องขัง เขาไปพบขวดน้ำปลาเก่าอยู่ในห้องจึงทุบเป็นปากฉลามแล้วพยามยามฆ่าตัวตายด้วยการแทงจนได้รับบาดเจ็บสาหัสเนื่องจากเขาทราบว่าตัวเองกำลังจะถูกประหารชีวิต ผู้คุมเรือนจำทหารจึงนำตัวสายทองส่งโรงพยาบาลค่ายสุรนารีและแพทย์ได้ผ่าตัดจนรอดชีวิต แต่ต้องให้น้ำเกลือและออกซิเจนตลอดเวลาเนื่องจากอาการยังอยู่ในขั้นวิกฤต ส่งผลให้มีคำสั่งให้ประหารชีวิตสมคิด,นิยม และคำสิงห์ ในวันเดียวกัน หลังจากแพทย์ได้รักษาสายทองจนพ้นขีดอันตราย ในตอนแรกการประหารชีวิตสายทองจะเกิดขึ้นในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ แต่วันดังกล่าวเป็นวันมาฆบูชาจึงเลื่อนการประหารชีวิตไปเป็นวันที่ 12 กุมภาพันธ์ และประหารชีวิตสายทองเมื่อเวลา 17.45 น. การประหารชีวิตสายทองนับเป็นการประหารชีวิตครั้งสุดท้ายที่เกิดขึ้นนอกเรือนจำกลางบางขวาง
- ↑ ในตอนแรกน้อมและอรรณพจะถูกประหารพร้อมกัน แต่น้อมได้ขอร้องให้นำตัวเขาไปประหารก่อนเพียงคนเดียวเพราะเขาทำใจไม่ได้ที่จะรู้ว่าลูกชายต้องมาตายอยู่ด้วยกันใกล้ๆ น้อมจึงถูกนำตัวไปประหารชีวิตก่อน หลังจากประหารชีวิตน้อมได้นำตัวอรรณพเข้ามาประหารชีวิต
- ↑ ถูกตัดสินประหารชีวิตเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 จากคดีฆาตกรรมสุริยัน ส่องแสง นักร้องเพลงลูกทุ่งที่สนามโรงเรียนบ้านจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา และยังถูกตัดสินประหารชีวิตในคดีฆ่านายเสา หวนอารมณ์ที่อำเภอจุน จังหวัดพะเยา แต่เขาถูกยกฎีกาและประหารชีวิตจากคดีฆาตกรรมสุริยัน ส่องแสง
- ↑ สุชาติกับสำรวมผู้สมรุร่วมคิดของทองพูนซึ่งตัดสินประหารชีวิตในคดีเดียวกันแต่ถูกประหารชีวิตหลังจากทองพูน 3 วันเนื่องจากคำสั่งประหารตกมาไม่พร้อมกัน
ดูเพิ่ม
[แก้]- กบฏในประเทศไทย
- โทษประหารชีวิตในประเทศไทย
- รายชื่อผู้หญิงที่ถูกประหารชีวิตในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2477
- รายชื่อบุคคลที่ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2539
- การประหารชีวิตด้วยการยิง
- เรือนจำกลางบางขวาง
ลิงก์จากภายนอก
[แก้]- ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม ๒๕ ลงวันที่ ๑ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๗ (พ.ศ. ๒๔๕๑) ซึ่งลงประกาศกฎหมายลักษณอาญา ประมวลกฎหมายสมัยใหม่ฉบับแรกของประเทศสยาม
- กระบวนการสู่การกระทำความผิดในคดีฆาตกรรมของนักโทษประหาร หน้าที่ 67
- การซ้อนทับจับวางของวาทกรรมทัณฑวิทยา: วงศาวิทยาของการใช้โทษประหารและความรุนแรงเพื่อการลงทัณฑ์ในประวัติศาสตร์ไทย
- คำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 200 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (คำสั่งประหารชีวิตกิ่งแก้ว ลอสูงเนิน, ปิ่น พึ่งญาติ และเกษม สิงห์ลา)
- คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2522 ตามมาตรา 200 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (คำสั่งประหารชีวิตสมคิด ศรีบัวขาว, นิยม แก้วมาตย์, คำสิงห์ อาจหาญ และสายทอง แสงแก้ว)
บันทึกการประหารชีวิตซึ่งถูกบันทึกไว้โดยเรือนจำกลางบางขวางและเผยแพร่ผ่านทางเฟสบุ๊ค โดยอรรถยุทธ พวงสุวรรณ
[แก้]- นักโทษประหารด้วยการยิงเป้ารายที่1-41
- นักโทษประหารด้วยการยิงเป้ารายที่42-83
- นักโทษประหารด้วยการยิงเป้ารายที่84-123
- นักโทษประหารด้วยการยิงเป้ารายที่124-162
- นักโทษประหารด้วยการยิงเป้ารายที่163-201
- นักโทษประหารด้วยการยิงเป้ารายที่202-240
- นักโทษประหารด้วยการยิงเป้ารายที่241-280
บรรณานุกรม
[แก้]- เชาวเรศน์ จารุบุณย์ (2549). The Last Executioner Memoirs of Thailand's Last Executioner (ภาษาอังกฤษ). Maverick House. ISBN 9781905379262.
- 'เชาวเรศน์ จารุบุณย์ (2549). เพชฌฆาตคนสุดท้ายเล่มที่ 1. กรุงเทพ: ดอกหญ้า 2000. ISBN 9789749244463.
- 'เชาวเรศน์ จารุบุณย์ (2553). บันทึก.....แดนประหาร คุกบางขวาง. กรุงเทพ: ดอกหญ้า 2000. ISBN 9789746907576.
- อรรถยุทธ พวงสุวรรณ (2565). คำสารภาพสุดท้ายของนักโทษประหาร. กรุงเทพ: เพชรประกาย. ISBN 9786165786645.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- “ประถม เครือเพ่ง” ชีวิตเพชฌฆาตมัจจุราชคนเป็น l บุคคลในตำนาน EP10
- เส้นทางสู่ความตายของนักโทษประหาร | ทอล์คในตำนาน ซีซั่น 4
- การยิงเป้าของประเทศไทย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ s:พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะอาชญา พุทธศักราช 2477 (ฉะบับที่ 6) ประกอบกับs:คำสั่งนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 29 เมษายน 2478 (ฉบับที่ 3)
- ↑ ประมวลกฎหมายอาญา
- ↑ "การประหารชีวิต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-24. สืบค้นเมื่อ 2024-01-18.
- ↑ สถิติการประหารชีวิต เก็บถาวร 2009-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก เรือนจำกลางบางขวาง, สืบค้นวันที่ 19 พ.ย. 2552
- ↑ Thailand: Executions / fear of further executions
- ↑ Thailand: Fear of imminent execution: one unnamed prisoner
- ↑ รายงานพิเศษ : เปิดประวัติศาสตร์การลงทัณฑ์ประหาร
- ↑ 3 ส.ค.2478 "กบฏนายสิบ" จบแต่ยังไม่เริ่ม!
- ↑ กบฏนายสิบ
- ↑ กลุ่มนายสิบรวมหัวทำรัฐประหาร ชิงอำนาจถวายคืนพระปกเกล้าฯ!สังเวยชีวิตเพื่อราชบัลลังก์!!
- ↑ ย้อนรอย “ประหารชีวิต” ก่อนนับหนึ่งใหม่ ฟื้นโทษฉีดยาพิษรอบ 9 ปี
- ↑ การซ้อนทับจับวางของวาทกรรมทัณฑวิทยา: วงศาวิทยาของการใช้โทษประหารและความรุนแรงเพื่อการลงทัณฑ์ในประวัติศาสตร์ไทยหน้าที่ 116 - 118
- ↑ 20 พ.ย.2482 18 กบฏ โทษประหาร โดยศาลพิเศษ
- ↑ ลาก่อนชีวิต... ลาก่อนแม้แต่สิ่งอันสุดที่รัก !
- ↑ ประหารชีวิต "ศุภชัย ศรีสติ" วิศวะนักเรียนนอก วัย 34ปี ปลุกระดมต้านรัฐบาล
- ↑ ปิดตำนาน “คนกินคน” 60 ปีข่าวสยองขวัญ “ซีอุย”
- ↑ ปิดตำนาน 61 ปี ตีตรา " ซีอุย มนุษย์กินคน"
- ↑ ซีอุย : ฌาปนกิจร่าง "ซีอุย แซ่อึ้ง" ปิดตำนานผู้ที่ถูกสังคมตั้งฉายา "มนุษย์กินคน"
- ↑ สฤษดิ์ลุยปราบสารเสพติด เบื้องหลังยกเลิก “ฝิ่น” ถึงประหารชีวิตพ่อค้า “เฮโรอีน” ด้วย ม.17
- ↑ หนังสือพิมพ์อาณาจักรไทย วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ราคา 1 บาท
- ↑ 'ประธานผู้ลี้ภัย' งัวเงียตื่น! ควัก ม. 17 คำสั่ง 'สฤษดิ์' ประหารผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
- ↑ การปราบปรามคอมมิวนิสต์ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ.ศ. 2501-2506
- ↑ "ปืนปิดปาก ประหารชีวิต" ปราบคอมมิวนิสต์ยุค "สฤษดิ์ ธนะรัชต์" ที่สุดของเผด็จการ
- ↑ “หากทำผิดแล้ว ผมจับไม่ไว้หน้าใครทั้งนั้น”
- ↑ สูญเสียปูชนียบุคคล
- ↑ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2509
- ↑ ตำนานนักโทษประหาร
- ↑ โจรผยองปิดตลาดปล้น! นายกฯใช้ ม.๑๗ สั่งปล้นที่ไหนยิงเป้าที่นั่นโดย ๖ นาย ตร.ประกบ ๖ โจร!!
- ↑ [หนังสือประวัติ อำเภอท่าเรือ เรียบเรียงโดยสุรศักดิ์ พุ่มวันเพ็ญ ]
- ↑ มาตรา 17 พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ จะมีอยู่ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ?
- ↑ มีอะไรใน รัฐ/ธรรมนูญชั่วคราว ฉบับ คณะรัฐประหาร
- ↑ ความล่มสลายของสถาบันรัฐประหาร (ตอนที่ 1): รัฐประหารในประเทศไทยและการทำให้รัฐประหารเป็นสถาบันทางการเมือง
- ↑ การใช้อำนาจตามมาตรา 17 แห่งรัฐธรรมนูญไทย
- ↑ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539
- ↑ คณะทหารหนุ่ม (16) | ทำไมต้องประหาร พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ
- ↑ ข้าพเจ้าเห็นการยิงเป้า
- ↑ 26 มี.ค.2520 เหตุการณ์ที่นำมาสู่ การประหารชีวิตกบฏคนสุดท้าย!
- ↑ รัฐประหารซ้ำซ้อน ฉีก”รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย2519 (ฉบับที่ 11)EP.10
- ↑ The Last Executioner Page 8
- ↑ The Last Executioner Page 9
- ↑ “ผมมันคนชอบทำไม่เหมือนชาวบ้าน เวลาแกะรอยตามคดีต่าง ๆ”
- ↑ ไทยรัฐออนไลน์ (17 พฤศจิกายน 2562). "3 นาทีคดีดัง : เรื่องจริง "กิ่งแก้ว" นักโทษประหารหญิง ยิงเป้าไม่ยอมตาย (คลิป)". กรุงเทพมหานคร: ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ จารุบุณย์, เชาวเรศน์ (2015). The Last Executioner: Memoirs of Thailand's Last Executioner (ภาษาอังกฤษ). Maverick House. p. 100. ISBN 978-1-908518-41-5.
- ↑ นักโทษประหารด้วยการยิงเป้ารายที่243 ของไทย "ไอ้ม้าซาดิสม์"
- ↑ The Last Executioner Page 10
- ↑ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2681/2527
เฉลิม กัปตันแดง
[แก้]เฉลิม กัปตันแดง | |
---|---|
เกิด | พ.ศ. 2466 ตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศสยาม |
สาบสูญ | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2504 (38 ปี) จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย |
สถานะ | ศาลได้มีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้ถือว่าถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2509 |
เสียชีวิต | ประเทศกัมพูชา |
อาชีพ | นักฆ่า |
นายจ้าง | กงวาล วีรนนท์(เคยทำงานให้) |
สถานะทางคดี | เสียชีวิต |
ข้อหา | ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย |
บทลงโทษ | ประหารชีวิต |
คู่หู | ลี อยู่พงษ์ |
รายละเอียด | |
ประเทศ | ประเทศไทย/ประเทศกัมพูชา |
วันที่ถูกจับ | พ.ศ.2504 |
เฉลิม กัปตันแดง
ดัด ภูมลา
[แก้]ดัด ภูมลา (พ.ศ.2493 - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2515) เป็นฆาตกรหมู่ชาวไทยผู้ก่อเหตุสังหารหมู่ด้วยระเบิดมือที่วัดสระบัว ตำบลผึ่งแดด อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดนครพนม เมื่อปี พ.ศ. 2515 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 9 คน และบาดเจ็บ 13 คน และถูกประหารชีวิตตามมาตรา 17 ของรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร[1][2] [3]
ดัด ภูมลา | |
---|---|
เกิด | พ.ศ.2493 ตำบลผึ่งแดด อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม |
เสียชีวิต | 1 ธันวาคม พ.ศ. 2515 (22 ปี) สนามบินพาณิชย์ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม |
สาเหตุเสียชีวิต | ประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเป็นชุด |
พลเมือง | ไทย |
การศึกษา | ประถมศึกษาปีที่ 4 |
อาชีพ | ทหารรับจ้าง |
ปีปฏิบัติงาน | 2513 - พฤษภาคม พ.ศ. 2515 |
นายจ้าง | ประเทศลาว |
มีชื่อเสียงจาก | ก่อเหตุขว้างระเบิดมือจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก |
สถานะทางคดี | ประหารชีวิตตามคำสั่งถนอม กิตติขจร |
เหตุจูงใจ | ล้างแค้นคู่อริทีชกปาก |
ข้อหา | ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและกระทำทารุณโหดร้าย |
รายละเอียด | |
วันที่ | 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 |
ประเทศ | ประเทศไทย |
รัฐ | จังหวัดนครพนม |
ตำแหน่ง | ร้านน้ำแข็งใสในวัดสระบัว ตำบลผึ่งแดด อำเภอมุกดาหาร |
เป้าหมาย | กลุ่มของจันทวี บุญรักษ์ |
ตาย | 9 |
บาดเจ็บ | 13 |
อาวุธ | ระเบิดมือ |
วันที่ถูกจับ | 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 |
จำคุกที่ | สถานีตำรวจภูธรเมืองนครพนม |
ประวัติ
[แก้]ดัดเป็นคนมุกดาหาร เขาเป็นลูกคนที่ 5 จากทั้งหมด 6 คน เขาจบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แล้วออกมาช่วยพ่อแม่ทำงาน เขามีนิสัยชอบลักเล็กขโมยน้อยและทำตัวเป็นอันธพาล ต่อมาในปีพ.ศ.2513 เขาได้หนีคดีไปเป็นทหารรับจ้างที่ประเทศลาว ต่อมาในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2515 เขาหนีทหารจากประเทศลาวกลับมาที่มุกดาหารพร้อมกับนำปืนและระเบิดมือกลับมาด้วย เขามีนิสัยเกเร เมื่อเมาสุราเขามักจะทะเลาะวิวาทกับผู้อื่นเป็นประจำ[4]
การก่อคดี
[แก้]ในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ 2515 ดัดได้เดินทางมาเที่ยวงานทำบุญประจำปีที่วัดสระบัว อำเภอมุกดาหาร และหาเหล้าดื่ม เมื่อเดินทางไปถึงเวทีนางรำ เขาได้เข้าไปโค้งนางรำ จึงเกิดความกระทบกระทั่งกับกลุ่มของจันทวี บุญรักษ์ ซึ่งเป็นกลุ่มวัยรุ่นที่รำวงอยู่บนเวที ทำให้ถูกวัยรุ่นคนหนึ่งชกปากจนล้มลง เมื่อเขาลุกขึ้นแล้วพบว่ากลุ่มวัยรุ่นมีมากกว่า เขาจึงเดินทางออกจากงานแล้วกลับไปเอาระเบิดมือซึ่งใช้ในยามสงครามจากบ้าน[5][6] ในช่วงกลางดึกย่างเข้าสู่วันที่ 8 พฤษภาคม ดัดเดินหากลุ่มวันรุ่นจนพบกลุ่มวัยรุ่นนั่งกินน้ำแข็งใสอยู่ที่ร้านค้า เขาดึงสลักระเบิดและขว้างใส่ร้านค้า ระเบิดได้ทำงานทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตหลายราย แล้วดัดได้หลบหนีออกจากที่เกิดเหตุ ผู้ที่เห็นเหตุการณ์ได้เข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลโดยพบว่ามีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 9 คน รวมถึงเจ้าของร้าน,เด็ก ,กลุ่มของจันทวี และมีผู้บาดเจ็บสาหัส 3 คน ไม่สาหัส 10 คน[7][8][9][10]
การจับกุมและการประหารชีวิต
[แก้]ในวันเดียวกันเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เดินทางไปที่บ้านดัดเพื่อจับกุม แต่พบว่าดัดหลบหนีไปยังแขวงสุวรรณเขตประเทศลาว เจ้าหน้าที่ตำรวจมุกดาหารจึงร่วมมือติดตามกับตำรวจลาวเพื่อจับกุมดัดที่ประเทศลาว และตำรวจลาวสามารถจับกุมดัดได้ในช่วงเช้าของวันเดียวกัน ดัดได้ให้การรับสารภาพว่าได้โยนระเบิดใส่คนในงานวัดจริงเพื่อล้างแค้นคู่อริที่ชกปากในเวทีรำวง เมื่อเจอคู่อรินั่งกินน้ำแข็งใสจึงโยนระเบิดใส่ และมีพยานยืนยันตัวของดัดเป็นคนร้าย หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ย้ายตัวดัดไปขังไว้สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครพนม[11][12]
หลังจากนั้นตำรวจจังหวัดนครพนมได้ส่งมอบสำนวนการสอบสวนและพยานหลักฐานให้คณะปฎิวิติเนื่องจากดัดกระทำความผิดโดยไม่คิดถึงชีวิตของผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้หญิงที่ไปเที่ยวงานอย่างไม่เกรงกลัวอาญาแผ่นดิน เป็นคนมีจิตใจเหี้ยมโหดอำมหิต มีนิสัยเป็นนักเลงอัทธพาลในหมู่บ้าน นับเป็นบุคคลที่เป็นอันตรายต่อสังคมจึงเสนอให้คณะปฎิวัติลงโทษสถานหนักเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อไป[13]
วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 จอมพล ถนอม กิตติขจร ลงนามในคำสั่งให้ประหารชีวิตดัด ภูมิลา โดยเห็นว่าเป็นการก่อคดีอาญาที่สยดสยอง และเขย่าขวัญประชาชน พฤติกรรมที่กระทำไปนอกจากเป็นการอุอาจไม่เกรงกลัวต่ออาญาแผ่นดินยังแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้มีจิตใจโหดเหี้ยมอำมหิตปราศจากมนุษย์ธรรม นับได้ว่าเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคมอย่างร้ายแรง โดยกำหนดให้สนามบินพาณิชย์จังหวัดนครพนมเป็นสถานที่ประหารชีวิตดัดซึ่งจะเกิดขึ้นในวันรุ่งขึ้น[14][15][16][17]
ดัดรู้ตัวว่าตนเองจะถูกประหารชีวิตจึงนอนกระสับกระส่ายตลอดทั้งคืน เขาขอให้ตำรวจซื้อเบียร์มาให้กินเป็นครั้งสุดท้าย แต่ไม่สามารถซื้อให้ได้เนื่องจากเปนของมึนเมา และเขายังได้ขอเสื้อสีขาวจากเพื่อนผู้ต้องหามาใส่ในวันประหารชีวิต[18]
ในวันที่ 1 ธันวาคม เวลา 07.00 น. ดัดถูกเบิกตัวไปยังกองกำกับการตำวจภูธรเพื่อดำเนินตามขั้นตอน โดยเริ่มอ่านคำสั่งของหัวหน้าคณะปฎิวัติแล้วให้เซ็นทราบในคำสั่ง ตามด้วยการยืนยันตัวบุคคลว่าเป็นบุคคลเดียวกับในคำสั่ง แล้วนำอาหารมื้อสุดท้ายมาแต่ดัดไม่รับประทาน ถัดจากนั้นตำรวจได้นิมนต์พระครูอาธาน พนมกิจ มาเทศนาเรื่องกฎแห่งกรรม โดยเขารับฟังอย่างสงบ หลังจากนั้นได้ให้ทำพินัยกรรม แต่ดัดไม่ทำพินัยกรรม แต่เขียนจดหมายถึงพ่อ และไม่บริจาคร่างกาย เวลา 12.00 น. เจ้าหน้าที่นำตัวของเขาขึ้นรถไปยังสนามบินพาณิชย์ เมื่อถึงสนามบิน เขาถูกพาตัวไปมัดกับหลักประหารโดยหันเข้าหาหลักแล้วตั้งเป้าตาวัว พันตำรวจตรีอรุณ ประสานสิทธิ์ ผู้บังคับกองสถานีตำรวจภูธรมุกดาหาร ได้ออกคำสั่งให้เรียกแถวเพชฌฆาต 5 นายซึ่งเป็นตำรวจ มาหยุดยืนตั้งแถวหน้ากระดานหน้ากล่องหลักประหาร หลังจากนั้นอรุณได้ออกคำสั่งให้ยิง ดัดถูกประหารชีวิตเมื่อเวลา 12.32 น. กระสุนเข้าลำตัวทุกนัดรวม 50 นัด หลังจากนั้นนายแพทย์อารี มูลพันธ์ได้เข้าไปตรวจสอบร่างของดัดและแจ้งว่าเสียชีวิตแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงนำศพของเขาลงจากหลักประหารแล้วพิมพ์ลายนิ้วมือก่อนจะนำศพไปเก็บไว้ที่วัดศรีเทพประดิษฐารามเนื่องจากไม่มีผู้มาขอรับศพ[19][20][21][22]
ดูเพิ่ม
[แก้]- โทษประหารชีวิตในประเทศไทย
- รายชื่อการสังหารหมู่ในประเทศไทย
- รายชื่อโศกนาฏกรรมและภัยพิบัติในประเทศไทย
- รายชื่อฆาตกรอาละวาด (en:List of rampage killers)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พวงสุวรรณ, อรรถยุทธ (2021-02-04). "ประหารที่จังหวัดนครพนม". สืบค้นเมื่อ 2024-05-22.
- ↑ "ยิง 50 นัด". หนังสือพิมพ์เดลินิวส์. 2 December 1972. p. 16.
- ↑ "ยิงเป้ามือระเบิด 9 ศพ". หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. 1 December 1972. p. 2.
- ↑ "ยิง 50 นัด". หนังสือพิมพ์เดลินิวส์. 2 December 1972. p. 16.
- ↑ "ยิงเป้ามือระเบิด 9 ศพ". หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. 1 December 1972. p. 2.
- ↑ "หน.ปว.ยิงเป้ามือระเบิด 9 ศพ". หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย. 1 December 1972. p. 16.
- ↑ Grenade kills nine, Winnipeg Free Press (May 12, 1972)
- ↑ "Grenade kills nine". The Windsor Star (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). Reuters. 1972-05-11. p. 73 – โดยทาง Google News Archive.
- ↑ 9 Thais Killed by Grenade, The New York Times (May 11, 1972)
- ↑ "จอมพลถนอมสั่งประหารฆาตกร 9 ศพ ดัด ภูมิลา". หนังสือพิมพ์ไทยเดลี่. 1 December 1972. p. 16.
- ↑ "จอมพลถนอมสั่งประหารฆาตกร 9 ศพ ดัด ภูมิลา". หนังสือพิมพ์ไทยเดลี่. 1 December 1972. p. 16.
- ↑ "ยิงเป้ามือระเบิด 9 ศพ". หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. 1 December 1972. p. 2.
- ↑ "ยิงเป้ามือระเบิด 9 ศพ". หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. 1 December 1972. p. 2.
- ↑ "จอทพลถนอมสั่งประหารฆาตกร 9 ศพ ดัด ภูมิลา". หนังสือพิมพ์ไทยเดลี่. 1 December 1972. p. 16.
- ↑ "ยิงเป้ามือระเบิด 9 ศพ". หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. 1 December 1972. p. 2.
- ↑ "ยิง 50 นัด". หนังสือพิมพ์เดลินิวส์. 2 December 1972. p. 16.
- ↑ "หน.ปว.ยิงเป้ามือระเบิด 9 ศพ". หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย. 2 December 1972. p. 16.
- ↑ "ยิง 50 นัด". หนังสือพิมพ์เดลินิวส์. 2 December 1972. p. 16.
- ↑ "ยิง 50 นัด". หนังสือพิมพ์เดลินิวส์. 2 December 1972. p. 16.
- ↑ "ประหารชีวิตนักปล้นฆ่าตำรวจ ยิงเป้ามือระเบิด". หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. 2 December 1972. p. 16.
- ↑ "มือระเบิด 9 ศพโดนรัว 50 นัดเป็นผีไม่มีญาติ". หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย. 3 December 1972. p. 16.
- ↑ "ไม่ยอมกินข้าวก่อนยิงเป้า". หนังสือพิมพ์ไทยเดลี่. 2 December 1972. p. 16.
ธีรศักดิ์ บุญเรือง
[แก้]ธีรศักดิ์ บุญเรือง หรือ ต้อย (พ.ศ. 2523 - 27 เมษายน พ.ศ. 2567) เป็นฆาตกรหมู่ชาวไทยผู้ก่อเหตุฆาตกรรมเด็กนักเรียนม.6 จำนวน 3 คน ที่อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ เนื่องจากหลอนยาเสพติด และยังได้ทำร้ายเพื่อนผู้ต้องขังขณะถูกคุมขังในสถานีตำรวจ[1] เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้สมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าตรวจค้นและยึดทรัพย์เครือข่ายค้ายาเสพติดในจังหวัดกระบี่[2][3]
ธีรศักดิ์ บุญเรือง | |
---|---|
เกิด | พ.ศ. 2523 อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ |
เสียชีวิต | 27 เมษายน พ.ศ. 2567 (44 ปี) โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช |
สาเหตุเสียชีวิต | ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ |
ชื่ออื่น | เสี่ยต้อย ไอ้ต้อย |
อาชีพ | เจ้าของร้านจำหน่ายและเปลี่ยนยางรถยนต์ |
สถานะทางคดี | เสียชีวิต |
เหตุจูงใจ | หลอนประสาทจากยาบ้า |
พิพากษาลงโทษฐาน |
|
บทลงโทษ | ประหารชีวิตลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิตเปลี่ยนเป็นยกฟ้อง (2562) ประหารชีวิต (2565) |
รายละเอียด | |
วันที่ | 6 กันยายน พ.ศ. 2565 7 กันยายน พ.ศ. 2565 |
ประเทศ | ประเทศไทย |
รัฐ | จังหวัดกระบี่ |
ตำแหน่ง | ริมทางหลวงหมายเลข 4156 ตำบลพรุเตียว อำเภอเขาพนม สถานีตำรวจภูธรเขาพนม ตำบลเขาพนม อำเภอเขาพนม |
ตาย | 3 |
บาดเจ็บ | 1 |
อาวุธ | ปืนลูกซอง รถบีเอ็มดับเบิลยูรุ่น525I |
วันที่ถูกจับ | 6 กันยายน พ.ศ. 2565 |
จำคุกที่ | เรือนจำกลางนครศรีธรรมราช |
ประวัติ
[แก้]ธีรศักดิ์เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2523 เป็นชาวจังหวัดกระบี่ เขาเสพและติดยาบ้ามาเป็นเวลานานแล้ว แม่ของธีรศักดิ์เคยส่งเขาไปบำบัดยาเสพติดแต่หลังจากบำบัดเขาก็กลับมาเสพยาบ้าอีก ต่อมาเขามีภรรยาและลูกที่ตำบลเขาดิน ในช่วงประมาณปีพ.ศ. 2562 เขาเคยถูกจับกุมในจ้างวานฆ่าผู้หญิงคนหนึ่งในพื้นที่อำเภอเหนือคลองเนื่องจากมือปืนรับจ้างซัดทอดว่าเขาเป็นผู้จ้างวาน ศาลจังหวัดกระบี่ได้ตัดสินประหารชีวิต ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้ลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต แต่ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง[4] ในระหว่างเมายาเสพติดเขาเคยใช้ปืนพกขนาด.38 กับปืนลูกซองยาวยิงประตูบ้านตนเองจนเป็นรูพรุนทั้งบาน และเคยใช้สีสเปร์ยพ่นที่ประตูหน้าบ้านว่า "ขาย มีปัญหาภายในครอบครัว" ทั้งๆที่ไม่ได้มีปัญหาอะไร[5][6] เขามีพฤติกรรมชอบขับรถไปชนผู้อื่น เขาเคยขับรถไปชนพ่อตาของญาติหนึ่งในผู้เสียชีวิต ตอนแรกเขาตกลงจ่ายค่าเยียวยา 60,000 บาท แต่เขาจ่ายจริงน้อยกว่า[7][8]
การก่อคดี
[แก้]ในช่วงกลางคืนของวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2565 ธีรศักดิ์ได้ชวนลูกและภรรยาให้ไปนอนที่ร้านจำหน่ายและเปลี่ยนยางรถยนต์ในตำบลพรุเตียว แต่เขาออกรถมาก่อนทำให้ลูกและภรรยาไม่เดินทางมาด้วย เขาขับรถเก๋งยี่ห้อบีเอ็มดับเบิลยูสีดำ รุ่น525I ไปตามทางหลวงหมายเลข 4156 ต่อมาในเวลา 01.00 น. ของวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2565 นายนนทภัทร อุดมศรี อายุ 18 ปี, นางสาวภัณธิรา ชูทอง อายุ 18 ปี และนางสาวณัชนิชา พันเซ่ง อายุ 18 ปี ทั้งสามเป็นโรงเรียนพนมเบญจา ได้ขับรถจักรยานยนต์ออกจากบ้านของภัณธิชาที่ตำบลพรุเตียวเพื่อเดินทางไปนอนที่บ้านของณัชนิชาที่ตำบลเขาพนม[9] เมื่อเข้าใกล้โค้ง เขาได้ขับรถเบี่ยงเข้าเลนที่ทั้งสามขับรถจักรยานยนต์แล้วพุ่งชนประสานงากับรถจักรยายนต์ทำให้รถจักรยานยนต์ตกลงข้างทาง ธีรศักดิ์ได้ลงจากรถมาพร้อมกับปืนลูกซองยาวแล้วยิงทั้งสามคนจนเสียชีวิต ก่อนจะขับรถไปตามอำเภอลำทับ[10][11]
เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ลงพื้นที่และสอบสวนพยานที่เห็นเหตุการณ์และชาวบ้าน ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทราบชื่อคนร้ายคือธีรศักดิ์ บุญเรือง[12]
การจับกุม
[แก้]ในเวลา 07.30 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจ และหน่วยสวาทของสถานีตำรวจภูธรเขาพนมนำกำลังจำนวน 20 นาย ล้อมร้านเปลี่ยนยางของธีรศักดิ์ที่ริมทางหลวงหมายเลข 4156 ตำบลพรุเตียว หลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจพบเจ้าของร้านคือธีรศักดิ์ เมื่อเดินทางไปถึงตำรวจได้พบรถเก๋งยี่ห้อบีเอ็มดับเบิลยูสีดำ รุ่น525I อยู่ในโรงรถข้างร้าน รถเก๋งมีสภาพกระจกด้านข้างคนขับแตกจากการกระแทกและด้านหน้าพังเสียหาย เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เรียกธีรศักดิ์ซึ่งเป็นเจ้าของร้าน แต่เขาไม่ยอมเปิดประตู เมื่อพ่อแม่ของเขามาร่วมเจรจา หลังจากผ่านไปประมาณ 1 ชั่วโมง เขาได้เปิดประตูแง้มออกมาดู 1 ครั้ง เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงวิ่งเข้าไปจับกุม เขาได้วิ่งหนีไปทางประตูด้านข้างพร้อมกับถือปืนพกขนาด.357 เมื่อเขาเห็นพ่อยืนอยู่ข้างตำรวจ เขาจึงโยนปืนทิ้งและยอมให้จับกุม[13] ถัดจากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตรวจค้นห้องนอนในบ้านของเขา โดยพบปืนลูกซองยาว 1 กระบอก และปลอกกระสุนปืนขนาด .357 กระจายอยู่ตามพื้นห้อง ตามลานในร้าน และยังพบรูกระสุนจำนวนมากบนผนังของร้าน[14] เจ้าหน้าที่ตำรวจได้สอบถามธีรศักดิ์ เขาได้ให้การวกวน และยอมรับว่าเมื่อคืนเขาเสพยาบ้ามาจำนวน 2 เม็ด จากนั้นได้ขับรถคันดังกล่าวจากบ้านของภรรยาที่ตำบลเขาดิน เพื่อมุ่งหน้ากลับบ้านมาเพียงคนเดียว เมื่อถึงที่เกิดเหตุ เขาได้ขับรถพุ่งชนรถจักรยานยนต์เนื่องจากคิดว่ากลุ่มคนที่ขับรถมาจะฆ่าเขา หลังจากนั้นเขาจอดรถแล้วใช้ปืนลูกซองยิงใส่กลุ่มของผู้เสียชีวิต จำนวน 3 นัด ส่วนรถจักรยานยนต์ที่ไฟไหม้นั้นเกิดไฟลุกไหม้ขณะชนกัน เขาได้ปฎิเสธว่าไม่ได้เผา[15]
ในเวลา 17.30 น. ชุดสืบสวนของสถานีตำรวจภูธรเขาพนมได้นำตัวเขาไปส่งพนักงานสอบสวนและแจ้งข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา, ยิงปืนในที่สาธารณะ, พกพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้านทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันควร, มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และเสพยาเสพติดประเภท 1 หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ควบคุมตัวเขาเข้าห้องขังรวมที่สถานีตำรวจภูธรเขาพนม[16] เมื่อปลอดเจ้าหน้าที่ตำรวจ เขาได้ล็อกคอเพื่อนผู้ต้องขังคนหนึ่งแล้วจับหัวโขกพื้นจนได้รับบาดเจ็บสาหัส[17] เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงใช้ไม้ง่ามเพื่อควบคุมตัวของเขา แล้วนำตัวไปคุมขังที่ห้องขังเดี่ยว[18] โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้คัดค้านประกันตัวและขออนุมัติศาลจังหวัดกระบี่ฝากขังเพื่อฝากขังในวันที่ 7 กันยายน[19] ต่อมาในวันที่ 8 กันยายน เวลา 09.30 น.เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำตัวของธีรศักดิ์ขึ้นรถควบคุมผู้ต้องหาเพื่อนำไปฝากขังที่แดนที่ 1 ของเรือนจำจังหวัดกระบี่ โดยแยกออกจากผู้ต้องขัง 8 คนซึ่งถูกจับกุมหลังจากขยายผลในคดีของเขา ตามการให้การออกเขาที่ให้การว่าเขาไปซื้อยาบ้าจากบุคคลกลุ่มดังกล่าว ระหว่างที่นำตัวของเขาออกจากห้องขัง เขามีสภาพอิดโรย เมื่อผู้สื่อข่าวได้พยามสอบถามเขาว่ามีอะไรจะพูด หรืออยากจะฝากอะไรถึงครอบครัวผู้เสียชีวิต เขาไม่ได้ตอบจนถูกนำตัวขึ้นรถ หลังจากที่ศาลปิดทำการเขาก็ถูกส่งตัวไปคุมขังที่เรือนจำจังหวัดกระบี่[20] ในวันที่ 9 กันยายน ผู้สื่อข่าวได้ไปสอบถามเจ้าหน้าที่เรือนจำจังหวัดกระบี่เกี่ยวกับการควบคุมตัวของธีรศักดิ์ เจ้าหน้าที่ได้ให้ข้อมูลว่า ธีรศักดิ์นอนสงบดี ไม่มีอาการโวยวายหรือหลอนใดๆ โดยถูกเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงดูแลอยู่ในแดนที่ 1[21]
ปฎิกิริยาต่อคดีและการจับกุมอื่นๆหลังจากนั้น
[แก้]เหตุการณ์ดังกล่าวและคดีสะเทือนขวัญในจังหวัดกระบี่ซึ่งเกิดขึ้นภายใน 7 วันโดยยาเสพติดมีส่วนเกิดข้องกับการก่อคดี ทำให้เกิดเสียงเรียกร้องจากชาวบ้านในจังหวัดกระบี่ให้รัฐบาลเพิ่มมาตรการจัดการปัญหายาเสพติดยิ่งขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันยาเสพติดมีราคาถูก และหาซื้อง่ายจนมีคนติดยาเสพติดเพิ่มขึ้น ซึ่งสร้างปัญหาให้สังคมหนักมากยิ่งขึ้นทุกวัน ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ และฝ่ายปกครองได้ออกปฎิบัติการณ์กวาดล้างยาเสพติด[22]
ในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ 2565 สมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ดังกล่าวพร้อมกับมอบหมายให้ทางสำนักงานยุติธรรมจังหวัดกระบี่ประสานกับญาติผู้เสียชีวิตเพื่อแจ้งสิทธิตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา ซึ่งจะเร่งพิจารณาให้ และได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าตรวจค้น สืบสวน ขยายผลและยึดทรัพย์เครือข่ายค้ายาเสพติดในพื้นที่จังหวัดกระบี่ทั้งหมดเพื่อตัดวงจรเครือข่ายค้ายาเสพติด และได้เชิญชวนให้ประชาชนร่วมกันแจ้งเบาะแสยาเสพติด ที่สายด่วน ป.ป.ส.1386 โดยผู้แจ้งจะได้รับการคุมครองความปลอดภัยพร้อมกับข้อมูลทั้งหมดดจะถูกเก็บเป็นความลับและจะได้เงินรางวัลนำจับร้อยละ 5 จากทรัพย์สินที่ยึดได้[23]
ในวันที่ 8 กันยายน เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 8 ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรเขาพนมได้ปิดล้อม 4 เป้าหมายและสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ 1 คนพร้อมกับยาบ้าจำนวนหนึ่ง[24] ในวันต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมหญิงชื่อว่าจารีย์ เนื่องจากธีรศักดิ์ได้ซัดทอดว่าก่อนก่อเหตุเขาซื้อยาบ้าจากจารีย์จึงจำนวน 10 เม็ด[25] ซึ่งการจับกุมจารีย์จะทำให้หลักฐานในคดีของธีรศักดิ์แน่นขึ้น[26] ในเวลา 10.00 น. ของวันเดียวกัน มะโน เครือแก้ว กำนันตำบลกระบี่น้อย พร้อมกับประชาชนจำนวน 200 คนได้เดินทางมารวมตัวกันหน้าศาลากลางจังหวัดกระบี่เพื่อยื่นหนังสือถึงพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ผู้ดำรงตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรี ผ่านทางพลเอกสมบัติ สืบท้วม รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดกระบี่ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการแก้ปัญหาเรื่องยาเสพติดอย่างเป็นระบบ และเห็นผลอย่างแท้จริง หลังจากเกิดคดีสะเทือนขวัญในจังหวัดกระบี่ถึง 3 คดี ในระยะเวลา 7 วัน โดยมีข้อเสนอให้รัฐบาลบังคับใช้กฎหมายต่อผู้ค้าและเสพติดยาเสพติดให้เด็ดขาด, ตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหายาเสพติดขึ้นมาเป็นพิเศษ และเอาผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดทุกกรณีโดยเด็ดขาด พลเอกสมบัติได้รับปากว่าจะเสนอไปยังพลเอกประวิตรโดยตรงและจะดำเนินการอย่างเร่งด่วน[27] วันที่ 14 กันยายน นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ และพล.ต.ต.ชัยวัฒน์ อุ้ยคำ ผู้บังคับบัญชาตำรวจภูธรจังหวัดกระบี่ ปล่อยแถวเจ้าหน้าที่ตำรวจและกองอาสารักษาดินแดนเพื่อออกปฎิบัติการกวาดล้างยาเสพติด โดยขอหมายศาลเข้าตรวจค้น 60 จุด และสามารถจับกุมผู้เสพยาเสพติดและผู้ค้ายาเสพติดได้กว่า 100 คน[28] โดยผู้เสพจะถูกส่งไปบำบัด ส่วนผู้ค้าจะถูกส่งไปพิจารณาคดีต่อไป พุฒิพงศ์ยังได้กล่าวอีกว่า"การปราบปรามการก่ออาชญากรรม และยาเสพติดเป็นนโยบายเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย เนื่องจากจังหวัดกระบี่เป็นเมืองท่องเที่ยว"[29]
การพิจารณาคดี และเสียชีวิต
[แก้]ศาลจังหวัดกระบี่ได้ตัดสินประหารชีวิตธีรศักดิ์ในปีพ.ศ. 2566 และเรือนจำจังหวัดกระบี่ได้ย้ายตัวของเขาไปยังเรือนจำกลางนครศรีธรรมราชเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566[30]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2567 เขาติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ระหว่างการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในเรือนจำจังหวัดนครศรีธรรรมราช[31] เรือนจำจังหวัดนครศรีธรรมราชจึงส่งตัวของเขาไปยังโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ในช่วงเช้าของวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567 เขาเสียชีวิตที่โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชหลังจากอาการทรุดตัวลงประกอบกับอาการติดเชื้อในกระแสเลือด หลังจากนั้นญาติของเขาได้รับศพของเขากลับไปประกอบพิธีทางศาสนาที่บ้านของเขาใน ตำบลพรุเตียว อำเภอเขาพนม[32][33]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ มือยิงนักเรียนดับ 3 ศพ เสียชีวิตในเรือนจำนาพรุ ป่วยไข้หวัดจนติดเชื้อในกระแสเลือด ญาติรับศพมาทำพิธีที่บ้าน
- ↑ เอาจริงเสียที
- ↑ ยาบ้าระบาดหนัก ไล่ไทม์ไลน์ 3 คดีฆาตกรรมสุดโหดรอบ 7 วันที่ "กระบี่"
- ↑ สารภาพหลอนยา! จับแล้ว เสี่ยร้านล้อแม็ก ยิงเด็ก ม.6 ดับ 3 ศพที่กระบี่
- ↑ คลั่งไม่เลิก! ‘ไอ้ต้อย’ อาละวาดทำร้ายผู้ต้องขัง ตร.จับแยกขังเดี่ยว ครอบครัวเด็กวอนประหารชีวิต
- ↑ อัปเดต! บุกจับ "เสี่ยต้อย" แล้ว ยิงดับ 3 ศพ นักเรียน ม.6 คาด ผตห. หลอนเสพยาบ้า
- ↑ แม่เด็ก ถูก “ไอ้ต้อย” ขับรถพุ่งชนเสียชีวิต ร่ำไห้! ลั่นแค่ขอโทษไม่ได้ ต้องชดใช้ เอาให้ตาย ประหารได้ยิ่งดี
- ↑ ด่วน! ตำรวจเขาพนม กระบี่ สนธิกำลังสืบสวนภาค 8 ปิดล้อมสยบ 'หนุ่มคลั่ง' มือปืนฆ่าอำมหิต กระหน่ำยิงนักเรียน 3 ศพ ที่แท้เจ้าของอู่-ลูกเศรษฐีในพื้นที่
- ↑ บีบใจยายบอกรัก "คิมหันต์" หน้าโลง นั่งลูบริสแบนด์แทนตัว ฉะไอ้คลั่งฆ่าดับฝันเป็นครู (คลิป)
- ↑ เก๋งดำโหด! ชน จยย.เด็กนักเรียน ชักปืนยิงดับ 3 ศพทิ้งข้างทางเผารถอำพรางคดี
- ↑ ภาพวงจรปิด คนร้ายซิ่งรถเร็วก่อนชนจยย.นักเรียน ม.6 คดีสะเทือนขวัญยิงดับ 3 ศพ
- ↑ จับเสี่ยต้อย เมายาบ้าฆ่า นร. 3 ศพ คลั่งยิงบ้านพรุน เมียบอกผัวเสพมาตลอด (คลิป)
- ↑ จับเสี่ยต้อย เมายาบ้าฆ่า นร. 3 ศพ คลั่งยิงบ้านพรุน เมียบอกผัวเสพมาตลอด (คลิป)
- ↑ อัปเดต! บุกจับ "เสี่ยต้อย" แล้ว ยิงดับ 3 ศพ นักเรียน ม.6 คาด ผตห. หลอนเสพยาบ้า
- ↑ อัปเดต สอบปากคำแม่-เมีย "ต้อย" คดียิงดับ 3 ศพ-เปิดประวัตินร.คุณภาพ เหยื่อทาสยานรก
- ↑ แจ้ง 5 ข้อหาหนักมือยิงนักเรียนดับ 3 ศพ
- ↑ เสี่ยต้อย’ พลิกลิ้น! ปัดไม่รู้ว่ายิงเด็กตาย 3 ศพ เกิดคลั่งทำร้ายผู้ต้องขังรายอื่น
- ↑ คลั่งไม่หยุด! แยกขัง “ไอ้ต้อย” มือสังหารนักเรียนดับ 3 ศพ หลังจับผู้ต้องหาอื่นหัวโขกพื้น
- ↑ คุมตัว ‘เสี่ยต้อย’ ฝากขัง ด้านป้ารุดเยี่ยม ยันตอนไม่คลั่งยาหลานชายเป็นคนดี
- ↑ เสี่ยต้อย 3 ศพคอตกเข้าคุก แม่น้องแพรเจอเหตุทำขนลุก เชื่อวิญญาณมาหาคู่แฝด
- ↑ ส่ง "ไอ้ต้อย" นอนคุกคืนแรก! "น้องน้ำฝน" นักเรียน 1 ในเหยื่อสิงร่างน้าร่ำไห้
- ↑ ยาบ้าระบาดหนัก ไล่ไทม์ไลน์ 3 คดีฆาตกรรมสุดโหดรอบ 7 วันที่ "กระบี่"
- ↑ "สมศักดิ์" สั่งเยียวยาครอบครัว 3 นักเรียน เหยื่อคมกระสุน "เสี่ยต้อย"
- ↑ ป.ป.ส.รับลูก ยธ.ปิดล้อมเครือข่ายค้ายาบ้าให้ "เสี่ยต้อย" 4 จุดที่กระบี่
- ↑ จับแล้วเอเยนต์สาวขายยาบ้าให้ "ไอ้ต้อย"
- ↑ จับแล้ว! เอเย่นต์ยาขายให้ "ไอ้ต้อย" มือยิงนักเรียน ม.6 เสียชีวิต 3 ศพ
- ↑ ชาวกระบี่ แต่งดำ ยื่น 3 ข้อเรียกร้อง จี้ "ลุงป้อม" แก้ปัญหายาเสพติดเร่งด่วน
- ↑ กันไว้ดีกว่าแก้
- ↑ ตื่นแล้ว! ผวจ.กระบี่ เปิดแผนปฏิบัติการลุยปราบยาเสพติด ค้นเป้าหมาย 60 จุด ขณะ “ไอ้ต้อย” ถูกขังเดี่ยว
- ↑ มือยิงโหดนักเรียนดับ 3 ศพ เสียชีวิตแล้วในเรือนจำ หลังป่วยไข้หวัดใหญ่
- ↑ "ไข้หวัดใหญ่" ระบาดเรือนจำนครศรีธรรมราช 3,442 คน ตาย 2 คน
- ↑ มือยิงนร.ดับ 3 ศพ ตายแล้วในเรือนจำนาพรุ หลังป่วยไข้หวัดจนติดเชื้อในกระแสเลือด
- ↑ มือยิงนักเรียนดับ 3 ศพ เสียชีวิตในเรือนจำนาพรุ ป่วยไข้หวัดจนติดเชื้อในกระแสเลือด ญาติรับศพมาทำพิธีที่บ้าน
พรหมมาศ เลื่อมใส
[แก้]พรหมมาศ หรือ จุ่น เลื่อมใส (มกราคม พ.ศ. 2501 - 28 มกราคม พ.ศ. 2539) เป็นฆาตกรต่อเนื่องชาวไทย ผู้ก่อเหตุฆาตกรรมคน 3 คนระหว่างปีพ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2531 เขาถูกตัดสินประหารชีวิตจากการฆาตกรรมสุพจน์ ทองบริสุทธิ์ พลเมืองดีระหว่างการปล้นร้านขายยาที่อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ในปีพ.ศ. 2528 และถูกประหารชีวิตในปีพ.ศ. 2539 เขานับเป็นบุคคลแรกที่ถูกประหารชีวิตในรอบ 8 ปี[1] หลังจากการประหารชีวิตสมโภชน์ ชื่นชม, ไพริน ณ วันดี, คำพัน อรรถศรี และสุวรรณ คำภูษา เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2530[2][3][4]
พรหมมาศ เลื่อมใส | |
---|---|
เกิด | มกราคม พ.ศ. 2501 ตำบลเกาะลอย อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 26 มกราคม พ.ศ. 2539 (38 ปี) เรือนจำกลางบางขวาง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย |
สาเหตุเสียชีวิต | ประหารชีวิตด้วยการยิง |
ชื่ออื่น | จุ่น |
อาชีพ | ลูกเรือประมง |
มีชื่อเสียงจาก | บุคคลแรกที่ถูกประหารชีวิตในรอบ 8 ปี |
สถานะทางคดี | ถูกประหารชีวิต |
พิพากษาลงโทษฐาน |
|
บทลงโทษ | ประหารชีวิต |
รายละเอียด | |
ระยะเวลาอาชญากรรม | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2528–28 มีนาคม พ.ศ. 2531 |
ประเทศ | ประเทศไทย |
รัฐ | จังหวัดฉะเชิงเทรา, จังหวัดชลบุรี |
ตำแหน่ง | ร้านขายยาอี้เซ้ง ตำบลลาดขวาง อำเภอบ้านโพธิ์ ร้านอาหารโต้รุ่ง ตลาดช่องแสมสาร ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ บ้านเนินไผ่ ตำบลหน้าประดู่ อำเภอพานทอง |
ตาย | สุพจน์ ทองบริสุทธิ์ อายุ 32 ปี สมบูรณ์ พลอยประเสริฐ อายุ 26 ปี พลวิษณุ บุญเผย อายุ 28 ปี |
บาดเจ็บ | เกียรติ สุขประเสริฐ |
อาวุธ | ปืนลูกซองยาว ปืนพกขนาด .38 |
วันที่ถูกจับ | 28 มีนาคม พ.ศ. 2531 |
จำคุกที่ | เรือนจำกลางบางขวาง |
การก่อคดี
[แก้]การปล้นร้านขายยาอี้เซ้ง
[แก้]วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2528 พรหมมาศได้พาคนร้ายจำนวน 5 คนนั่งเรือหางยาวมาตามคลองลาดขวางแล้วจอดที่ท่าเรือห่างจากบ้านครอบครัวเจริญสุข 20 เมตร ถัดจากนั้นพรหมมาศและคนร้ายอีก 2 คนซึ่งใส่หมวกไหมพรมคลุมหน้าได้ลงจากเรือพร้อมกับมีด, ปืนขนาด.38 และปืนลูกซองยาว แล้วเดินเข้ามาหานางสาวศิริพร เจริญสุข อายุ 17 ปี ซึ่งกำลังแล้วขายของอยู่หน้าร้าน กลุ่มคนร้ายได้ใช้ปืนขู่ศิริพรเพื่อไม่ให้ขัดขืน ก่อนจะแยกย้ายกันรื้อค้นทรัพย์สิน[5] ระหว่างที่คนร้ายรื้อค้นทรัพย์สิน ศิริพรได้ตะโกนขอความช่วยเหลือ นงนุชแม่ของศิริพรที่กำลังกินข้าวอยู่ในครัวหลังบ้านจึงกระโดดออกจากหน้าต่างแล้ววิ่งหนีไปปีนรั้วหลังบ้านเพื่อขอความช่วยเหลือจากชาวบ้านและตะโกนว่า"ช่วยด้วย...ช่วยด้วย...ไฟไหม้" ทำให้ปราณีแม่ของศิริพรซึ่งนอนอยู่ชั้นสองได้รีบลงมายังชั้นล่างทำให้เธอถูกหนึ่งในคนร้ายใช้ปืนจ่อศรีษะ ในเวลาเดียวกันนายสุพจน์ ทองบริสุทธิ์ อายุ 32 ปี ชาวบ้านที่อยู่ห่างจากร้านขายยาเล็กน้อยได้คิดว่าได้เกิดไฟไหม้จริงๆ จึงวิ่งออกจากบ้านเพื่อมาช่วยดับไฟ พรหมมาศซึ่งถือปืนลูกซองและเป็นหัวหน้าสั่งการลูกน้องอยู่จึงใช้ปืนยิงออกจากร้าน ส่งผลให้สุพจน์เสียชีวิตในทันที เมื่อคนร้ายได้ทรัพย์สินมูลค่า 4,000 บาท ซึ่งประกอบด้วยเข็มขัดเงินน้ำหนัก 14 บาท จำนวน 1 เส้น แว่นตา 1 อัน กลุ่มคนร้ายจึงออกจากร้านไปพร้อมกับแบกเอาตู้เก็บเครื่องสำอางกับตู้ใส่แว่นไปด้วย ระหว่างที่ออกจากร้านกลุ่มคนร้ายได้ใช้ปืนยิงขึ้นฟ้าจำนวน 5 นัดเพื่อขู่ชาวบ้าน ก่อนจะวิ่งกลับไปที่เรือหางยาวก่อนจะขับหลบหนีไป[6][7]
จากการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอบ้านโพธิ์ทำให้ทราบชื่อผู้ก่อเหตุยิงสุพจน์คือพรหมมาศ เลื่อมใส ตำรวจจึงออกหมายจับพรหมมาศแต่เขาได้หลบหนีไปทำงานเป็นลูกเรือประมง เมื่อไม่ได้ออกเรือเขามักจะไปเล่นพนันตามวงไพ่หรือไฮโล[8]
การฆาตกรรมที่ร้านอาหารโต้รุ่ง ตลาดช่องแสมสาร
[แก้]ในช่วงหลังเที่ยงคืนของวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 เขาได้ไปกินเหล้าที่ร้านอาหารโต้รุ่งตลาดช่องแสมสาร เขาได้มีปากเสียกับสมบูรณ์ พลอยประเสริฐและเกียรติ สุขประเสริฐ นายท้ายเรือประมงซึ่งมานั่งดื่มเหล้าที่โต๊ะตรงข้าม เมื่อพบว่าไม่น่าจะสู้ได้ เขาจึงกลับไปเอาปืนลูกซองจากบ้าน ในเวลา 01.00 น. เขาได้ใช้ปืนลูกซองยิงเกียรติจนได้รับบาดเจ็บสาหัส สมบูรณ์จึงลุกขึ้นมาแย่งปืนลูกซองจากพรหมมาศ เมื่อสมบูรณ์เสียหลักล้มลง เขาจึงใช้ปืนยิงที่ศรีษะของสมบูรณ์จนเสียชีวิตแล้วหลบหนีไป เจ้าหน้าที่ตำรวจสันนิฐานว่าคนร้ายน่าจะเคยมีเรื่องโกรธกันมาก่อน[9] จากการสืบสวนพยานที่เหตุการณ์ทำให้ทราบชื่อของคนร้ายคือพรหมมาศ เลื่อมใส[10]
การฆาตกรรมครั้งสุดท้ายและการจับกุม
[แก้]วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2531 เวลาประมาณ 12.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอพานทองจำนวน 9 นายได้เข้าจับกุมผู้เล่นพนันรัมมี่ที่บ้านเนินไผ่ อำเภอพานทอง ระหว่างที่พลวิษณุ บุญเผย, สิบตำรวจตรีชาพุมาตร ศรีคุมแก้ว และดาบตำรวจถาวร สวัสดิผล กำลังวิ่งไล่ตามนักพนันจำนวน 3 คน เมื่อพรหมมาศหนึ่งในนักพนันจวนตัว เขาจึงหันกลับมาแล้วใช้ปืนยิงวิษณุจำนวน 2 นัด ทำให้วิษณุเสียชีวิต ถาวรและชาพุมาตรจึงเปลี่ยนจากการติดตามนักพนันคนอื่นมาติดตามเขา เมื่อเขาเห็นถาวรและชาพุมาตรเข้าใกล้จึงยิงใส่ทั้งสอง 2 นัดแต่กระสุนไม่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ ชาพุมาตรจึงใช้ปืนยิงขึ้นฟ้าจำนวน 3 นัด เขาจึงโยนปืนลงคูน้ำและยอมจำนนเนื่องจากกลัวจะถูกวิสามัญฆาตกรรมและไม่มีกระสุนเหลือ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงควบคุมตัวเขามายังสถานีตำรวจภูธรพานทองเพื่อดำเนินคดีตามกฏหมายและแจ้งข้อหาพกอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่, พยามยามฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ และต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน[11]
การพิจารณาคดี และการประหารชีวิต
[แก้]ในปีพ.ศ. 2531 ศาลจังหวัดฉะเชิงเทราได้ตัดสินประหารชีวิตพรหมมาศในความผิดฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายจากคดีฆาตกรรมสุพจน์ ทองบริสุทธิ์ที่อำเภอบ้านโพธิ์ และย้ายตัวเขาไปยังเรือนจำกลางบางขวาง ส่วนคดีฆาตกรรมที่จังหวัดชลบุรีไม่พบข้อมูลคำตัดสินว่าได้รับโทษอย่างไร เขาได้ใช้สิทธิ์ขอยื่นอุทธรณ์ ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้พิพากษายืนประหารชีวิต หลังจากนั้นเขาได้ใช้สิทธิ์ขอยื่นฎีกา แต่ศาลฏีกาก็พิพากษายืนประหารชีวิตตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เขาจึงถวายฎีกาทูลเกล้าขอพระราชทานอภัยโทษในปี พ.ศ. 2536 แต่ฎีกาดังกล่าวได้ถูกกระทรวงมหาดไทยสั่งยกในปีพ.ศ. 2538 เนื่องจากเขามีพฤติกรรมเป็นอาชญากร ประกอบกับการก่ออาชญากรรมหลายครั้ง ประพฤติตัวเป็นภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน และไม่มีทางแก้ไขให้กลับตัวเป็นคนดีได้ ต่อมาในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2538 หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นได้รายงานว่าเจ้าหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยได้กล่าวว่าชายคนหนึ่งซึ่งไม่ได้มีการเปิดเผยชื่อ กำลังจะถูกประหารชีวิตเพื่อยับยั้งการก่ออาชญกรรม โดยชายคนดังกล่าวถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานปล้นทรัพย์และฆาตกรรม 3 ครั้งในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ในช่วงปี พ.ศ. 2528 ถึง 2530 จริงๆบุคคลดังกล่าวก็คือพรหมมาศแต่ยังไม่ได้มีการเปิดเผยชื่อว่าพรหมมาศคือชายที่กำลังจะถูกประหารชีวิต[12][13]
วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2539 เวลาประมาณ 16.00 น. เจ้าหน้าที่ได้นำตัวพรหมมาศออกจากหมวดควบคุมนักโทษประหารแดน 1 อย่างเงียบๆเพื่อไม่ให้นักโทษประหารคนอื่นแตกตื่น เมื่อนำตัวมาถึงหมวดผู้ช่วยเหลือฯ เจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองทะเบียนประวัติอาชญากรได้เข้าไปพิมพ์ลายนิ้วมือของเขาและตรวจสอบประวัติอาชญากร เมื่อเจ้าหน้าที่พิมพ์ลายนิ้วมือของเขาเสร็จ เวรผู้ใหญ่ได้ทำการอ่านคำสั่งจากสำนักนายกรัฐมนตรีให้และให้เซ็นลงในคำสั่ง ถัดจากนั้นได้ให้เขาเขียนพินัยกรรมโดยเขาได้เขียนจดหมายถึงแม่ หลังจากเขียนพินัยกรรมและจดหมาย พี่เลี้ยงได้ยกอาหารมื้อสุดท้ายซึ่งประกอบด้วยข้าวเปล่า, น้ำพริกปลาทู และแกงจืดมะระยัดไส้มา เขามีอาการกลัวจนเดินไม่ไหวและเหงื่อออก เขาได้ขอบุหรี่มาสูบเพื่อลดความหวาดกลัว ในเวลา 17.00 น. เจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงนำเขาเข้าไปเพื่อฟังเทศนาธรรมจากพระครูอินทสรานุรักษ์ซึ่งเทศนาเรื่องกฎแห่งกรรม ระหว่างฟังเทศน์เขามีสีหน้าซีดเผือกและหวาดกลัวมาก พระครูอินทสรานุรักษ์เห็นใบหน้าของเขาจึงเทศน์ให้ให้มีสติตั้งมั่นในหลักธรรมคําสอนเรื่อง การเกิด แก่ เจ็บ ตาย อันเป็นของธรรมดาสุดแต่เวรแต่กรรม มิให้ยึดถือโกรแค้น ทำให้ความหวาดกลัวของเขาลดลงและสงบนิ่งมากขึ้น โดยยังมีน้ำตาคลอหน้าอยู่บ้าง หลังจากการเทศน์ระยะเวลาประมาณ 10 นาที เขาได้ถวายเงินติดกัณฑ์เทศน์ ถัดจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้พาเขาไปยังศาลาเย็นในเพื่อเตรียมการประหารชีวิต โดยระหว่างเดินเขาร้องไห้และคอพับอ่อนจนเดินไม่ไหว[14] เขาถูกนำตัวเข้าสถานที่หมดทุกข์และถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเมื่อเวลา 18.48 น. โดยเพชณฆาตเชาวน์เรศน์ จารุบุศย์ ซึ่งเขาเสียชีวิตจากการยิงเพียงชุดเดียว[15] หลังจากการประหารชีวิต 3 นาทีพี่เลี้ยงและแพทย์ได้ตรวจสอบร่างของเขาและยืนยันว่าเขาเสียชีวิตก่อนปลดเขาออกจากหลักประหารแล้วนำศพของเขาคว่ำหน้าไว้ ก่อนนำศพของเขาไปพิมพ์ลายนิ้วมือ ในวันถัดมานักโทษซึ่งเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานได้ตัดตรวนสองชั้นที่ขาของเขาออกแล้วอาบน้ำกับเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ก่อนบรรจุลงไปในโลงศพ แล้วนำศพออกไปทางประตูเเดงของวัดบางแพรกใต้ ก่อนนำศพไปเก็บที่ช่องเก็บศพนักโทษประหาร แล้วโบกปูนและเขียนชื่อของนักโทษที่ถูกประหารชีวิตไว้ด้านหน้าของช่องเก็บศพ ในอีกสองวันต่อมาญาติของเขาได้เดินทางมารับศพกลับไปประกอบพิธีกรรมตามศาสนาที่อำเภอพานทอง[16][17][18]
พรหมมาศนับเป็นบุคคลแรกที่ถูกประหารชีวิตในรอบ 8 ปี นับตั้งแต่การประหารชีวิตสมโภชน์ ชื่นชม, ไพริน ณ วันดี, คำพัน อรรถศรี และสุวรรณ คำภูษา ในปีพ.ศ. 2530 และนับเป็นผู้ต้องโทษประหารชีวิตคนที่ 276 ของประเทศไทยด้วยการยิงเป้า[19][20]
ดูเพิ่ม
[แก้]- โทษประหารชีวิตในประเทศไทย
- ธีรศักดิ์ หลงจิ ฆาตกรซึ่งถูกประหารชีวิตในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 และเป็นบุคคลแรกที่ถูกประหารชีวิตในรอบ 9 ปี หลังจากการประหารชีวิตครั้งสุดท้ายในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552
- ธวัช สุธากุล
- บุญมี เชี่ยวบางยาง
- ทอง อ้อจันทึก
- หงี ลิ้มประเสริฐ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Thailand: further information on: fear of imminent execution: Prommas Leamsai
- ↑ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐปีที่ 47 ฉบับที่ 13888 วันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ.2539 หน้าที่ 17 สกู๊ปหน้า 1 ฟื้นโทษยิงเป้า กำราบเดนสังคม
- ↑ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐปีที่ 47 ฉบับที่ 13887 วันจันทร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2539
- ↑ Informe Sobre El Deute Extern a L'estat Espan หน้าที่319-321
- ↑ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐปีที่ 28 ฉบับที่ 10024 วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 หน้าที่ 7 เรื่องโจรปล้นฆ่าโหดร้านค้าเมียพตท.
- ↑ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐปีที่ 28 ฉบับที่ 10024 วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 หน้าที่ 20 เรื่องโจรปล้นฆ่า
- ↑ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐปีที่ 28 ฉบับที่ 10023 วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2528
- ↑ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐปีที่ 47 ฉบับที่ 13888 วันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ.2539 เรื่องพรหมมาศ เลื่อมใส โหด...ต้องประหาร
- ↑ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 13,424 วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 หน้าที่ 2
- ↑ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐปีที่ 47 ฉบับที่ 13888 วันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ.2539 เรื่องพรหมมาศ เลื่อมใส โหด...ต้องประหาร
- ↑ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 14,048 วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2531 หน้าที่ 2
- ↑ Thailand: Fear of imminent execution: one unnamed prisoner
- ↑ Thailand: Further information on fear of imminent execution: one unnamed prisoner
- ↑ หนังสือพิมพ์มติชนฉบับวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539
- ↑ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐปีที่ 47 ฉบับที่ 13888 วันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ.2539 หน้าที่ 17 สกู๊ปหน้า 1 ฟื้นโทษยิงเป้า กำราบเดนสังคม
- ↑ Human Rights in Transition
- ↑ Thailand: A Human Rights Review Based on the International Covenant on Civil and Political Rights
- ↑ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐปีที่ 47 ฉบับที่ 13888 วันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ.2539 หน้าที่ 1
- ↑ Bangkok revives capital punishment after eight years The Straits Times : Weekly Overseas Edition, 3 February 1996, Page 11
- ↑ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐปีที่ 47 ฉบับที่ 13887 วันจันทร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2539
ก่อนหน้า สมโภชน์ ชื่นชม, ไพริน ณ วันดี, คำพัน อรรถศรี และสุวรรณ คำภูษา |
บุคคลที่ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าในประเทศไทย พรหมมาศ เลื่อมใส |
ถัดไป บุญโชติ พงศ์พราหมณ์ และ พนม ทวีสุข |
note
[แก้]พรหมมาศ เลื่อมใส (อังกฤษ: Prommas Leamsai)
Drive:https://drive.google.com/file/d/1LwZPL71QgNsXq-CDogYOibv5YDRWTP35/view?usp=sharing
- สถานะ: รอการอนุมัติ
- คำอธิบายไฟล์: ภาพถ่ายของพรหมมาศหลังจากที่เขาถูกจับกุมในคดีฆาตกรรมเจ้าหน้าที่ตำรวจระหว่างการจับกุมการพนันไพ่รัมมี่
- ผู้สร้างสรรค์หรือผู้ทรงลิขสิทธิ์: สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ไทย) หรือ ไทยรัฐ
- แหล่งที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐปีที่ 47 ฉบับที่ 13888 วันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ.2539 หน้าที่ 17 สกู๊ปหน้า 1 ฟื้นโทษยิงเป้า กำราบเดนสังคม สืบค้นที่หอสมุดแห่งชาติ
- ตำแหน่งไฟล์ต้นทางที่จะให้อัปโหลด = https://drive.google.com/file/d/1LwZPL71QgNsXq-CDogYOibv5YDRWTP35/view?usp=sharing
- ชื่อไฟล์ที่จะใช้ในวิกิพีเดีย = พรหมมาศหลังจากถูกจับ.jpg
- ประเภทของไฟล์ = ภาพถ่ายของบุคคลที่เสียชีวิตแล้ว, ภาพจากหนังสือพิมพ์
- บทความที่จะใช้ไฟล์ = พรหมมาศ เลื่อมใส
- ส่วนที่ใช้ = ทั้งหมด
- ความละเอียดต่ำ = ใช่เพราะภาพถูกปรับให้มีความละเอียดต่ำเพียงพอต่อการระบุตัวตนและสื่อความหมาย โดยในขณะนี้ยังไม่มีสื่อเสรีเกี่ยวกับพรหมมาศ เลื่อมใส ดังนั้นการกระทำใด ๆ ที่เป็นการทำซ้ำหรือดัดแปลงภาพดังกล่าวจึงไม่อาจถูกใช้เป็นสิ่งทดแทนผลงานต้นฉบับในเชิงพาณิชย์ได้
- วัตถุประสงค์การใช้ไฟล์ = (1) แสดงภาพที่เกี่ยวข้องกับบุคคลอย่างมีนัยสำคัญที่ด้านบนของบทความ (2) ช่วยปรับปรุงคุณภาพของบทความ (3) บ่งบอกรูปพรรณของพรหมมาศ เลื่อมใส
- มีภาพเสรีทดแทนหรือไม่สามารถทดแทนได้ = ไม่เพราะจากการค้นหาในหอสมุดแห่งชาติกับหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆพบว่าภาพของพรหมมาศมีเพียง2ภาพจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐวันที่30 มกราคม 2539 นั่นคือหน้าน่าจะหน้าห้าที่เป๋นภาพพรหมมาศตัดต่อเข้ากับหน้าเรือนจำบางขวาง และหน้า17ซึ่งเป็นภาพต้นฉบับ ซึ่งหอสมุดแห่งชาติสถานที่ค้นหาอนุญาตใฟ้ถ่ายภาพดังกล่าวซึ่งภาพดังกล่าวน่าจะถูกถ่ายในปี2531หรือเมื่อ36ปีก่อนจึงอาจยังมีลิขาทธิ์อยูา
- เคารพต่อโอกาสเชิงพาณิชย์ =หากภาพนี้มีลิขสิทธิ์ รูปภาพนั้นเป็นของไทยรัฐ แต่ภาพดังกล่าวตอนขอถ่ายหนังสือพิมพ์ที่หอสมุดแห่งชาติ ซึ่งเจ้าหน้าที่อนุญาตให้ถ่าย ซึ่งหอสมุดอาจเป็นเจ้าของสื่อ และการใช้ภาพความละเอียดต่ำนี้ จะไม่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าทางการเงินใดๆ
- สารสนเทศ/รุ่นอื่น = มีภาพมีหน้า1และหน้า5แต่ซึ่งตัดต่อมาจากภาพที่เอามาซึ่งอยู่ที่หน้า17
คง สุเฟือน
[แก้]ร้อยเอก คง สุเพือน (เขมร:គង់ សុផាន) เป็นนายทหารชาวกัมพูชา ผู้ถูกตัดสินประหารชีวิตและถูกประหารชีวิตโดยประเทศไทยจากเหตุจับตัวประกันที่ป่าช่องโชค บริเวณชายแดนไทยกัมพูชาเมื่อปีพ.ศ. 2539 คงได้ปฎิเสธในการก่อเหตุ เขาอ้างว่าในขณะเกิดเหตุเขาพักรักษาอาการบาดเจ็บอยู่
คง สุเพือน | |
---|---|
គង់ សុផាន | |
เกิด | พ.ศ. 2505 ประเทศกัมพูชา |
เสียชีวิต | 28 มิถุนายน พ.ศ 2545 (อายุ 40 ปี) เรือนจำกลางบางขวาง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย |
สาเหตุเสียชีวิต | ประหารชีวิตด้วยการยิง |
สุสาน | วัดบางแพรกใต้ (จนถึงปี 2563)[1] |
สัญชาติ | กัมพูชา |
พิพากษาลงโทษฐาน | กักขังหน่วงเหนี่ยวผู้อื่นให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกายเพื่อให้ได้ค่าไถ่จนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย |
บทลงโทษ | ประหารชีวิต |
จำคุกที่ | เรือนจำกลางบางขวาง |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | กัมพูชา |
แผนก/ | กองทัพบกกัมพูชา |
ประจำการ | พ.ศ. 2519 – 2539 |
ชั้นยศ | ร้อยเอก |
บังคับบัญชา | นายทหาร |
การยุทธ์ | สงครามกัมพูชา–เวียดนาม |
ประวัติ
[แก้]คงเกิดเมื่อปีพ.ศ. 2505 ที่ประเทศกัมพูชา เขารับราชการทหารตั้งแต่อายุ 14 ปี เขาผ่านสมรภูมิมาหลายสมรภูมิซึ่งรวมถึงสงครามกัมพูชา–เวียดนาม ในการรบที่เขาชนะเขาจะได้รับการเลื่อนยศเป็นการตอบแทน เขาผ่านการรบมาทุกรูปแบบเช่นตีฝ่ายตรงข้าม ซุ่มโจมตีฝ่ายตรงข้ามและเคยถูกตีแตกซึ่งทำให้ทหารฝ่ายกัมพูชาเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และเขาเคยฆ่าทหารฝ่ายตรงข้ามในการรบมานับไม่ถ้วน โดยยศสุดท้ายที่เขาได้รับคือยศร้อยเอก
เหตุจับตัวประกันที่ป่าช่องโชค
[แก้]เหตุจับตัวประกันที่ป่าช่องโชค | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
• กองร้อยที่2313 • กองกำลังสุรนารี • ตำรวจภูธรกาบเชิง • หน่วยปฎิบัติการพิเศษจังหวัดสุรินทร์ • ทหารพรานส่วนแยกที่ 17 • กำลังอาสาอำเภอกาบเชิง | กลุ่มโจรเขมร 3 คน | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
พลเอกวีระ นามเกาะ | (ไม่มีผู้นำเป็นศูนย์กลาง) | ||||||
กำลัง | |||||||
ไม่ทราบ | 3 | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
-
|
| ||||||
|
ในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ระหว่างที่นางบัวสี สุขประเสริฐและครอบครัวรวม 6 คน กำลังหาของป่า บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาใกล้กับช่องโชค ได้มีชาวเขมรจำนวน 3คน รูปร่างผอมโซ ถือปืนอาก้าและเครื่องยิงลูกระเบิดอาร์พีจี มาจี้จับตัวประกันและปล่อยบัวสีไปเพื่อให้ไปหาเงินค่าไถ่จำนวน 50,000 บาท มาไถ่ตัวประกันทั้ง 5 คน ในวันรุ่งขึ้นเวลา 08.00 น. ที่ช่องโชค กลุ่มโจรได้ขู่ว่าหากไม่นำเงินมาไถ่จะไม่รับรองความปลอดภัยของตัวประกันทั้งหมด บัวสีจึงนำเรื่องไปแจ้งผู้ใหญ่บ้านและผู้ใหญ่บ้านได้นำเรื่องไปแจ้งกับกรมทหารราบเฉพาะกิจที่23 ในวันที่ 17 มิถุนายน เวลา 05.00 น. เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยซึ่งประกอบด้วย กองร้อยที่2313, กองกำลังสุรนารี, ตำรวจภูธรกาบเชิง, หน่วยปฎิบัติการพิเศษจังหวัดสุรินทร์, ทหารพรานส่วนแยกที่ 17, กำลังอาสาอำเภอกาบเชิง ได้เข้าปิดล้อมกลุ่มโจรที่บริเวณป่าใกล้กับช่องโชค ในเวลา 08.30 นใกลุ่มโจรได้ปล่อยตัวประกัน 2 คนได้แก่ นางแถมและนางมินเพื่อต่อรองกับทางการไทยและเรียกร้องเงินค่าไถ่สำหรับตัวประกันทั้งสามคน แล้วพาตัวประกันถอยไปเข้าใกล้ชายแดนไทยกัมพูชา ต่อมาเวลา 10.55 น. ฝ่ายไทยได้ติดตามกลุ่มโจรจนทัน กลุ่มโจรจึงใช้ปืนอาก้ายิงใส่ตัวประกันแล้วยิงใส่ฝ่ายไทย หลังจากการปะทะเป็นเวลา 5 นาที กลุ่มโจรได้ล่าถอยไป ฝ่ายไทยพบศพโจร 1 คน และรอยเลือดเป็นจำนวนมาก ส่วนตัวประกันเสียชีวิต 1 คนคือนายแหลม สุขประเสริฐซึ่งถูกยิงเข้าที่หน้าท้องและต้นขา และมีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส 2 คน ได้แก่ส่วนนายแซ่ม กันภัย ซึ่งถูกยิงเข้าที่แขนขวา และนายสุพรรณ ทองคำสุข ซึ่งถูกยิงที่ไหล่ขวา เจ้าหน้าที่จึงนำตัวทั้งสองส่งโรงพยาบาลกาบเชิงและเร่งติดตามกลุ่มโจรที่หลบหนีไป
รายชื่อตัวประกัน
[แก้]เสียชีวิต
[แก้]นายแหลม สุขประเสริฐ อายุ 27 ปี
บาดเจ็บสาหัส
[แก้]นายแช่ม กันภัย อายุ 60 ปี
นายสุพรรณ ทองคำสุข อายุ 40 ปี
ถูกปล่อยตัว
[แก้]นางแถม ตุ้มทอง อายุ 50 ปี
นางมิน สุขประเสริฐ อายุ 27 ปี
การจับกุม การพิจารณาคดี
[แก้]วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ 2539 เจ้าหน้าของฝ่ายไทยได้ขอความร่วมมือไปทางกองกำลังทหารฝ่ายรัฐบาลกัมพูชาเพื่อขอให้ช่วยจับกุมกลุ่มโจรที่หนีไปได้ ต่อมาทหารฝ่ายรัฐบาลกัมพูชาได้แจ้งว่าสามารถจับกุมผู้ก่อเหตุได้ 1 คน ได้แล้ว 1 คนพร้อมอาวุธปืนอาก้า 1 กระบอก และกระสุนจำนวน 3 นัด ส่วนผู้ก่อเหตุอีกคนได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการยิงปะทะและเสียชีวิตระหว่างการหลบหนีการจับกุม ทหารฝ่ายรัฐบาลกัมพูชาได้ส่งมอบผู้ก่อเหตุที่สามารถจับกุมได้พร้อมกับอาวุธให้การประเทศไทยเพื่อนำตัวมาสอบสวนดำเนินคดีตามกฏหมายของไทย หลังจากส่งตัวมายังได้นำตัวชายคนดังกล่าวมารักษาที่โรงพยาบาลเนื่องจากได้รับบาดเจ็บจากการปะทะ โดยทราบชื่อในเวลาต่อมาว่าชื่อว่าคง สุเพือน ชาวกัมพูชา และเจ้าหน้าที่ได้ให้ตัวประกันผู้หญิงซึ่งได้รับการปล่อยตัวมาก่อนเข้าดูตัวของคง โดยผู้หญิงทั้งสองคนได้ยืนยันว่าคงคือหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มโจรที่จับมาเรียกค่าไถ่ จากการสอบสวนคงให้การปฎิเสธและอ้างว่าสาเหตุที่ได้รับบาดเจ็บมาจากการปะทะกับทหารกัมพูชาที่แบ่งแยกออกเป็นหลายฝ่ายด้วยกัน และเขาปฎิเสธว่าไม่ได้รับบาดเจ็บจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยมาก่อน เขาอ้างว่าหลังจากเขาถูกยิงได้รับบาดเจ็บจากการปะทะ เขาถูกทหารกัมพูชาจับกุมตัวได้และกล่าวหาว่าเป็นโจรเขมรที่จับคนไทยไปเรียกค่าไถ่และฆ่าตัวประกัน พร้อมกับนำมามอบให้แก่ทางการไทย โดยเขาอ้างว่าไม่เคยเห็นและรับรู้เรื่องตัวประกันมาก่อน ส่วนผู้หญิงที่มาชี้ตัว เขาอ้างว่าไม่เคยเห็นหน้าหรือไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ส่วนอาวุธปืนอาก้าเขาอ้างว่าเป็นอาวุธประจำกายที่ใช้ต่อสู้ในกัมพูชาเท่านั้น ไม่เคใช้ปล้นจึ้หรือจับตัวประกันในประเทศไทยแต่อย่างไร เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงส่งอาวุธปืนดังกล่าวไปตรวจพิสูจน์เพื่อเปรียบเทียบกับหัวกระสุนที่ได้จากผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ ผลพิสูจน์ ได้ยืนยันออกมาว่า เป็นอาวุธปืนกระบอกเดียวกับที่ใช้ยิงตัวประกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงแจ้งข้อหาแจ้งข้อหาจับคนไปเพื่อเรียกค่าไถ่ และฆ่าคนตายโดยเจตนา พร้อมกับ รวบรวมพยานหลักฐานต่างๆส่งมอบให้อัยการเพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีต่อศาลจังหวัดสุรินทร์ และได้ขออำนาจศาลฝากขังเขาไว้ที่เรือนจำจังหวัดสุรินทร์ ศาลสุรินทร์ได้พิจารณาว่าเชื่อว่าเขาได้กระทำผิดจริงตามฟ้อง โดยมีพฤติการณ์เป็นโจรค่าไถ่ เมื่อไม่ได้เงินค่าไถ่ตามที่ต้องการ ยังแสดงความโหดเหี้ยมด้วยการใช้อาวุธปืนสงครามยิงตัวประกันจนเสียชีวิตและบาดเจ็บ และการกระทำดังกล่าว ยังเป็นการละเมิดอธิปไตย ของประเทศไทยอีกด้วย จึงเห็นควรให้ลงโทษขั้นสูงสุดคือประหารชีวิต หลังจากนั้นจึงส่งตัวเขาส่งมาควบคุมที่ เรือนจำกลางบางขวาง เขาได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาล ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายืนประหารชีวิต เขาจึงได้ยื่นฎีกา ศาลฎีกาพิพากษายืนประหารชีวิต เขาจึงได้ทำหนังสือถวายฎีกาทูลเกล้าขอพระราชทานอภัยโทษ
การประหารชีวิต
[แก้]วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2545 เวลา 16.15 น. เจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงที่เบิกตัวเขา สุชาติ นาคชาตรี ในความผิดฐานยิงนายเอี้ยน มาลัย ญาติห่างๆของเขาจนเสียชีวิตที่บ้านพักของเอี้ยนที่อำเภอร่อนพิบูลย์ ในปีพ.ศ. 2539 และวินัย นาคพันธ์ มือปืนรับจ้างผู้ก่อเหตุยิงนายอุส่าห์ และนางกรุณา ที่อำเภอกาญจนดิษฐ์ เมื่อปี พ.ศ. 2540 ซึ่งหลังจากที่ประกบยิงรถของอุส่าห์จนชนกับต้นไม้ วินัยได้ลงมายิงทั้งสองจนมั่นใจว่าทั้งสองเสียชีวิต ส่งผลให้นายอุส่าห์รอดชีวิต ส่วนนางกรุณาเสียชีวิต นักโทษทั้งสามได้กล่าวขอบคุณและยกมือไหว้อำลาเพื่อนนักโทษประหารโดยมีสีหน้าที่ซีดเผือก เมื่อนำตัวมาถึงหมวดทะเบียนผู้ช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองทะเบียนประวัติอาชญากร และเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนประวัติผู้ต้องขัง ได้เข้ามาทำการพิมพ์ลายนิ้วมือและตรวจสอบทะเบียนประวัติอาชญากร สารวัตรโกมลได้ถามคงว่า“สมัยที่คุณคงเป็นทหารอยู่ที่กัมพูชา มียศอะไรครับ” เขาตอบว่า“ยศครั้งสุดท้ายของผมคือร้อยเอก ผมเริ่มไต่เต้าตั้งแต่เป็นพลทหาร ตอนอายุ 14 ปี ผ่านการรบมาหลายสมรภูมิ ครั้งไหนผมรบชนะ ผมก็ จะได้เลื่อนยศเป็นการตอบแทน ผมผ่านการรบมาทุกรูปแบบ ตั้งแต่เข้า ตีที่มั่นฝ่ายตรงข้าม ซุ่มโจมตีฝ่ายตรงข้าม และเคยถูกตีจนแตก คนของผมตายเจ็บมากมาย เฉพาะตัวผมเคยฆ่าฝ่ายตรงข้ามมานับไม่ถ้วน ผมอยากให้ประเทศของผมเลิกสู้รบกันสักที ตั้งแต่ผมจำความได้ เสียงปืนเสียงระเบิดไม่เคยห่างหายไปจากประเทศของผมเลย” เมื่อมีพี่เลี้ยงนายหนึ่งถามว่า “แล้วทำไมคงถึงแตกแถวออกมาเป็นโจร ปล้นเขากิน” เขาตอบ “หัวหน้าครับ สงครามที่บ้านเมืองผมมีมา ไม่เคยขาด พอสงครามหยุด พวกผมก็ไม่รู้ว่าจะทำอะไรกิน ผมเป็นแต่เรื่องรบเรื่องฆ่าฟัน ส่วนชาวไร่ชาวนาออกไปหากินก็เหยียบกับระเบิด ถ้าไม่ตายก็ขาขาดแขนขาด แล้วใครจะกล้าออกไปทำมาหากินล่ะครับ ไม่รู้ฝ่ายไหนเป็นฝ่ายไหน พอฝ่ายนี้วางระเบิดเสร็จ อีกฝ่ายก็เข้ามาวางบ้าง พอคล้อยหลังสักพัก ฝ่ายที่สามก็เข้ามาวางระเบิดอีก เมื่อการทำมาหากินไม่สามารถทำได้ ความอดอยากก็เกิดขึ้น ประเทศไทยซึ่งอยู่ ติดกับบ้านเมืองผม กลับมีความอุดมสมบูรณ์กว่ามาก ทั้งๆ ที่แผ่นดิน ก็ติดเป็นผืนเดียวกัน เมื่อทนความอดอยากกันไม่ไหว มันก็จำเป็นเหลือเกินที่ต้องเข้า มารบกวนเพื่อนบ้านอย่างประเทศไทย ถ้าได้รับการช่วยเหลืออย่าง ง่ายๆก็ดีไป แต่ใครเล่าครับจะยอมเลี้ยงดูพวกผมง่ายๆ บางคนเข้าไป หางานทำในเมืองไทย ถ้าถูกจับได้ก็ต้องถูกส่งตัวกลับประเทศ เมื่อทำ มาหากินอะไรไม่ได้ก็ต้องออกปล้น แล้วคนประเทศผมจะมีอะไรให้ปล้นล่ะครับ ทางเดียวที่พอจะปล้นได้ก็คือประเทศไทยไงครับ บางกลุ่มออก ปล้น บางกลุ่มจับตัวเรียกค่าไถ่ บางกลุ่มทำเรื่องรถขโมย แต่เชื่อไหมครับ ผมไม่ได้ทำคดีนี้เลย ผมบาดเจ็บอยู่เขาก็ไปจับตัวผมมา แล้วกล่าวหาว่าผมเป็นโจรค่าไถ่ ผมพยายามสู้คดีแล้วแต่ผมแพ้เขา ผมทำใจได้แล้วครับ ผมติดคุกมาแล้ว 6 ปี มีอาหารเลี้ยงดูมาตลอด บางครั้งเพื่อนๆ ในห้องเมื่อมีญาติมาเยี่ยม ก็จะแบ่งของกินให้ผมด้วยเสมอ ผมตายไปผมก็ไม่เสียใจหรอกครับ ขอบคุณหัวหน้าทุกคนในเรือนจำแห่งนี้ ที่ให้ความปรานีกับผมมาตลอด" เมื่อนำตัวของคงและวินัยเข้าสู่ห้องประหารในสถานที่หมดทุกข์ โดยนำตัวของคงเข้าหลักประหารหลักที่ 1 ส่วนวินัยเข้าหลักประหารหลักที่ 2 เมื่ออรรถยุทธ จับคงนั่งที่ประหารเขาพูดว่า “ที่เหนอะหนะอยู่นี่คือเลือดพี่ชาติใช้ไหมครับ ผมได้กลิ่นก็รู้ทันทีว่าคือเลือด” อรรถยุทธไม่ได้ตอบแต่เอามือตบหลังเบาๆ คงถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเมื่อเวลา 18.01 น. โดยเพชณฆาตเชาวนเรศน์ จารุบุศย์ ใช้กระสุนจำนวน 8 นัด หลังจากการประหารชีวิต 3 นาทีพี่เลี้ยงและแพทย์ได้ตรวจสอบร่างของเขาและยืนยันว่าเขาเสียชีวิตก่อนปลดเขาออกจากหลักประหารแล้วนำศพของเขาคว่ำหน้าไว้ ก่อนนำศพของเขาไปพิมพ์ลายนิ้วมือ ในวันถัดมานักโทษซึ่งเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานได้ตัดตรวนที่ขาของนักโทษทั้งสามออกแล้วอาบน้ำกับเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ก่อนบรรจุลงไปในโลงศพ แล้วนำศพของทั้งสามออกไปทางประตูเเดงของวัดบางแพรกใต้ ก่อนนำศพของทั้งสามไปเก็บที่ช่องเก็บศพนักโทษประหาร แล้วโบกปูนและเขียนชื่อของนักโทษที่ถูกประหารชีวิตไว้ด้านหน้าของช่องเก็บศพ โดยศพของเขาถูกเก็บไว้เป็นระยะเวลาถึง 18 ปี ศพของเขาถูกนำมาบำเพ็ญกุศลและชาปนกิจในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 พร้อมกับซีอุย
อ้างอิง
[แก้]วินัย โพธิ์ภิรมย์
[แก้]วินัย โพธิ์ภิรมย์ หรือฉายา นัย ตะขาบ (11 ตุลาคม พ.ศ. 2495 - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2514) เป็นฆาตกรชาวไทยและโจร ซึ่งก่อเหตุปล้นและทำร้ายเจ้าทรัพย์ในพื้นที่จังหวัดพระนคร เขาถูกจับกุมในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2514 หลังจากก่อเหตุปล้นทรัพย์ชาย 3 คน ที่ปากซอยชิดลม และถูกประหารชีวิตตามมาตรา 17 ของรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร
วินัย โพธิ์ภิรมย์ | |
---|---|
เกิด | 11 ตุลาคม พ.ศ. 2495 ชุมชนโบสน์พรามณ์ ตำบลเสาชิงช้า อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร |
เสียชีวิต | 17 ธันวาคม พ.ศ. 2514 (19 ปี) เรือนจำกลางบางขวาง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี |
สาเหตุเสียชีวิต | ประหารชีวิตด้วยการยิง |
ชื่ออื่น | ตะขาบ, เทพ |
การศึกษา | มศ.2 |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนพงษ์เวชอนุสรณ์(ระดับ มศ.2) โรงเรียนการช่างฝีมือชาย(เรียนไม่จบ) |
อาชีพ | โจร, นักเลง |
สถานะทางคดี | ถูกประหารชีวิตตามมาตรา 17 ของรัฐบาลจอมพลถนอม กติขจร |
บิดามารดา | สุทิน โพธิ์ภิรมย์ (บิดา) เป้า โพธิ์ภิรมย์ (มารดา) |
ญาติ | พี่น้อง 8 คน |
สัญญาณเรียกขาน | นัย ตะขาบ |
ข้อหา | สมคบกันโดยมีอาวุธปล้นทรัพย์ และฆ่าเจ้าทรัพย์ |
รายละเอียด | |
ผู้เสียหาย | 10+ |
ระยะเวลาอาชญากรรม | 2512–2514 |
ประเทศ | ประเทศไทย |
รัฐ | จังหวัดพระนคร |
ตาย | 3 |
อาวุธ | มีดปลายแหลม, ปืน |
วันที่ถูกจับ | 4 ธันวาคม พ.ศ. 2514 |
จำคุกที่ | สถานีตำรวจนครบาลลุมพินี |
วินัยนับเป็นบุคคลที่สองที่ถูกประหารชีวิตโดยอำนาจมาตรา 17 หลังจากการรัฐประหารตนเองของจอมพล ถนอม กิตติขจร เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514[1][2][3]
ประวัติ
[แก้]วินัยเกิดเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2495 ในย่านโบสน์พราหมณ์ซึ่งเป็นย่านโสเภณี เขาจบการศึกษาระดับมศ.2 จากโรงเรียนพงษ์เวชอนุสรณ์ เขาคบเพื่อนที่ไม่ดี และมีการชกต่อยกันอยู่เสมอ เขามักจะโดดเรียนและมีผลการเรียนต่ำ ทำให้เขาถูกไล่ออกจากในโรงเรียนในระดับมศ.2 เขาไปเรียนต่อที่โรงเรียนการช่างฝีมือชาย แต่เรียนได้ไม่ถึงปีก็ถูกไล่ออกเนื่องจากมีความประพฤติไม่เรียบร้อย[4]
ต่อมาเขาไปรวมกลุ่มอยู่กับเพื่อนที่มีนิสัยอัทธพาลซึ่งชอบทะเลาะวิวาทกับผู้อื่นและหากินทางด้านมิจฉาชีพ เขาถูกจับกุมเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2512 ในความผิดฐานลักทรัพย์ และถูกศาสตัดสินให้มอบตัวให้ผู้ปกครองดูแลเป็นเวลา 2 ปี ในปีต่อมา เขาถูกจับกุมในข้อหาทำร้ายร่างกาย ศาลได้ตัดสินให้ปรับเงินจำนวน 100 บาท [5] เมื่อพ้นโทษออกมาเขาได้คุมสมัครพรรคพวกก่อคดีปล้นจี้ชิงทรัพย์ ซึ่งเขาได้ก่อคดีไว้อีกประมาณ 90 คดี[6]
การก่อคดี
[แก้]วินัยได้ร่วมกับพรรคพวกก่อคดีปล้นทรัพย์, ทำร้ายเจ้าทรัพย์ และฆ่าเจ้าทรัพย์ไว้หลายคดี ซึ่งเขาจะเอาเงินที่ได้จากการปล้นไปใช้กับสถานบันเทิง โดยคดีที่เขาได้กระทำความผิดซึ่งถูกคณะปฎิวัติพิจารณามีดังนี้[7]
ในช่วงเดือนกันยายน และเดือนตุลาคม พ.ศ. 2514 วินัยได้ร่วมกับสุวรรณ หรือ โก๋ สาลี,จรูญ ณ บางช้าง หรือ น้อย นาซี และสุรศักดิ์ หรือ แฉะ หุ่นประดิษฐ์ก่อคดีไว้ 4 คดี ดังนี้[8]:
1.ฆาตกรรมนายเต๊ก หรือเซ้ง แซ่ตั้ง ที่หน้าบาร์โซสซิสเตอร์ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่
2.วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2514 เวลา 21.00 น. วินัยได้ร่วมกับจรูญ,สุวรรณ และสุรศักดิ์ ฆาตกรรมนายเต็กบิน แซ่กอ พร้อมกับเอาสร้อยคอทองคำหนัก 10 บาทไปด้วย เหตุเกิดที่ที่ปากซอยสารสิน
3.ปล้นทรัพย์นายประสิทธิ์ ต้นเจริญ ที่หน้าที่พักรถประจำทางหน้าวัดช่างแสง
4. ปล้นทรัพย์นายมนัส ทวีกุลวัฒน์ ที่ถนนพัฒน์พงศ์
ต่อมาในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 จอมพลถนอมกิติขจรได้ทำรัฐประหารตนเองและมีการประกาศใช้กฏอัยการศึกทั้งราชอาณาจักร
ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 เวลาประมาณ 19.00 น. วินัยได้ร่วมกับจรูญจี้ชิงทรัพย์นายเอี่ยว แซ่อุ่น อายุ 50 ปี ที่ถนนลำพูนไชย ใกล้กับสามแยกพลับพลาชัย ตำบลตลาดน้อย อำเภอสัมพันธวงศ์ แต่เอี่ยวขัดขืนจึงใช้มีดปลายแหลมแทงเอี่ยวเข้าที่ท้องจนได้รับบาดเจ็บ พร้อมกับเอานาฬิกาข้อมือจำนวน 1 เรือน และเข็มขัดหนังหัวทองคำหนึ่งเส้น มูลค่ารวม 4,400 บาทไป[9]
วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 เวลา 21.00 น. วินัย, จรูญ, สุรศักดิ์ และแดงได้ปล้นทรัพย์ของนายขี่เอ็ง แซ่เอียที่หน้าสถานบริการเภสัชกรรม กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตำบลคลองมหานาค ทั้งสี่ได้กระชากสร้อยคอทองคำจำนวนหนึ่งเส้น และล้วงเอาซองธนบัตรซึ่งมีเงินและใบสำคัญตัวคนต่างด้าว มูลค่ารวม 3,000 บาทไป ถัดจากนั้นเพื่อนของวินัยได้ใช้มีดแทงขี่เอ็งจำนวน 3 แผล แทงเข้าที่สีข้างขวาขวา 1 แผล และเข้าที่สีข้างซ้าย 2 แผล บาดแผลทะลุเข้าที่หัวใจและช่องท้อง[10] ขี่เอ็งได้วิ่งกระเสือกกระสนเพื่อเอาชีวิตรอด ก่อนจะล้มลงที่ถนนบริเวณป้ายรถเมล์ ข้างโรงภาพยนตร์เฉลิมเขตร์ ต่อหน้าประชาชนบนรถเมลล์ และที่สัญจรไปมา ขี่เอ็งถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลตำรวจ แต่เขาทนพิษบาดแผลไม่ไหว และเสียชีวิตที่โรงพยาบาลหลังจากเกิดเหตุเพียงเล็กน้อย[11]
วันที่ 4 ธันวาคม เวลา 20.00 น. วินัย,สุวรรณและพรรคพวกอีก 2 คน ได้ร่วมกันปล้นทรัพย์ชาย 3 คน ได้แก่นายปรีชา ญาณโยธิน, นายประเสริฐ ตรงกานนท์ และนายวิทยา ปิยะโรจน์เสถียร ที่ปากซอยชิดลม โดยทั้งสามเป็นพนักงานบริษัทของชาวต่างชาติ 2 คน และพนักงานบริษัทปูนซีเมนต์ 1 คน หลังจากที่กลุ่มของวินัยได้นาฬิกาของเจ้าทรัพย์ไปคนละเรือน พร้อมกับเงินของวิทยาจำนวน 115 บาท โดยคิดเป็นมูลค่ารวม 2,515 บาท ทั้งสามจึงวิ่งติดตามกลุ่มของวินัย วินัยจึงใช้ปืนยิงทั้งสาม แต่กระสุนไม่ถูกใคร จ่าสิบตำรวจสุพัฒน์ สมหวัง สายตรวจของสถานีตำรวจนครบาลลุมพินี เขต 1 กับพลเหลือ ท้วงผึ่ง จึงเข้าจับกุมเขากับสุวรรณ ส่วนพรรคพวกอีก 2 คน หลบหนีไปได้[12][13]
การสืบสวน
[แก้]หลังจากถูกจับกุม เจ้าหน้าที่ตำรวจได้พาวินัยไปค้นซ่องโสเภณีของนางไล้ ซึ่งเป็นที่ที่เขาไปอยู่หลังจากก่อเหตุฆาตกรรมขี่เอ็ง จากการตรวจค้น พบเสื้อสีขาวและรองเท้าหนังกลับซึ่งเป็นชุดที่เขาใส่ไปในวันที่ก่อคดี[14]
เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจนครบาลลุมพินี เขต 1 ได้ทำการสอบปากคำวินัย ตลอดเวลาที่สอบปากคำวินัย เขาตอบข้อซักถามด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใจ และไม่ได้ระแวงว่าจะถูกหัวหน้าคณะปฎิวัติสั่งประหารชีวิต เขากล่าวอย่างมั่นใจว่าอย่างมากก็ถูกคำสั่งจำคุกตลอดชีวิตเท่านั้น วินัยเล่าให้เจ้าหน้าที่ตำรวจฟังว่าเคยก่อคดีมาทั้งหมดประมาณ 9 คดี แต่จำไม่ได้ว่าก่อที่ไหนบ้าง[15][16]
วินัยได้รับสารภาพว่าหลังจากที่ปล้นฆ่านายขี่เองแล้ว ทั้งวินัย,สุรศักดิ์,จรูญ และแดง ได้เดินย้อนไปขึ้นรถประจำทางที่หน้าโรงเรียนสตรีทัดสิงหเสนี แล้วไปลงที่หน้าวัดสามง่าม ก่อนจะนั่งแท็กซี่ไปยังพระโขนงด้วยราคาคนละ 300 บาท โดยในช่วงกลางคืนของวันเดียวกันวินัยได้พาพรรคพวกไปใช้จ่ายเงินจนหมดที่สถานีบันเทิงย่านเพลินจิต เขายังได้สารภาพถึงคดีปล้นนายเอี่ยว แซ่อุ่น เมื่อตำรวจนำตัวของเอี่ยวมาดู ก็สามารถชี้ตัวของวินัยได้อย่างถูกต้อง ส่วนของกลางในคดีนี้เจ้าหน้าที่สามารถค้นได้จากโรงรับจำนำ เขายังได้สารภาพถึงคดีปล้นที่หน้าโรงแรมศรีรุ่งเรือง บริเวณเชิงสะพานกษัตริย์ศึก, ปล้นและฆาตกรรมนายเต็กบิน แซ่กอ ที่ซอยสารสิน และปล้นชายหนุ่มคนหนึ่งที่ถนนพัฒนพงษ์ในช่วงหัวค่ำของวันที่ 4 ธันวาคม แต่ชายคนดังกล่าวไม่ได้แจ้งความ[17][18]
เขาได้ให้การว่าพวกของเขามีประมาณ 7-8 คน และปล้นมาแล้วประมาณ 7-8 ครั้ง เมื่อลงมือแล้วจะมักทำติดต่อกันอีกหลายราย เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เร่งทำสำนวนทุกคดีให้เสร็จโดยเร็วเพื่อส่งให้คณะปฎิวัติพิจารณาโทษ[19]
ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2514 พลโท เฉลิมชัย จารุวัสตร์ หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพัทธ์ของคณะปฎิวัติได้แถลงถึงการจับกุมวินัยและสุวรรณจากเหตุปล้นทรัพย์บริเวณถนนเพลนจิต เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม และเขายังได้แถลงอีกว่า"การกระทำดังกล่าวนับเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของคณะปฎิวัติซึ่งประกาศบทลงโทษหนักต่อผู้ที่ประกอบอาชญากรรมทำลายชีวิต และทรัพย์สินของผู้อื่น ในเรื่องนี้หัวหน้าคณะปฎิวัติได้สั่งดำเนินการลงโทษแก่บุคคลที่บังอาจประพฤติก่อกวนความสงบสุขของประชาชนโดยไม่มีการลดหย่อนใดๆ ส่วนคนร้ายอีก 2 คน ที่หลบหนีไปนั้น ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะออกสืบสวนติดตามและจะรายงานให้หัวหน้าคณะปฎิวัติต่อไป"[20]
ในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2514 พลตำรวจตรี เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ ได้แถลงกับผู้สื่อข่าวถึงกรณีคณะปฎิวัติให้เร่งรัดให้สอบสวนทำสำนวนคดีของวินัย ซึ่งพฤติการณ์ของคดีเป็นการกระทำอย่างอุกอาจแบบเย้ยคำสั่งคณะปฎิวัตินั้น ซึ่งในขณะนี้ทางสถานีตำรวจนครบาลลุมพินี 1 ในเขตนครบาลกรุงเทพใต้ได้รวบรวมส่งสำนวนคดีของวินัยให้กับกองบังคับการแล้ว และกองบังคับการได้ส่งเสนอให้คณะปฎิวัติ ในเวลา 11.00 น. ของวันเดียวกัน[21]
ได้มีข่าวลือว่าคณะปฎิวัติได้ประชุมพิจารณา และมีผู้เสนอให้ประหารชีวิตวินัยด้วยการยิงเป้า เช่นเดียวกับสมศักดิ์ ขวัญแก้ว ผู้ก่อเหตุฆาตกรรมนายทหารอากาศชาวอเมริกันที่อำเภอสัตหีบ ซึ่งถูกประหารชีวิตไปเมื่อต้นเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน โดยคาดว่าคณะปฎิวัติจะประกาศคำสั่งที่แน่นอนให้ประชาชนทราบโดยเร็ว[22]
การประหารชีวิต
[แก้]วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2514 จอมพลถนอม กิติขจร ได้มีคำสั่งของหัวหน้าคณะปฎิวัติ ที่ 4/2514 โดยมีคำสั่งให้ประหารชีวิต วินัย โพธิ์ภิรมย์ จากการกระทำผิดทางอาญาก่อนการประกาศกฎอัยการศึก 4 คดี และหลังประกาศใช้กฎอัยการศึก 3 คดี ส่วนสุวรรณ สาลี มีคำสั่งให้จำคุกตลอดชีวิต โดยเห็นว่าสุวรรณ ไม่ได้ประกอบอาชีพแต่อย่างใด และเคยต้องโทษในความผิดฐานซ่องโจร นับว่าวินัยและสุวรรณมีสันดานเป็นโจร ไม่ประกอบอาชีพสุจริตเหมือนพลเมืองดี ประกอบแต่กรรมชั่วปล้นจี้ฆ่าคนตามท้องถนนหลวงต่อหน้าคนโดยสารรถประจําทาง และต่อหน้าผู้คนที่สัญจรไปมา โดยไม่หวั่นเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง จนเป็นที่เดือดร้อนหวั่นเกรงแก่ประชาชนเบ็นลําดับมา แม้ผู้ต้องหาทั้งสองจะให้การรับสารภาพและชี้ที่เกิดเหตุด้วยความสมัครใจก็เป็นการจํานนต่อพยานหลักฐาน สมควรลงโทษเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่าง โดยกำหนดให้เรือนจำกลางบางขวางเป็นสถานที่ประหารชีวิตวินัย[23][24]
หลังจากคณะปฎิวัติได้ออกคำสั่ง พลตำรวจตรีเสน่ห์ สิทธิพันธ์ได้สั่งการไปยังสถานีตำรวจนครบาลลุมพินีเขต 1 เพื่อป้องกันเหตุร้ายที่จะเกิดกับสุวรณและวินัย โดยมีคำสั่งให้จัดกำลังเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายของผู้ต้องหา และ ให้พล สมพร อุยะนันท์ กับพล สุพัฒน์ อินทร์สมหวัง แต่งกายนอกเครื่องแบบเป็ยผู้ต้องขังไปนอนร่วมห้องกับทั้งสอง และยังมีคำสั่งให้พลปรีชาผู้จับกุมวินัย ถูกนำตัวไปขังในห้องเดียวกับวินัย โดยทำทีว่าปรีชาถูกผู้บังคับบัญชาสั่งคุมขังเนื่องจากทำผิดวินัย[25]
ตลอดทั้งคืน วินัยไม่รู้เลยว่าตนเองกำลังจะถูกประหารชีวิต เขายังคงนอนหลับได้ตามปกติ มีเพียงครั้งเดียวที่เขาตื่นขึ้นมาและถามพลปรีชาว่าทำไมถึงมีคนจำนวนมากอยู่ในโรงพัก ปรีชาตอบว่ามีคดีเรื่องธรรมดา วินัยบ่นว่าหนาว เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงนำผ้าห่มกับหมอนเข้าไปให้วินัย และเขาก็หลับต่อไป[26]
วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2514 เวลา 05.45น. พลตำรวจโท มนต์ชัย พันธ์คงชื่น สั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งแถว 2 ด้าน จากปากประตูห้องขังถึงรถจี๊บที่จอดอยู่หน้าสถานีตำรวจ ถัดจากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เบิกตัววินัยออกมาจากห้องขัง เขามีตื่นตกใจเล็กน้อยและหยุดชะงักตรงเชิงบันไดชั้นบน แต่เขาไม่ได้พูดอะไรเลย เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจคุมตัวลงบันได 5 ขั้น วินัยเข่าอ่อน จนเจ้าหน้าที่ต้องพยุงแล้วพาเดินไปยังหลังรถจี๊บแลนด์โรเวอร์ ตราโล่ น.50 หมายเลขทะเบียน 00984 ส่วนสุวรรณเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเบิกตัวขึ้นรถจี๊บไปได้รวดเร็วกว่าวินัย โดยนำตัวสุวรรณขึ้นรถจี๊บ ตราโล่ หมายเลข น.51 ทะเบียน 00804[27]
รถจี๊บทั้งสองคันมุ่งหน้าออกจากสถานีตำรวจนครบาลลุมพินีเมื่อเวลา 05.50 น. เพื่อมุ่งหน้าไปยังเรือนจำกลางบางขวาง โดยมีรถวิทยุตำรวจขนาบข้าง และมีรถของหนังสือพิมพ์วิ่งตามขบวนรถคุ้มกันของตำรวจเป็นกลุ่มใหญ่[28]
ขบวนรถคุ้มกันไปถึงหน้าเรือนจำกลางบางขวางเมื่อเวลา 06.30 น. เมื่อรถเข้าถึงในเรือนจำ เจ้าหน้าที่ได้แยกตัวทั้งสองออกจากกัน โดยสุวรรณถูกแยกตัวไปฟังคำสั่งจำคุกตลอดชีวิต และนำขึ้นไปคุมขังในแดนที่ 1 เมื่อเวลา 06.35 น.[29]
ส่วนวินัย เจ้าหน้าที่ได้แยกตัวไปพิมพ์ลายนิ้วมือ ถัดจากนั้นพัศดีของเรือนจำได้อ่านคำสั่งคณะปฎิวัติให้ประหารชีวิตให้ฟัง ตลอดเวลาที่ฟังเขารับฟังด้วยอาการสงบ และมีน้ำตาไหลคลอเบ้าตา หลังจากฟังคำสั่งหัวหน้าคณะปฎิวัติ เจ้าหน้าที่ได้นำตัวเขาไปยังหอรักษาการ 7 ชั้น เพื่อฟังพระธรรมเทศนาจากพระมหาสาย ฐานมงคโล ในเรื่องกฎแห่งกรรม เมื่อผิดพลาดไปแล้วให้ปลงในชีวิต โดยเทศน์โปรดเขาด้วยกัณฑ์ไตรลักษณ์ วินัยฟังเทศน์ด้วยอาการสงบโดยมีน้ำตาไหลนองหน้า เมื่อเทศน์จบ เขาฟุบลงแทบตักพระมหาสายแล้วใช้จีวรเช็ดน้ำตาก่อนจะก้มกราบ เขาได้ถวายเงินเป็นปัจจัยให้พระไป 5 บาท ส่วนอีก 20 บาท เขาขอฝากให้แม่เมื่อเขาเสียชีวิตแล้ว ถัดจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้ยกอาหารมื้อสุดท้ายมา แต่เขาปฎิเสธที่จะรับประทานเพราะกินไม่ลง ถัดจากนั้นได้ให้เขียนพินัยกรรมและจดหมาย เขาไม่มีทรัพย์สินอะไรจึงไม่ได้ทำพินัยกรรม เขาแสดงความจำนงที่จะบริจาคดวงตาทั้งสองข้างให้แก่สภากาชาดไทย เขาเขียนจดหมายสั่งเสียถึงพ่อแม่จำนวน 1 บรรทัด โดยมีใจความว่า""กราบเท้า คุณพ่อคุณแม่ที่เคารพ ลูกขอลาพ่อแม่พี่ๆน้องๆไปก่อน ขอให้แม่ดูแลรักษาน้องให้ดี อย่าให้เอาอย่างผม" ระหว่างการเขียนเขาได้ร้องไห้อีก แต่ก็ไม่ได้พูดอะไร[30][31][32]
เจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวน 3 นาย ได้พาตัวเขาไปยังศาลาแปดเหลี่ยมหรือศาลาเย็นใจ วินัยได้ขอเดินไปเอง โดยไม่ขอนั่งรถเข็น ซึ่งเขาสามารถเดินได้อย่างปกติ เมื่อถึงศาลาแปดเหลี่ยม นายดอกรัง วงศ์ณรงค์ และนายชม ฉิมพัด เจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงได้ผูกตาเขาด้วยผ้าดิบสีดำ แล้วนำเข้าสู่สถานที่หมดทุกข์ แล้วผูกมัดกับหลักประหาร คำพูดสุดท้ายของเขาก็คือ"ผมขอฝากคำพูด ไปถึงแม่ผม ด้วย..ขอให้แม่เลี้ยงน้อง ๆ ให้ดี...ผมไม่มีทางแล้ว.." วินัยถูกประหารชีวิตเมื่อเวลา 07.56 น. โดยเพชฌฆาตมุ้ย จุ้ยเจริญ ใช้กระสุนจำนวน 8 นัด เขานับเป็นบุคคลที่แรกที่ถูกประหารชีวิตโดยอำนาจมาตรา 17 จากคดีในเขตกรุงเทพมหานคร หลังจากการรัฐประหารตนเองของจอมพล ถนอม กิตติขจร เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514[33][34]
หลังจากการประหารชีวิต
[แก้]หลังจากการประหารชีวิตวินัย ได้มีประชาชนจากจังหวัดพระนคร,ธนบุรี,นนทบุรี และสมุทรปราการ ทยอยมารอดูศพของเขาที่วัดบางแพรกใต้อย่างเนืองแน่น
ในเวลา 09.45 น. สุชิน โพธิ์ภิรมย์ พ่อของเขาได้ไปติดต่อขอเยี่ยมวินัย แต่ได้รับคำตอบว่าถูกประหารชีวิตไปแล้ว หลังจากได้รับคำตอบสุชินได้น้ำตาไหลออกมา และบอกว่าไม่นึกว่าจะประหารเร็วเช่นนี้ เขาจึงไปยื่นเรื่องขอรับศพวินัยเพื่อนำไปบำเพ็ญกุศล แต่หลักฐานเอกสารคลาดเคลื่อน ชื่อตามหลักฐานทางราชการของวินัยคือ วินัย โพธิ์ภิรมย์ แต่สุชินแจ้งนามสกุลเป็นโพธิภิรมย์ ทำให้ไม่สามารถรับศพได้ เขาจึงต้องกลับไปแก้ไขเอกสารให้ถูกต้อง[35]
หลังจากได้รับอนุญาตให้รับศพ ในเวลา 12.00 น. ญาติพี่น้องของวิรัยได้นำรถบรรทุกไปจอดไว้บริเวณวัดบางใต้เพื่อรับศพของวินัย ในเวลา 15.35 น. เจ้าหน้าที่ของเรือนจำและนักโทษชั้นดีได้นำศพของวินัยซึ่งบรรจุในโลงไม้ยางออกมาจากเรือนจำผ่านทางประตูแดง หลังจากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจพิมพ์ลายนิ้วมือของวินัยอีกครั้งเพื่อยืนยันตามระเบียบของเรือนจำว่าประหารไม่ผิดตัว ญาติของเขาได้นำโลงศพขึ้นรถบรรทุกแล้วนำไปบำเพ็ญกุศลที่วัดลุ่มเจริญศรัทธา ในย่านตรอกจันทน์[36][37]
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2515 เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจพระโขนงเขต 1 ได้จับกุมจรูญ หรือ น้อย นาซี และนายอู้ด(ไม่ทราบนามสกุล) หลังจากก่อเหตุชิงทรัพย์ ต่อมาในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ล้อมจับกุมสุรศักดิ์ ที่บ้านในหมู่ที่ 4 ตำบลลาดกระบัง อำเภอลาดกระบัง นครหลวงกรุงเทพธนบุรี ซึ่งสุรศักดิ์ และน้อยได้ร่วมก่อเหตุกับวินัย 5 คดี และทั้งสองยังได้ก่อเหตุชิงทรัพย์และฆาตกรรมอีกที่บาร์โซซิสเตอร์ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 เวลา 22.00 น. โดยจรูญแทงนายเซ้ง หรือ เกตุ แซ่ตั้ง จนเสียชีวิต ส่วนสุรศักดิ์ยิงสุชาติ แซ่อึ้งจนได้รับบาดเจ็บสาหัส
เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เร่งสรุปสำนวนเพื่อเสนอให้กับคณะปฎิวัติพิจารณาโดยเสนอให้ประหารชีวิตทั้งสองเนื่องจากหลังจากการประหารชีวิตวินัยไปแล้ว ทั้งสองยังก่อเหตุชิงทรัพย์และฆ่าคนอีก โดยไม่หวั่นเกรงต่อโทษ ในเวลาต่อมาคณะปฎิวัติได้พิจารณาและมีคำสั่งให้จำคุกตลอดชีวิตจรูญ และสุรศักดิ์[38]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับสอง ฉบับวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2514
- ↑ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับหลัง ฉบับวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2514
- ↑ หนังสือพิมพ์ไทยเดลี่ ฉบับวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2514
- ↑ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับหลัง วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2514 หน้า 16
- ↑ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับสองวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2514 หน้าที่ 16
- ↑ หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย ฉบับวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2514 หน้า16
- ↑ คำสั่งของหัวหน้าคณะปฎิวัติที่๔/๒๕๑๔
- ↑ หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย ฉบับวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2514
- ↑ หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย ฉบับวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2514 หน้า 16
- ↑ หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย ฉบับวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2514 หน้า 16
- ↑ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2514 หน้า 16
- ↑ หนังสือพิมพ์ไทยเดลี่ ฉบับวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2514
- ↑ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2514 หน้า 16
- ↑ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับหลัง ฉบับวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2514
- ↑ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับหลัง ฉบับวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2514
- ↑ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2514
- ↑ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับหลัง ฉบับวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2514
- ↑ หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย ฉบับวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2514
- ↑ หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย ฉบับวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2514
- ↑ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับหลัง ฉบับวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2514
- ↑ หนังสือพิมพ์ไทยเดลี่ ฉบับวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2514
- ↑ หนังสือพิมพ์ไทยเดลี่ ฉบับวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2514
- ↑ หนังสือพิมพ์ไทยเดลี่ ฉบับวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2514
- ↑ คำสั่งของหัวหน้าคณะปฎิวัติที่๔/๒๕๑๔
- ↑ หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย ฉบับวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2514
- ↑ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับหลัง ฉบับวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2514
- ↑ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2514
- ↑ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2514
- ↑ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับสอง ฉบับวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2514
- ↑ หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2514 หน้า 16
- ↑ หนังสือพิมพ์ไทยเดลี่ ฉบับวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2514
- ↑ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับหลัง ฉบับวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2514
- ↑ หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย ฉบับวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2514
- ↑ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับสอง ฉบับวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2514
- ↑ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับหลัง ฉบับวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2514
- ↑ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับสอง ฉบับวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2514
- ↑ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2514
- ↑ หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 หน้าสอง
สมปอง พุมวงศ์
[แก้]สมปอง พุมวงศ์ (ประมาณ พ.ศ. 2499) เป็นฆาตกรฆ่าข่มขืนเด็กชาวไทย ผู้ก่อเหตุข่มขืนและฆาตกรรมเด็กหญิงอายุ 12 ปี ที่จังหวัดนครนายก เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2520 เขาถูกธานินทร์ ไกรวิเชียร นายกรัฐมนตรีใช้อำนาจมาตรา 21 มีคำสั่งให้ประหารชีวิตในเรือนจำจังหวัดนครนายก และถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ 2520 สมปองนับเป็นบุคคลที่ถูกประหารชีวิตในเรือนจำในท้องที่เกิดเหตุ
ประวัติ
[แก้]สมปองเกิดที่ตำบลหินตั้ง อำเภอเมืองนครนายก โดยเป็นลูกคนสุดท้องจากพี่น้องทั้งหมด 2 คน ของสิบเอกวิชัย พุมวงศ์ และนางพา พ่อแม่ของเขาได้แยกทางกันตั้งแต่เขาอายุ 3 ขวบ เขาสำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จากโรงเรียนวัดคีรีวัน ต่อมาเขาในวัย 6 ขวบ ได้ติดตามมารดาไปยังตรอกจันทน์สะพาน 3 เขตยานาวา แล้วทำงานเป็นลูกจ้างโรงกลึงเมื่ออายุ 14-15 ปี ต่อมาเมื่อเขาอายุ 15 ปีเขาประสบอุบัติเหตุตกจากต้นมะม่วงจนได้รับบาดเจ็บสาหัสเกือบถึงแก่ชีวิต เมื่อรักษาหายดีแล้วเขาก็มีนิสัยเปลี่ยนไปจากเดิมเหมือนกับคนสติไม่สมประกอบ ในปี พ.ศ.2519 เขาได้ย้ายตามแม่ของเขากลับไปยังตำบลหินตั้ง อำเภอเมืองนครนายก แล้วแต่งงานกับศิริหรือแดงในปี พ.ศ. 2519 โดยมีลูกกับเธอ 1 คน
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 สมปองได้พยายามปลุกปล้ำเพื่อข่มขืนประหยัดและละม่อม เนื่องจากเดี่ยว พี่สาวของเกษร แต่ทั้งสองโวยวายขึ้นมา ทำให้สมปองไม่สามารถข่มขืนได้
การก่อคดี
[แก้]วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 สมปองได้ขึ้นไปตัดไม้บนเขากระเหรี่ยง เมื่อเขาตัดได้ 2-3 ต้น เขาลงมากินน้ำที่บ้านแม่ของเขา แล้วกลับไปแบกไม้เพื่อนำไปเผาถ่าน ระหว่างทางเขาเห็นเด็กหญิงเกษร เนื่องจากเดี่ยว อายุ 12 ปี กำลังเดินไปตลาดเพื่อซื้อน้ำแข็งให้แม่ ต่อมา เมื่อเขากำลังจะกลับไปขนไม้มาเผาเพิ่ม เขารู้สึกอยากข่มขืนเกษรจึงลงมาดักรอเธอริมทาง เมื่อเธอเดินกลับมา เขาตรงเข้าไปใช้มือซ้ายบีบคอ ส่วนมือขวาใช้อุดปาก แล้วฉุดเธอเข้าไปป่าข้างทาง จากนั้นเขาได้ข่มขืนเธอโดยใช้มือซ้ายค้ำคอเธอจำนวน 2 ครั้งจนเธอหมดสติไป หลังจากข่มขืนเสร็จ เขากลัวจะถูกเธอนำเรื่องที่เกิดขึ้นไปฟ้อง จึงบีบคอเธอจนเสียชีวิตเพื่อปกปิดความผิด จากนั้นได้นำผ้าถุงและเสื้อมาคลุมร่างของเธอ แล้วหักกิ่งไม้มาคลุมศพ ถัดจากนั้นได้กลับไปที่บ้านของมารดา แล้วซื้อเหล้าดื่ม จนกระทั่งเวลา 18.00 น. เขาจึงกลับบ้านภรรยา แล้วมีเพศสัมพันธ์กับเธอจำนวน 1 ครั้ง
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 เวลา 17.00 น. นางจันทร์ นาดละม้าย ชาวบ้านในหมู่บ้านได้พบศพของเกษรห่างจากทางเดินป่าเชิงเขากะเหรี่ยง 15 เมตร โดยศพของเธอถูกกิ่งไม้ทับ และมีแมลงวันบินตอม จันทร์จึงไปแจ้งผู้ใหญ่บ้านและครอบครัวของเกษร เมื่อเปิดดูศพพบร่างของเกษรในสภาพเปลือยท่อนล่าง ลำคอถูกบีบอย่างแรงจนรอบคอเขียวช้ำ พบร่องรอยการถูกข่มขืน และพบน้ำอสุจิทิ้งอยู่ข้างศพ
หลังจากการสอบสวนโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตำรวจสงสัยสมปองเนื่องจากเขาเคยพยายามฉุดประหยัดและละม่อม พี่สาวของเกษรเพื่อไปข่มขืน แต่ไม่สำเร็จ ตำรวจจึงเดินทางไปที่บ้านของสมปองแต่ก็ไม่พบสมปอง ในวันต่อมาตำรวจได้จับกุมสมปองขณะที่เขากลับมาที่บ้านมารดา
เขาสารภาพว่าในวันเกิดเหตุเขาขึ้นไปตัดไม้เสาเข็มบนเขากะเหรี่ยงตั้งแต่เช้า แล้วกลับมารับประทานอาหารกลางวันที่บ้านมารดา แล้วดื่มสุราเถื่อนกับมารดาจำนวน 2 ขวด หลังจากนั้นในเวลา 14.00 น. เขาได้กลับไปยังเขากะเหรี่ยงเพื่อแบกไม้กลับบ้าน ระหว่างทางกลับเขาพบเกษรเดินมาขนเดียว เขาเกิดอารมณ์ทางเพศจึงฉุดเธอเข้าป่าละเมาะโดยใช้แขนล็อคคอ เมื่อเขาปล่อยร่างเธอพบว่าเธอสลบไปแล้ว เขาจึงลงมือข่มขืนเธอ หลังจากข่มขืนเธอเสร็จ เขาพบว่าเธอเสียชีวิตแล้ว เขาจึงใช้ผ้าถุงของเธอเช็ดเลือดและอสุจิที่เปื้อนตามร่างกาย แล้วโยนทิ้งข้างศพ จากนั้นเขาไปตัดกิ่งไม้มาปิดศพแล้วกลับบ้าน ต่อมาเมื่อมีคนพบศพเกษร เขาได้หลบหนีไปบ้านเพื่อนแล้วย้อนกลับมาบ้านมารดาทำให้เขาถูกจับกุม
ในระหว่างที่ตำรวจนำสมปองไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพ เขายังทำหน้าทะเล้นล้อเลียนญาติของเกษร อย่างไม่เกรงกลัวความผิด
การพิจารณาโดยคณะปฎิวัติ และการประหารชีวิต
[แก้]หลังจากการสอบสวนเสร็จสิ้น ตำรวจได้สรุปสำนวนการสอบสวนเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี หลังจากนั้นได้ย้ายสมปองไปคุมขังที่เรือนจำจังหวัดนครนายก สมปองถูกควบคุมตัวเหมือนปกติ และสามารถทำงานในเรือนจำได้ตามปกติ
วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 คณะรัฐมนตรีและสภาที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบให้ ธานินทร์ ไกรวิเชียร นายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจตามมาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2519 ให้ลงโทษประหารชีวิตสมปอง ที่เรือนจำจังหวัดนครนายก โดยเห็นว่าการกระทำของสมปองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 และ 289(7) ซึ่งมีโทษประหารชีวิตสถานเดียว และพฤติการณ์ของสมปองเป็นการกระทำที่ทารุณโหดร้าย และกระทำต่อเด็กหญิงอายุ 12 ปี นับเป็นการกระทำที่คุกคามความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน
ในช่วงเช้ามืดของวันรุ่งขึ้น เจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่เรือนจำกลางบางขวางได้เดินทางมายังเรือนจำจังหวัดนครนายกเพื่อดำเนินการประหารชีวิต ต่อมาในเวลา 04.00 น. เจ้าหน้าที่เรือนจำได้เบิกตัวสมปองออกจากห้องขัง ถัดจากนั้นเจ้าหน้าที่กองวิทยาการได้เข้ามาพิมพ์ลายนิ้วมือ เมื่อพิมพ์เสร็จได้อ่านคำสั่งนายกรัฐมนตรีให้สมปองฟังแล้วให้เซ็นรับมราบ โดยเขาฟังอย่างสงบ จากนั้นพระครูปลัดสุวรรณ สุนทรโร ได้เทศนาธรรมเรื่องเวรกรรมให้เขาฟัง โดยเจ้าหน้าที่นำดอกไม้ให้เขาถือระหว่างฟังเทศน์ แต่เขาถือได้สักครู่ก็วาง แล้วสูบบุหรี่กรุงทอง 85 หลังจากเทศน์จบ เจ้าหน้าที่เปิดให้เขาเขียนจดหมาย แต่เขาปฎิเสธ และกล่าวว่า "ไม่มีอะไรจะสั่ง พินัยกรรมก็ไม่รู้จะเขียนอย่างไร เพราะตนไม่มีทรัพย์สิน" แล้วเขาก็ไม่พูดอะไรต่อ โดยมีอาการหวาดกลัวที่เห็นได้ชัด ส่วนอาหารมื้อสุดท้ายเรือนจำไม่ได้จัดให้ จากนั้นเจ้าหน้าที่นำผ้าขาวม้ามาผูกตา เมื่อผูกตาเสร็จเขาเริ่มเข่าอ่อน เจ้าหน้าที่จึงประคองเขาไปหลักประหารที่ติดกับกำแพงเรือนจำฝั่งทิศตะวันตกเฉียงเหนือ สมปองถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเมื่อเวลา 04.48 น. โดยเพชฌฆาตประถม เครือเพ่ง ใช้กระสุนจำนวน 13 นัด โดยสมปองนับเป็นบุคคลแรกที่ถูกประหารชีวิตในเรือนจังหวัดท้องที่เกิดเหตุ หลังจากการประหารชีวิต 3 นาที นายแพทย์อุดมได้ตรวจสอบร่างของเขาและยืนยันว่าเสียชีวิต เจ้าหน้าที่จึงปลดร่างออกจากหลักประหาร แล้วนำมาพิมพ์ลายนิ้วมือ จากนั้นได้เก็บศพไว้ 6 ชั่วโมง โดยก่อนจะนำศพใส่โลงออกจากเรือนจำ ศพของเขาถูกญาติรับกลับไปบำเพ็ญกุศลที่วัดโคกกรวด
ลิงก์ภายนอก
[แก้]อัศวิน พูนเต่า
[แก้]เหตุฆาตกรรมวราภรณ์ แก้วฉา เกิดขึ้นเมื่อวันที่... พฤษภาคม พ.ศ. 2520 เมื่อวราภรณ์ แก้วฉา ครูโรงเรียนซานตาครูสศึกษาถูกพบเป็นศพอยู่ใต้สะพานข้ามคลองบางจาก วราภรณ์ถูกข่มขืนกระทำเรา และถูกบีบคอจนเสียชีวิต ซึ่งสะพานดังกล่าวเคยเกิดเหตุผู้หญิงถูกฉุดไปข่มขืนหลายคน และยังไม่สามารถจับกุมคนร้ายได้
เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมผู้ต้องสงสัยหลายคน แต่ก็ถูกปล่อยตัวในภายหลัง ต่อมาในปลายเดือนพฤษภาคมตำรวจได้จับกุมอัศวิน พูลเต่า คนงานโรงไม้ชาวภูเวียง หลังจากยามโรงไม้ขื้อเสง ยอมรับว่าอัศวินคือผู้ก่อเหตุ และเขาได้ช่วยหลอกตำรวจเพื่อเบี่ยงเบนคดี ในเดือนกรกฎาคม ธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี ได้ใช้อำนาจมาตรา 21 สั่งลงโทษประหารชีวิตอัศวินที่เรือนจำกลางบางขวาง และอัศวินถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2520
เหตุโทรมหญิงและฆ่าคนที่อำเภอโนนสัง พ.ศ. 2521
[แก้]เหตุโทรมหญิงและฆ่าคนที่อำเภอโนนสัง พ.ศ. 2521 เป็นคดีที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ ... พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 ในบ้านฝายหิน อำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี เมื่อหญิงสาวซึ่งกำลังกลับจากงานบุญพร้อมแฟนหนุ่มถูกชายจำนวน 9 คน ซึ่งประกอบด้วยชาวบ้าน,ทหาร และตำรวจ ร่วมกันรุมโทรม แล้วรัดคอจนเสียชีวิต ส่วนแฟนหนุ่มของเธอก็ถูกผู้ก่อเหตุใช้ไม้ตีจนเสียชีวิตเพื่อปิดปาก
เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมผู้ก่อเหตุได้ 7 คน ส่วนอีก 2 คนสามารถหลบหนีไปได้
สมพร สีม่วง
[แก้]สมพร หรือ สุนทร สีม่วง (ป.พ.ศ. 2501 - 26 สิงหาคม พ.ศ 2520) เป็นฆาตกรฆ่าข่มขืนเด็กชาวไทย ซึ่งต้องโทษประหารตามมาตรา 21 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 ในความผิดฐานฆาตกรรมและข่มขืนสุชาดาวรรณ ครองยุทธ์ อายุ 8 ขวบ ที่อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2520 ซึ่งสุชาดาเป็นบุตรบุญธรรมของเสนีย์ ครองยุทธ์ อดีตผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรจังหวัดอุดรธานี[1]
ประวัติ
[แก้]สมพร สีม่วง มีบ้านเดิมอยู่ที่บ้านเหมือดแอ อำเภอเมืองหนองคาย เขาเป็นลูกคนโตจากพี่น้องทั้งหมด 7 คน เขาถูกย่าเลี้ยงดูตั้งแต่ยังเด็ก ต่อมาได้บวชเณรเป็นระยะเวลาหนึ่งปีเศษ แล้วสึกออกมาประกอบอาชีพรับจ้างเพื่อหาเงินมาช่วยเหลือแม่กับย่า และช่วยเลี้ยงดูน้อง ต่อมาในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 เขาได้ไปทำงานรับจ้างในไร่มันสำปะหลังในไร่ของลุงที่บ้านนาต้อง อำเภอบึงกาฬ
การก่อคดี
[แก้]วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2520 เวลา 20.00 น. ระหว่างที่สุชาดาวรรณ ครองยุทธ กำลังนอนหลับกับบัวพา บุตรโคตร มารดา ได้มีญาติเรียกบัวพาไปดูอาการป่วยของน้องชายของเธอ บัวพาจึงสั่งให้สมพรดูแลเด็ก ต่อมาในเวลา 21.00 น. สมพรได้หลอกสุชาดาวรรณว่าจะไปซื้อของ จากนั้นได้อุ้มเธอไปยังห้วยบางบาด เมื่อถึงป่าละเมาะริมหมู่บ้านนาต้อง ริมห้วยบางบาด เขาได้ข่มขืนเธอ ระหว่างนั้นเธอได้ขัดขืนและส่งเสียงร้อง สมพรจึงใช้ผ้าขาวม้ารัดคอสุชาดาวรรณจนเสียชีวิตแล้วนำศพไปทิ้งลงในห้วยบางบาด จากนั้นได้หลบหนีไป
การพบศพ และการสืบสวน
[แก้]วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2520 เวลา 07.00 น. ได้มีพลเมืองดีพบศพของสุดาวรรณจึงแจ้งร.ต.ท.สมพงษ์ ช่วงรังสี ร้อยเวรสถานีตำรวจภูธรอำเภอบึงกาฬ จากการสอบปากคำญาติและเพื่อนบ้านของสุดาวรรณทราบว่า สุดาวรรณออกไปกับญาติและเพื่อนบ้านเพื่อดูหนังกลางแปลงที่ฉายในหมู่บ้าน ภายหลังภาพยนต์เลิกในเวลา 23.00 น. สุดาวรรณได้เดินกลับบ้านเพียงลำพัง แล้วหายตัวจนกระทั่งพบเป็นศพถูกฆ่าข่มขืน
ร้อยตำรวจโท สมพงษ์ ช่วงสาลี ได้สืบสวนติดตามตัวคนร้าย โดยสงสัยว่า ในวันเกิดเหตุบิดามารดาของสุดาวรรณออกไปทำธุระโดยทิ้งให้เธออยู่กับลูกจ้างไร่มันสำปะหลังจำนวน 2 คน แต่หลังจากพบศพของสุดาวรรณ สมพรซึ่งเป็นหนึ่งในลูกจ้างไม่ได้อยู่ที่บ้าน และสมพรยังรู้จักกับสุดาวรรณเป็นอย่างดี ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสงสัยสมพร ต่อมาในเวลา 12.00 น. ของวันเดียวกันเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมสมพรได้ที่ในหมู่บ้านนาต้อง
จากการสอบสวนสมพร เขารับสารภาพว่า ขณะที่พ่อแม่ของเธอไม่อยู่บ้าน เขาได้หลอกสุดาวรรณไปซื้อของ แล้วอุ้มเธอไปจากบ้าน เมื่อออกจากเป็นระยะทาง 500 เมตร เขาได้เปลี่ยนให้เอมานั่งด้านหลัง แล้วนำผ้าขาวม้ามาตวัดรอบคอกับเอวเพื่อกันตก แต่เมื่อเดินข้ามห้วยบางบาด เธอได้ล้มลงกับพื้น เมื่อสมพรพบว่าเธอเสียชีวิตแล้ว เขาจึงข่มขืนศพเธอจนสำเร็จความใคร่ แล้วหลบหนีไป
ภายหลังจากการสอบปากคำ ในเวลา 14.00 น. พ.ต.อ. อนันต์ วรอุไร และ ร.ต.อ. แก้ว ที่เจริญได้ควบคุมตัวสมพรไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพ โดยระหว่างทำแผนสมพรมีอาการหวาดกลัวอย่างชัดเจน สมพรบอกผู้สื่อข่าวว่ากลัวถูกม.21 ภายหลังจากการทำแผนเสร็จสิ้นในเวลา 16.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงควบคุมตัวสมพรกลับมาสอบสวนต่อ
ภายหลังการสอบสวนเสร็จสิ้น พ.ต.อ. อนันต์ วรอุไร ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดหนองคาย ได้สรุปสำนวนการสอบสวนเสนอต่อพล.ต.อ.มนต์ชัย พันธ์คงชื่นเพื่อเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี หลังจากนั้นได้ย้ายสมพรไปคุมขังที่เรือนจำจังหวัดหนองคาย
การประหารชีวิต
[แก้]วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2520 จอน สีม่วง มารดาของสมพรได้เยี่ยมสมพรเป็นครั้งสุดท้ายที่เรือนจำจังหวัดหนองคาย สมพรได้ปลอบใจเธอว่า อย่าให้ตนได้เป็นห่วงอะไรเลย ถ้าหากจะมีอะไรเกิดขึ้นเพราะเมื่อได้ทำกรรมชั่วมาแล้ว ก็ขอรับกรรม ตนได้ทำผิดกฎหมายบ้านเมืองจริง เมื่อจะตายก็ไม่เสียดาย ขออย่าให้จอนเป็นห่วง
วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2520 สภาที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรีใช้อำนาจตามมาตรา 21 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 มีคำสั่งให้ประหารชีวิตสมพรที่เรือนจำจังหวัดหนองคาย โดยพิจารณาถึงพฤติการณ์และการกระทำที่เหี้ยมโหด ซึ่งกระทำต่อเด็กหญิงอายุเพียง 8 ปี นับว่าเป็นการก่อกวน และคุกคามความสงบเรียบร้อยของประชาชน สมควรลงโทษสถานหนักเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อไป นอกจากนี้ในวันเดียวกันได้มีการใช้อำนาจตามมาตรา 21 มีคำสั่งให้ประหารชีวิตวิชิต ปานนท์ อายุ 25 ปี ที่เรือนจำจังหวัดนครสวรรค์ กับ อุดร อำรินทร์ อายุ 23 ปี ที่เรือนจำจังหวัดระยอง และมีคำสั่งให้จำคุก 25 ปี สุชาติ นิพนธ์ ผู้ก่อเหตุร่วมของวิชิต เนื่องจากเป็นผู้เยาวน์ โดยการประหารชีวิตทั้งสามจะเกิดขึ้นในวันรุ่งขึ้น
วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2520 เวลา 16.20 น. เจ้าหน้าที่เรือนจำได้เบิกตัวสมพรจากห้องขังไปยังโรงเลี้ยง เมื่อถึงโรงเลี้ยง ชำนาญ พจนา ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ได้อ่านคำสั่งประหารชีวิตให้สมพรฟัง แล้วให้เซ็นทราบในคำสั่ง หลังจากเซ็นรับทราบในคำสั่งสมพรบอกเจ้าหน้าที่ว่า"ผมเตรียมใจไว้แล้วพี่ ผมรู้ว่ายังไงต้องถูกประหาร" หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้ให้สมพรเขียนจดหมายและพินัยกรรม สมพรไม่ได้ทำพินัยกรรมเนื่องจากไม่มีทรัพย์สินติดตัว สมพรได้สั่งเสียถึงพ่อแม่โดยมีใจความว่าผ่านชำนาญ โดยมีใจความว่า ช่วยบอกพ่อแม่ผมด้วยว่าผมถูกประหารชดใช้กรรมไปแล้ว หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้จัดอาหารมื้อสุดท้ายมาให้สมพร แต่สมพรไม่ยอมรับประทานเนื่องจากอาหารไม่ถูกปากจึงกินไม่ลง สมพรจึงขอกินลาบเลือดสดๆเป็นอาหารมื้อสุดท้าย เพราะแข็งแรงมีกำลังดี เจ้าหน้าที่เรือนจำจึงออกไปซื้อลาบเนื้อวัว และต้มยำเครื่องในมาให้สมพร สมพรกินลาบเนื้อวัว และต้มยำเครื่องในอย่างเอร็ดอร่อยจนหมดจาน แล้วกล่าวว่า "ลาบเลือดอร่อยมากครับพี่ ผมจะไม่มีวันลืม ขอบคุณครับ"
หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้นำตัวสมพรไปฟังเทศนาธรรมกับพระเทพบัณฑิตมาเทศน์ให้สมพรฟังในเรื่อง กฎแห่งกรรม สมพรได้นั่งฟังอย่างสงบเป็นเวลา 20 นาที เมื่อพระเทศน์จบ ชำนาญจึงได้ให้เงินสมพรจำนวน 39 บาทเพื่อถวายเป็นเงินติดกัณฑ์เทศน์ สมพรจึงรับเงินจากชำนาญแล้วยกชูขึ้นเหนือหัวแล้วถวายพระเทพมหาบัณฑิต
ในเวลา 17.00 น. สมพรบอกพัศดีว่า "ผมพร้อมแล้วครับพี่ ช่วยพาผมไปตายทีเถอะครับ" จากนั้นเจ้าหน้าที่เรือนจำได้นำผ้าขาวผูกตาแล้วประคองสมพรเดินไปยังหลักประหารที่กำแพงด้านทิศใต้ของเรือนจำ โดยสมพรเดินไปยังหลักประหารด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม ในเวลา 17.05 น. ประถม เครือเพ่ง เพชฌฆาตได้ยิงปืนชุดแรก แต่กระสุนไม่ถูกสมพร จึงทิ้งช่วง 1 นาที แล้วยิงชุดที่ 2 แต่กระสุนยังไม่เข้าไป จึงทิ้งช่วง 1 นาที แล้วยิงชุดที่สามซึ่งสมพรเสียชีวิตทันที ใช้กระสุนจำนวน 32 นัด โดยระหว่างการประหารชีวิตสมพรได้มีประชาชนที่ทราบข่าวหลายพันคนมาร่วมเป็นกลุ่มอยู่หน้าเรือนจำ
ในวันรุ่งขึ้น จอน สีม่วง มารดาของสมพร และเทียม สีม่วง ย่าของสมพร ได้เดินทางไปติดต่อขอรับศพสมพรจากเรือนจำ โดยพัสดีเรือนจำได้บริจาคเงินให้จอน 200 บาท เนื่องจากจอนไม่มีเงินติดตัวไปเลยเพราะมีฐานะยากจน และเรือนจำได้ให้ความช่วยเหลือเรื่องการฌาปนกิจศพ โดยการติดต่อวัดอรุณรังสีที่ติดกับเรือนจำให้ช่วยฌาปนกิจศพให้ ศพของสมพรถูกนำไปไว้ที่วัดอรุณรังสีแล้วเผาศพในวันเดียวกัน
การประหารชีวิตสมพรนับเป็นการประหารชีวิตครั้งที่สองจากสองครั้งซึ่งเกิดขึ้นในจังหวัดหนองคาย ส่วนการประหารชีวิตครั้งแรกคือสมศักดิ์ แซ่ฉั่ว, บุญช่วย ไซยปะ และประเสริฐ ขันทะยา 3 นักค้าอาวุธซึ่งถูกจับกุมขณะพยายามลักลอบซ่อนอาวุธสงครามที่ลักลอบนำมาจากประเทศลาว โดยทั้งสามถูกประหารชีวิตในที่สาธารณะตามคำสั่งของจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 17 ที่สนามกอล์ฟทางทิศตะวันตกของสนามบินจังหวัดหนองคายเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2515
วิชิต ปาหนนท์
[แก้]วิชิต หรือ เจ๊ก ปานนท์ (พ.ศ. 2495 - 26 สิงหาคม พ.ศ 2520) เป็นฆาตกร และผู้ข่มขืนเด็กชาวไทย ซึ่งถูกประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 21 ในข้อหาร่วมกันรุมโทรม และฆาตกรรม เด็กหญิงแข หรือวิภา ทับธานี อายุ 12 ปี ที่อำเภอบรรพตพิสัย เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2520
การก่อคดี
[แก้]วิชิตได้ไปเสพกัญชากับนิพนธ์ ลูกพี่ลูกน้องของเขา และสมพลงษ์ที่ตำบลตาขีด เมื่อทั้งสามเสพกัญชาเสร็จ วิชิตกับสมพงษ์จึงไปจับปลากัดมากัดกัน ระหว่างนั้นสมพงษ์เห็นวิภาเดินผ่านมา จึงชักชวนให้ฉุดเธอไปข่มขืน วิชิตเห็นด้วยกับสมพงษ์
คำหล้า คำลือวงศ์
[แก้]คำหล้า คำลือวงศ์ หรือ หล้า สอนขันธ์ (พ.ศ. 2493 - 23 มิถุนายน พ.ศ 2521) เป็นผู้ข่มขืนต่อเนื่อง, ผู้ข่มขืนเด็ก และฆาตกรชาวไทย ผู้ก่อเหตุฆาตกรรมผู้หญิง 2 คน ในกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2521 โดยทั้งสองคดีห่างเพียงแค่ 15 วัน เขาถูกจับกุมที่ท่าเรือคลองเตยหลังจากก่อเหตุพยายามข่มขืนหญิงคนหนึ่ง และถูกประหารตามม.21
ดอน เกิดเป็ง
[แก้]ดอน เกิดเป็ง เป็นฆาตกรฆ่าข่มขืนเด็กชาวไทย ผู้ก่อเกตุฆ่าข่มขืนเด็กหญิงก่องแก้ว จันทิมา อายุ 14 ที่อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ส่งผลให้เขาถูกรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียรใช้อำนาจมาตรา 21 ออกคำสั่งให้ประหารชีวิตที่เรือนจำกลางเชียงใหม่ โดยการประหารชีวิตดอนนับเป็นการประหารชีวิตครั้งสุดท้ายโดยรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร
ดอน เกิดเป็ง | |
---|---|
เกิด | พ.ศ.2498 จังหวัดเชียงใหม่ |
เสียชีวิต | 7 กันยายน พ.ศ. 2520 (22 ปี) เรือนจำกลางเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ |
สาเหตุเสียชีวิต | ประหารชีวิตด้วยการยิง |
มีชื่อเสียงจาก | การฆาตกรรมเด็กหญิงก่องแก้ว จันทิมา |
สถานะทางคดี | ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี |
รายละเอียด | |
ผู้เสียหาย | 2 |
วันที่ | ประมาณพ.ศ. 2509 12 มิถุนายน พ.ศ. 2520 |
ประเทศ | ประเทศไทย |
รัฐ | จังหวัดเชียงใหม่ |
ตำแหน่ง | ตำบลบ้านตาล อำเภอฮอด |
ตาย | เด็กหญิงก่องแก้ว จันทิมา อายุ 12 ขวบ |
อาวุธ | ผ้าถุง |
วันที่ถูกจับ | 13 มิถุนายน พ.ศ. 2520 |
จำคุกที่ | เรือนจำกลางเชียงใหม่ |
ประวัติ
[แก้]ดอนมีนิสัยชอบเล็กขโมยน้อย เมื่อดอนอายุ 11 ปี เขาได้ก่อเหตุพยามฉุดหญิงชาวกระเหรี่ยงไปข่มขืน และถูกชาวกะเหรี่ยงจับได้ ทำให้เขาเสียเงินจำนวน 500 บาท ให้กับหญิงชาวกะเหรี่ยง
การก่อคดี
[แก้]นางตึ๊บ จิรโต้งได้ไปตักน้ำที่แม่น้ำปิง ระหว่างทางเห็นดอนเดินออกจากป่าไมยราพ แล้วโยนถังน้ำทิ้ง เธอเกิดความสงสัยจึงเดินเข้าไปดูในป่าไมยราพ เมื่อเดินลึกเข้า 15 เมตร ได้พบศพของก่องแก้ว เธอจึงวิ่งออกมาด่าดอนที่ฆ่าเด็ก แต่ดอนทำเป็นไม่รู้เห็น แล้วเดินหนีไป ติ๊บจึงไปบอกนายแก้ว พ่อเลี้ยงของก่องแก้วที่กำลังตามหาลูกสาว หลังจากนั้นจึงไปแจ้งนายหมี อุปปาระ ผู้ใหญ่บ้าน หลังจากที่นายหมีและชาวบ้านไปดูศพของก่องแก้ว นายหมีและชาวบ้านจึงติดตามดอนไปที่บ้านของหม่อง กันทะลือ ลุงของดอน
ประหารชีวิต
[แก้]ในช่วงเช้าของวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2520 เจ้าหน้าที่เรือนจำได้เบิกตัวดอนออกจากห้องขังในเรือนจำกลางเชียงใหม่ (ขั้นตอนประหาร) จากนั้นได้นำตัวดอนไปยังโรงตัดผม ซึ่งเป็นสถานที่ประหารชีวิต ดอนถูกนำตัวมัดกับหลักประหาร ต่อมาในเวลา น. ประถม เครือเพ่ง เพชฌฆาตประหารชีวิตดอน โดยใช้กระสุนจำนวน... นัด จากนั้น
ดอนนับเป็นบุคคลสุดท้ายที่ถูกประหารชีวิตในรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร และเป็นบุคคลที่สองจากสองคนซึ่งถูกประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีในภาคเหนือ ส่วนคนแรกคือนิคม ชัยนนถี ฆาตกรฆ่าข่มขืนเด็กอายุ 9 ขวบ ที่อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ซึ่งถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป็นชุดในที่สาธารณที่อำเภอวังชิ้น เมื่อปีพ.ศ. 2515
Note (the stair)
[แก้]- https://eresources.nlb.gov.sg/newspapers/digitised/article/straitstimes19770522-1.2.3
- https://eresources.nlb.gov.sg/newspapers/digitised/article/straitstimes19770702-1.2.11
- https://eresources.nlb.gov.sg/newspapers/digitised/article/newnation19790214-1.2.49
- https://eresources.nlb.gov.sg/newspapers/digitised/article/straitstimes19790213-1.2.20.2
wiki data write
[แก้]https://dl.parliament.go.th/handle/20.500.13072/64024 คำสั่งประหารสมปอง พุมวงศ์
ถวิล หมั่นสาร
[แก้]ถวิล หมั่นสาร (พ.ศ.2509 - 24 เมษายน พ.ศ. 2545) อดีตข้าราชการครู ผู้ก่อเหตุฆาตกรรมยกครัวครอบครัวของภรรยาตนเองที่อำเภอนางรอง เมื่อปี พ.ศ. 2542
ถวิล หมั่นสาร | |
---|---|
เกิด | พ.ศ.2509 อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา |
เสียชีวิต | 24 เมษายน พ.ศ. 2545 (36 ปี) เรือนจำกลางบางขวาง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี |
สาเหตุเสียชีวิต | ประหารชีวิตด้วยการยิง |
อาชีพ | ข้าราชการครู นักดนตรี |
มีชื่อเสียงจาก | การฆาตกรรมครอบครัวอวยชัย และการนำภาพไปใช้ในนิทานพื้นบ้านทองปานลิ้นดำ |
ส่วนสูง | 155 cm (5 ft 1 in) |
สถานะทางคดี | ประหารชีวิต |
คู่สมรส | อรวรรณ หมั่นสาร |
เหตุจูงใจ | หึงหวง และถูกคนในครอบครัวภรรยาสวมเขา |
พิพากษาลงโทษฐาน | ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน |
รายละเอียด | |
วันที่ | 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ประมาณ07:00 - 08:30 (GMT+07:00) |
ประเทศ | ประเทศไทย |
รัฐ | จังหวัดบุรีรัมย์ |
ตำแหน่ง | บ้านเลขที่ 30 ถนนสรรพกิจโกศล ตำบลนางรอง อำเภอนางรอง |
เป้าหมาย | ครอบครัวของอรวรรณ |
ตาย | เด็กชายอภิชาติ อวยชัย อายุ 9 ขวบ เด็กชายเอกลักษณ์ อวยชัย อายุ 11 ขวบ นายอำนวย อวยชัย อายุ 44 ปี |
บาดเจ็บ | นางอนงค์ อวยชัย อายุ 45 ปี นางอรวรรณ หมั่นสาร อายุ 24 ปี |
อาวุธ | มีดอีโต้ |
วันที่ถูกจับ | 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 |
จำคุกที่ | เรือนจำกลางบางขวาง |
ถวิลถูกตัดสินประหารชีวิตและถูกประหารชีวิตเมื่อปีพ.ศ. 2545
หลังจากการประหารชีวิตได้มีคนนำภาพของถวิลจากหนังสือพิมพ์ โดยเป็นภาพถวิลยิ้มแย้มในเสื้อคอกลมสีเข้มและใส่กางเกงขาสั้น กำลังถูกเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงสองนายจับแขนสองข้าง เพื่อเดินไปยังสถานที่หมดทุกข์ ในภาพดังกล่าวได้มีการเซ็นเซอร์ตาของถวิล ภาพดังกล่าวถูกอ้างในนิทานพื้นบ้านเรื่องทองปานลิ้นดำ ผู้เขียนได้นำภาพของถวิลจากหนังสือพิมพ์ไปใช้เป็นภาพของทองปาน
ประวัติ
[แก้]ถวิลเป็นชาวอำเภอพิมาย จังหวัดนครราสสีมา เขาประกอบอาชีพเป็นครูสอนว่ายน้ำที่โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา หลังจากที่เลิกงานจากโรงเรียนเขาไปเล่นดนตรีในช่วงกลางคืนเพื่อหาเงินเป็นอาชีพเสริม ต่อมาเขาได้พบกับนางสาวอรวรรณ หมั่นสารซึ่งประกอบอาชีพเป็นนักร้อง และทั้งคู่ได้เกิดความรัก ในปี พ.ศ. 2539 เขาได้ให้อรวรรณเลิกร้องเพลงแล้วมาเปิดร้านเสริมสวยที่บ้านของอนงค์ อวยชัย แม่ของอรวรรณ ในอำเภอนางรอง เขาได้มอบเงินให้อรวรรณเพื่อลงทุนกับร้านเสริมสวย
ต่อมาเขาจับได้ว่าภรรยาไปมีชู้ เขาจึงขอพูดขอร้องให้ภรรยาเลิกนิสัยดังกล่าว เธอรับปากว่าจะไม่ทำอีก แต่ในเวลาต่อมาเขาได้ข่าวว่าเธอกลับไปมีชู้อีก โดยอำนวย อวยชัย พ่อตากับอนงค์ อวยชัย แม่ยายรู้เห็นการกระทำ ส่วนเด็กชายอภิชาติ อวยชัย และเด็กชายเอกลักษณ์ อวยชัย ลูกติดของอรวรรณกับสามีเก่า เป็นคนดูต้นทางเพื่อส่งข่าวให้เธอเวลาถวิลกลับบ้าน
ในปี พ.ศ. 2541 เขาได้แยกกันอยู่กับอรวรรณ โดยเขาจะกลับมาหาอรววรณสัปดาห์ละ 1 วัน
การฆาตกรรมหมู่ครอบครัวอวยชัย
[แก้]วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 เขาเห็นนายต้าเอาดอกกุหลายมาให้อรวรรณและนั่งคุยกับเธอจนกระทั่งกลับไปในช่วงค่ำ เขาไม่คิดว่าเป็นเรื่องชู้สาว แต่เขาจะจับผิดว่าเธอไปมีชู้หรือไม่ เขาจึงบอกเธอว่าจะไปทำงานที่จังหวัดนครราชสีมา แล้วกลับมาแอบติดตามพฤติกรรมของเธอ อภิชาติและเอกลักษณ์ได้ออกมาดูว่าเขาออกไปจริงหรือไม่ เมื่อพบว่าออกไปจริงแล้วจึงไปรายงานให้อรวรรณ เธอจึงแต่งตัวออกจากบ้านไปทันที โดยไม่รู้ตัวว่าเธอถูกเขาจับตาดูอยู่ และถวิลเห็นเธอไปหาชายอื่น เขาจึงกลับบ้านมารอเธอที่บ้านเพื่อตกลงปัญหา เมื่อกลับถึงบ้านอภิชาติและเอกลักษณ์ตกใจที่เขากลับมา เขาจึงถามว่าอรวรรณไปไหน ทั้งสองจึงบอกว่าเธอออกไปธุระเดี๋ยวคงกลับมา แล้วถวิลก็ไล่ทั้งสองให้ไปเข้านอนเพื่อไม่ให้ส่งข่าวให้เธอ เขารอเธอจนกระทั่งเช้าตรู่ แต่เธอก็ไม่กลับมา เขาจึงเกิดความแค้นและตัดสินในฆ่ายกครัวเพื่อล้างแค้น
ในช่วงเช้าตรู่เขาได้หยิบมีดอีโต้ในครัวขึ้นไปยังชั้นสองแล้วฟันอภิชาติและเอกลักษณ์ซึ่งกำลังนอนหลับอยูาเข้าที่ลำตัวและศรีษะจนเสียชีวิต แล้วเดินไปยังห้องนอนของชัยยศ แล้วฟันชัยยศเข้าที่ลำคอจนคอเกือบขาด หลังจากฆ่าชัยยศ เขาเดินลงไปข้างล่างเพื่อฆ่าอนงค์ที่ครัว ในเวลา 07.30 น. อรวรรณกลับมาที่บ้าน เขาจึงลากอรวรรณเข้าไปให้ห้องนอนของชัยยศ อนงค์ได้วิ่งเข้าไปห้ามถวิลและถามว่าเกิดอะไรขึ้น เขาจึงตวาดอนงค์และถีบอนงค์ตกบันได แล้วฉุดอรวรรณเข้าห้องพร้อมล็อกประตูห้อง อนงค์จึงวิ่งไปดูห้องของอภิชาติและเอกลักษณ์แต่ก็พบว่าทั้งสองถูกฆ่าไปแล้ว
เมื่อถวิลนำอรวรรณเข้าห้องเข้าผลักอรววณลงบนเตียงข้างศพชัยยศ แต่เขาฆ่าเมียไม่ลงจึงใช้มีดฟันแขนและขาทั้ง 4ข้าง พร้อมกับใช้มีดเฉาะเข้าที่ใบหน้า ต่อมาในเวลา 08.30 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรนางรองได้เดินทางมาถึงที่เกิดเหตุแล้วล้อมบ้านเอาไว้ ตำรวจได้พยายามเกลี้ยกล่อมถวิล แต่เวลาผ่านไปเกือยชั่วโมง เขาก็ไม่ยอมออกมามอบตัว ตำรวจจึงพังประตูเข้าไป พบถวิลถือมีดด้วยสีหน้ายิ้มแย้มอยู่ในห้อง จากนั้นเขาได้ยื่นมีดให้ตำรวจแล้วมอบตัว
รายชื่อผู้ถูกยิงเป้าโดยคำสั่งคณะปฎิวัติ(ม.17)นอกราชทัณฑ์
[แก้]กำลังทำ...
การยิงเป้าตามม.17มีทั้งหมด76คน แบ่งเป็นที่บางขวาง 20 -21 ราย(ไม่มั่นใจเรื่องศุภชัย ศรีสติ)ต้องไปหาข้อมูลก่อน จะมีผู้ยิงเป้านอกราชทัณฑ์ทั้งหมด55รายแบ่ฃเป็นยุคสฤษดิ์ 8 รายได้แก่เจ้าบ้านต้นเพลิง5ราย(พระนคร4,สุพรรณ 1) ,ศิลา วงสิน(กบฎผีบุญ),ครอง จันดาวงศ์ กับทองพันธ์ สุธิมาศ ดังนั้นการยิงเป้านอกราลทัณฑ์ยุคถนอมจะมี 47รายโดยเริ่มที่แขก ขวัญแก้ว(1/2514) วินัย โพธิ์ภิรมย์ หรือ นัย ตะขาบ (เกิด11 ตุลาคม พ.ศ. 2495 - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2514) คำสั่งที่ 4/2514 หนังสือพิมพฺรายงานว่าวินัยเป็นรายที่ 6 ที่ถูกยิงเป้าในปี พ.ศ. 2514
ซึ่งในปีนั้นมีคนถูกยิงเป้าที่ทราบชื่อได้แก่
ดีน เหล้หวัน อายุ 30 ปี ก่อเหตุฆ่าชิงทรัพย์นายเกียรติ แซ่ลี้ที่ตลาดท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ถูกยิงเป้าที่เมื่อวันที่21 มกราคม พ.ศ. 2514 ที่เรือนจำกลางบางขวาง
สมศักดิ์ ขวัญแก้ว อายุ 28 ปี ก่อเหตุชิงทรัพย์และฆาตกรรมนายทหารอากาศชาวอเมริกันที่อำเภอสัตหีบ ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเป็นชุดที่เชิงเขาตะแบก จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2514 เป็นบุคคลแรกที่ถูกประหารใกล้จุดเกิดเหตุยุคถนอม(1/2514)
วินัย โพธิ์ภิรมย์ อายุ 19 ปี (เกิดวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2495) ก่อเหตุปล้นฆ่าคนหลายคนในพื้นที่พระนคร มือขวาถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต ถูกยิงเป้าที่เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2514 ที่เรือนจำกลางบางขวาง (4/2514)
หมายความว่าระหว่างวันที่ 1ธันวาคม พ.ศ. 2514 ถึง 17 ธันวาคม 2514 (คำสั่งที่2/2514-3/2514)จะมีคำสั่งยิงเป้าในที่เกิดเหตุ 3 ราย (ยังไม่มีข้อมูล)
ม.17ก่อนปีพ.ศ. 2514
ผู้วางเพลิง
ซ้ง แซ่ลิ้ม ได้จ้างวานให้นายพิมพ์ ทองขาว เผาตลาดพลู เพื่อที่นายซ้งจะได้เงินประกันกับบริษัทประกันภัย ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเป็นชุดที่กำแพงหอสมุดแห่งชาติบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501
ซิ่วหยิ่น แซ่ฉิ่น และจำนงค์ แซ่ฉิ่น เจ้าของร้านขายยาที่ตลาดพลู ซึ่งบ้านของทั้งสองเป็นบ้านต้นเพลิงแต่ไม่ได้ทำประกันเอาไว้ ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเป็นชุดที่วัดอินทารามหลังจากการสอบสวนเพียงวันเดียว เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 ทั้งสองได้กล่าวตลอดการเดินไปยังสถานที่ประหารชีวิตว่า"ผมไม่ผิด ผมไม่ได้วางเพลิง"
ฮ่อนฉิ่น แซ่ฉิ่น ผู้วางเพลิงโรงเลื่อยจักรบ้วนเฮงหลง ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเป็นชุดที่วัดดอน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501
อึ้ง ศิลปงาม เจ้าของร้านถ่ายรูปในตลาดท่าช้างถูกประหารชีวิตในข้อหาวางเพลิง ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเป็นชุดที่อำเภอเดิมนางบวช เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2501
หลังจาก2501
- ศิลา วงศ์สิน หัวหน้าหมู่บ้านใหม่ไทยเจริญ ศิลาได้ขัดขืนการจับกุมของนายอำเภอโชคชัยและพวก เป็นต้นเหตุให้บรรดาสานุศิษย์เข้ารุมทำร้ายนายอำเภอและพวกจนตายไปถึง 5 ศพ ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเป็นชุดที่ป่าช้าจีน (สุสานมูลนิธิหลักเสียงเซี่ยงตึ๊งหรือสว่างเมตตาธรรมสถาน) ตำบลหัวทะเล อำเภอเมืองนครราชสีมา เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2502
- ทองพันธ์ สุทธมาศ และครอง จันดาวงศ์ นักโทษทางการเมืองซึ่งถูกจับกุมในข้อหากบฏต่อความมั่นคงและมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พร้อมกับผู้ถูกจับกุมคนอื่นๆ รวม 108 คน ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเป็นชุดที่สนามบินลับเสรีไทย ตำบลสว่างเเดนดิน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ประเทศไทย เมื่อวันที่31 พฤษภาคม พ.ศ. 2504
ใบ กุลแพ,สมบุญ มากฤทธิ์, ทวี เฉลิมสมัย, บุญเลิศ ปรอดเกิด, บั๊กหรือมะลิ คาลามานนท์และน้อย เจริญสุข ผู้ร่วมกับพวกรวม 17 คน ปล้นตลาดท่ารือเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน (1คนจากหัวใจวาย) ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเป็นชุดที่สนามข้างโรงเรียนท่าเรือนิตยากุล เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2509
2515 (ม.17)
แขก พรมสา , เดช สุธี โจรปล้นฆ่าที่มีคดีติดตัวร่วม 100 คดี ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเป็นชุดที่จังหวัดมหาสารคาม เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2515
สมศักดิ์ แซ่ฉั่ว อายุ 26 ปี, ประเสริฐ ขันทะยา อายุ 42 ปี, บุญช่วย ไชยชาญ อายุ 30 ปี 3 ผู้ค้าอาวุธถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเป็นชุดที่จังหวัดหนองคาย เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2515
อำนวย ศรีชม อายุ 18 ปี ข่มขืนและฆาตกรรมเด็กหญิงอายุ 6 ขวบ ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเป็นชุดที่อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 (32/2515)
สมชาย ธรรมวัฒนะ (รายที่13) ข่มขืนและฆาตกรรมเด็กที่ตำบลมะนาวหวาน ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเป็นชุดที่ตำบลมะนาวหวาน อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 (37/2515)
ประเสริฐ ฉายประสาท ,อุทัย มะละมาท ร่วมกับพวกอีก 2 คน ทุบตี,ปล้นทรัพย์และฆาตกรรมสองตายายแล้วนำศพยัดลงในตุ่มที่อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธ์ ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเป็นชุดที่จังหวัดกาฬสินธ์ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2515
เล็ก ตุ้มบัวทอง อายุ 45 ปี ก่อเหตุข่มขืนและสังหารเด็กหญิงซึ่งเล็กเป็นอาของเธอที่ป่าชายเลนในอำเภอบ้านแพ้ว ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเป็นชุดที่วัด อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2515
คม ชัยนนที ข่มขืนและทุบตีเด็กจนเสียชีวิตที่อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเป็นชุดที่อำเภอวังชิ้น เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2515
สมใจ กลิ่นบุหงา ข่มขืนและฆาตกรรมเด็กที่อำเภอนางรอง ซึ่งสมใจเคยก่อเหตุข่มขืนหลายครั้งในพื้นที่เดียวกัน ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเป็นชุดที่อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรีมย์ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2515
ร่าเหม หมาดชาย หรือชื่อที่ใช้ชกมวยคือสมศักดิ์ ดอกจิกน้อย นักมวยผู้ก่อเหตุข่มขืนและฆาตกรรมแม่ และยังได้ก่อเหตุฆาตกรรมลูกของเธออายุ 3 ปีเนื่องจากร้องไห้เสียงดัง ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเป็นชุดที่อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2515
ตี๋ วันดี, สั้น ห้วยใหญ่ ข่มขืนและฆาตกรรมเด็กหญิงแล้วนำศพไมาหมกไว้ในคลองที่อำเภอนาจอมเทียน ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเป็นชุดที่เชิงเขาบรรพตคีรี อำเภอนาจอมเทียน จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2515
ทอง อ้อจันทีก และจีระ ยาจันทึก โจรปล้นฆ่าต่อเนื่อง ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเป็นชุดที่อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2515
พิชาญ กำแหง และ สุธน ทองสุข ผู้ก่อเหตุข่มขืนครูสาวและฆ่าแฟนหนุ่มของเธอที่ชายหาดเก้าเส็ง ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป็นชุด เมื่อวันที่19 ตุลาคม พ.ศ. 2515 ที่ชายหาดริมแหลมสมิทลา
ฉลอง คำดี ก่อเหตุแทงพลเมืองดีจนเสียขีวิตเพื่อหลบหนีการจับกุมจากพลเมืองดีระหว่างที่พลเมืองดีนำตัวส่งสถานีตำรวจ ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเป็นชุดที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2515
ประมวล ฤาษี แหกคุกกบินทร์บุรีและปล้นฆ่า ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเป็นชุดที่อำเภออรัญประเทศ เมื่อวันที 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515
ดัด ภูมิลา ขว้างระเบิดมือใส่วัยรุ่นคู่อริในงานวัดสระบัว เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 9 ราย บาดเจ็บ 13 คน ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเป็นชุดที่สนามบินพาณิชย์ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2515
แผน
[แก้]วางแผนล่วงหน้า เนื่องจากมีผู้ถูกยิงเป้าด้วยม.17ทั้งหมด 76 ราย แต่ที่ทราบตอนนี้ยังขาดอีกประมาณ 20 รายซึ่งต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม
แผนการ 1.ไปหาอายุและข้อมูลคดีจากนสพ. 2.ไปหาหนังสือพิมพ์ในช่วงปี2514(ปลายปีจนกระทั่ง 6 ตุลาคม 2516) ซึ่งเป็นยุคของถนอม โดยมีการใช้ม.17 สั่งประหารอาชญากรที่เป็นฆาตกร/นักค้าเฮโรอีนหรือฝิ่น/นักค้าอาวุธจะต่างจากสฤษดิ์ซึ่งม.17ในยุคจอมพลผ้าขาวม้าแดงจะใช้กับนักโทษการเมือง(ศุภชัย,ครอง,ทองพันธ์,ราม) ค้ายาเสพติด (เลี่ยงฮ้อ) กบฎ(ศิลา วงศ์สิน) และคดีวางเพลิงอีก 5 คน
-เฉพาะผู้ถูกยิงเป้าโดยมิใช่เพชฌฆาตเรือนจำเท่านั้น- รูปแบบของตัวส่วนที่จะทำ - มีชื่อ(ชื่อจริง+ชื่ออื่นที่รวมนามสกุล)
มีอายุ ซึ่งจะค้นหาเท่าที่เจอ เพราะบางรายไม่ทราบอายุเนื่องจากไม่บอกไว้
มีประเภทความผิดเช่นกบฎผีบุญ,คอมมิวนิสต์,ค้าอาวุธ,ฆาตกรรม,ปล้นทรัพย์และฆ่าคนตาย,ชิงทรัพย์และฆ่าคนตาย,ฆาตกรรมและข่มขืน,วางเพลิง
มีรายละเอียดความผิดเนื่องจากคดีที่สั่งยิงเป้าตามม.17 จะเป็นคดีอุฉกรรจ์หรือเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องการเขียนเสือให้วัวกลัวเช่นการยิงเป้าศุภชัย หรือการแสดงความเด็ดขาดของม.17 กับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการวางเพลิง(ขู่) ซึ่งมันจะได้ผลดี แต่ในกรณีของซิ่วหยิ่น แซ่ฉิ่น และจำนงค์ แซ่ฉิ่น จากความคิดส่วนตัวยังไม่ปักใจเชื่อว่าสองพี่น้องแซ่ฉิ่นจะเป็นคนร้ายเนื่องจากบ้านไม่ทำประกัน+อื่นๆเท่าที่ค้นเจอ เพราะกรณีสองพี่น้องดูมีหลักฐานน้อยกว่ารายอื่นๆ ในคดีดังกล่าวสองพี่น้องแซ่ฉิ่นเพิ่งจะสั่งยาเข้าร้านจำนวนหลายหมื่นบาท อีกทั้งยังไม่มีประกันอัคคีภัย แต่ร้านขายยาเป็นร้านต้นเพลิง
ผมไม่ได้วางเพลิง สงสัยจะมีคนลอบวางเพลิงร้านผม เพราะฝั่งตรงข้ามก็เปิดร้านชายยาและมีความอิจฉาที่ร้านผมขายดีกว่า ผมไม่ได้เผารั้นจริงๆ ครับท่าน
— ซิ่วหยิ่น แซ่ฉิ่น และจำนงค์ แซ่ฉิ่น, สองพี่น้องได้ปฎิเสธข้อหา
}}
ลื้อนั่นแหละทำ หลักฐานของตำรวจเขาก็มีพร้อมว่าลื้อเผาร้านตัวเอง เห็นไหมมันวอดวายไปถึงไหน ลื้ออย่ามาแก้ตัวดีกว่า"
— จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์, จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตอบกลับผู้ต้องหาทั้งสอง
และทั้งสองก็ถูกยิงเป้าที่กำแพงวัดอินทรารามในวันรุ่งขึ้น(ไฟไหม้เมื่อวานยิงเป้าวันนี้) ซึ่งการสอบสวนเพียงวันเดียวและผู้ต้องหาให้การปฎิเสธหลักฐานมีน้ำหนักน้อย กรณีนี้จากความคิดเห็นส่วนตัวก็ยังไม่เชื่อว่าสองพี่น้องจะเป็นคนทำเนื่องจากในคดีวางเพลิงเอาเงินประกันในคดีอื่น บ้านคนวางจะทำประกันเอาไว้เช่นที่ตลาดพลู แต่ที่นี่ไม่มีประกันและยังซื้อยาในราคาหมื่นกว่าบาท(ถ้าเทียบเงินเฝ้อในสมัยนี้ก็เป็นล้าน) มันยากที่เราจะทำลายร้านตัวเองโดยที่ไม่ได้เอาผลประโยชน์เลยมันดูแปลกเกินไป ผมก็ไม่ค่อยเชื่อนักและเวลาสืบสวนก็สั้นเกินไป
ส่วนการยิงเป้าในยุคถนอม/ธานินทร์/เกรียงศักดิ์ ในท้องที่เกิดเหตุด้วยคำสั่งนายก ตำรวจจะส่งสำนวนคดีมายังคณะปฎิวัติเพื่อให้พิจารณาและมีคำสั่งให้ดำเนินการว่าจะให้ประหาร/ตลอด/จำคุก ซึ่งการประหารโดยคำสั่งนายกสถานที่ประหารจริงๆไม่ตายตัว
ข้อเสียของรายละเอียดคดีคือถ้าคดีพวกฆ่า/ค้ายา/ค้าอาวุธ/วางเพลิงจะมีความตายตัวในรายละเอียดอยู่แล้วแต่คดีการเมืองเช่นคอมมิวนิสต์มันจะเรียบเรียงแบบเป็นกลางยาก อาจต้องให้ผู้รู้มาปรับปรุง
ความยาว จะไม่ยาวนักจะเป็นข้อมูลคดีแบบสรุปย่อก็พอ(ถ้าพอเขียนเองได้) ถนอมไม่มีปัญหาอยู่แล้ว สฤษกดิ์ไม่ค่อยแน่ใจ
สิ่งต่อไปที่จะมีคือสถานที่ประหาร คำสั่งยิงเป้านอกราชทัณฑ์(ไม่ใช่เพชฌฆาตในทำเนียบเรือนจำบางขวาง) จะยิงในที่สาธารณะแน่นอนโดยจะเป็นการFiring squad ไม่ใช่Shootingเพราะเพชฌฆาตจะมีหลายคน ส่วนใหญ่จะประมาณ 5 คน/1นักโทษ แต่ในการประหาร 6 โจรปล้นตลาดท่าเรือ เพชฌฆาตจะเป็น 1 คน ต่อ 1 โจร ปืนที่จะใช้เป็นคาร์บินบรรจุกระสุนประมาณ 5(บางที10) นัด(เพชฌฆาตหลายคน) นักโทษจะรับกระสุนไปประมาณ 25 นัดถ้าเข้าเป้าทุกนัด ส่วนขั้นตอนเหมือยยิงเป้าแค่เพชฌฆาตประทับปืนแล้วกระหน่ำยิงมายังเป้าตาวัวแค่นั้น ตัวของสถานที่ประหารจะเป็นใกล้สถานที่เกิดเหตุ(ตำบลเดียวกันหรือไม่ก็อำเภอเดียวกัน) ซึ่งถ้าไม่ยิงที่อำเภอเดียวกันสถานที่ประหารจะเป็นอำเภอเมือง ประเภทส่วนใหญ่จะเป็นทุ่ง โดยบางรายจะถูกยิงที่ป่าช้าเช่นศิลา/ฉลอม หรือสนามยิงปืนเช่นเสือมวลซึ่งสถานที่ดังกล่าวFiring squad ในต่างประเทศก็ชอบใช้กัน หรือสนามบิน (ดัด,แขก ,เดช,ครอง,ทองพันธ์) หรือในวัด เช่นเล็ก ตุ้มบัวทอง,ผู้วางเพลิง 5 คน โดยกรณีของเล็กที่ต้องใช้วัดเพราะว่าอำเภอบ้านแพ้ว(ท้องที่เกิดเหตุ)สถานที่ประหารมีแค่วัดเป็นที่เดียวในอำเภอท้องที่เกิดเหตุที่ใช้ดำเนินการประหารได้เนื่องจากในเวลานั้นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอน้ำท่วม หรือชายหาดเนื่องจากที่เกิดเหตุมีลักษณะแบบดังกล่าวเช่นที่แหลมสมิทลา ขอบเขตของสถานที่ประหารชีวิต สฤษดิ์-ใกล้ที่เกิดเหตุโดยบางคดีเกิดในท้องที่กรุงเทพแต่ก็ยิงตรงนั้นเลย (วางเพลิง ) ถนอม-ใกล้ที่เกิดเหตุ ถ้ากรุงเทพหรือใกล้กรุงเทพเช่นปทุมธานี/สมุทรปราการจะยิงที่บางขวาง
ถัดมาคือรูปประกอบ เนื่องจากลิขสิทธิ์ไทยมีอายุเพียงแค่50ปีถ้าไม่มีการต่ออายุ ดังนั้นหนังสือพิมพ์จะไม่มีลิขสิทธิ์แล้วเพราะว่าช่วงที่มีการยิงเป้าในท้องที่เกิดเหตุคือช่วง2501-2516 ซึ่งในปัจจุบันก็เกิน 50 ปีแล้ว ซึ่งจะกลายเป็นงานที่ไร้ลิขสิทธิ์ ถ้าหาได้ผมจะเอามาประกอบให้ครบทุกคน
อื่นๆ -ลำดับคำสั่ง ใส่หรือไม่ก็ได้ถ้ามีก็ดี
-เพศ ไม่ต้องเพราะทุกรายเป็นชาย
-นายก-มีแค่สฤษดิ์กับถนอม
-เวลา พิจารณาอีกครั้ง
อำนาจ เอกพจน์
[แก้]คำขึ้นต้น
[แก้]ภูมิหลัง
[แก้]เหตุระเบิดโรงแรมปทุมรัตน์
[แก้]ความพยายามลอบสังหารอื่นๆ
[แก้]การลอบสังหาร
[แก้]- ปฎิกริยา
ผู้ก่อเหตุ
[แก้]อำนาจ
[แก้]นิรันดร
[แก้]การฆ่าตัวตายของนิรันดรและการมอบตัวของคูชงค์
[แก้]การพิจารณาคดี
[แก้]การประหารชีวิตอำนาจ
[แก้]ไทม์ไลน์คดี
[แก้]ไทม์ไลน์คดีปิตุฆาตเสี่ยตั้งฮั้ว |
2 ตุลาคม 2538 |
* เหตุระเบิดดิสโกเทคโรงแรมปทุมรัตน์เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 1คน และบาดเจ็บ 8 คน |
ต้นปี 2539 |
* นิรันดรได้ส่งจดหมายระเบิดไปหาไชยศิแต่ระเบิดไม่ได้ทำใช้ไชยศิริได้รับบาดเจ็บ |
2 มิถุนายน 2539 |
* อำนาจบุกเข้าไปสังหารไชยศิริในบ้านของเขา |
* อำนาจได้พยายามยิงใส่รปภ.ขณะหลบหนีออกจากบ้านแต่กระสุนไม่ถูกรปภ. |
* รปภ.อีกนายยิงเจาะสะโพกอำนาจทำให้เขาถูกจับกุม |
* อำนาจอ้างว่าเป็นคนชี้เป้าส่วนมือสังหารหนีไปแล้ว |
* อำนาจคือคนสนิทของนิรันดร |
* หลังจากการสอบสวนอำนาจสารภาพว่านิรันดรจ้างด้วยเงิน200,000 บาทและพาเข้ามาหลบในบ้าน |
3 มิถุนายน 2539 |
* เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตรวจค้นคอนโดและพบวัตถุระเบิดเป็นจำนวนมาก |
4 มิถุนายน 2539 |
* นิรันดรยิงตัวตายที่อำเภอจอมบึง |
5 มิถุนายน 2539 |
*ภูชงค์ขอมอบตัวที่สะพานพระราม9 |
6 มิถุนายน 2539 |
* ภูชงค์สารภาพ |
21 กรกฎาคม 2539 |
* ศาลอาญาตัดสินประหารชีวิตอำนาจและจำคุกตลอดชีวิตภูชงค์ |
21 มีนาคม 2541 |
* ศาลฎีกาพิพาษายืนประหารอำนาจ |
8 ตุลาคม 2542 |
* อำนาจถูกประหารชีวิต |
เพิ่มเติม
[แก้]คำพิพากษาศาบฎีกาที่426/2541 เป็นคำพิพากษาคดีนี้
เหตุฆาตกรรมสุภาพรรรณ รัตนสุทายะ
[แก้]กำลังทำ...
เหตุฆาตกรรมสุภาพรรณ รัตนสุทายะ เป็นเหตุทำร้ายร่างกาย-ขโมยรถ-ลักพาตัว-ข่มขืน และฆาตกรรม ซึ่งเกิดขึ้นในจังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่... ธันวาคม พ.ศ. 2512 เวลาประมาณ น. ระหว่างที่สุชาติ วงศ์วิน
ลี ยวน กวงและชู ชิน ก้วย
[แก้]ลี ยวน กวง (อังกฤษ: Lee Yuan Kuang; พ.ศ. 2496 – 18 เมษายน พ.ศ. 2544) และ ชู ชิน ก้วย (อังกฤษ: Chu Chin Kuay; พ.ศ. 2510 – 18 เมษายน พ.ศ. 2544) เป็นผู้ค้ายาเสพติดชาวต่างชาติซึ่งถูกตัดสินประหารชีวิตในความผิดฐานร่วมกันครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตและมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัมขึ้นไป โดยผู้สมรุร่วมคิดของทั้งสอง บุุญเกิด จิตรปราณี (พ.ศ.2503 – 18 เมษายน พ.ศ. 2544) ซึ่งเป็นผู้ขนส่งยาเสพติดก็ถูกจับกุมและถูกตัดสินประหารชีวิตเช่นกัน[2][3]
ลี ยวน กวง | |
---|---|
เกิด | พ.ศ. 2496 ฮ่องกงของบริเตน |
เสียชีวิต | 18 เมษายน พ.ศ. 2544 (อายุ 48 ปี) เรือนจำกลางบางขวาง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย |
สาเหตุเสียชีวิต | ประหารชีวิตด้วยการยิง |
สัญชาติ | ฮ่องกง |
อาชีพ | พ่อค้ายาเสพติด |
พิพากษาลงโทษฐาน | ร่วมกันมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย |
บทลงโทษ | ประหารชีวิต |
ชู ชิน ก้วย | |
---|---|
เกิด | พ.ศ. 2510 ไต้หวัน |
เสียชีวิต | 18 เมษายน พ.ศ. 2544 (อายุ 34 ปี) เรือนจำกลางบางขวาง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย |
สาเหตุเสียชีวิต | ประหารชีวิตด้วยการยิง |
สัญชาติ | พม่า |
อาชีพ | พ่อค้ายาเสพติด |
พิพากษาลงโทษฐาน | -ร่วมกันมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย -เป็นคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยการอนุญาตสิ้นสุด |
บทลงโทษ | ประหารชีวิต |
บุญเกิด จิตรปราณี | |
---|---|
เกิด | พ.ศ. 2503 อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 18 เมษายน พ.ศ. 2544 (อายุ 41 ปี) เรือนจำกลางบางขวาง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย |
สาเหตุเสียชีวิต | ประหารชีวิตด้วยการยิง |
สัญชาติ | ไทย |
อาชีพ | ขับรถส่งยาเสพติด |
พิพากษาลงโทษฐาน | ร่วมกันมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย |
บทลงโทษ | ประหารชีวิต |
ลี, ชู และบุญเกิดถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2544 ซึ่งการประหารชีวิตดังกล่าวได้กระตุ้นให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงจากกลุ่มสิทธิมนุษยชน[4][5][6]
ประวัติ
[แก้]ลี ยวน กวง เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2496 ที่บริติชฮ่องกง ส่วนชู ชิน ก้วย เกิดเมื่อปีพ.ศ. 2510 ที่ประเทศไต้หวัน โดยเขาถือสัญชาติพม่า ต่อทั้งสองได้ร่วมกันค้าขายยาเสพติด โดยซื้อเฮโรอีนจากสามเหลี่ยมทองคำมาขายที่ตลาดในฮ่องกง[7] ต่อมาทั้งสองได้เสนอค่าจ้างให้บุญเกิด จิตปราณีมาทำหน้าที่ขับรถขนส่งยาเสพติด บุญเกิดตกลงรับหน้าที่ดังกล่าวและทำหน้าที่เป็นคนขับรถขนส่งยาเสพติดให้กับทั้งสอง[8]
การจับกุม
[แก้]วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2536 เจ้าหน้าที่สำนักงานปราบปรามยาเสพติด ซึ่งใช้ชื่อสมมติว่านายโจได้รับการติดต่อจากพ่อค้ายาเสพติดชื่ออัลเบิร์ต[9]
ในเวลา 19.00 น. โจได้ไปพบอัลเบิร์ตที่โรงแรมดุสิตธานี อัลเบิร์ตบอกว่าเขารู้จักกับพ่อค้ายาเสพติดซึ่งต้องการส่งเฮโรอีนจำนวนมากยังประเทศไต้หวัน อัลเบิร์ตถามโจว่า โจจะขนเฮโรอีนให้พ่อค้ายาเสพติดคนดังกล่าวหรือไม่ โจตอบตกลงแต่ขอพบพ่อค้ายาเสพติดคนดังกล่าวก่อน อัลเบิร์ตจึงพาโจไปหาลี ยวน กวง ที่โถงรับแขกของโรงแรมแอมบาสเดอร์ แต่บริเวณดังกล่าวมีคนพลุกพล่านจึงย้ายไปตกลงกันที่ห้องอาหารบางกะปิเทลเรสของโรงแรม โดยมีอัลเบิร์ตทำหน้าที่เป็นล่ามแปลภาษา โจได้ตกลงว่าจะขนเฮโรอีนน้ำหนัก 35 กิโลกรัม ไปยังประเทศไต้หวัน ลีสัญญาว่าจะให้ค่าจ้างจำนวน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ[10][11]
วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ลีได้ติดต่อโจให้ไปพบที่ห้องอาหารของโรงแรมในเวลา 11.00 น. เมื่อโจเดินทางไปถึง โจได้พบกับลี ยวน กวง และชู ชิน ก้วย ต่อมาทั้งสองได้บอกให้โจไปรับเฮโรอีนที่ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ 3 ถนนรามคำแหง ทั้งหมดได้เดินทางไปยังห้างสรรสินค้าด้วยรถแท็กซี่ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบได้ปลอมตัวเป็นคนขับรถแท็กซี่ เมื่อเดินทางไปถึง ชูได้แวะพูดคุยบุญเกิดและให้โจกับลีรอในห้าง ต่อมาบุญเกิดกับชูได้เดินเข้ามารวมกลุ่ม ลีกับชูจึงให้โจตามบุญเกิดไปตรวจสอบเฮโรอีนที่ลานจอดรถ ส่วนลีกับชูจะนั่งรอภายในห้าง เมื่อโจไปถึงรถกระบะมิซูบิชิซึ่งจอดที่ลานจอดรถด้านหลังห้าง บุญเกิดได้ให้โจตรวจสอบเฮโรอีนในกระเป๋าเดินทางที่เบาะหลัง เมื่อโจเปิดกระเป๋าพบเฮโรอีนจำนวนมาก โจจึงส่งสัญญาณให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไทยเข้าจับกุม เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมบุญเกิดได้ที่ลานจอดรถ ส่วนลีกับชูได้แยกย้ายกันหลบหนี ชูสามารถนั่งรถแท็กซี่หลบหนีออกไปได้[12][11] แต่ลีถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมไว้ได้ จากการตรวจค้นรถกระบะพบเฮโรอีน ตราสิงโตเกาะลูกโลกเบอร์ 999 จำนวน 100 แท่ง มีน้ำหนักรวม 34,589 กรัม มูลค่าประมาณ 7 ล้านบาท[13][14]
จากการสอบสวน บุญเกิดได้ยอมรับว่าคนเองเป็นแค่คนขับรถส่งยาเสพติดเท่านั้น ไม่มีส่วนร่วมกับขบวนการค้ายาเสพติด เขาสารภาพว่าลีเป็นเจ้าของยาเสพติทั้งหมดโดยสั่งซื้อมาจากโรงงานผลิตเฮโรอีนในภาคเหนือ และลีสั่งให้นำมาส่งยังลานจอดรถของห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ 3 ถนนรามคำแหง เพื่อนำไปส่งขายต่อที่ตลาดในฮ่องกง เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงควบคุมตัวทั้งสองไว้ดำเนินคดี[15]
ในเวลาต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมชูได้ที่ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขารัชดาภิเษก[16] จึงคุมตัวมาสอบสวนร่วมกับลี และบุญเกิด โดยทั้งสามได้ให้การปฎิเสธว่าไม่รู้เห็นเฮโรอีนจำนวนดังกล่าวมาก่อน[11]
การพิจารณาคดี
[แก้]วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2540 ศาลอาญารัชดาได้มีคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าทั้งสามมีความผิดฐานผลิต นำเข้า หรือส่งออกยาเสพติดประเภทที่ 1 เพื่อจำหน่าย โดยมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 20 กรัมขึ้นไป โดยให้เหตุผลว่าเป็นการกระทำที่ทำลายสภาพสังคม,เศรษฐกิจ ถือเป็นภัยร้ายแรงต่อประเทศชาติ จึงมีคำพิพากษาให้ประหารชีวิตลี ,ชู และบุญเกิด พร้อมกับริบเฮโรอีนของกลาง หลังจากนั้นได้ส่งตัวทั้งสามจากฑัณฑสถานบำบัดพิเศษบางเขนมายังเรือนจำกลางบางขวาง[17][18]
ทั้งสามได้ยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2540 ต่อมาในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2541 ศาลอุทธรณ์ได้นัดฟังคำพิพากษา และได้อ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2541 โดยมีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ประหารชีวิตทั้งสาม ทั้งสามจึงใช้สิทธิ์ยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ต่อมาในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2542 ศาลฎีกาได้พิพากษายืนประหารชีวิต[19] ทั้งสามจึงทำหนังสือถวายฎีกาทูลเกล้า แต่ก็ถูกยกฎีกา[11][20]
การประหารชีวิต
[แก้]วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2544 เวลา 16.10 น. เจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงได้เบิกตัวลี,ชู,บุญเกิด, วิเชียร แสนมหายักษ์ และรอมาลี ตาเย๊ะ ออกจากหมวดควบคุมนักโทษประหารแดนที่ 1 ซึ่งวิเชียรถูกศาลจังหวัดเชียงรายตัดสินประหารชีวิตในความผิดฐานนำยาเสพติดให้โทษเข้ามาราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย หลังจากถูกเจ้าหน้าที่ปปส.และเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอแม่สายจับกุมที่จุดตรวจบริเวณสะพานมิตรภาพแม่น้ำสายแห่งที่ 1 จากการตรวจค้นรถกระบะของวิเชียรยาบ้าจำนวน 50,000 เม็ด ส่วนรอมาลีถูกศาลจังหวัดนราธิวาสตัดสินประหารชีวิตจากคดีจ้างวานฆ่านายสุรเชษฐ์ ลอดิง กำนันตำบลโล๊ะจูดที่อำเภอแว้ง[21][22]
เมื่อเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงเดินไปถึงห้องขังของลี เจ้าหน้าที่จึงส่งเสียงเรียกลี ชูได้สะดุ้งขึ้นและร้องว่า"อั้วซี๊เลี๊ยว" ลีจึงเอื้อมมือไปตบไหล่ของชู ก่อนจะลุกขึ้นยืนและส่งมือไปให้ชูจับ แล้วจูงมือกันเดินออกมายังประตูห้องขัง เจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงจึงสวมกุญแจมือทั้งสองและตรวจค้นตัว ส่วนเจ้าหน้าที่นายอื่นได้แยกย้ายไปเบิกตัวบุญเกิด,วิเชียร และรอมาลี[11]
ลีได้ถามได้ถามอรรถยุทธ พวงสุวรรณ ซึ่งเป็นพี่เลี้ยงนักโทษประหารว่า"หัวหน้าคับ ผงขอพกสถางทูกก่องล่ายไม้" อรรถยุทธจึงตอบปฎิเสธไปว่า"ไม่ได้หรอก แต่เดี๋ยวจะให้เขียนจดหมายถึงญาติ ลื้อค่อยเขียนจดหมายฝากให้สถานทูตตอนนั้นก็ได้" ส่วนชูได้ร้องไห้และขอโทรศัพท์กลับไปที่บ้าน แต่คำขอก็ถูกปฎิเสธเช่นกัน[11] หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงได้นำตัวของนักโทษทั้ง 5 คนมายังหมวดผู้ช่วยเหลือฯ ระหว่างเดิน ลีได้ขอบุหรี่จากเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยง โดยสูบแบบมวนต่อมวน[17]
เมื่อถึงหมวดผู้ช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองทะเบียนประวัติอาชญากร และเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนประวัติผู้ต้องขัง ได้เข้าไปพิมพ์ลายนิ้วมือของทั้งห้าคน ระหว่างพิมพ์ลายนิ้วมือ ลีกับชูได้ขอบุหรี่สูบและคุยกันเป็นภาษาจีน ส่วนบุญเกิดขอน้ำเย็นดื่มและพูดว่า "ผมไม่น่าไปคบกับสองคนนั่นเลย ทำให้ผมซวยไปด้วย" เมื่อเจ้าหน้าที่พิมพ์ลายนิ้วมือของเสร็จ เจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองทะเบียนประวัติอาชญากร ได้เข้ามาทำการตรวจสอบประวัติบุคคล ลีเห็นนักข่าวมาเป็นจำนวนมาก เนื่องจากในวันดังกล่าวเป็นครั้งแรกที่กรมราชทัณฑ์อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าไปในเรือนจำบางขวางเพื่อเป็นสักขีพยานในการประหารชีวิต ลีจึงขออนุญาตพูดคุยกับนักข่าวแต่ถูกปฎิเสธ อรรถยุทธได้เดินเข้าไปตบไหล่ของชู เพื่อปลอบใจเขา อรรถยุทธพูดว่า“อั๊วอยากให้ลื้อทำใจ ยังไงก็แก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว” ชูตอบกลับมาว่า “แต่ผงไม่ใช่คงไท ไม่น่าปะหางผงเลย ขอผงพกสถางทูกก่องล่ายไม้ โทละสักไปก็ยังลี” อรรถยุทธจึงตอบชูว่า “เรื่องโทรศัพท์กับเรื่องสถานทูตตัดทิ้งไปได้เลย ผู้ใหญ่คงไม่ให้แน่ ชู ชิน ก้วยต้องเข้าใจนะ ถึงชู ชิน ก้วยจะไม่ใช่คนไทย แต่เข้ามาทำผิดในเมืองไทย ภายใต้กฎหมายของไทย ก็ต้องรับโทษตามกฎหมายของไทย เวลาคนไทยไปอยู่ประเทศอื่น เมื่อทำความผิด ก็ต้องรับโทษตามกฎหมายของประเทศนั้นเช่นกัน” ชูจึงนั่งคอตก บุญเกิดกล่าวว่า "ถ้าผมไม่ร่วมมือกับพวกนี้ ผมคงไม่ต้องมาเป็นอย่างนี้หรอก ผมไม่น่าเห็นแก่เงินเลย เขาเสนอเงินค่าจ้างให้ผมดี ให้ผมช่วยขับรถส่งของให้ ทำไปทำมาไปติดต่อเอาสายสืบฝรั่งเข้า เลยพาซวยกันหมด เงินก็ไม่ได้ใช้ซักบาท แล้วยังต้องมาตายโดยขึ้นชื่อว่าเป็นนักโทษประหารอีก ถ้ามีอภินิหารช่วยผมรอดไปได้ ผมจะบวชไม่สึกเลยจริงๆ"[11]
หลังจากตรวจสอบประวัติบุคคล เวรผู้ใหญ่ได้เข้าทำการอ่านคำสั่งจากสำนักนายกรัฐมนตรีและให้เซ็นลงในคำสั่ง ถัดจากนั้นได้ให้นักโทษทั้งหมดเขียนพินัยกรรมและจดหมาย ลีกับชูได้เขียนจดหมายจำนวน 2 ฉบับและฝากเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนช่วยเป็นธุระจัดส่งให้ถึงสถานฑูตฮ่องกงกับสถานฑูตไต้หวัน หลังจากเขียนพินัยกรรมและจดหมาย[23][11]
เวลา 17.40 น. พี่เลี้ยงได้ยกอาหารมื้อสุดท้ายมาได้แก่:แกงเขียวหวานไก่, ต้มจืดเต้าหู้, แกงสับปะรดหอยแมลงภู่ และข้าวมันไก่ทอด แต่นักโทษทุกคนได้ปฎิเสธที่จะรับประทานอาหารมื้อสุดท้าย โดยขอน้ำเย็นดื่มเท่านั้น ถัดจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้นำตัวลี,ชู,บุญเกิดและวิเชียรไปฟังเทศน์จากพระสงฆ์ที่ห้องเยี่ยมสำหรับทนาย ส่วนรอมาลีซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม เจ้าหน้าที่ได้ให้รอมาลีละหมาดอยู่ที่หมวดผู้ช่วยเหลือ หลังจากฟังเทศน์เสร็จ ในเวลา 18.00 น. เจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงได้นำตัวของลีไปประหารชีวิตก่อนเป็นคนแรก ลีได้กอดชูและจับมือชูกับบุญเกิด แล้วพูดว่า "อั๊วไปก่องน่อ เลี้ยวเจอกังที่ซาหวัง"[11][24]
ลีเดินตัวตรง ตาขวาง โดยสามารถควบคุมสติได้ดีเมื่อลีเดินผ่านศาลาเฉลิมพระเกียรติ ได้มีนักข่าวจำนวนมากถ่ายรูปเขา เขาจึงหันมาพูดกับอรรถยุทธว่า "ต้องยิ้งหน่อย เวลาเมียผงเห็งเข่าจะล่ายรู้ว่าผงเค่งแข็ง" เขาจึงยิ้มให้ช่างภาพและพูดคุยกับอรรถยุทธไปตลอดทาง[25] เมื่อถึงศาลาเย็นใจเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงได้ให้เขานั่งบนเก้าอี้ขาว หยิบดอกไม้ธูปเทียนส่งให้ แล้วนำผ้าดิบผูกตา แล้วประคองตัวเขาเข้าไปยังสถานที่หมดทุกข์ ถัดจากนั้นได้นำตัวเขามัดกับหลักประหาร คำพูดสุดท้ายของเขาคือ"ผงซี้เลี้ยวทังบุงให้ล่วย"[26][27][17][11]
หลังจากที่ธงแดงสะบัดลงเชาวน์เรศน์ จารุบุศย์ เพชฌฆาตได้เหนี่ยวไกปืนเฮคแลร์อุนด์คอค เอ็มเพ5โดยใช้กระสุนจำนวน 8 นัด โดยทำการประหารชีวิตเขาเมื่อเวลา 17.50 น. แต่เขายังไม่เสียชีวิตพร้อมกับส่งเสียงครางเป็นภาษาจีนและสะบัดหัวไปมา เชาวน์เรศน์ จารุบุศย์จึงยิงชุดที่ 2 โดยใช้กระสุนปืนจำนวน 7 นัด และเขาก็เสียชีวิต[28][11]
หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงได้รับตัวชู และบุญเกิดมายังศาลาเย็นใจเพื่อทำการประหารชีวิตเป็นชุดที่สอง ขณะเดินบุญเกิดได้พนมมือไหว้สื่อมวลชนและเจ้าหน้าที่เรือนจำไปตลอดทาง[17]
เมื่อนำตัวชูและบุญเกิดถึงศาลาเย็นใจ อรรถยุทธได้ส่งดอกไม้ธูปเทียนให้ทั้งสอง บุญเกิดถามอรรถยุทธว่า"เฮียเขาไปแล้ว ใช่ไหมครับ" อรรถยุทธจึงตบหลังบุญเกิดเบาๆ เจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงได้ผูกตาทั้งสองและนำตัวเข้าสู่สถานที่หมดทุกข์แล้วนำชูไปมัดกับหลักประหารหลักที่ 1 ส่วนบุญเกิดมัดกับหลักประหารหลักที่ 2 ชูได้พูดตลอดทางว่า"อั๊วซี้เลี้ยว อั๊วซี้เลี้ยว" ทั้งสองถูกประหารชีวิตเมื่อเวลา 18.13 น. ชูถูกประหารชีวิตโดยเพชฌฆาตเชาวเรศน์ จารุบุณย์ โดยใช้กระสุน 11 นัดสำหรับชู บุญเกิดถูกประหารชีวิตโดยเพชฌฆาตพิทักษ์ เนื่องสิทธะ ใช้กระสุนจำนวน 9 นัดสำหรับบุญเกิด โดยทั้งสองเสียชีวิตจากการยิงเพียงชุดเดียว หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงได้นำตัววิเชียร และรอมาลีมาประหารชีวิตเป็นชุดสุดท้าย[29][30][31][32]
ลีนับเป็นชาวฮ่องกงคนแรกที่ถูกประหารชีวิตโดยประเทศไทยในรอบ 22 ปี นับตั้งแต่การประหารชีวิตนายปังจอง แซ่อึ้ง หรือ อึ้งปังจอง, พังฉ่าง ผู้ค้ายาเสพติดชาวฮ่องกง เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2521 ซึ่งถูกประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี โดยอาศัยอำนาจมาตรา 27 ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 จากการร่วมกับพวกขนเฮโรอีน,มอร์ฟีน และฝิ่นสุกจำนวนมาก จากบริติสฮ่องกงมายังประเทศไทยเพื่อเตรียมนำขึ้นเรือประมงขนส่งออกนอกประเทศ[33]
ภายหลังการประหารชีวิต
[แก้]การประหารชีวิตครั้งดังกล่าวได้สร้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงจากกลุ่มสิทธิมนุษย์ชน โดยมีองค์กรเอกชนจำนวน 16 องค์กรได้ประณามการประหารชีวิตในครั้งนี้[34][35][36]
ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศของวุฒิสภา กล่าวว่า "ผมไม่เห็นด้วยกับการประหารชีวิต ผมขอเสนอให้รัฐบาลจัดการลงประชามติเพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เพื่อดูว่าการประหารชีวิตซึ่งเป็นที่พูดถึงกันมากเช่นนี้ ซึ่งปฏิบัติต่อมนุษย์เหมือนสัตว์ เป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่"[37] [38]
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ประนามการประหารชีวิตว่าเป็นเรื่องอื้อฉาวที่รัฐบาลทักษิณชุดใหม่แสดงจุดยืนอันแข็งกร้าวในการต่อต้านยาเสพติดด้วยการประหารชีวิตผู้คน[39]
นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง วุฒิสมาชิกกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ควรยกเลิกโทษประหารชีวิต เพราะไม่ใช่วิธีแก้ไขปัญหาที่เป็นรูปธรรมในการป้องกันและปราบปรามการค้ายาเสพติด เขากล่าวว่า “โทษจำคุกตลอดชีวิตก็เพียงพอแล้ว หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ไม่ใช่การฆ่า (ผู้ค้ายาเสพติด) แต่คือการช่วยฟื้นฟูพวกเขา”[40]
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ได้กล่าวถึงกรณีนักสิทธิมนุษย์ชนไม่พอใจต่อการประหารชีวิตว่า"ประเทศสหรัฐก็มีโทษประหารเหมือนกัน และประหารอยู่เรื่อยๆ ซึ่งรัฐบาลมีความจำเป็นจะต้องประหารชีวิตผู้ค้ายาเสพติดต่อไปอีกเพราะทำลายอนาคตเยาวชนของชาติ จึงต้องได้รับสาสมกัน"[41][42][43]
พล.ต.อ.พรศักดิ์ ดุรงควิบูลย์ ผบ.ตร.กล่าวถึงการประหารชีวิตนักโทษยาเสพติดที่บางฝ่ายเห็นว่ารุนแรงเกินไปว่า"ถือเป็นประเด็นสังคมที่ไม่มีสูตรสำเร็จว่าถูกหรือผิด สิ่งที่ลงโทษเป็นไปตามกฎหมายที่มีอยู่ รวมทั้งขณะนี้บ้านเมืองเผชิญกับปัญหายาเสพย์ติดรุนแรง เราก็ต้องดำเนินหลายมาตรการหลายด้านเพื่อหยุดยั้งให้ได้ ส่วนคนท่าผิดจะได้ตระหนักเกรงกลัวไม่กล้ากระทำผิดกันอีก[44]"
ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้กล่าวว่า "การเชิญสื่อมวลชนเข้าไปร่วมสังเกตุการณ์ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รู้ถึงโทษภัย และเป็นหลักของวิชาการมีอยู่ด้วยกัน 2 ด้าน คือการป้องปรามกับมุ่งกระทำโดยตรงต่อผู้กระทำผิด ส่วน กรณีมีข่าวการยกเลิกสิทธิยื่นฎีกาของนักโทษประหารในคดียาเสพติด เรื่องนี้ยังไม่มีการพูดถึงในคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ไม่ทราบว่าข่าวออกมาได้อย่างไร ที่จริงเรื่องนี้ไม่ควรจะพูดถึงหรือเสนอข่าวนี้ เพราะถือว่าเป็นเรื่องของพระราชอ๋านาจที่เราไม่ควรไป ก้าวก่ายแต่อย่างใด ตนขอยืนยันว่าในคณะทำงานว่าไม่เคยมีการพูดถึงประเด็นนี้"[45]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ค้นหาข้อมูลคดี/คำสั่งศาล (คดีหมายเลขคดีดำที่ 890/37 คดีหมายเลขคดีแดงที่ 1662/40)
บรรณานุกรม
[แก้]- สื่อลำดับที่ 9 เรื่องสู่แดนประหาร รายการตามล่าหาความจริง
- อรรถยุทธ พวงสุวรรณ (2565). คำสารภาพสุดท้ายของนักโทษประหาร. กรุงเทพ: เพชรประกาย. ISBN 9786165786645.
- 'เชาวเรศน์ จารุบุณย์ (2549). เพชฌฆาตคนสุดท้าย. กรุงเทพ: ดอกหญ้ากรุ๊ป,. ISBN 9789749244463.
{{cite book}}
: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ขืนใจ". หนังสือพิมพ์เดลินิวส์. 16 June 1972. p. 16.
- ↑ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2536 หน้าที่16
- ↑ หนังสือพิมพ์The nation ฉบับวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2544 หน้าที่2A
- ↑ Rights groups condemn Thai executions
- ↑ Thai executions condemned
- ↑ 93% of Thai people want to see the death penalty put to use to curb shocking murders and drug gangs
- ↑ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2536 หน้าที่16
- ↑ หนังสือพิมพ์The nation ฉบับวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2544 หน้าที่2A
- ↑ หนังสือพิมพ์The nation ฉบับวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2544 หน้าที่2A
- ↑ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๐๖/๒๕๔๒
- ↑ 11.00 11.01 11.02 11.03 11.04 11.05 11.06 11.07 11.08 11.09 11.10 คำสารภาพสุดท้ายของนักโทษประหาร, p. 309-323
- ↑ หนังสือพิมพ์The nation ฉบับวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2544 หน้าที่2A
- ↑ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2536
- ↑ หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2544
- ↑ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2536
- ↑ หนังสือพิมพ์The nation ฉบับวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2544 หน้าที่2A
- ↑ 17.0 17.1 17.2 17.3 เพชฌฆาตคนสุดท้าย p. 149-156
- ↑ หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2544
- ↑ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๐๖/๒๕๔๒
- ↑ Three convicted drug traffickers and producers, two
- ↑ สกู๊ปของหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2544:ประหารหนทางที่ไม่ล้าสมัย
- ↑ หนังสือพิมพ์Bankok post ฉบับวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2544 หน้าที่2A
- ↑ เพชฌฆาตคนสุดท้าย p. 149-156
- ↑ หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2544
- ↑ หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2544
- ↑ Eyewitness: Thailand's public executions
- ↑ หนังสือพิมพ์The Bankok post ฉบับวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2544
- ↑ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2544
- ↑ หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2544
- ↑ หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2544
- ↑ The government executed five condemned prisoners, four
- ↑ Eyewitness: Thailand's public executions
- ↑ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2521
- ↑ Thai executions condemned
- ↑ Rights groups condemn Thai executions
- ↑ Human rights groups in Thailand started a petition...
- ↑ Rights groups condemn Thai executions
- ↑ [1]
- ↑ Thai executions condemned
- ↑ Senator Chirmsak Pinthong said that capital
- ↑ หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2544
- ↑ Rights groups condemn Thai executions
- ↑ Amnesty activists should consider the dangers of drugs
- ↑ หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2544
- ↑ หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2544
footNote
[แก้]สื่อไม่เสรี
[แก้](ลี)
| สถานะ = รอการอนุมัติ
| คำอธิบายไฟล์ = ภาพถ่ายหน้าตรงของ ลี ยวน กวง โดยเรือนจำกลางบางขวาง
| ผู้สร้างสรรค์หรือผู้ทรงลิขสิทธิ์ = กรมราชทัณฑ์
| แหล่งที่มา =
| ตำแหน่งไฟล์ต้นทางที่จะให้อัปโหลด =
| ชื่อไฟล์ที่จะใช้ในวิกิพีเดีย = ลี_ยวน_กวงภาพถ่ายหน้าตรง
| ประเภทของไฟล์ = ภาพถ่ายหน้าตรง,ภาพของบุคคลที่เสียชีวิตไปแล้ว
| บทความที่จะใช้ไฟล์ =
| ส่วนที่ใช้ = ทั้งหมด เพราะภาพดังกล่าวเพียงพอที่จะระบุตัวตนของลี ยวน กวง ด้วยการมองเห็น เพื่อให้สามารถถ่ายทอดความหมายได้อย่างถูกต้องและกระจ่างชัด
| ความละเอียดต่ำ = ใช่
| วัตถุประสงค์การใช้ไฟล์ = (1) บ่งบอกรูปพรรณของลี ยวน กวง (2) เพื่อระบุตัวตนของลี ยวน กวงด้วยการมองเห็นที่ด้านบนของบทความ(กล่องข้อมูลอาชญกรรมของลี) (3) แสดงภาพที่เกี่ยวข้องกับบุคคลอย่างมีนัยสำคัญที่ด้านบนของบทความ
| มีภาพเสรีทดแทนหรือไม่สามารถทดแทนได้ = ไม่มีเนื่องจากบุคคลดังกล่าวเสียชีวิตไปตั้งแต่ปีพ.ศ. 2544 ทำให้ไม่สามารถถ่ายภาพใหม่ได้
| เคารพต่อโอกาสเชิงพาณิชย์ = (1) ภาพถูกปรับให้มีความละเอียดต่ำเพียงพอต่อการระบุตัวตนและสื่อความหมาย โดยในขณะนี้ยังไม่มีสื่อเสรีเกี่ยวกับ ยวน กวง ดังนั้นการกระทำใด ๆ ที่เป็นการทำซ้ำหรือดัดแปลงภาพดังกล่าวจึงไม่อาจถูกใช้เป็นสิ่งทดแทนผลงานต้นฉบับในเชิงพาณิชย์ได้ (2) ภาพนี้ถูกนำมาใช้ในความละเอียดต่ำและในบริบทที่จำกัดอยู่ในบทความที่เกี่ยวข้องกับคดีของนายลีและพรรคพวก(ชูและบุญเกิด) เพียงอย่างเดียวจากการใช้ภาพถ่ายหน้าตรงแทนภาพตอนกำลังจะถูกประหารชีวิต ซึ่งไม่ได้มีผลต่อการขายหรือการใช้งานภาพต้นฉบับในเชิงพาณิชย์ การนำภาพมาใช้นี้ไม่ได้ลดคุณค่าของภาพต้นฉบับ (3) เป็นภาพที่ใช้ในหน่วยงานราชการ แล้วสื่อได้นำภาพมาเผยแพร่ในภายหลัง แต่หน่วยงานราชการผู้บันทึกภาพคงสิทธิแห่งรูปภาพนี้ทุกประการ | สารสนเทศ/รุ่นอื่น =
| ลายเซ็น = Stirz117 (คุย) 09:17, 2 กันยายน 2567 (+07)
(ชู)
| สถานะ = รอการอนุมัติ
| คำอธิบายไฟล์ = ภาพถ่ายของชู ชิน ก้วย ในเรือนจำกลางบางขวาง
| ผู้สร้างสรรค์หรือผู้ทรงลิขสิทธิ์ = กรมราชทัณฑ์
| แหล่งที่มา = หนังสือพิมพ์
| ตำแหน่งไฟล์ต้นทางที่จะให้อัปโหลด =
| ชื่อไฟล์ที่จะใช้ในวิกิพีเดีย =
| ประเภทของไฟล์ = ภาพถ่ายโดยเรือนจำ,ภาพบุคคลที่เสียชีวิตแล้ว
| บทความที่จะใช้ไฟล์ =
| ส่วนที่ใช้ = ทั้งหมด
| ความละเอียดต่ำ = ใช่
| วัตถุประสงค์การใช้ไฟล์ = (1) บ่งบอกรูปพรรณของชู ชิน ก้วย (2) เพื่อระบุตัวตนของชู ชิน ก้วย ด้วยการมองเห็นที่ด้านบนของบทความ (3) แสดงภาพที่เกี่ยวข้องกับบุคคลอย่างมีนัยสำคัญที่กล่องข้อมูลอาชญากรรมของชูด้านบนของบทความ
| มีภาพเสรีทดแทนหรือไม่สามารถทดแทนได้ = ไม่มี เนื่องจากไม่มีภาพเสรีถูกสร้างขณะที่บุคคลดังกล่าวยังมีชีวิต และชูเสียชีวิตไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ทำให้ไม่สามารถถ่ายภาพใหม่ได้อีก
| เคารพต่อโอกาสเชิงพาณิชย์ = (1) ภาพถูกปรับให้มีความละเอียดต่ำเพียงพอต่อการระบุตัวตนและสื่อความหมาย โดยในขณะนี้ยังไม่มีสื่อเสรีเกี่ยวกับ ยวน กวง ดังนั้นการกระทำใด ๆ ที่เป็นการทำซ้ำหรือดัดแปลงภาพดังกล่าวจึงไม่อาจถูกใช้เป็นสิ่งทดแทนผลงานต้นฉบับในเชิงพาณิชย์ได้ (2) ภาพนี้ถูกนำมาใช้ในความละเอียดต่ำและในบริบทที่จำกัดอยู่ในบทความที่เกี่ยวข้องกับคดีของนายชูและพรรคพวก(ลีและบุญเกิด)เพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่ได้มีผลต่อการขายหรือการใช้งานภาพต้นฉบับในเชิงพาณิชย์ การนำภาพมาใช้นี้ไม่ได้ลดคุณค่าของภาพต้นฉบับ (3) เป็นภาพที่ใช้ในหน่วยงานราชการ แล้วสื่อได้นำภาพมาเผยแพร่ในภายหลัง แต่หน่วยงานราชการผู้บันทึกภาพคงสิทธิแห่งรูปภาพนี้ทุกประการ
| สารสนเทศ/รุ่นอื่น =
| ลายเซ็น = Stirz117 (คุย) 09:17, 2 กันยายน 2567 (+07)
(บุญเกิด)
| สถานะ = รอการอนุมัติ
| คำอธิบายไฟล์ = บุญเกิดในการแถลงข่าวจับกุมเฮโรอีนของตำรวจ
| ผู้สร้างสรรค์หรือผู้ทรงลิขสิทธิ์ = เดลินิวส์
| แหล่งที่มา =
| ตำแหน่งไฟล์ต้นทางที่จะให้อัปโหลด =
| ชื่อไฟล์ที่จะใช้ในวิกิพีเดีย =
| ประเภทของไฟล์ = ภาพจากข่าว, ภาพถ่ายของบุคคลที่เสียชีวิตแล้ว
| บทความที่จะใช้ไฟล์ =
| ความละเอียดต่ำ = ใช่ภาพดังกล่าวผ่านการปรับความละเอียดแล้ว
| วัตถุประสงค์การใช้ไฟล์ = (1) บ่งบอกรูปพรรณของบุญเกิด จิตปราณี (2) เพื่อระบุตัวตนของบุญเกิด จิตปราณีด้วยการมองเห็นที่ด้านบนของบทความ(กล่องข้อมูลอาชญกรรมของบุญเกิด) (3) แสดงภาพที่เกี่ยวข้องกับบุคคลอย่างมีนัยสำคัญที่ด้านบนของบทความ
| มีภาพเสรีทดแทนหรือไม่สามารถทดแทนได้ = ไม่มีเนื่องจากไม่มีภาพเสรีถูกสร้างขณะมีชีวิตและภาพที่มีทั้งหมดเป็นภาพไม่เสรี และบุคคลดังกล่วได้เสียชีวิตไปตั้งแต่ปี2544 ทำให้ไม่สามารถถ่ายภาพใหม่ได้อีก
| เคารพต่อโอกาสเชิงพาณิชย์ = (1) ภาพถูกปรับให้มีความละเอียดต่ำ cropให้เห็นเฉพาะจุดที่บุญเกิดอยู่ในภาพเพราะภาพจึงจะมีลีนั่งอยู่อีกฝั่งของโต๊ะและมีเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายนายเพื่อเป็นการปฎิบัติตามนโยบายเคารพต่อโอกาสเชิงพาณิชย์จึงตัดส่วนที่ไม่จำเป็นออก(crop)แล้วเหลือเฉพาะบริเวณภาพดัฝกล่าวแล้วนำไปลดความละเอียด+ปรับพิซเซลไปต่มกฎระเบียบ จึงเพียงพอต่อการระบุตัวตนและสื่อความหมายซึ่งไม่สามารถทดแทนภาพเต็มต้นฉบับในเชิงพาณิชย์ได้ โดยในขณะนี้ยังไม่มีสื่อเสรีเกี่ยวกับ บุญเกิด จิตปราณี ดังนั้นการกระทำใด ๆ ที่เป็นการทำซ้ำหรือดัดแปลงภาพดังกล่าวจึงไม่อาจถูกใช้เป็นสิ่งทดแทนผลงานต้นฉบับในเชิงพาณิชย์ได้ (2) ภาพนี้ถูกนำมาใช้ในความละเอียดต่ำและในบริบทที่จำกัดอยู่ในบทความที่เกี่ยวข้องกับคดีของนายบุญเกิดและพรรคพวก(ชูและลี) เพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่ได้มีผลต่อการขายหรือการใช้งานภาพต้นฉบับในเชิงพาณิชย์ การนำภาพมาใช้นี้ไม่ได้ลดคุณค่าของภาพต้นฉบับ
| สารสนเทศ/รุ่นอื่น = สื่อลำดับที่ 9 เรื่องสู่แดนประหาร เป็นอีกแหล่งที่มีการเผยแพร่ภาพนักโทษทั้ง 3 แต่ไม่ควรนำมาใช้อ้างอิงเท่านำภาพจากสำนักข่าว
| ลายเซ็น = Stirz117 (คุย) 09:17, 2 กันยายน 2567 (+07)
DYK
[แก้]- ...การประหารชีวิต ลี ยวน กวง ผู้ค้ายาเสพติดชาวฮ่องกง นับเป็นชาวฮ่องกงคนแรกที่ถูกประหารชีวิตโดยประเทศไทยในรอบ 22 ปี
3 ทรชน
[แก้]เหตุฆาตกรรมสนั่น ยิ้มประเสริฐ และบุญญฤทธิ์ สุวรรณวัฒน์ เป็นเหตุฆาตกรรมพลเมืองดีสองคน เมื่อปี พ.ศ. 2515 ระหว่างเหตุการณ์ปล้นรถเมลล์ที่แยกจากกันในนครหลวงกรุงเทพธนบุรี โดยผู้ก่อเหตุคือ สนอง โพธิ์บาง, จำเนียร จันทรา และธนูชัย มนตรีวัต ซึ่งทั้งสามได้ก่อเหตุร่วมกันตระเวนล้วงกระเป๋าคนบนรถเมลล์สายต่างๆ
เหตุฆาตกรรมสนั่น ยิ้มประเสริฐ และบุญญฤทธิ์ สุวรรณวัฒน์ | |
---|---|
สถานที่ |
|
วันที่ | 28 เมษายน พ.ศ. 2515 เวลาประมาณ 18.00 น. และ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 เวลา 07.00 – 07.30 น. |
เป้าหมาย | พลเมืองดีที่ขัดขวางการล้วงกระเป๋าบนรถเมลล์ |
ประเภท | การปล้นทรัพย์,การล้วงกระเป๋า,เหตุฆ่าพลเมืองดี,การฆาตกรรม |
อาวุธ | มีดพกปลายแหลม |
ตาย | สนั่น ยิ้มประเสริฐ และบุญญฤทธิ์ สุวรรณวัฒน์ |
ผู้ก่อเหตุ | สนอง โพธิ์บาง จำเนียร จันทรา ธนูชัย มนตรีวัต |
เหตุจูงใจ | แค้นที่พลเมืองดีขัดขวางการล้วงกระเป๋า |
คดีดังกล่าวได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นวงกว้าง ภายหลังการจับกุมผู้ก่อเหตุได้มีผู้บริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือครอบครัวของเหยื่อ และเรียกร้องให้ลงโทษคนร้ายทั้ง 3 ในสถานหนัก ต่อมาในวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2515 จอมพลถนอม ได้ใช้อำนาจมาตรา 17 มีคำสั่งให้ประหารชีวิตสนอง,ธนูชัย และจำเนียร ซึ่งทั้งสามถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าในช่วงเย็นของวันเดียวกันที่เรือนจำกลางบางขวาง
พื้นหลัง
[แก้]อาชีพล้วงกระเป๋าเป็นที่นิยมแพร่หลายในกรุงเทพมาตั้งแต่ยุค 2490 เนื่องจากทำง่าย ได้ผลเร็ว ทำให้ซอยกิ่งเพชร ซอยพญานาค และซอยเจริญผลกลายเป็นแหล่งใหญ่ของนักล้วงกระเป๋า ส่วนการล้วงกระเป๋าบนรถเมลล์เป็นที่แพร่หลายเนื่องจากการหลบหนีได้ง่าย และบทลงโทษไม่รุนแรงนัก เพราะผู้ก่อเหตุส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น หากถูกจับกุมก็ถูกส่งเข้าสถานพินิจ เพียงแค่ 2 เดือน ซึ่งแก๊งค์ล้วงกระเป๋าที่ซอยกิ่งเพชรมีการประสานงานกับแก๊งค์เล็กๆที่คลองเตย และห้วยขวาง แต่แก๊งค์ที่คลองเตย และห้วยขวาง ไม่ใหญ่เท่าที่ซอยกิ่งเพชร และชอบก่อเหตุรุนแรง เช่น จี้รถเมลล์ จี้แท็กซี่ จี้คนเวลากลางคืน ฯลฯ ซึ่งการล้วงกระเป๋าจะทำบ้าง แต่ไม่ทำเป็นประจำเหมือนที่ซอยกิ่งเพชร
แก๊งค์ของจำเนียร จันทรา
[แก้]แก๊งค์ล้วงกระเป๋าของจำเนียร จันทรามีสมาชิกหลายคน ซึ่งรายได้จากการล้วงกระเป๋าอย่างต่ำวันละ 1,000 บาท แต่แก๊งค์ของจำเนียรไม่สามารถเข้ากับแก๊งค์ล้วงกระเป๋าอื่นๆได้ เพราะถูกแก๊งค์อื่นรังเกียจ เนื่องจากแก๊งค์ของจำเนียร มีพฤติกรรมที่โหดเหี้ยมมาก โดนไม่ยอมหลบหนีตำรวจ และเวลาเกิดเรื่องมักจะทำร้ายคน ไม่เหมือนแก๊งค์อื่นๆที่เวลาเห็นท่าไม่ดีจะต้องรีบหลบหนีทันที
บุญญฤทธิ์ สุวรรณวัฒน์
[แก้]บุญญฤทธิ์ สุวรรณวัฒน์ อายุ 22 ปี เป็นพนักงานศูนย์โทรการคมนาคม เขาเคยถูกล้วงกระเป๋าทำให้เขา(ข้อมูลขาด)
การก่อคดี
[แก้]เหตุฆาตกรรมสนั่น ยิ้มประเสริฐ
[แก้]ในช่วงเย็นของวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2515 ระหว่างที่สนั่น ยิ้มประเสริฐ กับพร้อม ยิ้มประเสริฐ เดินทางด้วยรถเมลล์สาย 18 กลับบ้าน ทั้งสองสังเกตุเห็นธนูชัย,จำเนียร และสนอง กำลังล้วงกระเป๋าผู้โดยสารชาวจีนคนหนึ่ง สนั่นจึงตะโกนบอกไปว่า "เฮ้ยลื้อ ทำอย่างนี้มันไม่ดี" จำเนียรจึงกระชากคอเสื้อสนั่นลงจากรถ แล้วทั้งสามรุมทำร้ายสนั่น แล้วานองกับธนูชัยใช้มีดวิ่งไล่แทงสนั่น สนั่นจึงวิ่งหนีเข้าไปในร้านก๊วยเตี๋ยวในปากซอยพญานาค ทั้งสามได้ตามสนั่นเข้ามาในร้าน สนั่นจึงใช้ขวดน้ำปลาเพื่อสู้กับทั้งสามแต่ก็ถูกธนูชัยแทงจนเสียชีวิต หลังจากนั้นทั้งสามได้หลบหนีไป
เหตุฆาตกรรมบุญญฤทธิ์ สุวรรณวัต
[แก้]ในช่วงเช้าของวันที 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 บุญญฤทธิ์ สุวรรณวัต อายุ 22 ปี ได้ขึ้นรถเมลล์บุญผ่องจากบ้านพักที่ตรอกไวดี ต่อมาระหว่างที่รถเมลล์จอดที่ป้ายหน้าภัตตาคารโอลิมเปีย เขาสังเกตุเห็นสนองกำลังเปิดกระเป๋านางสาวกิติยา ศิรินนทชาติ เขาจึงชี้ไปที่สนอง และตะโกนเตือนเธอว่า"คุณจะถูกล้วงกระเป๋า" ทำให้ทั้งสามโกรธบุญญฤทธิ์ สนองจึงบอกจำเนียรและธนูชัยให้เล่นงานบุญญฤทธิ์ จำเนียรจึงวิ่งไปปีนหน้าต่างรถเพื่อทำร้ายบุญญฤทธิ์ แต่ปีนไม่ได้เพราะรถเริ่มวิ่งออก จำเนียรจึงเปลี่ยนไปขึ้นบันไดหน้าเพื่อสกัด ส่วนสนองได้หยิบมีดพับออกจากกระเป๋ากางเกงแล้วแหวกผู้โดยสารเข้าไปหาบุญญฤทธิ์ บุญญฤทธิ์จึงแทรกผู้โดยสารไปด้านหน้ารถ แต่ก็ถูกจำเนียรจับคอเสื้อ สนองจึงแทงบุญญฤทธิ์ที่หน้าอกจำนวน 1 แผล หลังจากนั้นทั้งสามได้กระโดดลงจากรถแล้วแยกย้ายกันกลับบ้าน ในเวลาเดียวกันรถเมลล์ได้จอดที่ป้ายร้านบัลเล่ต์สีลม บุญญฤทธิ์ได้เดินลงจากรถพร้อมกับเลือดที่ชุ่มหน้าอก จสต.ถวิล ศรีเพียงเอม ตำรวจจราจร สน.ลุมพินีจึงช่วยนำตัวบุญญฤทธิ์ส่งโรงพยาบาลตำรวจ แต่บุญญฤทธิ์ก็เสียชีวิตลงที่โรงพยาบาลในเวลา 07.00 น. ของวันถัดมา
ผู้ก่อเหตุ
[แก้]สนอง โพธิ์บาง
[แก้]สนอง โพธิ์บาง | |
---|---|
เกิด | 17 มกราคม พ.ศ. 2495 อำเภอพญาไท จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 19 มิถุนายน พ.ศ. 2515 (20 ปี) เรือนจำกลางบางขวาง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย |
สาเหตุเสียชีวิต | ประหารชีวิตด้วยการยิง |
สุสาน | กุโบร์มัสยิดดารุ้ลมุห์ซีนีน |
ชื่ออื่น | เปี๊ยก |
บุตร | 1 |
พิพากษาลงโทษฐาน | สมคบกันพยายามลักทรัพย์ และฆ่าคนตายโดยเจตนา |
บทลงโทษ | ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี |
วันที่ถูกจับ | 10 มิถุนายน พ.ศ. 2515 |
จำคุกที่ | สถานีตำรวจนครบาลลุมพินี |
สนอง หรือ เปี๊ยก โพธิ์บาง เกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2495 ที่อำเภอพญาไท จังหวัดพระนคร ครอบครัวมีอาชีพค้าขาย เขาจบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แล้วลาออกจากโรงเรียนมาช่วยพ่อแม่ขายของ ต่อมาสนองในวัย 16 ปี ได้รู้จักกับจำเนียร จึงเข้าร่วมแก๊งค์ล้วงกระเป๋า โดยก่อเหตุล้วงกระเป๋าเป็นครั้งแรกที่ป้ายรถเมลล์ อนุเสาวรีย์ชัยสหรภูมิ เขาเคยถูกจับกุมในข้อหาลักทรัพย์ในท้องที่พญาไทกับสามเสน และถูกจับในข้อหาซ่องโจรที่ห้วยขวาง
จำเนียร จันทรา
[แก้]จำเนียร จันทรา | |
---|---|
เกิด | พ.ศ. 2496 ตำบลหัวเรือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 19 มิถุนายน พ.ศ. 2515 (19 ปี) เรือนจำกลางบางขวาง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย |
สาเหตุเสียชีวิต | ประหารชีวิตด้วยการยิง |
สุสาน | กุโบร์มัสยิดดารุ้ลมุห์ซีนีน |
ชื่ออื่น | เนียน |
การศึกษา | มศ. 2 |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนวัดช่างแสง โรงเรียนจันทร์หุ่นวิทยา |
อาชีพ | ล้วงกระเป๋า |
ปีปฏิบัติงาน | 2511 - 2515 |
บุตร | 2 |
พิพากษาลงโทษฐาน | สมคบกันพยายามลักทรัพย์ และฆ่าคนตายโดยเจตนา |
บทลงโทษ | ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี |
วันที่ถูกจับ | 8 มิถุนายน พ.ศ. 2515 |
จำคุกที่ | สถานีตำรวจนครบาลลุมพินี |
จำเนียร หรือเนียน จันทรา เกิดเมื่อ พ.ศ. 2496 มีภูมิลำเนาอยู่ตำบลหัวเรือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ บิดามารดาของเขาเป็นครูโรงเรียนประชาบาล ต่อมาหลังจากบิดาเสียชีวิต มารดาของเขาได้ลาออกจากครูกลับมาทำนา เขาจึงออกจากบ้านแล้วเดินทางมายังจังหวัดพระนครและพักอาศัยกับพระสุเทพ ทองสนิท ที่วัดช่างแสง เขาจบการศึกษาระดับชั้นป.7 จากโรงเรียนวัดช่างแสง จากนั้นเขาได้เรียนต่อที่โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งแถวห้วยขวาง ระหว่างศึกษาในระดับ มศ. 2 เขาไปพบกับแดง เสือสมิง นักล้วงกระเป๋า ซึ่งเขาถูกชะตากับแดงตั้งแต่ที่พบ แดงได้เปิดเผยว่าเงินที่เขาใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเป็นเงินที่ได้มาจากการล้วงกระเป๋าคนบนรถเมลล์ แลชักชวนให้เขาเริ่มล้วงกระเป๋าบนรถเมลล์ เขาจึงล้วงกระเป๋าเป็นครั้งแรก เมื่อเขาล้วงกระเป๋าผู้หญิงบนรถเมลล์ ที่สี่แยกสะพานควาย และได้เงินส่วนแบ่งจากแดงจำนวน 60 บาท หลังการล้วงกระเป๋าครั้งแรก เขาหนีโรงเรียนมาร่วมกับพวกล้วงกระเป๋าบนรถเมลล์ จนกระทั่งแดงถูกจับกุม และถูกคุมขังที่เรือนจำกลางคลองเปรม เขาจึงย้ายบ้านมาอยู่ที่ปากซอยพญานาค และได้รู้จักกับสนองกับธนูชัย ทั้งสามจึงร่วมกันตั้งแก๊งค์ล้วงกระเป๋าบนรถเมลล์
เขาเคยถูกจับกุมในข้อหาลักทรัพย์ที่ห้วยขวาง และติดคุกเป็นเวลา 3 เดือน ทำให้เขาถูกไล่ออกจากโรงเรียน ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 เขาถูกจับกุมที่พญาไทในข้อหาซ่องโจร และติดคุกที่เรือนจำกลางคลองเปรมเป็นเวลา 30 วัน ในปีต่อมาเขาถูกจับกุมในข้อหาซ่องโจรที่บางรัก และติดคุกที่เรือนจำกลางคลองเปรมเป็นเวลา 30 วัน แต่เขาไม่เคยถูกจับกุมในคดีล้วงกระเป๋าเลย ตลอดเวลาที่ก่อเหตุเขาปิดบังการก่อคดีไม่ให้แม่รู้ โดยโกหกว่าทำงานอยู่ที่ท่าเรือคลองเตย
ธนูชัย มนตรีวัต
[แก้]ธนูชัย มนตรีวัต | |
---|---|
เกิด | พ.ศ. 2496 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 19 มิถุนายน พ.ศ. 2515 (19 ปี) เรือนจำกลางบางขวาง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย |
สาเหตุเสียชีวิต | ประหารชีวิตด้วยการยิง |
ชื่ออื่น | แดง,หยิก,แดงหยิก |
อาชีพ | ค้าขาย และล้วงกระเป๋า |
บุตร | 2 |
บิดามารดา | อารีย์ มนตรีวัต (บิดา) ยุพิณ มนตรีวัต (มารดา) |
ญาติ | ขุนพิชัยมนตรี (ชื่น มนตรีวัต) (ปู่) ศรชัย มนตริวัต (อา) |
พิพากษาลงโทษฐาน | สมคบกันพยายามลักทรัพย์ และฆ่าคนตายโดยเจตนา |
บทลงโทษ | ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี |
วันที่ถูกจับ | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2515 |
จำคุกที่ | สถานีตำรวจนครบาลลุมพินี |
ธนูชัย หรือ แดง หรือ หยิก แดงหยิก มนตรีวัต เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2496 เขาเป็นหลานชายของพลตำรวจตรี ขุนพิชัยมนตรี (ชื่น มนตรีวัต) อดีตผู้บังคับบัญชาการตำรวจสมัย พลตำรวจโท เผ่า ศรียานนท์
ธนูชัยได้เริ่มก่อเหตุล้วงกระเป๋าตั้งแต่ 2 ปีก่อน เขาเคยถูกจับกุมในข้อหาซ่องโจรที่บางรักกับพญาไท และข้อหารับของโจรในท้องที่สน.พระโขนง 1 โดนถูกตัดสินจำคุก 1 ปี 4 เดือน
การจับกุม และสอบสวน
[แก้]หลังจากเกิดเหตุฆาตกรรมบุญญฤทธิ์ เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจนครบาลลุมพินี 2 ได้สืบสวนหาตัวคนร้าย จนพบว่าผู้ก่อเหตุคือ สนอง,ธนูชัย และจำเนียร นักล้วงกระเป๋าที่ก่อเหตุในย่านถนนพระราม 4 พล.ต.ต. เสน่ห์ สิทธิพันธ์ ผู้บังคับบัญชาตำรวจนครบาลใต้ จึงจัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็น 3 สาย เพื่อจับกุมสนอง,จำเนียร และธนูชัย
ต่อมาในวันที่ 8 มิถุนายน ตำรวจได้จับกุมจำเนียรขณะกำลังล้วงกระเป๋าที่วงเวียนปทุมวัน ในวันถัดมาตำรวจสามารถจับกุมธนูชัยได้ที่บ้านเลขที่ 31/61 ซอยโรงเจ ตำบลสามเสนใน อำเภอพญาไท และในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2515 พ.ต.อ.สถานพร วิมุกตายน ผู้กำกับการตำรวจนครบาล 7 ได้นำตำรวจได้นำตำรวจเข้าจับกุมสนองได้ที่บ้านเลขที่ 31/82 ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี หลังจากนั้นได้นำตัวทั้งสามมาสอบสวนที่สถานีตำรวจนตรบาลลุมพินี ซึ่งทั้งสามได้ให้การรับสารภาพทุกข้อหา ต่อมาในเวลา 15.45 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำทั้งสามไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพ โดยเริ่มจากที่หน้าภัตตาคารโอลิมเปีย ซึ่งจำเนียรกับธนูชัยล้วงกระเป๋ากิติยา ตามมาด้วยบุญญฤทธิ์เตือนให้กิตติยารู้ตัว ทั้งสามได้วิ่งตามรถเมลล์ แล้วกระโดดขึ้นไปบนรถ โดยสนองกระโดดขึ้นบันไดหลัง ส่วนธนูชัยกับจำเนียรกระโดดขึ้นบันไดหน้า หลังจากนั้นเมื่อรถเมลล์จอดที่ป้ายหน้าโรงแรมศาลาแดง สนองได้แหวกเข้าไปหาบุญญฤทธิ์จากหลังรถ จำเนียรแหวกเข้าหาจากด้านหน้า ส่วนธนูชัยลงจากรถทางบันไดหน้า ลงมายืนหน้ารถหลังจากนั้นได้ปีนหน้าต่างเข้าหาบุญญฤทธิ์ ในเวลาเดียวกันจำเนียรกับธนูชัยได้กลับคำให้การ และไม่ยอมแสดงท่าล็อคบุญญฤทธิ์เพื่อให้สนองแทง ทั้งสองอ้างว่าไม่ได้ล็อคคอบุญญฤทธิ์ เพียงแต่ช่วยให้สนองแทงเท่านั้น ส่วนสนองได้แทงท่าแทงและยอมรับว่าแทงบุญญฤทธิ์ไป 3 แผล โดยระหว่างการทำแผนประกอบคำรับสารภาพ ได้มีประชาชนจำนวนมากมามุงดู และตะโกนด่าด้วยความแค้น ต่อมาเวลาในเวลาประมาณ 17.00 น. การทำแผนได้เสร็จสิ้น ตำรวจจึงนำตัวทั้งสามกลับไปควบคุมตัวที่สถานีตำรวจนครบาลลุมพินี 2
วันที่ 12 มิถุนายน เวลา 12.00 นางพร้อม ยิ้มประเสริฐ ภรรยาของสนั่นได้เข้าพบพลตำรวจโทไพบูลย์ สัมมาทิตย์ สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลลุมพินี 2 เธอกล่าวว่าเธอเป็นภรรยาของสนั่น ยิ้มประเสริฐที่ถูกแทงเสียชีวิตที่ปากซอยพญานาค และขอดูตัวสนอง,ธนูชัยและจำเนียร คนร้ายในคดีฆาตกรรมบุญญฤทธิ์ เพราะเธอเห็นรูปของทั้งสามในหนังสือพิมพ์ และจำได้อย่างแม่นยำว่าทั้งสามเป็นคนร้ายในคดีฆาตกรรมสนั่น ตำรวจจึงให้เธอดูตัวทั้งสาม เธอชี้ตัวธนูชัย โดยยืนยันว่าธนูชัยเป็นคนฆ่าแล้วเธอได้เป็นลมด้วยความหวาดกลัว หลังจากนั้นเธอได้ชี้ตัวผู้ต้องหาคนอื่น โดยเธอสามารถชี้ตัวทั้งสามได้อย่างถูกต้อง และยืนยันทั้งสามเป็นคนร้ายที่ร่วมกันฆ่าสนั่น แต่ทั้งสามก็ยังปฎิเสธว่าไม่เคยล้วงกระเป๋าหรือทำร้ายใคร
ในวันที่ 13 มิถุนายน เวลา 11.00 น. กิตติยาได้ปากคำกับตำรวจว่า ในวันเกิดเหตุได้ไปรอรถเมลล์ที่ป้ายหน้าภัตตาคารโอลิมเปีย ขณะขึ้นบันไดรถเมลล์ เธอได้ยินเสียงคนเตือนให้ระวังจะถูกล้วงกระเป๋า เธอจึงมองกระเป๋าของเธอ และสังเกตุเห็นกระเป๋าเปิดอยู่ แต่ซองใส่เงินยังอยู่ จึงไม่ขึ้นรถเมลล์คันดังกล่าว ซึ่งเธอไม่ทราบถึงเหตุการณ์ฆาตกรรมบุญญฤทธิ์จนกระทั่งอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เธอได้ให้การอีกว่า จดจำคนร้ายทั้งสามไม่ได้ และไม่ยอมชี้ตัวทั้งสาม ตลอดเวลาที่เบิกตัวทั้งสามมาเผชิญหน้ากับกิตติยา เธอไม่ยอมสบตากับทั้งสาม หลังจากการสอบปากคำกิตติยา ตำรวจได้สอบปากคำพร้อมอีกครั้ง จากนั้นได้นำตัวทั้งสามมายืนปะปนกับผู้ต้องหาคนอื่น แล้วให้พร้อมชี้ตัว ซึ่งเธอสามารถชี้ตัวทั้งสามได้อย่างถูกต้อง และยืนยันว่าทั้งสามคือคนที่สังหารสามีของเธอ แต่ทั้งสามก็ยังปฎิเสธว่าไม่ได้ฆ่าสนั่น หลังจากการชี้ตัว เธอขอให้ตำรวจช่วยคุ้มกันเนื่องจากมีคนไปด้อมๆมองๆ อยู่บริเวณที่พักของเธอ พลตำรวจโทไพบูลย์ สัมมาทิตย์ ได้รับปากว่าจะจัดตำรวจไปคุ้มกัน ต่อมาตำรวจได้นำนางฮู้ แซ่ฉั่ว เจ้าของร้านก๊วยเตี๋ยวในปากซอยพญานาค มาสอบปากคำ เมื่อตำรวจนำตัวมาทั้งสามมาให้เธอชี้ตัว เธอเกิดอาการหวาดกลัว และไม่ยอมชี้ตัวกับสบตาทั้งสามโดยอ้างว่าจำหน้าไม่ได้เพราะคดีเกิดขึ้นมาหลายวัน ส่วนลูกชายของเธอก็ไม่ยอมชี้ตัวเช่นกัน
ต่อมาในเวลา 13.00 ของวันเดียวกัน ตำรวจได้นำตัวนายเชาวน์ ห้างเจริญ พยานในคดีปล้นฆ่าที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เนื่องจากเขาเห็นภาพของสนองคล้ายกับบุญยืน บุญสร้าง คนร้ายในคดีปล้นฆ่าที่ฉะเชิงเทรา เมื่อนำตัวทั้งสามมาให้บุญยืนดู เขาปฎิเสธว่าทั้งสามไม่ใช่คนร้ายในคดีปล้นฆ่าที่ฉะเชิงเทรา ต่อมาในช่วงบ่าย พลตำรวจโท มนชัย พันธ์ุคงชื่นได้สั่งการให้ตำรวจให้การคุ้มครองผู้เสียหาย และพยานเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกคนร้ายที่จับไม่ได้คุกคาม และขอให้ผู้ที่เคยถูกคนร้ายล้วงกระเป๋าไปขอดูตัวคนร้ายที่จับมาได้ทุกโอกาส และหากเป็นคนร้ายคนเดียวกันขอให้แจ้งความดำเนินคดีตามกฏหมาย
เจ้าหน้าที่ตำรวจได้สอบสวนผู้ต้องหาจนเสร็จ และปิดสำนวนเพื่อนำเสนอต่อพลตำรวจโทมนต์ชัย พันธ์คงชื่น เพื่อนำเสนอต่อหัวหน้าคณะปฎิวัติต่อไป
วันที่ 14 มิถุนายน พลตำรวจโทมนต์ชัย พันธ์คงชื่น กล่าวว่าคนร้ายที่ก่อเหตุจะต้องได้รับโทษสาสมกับความผิดแน่นอน โดยจะเสนอสำนวนให้คณะปฎิวัติพิจารณาในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น ส่วนสาเหตุที่การเสนอสำนวนล่าช้ามาจากสำนวนคดีสนั่นที่แจ้งความในภายหลัง อย่างไรก็ตามได้เสนอรวมเป็นสำนวนการสอบสวนสำนวนเดียว ต่อมาในเวลา 09.00 น. ของวันรุ่งขึ้น พลตำรวจโทมนต์ชัย พันธ์คงชื่นได้ส่งสำนวนไปถึงคณะปฎิวัติ
ปฎิกริยาในสังคม และการบริจาคเงินเยียวยา
[แก้]หลังจากการจับกุมสนอง,จำเนียร และธนูชัย ได้มีประชาชนจำนวนมากเดินทางไปแสดงความเสียใจกับครอบครัวของพลเมืองดีที่บ้านพัก และส่งจดหมายไปแสดงความเสียใจ
จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้มีคำสั่งให้ดำเนินการเกี่ยวกับคดีโดยเร็วเพราะเป็นเรื่องสะเทือนขวัญประชาชยเป็นอย่างยิ่ง และมีหนังสือแสดงความเสียใจในการเสียชีวิตของบุญญฤทธิ์ และให้ผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยติดต่อกับทายาทของบุญญฤทธิ์เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามประกาศคณะปฎิวัติฉบับที่ 15 ลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2514
ประภาส จารุเสถียร ได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจการสอบสวนคนร้าย และเสนอสำนวนไปยังคณะปฎิวัติ เพื่อจะพิจารณาลงโทษต่อไป โดยเห็นว่าคดีนี้เป็นคดีที่อุอาจและสะเทือนขวัญประชาชนอย่างรุนแรง และสร้างความโหดร้ายต่อพลเมืองดีที่ทำหน้าที่ของตน
ประเสริฐ รุจิรวงศ์ อธิบดีกรมตำรวจ ได้ประณามการกระทำของทั้งสามว่า เป็นพฤติการณ์อุกอาจเขย่า ขวัญ และทำลายขวัญพลเมืองดีมากที่สุด ซึ่งทางดรมตำรวจถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงมาก ในฐานะอธิบดีจึงกำชับให้ตำรวจเจ้าของคดีรีบดำเนินการสอบสวนให้เสร็จโดยเร็ว และเมื่อได้สำนวนแล้ว จะรีบนำเสนอหัวหน้าคณะปฎิวัติให้พิจารณาโทษโดยด่วน
พลตำรวจโทมนต์ชัย พันธ์คงชื่นได้กล่าวแสดงความเสียใจต่อการเสียชีวิตของพลเมืองดีทั้งสอง และยกย่องการกระทำของสนั่นและบุญญฤทธิ์ว่าเป็นแบบอย่างที่ดีสมควรแก่การจดจำเป็นเยี่ยงอย่าง ส่วนคนร้ายที่ก่อเหตุจะต้องได้รับโทษที่สาสมต่อความผิดแน่นอน
กองประชาสัมพันธ์คณะปฎิวัติ แถลงประฌามการกระทำของคนร้ายว่า เป็นการกระทำที่ทารุณโหดร้าย ไร้มนุษย์ธรรมต่อหน้าสาธารณชน และเป็นการสั่นสะเทือนขวัญประชาชนเป็นอย่างมาก ในเรื่องนี้คณะปฎิวัติได้เร่งวัดการสอบสวน และจะดำเนินการอย่างเฉียบขาดโดยเร็วที่สุด
การบริจาคเงินเยียวยา
[แก้]วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2515 เวลา 09.45 น. พลตำรวจโทมนต์ชัย พันธ์คงชื่น ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ได้มอบเงินให้ครอบครัวของบุญญทธิ์ และสนั่น โดยมีนายบุญเลิศ สุวรรณวัฒน์ กับนางเพ็งจันทร์ สุวรรณวัฒน์ บิดามารดาของบุญญฤทธิ์ และนางพร้อม ยิ้มประเสริฐ ภรรยาของสนั่น เป็นผู้รับมอบ โดยพล.ต.ท. มนต์ชัยได้มอบเงินให้พร้อม,บุญเลิศ และเพ็งจันทร์ เป็นจำนวนเงิน 4,000 บาท แบ่งเป็นเงินส่วนตัวของพล.ต.ท.มนต์ชัย 2,000 บาท ส่วน 2,000 บาทเป็นเงินของ ท่านผู้หญิงสมศรี เจริญรัชต์ภาคย์ เจ้าของโรงแรมเพรสซิเดนท์ เนื่องจากเศร้าสลดจากกับการเสียชีวิตของพลเมืองดีทั้งสองคน จึงมอบให้ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลผ่าน หนังสือพิมพ์ชาวไทย นอกจากนี้พล.ต.ท. มนต์ชัย จะทำหนังสือถึงกรมตำรวจเพื่อให้ออกหนังสือชมเชยการปฎิบัติหน้าที่พลเมืองดีของสนั่น และบุญญฤทธิ์ และจะขออนุมัติให้ทางราชการจ่ายเงินช่วยเหลือ โดยทางราชการจะจ่ายได้ในวงเงินไม่เกิน 8,000 บาท
ในเวลา 15.40 น. ของวันเดียวกัน ประชาชนไม่เปิดเผยชื่อ 9 คน ได้ฝากตัวแทนนำเงินจำนวน 1,000 บาท มามอบให้พร้อม โดยระบุในจดหมายว่า พวกเขานิยมในความกล้าหาญของเธอที่กล้าชี้ตัวยืนยันความผิดของคนร้าย ซึ่งพยานคนอื่นๆไม่กล้าชี้ตัวยืนยัน หรือแม้แต่จะสบตากับคนร้ายใจเหี้ยมทั้ง 3 พวกเขาทั้ง 9 คนจึงรวบรวมเงินดังกล่าวมอบให้กับพร้อมเพื่อช่วยเหลือฐานะที่ยากจนของเธอ เพื่อจะได้ใช้เลี้ยงดูบุตรต่อไป
ในวัดมาได้มีผู้ไม่ประสงค์ออกนามขอมอบเงินให้ครอบครัวยิ้มประเสริฐ และสุวรรณวัฒน์ คนละ 50 บาท พร้อมกับมีจดหมายเชิญชวนให้ประชาชน และนักศึกษา ร่วมมือกันต่อต้านคนร้ายประเภทนี้ให้หมด เพราะเป็นอันตรายต่อประชาชนอย่างยิ่ง
การประหารชีวิต
[แก้]ระหว่างที่ทั้งสามถูกคุมขังในสถานีตำรวจ โดยถูกแยกขังคนละห้องขังกัน ทั้งสามยังคงมีอารมณ์รื่นเริง พูดหยอกล้อกันอย่างสนุกสนาน พร้อมทั้งยิงหนังยางข้ามห้องขังเล่นกันอย่างสนุกสนาน
เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2515 พลตำรวจตรี ไพบูลย์ สัมมาทัต ได้สั่งการให้ตำรวจเพิ่มมาตรการอารักขาเข้มงวด เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ต้องหาทั้งสามฆ่าตัวตาย โดยให้ตำรวจนอนเฝ้าตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมทั้งห้ามญาติเยี่ยม และห้ามนำหนังสือพิมพ์หรือกระดาษดินสอเข้าห้องขัง
ในช่วงเช้าวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ซึ่งเป็นวันที่คาดว่าทั้งสามจะถูกหัวหน้าคณะปฎิวัติสั่งให้ประหารชีวิต ญาติของทั้งสาม และประชาชนจำนวนมากได้ไปจับกลุ่มอยู่หน้าสถานีตำรวจ ญาติของทั้งสามเดินทางมาเพื่อพบหน้าและสั่งเสียเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่จะที่ทั้งสามถูกประหารชีวิต ส่วนประชาชนเดินทางไปเพื่อดูหน้าทั้งสาม ซึ่งคาดว่าจะถูกหัวหน้าคณะปฎิวัติสั่งประหารในวันเดียวกัน
ในเวลาประมาณ 10.00 - 11.00 น. สนองได้พูดคุยกับตำรวจที่ควบคุมในห้องขังว่า ไหนๆเราจะจากกันแล้วผมจะพูดคุยอย่างเปิดอกว่า "ผมทำมาแล้ว 100 กว่าราย" เมื่อตำรวจถามว่าฆ่าคนมาแล้วกี่ศพ เขาไม่ยอมตอบคำถาม แล้วตอบว่า ผมติดคุกอย่างดี 20 ปี ผมจะพยายามทำความดี เพื่อหวังได้รับอภัยโทษ
ในเวลาประมาณ 11.00 น. จอมพลถนอม กิติขจร ได้มีคำสั่งของหัวหน้าคณะปฎิวัติ ที่ 35/2515 มีคำสั่งให้ประหารชีวิต สนอง,จำเนียร และธนูชัย โดยเห็นว่าการกระทำของทั้งสามส่อให้เห็นว่าเป็นอาชญกรโดยสันดาน ไม่รู้จักละอายในความชั่วของตน และสำนึกในความดีของผู้อื่น แม้ว่าผู้ตายจะเตือนด้วยถ้อยคำสุภาพ เช่นคำเตือนของสนั่นที่เตือนว่า "น้องชาย ลื้อทำแบบนี้ไม่ได้นะ" หรือคำเตือนของบุญญฤทธิ์ที่เตือนหญิงเจ้าทรัพย์ว่า "คุณจะถูกล้วงกระเป๋า" ซึ่งล้วนแต่เป็นการปฎิบัติหน้าที่พลเมืองดี แต่ทั้งสามก็ไม่ได้สำนึกในการกระทำผิดของตน และความหวังดีของผู้อื่น กลับแสดงโกรธแค้น และอวดสันดานความดุร้ายให้ประจักศ์แก่ผู้รู้เห็นด้วยการรุมทำร้ายและฆ่าผู้ขัดขวาง แม้ทั้งสามจะรับสารภาพ แต่ก็เป็นเพราะจำนนต่อพยานที่รู้เห็น ณ ที่เกิดเหตุ และพฤติการณ์ที่ได้กระทำมาแล้วต่างกรรม ต่างวาระ ได้แสดงให้เห็นถึงสันดานความชั่วร้าย โหดเหี้ยม ทารุณ ไม่หวั่นเกรงต่อกฎหมายบ้านเมืองซึ่งอยู่ระหว่างประกาศกฎอัยการศึก คำสารภาพจึงไม่มีน้ำหนักพอจะบรรเทาความผิดที่เกิดจากสันดานชั่วที่ไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ
ในเวลา 12.00 น. ประชาชนที่ทราบข่าวการประหารชีวิตที่กำลังจะเกิดขึ้น ได้มารุมล้อมสถานีตำรวจนครบาลลุมพินี 2 อย่างเนืองแน่น เพื่อจะขอดูหน้าทั้งสาม โดยมีประชาชนบางส่วนสามารถขึ้นไปบนโรงพัก เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงต้องขอร้องไม่ให้ขึ้นไปบนสถานีตำรวจ และกันคนที่ขึ้นไปบนสถานีตำรวจออกจากสถานีตำรวจ
นางสมคิด ลาเรือง ภรรยาของสนอง และนางจำปี ลาเรือง น้าของสมคิด ได้แอบขึ้นไปบนสถานีตำรวจ แล้วมองหาสนอง เมื่อสนองที่ถูกขังอยู่ในห้องขังเห็นทั้งสอง จึงเรียกจำปีโดยใช้คำว่า "มะ" สนองถามจำปีว่า ทำไมมีคนมาในโรงพักเป็นจำนวนมาก จำปีตอบว่า เขามาธุระเรื่องอื่น สนองได้บอกทั้งสองว่า ไม่ต้องตกใจ อย่างดีก็ 20 ปี ขอให้ช่วยเลี้ยงหลานและส่งให้เรียนหนังสือด้วยก็แล้วกัน เมื่อตำรวจกันตัวจำปีออกมา เธอก็เป็นลมไป
ในเวลา 15.00 น. พลตำรวจเอกอมร ยุกตะนันท์ ได้เบิกตัวทั้งสามออกจากห้องขัง โดยมีตำรวจคุ้มกัน ทั้งสามมีอาการตกใจ เมื่อตำรวจสวมกุญแจมือแล้วนำตัวออกจากห้องขัง ธนูชัยถามว่า"จะพาผมไปไหน ศาลยังไม่ได้ตัดสินเลย" แต่ก็ไม่มีตำรวจคนใดตอบ ระหว่างนั้นจำเนียรได้เข่าอ่อน ตำรวจจึงพยุงตัวจำเนียรมาขึ้นรถที่จอดหน้าสถานีตำรวจ ตำรวจได้นำตัวจำเนียรขึ้นรถวิทยุเบอร์ 52 ส่วนธนูชัยถูกนำตัวขึ้นรถวิทยุ เบอร์ 50 และสนองถูกนำตัวขึ้นรถวิทยุเบอร์ 51 ถัดจากนั้นได้ออกเดินทางไปยังเรือนจำกลางบางขวาง ตลอดการเดินทางจำเนียรได้มีอาการเป็นลมตลอดเวลา ต่อมาในเวลา 15.30 น. รถวิทยุเบอร์ 52 ได้เสียที่สามแยกลานนาบุญ ตำรวจจึงอุ้มจำเนียรไปขึ้นรถวิทยุเบอร์ 11 แทน ต่อมาในเวลา 15.35 น. ขบวนรถได้เดินทางถึงหน้าเรือนจำกลางบางขวาง
นายสลับ วิสุธิมรรค ผู้บัญชาการเรือนจำกลางบางขวางได้สั่งการให้เตรียมการประหารชีวิต แต่นายมุ่ย จุ้ยเจริญ เพชฌฆาตเพียงคนเดียวในขณะนั้น ได้เลิกงานกลับบ้านไปแล้ว สลับจึงสั่งให้เจ้าหน้าที่เรือนจำไปตามตัวมุ่ยกลับมา
เมื่อรถเข้าถึงเรือนจำ เจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่เรือนจำได้นำตัวทั้งสามไปยังหอรักษาการ 7 ชั้น ในเวลา 15.45 น. เรือนจำได้นิมนต์พระมหาสาย ฐานมังคโล มาเทศน์ให้ธนูชัยและจำเนียรเพื่อให้ทราบถึงบาปบุญคุณโทษว่าด้วยการกระทำที่เป็นบาป ส่วนสนองได้ทำพิธีตามศาสนาอิสลาม โดยธนูชัยกับจำเนียรได้นั่งคอตกฟังเทศน์ เมื่อพระเทศน์จบ เจ้าหน้าที่นำน้ำเย็นไปให้ทั้งสามแต่ก็ไม่มีใครดื่ม ส่วนอาหารมื้อสุดท้ายไม่ได้จัดไว้เนื่องจากทั้งสามรับประทานมาแล้ว เจ้าหน้าที่ได้พิมพ์ลายนิ้วมือทั้งสาม แล้วให้เขียนพินัยกรรมและจดหมาย จำเนียรได้เขียนจดหมายถึงพ่อแม่โดยมีใจความว่า"อย่าเอาเป็นเยี่ยงอย่าง ตัวเองขอรับกรรมอย่างสงบ ขอให้พ่อแม่พี่น้องจงอยู่เย็นเป็นสุข และให้จัดการศพตามหลักศาสนาอิสลาม" ธนูชัยเขียนจดหมายถึงพ่อแม่และภรรยา โดยมีใจความว่า "ผมมาที่นี่ไม่รู้เลย ผมอยากเห็นหน้าแม่ ขอให้แม่ช่วยเลี้ยง และส่งลูกผมเรียนหนังสือทั้งสองคน และฝากเมียผมด้วย" สนองได้เขียนจดหมายโดยมีใจความเกี่ยวกับฝากเลี้ยงลูกให้ดี อย่าให้ลูกเป็นแบบเขา ถ้ามีสามีใหม่ก็ดีใจด้วย ขอให้เป็นคนดีก็แล้วกัน ข้อความตอนหนึ่งในจดหมายเขียนว่า "ผมบุญน้อย ชาติก่อนผมทำกรรมไว้มากชาตินี้จึงต้องชดใช้กรรม ศพของผมขอให้ฝังที่กุโบร์กิ่งเพชรใกล้กับจำเนียรด้วย เพราะต้องการเช่นนั้น อย่าห่วงผม อัลเลาะห์ท่านลิขิตชีวิตของผมมาเพียงเท่านี้จงทำใจให้สบาย นึกว่าผมไปรับใช้อัลเลาะห์ก็แล้วกัน" อีกข้อความอีกตอนเขียนว่า "เปี๊ยกสังหรณ์ใจก่อนจะมีเรื่องแล้วว่าตายไม่เกินปีนี้ ถ้าไม่ตายตอนนี้ก็อาจตายในเรื่องอื่น"
หลังจากทั้งสามเขียนจดหมายเสร็จ สลับได้อ่านคำสั่งหัวหน้าคณะปฎิวัติให้ทั้งสามฟัง เมื่ออ่านจบ ธนูชัยเป็นลมตกจากเก้าอี้ และร้องเรียกหาแม่ว่า"พี่ครับ อย่าเพิ่งฆ่าผมเลยครับ ขอพบหน้าแม่ผมก่อน แม่ผมรู้จักกับผู้ใหญ่ในคณะปฎิวัติ เดี๋ยวแม่ผมมา แม่ผมกำลังไปเดินเรื่อง.. แม่ครับ แม่ช่วยผมด้วย" หลังจากนั้นทั้งสามได้กอดกัน แล้วร้องไห้ออกมา
ต่อมาในเวลา 15.50 น. นายมุ่ย จุ้ยเจริญ เพชฌฆาตได้ขับจักรยานจากบ้านพักเข้าสู่เรือนจำกลางบางขวาง หลังจากนั้นในเวลา 17.25 น. เจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงได้นำตัวจำเนียรเข้าสู่สถานที่หมดทุกข์ แล้วมัดกับหลักประหาร หลังจากนั้นมุ่ยได้เหนี่ยวไกปืนประหารชีวิตจำเนียร โดยใช้กระสุนจำนวน 8 นัด โดยไม่ต้องยิงซ้ำ
หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงได้นำตัวธนูชัยไปยังสถานที่หมดทุกข์ เมื่อถึงหน้าสถานที่หมดทุกข์เขาได้กระชากผ้าผูกตาออกแล้วร้องเรียกหาแม่ และร้องเรียกหาจำเนียร เมื่อไม่ได้รับการตอบรับ เขาก็ร้องไห้ออกมาอีกครั้ง แล้วเป็นลมล้มลงกับพื้น เจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงจึงประคองเขาให้ลุกขึ้น หลังจากนั้นได้พาเข้าไปในห้องประหารชีวิต โดยธนูชัยยังร้องโวยวายหาแม่ตลอดทาง มุ่ยได้ประหารชีวิตธนูชัยเมื่อเวลา 17.40 น. โดยใช้กระสุนจำนวน 12 นัด และไม่ต้องยิงซ้ำ หลังจากนั้นได้นำตัวสนองมาประหารชีวิตเป็นคนสุดท้าย สนองถูกประหารชีวิตโดยมุ่ย เมื่อเวลา 17.57 น. โดยใช้กระสุนจำนวน 13 นัด
หลังจากประหารทั้งสาม ในเวลา 18.18 น. มุ่ยได้จูงจักรยานออกจากเรือนจำ เมื่อเจอผู้สื่อข่าว เขาได้ยิ้มให้ผู้สื่อข่าว พร้อมกับตอบคำถามของผู้สื่อข่าวอย่างอารมณ์ดี เขากล่าวว่า" รู้สึกเฉยๆ มีอีกก็หมดอีก ผมสู้ได้วันละร้อยกว่าศพ" หลังจากนั้นเขาได้ถีบจักรยานออกไป
ปฎิกิริยาจากครอบครัวยิ้มประเสริฐ และสุวรรณวัฒน์
[แก้]ในวันถัดจากวันประหารชีวิต เพ็งจันทร์ สุวรรณวัฒน์ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวไทยรัฐ เธอกล่าวว่าเธอทราบข่าวการประหารชีวิตทั้งสามจากโทรทัศน์เมื่อวาน เธอรู้สึกว่าบุญเลิศบิดาของบุญญฤทธิ์ดีใจที่คนร้ายได้รับโทษอย่างสาสม และบุญญฤทธิ์ไม่ได้ตายฟรี ส่วนเธอกล่าววาส
ดูเพิ่ม
[แก้]- ชัยยศ สมบูรณ์ ฆาตกรฆ่าพลเมืองดีอีกคนที่ก่อคดีในปีเดียวกัน และจังหวัดเดียวกัน
เสือเดช-แขก
[แก้]เดช สุธี (ป. พ.ศ. 2493 - 16 เมษายน พ.ศ. 2515) และ แขก พรมสา (ป. พ.ศ. 2494 -16 เมษายน พ.ศ. 2515) เป็นชาวจังหวัดขอนแก่น และเป็นหัวหน้ากลุ่มโจรซึ่งก่อเหตุปล้นทรัพย์และจับคนไปเรียกค่าไถ่ในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคอีสานได้แก่ขอนแก่น,กาฬสินธุ์,มหาสารคาม,อุดรธานี และร้อยเอ็ด โดยทั้งสองมีคดีติดตัวมากกว่า 50 คดี ต่อมาในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2515 เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมทั้งสองขณะนอนหลับในบ้านญาติในอำเภอกระนวน ต่อมาจอมพลถนอม กิตติขจรได้ใช้อำนาจมาตรา 17 ออกคำสั่งให้ประหารชีวิตทั้งสองในที่สาธารณะในจังหวัดมหาสารคาม และทั้งสองถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2515
สมิทลา
[แก้]พิชาญ กำแหง และสุธน ทองศิริ
[แก้]นักมวย โหด
[แก้]ร่าเหม หมาดชาย หรือ ชื่อในการชกมวย สมศักดิ์ ดอกจิกน้อย เป็นอดีตนักมวย และผู้ต้องโทษประหารตามมาตรา 17 ของรัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร เขาก่อเหตุฆ่าข่มขืนสำเนียง หลานโป๊ะ และใช้มีดแทงสุภา ลูกสาววัย 2 ขวบของสำเนียงเสียชีวิต ที่อำเภอคลองท่อม ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2515
ต่อมาจอมพลถนอมใช้อำนาจมาตรา 17 ออกคำสั่งให้ประหารชีวิตในท้องที่เกิดเหตุในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2515 โดยนับเป็นบุคคลแรกที่ถูกประหารชีวิตด้วยคำสั่งพิเศษในภาคใต้
ประวัติ
[แก้]ร่าเหมเป็นลูกคนที่ 5 จากพี่น้อง 5 คน เขาประกอบอาชีพหลายอย่างรวมถึงนักมวย ซึ่งเขาเป็นนักมวยที่มีชื่อเสียงในอำเภอคลองท่อม เขามีภรรยา 2 คน แต่ไม่มีลูก
ในช่วงประมาณวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ร่าเหมได้ไปทำงานตัดไม้ส่งเผาถ่านที่อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ต่อมาเขาขโมยขวานจรูญ หลานโป๊ะ เพื่อนที่ทำงาน แต่ถูกจรูญจับได้ในเวลาต่อมา ทำให้ร่าเหมมีปากเสียกับจรูญ และถูกไล่ออกจากที่ทำงาน ร่าเหมจึงกล่าวอาฆาตจรูญว่าจะล้างแค้น[1]
การก่อคดี
[แก้](คดี22-02.00น.) ในวันที 16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ร่าเหม สาแหละ น้องชาย และบ่าวเอี่ยม แหล่เด่น ได้นั่งคุยกันที่โต๊ะหน้าร้านของสำเนียง หลานโป๊ะ จนกระทั่งในเวลา 20.00 น. สำเนียงได้ปิดร้าน ทั้งสามจึงกลับบ้าน แต่ร่าเหมได้ย้อนกลับมาที่ร้านของสำเนียงแล้วถอดกางเกงทิ้งไว้ที่พุ่มไม้นอกร้าน และนุ่งผ้าเช็ดตัวจากนั้นได้เคาะประตูเพื่อขอซื้อบุหรี่ เมื่อสำเนียงเปิดประตู เขาชกเธอเข้าที่ท้องและใบหน้าจนสลบ แล้วข่มขืนเธอจนสำเร็จความใคร่ แต่ระหว่างนั้นสุภา ลูกสาววัย 2 ขวบของสำเนียงได้ร้องไห้ขึ้นมา เขาจึงใช้มีดพร้าในร้านฟันและเชือดคอสุภาจนเสียชีวิต เมื่อกลับออกมาเขาเห็นสำเนียงฟื้นลุกขึ้นมา จึงใช้มีดฟันและเชือดคอเธอจนเสียชีวิตจากนั้นได้หลบหนีไป ต่อมาในเวลา 02.00 ของวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2515 นางฉิ่งมารดาของสำเนียงได้กลับบ้าน และพบศพทั้งสองจึงแจ้งเรื่องกับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เดินทางมาตรวจสอบที่เกิดเหตุโดยพบกางเกงในผู้ชายซึ่งไม่ใช่ของจรูญ ต่อมามีคนจำได้ว่ากางเกงในตัวนี้เป็นของร่าเหม และจากการสอบปากคำชาวบ้านใกล้เคียงทราบว่าในคืนเกิดเหตุพบร่าเหมป้วนเปี้ยนอยู่บริเวณร้านขายของชำของสำเนียงเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงสงสัยว่าร่าเหมจะรู้เห็นกับคดีนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงเดินทางบ้านของร่าเหมในตำบลคลองท่อมใต้แต่ไม่พบตัว ส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจอีกชุดเดินทางไปจับกุมเขาที่บ้านเพื่อนในตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง และสามารถจับกุมร่าเหมขณะนอนกับเพื่อนโดยไม่ต้องใช้กำลังรุนแรง[2]
การสืบสวน
[แก้]เขารับสารภาพว่าแรงจูงใจในการก่อเหตุมาจากแค้นที่ถูกจรูญรังแกหลายครั้ง เมื่อได้โอกาสขณะที่จรูญไม่อยู่บ้าน เขาจึงบุกเข้าข่มขืนและฆ่าสำเนียงกับลูก หลังจากฆ่าทั้งสอง แล้วเขากลัวความผิดจึงรีบหลบหนีไป โดยลืมกางเกงใน เมื่อนึกขึ้นได้แล้วกลับมาเขาเห็นชาวบ้านจำนวนมากมุงดูอยู่บริเวณบ้านของสำเนียง เขาจึงหลบหนีไปอยู่บ้านเพื่อนที่อำเภอเหนือคลอง
วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2515 พลตำรวจเอกนิมิต ทรัพย์รุ่งเรือง ผู้กำกับการตำรวจจังหวัดกระบี่ ได้เดินทางไปสอบสวนร่าเหมอีกครั้งที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอคลองท่อม จากนั้นได้นำตัวร่าเหมไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพที่บ้านสำเนียง โดยมีชาวบ้านประมาณพันคนมาดูการทำแผน ระหว่างทำแผนร่าเหมไม่ได้วิตกกังวลและกล่าวว่า"ถ้าจะถูกประหารชีวิต ขอไปนอนโรงแรมกับผู้หญิงสักคืนกับผู้หญิงก่อน ถึงตายก็ไม่ว่าอะไร" หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำตัวร่าเหมกลับไปควบคุมตัวที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอคลองท่อม โดยพลตำรวจเอกนิมิตกล่าวว่าเขาจะเสนอสำนวนต่อผู้บังคับบัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 เพื่อเสนอให้หัวหน้าคณะปฎิวัติพิจารณาโทษ เพราะการกระทำของร่าเหมโหดเหี้ยม ฆ่าได้แม้แต่ผู้หญิงและเด็กอายุ 2 ขวบ เข้าข่ายที่อาจจะได้รับโทษประหารชีวิต[3]
ในวันที่ 23 มิถุนายน พลตำรวจเอกนิมิตเบิกตัวร่าเหมไปที่กองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อให้พลตำรวตรีเริงณรงค์ ทวีโภค ผู้บังคับบัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 สอบปากคำก่อนปิดสำนวน โดยร่าเหมยังยืนยันคำรับสารภาพเดิมและไม่มีอาการหวาดกลัวต่อโทษที่จะได้รับ เมื่อพลตำรวจตรีเริงณรงค์ถามร่าเหมว่า รู้ไหมว่าคณะปฎิวัติจะลงโทษรุนแรงแค่ไหน ร่าเหมตอบกลับว่า"รู้แล้ว ตนยินดีถูกยิงเป้าชดใช้กรรม เพราะได้ทำการล้างแค้นสำเร็จแล้ว" ส่วนการสอบสวนพ่อแม่ของร่าเหม ทั้งสองได้ยืนยันว่าลูกชายเป็นฆาตกรจริง
พลตำรวจตรีณรงค์ได้ชี้แจงกับสื่อว่า พลตำรวจโท จำรัส มังคลารัส ผู้บัญชาการตำรวจภูธรสนใจคดีนี้เป็นอย่างมาก และส่งการให้เร่งสำนวนการสอบสวนเพื่อส่งให้คณะปฎิวัติพิจารณาโทษ โดยพลตำรวจเอกนิมิตจะเป็นผู้นำสำนวนการสอบสวนไปเสนอด้วยตนเองในวันที่ 29 มิถุนายน แต่จะมีการตรวจสุขภาพจิตของร่าเหมในวันที่ 26 มิถุนายนก่อน
การประหารชีวิต
[แก้]วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 จอมพลถนอม กิตติขจร ใช้อำนาจมาตรา 17 ลงนามในคำสั่งประหารชีวิตร่าเหม เนื่องจากเห็นว่าการกระทำของร่าเหมแสดงให้ว่าเขาเป็นผู้มีจิตใจอำหมิตสามารถฆ่าผู้หญิงและเด็กซึ่งเป็นแม่ลูกในคราวเดียวกันถึง 2 คนด้วยความโหดร้ายทารุณโดยปราศจากมนุษย์ธรรมและศีลธรรม นับเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคมอย่างร้ายแรง โดยการประหารร่าเหมจะเกิดในวันรุ่งขึ้น ที่สนามบินมณฑลทหารบกที่ 5 อำเภอคลองท่อม
วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2515 เวลา 07.00 น. สนั่น ณ นคร พัศดีเรือนจำจังหวัดกระบี่ ได้เบิกตัวร่าเหมจากห้องขังเดี่ยวมายังสำนักงานกองอำนวยการประหารชีวิตในเรือนจำ ต่อมาในเวลา 07.20 น. พัศดีตรีของเรือนจำได้อ่านคำสั่งประหารชีวิตให้ร่าเหมฟังแล้วให้เซ็นรับทราบในคำสั่ง จากนั้นได้พิมพ์ลายนิ้วและตรวจสอบประวัติบุคคล แล้วให้ทำพินัยกรรม แต่ร่าเหมไม่ทำเพราะไม่มีทรัพย์สินจะให้ใคร และพูดว่า"ก่อนตายจะขออนุญาตไปนอนกับผู้หญิงสักคืนได้ไหม" แต่ก็ไม่มีใครตอบ จากนั้นอนามัยจังหวัดได้ตรวจร่างกายร่าเหม พบว่าจิตใจปกติ และร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงดี หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้ยกอาหารมื้อสุดท้ายมาซึ่งประกอบด้วยแกงเผ็ดเนื้อ แกงเทโพปลาเค็ม แกงเห็ดกะหล่ำปี ไข่ดาว วุ้นใส่น้ำเชื่อม แกงบวชฟักทอง ลางสาด และยังมีอาหารที่จัดโดยภรรยาของสนั่นอีก1 ชุด โดยร่าเหมกินอาหารจนหมดจาน เมื่อทานเสร็จ จากนั้นหยีโดด บุตรแขก ผู้เผยแพร่ศาสนาอิสลามประจำจังหวัดกระบี่ได้อบรมร่าเหมจนถึงเวลา 08.00 น. โดยเขาใจฟังอย่างสงบ หลังจากนั้นได้นำตัวร่าเหมขึ้นรถจี๊บตราโล่เดินทางไปยังสนามบินมณฑลทหารบกที่ 5 อำเภอคลองท่อมซึ่งเป็นสถานที่ประหารชีวิต
รถจี๊บได้ถึงสนามบินมณฑลทหารบกที่ 5 เมื่อเวลา 08.40 น. เจ้าหน้าที่ได้นำร่าเหมลงจากรถ โดยเขามีอาการปกติตลอดเวลา ซึ่งในการประหารชีวิตร่าเหมมีประชาชนมามุงดูการประหารชีวิตประมาณ 30,000 คน ร่าเหมได้ตะโกนบอกช่างภาพที่มาถ่ายภาพให้ช่วยส่งภาพถ่ายไปให้พ่อแม่ของเขาจำนวน 4 ภาพ และขอสูบบุหรี่ 1 มวน กับ ดื่มน้ำ 1 แก้ว ต่อมาได้ขอหวีผมก่อนเจ้าหน้าที่จะผูกตา หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้นำตัวร่าเหมเดินไปยังหลักประหาร แล้วผูกมัดกับหลักประหาร ในขณะที่ผูกมัดร่าเหมกับหลักประหาร เขาได้พูดคำพูดสุดท้ายว่า "เราเคยฆ่าเขา เขาต้องฆ่าเราเป็นไปตามดวง" หลังจากนั้น ร.ต.อ. วิชิต อิทธิมายยะได้สั่งเรียกแถวเพชฌฆาต 5 นายซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ มาหยุดยืนตั้งแถวหน้ากระดานหน้ากล่องหลักประหาร แล้วสั่งให้ยิงเมื่อเวลา น. โดยยิงคนละ 5 นัด รวม 25 นัด จากนั้นนายแพทย์ประยูร คงวิเชียรว้ฒนะ ได้เข้าไปตรวจศพแล้วยืนยันว่าร่าเหมเสียชีวิต เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงปลดศพลงจากหลักประหารแล้วส่งให้พ่อแม่และญาติของร่าเหมนำศพไปบเพ็ญกุศลตามศาสนาอิสลาม
ตี๋ วันดี สั้น ห้วยใหญ่ รายที่สองเมืองชล
[แก้]ตี๋ วันดี และ สั้น ห้วยใหญ่ | |
---|---|
เกิด | ตี๋ วันดี February 6, 1943 Jacksonville, Florida, U.S. สั้น ห้วยใหญ่ April 21, 1942 ศรีราชา ชลบุรี, U.S. |
เสียชีวิต | ตี๋ วันดี 30 สิงหาคม พ.ศ. 2540 (54 ปี) เรือนจำกลางเชียงใหม่ สั้น ห้วยใหญ่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2515 (อายุ 30 ปี) เชิงเขาบรรพตคีรี อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย |
เสือทอง-จีระ
[แก้]ชัยยศ สมบูรณ์
[แก้]ชัยยศ หรือ ตุ้ย สมบูรณ์ เป็นฆาตกรและโจรชาวไทย ซึ่งถูกประหารชีวิตตามคำสั่งของจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี โดนอาศัยอำนาจมาตรา 17 ในข้อหาฆาตกรรมสุรพล คำแถลง ซึ่งเป็นพลเมืองดี ระหว่างชัยยศวิ่งราวสร้อยทองของผู้หญิงคนหนึ่งที่ซอยประดู่ 1 เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2515
ประวัติอาชญกรรมก่อนหน้า
[แก้]ชัยยศเคยติดคุกในความผิดฐานทำร้ายร่างกายเมื่อปี พ.ศ. 2511 แล้วพ้นโทษในเวลาต่อมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 เขาติดคุกอีกครั้งในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ต่อมาหลังจากพ้นโทษ เขาติดคุกอีกครั้งในความผิดฐานชิงทรัพย์เมื่อปี 2514 และพ้นโทษเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2515
การก่อคดี
[แก้]วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2515 เวลา 20.00 น. ชัยยศกระชากสร้อยคอทองคำพร้อมกับพระเลี่ยมืองจากธนิต บรรเทาทที่ปากซอยประดู่ 1 แล้ววิ่งหนีเข้าไปในซอย ธนิตจึงตะโกนร้องขอความช่วยเหลือ ระหว่างนั้นชัยยศได้วิ่งสวนทางผ่านสุรพล คำแถลง และเพื่อนอีก 2 คน สุรพลจึงใช้กระเป๋าถือในมือฟาดชัยยศไป 1 ครั้งเพื่อสกัด แต่ก็ถูกชัยยศใช้มีดบางปอกมะม่วงแทง 1 แผล แต่สุรพลยังคงวิ่งตามชัยยศต่อเข้าไปในตรอก จากนั้นชัยยศปะทะกับมณู เพื่อนของสุรชัย เขาจึงใช้มีดขู่มณูและพูดว่า"ลื้ออย่าเสือก เดี๋ยวโดนแทงตายนะ" มณูจึงยอมเปิดทางให้ชัยยศหนีเข้าไปในซอยเล็กๆข้างโรงเรียนดิลกศิลป์ หลังจากนั้นชัยยศได้หลบหนีไป เมื่อสุรพลพบว่าไม่สามารถตามชัยยศทัน เขาจึงเดินกลับไปหาเพื่อนของระหว่างนั้นเขาเอามือไปคลำแผล แล้วเห็นเลือดไหลออกมา เพื่อนของสุรพลจึงพาเขาไปยังคลินิกปรีชาการแพทย์ ในซอยประดู่ 1 เพราะคิดว่าเป็นแผลเล็กน้อย
ภายหลังจากแพทย์ที่คลินิกช่วยห้ามเลือด และทำแผล แพทย์ได้บอกให้รีบนำสุรพลส่งโรงพยาบาล เพื่อนของสุรพลจึงนำตัวสุรพลส่งโรงพยาบาล โดยแวะบอกตำรวจที่สถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร แล้วไปที่โรงพยาบาลเลิศสิน แต่สุรพลก็เสียชีวิตหลังจากแพทย์รับตัวไป 30 นาที
วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2515 พลตำรวจโทมนต์ชัย พันธุ์คงชื่น ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลได้มอบเงินจำนวน 2,000 บาท ให้กับพ่อแม่ของสุรพล เพื่อช่วยเหลือครอบครัว ส่วนพลตำรวจตรีเสน่ห์ สิทธิพันธุ์ ได้มอบเงินเพื่อช่วยเหลืองานศพจำนวน 1,000 บาท
การจับกุม
[แก้]วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2515 เวลาประมาณ 18.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกรได้จับกุมชัยยศพร้อมกับเฮโรอีนหนึ่งส่วนสี่หลอดหลังจากเดินออกจากซอยศาลเจ้าโกบ๊อ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจทราบว่าชัยยศแอบกลับมาเยี่ยมน้องสาวที่ซอยศาลเจ้าโกบ๊อ จากนั้นได้นำชัยยศมาสอบสวนที่สถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร โดยพล.ต.ท. มนต์ชัยได้สอบสวนชัยยศด้วยตนเอง
ชัยยศให้การรับสารภาพทุกข้อหา และยอมรับว่าได้แทงสุรพลด้วยมีดบางปอกมะม่วงซึ่งพกติดตัว หลังจากนั้นได้ทิ้งมีดลงข้างทาง จากนั้นหนีไปยังโรงหนังโคลอสเซียมจนกระทั่งช่วงเช้าวันรุ่งขึ้น แล้วกลับไปเยี่ยมน้องสาว พล.ต.ท. มนต์ชัยจึงนำตัวชัยยศไปหามีดของกลาง และพบมีดตกอยู่ข้างทาง
พล.ต.ท.มนต์ชัยได้กำชับให้พนักงานสอบสวนเร่งการสอบสวนให้เสร็จเพื่อเสนอสำนวนให้คณะปฎิวัติพิจารณาโทษสถานหนัก
การพิจารณาโทษ และการประหารชีวิต
[แก้]วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 จอมพลถนอม กิตติขจรได้มีคำสั่งประหารชีวิตให้ชัยยศ และริบมีดกับเฮโรอีนของกลาง โดยพิจารณาแล้วเห็นว่าชัยยศเคยต้องโทษเนื่องจากกระทำความผิดมาแล้วหลายครั้ง โดยไม่มีได้มีความหลาบจำ และได้กระทำผิดอีกโดยไม่ได้เกรงกลัวต่อโทษในช่วงระหว่างกฎอัยการศีก นับว่าชัยยศมีสันดานเป็นผู้ร้ายทำลายความสงบสุขของประชาชน
เรือน หอยบาง การประหารชีวิตในทีสาธารณะครั้งสุดท้ายของไทย
[แก้]เรือน หอยบาง | |
---|---|
เกิด | พ.ศ. 2481 ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 (34 ปี) สนามบินพาณิชย์เก่า ตำบลทุ่งหวัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง |
เรือน หอยบาง เป็นมือปืนรับจ้างชาวไทย ซึ่งเป็นผู้ต้องโทษประหารชีวิตตามมาตรา 17 ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร จากคดียิงนายจรัล กาลลา ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์เมืองใต้เสียชีวิตที่อำเภอเมืองตรัง โดยเรือนนับเป็นบุคคลสุดท้ายที่ถูกประหารชีวิตในที่สาธารณะในประเทศไทย
ประวัติอาชญกรรมก่อนหน้า
[แก้]เรือนเคยถูกจับกุมในข้อหาอันธพาล 2 ครั้ง และเคยถูกจับกุมจากการทำปืนลั่นใส่ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ โดยถูกพิพากษาจำคุก 1 ปี ในความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บสาหัส และจำคุก 3 เดือนในความผิดฐานครอบครองปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยนับโทษติดต่อกัน ต่อมาได้พ้นโทษในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2514
เหตุฆาตกรรมจรัล กาลลา
[แก้]วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2515 เวลา 19.55 น. เรือนและคนร้ายอีกคนได้เข้าไปในร้านขายผ้าห้างใจงามในอำเภอเมืองตรัง จากนั้นทั้งสองใช้ปืนคอบบร่า ขนาด.38 ยิงจรัล กาลลา อายุ 34 ปี ขณะกำลังอุ้มลูกอยู่ภายในร้านจนได้รับบาดเจ็บสาหัส ซึ่งจรัลได้เสียชีวิตในเวลาต่อมาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ในเวลาต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมสมพล ศรีเปายะ พ่อค้าไม้เถื่อน ในข้อหาจ้างวานฆ่า โดยพบกับปืนคอบบร่า ขนาด.38 จำนวน 1 กระบอก และต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมเรือนซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจสืบทราบว่าเป็นมือปืนรับจ้าง จากการสอบสวนทราบว่าสมพลไม่พอใจจรัลเนื่องจากจรัลเปิดโปงการค้าไม้เถื่อนที่อำเภอห้วยยอดผ่านหนังสือพิมพ์เมืองใต้รายวันทำให้สมพลจ้างมือปืนมาฆาตกรรมจรัล เรือนให้การปฎิเสธตั้งแต่ถูกจับกุม ถึงแม้ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะมีหลักฐานแน่ชัดว่าเรือนเป็นคนร้าย
การดำเนินคดี และการประหารชีวิต
[แก้]วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515 จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจตามความในมาตรา 17 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2514 สั่งลงโทษประหารชีวิตเรือน พิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำของเรือนเป็นการฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนโดยเป็นการกระทำที่หวาดเสียวทารุณโหดร้าย อีกทั้งยังเคยถูกจับกุมและติดคุกมาก่อน แต่ก็ยังกระทำผิดซ้ำ ส่วนสมพล แม้จะมีเรื่องไม่ชอบหน้ากับจรัลในเรื่องจรัลลงหนังสือพิมพ์เรื่องไม้เถื่อน แต่เรื่องยังไกลว่าสมพลจะจ้างเรือนกับคนร้ายอีกคนที่ยังจับไม่ได้ไปฆ่าจรัล จึงยกประโยชน์ให้สมพลปล่อยตัวไป