เสน่ห์ สิทธิพันธุ์
เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ | |
---|---|
ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2522 – พ.ศ. 2524 | |
ก่อนหน้า | พลตำรวจโท สุวรรณ รัตนชื่น |
ถัดไป | พลตำรวจโท จำรัส จันทขจร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 มีนาคม พ.ศ. 2469 อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ |
เสียชีวิต | 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 (73 ปี) |
คู่สมรส | จิตต์จรุง กุลละวณิชย์ (สมรส 2501) |
บุตร | 3 คน |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กรมตำรวจ |
ประจำการ | พ.ศ. 2492 – พ.ศ. 2529 |
ยศ | พลตำรวจเอก[1] |
บังคับบัญชา | กองบัญชาการตำรวจนครบาล |
ผ่านศึก | สงครามมหาเอเซียบูรพา |
พลตำรวจเอก เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ (10 มีนาคม พ.ศ. 2469 – 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543) เป็นตำรวจชาวไทย อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ, ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เป็นบิดาของชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประวัติ
[แก้]พลตำรวจเอก เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ เกิดที่วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2468 (นับแบบปัจจุบันคือ พ.ศ. 2469) ที่ตำบลนาเกลือ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นบุตรของนายชื้น และนางถนอม สิทธิพันธุ์ มีพี่น้องทั้งหมด 6 คน คือ
- พลตำรวจเอก เสน่ห์ สิทธิพันธุ์
- ประสาร สิทธิพันธุ์
- ถนัด สิทธิพันธุ์
- มาโนช สิทธิพันธุ์
- ทวีป สิทธิพันธุ์
- ปรีชา สิทธิพันธุ์
เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ ได้สมรสกับจิตต์จรุง สิทธิพันธุ์ (สกุลเดิม : กุลละวณิชย์) เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2501 มีบุตรทั้งหมด 3 คน คือ
- รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีชญา สิทธิพันธุ์
- รองศาสตราจารย์ นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์
- รองศาสตราจารย์ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
การศึกษา
[แก้]พลตำรวจเอก เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ ได้จบการศึกษาที่ โรงเรียนประชาบาลสมุทรปราการ, โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ในปี พ.ศ. 2478 – พ.ศ. 2486 หลังจากนั้นได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก ในปี พ.ศ. 2487 – พ.ศ. 2488 ต่อมาได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ในปี พ.ศ. 2489 – พ.ศ. 2492 และได้ฝึกอบรมทางการทหาร คือ
- 7 มิถุนายน พ.ศ. 2494 : ฝึกอบรมวิชาอาวุธพิเศษ ณ ค่ายฝึกอาวุธตำรวจเขาเอราวัณ จังหวัดลพบุรี
- 22 มิถุนายน พ.ศ. 2497 : อบรมและดูงานวิชานายทหารสารวัตรชั้นสูง ค่ายกอร์ดอน รัฐจอร์เจีย สหรัฐ
- 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 : หลักสูตรฝ่ายอำนวยการสงครามจิตวิทยา รุ่นที่ 9
- ตุลาคม พ.ศ. 2522 : หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 22
การทำงาน
[แก้]พลตำรวจเอก เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ คือ
ตำแหน่งราชการตำรวจ
[แก้]- 8 มกราคม พ.ศ. 2508 : ผู้กำกับตำรวจนครบาลที่ 7
- 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 : ผู้บังคับการตำรวจจราจร
- 1 สิงหาคม พ.ศ. 2514 : ผู้บังคับการตำรวจนครบาลพระนครใต้
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2522 : ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2526 : รองอธิบดีกรมตำรวจ
ราชการพิเศษ
[แก้]- 20 มีนาคม พ.ศ. 2510 : นายตำรวจราชสำนักเวร
- พ.ศ. 2517 : กรรมการบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2521 : กรรมการธนาคารนครหลวงไทย
- พ.ศ. 2522 : กรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2525 : กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาลูกเสือแห่งชาติ
- พ.ศ. 2526 : กรรมการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- พ.ศ. 2528 : สมาชิกวุฒิสภา ชุดที่ 5
- พ.ศ. 2533 : กรรมการธนาคารกรุงไทย
- พ.ศ. 2535 : กรรมการธนาคารมหานคร
เหตุการณ์ 6 ตุลา
[แก้]พล.ต.ต. เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ ยศในขณะนั้น มีบทบาทบัญชาการให้ตำรวจตระเวนชายแดน และอาวุธครบมือบุกเข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แม้ตำรวจจะประกาศให้นักศึกษายอมจำนน แต่เสียงปืนจากฝ่ายตำรวจด้วยกันเองกลับดังก้องอย่างต่อเนื่อง นักศึกษาหลายคนที่พยายามวิ่งหนีออกมาข้างนอก ก็ถูกมวลชนฝ่ายขวาที่ยกกำลังมาออกกันบริเวณท้องสนามหลวงรุมประชาทัณฑ์
ตำรวจตระเวนชายแดนที่บุกเข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พยายามเข้าจับกุมผู้ชุมนุมที่หลบตามอาคารต่าง ๆ นักศึกษาและประชาชนถูกบังคับให้ถอดเสื้อ ไม่เว้นแม้กระทั่งผู้หญิงที่เหลือแต่เสื้อชั้นใน ทั้งยังถูกสั่งให้เอามือกุมหัว นอนคว่ำ แล้วคลานไปตามพื้น ระหว่างที่คลานก็ถูกเตะหรือถีบโดยตำรวจ, กลุ่มกระทิงแดง, ลูกเสือชาวบ้าน และอันธพาลกลุ่มอื่น ๆ ระหว่างขึ้นรถเมล์ และรถสองแถวเพื่อไปยังที่คุมขัง (มี 3 แหล่งใหญ่ ๆ ได้แก่ นครปฐม, ชลบุรี และโรงเรียนตำรวจนครบาล บางเขน) ก็ถูกด่าทออย่างหยาบคาย แม้ลงจากรถไปแล้วก็ยังถูกปล้นชิงทรัพย์สินและของมีค่า เช่น นักศึกษาหลายรายถูกปล้นพระเครื่องไปจากคอด้วยฝีมือตำรวจ โดยให้เหตุผลว่า คอมมิวนิสต์ไม่จำเป็นต้องแขวนพระ
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]พล.ต.อ. เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ ได้ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 สิริอายุ 73 ปี 10 เดือน 25 วัน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]พลตำรวจเอก เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2526 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2520 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2523 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[5]
- พ.ศ. 2512 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[6]
- พ.ศ. 2499 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[7]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[8]
- พ.ศ. 2508 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 4 (ภ.ป.ร.4)[9]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๘ ธันวาคม ๒๕๒๙
- ↑ (2543). อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลตำรวจเอก เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ ม.ว.ม., ป.ช., ท.จ.ว. ณ เมรุหลวงพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันเสาร์ ที่ 3 มิถุนายน 2543 เวลา 17.30 น.. หอรัตนชัยการพิมพ์.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๐, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๙, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๖๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๑๐ สิงหาคม ๒๔๙๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๒๘, ๔ มกราคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๒๖ ง หน้า ๑๐๙๑, ๓๐ มีนาคม ๒๕๐๘