บุศย์ ปัทมศริน
บุศย์ ปัทมศริน | |
---|---|
สามจำเลยผู้ถูกประหารชีวิตในคดีประทุษร้ายต่อพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (จากซ้าย) ชิต สิงหเสนี บุศย์ ปัทมศริน และเฉลียว ปทุมรส | |
เกิด | พ.ศ. 2443 |
เสียชีวิต | 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 (55 ปี) เรือนจำกลางบางขวาง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี |
สาเหตุเสียชีวิต | ประหารชีวิตด้วยการยิง |
สัญชาติ | ไทย |
การศึกษา | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย |
อาชีพ | มหาดเล็ก |
มีชื่อเสียงจาก | นักโทษประหารชีวิตคดีประทุษร้ายต่อพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล |
สถานะทางคดี | ถูกประหารชีวิต |
บิดามารดา | ขุนวิสูตรเสนีย์ (จาง ปัทมศริน) ปุก ปัทมศริน |
พิพากษาลงโทษฐาน | ประทุษร้ายต่อพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระมเหสี มกุฎราชกุมาร และผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน มาตรา 97 ตอน 2 |
บทลงโทษ | ประหารชีวิต |
รายละเอียด | |
ผู้เสียหาย | พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร, 20 พรรษา |
วันที่ | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 |
ประเทศ | ประเทศไทย |
รัฐ | จังหวัดพระนคร |
ตำแหน่ง | พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง |
วันที่ถูกจับ | 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 |
จำคุกที่ | เรือนจำกลางบางขวาง |
บุศย์ ปัทมศริน เป็นอดีตมหาดเล็กห้องบรรทมในรัชกาลที่ 8 ผู้ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เมื่อ พ.ศ. 2489 ต่อมาได้ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีดังกล่าวและได้รับการตัดสินโทษประหารชีวิตในปี พ.ศ. 2498
นายบุศย์ ปัทมศริน เป็นบุตรของขุนวิสูตรเสนีย์ (จาง ปัทมศริน)[1]กับนางปุก ปัทมศริน เกิดเมื่อ พ.ศ. 2443 จบการศึกษาระดับมัธยมศีกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เข้ารับราชการครั้งแรกในกรมปลัดบัญชี ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จนิวัติพระนครใน พ.ศ. 2488 จึงได้เลื่อนเป็นมหาดเล็กตั้งเครื่อง และมหาดเล็กห้องบรรทมตามลำดับ
เมื่อเกิดเหตุการณ์การสวรรคตของรัชกาลที่ 8 นายบุศย์ได้ขึ้นให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนพฤตติการณ์ในการที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต หรือ "ศาลกลางเมือง" ในฐานะพยานสำคัญ เนื่องจากนายบุศย์เป็น 1 ใน 2 คนที่อยู่ใกล้ชิดกับห้องพระบรรทมของรัชกาลที่ 8 มากที่สุด แต่ภายหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2490 นายบุศย์พร้อมด้วยบุคคลอื่นอีก 4 คน ได้ถูกจับกุมด้วยข้อหามีส่วนร่วมในการวางแผนลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 ซึ่งต่อมาอัยการได้สั่งฟ้องนายบุศย์พร้อมกับผู้ต้องหาอีก 2 คน คือ เฉลียว ปทุมรส และชิต สิงหเสนี
ในการพิจารณาคดีชั้นศาล ศาลอาญาได้พิพากษาให้ปล่อยตัวนายบุศย์ แต่ในชั้นศาลอุทธรณ์ได้กลับคำพิพากษาให้ประหารชีวิตนายบุศย์พร้อมกับนายชิต ที่สุดแล้วเมื่อมีการพิจารณาในชั้นศาลฎีกา ได้มีการพิพากษาให้ประหารชีวิตจำเลยในคดีนี้ทั้ง 3 คนเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2497[2] นายบุศย์จึงได้ถูกนำตัวไปประหารชีวิตที่เรือนจำบางขวาง ในเช้ามืดวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 เวลา 5.10 น. ขณะมีอายุได้ 55 ปี ศพของนายบุศย์ได้รับการบำเพ็ญกุศลที่วัดมกุฎกษัตริยาราม
ดูเพิ่ม
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2481 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 5 (อ.ป.ร.5)[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ หนังสือ บันทึกการสอบสวนกรณีสวรรคต รัชกาลที่ ๘ พิมพ์ปี 2546 หน้า 35
- ↑ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม. (ม.ป.ป.), คำพิพากษาศาลฎีกาคดีสวรรคต เก็บถาวร 2017-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ออนไลน์, เข้าถึงเมื่อ: ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์
- เก็บความจาก อนันต์ อมรรตัย. แผนการปลงพระชนม์ ร.8 ของนายปรีดี พนมยงค์ พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : จิรวรรณนุสรณ์, 2526.