เสน่ห์ อ่อนแก้ว
เสน่ห์ อ่อนแก้ว (พ.ศ.2493 – 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515) เป็นผู้ข่มขืนต่อเนื่อง และฆาตกรฆ่าข่มขืนเด็กชาวไทย ที่ถูกคณะปฎิวัติซึ่งนำโดยจอมพลถนอม กิติขจร ใช้อำนาจมาตรา 17 สั่งให้ประหารชีวิตในข้อหาฆ่าข่มขืนเด็กหญิงวารี ทรงสุข อายุ 12 ปี ที่จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2515[1][2]
เสน่ห์ อ่อนแก้ว | |
---|---|
ภาพถ่ายหน้าตรงของเสน่ห์หลังจากถูกจับกุม | |
เกิด | พ.ศ. 2493 อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 (21 ปี) เรือนจำกลางบางขวาง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย |
สาเหตุเสียชีวิต | ประหารชีวิตด้วยการยิง |
อาชีพ | กรรมกร |
นายจ้าง | โรงงานทอผ้าไทยเกียง |
มีชื่อเสียงจาก | ฆาตกรรมและข่มขืนเด็กหญิงวัย 12 ปี |
สถานะทางคดี | ประหารชีวิตแล้ว |
บุตร | 1 |
บิดามารดา | สมพงษ์ อ่อนแก้ว (บิดา) นพรัตน์ อ่อนแก้ว (ลูกพี่ลูกน้อง) |
พิพากษาลงโทษฐาน | ข่มขืนในลักษณะโทรมหญิง และฆ่าคนตายโดยเจตนา |
บทลงโทษ | ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี |
คู่หู | 8 |
รายละเอียด | |
ผู้เสียหาย | เด็กหญิงวารี ทรงสุข, 12 ปี (เสียชีวิต) เหยื่อข่มขืนในหมู่บ้านหลายราย |
วันที่ | ไม่ทราบ - 19 ธันวาคม พ.ศ. 2514 |
ประเทศ | ประเทศไทย |
รัฐ | จังหวัดสมุทรปราการ |
ตำแหน่ง | ตำบลบางจาก อำเภอพระประแดง |
วันที่ถูกจับ | 22 ธันวาคม พ.ศ. 2514 |
จำคุกที่ | เรือนจำจังหวัดสมุทรปราการ |
เสน่ห์ได้ร่วมกับพรรคพวกรวม 9 คน ก่อเหตุฉุดเด็กหญิงวารี ทรงสุขไปรุมโทรมในสวนมะพร้าวในอำเภอพระประแดง แล้วฆ่าเธอ[3] ในวันที่เขาถูกประหารชีวิต เขามีอาการไม่สะทกสะท้าน และไม่ยอมฟังเทศน์พร้อมกับด่าเจ้าหน้าที่ด้วยคำหยาบคาย โดยเขานับเป็นบุคคลที่ 3 ถูกประหารชีวิตโดยอำนาจมาตรา 17 หลังจากการรัฐประหารตนเองของจอมพล ถนอม กิตติขจร เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 และนับเป็นอาชญากรทางเพศรายแรกที่ถูกประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี[4][5]
ประวัติ
[แก้]เสน่ห์ อ่อนแก้ว เกิดเมื่อปีพ.ศ. 2493 เป็นบุตรชายของนายสมพงษ์ อ่อนแก้วซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 ตำบลบางจาก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ [6] เขามีนิสัยเกเร และมีพฤติกรรมลวนลานและข่มขืนผู้หญิงในหมู่บ้านหลายคน แต่เหยื่อไม่กล้าแจ้งความเนื่องจากเพราะกลัวว่าจะเกิดความอับอาย และเกรงกลัวอิทธิพลของเสน่ห์ กับสมพงษ์ พ่อของเสน่ห์ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน[7][8]
การก่อคดีฆาตกรรม
[แก้]ในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2515 เวลาประมาณ 19.00 น. นายอี้ด(ไม่ทราบนามสกุล)ได้ชวนนายสมชาย หรือจุก แสนสุข อายุ 16 ปี ไปเดินเล่นที่หมู่บ้านจัดสรร ในซอยกลับเจริญ 1 เมื่อทั้งสองเดินไปถึงปากทางเข้าบริษัทไทยเกียง ทั้งสองได้พบกับนายนรัตน์ อ่อนแก้ว อายุ 15 ปี ลูกพี่ลูกน้องของเสน่ห์,นายปุ้ม และนายัย หรือแดง ประดิษฐ์สุวรรณ อายุ 15 ปี นั่งอยู่ในร้านกาแฟ อี้ดกับสมชายจึงเข้าไปมั่วสุมร่วมกับวัยรุ่นทั้งสามภายในร้านกาแฟ[9]
ในเวลา 20.00 น. เด็กหญิงวารี ทรงสุข ได้อุ้มเด็กชายสมศักดิ์ซึ่งเป็นหลานชายของพี่เขยของเธอไปส่งที่บ้าน วัยรุ่นทั้ง 5 คนได้สังเกตุเห็นวารี ปุ้มได้พูดว่าเด็กหญิงวารีเคยด่าตน วัยรุ่นทั้ง 5 คน จึงวางแผนฉุดวารีไปข่มขืน หลังจากวารีส่งสมศักดิ์แล้ว เธอได้เดินออกมาเพื่อจะไปช่วยนางป่วน ทรงสุข มารดาของเธอขายส้มตำ[10] วัยรุ่นทั้ง 5 จึงสะกดรอยตามเธอห่างๆ เมื่อนรัตน์,ปุ้ม และเชิดชัย ใกล้ถึงตัวเธอ วัยรุ่นทั้งสามได้อุดปากเธอและอุ้มไปยังสวนมะพร้าว โดยระหว่างการเดินได้รวมเข้ากับพรรคพวกอีก 2 คน ที่ปากซอยโรงน้ำมันทิพย์ เมื่อกลุ่มวัยรุ่นทั้งเจ็ดเดินมาถึงห้องแถวสร้างใหม่ได้พบกับเสน่ห์และเพื่อนอีกคน คนร้ายทั้ง 9 จึงพาเธอเข้าไปยังสวนะพร้าวของนายลพ อ้นจู แล้วกลุ่มคนร้ายได้ผลัดกันข่มขืนบริเวณโคนต้นมะพร้าว โดยอี้ดเป็นคนแรกที่ก่อเหตุข่มขืน โดยมีเชิดชัยกับนายปุ้มเป็นคนจับแขนและขาขณะที่คนร้ายคนอื่นข่มขืน หลังจากอี้ดข่มขืนเสร็จ สมชายได้มาข่มขืนเป็นคนที่สอง แล้วตามด้วยนรัตน์ เมื่อสมชายข่มขืนเสร็จ เชิดชัยได้เดินตามสมชายไปโดยยังไม่ได้ข่มขืน หลังจากที่เชิดชัยกับสมชายกลับบ้านไป ได้มีคนในกลุ่มในกลุ่มคนร้ายใช้ดินเหนียวอุดปากวารีเพื่อไม่ให้ร้องขอความข่วยเหลือ และบีบคอเธอจนเสียชีวิต[11] หลังจากวารีเสียชีวิตแล้วกลุ่มคนร้ายได้แยกย้ายกันหลบหนีไป[12][13]
ในช่วงเช้าของวันรุ่งขึ้น(20 ธันวาคม) เพื่อนบ้านซึ่งมีอาชีพปีนต้นมะพร้าวได้พบศพของเธอในสวนมะพร้าว จากการชันสูตรศพพบว่าสาเหตุการเสียชีวิตมาจากการขาดอากาศหายใจจากการถูกอุดปากและบีบคอ[14][15] ในวันที่ 22 ธันวาคม เวลา 11.30 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมสมชายที่ร้านกาแฟ เยื้องปากตรอกโรงงานทอผ้าไทยเกียง ในอีก 1 ชั่วโมงต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมเชิดชัยขณะช่วยแม่ขายข้าวแกงในโรงงานไทยเกียง[16][17] สมชาย และเชิดชัยได้ให้การรับสารภาพถึงการก่อคดี โดยแดงปฎิเสธว่าได้ร่วมข่มขืน แต่เป็นคนจับขา สมชายยอมรับว่าตนเองเป็นคนข่มขืน ทั้งสองยืนยันว่าไม่ได้เป็นคนเอาดินอุดปากวารีและฆ่าเธอ สมชายได้ให้การว่าเสน่ห์ได้ร่วมก่อเหตุ โดยในขณะที่เกิดเหตุเสน่ห์ได้ยืนคอยกับคนร้ายอีกคนในสวนมะพร้าวและเป็นคนข่มขืนคนท้ายๆ แต่เขาไม่ได้อยู่ดูว่าเสน่ห์ข่มขืนหรือไม่เพราะเขากลับไปกับเชิดชัยก่อน[18] ต่อมาในเวลา 16.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมเสน่ห์ ขณะทำงานเป็นกรรมกรอยู่ที่แผนกช่างไฟฟ้าของโรงงานไทยเกียง จากการสอบสวนเสน่ห์ เขาให้การปฎิเสธ เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจสอบร่างกายเขา พบรอยเล็บที่โคนนิ้วก้อยด้านซ้าย กับแผลที่หลังมือทั้งสองข้าง เขาอ้างว่าแผลดังกล่าวเกิดจากการหกล้มระหว่างซ้อมฟุตบอล และยอมรับว่ารู้จักจุกกับแดง แต่ไม่เคยคบค้าสมาคมกัน [19] ในเวลา 23 นาฬิกาเศษของวันเดียวกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอพระประแดงโดยมีนายจุ่น อ่อนแก้ว พ่อของนรัตน์ ซึ่งอาสาพาเจ้าหน้าที่ตำรวจไปติดตามตัวของนรัตน์ ได้เดินทางไปถึงอำเภอไชยบาดาล แล้วเดินทางไปยังบ้านพักของจ่าสิบตำรวจตรี สวง จิตรพันธ์ เมื่อเข้าไปในบ้านของสวงในตำบลมะนาวหวาน พบว่าทุกคนในบ้านกำลังนอนหลับอยู่ เจ้าหน้าที่จึงจับกุมนรัตน์ขณะนอนหลับภายในมุ้ง เขาได้ให้การปฎิเสธ โดยบอกว่าไม่รู้ไม่เห็นและไม่มีส่วนร่วมกับการก่อคดี ถัดจากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำตัวนรัตน์กลับไปยังอำเภอพระประแดงเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 23 ธันวาคม[20] เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัวของสมชายและเชิดชายมายืนยันว่านรัตน์ก่อเหตุข่มขืน เขาจึงยอมรับสารภาพว่าเป็นคนข่มขืนคนที่ 3[21][22] ส่วนเสน่ห์ก็ยังไม่ยอมรับสารภาพ และยังพูดว่า “ถึงจะเอาผมไปยิงเป้าก็ยอม แต่ผมไม่ยอมรับว่าไปกระทำจริง” [23] ต่อมาในเวลา 16.30 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เร่งทำสำนวนการสอบสวนจนเสร็จสิ้น เพื่อนำเสนอผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ให้นำเสนอคณะปฎิวัติพิจารณาต่อไป[24]
ในวันที่ 24 ธันวาคม พลตำรวจโทจำรัส มังคลารัตน์ ผู้บัญชาการตำรวจภูธร ได้เดินทางมาดูสำนวนการสอบสวน และกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า”ผมจะประมวลสำนวนการสอบสวนทั้งหมดเสนอหัวหน้าคณะปฎิวัติพิจารณาโดยด่วน เพราะพฤติการณ์ของเหล่าฆาตกรเหี้ยมโหด และไม่เกรงกลัวต่อกฏหมาย เพื่อจะให้หัวหน้าคณะปฎิวัติสั่งการอย่างเฉียบขาดเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างอีกต่อไป.” [25]
ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 ตำรวจได้ปิดสำนวนคดี และส่งมอบสำนวนคดีให้คณะปฎิวัติพิจารณาโทษผู้ต้องหาทั้งหมดในสถานหนัก เพราะมีพฤติการณ์ทารุณโหดร้ายเย้ยหยันอำนาจคณะปฎิวัติ โดยมีรายงานว่าว่าขณะนี้ที่ปรึกษากฎหมายของหัวหน้าคณะปฎิวัติกำลังตรวจสอบสำนวน และฆาตกรอย่างเสน่ห์จะต้องถูกคำสั่งยิงเป้าแน่นอน[26]
การประหารชีวิต
[แก้]ในช่วงบ่ายของวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 จอมพลถนอม กิตติขจร ลงนามในคำสั่งให้ประหารชีวิตเสน่ห์ อ่อนแก้ว จำคุกสมชายไว้ตลอดชีวิต จำคุกนรัตน์ 25 ปี และจำคุกเชิดชัยไว้ 15 ปี[27] โดยเห็นว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นการโทรมเด็กหญิงวารีด้วยความโหดร้ายทารุณ และเจตนาฆ่าเพื่อปิดปาก เพราะเธออยู่หมู่บ้านเดียวกับผู้ต้องหา โดยเฉพาะเสน่ห์ เป็นลูกของผู้ใหญ่บ้านที่วารีและผู้ต้องหาคนอื่นอาศัยอยู่ นอกจากผู้ต้องหาได้กระทำผิดร้ายแรงโดยไม่เกรงกลัวอาญาแผ่นดิน ยังพบว่าเสน่ห์มีนิสัยชอบข่มเหงและฉุดผู้หญิงไปข่มขืนหลายราย นอกจากนี้เสน่ห์ยังบรรลุนิติภาวะและเคยบวชเรียน แต่ไม่สำนึกผิดในการกระทำของตนและไม่สารภาพผิด[28][29][30]
ในวันรุ่งขึ้น เวลา 04.30 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เดินทางไปยังเรือนจำจังหวัดสมุทรปราการเพื่อขอรับตัว สมชาย,เสน่ห์ และนรัตน์ไปยังเรือนจำกลางบางขวาง ส่วนเชิดชัยถูกนำตัวไปควบคุมที่สถานพินิจเยาวชนบางนา[31] เจ้าหน้าที่เรือนจำปลุกทั้ง 3 คนให้ตื่นและแจ้งว่าจะย้ายไปควบคุมตัวที่อื่น เมื่อทั้งสามเห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวนมากทั้งสามหน้าซีดและไม่พูดอะไร[32] ต่อมาเวลา 05.00 น. ตำรวจได้นำทั้งสามขึ้นรถจี๊บตราโล่ออกจากเรือนจำ และเดินทางไปถึงเรือนจำกลางบางขวางเมื่อเวลา 06.00 น.[33]
เสน่ห์ อ่อนแก้ว ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวของพิมพ์ไทยก่อนการประหารชีวิต, 2515[34]
เมื่อรถเข้าสู่เรือนจำ เจ้าหน้าที่เรือนจำได้แยกสมชายกับนรัตน์ไปขังตามแดนของเรือนจำ ส่วนเสน่ห์ให้นั่งรอที่ฝ่ายควบคุมของเรือนจำ คณะกรรมการควบคุมการประหารชีวิตได้พิมพ์ลายนิ้วมือเขา แล้วพัศดีเรือนจำได้อ่านคำสั่งของหัวหน้าคณะปฎิวัติแล้วให้เซ็นทราบในคำสั่ง โดยเสน่ห์รับฟังคำสั่งอย่างปกติ เมื่อฟังคำสั่งไปได้สักพักหนึ่ง เขาเกิดอาการหงุดหงิด และตะโกนว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยต้องใช้เวลาพอสมควรถึงเขาจะยอมเซ็นรับทราบในคำสั่ง ถัดจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้ถามเขาว่าจะทำพินัยกรรมหรือไม่ เขาได้ปฎิเสธที่จะทำ แต่ขอเขียนจดหมายถึงพ่อและฝากเงินกับเจ้าหน้าที่จำนวน 105 บาท
พี่ครับ...ขอทำใจให้สบาย มีเกิดแก่เจ็บตายเป็นของธรรมดา ขอร้องอย่าเอาศพผมเผา ให้เก็บไว้สัก 3 ปี ผมขอลาทุกคน....
— เสน่ห์ อ่อนแก้ว, ใจความสุดท้ายของจดหมายที่เสน่ห์เขียนถึงพ่อ
เสน่ห์ได้เขียนฝากให้พ่อดูแลลูกกับเมีย ส่วนศพของเขาห้ามนำไปฝังเด็ดขาด ให้เก็บศพเขาไว้ 3 ปี และให้พ่อมาเยี่ยมนพรัตน์ลูกพี่ลูกน้องของเขา[35]
หลังจากเขียนจดหมายแล้วเจ้าหน้าที่ได้นำตัวเขาไปยังหอรักษาการ 7 ชั้น เพื่อฟังพระธรรมเทศนาจากพระมหาสาย ฐานมงคโล เจ้าอาวาสวัดบางแพรกใต้ แต่เขาขัดขืนไม่ยอมฟังเทศน์ เขาไม่ยอมนั่งกับพื้นและฮึดฮัดตลอดเวลา เขายังกล่าวว่า “กูไม่ฟังเทศน์ กูบวชเรียนมาแล้ว ไม่ต้องฟังเทศน์ก็ได้ เอากูไปยิงเลย..!” เมื่อเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงยกอาหารมื้อสุดท้าย เขาปฎิเสธที่จะรับประทาน ในเวลา 06.55 น. เจ้าหน้าที่เรือนจำได้นำตัวเขาไปยังสถานที่หมดทุกข์โดยให้ขึ้นรถเข็น แต่เขาไม่ยอมขึ้นและขอเดินไปเอง แต่เขาเดินได้ไม่กี่ก้าวก็เข่าอ่อน ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องประคองเดินไป[36] ระหว่างที่เจ้าหน้าที่นำตัวเขาไปยังสถานที่หมดทุกข์ เขาได้ตะโกนฝากนรัตน์กับผู้คุม[37]
เมื่อไปถึงศาลาเย็นใจ นายแพทย์สุจริตได้ขอร้องให้สละดวงตาให้กับสภากาชาดไทยเพื่อช่วยผู้พิการ แต่เขาไม่ยอมให้โดยกล่าวว่า “ของๆกู กูไม่ให้ กูไม่ให้ใครทั้งนั้น” ก่อนเข้าสู่ห้องประหารชีวิต เขาขอบุหรี่ แล้วสูบบุหรี่อัดควันอย่างแรง และเดินเร็วอย่างไม่สะทกสะท้านไปยังห้องประหารชีวิต เมื่อเดินได้กลางทางเจ้าหน้าที่บอกให้เขาทิ้งบุหรี่ เขาจึงหยุดสุบบุหรี่จนหมดมวน เมื่อเจ้าหน้าที่ผูกตาเสน่ห์แล้วพาเข้าสู่ห้องประหาร เขาได้โยนดอกไม้ธูปเทียนทิ้งและไม่ยอมถือดอกไม้ธูปเทียน[38] เจ้าหน้าที่ได้นำเสน่ห์มัดกับหลักประหาร แล้วนำดอกไม้ธูปเทียนยัดใส่มือหลังจากมัดให้พนมมือ เขาได้สาบแช่งและด่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตลอดเวลา ในเวลา 07.11 น. มุ่ย จุ้ยเจริญ เพชฌฆาตได้เหนี่ยวไกปืนจำนวน 6 นัด เขายังไม่ตายและส่งเสียงครอกๆ กับเรอ 3 ครั้ง โดยใช้เวลา 6 นาทีถึงเขาจะเสียชีวิต [39][40]
หลังจากการประหารชีวิต
[แก้]หลังจากการประหารชีวิตนางสอาด เพ็งแจ่มศรี อายุ 19 ปี ภรรยาของเสน่ห์ได้ติดต่อขอรับศพจากเรือนจำ เจ้าหน้าที่ได้มอบจดหมายที่เสน่ห์เขียนไว้ กับเงินจำนวน 105 บาท แต่เธอรับแค่จดหมาย ส่วนเงินได้มอบให้เรือนจำ ถัดจากนั้นเธอได้ไปติดต่อเทศบาลนครนนทบุรี เพื่อขอใบมรณบัตรและขนย้ายศพเสน่ห์ ในเวลา 13.00 น. เธอพร้อมกับญาติได้นำศพขึ้นรถยนต์ไปยังวัดครุใน เธอกล่าวว่าพ่อแม่ของเสน่ห์ไม่มารับศพเพราะเกิดอาการช็อกหลังทราบข่าวการประหารชีวิต[41]
นายมุ่ย จุ้ยเจริญ เพชฌฆาต ได้กล่าวถึงการประหารเสน่ห์ว่า “ในระยะ 7 ปี เคยประหารนักโทษมานับร้อยราย แต่ยังไม่เคยพบคนใจดำหมิตและเหี้ยมอย่างนี้มาก่อนเลย ไม่ว่าจะเป็นมหาโจรปล้นฆ่านับสิบศพ พอพบพระก็ไหว้พระฟังเทศน์ บางคนถึงกับเข่าอ่อนเมื่อได้ฟังคำสั่งประหารต้องเอานั่งรถเข็นเข้าสู่หลักประหาร แต่รายนี้เหี้ยมน่าดู” [42][43]
ดูเพิ่มเติม
[แก้]- สมศักดิ์ ขวัญแก้ว บุคคลแรกที่ถูกประหารชีวิตโดยอำนาจมาตรา 17 หลังจากการรัฐประหารตนเองของจอมพล ถนอม กิตติขจร
- วินัย โพธิ์ภิรมย์ บุคคลที่สองที่ถูกประหารชีวิตโดยอำนาจมาตรา 17 หลังจากการรัฐประหารตนเองของจอมพล ถนอม กิตติขจร
- พิชาญ กำแหง และสุธน ทองศิริ ผู้ก่อเหตุข่มขืนครูสาว และฆ่าแฟนหนุ่มของเธอ ที่จังหวัดสงขลา ทั้งสองถูกประหารชีวิตโดยอำนาจมาตรา 17
- ธวัช สุธากุล และสมศักดิ์ ปาทาน ผู้ก่อเหตุทำร้ายแฟนหนุ่ม และลักพาตัวบรรณารักษ์สาวของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปข่มขืนแล้วฆ่าที่อ่างเก็บน้ำบางพระ
- รายชื่อบุคคลที่ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2478-2530
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ให้ประหารชีวิตคนเดียว ส่วนอีกสามคนถูกจำคุก". หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับสอง. 10 February 1972. p. 16.
- ↑ "มหาดไทยยิงเป้านักข่มขืนตามคำสั่งคณะปฎิวัติ". หนังสือพิมพ์ไทยเดลี่. 11 February 1972. p. 3,14.
- ↑ "ให้ประหารชีวิตคนเดียว ส่วนอีกสามคนถูกจำคุก". หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับสอง. 10 February 1972. p. 16.
- ↑ "เพชฌฆาตเผย". หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. 11 February 1972. p. 16.
- ↑ "ยิงด้วย "แบล๊คมันน์-นักโทษไม่ยอมฟังเทศน์ ไม่ยอมอุทิศดวงตา.ท้าทายให้ยิงเลย"". หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับสอง. 11 February 1972. p. 16.
- ↑ "กำชับจับฆาตกรที่หลบหนี ทำสำนวนเสนอคณะปฎิวัติ". หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย. 25 December 1971. p. 2.
- ↑ "เสนอ หน. ปว. ลงโทษฆาตกรข่มขืนหนูน้อย 12 ขวบ – หักคอ". หนังสือพิมพ์ไทยเดลี่. 25 December 1971. p. 16.
- ↑ "ยิงเป้า". หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย. 10 February 1972. p. 16.
- ↑ "สารภาพร่วมกับเพื่อน 6 คน ขืนใจแล้วฆ่า". หนังสือพิมพ์เดลินิวส์. 23 December 1971. p. 16.
- ↑ "ฆาตกรรมโหด". หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย. 21 December 1971. p. 16.
- ↑ "เผยสมคบกับเพื่อนผลัดกันขืนใจทารุณ". หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับสอง. 24 December 1971. p. 16.
- ↑ "สารภาพร่วมกับเพื่อนก่อเหตุถึง 9 คน ตีจนคอหักหมุนได้รอบ". หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. 23 December 1971. p. 16.
- ↑ "ฆาตกรขืนใจ". หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย. 23 December 1971. p. 16.
- ↑ "คลายคดีฆ่า-ข่มขืน". หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย. 22 December 1971. p. 16.
- ↑ "ให้ประหารชีวิตคนเดียว ส่วนอีกสามคนถูกจำคุก". หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับสอง. 10 February 1972. p. 16.
- ↑ "จับฆาตกรขืนใจ". หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย. 23 December 1971. p. 2.
- ↑ "สารภาพลงมือคนที่ 3". หนังสือพิมพ์เดลินิวส์. 25 December 1971. p. 2.
- ↑ "3 ทรชนวัยรุ่น". หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. 23 December 1971. p. 16.
- ↑ "สารภาพร่วมกับเพื่อน 6 คน ขืนใจแล้วฆ่า". หนังสือพิมพ์เดลินิวส์. 23 December 1971. p. 16.
- ↑ "เผยสมคบกับเพื่อนผลัดกันขืนใจทารุณ". หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับสอง. 24 December 1971. p. 16.
- ↑ "รับสารภาพ ร่วมข่มขืน". หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับหลัง. 24 December 1971. p. 16.
- ↑ "ตามจับ". หนังสือพิมพ์เดลินิวส์. 25 December 1971. p. 16.
- ↑ "เร่งจับฆาตกร". หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย. 25 December 1971. p. 16.
- ↑ "กำชับฆาตกรที่หลบหนีทำสำนวนเสนอคณะปฎิวัติ". หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย. 25 December 1971. p. 2.
- ↑ "เสนอ หน. ปว. ลงโทษฆาตกรข่มขืนหนูน้อย 12 ขวบ – หักคอ". หนังสือพิมพ์ไทยเดลี่. 25 December 1971. p. 16.
- ↑ "เสนอคณะปฎิวัติ". หนังสือพิมพ์ไทยเดลี่. 3 February 1972. p. 16.
- ↑ "สมุนก็โดนหนัก ตลอดชีวิต-๒๕ ปี-๑๕ปี พฤติการณ์ร้ายกาจ". หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย. 9 February 1972. p. 16.
- ↑ "สั่งประหารชีวิต". หนังสือพิมพ์เดลินิวส์. 9 February 1972. p. 2,16.
- ↑ "ให้ประหารชีวิตคนเดียว ส่วนอีกสามคนถูกจำคุก". หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับสอง. 10 February 1972. p. 16.
- ↑ "ประหารในคุกบางขวางเช้าวันนี้ คนสมคบถูกตลอดชีวิต-25ปี-15ปี". หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. 9 February 1972. p. 16.
- ↑ "ยิงด้วย "แบล๊คมันน์-นักโทษไม่ยอมฟังเทศน์ ไม่ยอมอุทิศดวงตา.ท้าทายให้ยิงเลย"". หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับสอง. 11 February 1972. p. 16.
- ↑ "พ่อฆาตกรรู้ลูกถูกยิงเป้า ถึงเป็นลมหมดสติ..!". หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย. 10 February 1972. p. 3.
- ↑ "ยิงเป้า". หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับหลัง. 10 February 1972. p. 16.
- ↑ "พ่อฆาตกรรู้ลูกถูกยิงเป้า ถึงเป็นลมหมดสติ..!". หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย. 10 February 1972. p. 3.
- ↑ "ยิงเป้า". หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย. 10 February 1972. p. 16.
- ↑ "ยิงด้วย "แบล๊คมันน์-นักโทษไม่ยอมฟังเทศน์ ไม่ยอมอุทิศดวงตา.ท้าทายให้ยิงเลย"". หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับสอง. 11 February 1972. p. 16.
- ↑ "เพชฌฆาตเผย". หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. 11 February 1972. p. 16.
- ↑ "ยิงเป้า". หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย. 10 February 1972. p. 16.
- ↑ "ยิงด้วย "แบล๊คมันน์-นักโทษไม่ยอมฟังเทศน์ ไม่ยอมอุทิศดวงตา.ท้าทายให้ยิงเลย"". หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับสอง. 11 February 1972. p. 16.
- ↑ "เพชฌฆาตเผย". หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. 11 February 1972. p. 16.
- ↑ "ยิงเป้า". หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับหลัง. 10 February 1972. p. 16.
- ↑ "ยิงด้วย "แบล๊คมันน์-นักโทษไม่ยอมฟังเทศน์ ไม่ยอมอุทิศดวงตา.ท้าทายให้ยิงเลย"". หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับสอง. 11 February 1972. p. 16.
- ↑ "เพชฌฆาตเผย". หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. 11 February 1972. p. 16.
ก่อนหน้า วินัย โพธิ์ภิรมย์ 17 ธันวาคม 2514 |
บุคคลที่ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าในประเทศไทย เสน่ห์ อ่อนแก้ว 9 กุมภาพันธ์ 2515 |
ถัดไป ปิยะ อำพันปอง และซ้งหลี แซ่ตั้ง 9 เมษายน 2515 |