ข้ามไปเนื้อหา

ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534
ส่วนหนึ่งของ การล่มสลายของสหภาพโซเวียต

ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย:
  • สถานที่ที่ผู้เชิญหน้ากับคณะกรรมการสถานการณ์ฉุกเฉินแห่งรัฐสามคนเสียชีวิตระหว่างรัฐประหาร
  • ประธานาธิบดีเยลต์ซินโบกธงชาติที่มีการลงมติรับใหม่
  • เครื่องกีดขวางถนนบนถนนสโมเลนสกายา
  • เครื่องกีดขวางของฝ่ายนิยมเยลต์ซินใกล้กับทำเทียบขาวมอสโก
  • รถถังของคณะรัฐประหารบนสะพานโบลชอย มอสก์โวเรตสกีใกล้จตุรัสแดง
วันที่19–22 สิงหาคม 2534
สถานที่
ผล

คณะรัฐประหารยอมจำนน

คู่สงคราม

สหภาพโซเวียต คณะกรรมการสถานการณ์ฉุกเฉินแห่งรัฐ


สาธารณรัฐที่สนับสนุน:
เบียโลรัสเซีย[1]
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน อาเซอร์ไบจาน[1]
ทรานส์นีสเตรีย[2]
ทาจิกิสถาน
เติร์กเมนิสถาน
ยูเครน


ขบวนการอินเตอร์ฟรอนต์


การสนับสนุนนอกประเทศ:[4][5]

รัสเซีย โซเวียตรัสเซีย


สาธารณรัฐที่สนับสนุน[1]:
 เอสโตเนีย
 ลัตเวีย
 ลิทัวเนีย
อาร์มีเนีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจอร์เจีย จอร์เจีย
มอลเดเวีย
อุซเบกิสถาน
เคอร์กิเซีย
คาซัคสถาน


รัสเซีย นักชาตินิยม
นักกษัตริย์นิยม
Flag of the UNA-UNSO UNA–UNSO
เบลารุส แนวร่วมประชาชนเบลารุส


การสนับสนุนนอกประเทศ:
 บริเตนใหญ่
 สหรัฐ
 แคนาดา
 อิตาลี
 เยอรมนี
 กรีซ
 ฝรั่งเศส
สหภาพยุโรป EEC
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหภาพโซเวียต เกนนาดี ยานาเยฟ
สหภาพโซเวียต ดมีตรี ยาซอฟ
รัสเซีย บอริส เยลต์ซิน
ความสูญเสีย
ฆ่าตัวตาย 3 คน พลเรือน 3 คนเสียชีวิตในวันที่ 21 สิงหาคม

ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534 หรือเรียกรัฐประหารเดือนสิงหาคม (รัสเซีย: Августовский путч, อักษรโรมัน: Avgustovsky putch) เป็นความพยายามรัฐประหารโดยสมาชิกรัฐบาลของสหภาพโซเวียตกลุ่มหนึ่งเพื่อควบคุมประเทศจากประธานาธิบดีมีฮาอิล กอร์บาชอฟของสหภาพโซเวียต ผู้นำรัฐประหารเป็นสมาชิกที่ยึดมั่นของพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียตซึ่งคัดค้านโครงการปฏิรูปของกอร์บาชอฟ และสนธิสัญญาสหภาพใหม่ที่เขาเจรจาซึ่งกระจายอำนาจการปกครองของรัฐบาลกลางให้แก่สาธารณรัฐต่าง ๆ รัฐประหารถูกคัดค้าน ส่วนใหญ่ในกรุงมอสโก โดยการรณรงค์การขัดขืนของพลเมืองที่สั้นแต่สัมฤทธิ์ผล[6] แม้รัฐประหารล้มในเวลาเพียงสองวันและกอร์บาชอฟคืนสู่รัฐบาล แต่เหตุการณ์นี้ทำลายเสถียรภาพของสหภาพโซเวียตและถูกพิจารณาอย่างกว้างขวางว่า ช่วยเสริมทั้งการสิ้นสุดของพรรคคอมมิวนสิต์สหภาพโซเวียตและการล่มสลายของสหภาพโซเวียต

เบื้องหลัง

[แก้]

นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1985 กอร์บาชอฟได้เริ่มดำเนินโครงการปฏิรูปที่มีความทะเยอทะยานซึ่งรวมอยู่ในแนวคิดสองประการของเปเรสตรอยคาและกลัสนอสต์ หรือการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ/การเมืองและการเปิดกว้าง การเคลื่อนไหวเหล่านี้กระตุ้นให้เกิดการต่อต้านและความสงสัยในส่วนของ Nomenklatura ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคสายแข็ง การปฏิรูปยังปลดปล่อยกองกำลังและการเคลื่อนไหวที่กอร์บาชอฟไม่คาดคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความปั่นป่วนของกลุ่มชาตินิยมในส่วนของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช่ชาวรัสเซียของสหภาพโซเวียตที่เพิ่มขึ้น และมีความกลัวว่าสาธารณรัฐสหภาพบางส่วนหรือทั้งหมดอาจแยกตัวออกจากกัน ใน ค.ศ. 1991 สหภาพโซเวียตประสบวิกฤตเศรษฐกิจและการเมืองอย่างรุนแรง การขาดแคลนอาหาร ยารักษาโรค และเครื่องอุปโภคบริโภคอื่น ๆ เป็นที่แพร่หลาย,[7] ผู้คนต้องต่อแถวยาวเพื่อซื้อของที่จำเป็น[8] สต็อกเชื้อเพลิงต่ำกว่าประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ที่จำเป็นสำหรับฤดูหนาวที่ใกล้จะมาถึง และอัตราเงินเฟ้อก็เกิน 300 เปอร์เซ็นต์ต่อปี โดยโรงงานต่าง ๆ ขาดเงินสดที่จำเป็นในการจ่ายเงินเดือน[9] ใน ค.ศ. 1990 เอสโตเนีย[10] ลัตเวีย[11] ลิทัวเนีย[12] และอาร์มีเนีย[13] ได้ประกาศการฟื้นฟูเอกราชจากสหภาพโซเวียต ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1991 มีความพยายามในการนำลิทัวเนียคืนสู่สหภาพโซเวียตโดยใช้กำลังเกิดขึ้น ประมาณหนึ่งสัปดาห์ต่อมา ความพยายามที่คล้ายคลึงกันนี้ได้รับการออกแบบโดยกองกำลังสนับสนุนโซเวียตในท้องถิ่นเพื่อโค่นล้มทางการลัตเวีย และยังมีความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ติดอาวุธอย่างต่อเนื่องในนากอร์โน-คาราบัคและเซาท์ออสซีเชีย

รัสเซียประกาศอำนาจอธิปไตยในวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1990 และหลังจากนั้นก็จำกัดการบังคับใช้กฎหมายของสหภาพโซเวียต โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายที่ควบคุมการเงินและเศรษฐกิจในดินแดนของรัสเซีย สภาโซเวียตสูงสุดแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียใช้กฎหมายที่ขัดแย้งกับกฎหมายของสหภาพโซเวียต (ที่เรียกว่าสงครามกฎหมาย)

ในการลงประชามติทั่วทั้งสหภาพเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1991 ซึ่งรัฐบอลติก อาร์เมเนีย จอร์เจีย และมอลเดเวีย คว่ำบาตรการลงประชามติ ประชากรส่วนใหญ่ในสาธารณรัฐอื่น ๆ แสดงความประสงค์ที่จะรักษาสหภาพโซเวียตที่ได้รับการต่ออายุใหม่ โดยมีคะแนนเสียงเห็นด้วย 77.85 เปอร์เซ็นต์ หลังจากการเจรจา สาธารณรัฐ 8 ใน 9 แห่ง (ยกเว้นยูเครน) ได้อนุมัติสนธิสัญญาสหภาพใหม่โดยมีเงื่อนไขบางประการ สนธิสัญญากำหนดให้สหภาพโซเวียตเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐอิสระที่เรียกว่าสหภาพสาธารณรัฐอธิปไตยโซเวียต โดยมีประธานาธิบดี นโยบายต่างประเทศ และการทหารร่วมกัน โดยรัสเซีย คาซัคสถาน และอุซเบกิสถานจะลงนามในสนธิสัญญาที่กรุงมอสโก โดยกำหนดการลงนามคือวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1991[14][15]

ลำดับเหตุการณ์

[แก้]

สมาชิกคณะกรรมการสถานการณ์ฉุกเฉินแห่งรัฐ (GKChP) จำนวนแปดคน (ต่อมาเรียก "แก๊งแปด") ประชุมกันประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีเกนเนดี ยานาเยฟ รองประธานาธิบดีโซเวียต เป็นหัวหน้า เขาผ่านกฤษฎีกาแต่งตั้งตนเองเป็นรักษาการประธานาธิบดีเนื่องจากประธานาธิบดีกอร์บาชอฟ "ป่วย"[16]

19 สิงหาคม

[แก้]

เอกสารทั้งหมดของ GKChP มีการแพร่สัญญาณทางสถานีวิทยุและโทรทัศน์ของรัฐ มีการนำหน่วยยานเกราะของกองพลตามันสกายาและกองพลคันตามีรอฟสกายาเข้าสู่กรุงมอสโก ร่วมกับทหารส่งทางอากาศ ผู้แทนประชาชนของโซเวียตรัสเซียถูกเคจีบีควบคุมตัวจำนวนสี่คน[17] ผู้สมคบคิดพิจารณาควบคุมตัวประธานาธิบดีรัสเซียเยลต์ซินด้วยแต่ไม่ได้ลงมือด้วยเหตุใดไม่ทราบ การไม่จับกุมเยลต์ซินจะทำให้แผนรัฐประหารล้มเหลวในเวลาต่อมา[17][18][19]

เยลต์ซินเดินทางถึงทำเนียบขาว อาคารรัฐสภาของรัสเซีย ในเวลา 9.00 น. ออกแถลงการณ์ร่วมประณามคณะรัฐประหาร มีการเรียกร้องให้กองทัพไม่เข้าร่วม และให้ประชาชนนัดหยุดงานทั่วไปเพื่อให้กอร์บาชอฟสื่อสารกับประชาชน[20] มีการเผยแพร่แถลงการณ์ดังกล่าวในรูปใบปลิวในกรุงมอสโก

ในเวลาบ่าย พลเมืองกรุงมอสโกเริ่มชุมนุมกันรอบทำเนียบขาวแล้วตั้งสิ่งกีดขวางไว้โดยรอบ เกนเนดีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงมอสโกในเวลา 16.00 น. ขณะเดียวกัน พันตรีเอฟโกคิมอฟ เสนาธิการกองพันรถถังของกองพลตามันสกายาที่เฝ้าทำเนียบขาวอยู่ ประกาศภักดีต่อผู้นำโซเวียตรัสเซีย[20][21] เยลต์ซินปีนรถถังแล้วกล่าวสุนทรพจน์ ซึ่งออกข่าวในสื่อของรัฐด้วย[22]

20 สิงหาคม

[แก้]

เวลาเที่ยง พลเอกคาลินิน ผู้นำมณฑลทหารมอสโก ซึ่งเกนเนดีแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารกรุงมอสโก ประกาศเคอร์ฟิวในเมืองหลวงตั้งแต่เวลา 23.00 น. ถึง 5.00 น. มีผลตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม[23][24][20] เป็นสัญญาณว่ากำลังจะมีการโจมตีทำเนียบขาว ฝ่ายป้องกันทำเนียบขาวเตรียมการ ทั้งที่ไม่มีอาวุธ รถถังของเอฟโดคิมอฟถูกนำออกจากทำเนียบขาวในเวลาเย็น[25][26]

ในเวลาบ่าย คณะรัฐประหารตัดสินใจโจมตีทำเนียบขาว แต่ผู้บังคับบัญชาภาคสนามพยายามโน้มน้าวว่าปฏิบัติการนี้จะมีการนองเลือดและควรยกเลิก[17][23][27][28]

สภาสูงสุดของเอสโตเนียตัดสินใจในเวลา 23.03 น. ประกาศเอกราชเป็นครั้งแรกในรอบ 41 ปี

21 สิงหาคม

[แก้]

ในเวลา 1.00 น. มีพลเรือนเสียชีวิต 3 คนในเหตุปะทะระหว่างสองฝ่ายไม่ใกล้จากทำเนียบขาวมากนัก[29][25][30][31] ทหารไม่เคลื่อนเข้าทำเนียบขาวตามแผนและมีการสั่งถอนทหารออกจากกรุงมอสโก

เมื่อคณะรัฐประหารเข้าพบกอร์บาชอฟ กอร์บาชอฟประกาศให้คำสั่งของ GKChP เป็นโมฆะและปลดทั้งหมดออกจากตำแหน่ง อัยการสูงสุดเริ่มต้นสอบสวนรัฐประหาร[27][20]

ในช่วงเดียวกัน สภาสูงสุดของลัตเวียประกาศเอกราช

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Ольга Васильева, «Республики во время путча» в сб.статей: «Путч. Хроника тревожных дней». เก็บถาวร 2007-10-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน// Издательство «Прогресс», 1991. (in Russian). Accessed 2009-06-14. 17 June 2009.
  2. Solving Transnistria: Any Optimists Left? by Cristian Urse. p. 58. Available at http://se2.isn.ch/serviceengine/Files/RESSpecNet/57339/ichaptersection_singledocument/7EE8018C-AD17-44B6-8BC2-8171256A7790/en/Chapter_4.pdf
  3. http://www.lenta.ru/lib/14159799/full.htm. Accessed 13 September 2009. 16 September 2009-.
  4. Артем Кречетников. «Хроника путча: часть II» // BBC
  5. Р. Г. Апресян. Народное сопротивление августовскому путчу (recuperato il 27 novembre 2010 tramite Internet Archive)
  6. Mark Kramer, "The Dialectics of Empire: Soviet Leaders and the Challenge of Civil Resistance in East-Central Europe, 1968-91", in Adam Roberts and Timothy Garton Ash (eds.), Civil Resistance and Power Politics: The Experience of Non-violent Action from Gandhi to the Present, Oxford University Press, 2009 pp. 108-9.
  7. Sarker, Sunil Kumar (1994). The rise and fall of communism. New Delhi: Atlantic publishers and distributors. p. 94. ISBN 978-8171565153. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2021. สืบค้นเมื่อ 4 January 2017.
  8. "USSR: The food supply situation" (PDF). CIA.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 23 March 2018. สืบค้นเมื่อ 26 July 2019.
  9. Gupta, R.C. (1997). Collapse of the Soviet Union. India: Krishna Prakashan Media. p. 62. ISBN 978-8185842813. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2021. สืบค้นเมื่อ 4 January 2017.
  10. Ziemele (2005). p. 30.
  11. Ziemele (2005). p. 35.
  12. Ziemele (2005). pp. 38–40.
  13. Маркедонов Сергей Самоопределение по ленинским принципам เก็บถาวร 16 พฤศจิกายน 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  14. "Многоступенчатый запуск нового Союза намечен на 20 августа". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 June 2021. สืบค้นเมื่อ 24 March 2021.
  15. Союз можно было сохранить. Белая книга: Документы и факты о политике М. С. Горбачёва по реформированию и сохранению многонационального государства เก็บถาวร 10 มีนาคม 2021 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. — 2-е изд., перераб. и доп. — М.: АСТ, 2007. — С. 316 — 567 с.
  16. "Souz.Info Постановления ГКЧП". souz.info.
  17. 17.0 17.1 17.2 "Заключение по материалам расследования роли и участии должностных лиц КГБ СССР в событиях 19-21 августа 1991 года". flb.ru.
  18. ""Novaya Gazeta" No. 55 of 6 August 2001 (extracts from the indictment of the conspirators)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2005. สืบค้นเมื่อ 26 June 2007.
  19. ""Novaya Gazeta" No. 57 of 13 August 2001 (extracts from the indictment of the conspirators)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2007. สืบค้นเมื่อ 26 June 2007.
  20. 20.0 20.1 20.2 20.3 "Путч. Хроника тревожных дней". old.russ.ru. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2011. สืบค้นเมื่อ 26 June 2007.
  21. "Izvestia", 18 August 2006 (ในภาษารัสเซีย)[1]
  22. "Moskovskie Novosty", 2001, No.33 "Archived copy" (ภาษารัสเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2007. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2007.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  23. 23.0 23.1 (ในภาษารัสเซีย) "Novaya Gazeta" No. 51 of 23 July 2001 เก็บถาวร 15 กุมภาพันธ์ 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (extracts from the indictment of the conspirators)
  24. (ในภาษารัสเซีย) another "Kommersant" article เก็บถาวร 2008-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 18 August 2006
  25. 25.0 25.1 Kommersant เก็บถาวร 2008-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 18 August 2006 (ในภาษารัสเซีย)
  26. (ในภาษารัสเซีย) "Nezavisimoe Voiennoye Obozrenie", 18 August 2006
  27. 27.0 27.1 (ในภาษารัสเซีย) Timeline of the events เก็บถาวร 27 พฤศจิกายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, by Artem Krechnikov, Moscow BBC correspondent
  28. "Argumenty i Facty"[ลิงก์เสีย], 15 August 2001
  29. "Calls for recognition of 1991 Soviet coup martyrs on 20th anniversary". The Guardian Online. 16 August 2011. สืบค้นเมื่อ 9 March 2018.
  30. "Усов Владимир Александрович". warheroes.ru.
  31. A Russian site on Ilya Krichevsky "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 สิงหาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2010.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์). Accessed 15 August 2009. Archived 17 August 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]