เดียฟส์ สเวตี ลัตวิยู
คำแปล: ขอพระเจ้าอวยพรแก่ลัตเวีย | |
---|---|
โน้ตเพลงชาติเซอร์เวีย (เดียฟส์ สเวตี ลัตวิยู) | |
เนื้อร้อง | คาร์ลิส บาอูมานีซ, ค.ศ. 1873 |
ทำนอง | คาร์ลิส บาอูมานีซ, ค.ศ. 1873 |
รับไปใช้ | ค.ศ. 1920 |
ตัวอย่างเสียง | |
เดียฟส์ สเวตี ลัตวิยู! (ขับร้อง) |
เดียฟส์ สเวตี ลัตวิยู! (ลัตเวีย: Dievs, svētī Latviju!) มีความหมายว่า "ขอพระเจ้าอวยพรแก่ลัตเวีย" เป็นชื่อของเพลงชาติแห่งประเทศลัตเวีย ประพันธ์บทร้องและทำนองโดย คาร์ลิส บาอูมานีซ (Baumaņu Kārlis, ค.ศ. 1834–1904)
งานประพันธ์
[แก้]บทร้องและทำนองของเพลง "เดียฟส์ สเวตี ลัตวิยู!" ได้ประพันธ์ขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1873 โดย คาร์ลิส บาอูมานีซ ครูชาวลัตเวีย และผู้ร่วมในขบวนการชาตินิยมลัตเวียหนุ่ม (ลัตเวีย: jaunlatvieši) [1] สันนิษฐานว่าบาอูมานีซอาจยืมบทร้องบางส่วนของเพลงยอดนิยมเพลงหนึ่งในเวลานั้น ซึ่งขับร้องในท่วงทำนองของเพลงก็อดเซฟเดอะควีน โดยปรับปรุงบทร้องและใส่ทำนองใหม่ที่เขาแต่งขึ้นเอง บทร้องตั้งเดิมของบาอูมานีซนั้นแตกต่างจากบทร้องที่ใช้ในทุกวันนี้ กล่าวคือ เขาใช้ศัพท์ "บอลติก" ในลักษณะของคำที่แทนที่ความหมายกันได้กับคำว่า "ลัตเวีย" และ "ชาวลัตเวีย" และคำว่า "ลัตเวีย" ถูกอ้างถึงโดยตรงเฉพาะในตอนต้นของบทร้องวรรคแรกเท่านั้น ต่อมาคำว่า "ลัตเวีย" ได้ถูกยกออกจากเนื้อเพลงและแทนที่ด้วยคำว่า "บอลติก" เพื่อหลีกเลี่ยงการห้ามขับร้องและบรรเลงเพลงนี้ จากจุดนี้เองทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าคำว่า "ลัตเวีย" ไม่มีอยู่ในเพลง "เดียฟส์ สเวตี ลัตวิยู!" จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1920 เมื่อเพลงนี้ถูกเลือกให้เป็นเพลงชาติลัตเวีย และคำว่า "บอลติก" ถูกแทนที่ด้วยคำว่า "ลัตเวีย" ในทุกแห่ง[2][3]
บทร้อง
[แก้]เนื้อร้องฉบับราชการ
[แก้]ภาษาลัตเวีย [4] | สัทอักษรสากล | คำแปล | |
---|---|---|---|
|
[djɛws | svɛːtiː latviu ‖] |
|
เนื้อร้องฉบับแก้ไข ค.ศ. 1895
[แก้]ภาษาลัตเวีย[5] | สัทอักษรสากล | คำแปล | |
---|---|---|---|
|
[djɛws | svɛːtiː baltiu ‖] |
|
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Darba apraksts". LIIS mūzikas lapas (ภาษาลัตเวีย). Latvijas Izglītības informatizācijas sistēma. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-12. สืบค้นเมื่อ 2007-05-27.
- ↑ Dr. art. Arnolds Klotiņš (1998-11-13). "Latvijas svētās skaņas (Part I)" (ภาษาลัตเวีย). Latvijas Vēstnesis. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
- ↑ Dr. art. Arnolds Klotiņš (1998-11-17). "Latvijas svētās skaņas (Part II)" (ภาษาลัตเวีย). Latvijas Vēstnesis. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
- ↑ "Par Latvijas valsts himnu" (ภาษาลัตเวีย). Latvijas Vēstnesis. 1998-03-05. สืบค้นเมื่อ 2007-05-27.
- ↑ Teodors Zeiferts. Latviešu rakstniecības vēsture.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- The Latvian Institute เก็บถาวร 2021-02-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน