ข้ามไปเนื้อหา

ประจวบ กีรติบุตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประจวบ กีรติบุตร
ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2502 – 27 ตุลาคม พ.ศ. 2509
ก่อนหน้าพลตำรวจโท ขุนจำนงรักษา
ถัดไปพลตำรวจโท ต่อศักดิ์ ยมนาค
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 กันยายน พ.ศ. 2455
ตำบลตลาดน้อย อำเภอสัมพันธวงศ์ เมืองพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต20 มิถุนายน พ.ศ. 2510 (54 ปี)
โรงพยาบาลเมโมเรียล นครนิวยอร์ก สหรัฐ
คู่สมรสกระจ่างศรี ไชยเสวี (สมรส 2485)
บุตร4 คน
บุพการี
  • พระพิพิธพัสดุการ (เส็ง กีรติบุตร) (บิดา)
  • เหลี่ยม กีรติบุตร (มารดา)
ศิษย์เก่า
อาชีพตำรวจ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัด กรมตำรวจ
ประจำการพ.ศ. 2475 – พ.ศ. 2510
ยศ พลตำรวจโท
บังคับบัญชากองบัญชาการตำรวจนครบาล
ผ่านศึกกบฏบวรเดช
สงครามมหาเอเชียบูรพา

พลตำรวจโท ประจวบ กีรติบุตร (21 กันยายน พ.ศ. 2455 – 20 มิถุนายน พ.ศ. 2510) เป็นตำรวจชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่น ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ และผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เป็นพี่ชายของประเทือง กีรติบุตร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และเป็นบิดาของท่านผู้หญิงภรณี มหานนท์ ภริยาของพลตำรวจเอก ณรงค์ มหานนท์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ

ประวัติ

[แก้]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

พลตำรวจโท ประจวบ กีรติบุตร[1] เกิดเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2455 ที่ตำบลตลาดน้อย อำเภอสัมพันธวงศ์ เมืองพระนคร เป็นบุตรของอำมาตย์โท พระพิพิธพัสดุการ (เส็ง กีรติบุตร) กับเหลี่ยม กีรติบุตร มีพี่น้องทั้งหมด 8 คน

พลตำรวจโท ประจวบ กีรติบุตร สมรสกับท่านผู้หญิงกระจ่างศรี กีรติบุตร (สกุลเดิม ไชยเสวี) เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2485 มีบุตรธิดารวม 4 คนคือ

  1. ท่านผู้หญิงภรณี มหานนท์
  2. สุวิสาห์ กีรติบุตร
  3. สุรพิทย์ กีรติบุตร
  4. จิตระเสน กีรติบุตร

การศึกษา

[แก้]

พลตำรวจโท ประจวบ กีรติบุตร จบการศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนประถมวัดทองนพคุณ ในปี พ.ศ. 2463 ต่อมาศึกษาชั้นมัธยมที่โรงเรียนสุขุมาลลัย, โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ระหว่างปี พ.ศ. 2465 – พ.ศ. 2473 ต่อมาได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ในปี พ.ศ. 2475 – พ.ศ. 2478 เเละต่อมาได้สอบชิงทุนรัฐบาลและได้ไปเรียนวิชาการตำรวจ ณ ประเทศญี่ปุ่น จนได้รับประกาศนียบัตร และกลับประเทศไทยในปี พ.ศ. 2481

การทำงาน

[แก้]

พลตำรวจโท ประจวบ กีรติบุตร รับราชการที่กรมตำรวจ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 ในตำแหน่งรองสารวัตรสถานีตำรวจนครบาลจักรวรรดิ และได้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ดังนี้[2]

การรับราชการ

[แก้]

พลตำรวจโท ประจวบ กีรติบุตร เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าตำรวจรัฐตรังกานู (ปฏิบัติราชการในกองข้าหลวงใหญ่ทหารสี่รัฐมาลัย) รองผู้กำกับการตำรวจนครบาลกลาง ประจำกองบังคับการตำรวจนครบาล ผู้กำกับการตำรวจนครบาลที่ 5 รักษาราชการในตำแหน่งรองหัวหน้ากองปกครอง กรมตำรวจ รองผู้บังคับการตำรวจสันติบาล รองผู้บังคับการตำรวจนครบาลพระนครใต้ ผู้บังคับการตำรวจนครบาลพระนครเหนือ รักษาราชการในตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจนครบาลใต้ ผู้ว่าคดีศาลแขวงในจังหวัดพระนครและธนบุรี ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจนครบาล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล[3] ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และตำแหน่งสุดท้ายก่อนถึงแก่อนิจกรรม คือ ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ[4]

ราชการพิเศษ

[แก้]
  • พ.ศ. 2495 : เป็นนายตำรวจราชสำนักเวร[5][6]
  • พ.ศ. 2502 : เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ[7]
  • พ.ศ. 2504 : เป็นนายตำรวจราชสำนักพิเศษ[8]
  • เป็นคณะกรรมการงานพิเศษ
  • เป็นเทศมนตรีเทศบาลนครกรุงเทพ
  • เป็นกรรมการฝ่ายอำนวยการของกรมตำรวจ
  • เป็นกรรมการวางแผนของกรมตำรวจ
  • พ.ศ. 2509 : เป็นกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ.....[9]
  • พ.ศ. 2502 : เป็นกรรมาธิการการศึกษา การสาธารณสุข และการสาธารณูปการ

ถึงแก่อนิจกรรม

[แก้]

พลตำรวจโท ประจวบ กีรติบุตร ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2510 ที่โรงพยาบาลเมโมเรียล นครนิวยอร์ก สหรัฐ ด้วยโรคมะเร็งที่อวัยวะภายในบางส่วนและอาการแทรกซ้อนหลังจากผ่าตัดนิ่วถุงน้ำดี สิริอายุได้ 54 ปี 272 วัน พิธีพระราชทานเพลิงศพมีขึ้นที่เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส[10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

พลตำรวจโท ประจวบ กีรติบุตร ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้[1]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]
  •  กรีซ :
    • พ.ศ. 2506 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จอร์จที่ 1 ชั้นที่ 2[20]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 กองบัญชาการตำรวจนครบาล (2514). อนุสรณ์เนื่องในพระราชทานเพลิงศพ พลตำรวจโท ประจวบ กีรติบุตร ม.ว.ม., ป.ช., ท.จ. ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 18 มีนาคม 2514. โรงพิมพ์ไทยสัมพันธ์.
  2. กองบัญชาการตำรวจนครบาล (2514). อนุสรณ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตำรวจโท ประจวบ กีรติบุตร ม.ว.ม., ป.ช., ท.จ. ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 18 มีนาคม 2514. โรงพิมพ์ไทยสัมพันธ์.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๗๘๙, ๑๘ มีนาคม ๒๕๐๑
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๑๐๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๐๙
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งนายตำรวจราชสำนัก, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๗๐ ง หน้า ๔๔๓๖, ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๕
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งนายตำรวจราชสำนัก, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๙๑ ง หน้า ๒๘๗๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๘
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๒๑ ก ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายตำรวจราชสำนัก, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๙๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖, ๑ ธันวาคม ๒๕๐๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสภาร่างรัฐธรรมนูญ เรื่อง ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ....., เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๖๑ ง หน้า ๒๓๖๔, ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๐๙
  10. (2514). ประจวบอนุสรณ์ อนุสรณ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตำรวจโท ประจวบ กีรติบุตร ม.ว.ม., ป.ช., ท.จ. ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 18 มีนาคม 2514. ม.ป.พ.
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๘
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๔ มกราคม ๒๕๐๖
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๔๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๗ พฤษภาคม ๒๕๐๗
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๙๐, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
  15. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๓๔๖, ๑๓ กันยายน ๒๔๗๙
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๕ ง หน้า ๒๗๙๓, ๓๑ สิงหาคม ๒๔๘๖
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๕ ตอนที่ ๗๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๑๖, ๒๕ ธันวาคม ๒๔๙๑
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๗๒๓, ๒๒ มีนาคม ๒๔๙๘
  19. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๒๖ ง หน้า ๑๑๐๐, ๓๐ มีนาคม ๒๕๐๘
  20. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๐๑ ง หน้า ๒๓๕๖, ๑๕ ตุลาคม ๒๕๐๖