บาท (สกุลเงิน)
บาท | |
---|---|
Thai baht | |
ธนบัตรร้อยบาทไทยฉบับที่ 9 ในสมัยรัชกาลที่ 9 | |
ISO 4217 | |
รหัส | THB |
การตั้งชื่อ | |
หน่วยย่อย | |
1/100 | สตางค์ |
สัญลักษณ์ | ฿ |
ธนบัตร | |
ใช้บ่อย | 20, 50, 100, 500, 1000 บาท |
ไม่ค่อยใช้ | 50 สตางค์, 1, 5, 10 บาท |
เหรียญ | |
ใช้บ่อย | 25, 50 สตางค์, 1, 2, 5, 10 บาท |
ไม่ค่อยใช้ | 1, 5, 10 สตางค์ |
ข้อมูลการใช้ | |
ผู้ใช้ | อย่างเป็นทางการ ไทย |
การตีพิมพ์ | |
ธนาคารกลาง | ธนาคารแห่งประเทศไทย |
เว็บไซต์ | www.bot.or.th |
โรงพิมพ์ธนบัตร | สำนักกษาปณ์ |
เว็บไซต์ | www.royalthaimint.net |
การประเมินค่า | |
อัตราเงินเฟ้อ | >2.5% (ในวันที่ 15 พ.ค. 2555 เป็นต้นไป) |
ที่มา | The World Factbook (พ.ศ. 2549) |
บาท (ตัวละติน: Baht; สัญลักษณ์: ฿; รหัสสากลตาม ISO 4217: THB) เป็นสกุลเงินตราประจำชาติของประเทศไทย เดิมคำว่า "บาท" เป็นหนึ่งในคำใช้เรียกหน่วยการชั่งน้ำหนักของไทย ปัจจุบันยังมีใช้ในความหมายเดิมอยู่บ้าง โดยเฉพาะในการซื้อขายทองคำ เช่น "ทองคำวันนี้ราคาขายบาทละ32,000 บาท" หมายถึงทองคำหนักหนึ่งบาทสามารถขายได้ 32,000 บาท ในสมัยที่เริ่มใช้เหรียญครั้งแรก เงินเหรียญหนึ่งบาทนั้นเป็นเงินที่มีน้ำหนักหนึ่งบาทจริง ๆ ไม่ได้ทำด้วยทองแดงนิกเกิลเช่นในปัจจุบัน
เหรียญไทยนั้นผลิตออกมาโดยสำนักกษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง โดยสามารถผลิตออกใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนโดยไม่ต้องมีสิ่งใดมาค้ำประกัน เพราะโลหะที่ใช้ผลิตเหรียญกษาปณ์นั้นมีค่าในตัวเองอยู่แล้ว ส่วนธนบัตรนั้นผลิตและควบคุมการหมุนเวียนโดยธนาคารแห่งประเทศไทย การผลิตธนบัตรนำออกใช้จะมีหลักเกณฑ์วิธีที่เหมาะสมเพื่อให้เศรษฐกิจของชาติมีเสถียรภาพ
ตามข้อมูลของสมาคมเพื่อการโทรคมนาคมทางการเงินระหว่างธนาคารทั่วโลก (SWIFT) สกุลเงินบาทได้รับการอันดับเป็นสกุลเงินอันดับที่ 10 ของโลกที่ใช้ในการชำระเงินระหว่างประเทศ (most frequently used currencies in World Payments)[[1] 1]
ประวัติศาสตร์
[แก้]ระบบสกุลเงินไทยในปัจจุบัน ซึ่งเงิน หนึ่งบาท มีค่าเท่ากับ 100 สตางค์ เริ่มใช้ พ.ศ. 2440 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อนหน้านั้นเงินตราไทยใช้ระบบดังนี้
หน่วยเงิน | มูลค่า | หมายเหตุ |
---|---|---|
1 หาบ | 80 ชั่ง = 6,400 บาท | |
1 ชั่ง | 20 ตำลึง = 80 บาท | |
1 ตำลึง | 4 บาท | |
1 บาท | 1 บาท = 100 สตางค์ | |
1 มายน หรือ 1 มะยง | 12 บาท = 50 สตางค์ | ปัจจุบันยังมีการเรียกเหรียญมูลค่านี้ว่า เหรียญสองสลึง |
1 สลึง | 14 บาท = 25 สตางค์ | ปัจจุบันยังมีการเรียกเหรียญมูลค่านี้ว่า เหรียญสลึง |
1 เฟื้อง | 18 บาท = 12.5 สตางค์ | |
1 ซีก หรือ 1 สิ้ก | 116 บาท = 6.25 สตางค์ | |
1 เสี้ยว 1 เซี่ยว หรือ 1 ไพ | 132 บาท = 3.125 สตางค์ | |
1 อัฐ | 164 บาท = 1.5625 สตางค์ | |
1 โสฬส หรือ โสฬศ | 1128 บาท = 0.78125 สตางค์ | |
1 เบี้ย | 16400 บาท = 0.015625 สตางค์ |
เหรียญ
[แก้]ในปัจจุบันมีการผลิตเหรียญกษาปณ์อยู่ทั้งหมด 9 ชนิดคือ เหรียญ 1, 5, 10, 25 และ 50 สตางค์, 1, 2, 5 และ 10 บาท โดยเหรียญ 25 และ 50 สตางค์, 1, 2, 5 และ 10 บาท เป็นเหรียญที่ออกใช้หมุนเวียนทั่วไป ส่วนเหรียญ 1, 5 และ 10 สตางค์ ไม่ได้ออกใช้หมุนเวียนทั่วไป แต่ใช้ภายในธนาคารเท่านั้น
แต่ในปัจจุบันได้เกิดปัญหาราคาวัตถุดิบในการผลิตเหรียญสูงกว่าราคาเหรียญ ทำให้เกิดการลักลอบหลอมเหรียญไปขาย หรือบางครั้งก็เกิดปัญหาการใช้เหรียญผิด เพราะรูปร่างและสีของเหรียญบางชนิดนั้นคล้ายกัน (เช่น เหรียญ 1 บาท กับ เหรียญ 2 บาท แบบเก่า) ดังนั้น ใน พ.ศ. 2552 กระทรวงการคลัง ได้เปลี่ยนแปลงวัตถุดิบในการผลิตเหรียญบางชนิด เพื่อป้องกันการหลอมเหรียญ สร้างความแตกต่างของเหรียญ และลดความยุ่งยากในการใช้เหรียญเป็นดังนี้
เหรียญของเงินบาทไทย
[แก้]การหมุนเวียนของเงินตรา (ไทย) | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
มูลค่า | ตัวแปรทางเทคนิค | คำบรรยาย | ปีที่ผลิตครั้งแรก | |||||
เส้นผ่าศูนย์กลาง | มวล | องค์ประกอบ | ด้านหน้า | ด้านหลัง | ||||
เหรียญ 1 สตางค์ 1 | 15 มิลลิเมตร | 0.5 กรัม | 97.5% Al, 2.5% Mg | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร | วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร, จังหวัดลำพูน | พ.ศ. 2530 (1987) | ||
99% Aluminium | พ.ศ. 2551 (2008) | |||||||
เหรียญ 5 สตางค์ 1 | 16 มิลลิเมตร | 0.6 กรัม | 97.5% Al, 2.5% Mg | วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร, จังหวัดนครปฐม | พ.ศ. 2530 (1987) | |||
16.5 มิลลิเมตร | 99% Al | พ.ศ. 2551 (2008) | ||||||
เหรียญ 10 สตางค์ 1 | 17.5 มิลลิเมตร | 0.8 กรัม | 97.5% Al, 2.5% Mg | วัดพระธาตุเชิงชุม, จังหวัดสกลนคร | พ.ศ. 2530 (1987) | |||
99% Al | พ.ศ. 2551 (2008) | |||||||
เหรียญ 25 สตางค์ | 16 มิลลิเมตร | 1.9 กรัม | อะลูมีเนียมบรอนซ์ | วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร, จังหวัดนครศรีธรรมราช | พ.ศ. 2530 (1987) | |||
เหรียญ 25 สตางค์ (แบบ 2) | 16 มิลลิเมตร | 1.9 กรัม | ทองแดง ชุบ เหล็ก | พ.ศ. 2551 (2008) | ||||
เหรียญ 50 สตางค์ | 18 มิลลิเมตร | 2.4 กรัม | อะลูมีเนียมบรอนซ์ | วัดพระธาตุดอยสุเทพ, จังหวัดเชียงใหม่ | พ.ศ. 2530 (1987) | |||
เหรียญ 50 สตางค์ (แบบ 2) | 18 มิลลิเมตร | 2.4 กรัม | ทองแดง ชุบ เหล็ก | พ.ศ. 2551 (2008) | ||||
เหรียญ 1 บาท | 20 มิลลิเมตร | 3.4 กรัม | คิวโปรนิกเกิล | วัดพระศรีรัตนศาสดาราม, กรุงเทพมหานคร | พ.ศ. 2529 (1986) | |||
3 กรัม | นิกเกิล ชุบ เหล็ก | พ.ศ. 2551 (2008) | ||||||
เหรียญ 2 บาท | 21.75 มิลลิเมตร | 4.4 กรัม | นิกเกิล ชุบ เหล็กคาร์บอนต่ำ | วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร, กรุงเทพมหานคร | พ.ศ. 2548 (2005) | |||
21.75 มิลลิเมตร | 4 กรัม | อะลูมีเนียมบรอนซ์ | พ.ศ. 2551 (2008) | |||||
เหรียญ 5 บาท | 24 มิลลิเมตร | 7.5 กรัม | คิวโปรนิกเกิล หุ้ม ทองแดง | วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร, กรุงเทพมหานคร | พ.ศ. 2531 (1988) | |||
6 กรัม | พ.ศ. 2551 (2008) | |||||||
เหรียญ 10 บาท | 26 มิลลิเมตร | 8.5 กรัม | วงแหวน: คิวโปรนิกเกิล ตรงกลาง: อะลูมีเนียมบรอนซ์ |
วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร | พ.ศ. 2531 (1988) | |||
เหรียญ 10 บาท (แบบ 2) |
26 มิลลิเมตร | พ.ศ. 2551 (2008) |
การหมุนเวียนของเงินตรา (ไทย) | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
มูลค่า | ตัวแปรทางเทคนิค | คำบรรยาย | ปีที่ผลิตครั้งแรก | |||||
เส้นผ่าศูนย์กลาง | มวล | องค์ประกอบ | ด้านหน้า | ด้านหลัง | ||||
เหรียญ 1 สตางค์ 1 | 15 มิลลิเมตร | 0.5 กรัม | 97.5% Al, 2.5% Mg | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว | ตราสัญลักษณ์ ว.ป.ร. | พ.ศ. 2561 (2018) | ||
99% Aluminium | ||||||||
เหรียญ 5 สตางค์ 1 | 16 มิลลิเมตร | 0.6 กรัม | 97.5% Al, 2.5% Mg | |||||
16.5 มิลลิเมตร | 99% Al | |||||||
เหรียญ 10 สตางค์ 1 | 17.5 มิลลิเมตร | 0.8 กรัม | 97.5% Al, 2.5% Mg | |||||
99% Al | ||||||||
เหรียญ 25 สตางค์ | 16 มิลลิเมตร | 1.9 กรัม | อะลูมีเนียมบรอนซ์ | |||||
เหรียญ 25 สตางค์ (แบบ 2) | 16 มิลลิเมตร | 1.9 กรัม | ทองแดง ชุบ เหล็ก | |||||
เหรียญ 50 สตางค์ | 18 มิลลิเมตร | 2.4 กรัม | อะลูมีเนียมบรอนซ์ | |||||
เหรียญ 50 สตางค์ (แบบ 2) | 18 มิลลิเมตร | 2.4 กรัม | ทองแดง ชุบ เหล็ก | |||||
เหรียญ 1 บาท | 20 มิลลิเมตร | 3.4 กรัม | คิวโปรนิกเกิล | |||||
3 กรัม | นิกเกิล ชุบ เหล็ก | |||||||
เหรียญ 2 บาท | 21.75 มิลลิเมตร | 4.4 กรัม | นิกเกิล ชุบ เหล็กคาร์บอนต่ำ | |||||
21.75 มิลลิเมตร | 4 กรัม | อะลูมีเนียมบรอนซ์ | ||||||
เหรียญ 5 บาท | 24 มิลลิเมตร | 7.5 กรัม | คิวโปรนิกเกิล หุ้ม ทองแดง | |||||
6 กรัม | ||||||||
เหรียญ 10 บาท | 26 มิลลิเมตร | 8.5 กรัม | วงแหวน: คิวโปรนิกเกิล ตรงกลาง: อะลูมีเนียมบรอนซ์ | |||||
เหรียญ 10 บาท (แบบ 2) |
26 มิลลิเมตร |
ธนบัตร
[แก้]นับ แต่เริ่มนำธนบัตรออกใช้เมื่อพุทธศักราช 2445 จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยได้นำธนบัตรออกใช้รวมทั้งสิ้น 17 แบบ ซึ่งแบ่งเป็นธนบัตรก่อนจัดตั้งโรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แก่ ธนบัตรแบบ 1-10 รวมทั้งธนบัตรแบบพิเศษ และธนบัตรที่ผลิตจากโรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แก่ ธนบัตรแบบ 11-17
ธนบัตร ที่ใช้ในประเทศไทยในปัจจุบันมีหลายชนิด แต่หลายชนิดเป็นธนบัตรที่ระลึกที่มีจำนวนจำกัด และไม่ถูกใช้ในการหมุนเวียนทั่วไป เช่น ธนบัตรที่ระลึกมูลค่า 60 บาท เป็นต้น ส่วนธนบัตรที่ถูกใช้หมุนเวียนทั่วไป และยังมีการผลิตอยู่อย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน มี 5 ชนิด ได้แก่ ธนบัตร 20, 50, 100, 500 และ 1000 บาท
ธนบัตรแบบ 15 [1] เก็บถาวร 2013-02-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาพประธาน | ชนิดราคา | ขนาด | สี | คำอธิบาย | วันประกาศออกใช้ | วันจ่ายแลก | ||
ด้านหน้า | ด้านหลัง | ภาพด้านหน้า | ภาพด้านหลัง | |||||
ธนบัตร 20 บาท | 138 × 72 มม. | เขียว | พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเครื่องแบบจอมทัพ | พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ภาพพระราชกรณียกิจเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินที่สำเพ็ง และภาพสะพานพระราม 8 | 12 กุมภาพันธ์ 2546 | 3 มีนาคม 2546 | ||
ธนบัตร 50 บาท | 144 × 72 มม. | ฟ้า | พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ภาพลูกโลกดาว กล้องโทรทรรศน์ และภาพพระปฐมเจดีย์ | 19 มีนาคม 2547 | 1 ตุลาคม 2547 | |||
ธนบัตร 100 บาท | 150 × 72 มม. | แดง | พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบเต็มยศทหารเรือ และภาพพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการเลิกทาส | 5 กันยายน 2548 | 21 ตุลาคม 2548 | |||
ธนบัตร 500 บาท | 156 × 72 มม. | ม่วง | พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ภาพโลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร และภาพเรือสำเภา | 24 กรกฎาคม 2544 | 1 สิงหาคม 2544 | |||
ธนบัตร 1000 บาท | 162 × 72 มม. | น้ำตาล | พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ภาพเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และภาพเกษตรกรรมตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ | 29 กรกฎาคม 2548 | 25 พฤศจิกายน 2548 |
ธนบัตรแบบ 16 **[1] | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาพประธาน | ชนิดราคา | ขนาด | สี | คำอธิบาย | วันประกาศออกใช้ | วันจ่ายแลก | ||
ด้านหน้า | ด้านหลัง | ภาพด้านหน้า | ภาพด้านหลัง | |||||
ธนบัตร 20 บาท | 138 × 72 มม. | เขียว | พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ | พระบรมราชานุสาวรีย์ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประทับบนพระแท่นมนังศิลาบาตร ภาพการประดิษฐ์อักษรไทย ภาพศิลาจารึกหลักที่ 1 จารึกพ่อขุนรามคำแหง ภาพลายสือไทย ภาพทรงรับเรื่องราวร้องทุกข์ของราษฎร ภาพกระดิ่ง และภาพเครื่องสังคโลก | 2 พฤศจิกายน 2555 | 1 เมษายน 2556 [2] | ||
ธนบัตร 50 บาท | 144 × 72 มม. | ฟ้า | พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงหลั่งทักษิโณทก ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ทรงพระแสงดาบ นำทหารเข้าตีค่ายพม่า พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ อนุสรณ์ดอนเจดีย์ และพระเจดีย์ชัยมงคล วัดใหญ่ชัยมงคล | 24 มิถุนายน 2554 | 18 มกราคม 2555 [3] | |||
ธนบัตร 100 บาท | 150 x 72 มม. | แดง | พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ภาพทรงเกลี้ยกล่อมให้ประชาชนรวมกำลังกันต่อสู่กู้อิสรภาพ ภาพท้องพระโรงพระราชวังกรุงธนบุรี ภาพพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงม้าพระที่นั่งออกศึก และภาพป้อมวิไชยประสิทธิ์ | 27 ธันวาคม 2557 | 26 กุมภาพันธ์ 2558 [4] | |||
ธนบัตร 500 บาท | 156 x 72 มม. | ม่วง | พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ภาพวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ภาพป้อมพระสุเมรุ | 27 ธันวาคม 2556 | 12 พฤษภาคม 2557 [5] | |||
ธนบัตร 1000 บาท | 162 x 72 มม. | น้ำตาล | พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ภาพพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงม้าพระที่นั่ง ภาพพระที่นั่งอนันตสมาคม และภาพการเลิกทาส | 17 สิงหาคม 2558 | 21 สิงหาคม 2558[6] |
ธนบัตรแบบ 17 [7] | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาพประธาน | ชนิดราคา | ขนาด | สี | คำอธิบาย | วันประกาศออกใช้ | วันจ่ายแลก | ||
ด้านหน้า | ด้านหลัง | ภาพด้านหน้า | ภาพด้านหลัง | |||||
ธนบัตร 20 บาท | 138 × 72 มม. | เขียว | พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารอากาศ | พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย | 8 มีนาคม 2561[8] | 6 เมษายน 2561 | ||
ธนบัตร 20 บาท | 138 × 72 มม. | เขียว | 20 มกราคม 2565[9] | 24 มีนาคม 2565 | ||||
ธนบัตร 50 บาท | 144 × 72 มม. | ฟ้า | พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | 8 มีนาคม 2561 | 6 เมษายน 2561 | |||
ธนบัตร 100 บาท | 150 × 72 มม. | แดง | พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว | 8 มีนาคม 2561 | 6 เมษายน 2561 | |||
ธนบัตร 500 บาท | 156 × 72 มม. | ม่วง | พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล | 8 มีนาคม 2561 | 28 กรกฎาคม 2561 | |||
ธนบัตร 1000 บาท | 162 × 72 มม. | น้ำตาล | พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว | 8 มีนาคม 2561 | 28 กรกฎาคม 2561 |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-20. สืบค้นเมื่อ 2015-04-06.
- ↑ "ธปท.เปิดตัวแบงก์ 50 ใหม่ เริ่มใช้ 18 ม.ค.-ปลอมยาก!". ASTV Manager Daily. สืบค้นเมื่อ 12 Jan 2012.
- ↑ "ธปท.ออกใช้ธนบัตรชนิดราคา 20บาท แบบใหม่". Than Setthakij. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-20. สืบค้นเมื่อ 28 Mar 2013.
- ↑ Press release announcing the issuance of the Series 16 100 baht banknote เก็บถาวร 2015-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Bank of Thailand (www.bot.or.th). Retrieved on 2015-02-24 (อังกฤษ)
- ↑ Press release announcing the issuance of the Series 16 500 baht banknote เก็บถาวร 2015-04-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Bank of Thailand (www.bot.or.th). Retrieved on 2014-05-08 (อังกฤษ)
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-10. สืบค้นเมื่อ 2015-08-17.
- ↑ https://www.bot.or.th/Thai/AboutBOT/Activities/Pages/Banknote_Rama10.aspx[ลิงก์เสีย]
- ↑ "แบงก์ชาติเตรียมออกใช้ธนบัตรแบบใหม่ ครั้งแรกในสมัย ร.10". sanook. สืบค้นเมื่อ 8 Mar 2018.
- ↑ "ธปท. เตรียมออกใช้ธนบัตรผลิตจากพอลิเมอร์ ชนิดราคา 20 บาท เริ่มใช้ 24 มี.ค. นี้". sanook. สืบค้นเมื่อ 20 Jan 2022.
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- สำนักกษาปณ์
- ข้อมูลของเหรียญจากกรมธนารักษ์
- สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เก็บถาวร 2008-03-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ข้อมูลของธนบัตรจากธนาคารแห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2014-12-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "[1]" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="[1]"/>
ที่สอดคล้องกัน