แมกนีเซียม
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
แมกนีเซียม (อังกฤษ: Magnesium) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ Mg และเลขอะตอม 12 แมกนีเซียมเป็นธาตุที่มีอยู่มากเป็นอันดับ 8 และเป็นส่วนประกอบของเปลือกโลกประมาณ 2% และเป็นธาตุที่ละลายในน้ำทะเลมากเป็นอันดับ 3 โลหะอัลคาไลเอิร์ธตัวนี้ส่วนมากใช้เป็นตัวผสมโลหะเพื่อทำโลหะผสมอะลูมิเนียม-แมกนีเซียม
การค้นพบ
[แก้]ผู้ค้นพบธาตุแมกนีเซียม ซึ่งมีสามบุคคลที่เป็นนักเคมีแต่ละคนจะมีความเกี่ยวข้องกับความก้าวหน้าที่สำคัญ
- Joseph Black แพทย์ นักฟิสิกส์และนักเคมีชาวสก็อตและคนแรกที่ได้รับการยอมรับว่าผงขาว (MgO) เป็นสารประกอบของตัวเองใน ค.ศ. 1755 เขาพบว่ามันถูกแยกออกจากกันแคลเซียมคาร์บอเนต
- Sir Humphry Davy นักเคมีชาวอังกฤษที่มีเครดิตอย่างกว้างขวางว่าเป็นบุคคลที่ค้นพบแมกนีเซียมใน ค.ศ. 1808 ผู้บุกเบิกในการอิเล็กโทรไลต์ Davy ใช้วิธีการใหม่แล้วที่จะแยกแมกนีเซียมเป็นองค์ประกอบของตัวเอง
- Antoine AB Bussy นักเคมีชาวฝรั่งเศสที่เป็นคนแรกที่ค้นพบวิธีการที่จะแยกแมกนีเซียมในปริมาณมาก เขาเผยแพร่ผลการวิจัยของเขาใน ค.ศ. 1831 ใน "Mémoire sur le Radical métallique de la Magnésie"[1]
สมบัติทางเคมี
[แก้]สามารถทำปฏิกิริยาอย่างช้า ๆ กับน้ำเย็น และจะรวดเร็วมากขึ้นถ้าใช้น้ำร้อนได้ก๊าซไฮโดรเจน และทำปฏิกิริยากับกรดได้อย่างรวดเร็วเกิดก๊าซไฮโดรเจน แมกนีเซียมมีสถานะเป็นโลหะ ถูกนำมาใช้ในทางการค้าและเมื่อนำแมกนีเซียมมาเปรียบเทียบกับโลหะชนิดอื่น ๆ คุณสมบัติที่เด่นชัดที่สุดของแมกนีเซียมคือการเป็นโลหะที่มีน้ำหนักเบา นอกจากนี้แมกนีเซียมยังมีคุณสมบัติในการนำไปแปรรูปที่ง่ายมากและยังมีความแข็งแรงมากอีกด้วย ซึ่งความแข็งแรงของของแมกนีเซียมนั้นจะขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ ยิ่งบริสุทธิ์มากความแข็งแรงของแมกนีเซียมก็จะน้อยลง เพราะด้วยเหตุนี้แมกนีเซียมส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดที่ถูกนำมาใช้จะอยู่ในรูปของแมกนีเซียมผสม แมกนีเซียมสามารถนำไปขึ้นรูปได้โดยการรีด ดึง ตี ได้ง่าย และสามารถนำใช้ทำดอกไม้ไฟ พลุ ได้อีกด้วย และใช้ทำเป็นวัสดุผสม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการออกซิเดชันในโลหะต่าง ๆ หากเกิดการออกซิเดชันแล้วจะเกิดการกร่อนของโลหะเกิดขึ้น เช่น อะลูมิเนียมผสมทองแดงผสม [2]
ความสำคัญ
[แก้]- แมกนีเซียมมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เป็นธาตุที่ช่วยให้ผ่อนคลายความเครียดได้ และยังเป็นส่วนในการช่วยการเปลี่ยนแปลงน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานอีกด้วย โดยทั่วไปปกติในร่างกายของมนุษย์จะมีแมกนีเซียมเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 21 กรัม (21,000 มิลลิกรัม)
- หากร่างกายขาดแมกนีเซียม จะส่งผลให้ภูมิคุ้มกันป้องกันระบบกล้ามเนื้อและระบบย่อยอาหารอาจทำงานผิดปกติ ระบบประสาทบางส่วนอาจถูกทำลาย กระดูกอ่อนจนร่างกายรับน้ำหนักไม่ไหว ร่างกายจะเก็บสะสมพลังงานไว้ไม่ได้ โดยศัตรูของแมกนีเซียม ได้แก่ แอลกอฮอล์ และยาขับปัสสาวะ นอกจากนี้คนที่ผิวแพ้ง่ายมักจะขาดแมกนีเซียม เนื่องจากแมกนีเซียมน้อยเกินไปจะทำให้เกิดการแบ่งเซลล์ที่ไม่ดี การสร้างเกราะป้องกันผิวก็แย่ตามไปด้วย
- แมกนีเซียมยังจำเป็นสำหรับการพัฒนาเซลล์ให้เปลี่ยนเป็นเซลล์ชั้นขี้ไคลด้วยและยังช่วยลดการหลังของฮีสตามีน ที่เป็นสาเหตุของอาการคันของผิวหนังด้วย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยเผาผลาญไขมันและเปลี่ยนเป็นพลังงาน ช่วยรักษาอาการซึมเศร้า ช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอล ช่วยทำให้หลอดเลือดและหัวใจแข็งแรง ป้องกันโรคหัวใจวายเฉียบพลัน ช่วยทำให้ฟันแข็งแรง และยังช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้อีกด้วย[3]
ในสภาพแวดล้อม
[แก้]แมกนีเซียมเป็นธาตุที่มีมากที่สุดเป็นอันดับ 8 และเป็นส่วนประกอบของเปลือกโลกประมาณ 2% ของเปลือกโลกโดยน้ำหนักและแมกนีเซียมก็เป็นธาตุที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดที่ละลายในน้ำทะเล แมกนีเซียมมีอยู่มากในธรรมชาติ และจะพบในแร่ธาตุหินมาก เช่น โดโลไมต์ แม่เหล็ก แมกนีเซียมยังพบในน้ำทะเล น้ำทะเลใต้ดิน แมกนีเซียมมีโครงสร้างเป็นโลหะที่มีมากที่สุดในเปลือกโลกเกินโดยเฉพาะมีมากกว่าอะลูมิเนียมและเหล็ก [4]
ผลกระทบต่อสุขภาพของแมกนีเซียม
[แก้]การสัมผัส: การสัมผัสกับแมกนีเซียม แมกนีเซียมมีความเป็นพิษที่ต่ำและไม่ถือว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
การสูดดม: การสูดดมทำให้ระคายเคืองเยื่อเมือกและระบบทางเดินหายใจส่วนบน ส่งผลให้หายใจไม่สะดวก
ตา: ทำให้เกิดการระคายเคืองและอนุภาคของแมกนีเซียมสามารถฝังในตาได้
ผิวหนัง: การฝังของอนุภาคในผิว
การบริโภคผงแมกนีเซียมในปริมาณมากอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง แมกนีเซียมยังไม่ได้ทดสอบ แต่มันก็ไม่ได้สงสัยว่าเป็นสารก่อมะเร็งกลายพันธุ์ การสัมผัสกับแมกนีเซียมออกไซด์ ภายหลังจากการเผาไหม้ การเชื่อมหรืองานโลหะหลอมเหลว สามารถทำให้ไข้ฟูมโลหะที่มีอาการชั่วคราวต่อไปนี้ มีไข้หนาวสั่นคลื่นไส้อาเจียนและปวดกล้ามเนื้อ เหล่านี้มักจะเกิดขึ้นได้ 4–12 ชั่วโมงหลังจากได้รับและมีอายุนานถึง 48 ชั่วโมง[5]
อันตรายทางกายภาพ
[แก้]แมกนีเซียมอาจติดไฟได้เองเมื่อสัมผัสกับอากาศหรือความชื้นที่ระคายเคืองหรือเป็นพิษ ทำปฏิกิริยารุนแรงกับอนุมูลอิสระที่แข็งแกร่ง ทำปฏิกิริยารุนแรงกับสารที่ก่อให้เกิดไฟ[6]
การปฐมพยาบาล
[แก้]การสูดดม: ไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์
ตา: ล้างตาด้วยน้ำให้สะอาด ปรึกษาแพทย์
ผิวหนัง: ล้างด้วยสบู่และน้ำอย่างละเอียดเพื่อขจัดอนุภาคของแมกนีเซียม
การกลืนกิน: ถ้าหากกินผงแมกนีเซียมเข้าไปเป็นจำนวนมากจะทำให้อาเจียนและควรไปปรึกษาแพทย์[7]
การรับประทานแมกนีเซียม
[แก้]แนะนำให้รับประทานแมกนีเซียม เป็นอาหารเสริมประมาณวันละ 300 มก. และควรรับประทาน แมกนีเซียม ที่ไม่มีผลทำให้เกิดอาการถ่ายเหลว เช่น แมกนีเซียมออกไซด์ และ แมกนีเซียมฟอสเฟต ซึ่งร่างกายจะได้รับธาตุฟอสฟอรัส ช่วยในการสร้างความหนาแน่นของกระดูก [8]
ข้อควรระวังในการรับประทาน
[แก้]แมกนีเซียม คือ ควรควบคุมปริมาณของแคลเซียมควบคู่ไปด้วย โดยอัตราส่วนของแคลเซียมต่อแมกนีเซียมควรจะอยู่ประมาณ 600 มก.ต่อ 300 มก. แต่ในความเป็นจริงคนส่วนใหญ่ได้รับแมกนีเซียมเพียง 150-300 มก. ในขณะที่แคลเซียมมีคนหันมาบริโภคมากขึ้นเพื่อป้องกันโรคกระดูกในผู้สูงอายุนั้นควรใส่ใจกับปริมาณของแมกนีเซียมด้วยเช่นกัน ผู้ดื่มนมในปริมาณมากควรหันมาบริโภคแมกนีเซียมให้มากขึ้น หากได้รับแคลเซียม มากเกินไปจะไปขัดขวางการดูดซึมแมกนีเซียมในร่างกาย[9]
หน้าที่และประโยชน์
[แก้]แมกนีเซียม จะสังเคราะห์โปรตีนให้ร่างกาย และเป็นโคเอนไซม์ที่สำคัญที่สุดชนิดหนึ่งในร่างกายที่จะทำงานร่วมกับ แคลเซียม อันเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย แมกนีเซียม ยังช่วยให้การผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ เป็นปกติ มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบกล้ามเนื้อและเซลล์ต่างๆ มีผลต่อการทำงานของระบบประสาท ระบบย่อยอาหาร ระบบสืบพันธุ์ ระบบเลือด และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยหน้าที่และประโยชน์ของแมกนีเซียม มีดังนี้
- มีส่วนควบคุมการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อเช่นเดียวกับ แคลเซียม โดยจำเป็นสำหรับการส่งสัญญาณทางประสาทและการหดตัวของกล้ามเนื้อ
- ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ที่จำเป็นสำหรับการเผาผลาญสารอาหาร และการสังเคราะห์โปรตีน
- ช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย มีส่วนเกี่ยวข้องกับการต้านทานความหนาว ในที่อากาศเย็น ความต้องการแมกนีเซียมจะสูงขึ้น
- จำเป็นสำหรับการเติบโตของกระดูกและฟัน
- สำคัญในการนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ของวิตามิน บี ซี และ อี
- จำเป็นสำหรับการเผาผลาญแคลเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม และโพแทสเซียม
- ป้องกันโรคทางหลอดเลือดหัวใจ โดยจะไปลดความดันเลือดลงและป้องกันการเกาะของโคเลสเตอรอลในหลอดเลือดแดง ช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ
- ช่วยในการควบคุมสมดุลของกรด–ด่างในร่างกาย
- อาจทำหน้าที่เป็นตัวยาสงบประสาทตามธรรมชาติช่วยบรรเทาอาการปวดไมเกรน และลดความถี่ในการเกิดได้ ลดอาการซึมเศร้า และช่วยให้นอนหลับโดยเป็นตัวที่ช่วยในการสร้างสารเมลาโตนิน
- ป้องกันไม่ให้ แคลเซียม จับตัวอยู่ตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น ไต
- จำเป็นต่อการรวมตัวของ parathyroid hormone ซึ่งมีบทบาทในการดึงเอาแคลเซียมออกจากกระดูก
- ป้องกันการแข็งตัวของเลือด
- ลดอาการปวดเค้นหน้าอกในผู้ป่วยโรคหัวใจ
- ป้องกันและรักษาโรคหอบหืด
- บรรเทาและป้องกัน อาการปวดประจำเดือนโดยการคลายกล้ามเนื้อมดลูก
- การรับประทานแมกนีเซียม จะช่วยลดการเกิดตะคริวในหญิงมีครรภ์ที่มีระดับของแมกนีเซียมต่ำได้
- ช่วยป้องกันการเกิดอาการ ไมเกรน คนที่มีปัญหาโรค ไมเกรน มักจะมีปริมาณ แมกนีเซียม ในเลือดต่ำ
- ช่วยบรรเทาอาการที่เกี่ยวกับสมองได้ เช่น ซึมเศร้า ไมเกรน เครียด
แหล่งแมกนีเซียมในธรรมชาติ
[แก้]แมกนีเซียมสามารถพบได้ใน ผักสีเขียวเข้ม กล้วย ข้าวกล้อง มะเดื่อ ฝรั่ง อัลมอนต์ ข้าวสาลี ข้าวบาร์เล่ย์ ข้าวโพด จมูกข้าวสาลี เมล็ดธัญพืช เช่น ถั่วลิสง งา และในเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ [11]
การประยุกต์ใช้งาน
[แก้]สารประกอบแมกนีเซียมถูกนำมาใช้เป็นวัสดุทนความร้อนในเตาเผาวัสดุ และใช้บุผิวในการผลิตโลหะ (เหล็ก เหล็กกล้า โลหะ แก้วและปูนซีเมนต์) ที่มีความหนาแน่นเพียง 2 ใน 3 ของอะลูมิเนียม และมีการใช้งานจำนวนมากในกรณีที่มีการลดน้ำหนักในการสร้างเครื่องบินและสร้างขีปนาวุธ [12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-12-04.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-10. สืบค้นเมื่อ 2014-12-05.
- ↑ หนังสือวิตามินไบเบิล (ดร.เอิร์ล มินเดลล์)
- ↑ http://www.lenntech.com/periodic/elements/mg.htm#ixzz3Kpka7x9T
- ↑ http://www.lenntech.com/periodic/elements/mg.htm#ixzz3Kpka7x9T
- ↑ http://www.lenntech.com/periodic/elements/mg.htm#ixzz3Kpka7x9T
- ↑ http://www.lenntech.com/periodic/elements/mg.htm#ixzz3Kpka7x9T
- ↑ Bionutrition , นายแพทย์เรย์ ดี แสตรนด์
- ↑ Bionutrition, นายแพทย์เรย์ ดี แสตรนด์
- ↑ หนังสือวิตามินไบเบิล (ดร.เอิร์ล มินเดลล์)
- ↑ • Bionutrition, นายแพทย์เรย์ ดี แสตรนด์
- ↑ http://www.lenntech.com/periodic/elements/mg.htm#ixzz3Kpka7x9T