ข้ามไปเนื้อหา

เหรียญ 1 บาท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
1 บาท
ประเทศไทย
มูลค่า1.00 บาท
น้ำหนัก3.0 g
เส้นผ่านศูนย์กลาง20 mm
ความหนา1 mm
ขอบเฟือง
ส่วนประกอบเหล็กชุบนิกเกิล
ปีที่ผลิตเหรียญ2403 – ปัจจุบัน
หมายเลขบัญชี-
ด้านหน้า
การออกแบบพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ผู้ออกแบบผู้ออกแบบ : ไชยยศ สุนทราภา
ผู้ปั้นแบบ : ธรรมนูญ แก้วสว่าง
วันที่ออกแบบ2560
ด้านหลัง
การออกแบบอักษรพระปรมาภิไธย วปร ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ
ผู้ออกแบบผู้ออกแบบ : ไชยยศ สุนทราภา
ผู้ปั้นแบบ : ธรรมนูญ แก้วสว่าง
วันที่ออกแบบ2560

เหรียญ 1 บาท เป็นเหรียญของสกุลเงินบาท ที่ใช้ในประเทศไทย แบ่งออกเป็นเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนที่ผลิตออกมาตามความต้องการใช้งานในระบบ ไม่มีข้อจำกัดเรื่องจำนวน และเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกที่ทำขึ้นจำนวนจำกัดเพื่อเป็นที่ระลึก แต่ยังสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาทในชุดปัจจุบัน เป็นเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนรุ่นแรกในรัชกาลที่ 10 มีด้านหน้าเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนด้านหลังเป็น อักษรพระปรมาภิไธย วปร ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ ออกใช้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2561 โดยใช้วัตถุดิบ ขนาด และน้ำหนักเท่ากับเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนในปีก่อนหน้า โดยเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนรัชกาลที่ 9 ยังคงใช้ได้ตามปกติ[1]

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน 1 บาทในอดีต

[แก้]

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2529-2560

[แก้]

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนราคา 1 บาท รุ่นนี้ ด้านหน้าเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ด้านหลังเป็นภาพของพระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ประกาศออกใช้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2529

ในปี พ.ศ. 2552 กรมธนารักษ์ได้ปรับปรุงลวดลายของเหรียญ และเปลี่ยนโลหะที่ใช้ผลิตเหรียญ 1 บาท เป็นโลหะไส้เหล็กชุบนิกเกิล น้ำหนักของเหรียญลดลงเป็น 3.00 กรัม จากเดิม 3.40 กรัม โดยที่ยังมีขนาดความหนาและเส้นผ่านศูนย์กลางเท่าเดิม[2] การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในระยะเริ่มแรกไม่เป็นที่รับรู้ของประชาชนมากนัก และเหรียญแบบใหม่นี้ในช่วงแรกยังไม่สามารถใช้กับตู้หยอดเหรียญโดยทั่วไปได้ ทำให้เกิดกระแสข่าวว่าอาจเป็นเหรียญปลอม[3][4]

จำนวนการผลิต

[แก้]
ปีที่ผลิต จำนวนการผลิต (เหรียญ)
2529 4,200,000
2530 329,471,000
2531 391,472,000
2532 466,684,000
2533 409,924,000
2534 329,946,380
2535 426,230,000
2536 235,623,000
2537 475,200,000
2538 589,394,650
2539 98,487,000
2540 350,660,600
2541 25,252,000
2542 224,389,000
2543 468,610,000
2544 385,140,000
2545 266,025,000
2546 236,533,000
2547 903,964,000
2548 1,137,820,000
2549 778,061,000
2550 614,866,877
2551 (แบบเก่า) 660,307,123
2552 (แบบใหม่) 507,250,000
2553 ไม่มีข้อมูล
2554 ไม่มีข้อมูล
2555 ไม่มีข้อมูล
2556 ไม่มีข้อมูล
2557 ไม่มีข้อมูล
2558 ไม่มีข้อมูล
2559 ไม่มีข้อมูล
2560 830,000,000[5]

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 1 บาท

[แก้]
  • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเสด็จนิวัตรพระนคร
  • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกรัชกาลที่ 9 พระชนมายุครบ 3 รอบ
  • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 5
  • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 6
  • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ
  • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
  • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกองค์การอนามัยโลก ครบ 25 ปี
  • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกกีฬาแหลมทองครั้งที่ 8
  • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกพระชนมายุครบ 75 พรรษา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
  • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ พ.ศ. 2520
  • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดาฯ ทรงสำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
  • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
  • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 8
  • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในวันอาหารโลก
  • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในมหามงคลสมัยพระราชพิธีกาญจนาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

เกี่ยวกับเหรียญ

[แก้]
  • ในปี พ.ศ. 2539 กรมธนารักษ์จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิดราคา 1 บาท เพื่อเฉลิมฉลองพระราชพิธีกาญจนาภิเษก โดยผลิตควบคู่ไปกับเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาท พ.ศ. 2539 เนื่องจากจำนวนเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกมีถึง 272,512,000 เหรียญ ซึ่งเป็นปริมาณที่มากกว่าจำนวนเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนในปีเดียวกันหลายเท่า อีกทั้งเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกยังได้ถูกนำมาใช้จ่ายทั่วไปในท้องตลาด ทำให้ประชาชนไม่ค่อยพบเห็นเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาท พ.ศ. 2539 มากนัก

อ้างอิง

[แก้]
  1. "เริ่มใช้เหรียญกษาปณ์ ร.10 หมุนเวียน 6 เม.ย.นี้". Thai PBS. 28 มีนาคม พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน พ.ศ. 2561. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. แถลงข่าวออกใช้เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชุดใหม่ข่าวจากกรมธนารักษ์ เก็บถาวร 2009-03-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. เหรียญบาทเก๊โผล่ที่แผงผัก[ลิงก์เสีย] ข่าวจากหนังสือพิมพ์เชียงใหม่นิวส์ [ลิงก์เสีย]
  4. "กรมธนารักษ์เชียงใหม่แจ้ง ไม่มี'บาท'ปลอมระบาด". ไทยรัฐออนไลน์. 2009-09-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-03.
  5. ใหม่เหรียญ1บาทพ่อหลวงปี2560ที่น่าสะสม วิดีโอจากยูทูบ

ดูเพิ่ม

[แก้]