กฎหมายแรงงานไทย
กฎหมายแรงงานของประเทศไทยอยู่ภายใต้กรอบพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาหลายฉบับ กฎหมายหลักได้แก่ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงแรงงาน กรอบกฎหมายส่วนใหญ่ได้รับการพัฒนาในช่วงกลางถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 พร้อมกับที่เศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วเริ่มตั้งแต่ช่วงสงครามเย็น
แม้กฎหมายคุ้มครองสิทธิในการสมาคมและจัดระเบียบเพื่อต่อรองร่วมกันของผู้ใช้แรงงาน และอนุญาตให้ผู้ใช้แรงงานตั้งสหภาพแรงงานได้ แต่ในทางปฏิบัติ การคุ้มครองดังกล่าวไม่เพียงพอ ทำให้เกิดระบบสหภาพแรงงานที่อ่อนแอโดยทั่วไป กฎหมายยังคุ้มครองเฉพาะผู้ใช้แรงงานในภาคแรงงานอย่างเป็นทางการเท่านั้น และบ่อยครั้งไม่ครอบคลุมถึงประชากรคนงานเข้าเมืองขนาดใหญ่ของประเทศ ซึ่งมีจำนวนมากที่ได้รับว่าจ้างโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย วัตรทาสสมัยใหม่ (modern slavery) ในบางอุตสาหกรรมของประเทศกลายเป็นเป้าสนใจของนานาประเทศในคริสต์ทศวรรษ 2010
งานต้องห้ามแก่คนต่างด้าว
[แก้]รัฐบาลชาตินิยมจอมพล ป. พิบูลสงครามในคริสต์ทศวรรษ 1940 ออกกฎหมายสงวนบางอาชีพให้เฉพาะแก่บุคคลสัญชาติไทย
ก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2561 คนต่างด้าวไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในอาชีพต่อไปนี้[1] ปัจจุบันรายการดังกล่าวอยู่ระหว่างการแก้ไข โดยมี 12 อาชีพที่เดิมสงวนไว้แก่บุคคลสัญชาติไทยจะเปิดให้แก่คนต่างด้าว[2]
- งานใช้แรงงาน ยกเว้นงานบนเรือประมง
- เกษตรกรรม การเลี้ยงสัตว์ การทำไม้หรือการประมง ยกเว้นงานที่ต้องอาศัยความรู้พิเศษ การควบคุมดูแลไร่นา หรือแรงงานบนเรือประมง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประมงในทะเล
- การทำอิฐ ช่างไม้ หรืองานก่อสร้างอื่น
- การแกะสลักไม้
- การขับยานยนต์หรือยานพาหนะซึ่งไม่ใช้เครื่องยนต์หรือเครื่องกล ยกเว้นการขับเครื่องบินระหว่างประเทศ
- การขายสินค้ามีหน้าร้านและงานขายประมูล
- การควบคุมดูแล การสอบบัญชี หรือการให้บริการในด้านการบัญชี ยกเว้นการสอบบัญชีภายในเป็นครั้งคราว
- การตัดหรือเจียระไนพลอยเนื้อแข็งหรือพลอยเนื้ออ่อน
- การตัดผม การแต่งผม หรือการเสริมสวย
- ผ้าทอมือ
- การสานเสื่อหรือการผลิตเครื่องใช้จากอ้อ หวาย ปอ ฟางหรือไผ่
- การทำกระดาษสาด้วยมือ
- งานลงรัก
- การผลิตเครื่องดนตรีไทย
- งานเครื่องถม
- ช่างทองคำ ช่างเงิน หรืองานช่างโลหะผสมทองคำ/ทองแดง
- งานก่อสร้างหิน
- การผลิตตุ๊กตาไทย
- การผลิตฟูกหรือผ้านวม
- การผลิตบาตร
- การผลิตผลิตภัณฑ์ไหมด้วยมือ
- การผลิตพระพุทธรูป
- การผลิตมีด
- การผลิตร่มกระดาษหรือผ้า
- การผลิตรองเท้า
- การผลิตหมวก
- การเป็นนายหน้าหรือผู้แทน ยกเว้นในการค้าระหว่างประเทศ
- งานวิศวกรรมโยธาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและการคำนวณ การทำให้เป็นระบบ การวิเคราะห์ การวางแผน การทดสอบ การควบคุมดูแลการก่อสร้าง หรือบริการให้คำปรึกษา ยกเว้นงานที่ต้องอาศัยเทคนิคชำนัญพิเศษ
- งานสถาปัตยกรรมวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ การวาด/สร้าง การประเมินราคา หรือบริการให้คำปรึกษา
- การผลิตเสื้อผ้า
- การผลิตเครื่องปั้นดินเผา
- การมวนบุหรี่ด้วยมือ
- การนำหรือจัดการเที่ยว
- การเร่ขายสินค้าและการเรียงพิมพ์ด้วยมือ
- การคลายหรือม้วนไหมด้วยมือ
- งานเสมียนหรือเลขานุการ
- บริการด้านกฎหมายหรือการเข้าร่วมในงานกฎหมาย ยกเว้นการอนุญาโตตุลาการ งานที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้ในคดีในระดับอนุญาโตตุลาการ หากกฎหมายที่ว่าด้วยข้อพิพาทที่นักอนุญาโตตุลาการพิจารณานั้นมิใช่กฎหมายไทย หรือเป็นคดีซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องใช้คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้นในประเทศไทย
การจำกัดแรงงานต่างด้าว
[แก้]วันที่ 1 กรกฎาคม 2561 กฎหมายแรงงานฉบับใหม่จะมีผลใช้บังคับ โดยจำกัดจำนวนพนักงานต่างด้าวในธุรกิจซึ่งดำเนินการในประเทศไทย โดยสูงสุดไม่เกินร้อยละ 20 ของกำลังแรงงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ผู้ประกอบธุรกิจคัดค้านกฎหมายดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งจะกระทบต่อการจ้างแรงงานเข้าเมือง
ค่าจ้างขั้นต่ำ
[แก้]บทอ่านเพิ่มเติม
[แก้]- Brown, Earl V Jr (1 April 2003). "Thailand: Labour and the Law". Asia Monitor Resource Centre (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-26. สืบค้นเมื่อ 2020-05-23.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "OCCUPATIONS AND PROFESSIONS PROHIBITED FOR FOREIGN WORKERS; THE LIST APPENDED TO THE ROYAL DECREE IN B.E.2522 PRESCRIBING OCCUPATIONS AND PROFESSIONS PROHIBITED FOR FOREIGN WORKERS". Ministry of Labour. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-04. สืบค้นเมื่อ 2018-06-03.
- ↑ "List of jobs reserved for Thais trimmed". The Nation. 22 June 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-18. สืบค้นเมื่อ 28 June 2018.