ข้ามไปเนื้อหา

สกุลเงินตรา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สกุลเงินตรา (อังกฤษ: Currency) เป็นมาตรฐานของเงินตราในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งใช้งานหรือหมุนเวียนในฐานะสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เช่น ธนบัตรและเหรียญ[1][2] คำนิยามทั่วไปของสกุลเงินตราคือ ระบบเงินตรา ที่ใช้งานกันทั่วไปเมื่อเวลาผ่านไปในสภาพแวดล้อมที่เฉพาะเจาะจง โดยเฉพาะประชาชนในรัฐชาติ[3] ตามคำนิยามนี้ สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (US$), ยูโร (€), เยน (¥) และปอนด์สเตอร์ลิง (£) ถือเป็นตัวอย่างสกุลเงิน Fiat (ที่ตีพิมพ์โดยรัฐบาล) สกุลเงินตราอาจทำหน้าที่เป็นตัวเก็บมูลค่าและสามารถค้าขายระหว่างชาติในตลาดเงินตราต่างประเทศ ซึ่งกำหนดค่าสัมพัทธ์ของสกุลเงินต่าง ๆ[4] สกุลเงินตราตามคำนยามนี้อาจกำหนดโดยผู้ใช้หรือรัฐบาล แต่แต่ละรูปแบบก็มีขอบเขตจำกัด เช่น กฎหมายเงินตราที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายอาจต้องใช้หน่วยเฉพาะสำหรับการชำระเงินแก่หน่วยงานรัฐบาล

ในหลายประเทศสกุลเงินสามารถมีชื่อเดียวกันได้ เช่น ดอลลาร์สหรัฐ ดอลลาร์ฮ่องกง และดอลลาร์แคนาดา และในหลายประเทศใช้สกุลเงินเดียวกัน เช่นในประเทศแถบยุโรปหลายประเทศใช้สกุลเงินยูโร และในบางประเทศใช้หน่วยเงินของประเทศอื่นเป็นเกณฑ์เช่นประเทศปานามา และ ประเทศเอลซัลวาดอร์ ใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ

สกุลเงินทั่วไปจะมีหน่วยสกุลเงินย่อย โดยส่วนมากจะเป็นอัตราส่วน 1/100 ของสกุลเงินหลัก เช่น 100 สตางค์ = 1 บาท หรือ 100 เซนต์ = 1 ดอลลาร์ แต่บางสกุลเงินจะไม่มีหน่วยย่อยเช่น สกุลเงินเยน ในหลายหลายประเทศเนื่องจากเงินเฟ้อ ทำให้สกุลเงินย่อยมีการเลิกใช้ไป

สกุลเงินดิจิทัลเกิดขึ้นพร้อมกับความนิยมของคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าธนบัตรและเหรียญดิจิทัลจะพัฒนาได้สำเร็จหรือไม่ก็ยังคงเป็นที่สงสัยอยู่[5] การกระจายอำนาจสกุลเงินดิจิทัลอย่างคริปโทเคอร์เรนซีมีความแตกต่างจากสกุลเงินแบบเดิม เนื่องจากไม่ได้ตีพิมพ์จากธนาคารกลางของรัฐบาล ทำให้มีคำเตือนจากหลายประเทศว่าอาจมีโอกาสใช้คริปโทเคอร์เรนซีในการทำกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย เช่น การฟอกเงินและการก่อการร้าย[6]

อันดับสกุลเงินที่ใช้ในการชำระเงินมากที่สุดในโลก

[แก้]

ตารางแสดงถึงการจัดอันดับสกุลเงิน 20 สกุลเงินที่ใช้ในการชำระเงินข้ามประเทศมากที่สุดในโลก (20 most frequently used currencies in World Payments) เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2024 โดยสมาคมเพื่อการโทรคมนาคมทางการเงินระหว่างธนาคารทั่วโลก (SWIFT)[7]

20 สกุลเงินที่ใช้ในการชำระเงินมากที่สุดในโลก (จำนวนร้อยละ (%) ของโลก)
อันดับ สกุลเงิน กันยายน 2024
โลก 100.00%
1 สหรัฐอเมริกา ดอลลาร์สหรัฐ 47.01%
2 สหภาพยุโรป ยูโร 22.56%
3 สหราชอาณาจักร ปอนด์สเตอร์ลิง 7.41%
4 ญี่ปุ่น เยนญี่ปุ่น 4.27%
5 จีน เหรินหมินปี้ (หยวนจีน) 3.61%
6 แคนาดา ดอลลาร์แคนาดา 2.58%
7 ออสเตรเลีย ดอลลาร์ออสเตรเลีย 1.85%
8 ฮ่องกง ดอลลาร์ฮ่องกง 1.61%
9 สิงคโปร์ ดอลลาร์สิงคโปร์ 1.41%
10 สวิตเซอร์แลนด์ ฟรังก์สวิส 1.03%
11 สวีเดน ครูนาสวีเดน 0.89%
12 โปแลนด์ ซวอตือโปแลนด์ 0.80%
13 นอร์เวย์ โครนนอร์เวย์ 0.72%
14 ไทย บาทไทย 0.48%
15 นิวซีแลนด์ ดอลลาร์นิวซีแลนด์ 0.41%
16 เดนมาร์ก โครเนอเดนมาร์ก 0.38%
17 แอฟริกาใต้ แรนด์แอฟริกาใต้ 0.30%
18 ฟิลิปปินส์ เปโซฟิลิปปินส์ 0.29%
19 เม็กซิโก เปโซเม็กซิโก 0.28%
20 ฮังการี โฟรินต์ฮังการี 0.23%

ชื่อสกุลเงินที่ใช้ในหลายประเทศ

[แก้]
ชื่อสกุลเงินแบ่งตามประเทศ
  เรียล
  อื่น ๆ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Currency". The Free Dictionary. currency [...] 1. Money in any form when in actual use as a medium of exchange, especially circulating paper money.
  2. Bernstein, Peter (2008) [1965]. "4–5". A Primer on Money, Banking and Gold (3rd ed.). Hoboken, NJ: Wiley. ISBN 978-0-470-28758-3. OCLC 233484849.
  3. "Currency". Investopedia.
  4. "Guide to the Financial Markets" (PDF). The Economist. p. 14. Determining the relative values of different currencies is the role of the foreign-exchange markets.
  5. "Electronic finance: a new perspective and challenges" (PDF). Bank for International Settlements. November 2001. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-09. สืบค้นเมื่อ 2020-05-11.
  6. "Regulation of Cryptocurrency Around the World". Library of Congress. 2019-08-16. p. 1. One of the most common actions identified across the surveyed jurisdictions is government-issued notices about the pitfalls of investing in the cryptocurrency markets. [...] Many of the warnings issued by various countries also note the opportunities that cryptocurrencies create for illegal activities, such as money laundering and terrorism.
  7. Tracker Monthly reporting and statistics on renminbi(RMB) progress towards becoming an international currency

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]