ข้ามไปเนื้อหา

ธนบัตรไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ต้นไม้เงินที่ทำด้วยธนบัตรไทยในจังหวัดตาก
ธนบัตรหนึ่งบาท แบบที่ 9 รุ่นที่5 (ปีพ.ศ.2500 - พ.ศ.2512)

ธนบัตรในประเทศไทย เริ่มมีการใช้ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้มีการใช้ "เงินกระดาษ" เป็นครั้งแรก แต่ยังไม่ได้เรียกว่า "ธนบัตร" ใช้คำว่า "หมาย" เรียกแทน โดยออกใช้เมื่อ พ.ศ. 2396 และคงใช้ต่อมาทั้งสิ้น 3 รุ่น

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้ "ตั๋วกระดาษ" ราคา 1 อัฐ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2417 เพื่อใช้แทนเงินเหรียญกษาปณ์ที่ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "อัฐกระดาษ" ที่ใช้เรียกขานกันในหมู่ประชาชน ต่อมาในปี พ.ศ. 2432-2442 ทรงอนุญาตให้ธนาคารต่างประเทศที่เข้ามาเปิดสาขาดำเนินงานในประเทศไทย คือ ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้, ธนาคารชาเตอรด์แห่งอินเดีย ออสเตรเลีย และจีน และธนาคารแห่งอินโดจีน ให้สามารถออกธนบัตรของตัวเองได้ เรียกว่า "แบงก์โน้ต" หรือ "แบงก์" นับว่าเป็น "บัตรธนาคาร" รุ่นแรกๆ ที่มีใช้ในประเทศไทย จนถึงวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2445 จึงทรงให้ยกเลิก และประกาศใช้ "ธนบัตร" แบบแรกของประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

ชนิดราคาของธนบัตรไทยนั้นจะมีจะมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่

1.ชนิดราคาธนบัตรไทยที่ถูกใช้ในปัจจุบัน

ธนบัตร 20 บาท , ธนบัตร 50 บาท , ธนบัตร 100 บาท , ธนบัตร 500 บาท , ธนบัตร 1000 บาท

2.ชนิดราคาธนบัตรไทยที่ถูกยกเลิก

ธนบัตร 50 สตางค์ , ธนบัตร 1 บาท , ธนบัตร 5 บาท , ธนบัตร 10 บาท

3.ชนิดราคาธนบัตรไทยแบบพิเศษ / แบบที่ระลึก

ธนบัตร 16 บาท , ธนบัตร 80 บาท , ธนบัตร 60 บาท , ธนบัตร 70 บาท , ธนบัตร 500000 บาท

ประเภทของธนบัตรไทย

[แก้]

ธนบัตรใช้หมุนเวียน

[แก้]

ธนบัตรใช้หมุนเวียน เป็นธนบัตรที่ใช้แลกเปลี่ยนประจำวันทั่วไป มีมูลค่าแลกเปลี่ยนตามราคาปรากฏในธนบัตร เมื่อมีการชำรุดเสียหายก็จะมีการพิมพ์ทดแทน ธนบัตรไทยที่ออกใช้ตั้งแต่แบบแรกเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2445 จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2561) มีออกมาใช้ทั้งหมด 17 แบบ ได้แก่

ที่ แรก ธนบัตร หมายเหตุ
1 7 กันยายน พ.ศ. 2445 1,5,10,20,50,100 1,000 เป็นธนบัตรเพียงด้านเดียว
2 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2468 1,5,10,20,100,1,000 เริ่มมีการพิมพ์เส้นนูน
3 22 มิถุนายน พ.ศ. 2477 1,5,10,20 รัชกาลที่ 7
3 รุ่นที่ 2 28

กันยายน พ.ศ.2479

1,5,10,20 รัชกาลที่ 8
4 5 ธันวาคม พ.ศ. 2481 1,5,10,20,100,1,000 รัฐบาลไทย
5 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 50 สตางค์,1,5,10,20,100,1,000 พิมพ์ที่โรงพิมพ์ธนบัตร กระทรวงการคลัง ประเทศญี่ปุ่น[1]
6 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 20,100 ชนิดราคา 20 บาท พิมพ์จากบริษัท โทมัส เดอ ลา รู จำกัด
ชนิดราคา 100 บาท พิมพ์จากกรมแผนที่ทหารบก[2]
7 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 4 ชนิดราคา 1, 5, 10, 50 บาท พิมพ์ในประเทศไทย โดยโรงพิมพ์เอกชนที่มีผลงานอยู่ในระดับมาตรฐานขณะนั้น โดยการแยกพิมพ์ตัวธนบัตร หมวดหมายเลข และลายเซ็นคนละแห่งกัน ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปควบคุมดูแลการพิมพ์อย่างใกล้ชิด แต่เนื่องจากในช่วงปลายสงครามซึ่งกระดาษและหมึกพิมพ์มีอยู่อย่างจำกัด คุณภาพและสีของธนบัตรจึงไม่ดีเท่าที่ควร และจากขนาดธนบัตรที่เล็กกว่าธนบัตรทั่ว ๆ ไป ในขณะนั้น บางครั้งประชาชนจึงเรียก "แบงก์ขนมโก๋"
8 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 5 ชนิดราคา 1, 5, 10, 20, 100 บาท พิมพ์โดย บริษัท The Tudor Press จากสหรัฐอเมริกา เนื่องจากบริษัท โทมัส เดอ ลา รู จำกัดได้รับความเสียหายจากสงคราม ไม่มีเส้นนูนและลายน้ำ ในสมัยนั้นมีการปลอมแปลงธนบัตรกันมาก
9 26 มกราคม พ.ศ. 2491 6 ชนิดราคา 50 สตางค์ และ 1, 5, 10, 20, 100 บาท พิมพ์โดยบริษัท โทมัส เดอ ลา รู จำกัด
10 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 ชนิดราคาเดียว 100 บาท มีเส้นนูน มีหลายสี มีลายไทย เนื่องจากมีการปลอมแบบ 9 ราคา 100 บาท อย่างมากมาย
11 18 มิถุนายน พ.ศ. 2512 5 ชนิดราคา 5, 10, 20, 100, 500 บาท พิมพ์ในประเทศไทย โดยโรงพิมพ์ธนบัตร ที่จัดตั้งขึ้นโดยธนาคารแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2512
12 6 เมษายน พ.ศ. 2521 3 ชนิดราคา 10, 20, 100 บาท ด้านหลังมีภาพพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์ที่เป็นมหาราช
13 30 สิงหาคม พ.ศ. 2528 2 ชนิดราคา 50, 500 บาท เพื่อร่วมเฉลิมฉลองงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ. 2525 ธนบัตร 50 บาท ภาพประธานด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตตาภรณ์ ฉลองพระองค์ครุย
14 10 สิงหาคม พ.ศ. 2535 3 ชนิดราคา 100, 500, 1000 บาท ออกฉบับละ 1000 บาท เพื่อสนองต่อการใช้เงินจำนวนมาก ภาพประธานด้านหลังของชนิดราคาพันบาท มีพระฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
15 1 มกราคม พ.ศ. 2542 5 ชนิดราคา 20, 50, 100, 500, 1,000 บาท เป็นธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบันเป็นส่วนใหญ่ โดยในช่วงท้าย ๆ ของชุดที่ 15 ธนบัตร 50 บาทได้เปลี่ยนรูปแบบธนบัตรจากพอลิเมอร์เป็นกระดาษธรรมดาเพื่อลดต้นทุนและป้องกันไม่ให้วัสดุที่ผลิตธนบัตรมีค่ากว่าราคาธนบัตร และธนบัตร1000 บาทได้เพิ่มแถบสีเงิน เพื่อป้องกันการปลอมแปลงและไม่ได้พิมพ์ธนบัตร 10 บาท
16 18 มกราคม พ.ศ. 2555 5 ชนิดราคา 20, 50, 100, 500, 1,000 บาท เป็นธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบัน ด้านหลังมีพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์ที่เป็นมหาราช
17 6 เมษายน และ
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
5 ชนิดราคา 20, 50, 100, 500, 1,000 บาท เป็นธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบันด้านหลังมีพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

ธนบัตรชนิดราคา แบบ 15

[แก้]


ธนบัตรชนิดราคา แบบ 16

[แก้]

ธนบัตรชนิดราคา แบบ 17

[แก้]

ธนบัตรแบบพิเศษ

[แก้]

เป็นธนบัตรที่ออกใช้หมุนเวียนนอกเหนือจากแบบที่ใช้อย่างเป็นทางการข้างต้น ประกาศใช้งานระหว่างวันที่ 25 มกราคม 2485 ถึง 3 มิถุนายน 2489 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เกิดการขาดแคลนธนบัตรใช้งานขณะนั้น

ราคา 1 บาท ประกาศใช้ 25 มกราคม 2485 ขนาด 6.3 x 11.7 ซม. สีน้ำเงิน

ราคา 1,000 บาท ขนาด 10.5 x 19.5 ซม.

รุ่นที่ 1 ประกาศใช้ 25 สิงหาคม 2486 ด้านหน้า สีแดงแก่ พื้นเหลือง ด้านหลัง สีน้ำตาล พื้นเหลือง

รุ่นที่ 2 ประกาศใช้ 1 มีนาคม 2487 สีเหมือนรุ่น 1 แต่จะแดงเข้มกว่า

ราคา 50 บาท ขนาด 6.5 x 12.5 ซม. กรมแผนที่ทหารพิมพ์เพื่อจะนำไปใช้ที่มณฑลมลายูตอนเหนือ สี่รัฐ โดยพิมพ์ราคาเป็น 1 ดอลล่า แต่ไม่ได้นำออกใช้ เมื่อเกิดขาดแคลนธนบัตรจึงนำออกมาแก้เป็นราคา 50 บาท ด้านหน้า กรอบสีม่วง พื้นเหลือง ด้านหลัง ลายสีม่วง พื้นเหลือง

รุ่นที่ 1 ประกาศใช้ 8 กุมภาพันธ์ 2488 การพิมพ์แก้ : (1) พิมพ์ด้วยหมึกดำทับ -เลข 1 อาหรับ -คำ หนึ่งดอลล่า -อักษรมลายูกับจีนทั้งหมด (2) ด้านหน้า พิมพ์เลข 50 ด้วยหมึกแดงบนลายน้ำ (3) ด้านหน้า พิมพ์ "ห้าสิบบาท" ด้วยหมึกแดง ใต้คำ รัถบาลไทย

รุ่นที่ 2 ประกาศใช้ 13 กุมภาพันธ์ 2488 การพิมพ์แก้ : ด้านหน้า (1) แก้เฉพาะการพิมพ์ " ห้าสิบบาท" ด้วยหมึกดำทับ "หนึ่งดอลล่า" (2) พิมพ์ลายมือชื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังบนลายน้ำ (3) ลายมือชื่อรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง มี นายควง อภัยวงศ์ เพิ่มอีกหนึ่งท่าน

รุ่นที่ 3 ประกาศใช้ 21 กุมภาพันธ์ 2488 การพิมพ์แก้ : ด้านหน้าแก้ไขเหมือนรุ่นที่ 1 แต่จะมีเฉพาะลายมือชื่อรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง นายเล้ง ศรีสมวงศ์ เพียงท่านเดียว ด้านหลังไม่มีการแก้ไข

ราคา 50 สตางค์ ประกาศใช้ 30 มีนาคม 2489 เดิมเป็นธนบัตรแบบ 5 ราคา 10 บาท ที่ทางการญี่ปุ่นจัดพิมพ์ที่ชวา ซึ่งเป็นธนบัตรที่มีคุณภาพต่ำทั้งกระดาษและหมึกพิมพ์ และไม่มีลายน้ำเพื่อป้องกันการปลอมแปลงด้วย จึงนำมาแก้ไขใช้งานด้วยการพิมพ์ทับด้วยหมึกดำ

ด้านหน้า (1) พิมพ์ "๕๐ ส.ต." ทับเลข ๑๐ เดิมที่มุม ยกเว้น มุมล่างขวาที่ไม่มีตัวเลข (2) พิมพ์ "ห้าสิบ ส.ต." ทับ "สิบ บาท" ตรงกลาง ใต้คำว่า รัฐบาล ไทย (3) พิมพ์เลขหมวดขนาบข้างหน้าและหลังของคำว่า รัฐบาล ไทย ด้วยอักษรไทยอยู่เหนือเลขอาหรับ

ด้านหลัง พิมพ์ "๕๐ ส.ต." ทับเลข ๑๐ เดิมที่มุมบนทั้งสองข้าง

ราคา 1 บาท ประกาศใช้ 3 มิถุนายน 2489 เป็นพันธบัตรที่ทางการอังกฤษพิมพ์ไว้ใช้งานเมื่อตีเอาประเทศไทยจากญี่ปุ่น แต่ไม่ได้ใช้ เมื่อสงครามสงบลงจึงมอบให้ทางการไทย เมื่อเกิดขาดแคลนธนบัตรจึงได้นำมาแก้ไขใช้งาน มีขนาด 7.3 x 11.4 ซม. สีน้ำเงิน

ด้านหน้า (1) พิมพ์ "รัฐบาลไทย" (บน) และ "ธนบัตรเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย" (ล่าง แต่บางฉบับก็ไม่มีคำว่า ที่) ด้วยหมึกดำ เหนือคำว่า "ONE BAHT" (2) เลขหมาย -เลขหมวด อักษรไทย (เหนือ) และเลขอาหรับ (ล่าง) -เลขฉบับ เลขอาหรับ

ด้านหลัง ไม่ได้พิมพ์แก้ไข

ธนบัตรที่ระลึกและบัตรธนาคาร

[แก้]

ธนบัตรที่ระลึกและบัตรธนาคาร เป็นธนบัตรที่ออกเนื่องในวาระสำคัญต่าง ๆ เช่น ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี เป็นต้น มูลค่าแลกเปลี่ยนมักจะสูงกว่าราคาที่กำหนด ธนบัตรชนิดนี้จะพิมพ์ออกมาเพียงครั้งเดียวไม่มีการพิมพ์ทดแทน ส่วนบัตรธนาคารก็จะคล้ายกับธนบัตรที่ระลึก จะต่างกันที่การออกบัตรธนาคารกระทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ใช่ออกโดยรัฐบาลไทย ซึ่งก็มีเพียงแบบเดียวที่ออกมาในรัชสมัยรัชกาลที่ ๙ คือ บัตรธนาคาร ชนิดราคา 60 บาท ที่ออกใช้เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2530 (ประกาศใช้ 3 มิถุนายน 2530)

ชื่อธนบัตร ชนิด ออกใช้
บัตรธนาคาร 60 บาท 5 ธันวาคม 2530
ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเจริญพระชนมายุ 90 พรรษา 50, 500 บาท 21 ตุลาคม 2533
ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 1000 บาท 12 สิงหาคม 2535
ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบรอบ 120 ปี กระทรวงการคลัง 10 บาท 14 เมษายน 2538
ธนบัตรที่ระลึกเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี 50, 500, 500 บาท แบบพิเศษ (พิมพ์ด้วยวัสดุพอลิเมอร์) 3 เมษายน 2539
ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 1000 บาท 1 พฤศจิกายน 2542
ธนบัตรที่ระลึกวันราชาภิเษกสมรสครบ ๕๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 50, 500,000 8 พฤษภาคม 2543
ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ 100 บาท 22 เมษายน 2547
ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสการจัดงาน ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี 60 บาท 24 เมษายน 2549
ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 1,5,10 14 สิงหาคม 2550
ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ 100 บาท 24 มิถุนายน 2554
ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา 80 บาท 27 กรกฎาคม 2555
ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๗๐ ปี 70 บาท 9 มิถุนายน 2559
ธนบัตรที่ระลึก ด้วยสำนึก​ในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้​​ ​แห่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 20 บาท 50 บาท 100 บาท 500 บาท 1000 บาท 20 กันยายน 2560
ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ 100 บาท 1000 บาท วันที่ 12 ธันวาคม 2563

ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบรมวงศานุวงศ์

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ธนาคารแห่งประเทศไทย แบบธนบัตร ธนบัตรแบบ 5". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-08. สืบค้นเมื่อ 2022-02-23.
  2. "ธนาคารแห่งประเทศไทย แบบธนบัตร ธนบัตรแบบ 6". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-10. สืบค้นเมื่อ 2022-02-23.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]