ข้ามไปเนื้อหา

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ถนนมหาจักรพรรดิ)
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304
ถนนรามอินทรา, ถนนสุวินทวงศ์, ถนนสายฉะเชิงเทรา-กบินทร์บุรี, ถนนสายกบินทร์บุรี-ปักธงชัย, ถนนสืบศิริ
ถนนแจ้งวัฒนะในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด
ข้อมูลของเส้นทาง
ส่วนหนึ่งของ (แยกต่างระดับชำขวาง-นครราชสีมา)
ความยาว298.515 กิโลเมตร (185.489 ไมล์)
296.707 กิโลเมตร เป็นของกรมทางหลวง
มีขึ้นเมื่อพ.ศ. 2493–ปัจจุบัน
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตก ถ.ติวานนท์ / ถ.แจ้งวัฒนะ ใน อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
 
ปลายทางทิศเหนือ ถ.มิตรภาพ / ถ.เลี่ยงเมือง ใน อ.เมือง จ.นครราชสีมา
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
จังหวัด
ระบบทางหลวง

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 สายปากเกร็ด–สะพานต่างระดับนครราชสีมา เป็นทางหลวงแผ่นดินสายรองประธานที่เชื่อมระหว่างจังหวัดนนทบุรี กรุงเทพมหานคร จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดนครราชสีมา มีจุดเริ่มต้นบนถนนติวานนท์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306) ที่ห้าแยกปากเกร็ด ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และสิ้นสุดบนถนนมิตรภาพ กับทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมาด้านตะวันตก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 204) ที่ทางแยกต่างระดับนครราชสีมา ในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ระยะทางทั้งสิ้น 298.515 กิโลเมตร อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง 296.707 กิโลเมตร

รายละเอียดของเส้นทาง

[แก้]

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 แบ่งออกเป็น 8 ช่วง ได้แก่ ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนรามอินทรา ถนนสุวินทวงศ์ ถนนมหาจักรพรรดิ์ ถนนศุขประยูร ช่วงฉะเชิงเทรา–กบินทร์บุรี ช่วงกบินทร์บุรี–ปักธงชัย และถนนสืบศิริ

ถนนแจ้งวัฒนะ

[แก้]

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 เริ่มต้นกิโลเมตรที่ 0 ที่ทางแยกปากเกร็ด จุดตัดของถนนติวานนท์กับถนนแจ้งวัฒนะ ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี มีเส้นทางไปตามถนนแจ้งวัฒนะทางตะวันออก ตัดกับถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด แล้วตัดกับทางพิเศษอุดรรัถยาและทางพิเศษศรีรัช จากนั้นข้ามคลองประปาเข้าสู่เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ตัดกับถนนวิภาวดีรังสิต ที่ทางแยกหลักสี่ ข้ามคลองถนน เข้าสู่เขตบางเขน และตัดกับถนนพหลโยธินที่วงเวียนอนุสาวรีย์หลักสี่ (อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ) ระยะทาง (ไม่รวมช่วงท่าน้ำปากเกร็ดถึงแยกปากเกร็ด) 10.7 กิโลเมตร

ถนนรามอินทรา

[แก้]
ถนนรามอินทรา ช่วงที่มีการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู

ถนนรามอินทรา เริ่มจากวงเวียนอนุสาวรีย์หลักสี่ ในแขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน ตัดออกไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านแยกถนนลาดปลาเค้า ตัดกับถนนประดิษฐ์มนูธรรมและทางพิเศษฉลองรัช ผ่านตอนเหนือของเขตบึงกุ่ม แล้วเข้าสู่เขตคันนายาว ผ่านแยกถนนนวมินทร์ ตัดกับถนนกาญจนาภิเษก ผ่านแยกถนนรัชดาภิเษก–รามอินทรา ผ่านแยกถนนสวนสยาม ข้ามคลองบางชันเข้าสู่เขตมีนบุรี และสิ้นสุดที่ทางแยกเมืองมีน ระยะทาง 15.4 กิโลเมตร

ถนนรามอินทราตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่พลตำรวจโท พระรามอินทรา (ดวง จุลัยยานนท์) อธิบดีกรมตำรวจระหว่าง พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2489

ถนนสุวินทวงศ์

[แก้]

ถนนสุวินทวงศ์ เริ่มต้นจากปลายถนนรามอินทราที่ทางแยกเมืองมีน เขตมีนบุรี เลี้ยวซ้ายขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านถนนหทัยราษฎร์ ถนนสามวา คลองสามวา ถนนร่มเกล้า และถนนนิมิตใหม่ แล้วลงไปทางตะวันออกเฉียงใต้ เข้าแขวงแสนแสบ ตัดกับถนนรามคำแหง ถนนราษฎร์อุทิศ ถนนบึงขวาง และถนนคุ้มเกล้า เข้าสู่แขวงโคกแฝดและแขวงลำผักชี เขตหนองจอก ผ่านถนนเชื่อมสัมพันธ์ ถนนฉลองกรุง ถนนอยู่วิทยา และถนนร่วมพัฒนา เข้าสู่แขวงลำต้อยติ่งและแขวงกระทุ่มราย ผ่านถนนทหารอากาศอุทิศ สถานีตำรวจนครบาลสุวินทวงศ์ สุดเขตกรุงเทพมหานครที่คลองหลวงแพ่ง เข้าสู่ตำบลศาลาแดง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ผ่านตลาดสดสุวินทวงศ์ เข้าสู่อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา สิ้นสุดที่สะพานข้ามทางรถไฟฉะเชิงเทรา ระยะทางรวม 42.5 กิโลเมตร

ถนนสุวินทวงศ์เดิมมีชื่อเรียกว่า "ทางหลวงแผ่นดินสายมีนบุรี–ฉะเชิงเทรา–ปราจีนบุรี"[1] ได้รับการตั้งชื่อดังกล่าวเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493[1] ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นเกียรติแก่เกษม สุวินทวงศ์ ผู้ดำรงตำแหน่งนายช่างกำกับการเขตการทางปราจีนบุรีในขณะเริ่มก่อสร้างถนนสายนี้[1]

ถนนมหาจักรพรรดิ์

[แก้]

ถนนมหาจักรพรรดิ์ สันนิษฐานว่าตั้งชื่อขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เมื่อครั้งที่ทรงปรับปรุงหัวเมืองต่าง ๆ หลังจากที่เสียสมเด็จพระศรีสุริโยทัยในสงครามช้างเผือก

เริ่มต้นที่ทางแยกต่างระดับฉะเชิงเทรา ตัดไปทางตะวันออก ผ่านสถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา ถนนศรีโสธร (ทางเข้าวัดโสธรวราราม) ข้ามแม่น้ำบางปะกงที่สะพานฉะเชิงเทรา

ถนนศุขประยูร

[แก้]

ถนนศุขประยูร เริ่มจากสะพานฉะเชิงเทรา ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านวัดสุวรรณาราม สิ้นสุดที่ทางแยกคอมเพล็กซ์ ใกล้ที่ตั้งกองพลทหารราบที่ 11 ค่ายสมเด็จพระนั่งเกล้า อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เดิมถนนศุขประยูรเป็นชื่อที่กำหนดให้กับทางหลวงสายฉะเชิงเทรา–พนัสนิคม–ชลบุรี ต่อมาเมื่อมีการตั้งชื่อทางหลวงโดยใช้ระบบหมายเลข กรมทางหลวงจึงได้รวมถนนศุขประยูรช่วงสะพานฉะเชิงเทราถึงทางแยกคอมเพล็กซ์เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 และกำหนดให้ถนนศุขประยูรช่วงที่เหลือเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 315

ช่วงฉะเชิงเทรา-กบินทร์บุรี

[แก้]

เริ่มต้นที่ปลายถนนศุขประยูรที่ทางแยกคอมเพล็กซ์ เลี้ยวซ้ายไปทางตะวันออก ผ่านพื้นที่อำเภอบางคล้าและอำเภอพนมสารคาม ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 331 ที่ทางแยกต่างระดับชำขวาง ใกล้กับศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 359 (สายสระแก้ว–เขาหินซ้อน) ในตำบลเขาหินซ้อน แล้วตัดตรงขึ้นเหนือเข้าสู่พื้นที่อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ผ่านนิคมอุตสาหกรรม 304 1 และนิคมอุตสาหกรรมไฮเทคกบินทร์ เข้าสู่พื้นที่อำเภอกบินทร์บุรี ตัดกับถนนสุวรรณศร (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33) ที่ทางแยกกบินทร์บุรี (สามทหาร)

ช่วงกบินทร์บุรี-ปักธงชัย

[แก้]

เริ่มจากถนนสุวรรณศร (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33) แล้วมุ่งขึ้นเหนือ ผ่านอำเภอนาดี อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และอุทยานแห่งชาติทับลาน เข้าสู่อำเภอวังน้ำเขียวและอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ผ่านค่ายปักธงชัย อ่างเก็บน้ำบ้านโนนแดง กู่เกษม และศูนย์วัฒนธรรมผ้าไหมปักธงชัย ก่อนถึงตัวอำเภอปักธงชัยมีทางแยกสองทาง โดยแยกไปเป็นทางเลี่ยงเมืองปักธงชัย สิ้นสุดที่หน้าโรงพยาบาลปักธงชัย

ถนนในช่วงนี้ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2498 เป็นถนนลูกรังตลอดสาย จนกระทั่งในช่วงสงครามเวียดนาม เมื่อประเทศไทยประกาศเป็นมิตรร่วมรบกับสหรัฐ จึงยินยอมรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 สหรัฐได้เดินทางมาถึงประเทศไทย และเริ่มก่อสร้างค่ายพักทหารห่างจากตัวจังหวัดนครราชสีมา 42 กิโลเมตร จึงมีการก่อสร้างถนนลาดยาง ระยะทาง 132.5 กิโลเมตร ความกว้าง 22 ฟุต เพื่อประโยชน์ทางด้านยุทธศาสตร์และเชื่อมชายฝั่งทะเลตะวันออกกับภาคอีสาน ด้วยมูลค่าโครงการ 16 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ถนนสายนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ต่อมากรมทางหลวงได้รับมอบถนนสายนี้อยู่ในความดูแลรับผิดชอบเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2512 ขึ้นทะเบียนเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 สายฉะเชิงเทรา-กบินทร์บุรี-นครราชสีมา โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นประธานในพิธีเปิด

บริเวณสามแยกปักธงชัย กิโลเมตรที่ 132+500 ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 กับทางแยกถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2) ได้มีการก่อสร้างอนุสรณ์ซึ่งก่อขึ้นด้วยปูนซีเมนต์และทาสีขาว แสดงข้อมูลในอนุสรณ์ว่า "ทางหลวงสายที่ ๓๐๔ นครราชสีมา-กบินทร์บุรี ทำการก่อสร้างโดยกองพันทหารช่างพิเศษที่ ๒๓ (ประเทศไทย) กองพันทหารช่างที่ ๕๓๘ (สหรัฐอเมริกา) และกองพันทหารช่างที่ ๘๐๙ (สหรัฐอเมริกา) โดยการควบคุมของกองบัญชาการทหารสูงสุดแห่งประเทศไทย ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงธันวาคม ๒๕๑๑ ก้าวหน้า เพื่อมิตรภาพ ความปลอดภัย"

อนุสรณ์ดังกล่าวตั้งอยู่ใต้สะพานต่างระดับที่กรมทางหลวงได้ก่อสร้างทางแยกต่างระดับปักธงชัย อีกทั้งยังมีการก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมาเพิ่มเติม จนกระทั่งสำนักงานแขวงการทางนครราชสีมาที่ 2 ได้เคลื่อนย้ายไปไว้บริเวณทางลงสะพานต่างระดับสามแยกปักธงชัย โดยได้ถอดเหล็กที่เป็นแผ่นป้ายข้อความจารึกการก่อสร้างถนนสาย 304 ออก เพื่อนำมาติดตั้งกับฐานจารึกใหม่[2]

ปัจจุบัน กรมทางหลวงได้ปรับปรุงทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ช่วงกบินทร์บุรี-ปักธงชัย เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนน และรองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งเป็นทางเชื่อมผืนป่าของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยขยายช่องจราจรจากเดิม 2 ช่องจราจรเป็น 4 ช่องจราจร รวมทั้งก่อสร้างสะพานและทางลอดบางจุด โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2549[3] ก่อสร้างแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2565

ถนนสืบศิริ

[แก้]

ถนนสืบศิริ เริ่มจากตรงจุดแยกก่อนถึงอำเภอปักธงชัย แต่เป็นแยกเข้าเมืองปักธงชัย ไปบรรจบกับทางเลี่ยงเมืองที่บริเวณหน้าโรงพยาบาลปักธงชัย จากนั้นมุ่งขึ้นเหนือตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 เข้าสู่อำเภอเมืองนครราชสีมา ผ่านสวนสัตว์นครราชสีมา สิ้นสุดเมื่อบรรจบกับถนนมิตรภาพ ที่ทางแยกต่างระดับนครราชสีมา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

ถนนสืบศิริเดิมมีชื่อเรียกว่า "ทางหลวงแผ่นดินสายนครราชสีมา–กบินทร์บุรี"[1] ต่อมาได้รับการตั้งชื่อดังกล่าวเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493[1] ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นเกียรติแก่จำรัส สืบศิริ อดีตนายช่างกำกับการเขตการทางนครราชสีมา[1]

รายชื่อทางแยก

[แก้]
รายชื่อทางแยกบน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ทิศทาง: ปากเกร็ด–สะพานต่างระดับนครราชสีมา
จังหวัด อำเภอ/เขต กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
ปากเกร็ด−บางเขน (ถนนแจ้งวัฒนะ)
นนทบุรี ปากเกร็ด 0+000 แยกปากเกร็ด เชื่อมต่อจาก: ถนนชัยพฤกษ์ ไปอำเภอบางบัวทอง
ไม่มี ซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 16 ไปท่าน้ำปากเกร็ด
ถนนติวานนท์ ไปจังหวัดปทุมธานี ถนนติวานนท์ ไปแยกแคราย
0+750 ถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด ไปจังหวัดปทุมธานี ถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด ไปจังหวัดนนทบุรี
3+200 แยกเมืองทองธานี 3 (สะพานข้ามแยก) ซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 33 ไปเมืองทองธานี ไม่มี
3+650 ต่างระดับแจ้งวัฒนะ ทางพิเศษอุดรรัถยา ไปบางปะอิน ทางพิเศษศรีรัช ไปดินแดง, บางนา, ดาวคะนอง
5+000 แยกคลองประปา (สะพานข้ามแยก) ถนนเลียบคลองประปา ไปศรีสมาน ถนนประชาชื่น ไปพงษ์เพชร
กรุงเทพมหานคร หลักสี่ 5+750 แยกเมืองทอง 1 ซอยแจ้งวัฒนะ 14 ไปหมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ไม่มี
7+500 แยกการสื่อสาร ไม่มี ซอยแจ้งวัฒนะ 7 ไปศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร
8+110 แยกหลักสี่พลาซ่า (ข้ามทางรถไฟ) ถนนกำแพงเพชร 6 ไปสถานีรถไฟรังสิต บรรจบ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346 ถนนกำแพงเพชร 6 ไปถนนงามวงศ์วาน
8+859 แยกหลักสี่ (สะพานข้ามแยก) ทางยกระดับอุตราภิมุข ไปท่าอากาศยานดอนเมือง, รังสิต ทางยกระดับอุตราภิมุข ไปดินแดง, บางนา, ดาวคะนอง
ถนนวิภาวดีรังสิต ไปท่าอากาศยานดอนเมือง, รังสิต ถนนวิภาวดีรังสิต ไปดินแดง
บางเขน 10+750 แยกอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ถนนพหลโยธิน ไปสะพานใหม่, ลำลูกกา ถนนพหลโยธิน ไปจตุจักร
บางเขน−มีนบุรี (ถนนรามอินทรา)
กรุงเทพมหานคร บางเขน 12+450 เชื่อมต่อจาก: ถนนแจ้งวัฒนะ
แยกลาดปลาเค้า ไม่มี ถนนลาดปลาเค้า ไปถนนประเสริฐมนูกิจ
14+450 แยกมัยลาภ ไม่มี ซอยรามอินทรา 14 ไปถนนประเสริฐมนูกิจ
15+500 ทางพิเศษฉลองรัช ไปถนนสุขาภิบาล 5, บรรจบถนนกาญจนาภิเษก (ตะวันออก) ทางพิเศษฉลองรัช ไปเอกมัย, บางนา, ดาวคะนอง
15+750 แยกวัชรพล ถนนวัชรพล ไปวัชรพล ไม่มี
คันนายาว 16+790 แยกนวลจันทร์ ไม่มี ซอยรามอินทรา 40 ไปวัดนวลจันทร์
18+400 แยกรามอินทรา กม.8 ถนนคู้บอน ไป หทัยราษฎร์ ถนนนวมินทร์ ไปเขตบึงกุ่ม
20+728 ทางต่างระดับรามอินทรา ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันออก) ไปอำเภอบางปะอิน ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันออก) ไปบางนา
21+877 ไม่มี ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 350 ไปถนนนวมินทร์
22+660 แยกโรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี ไม่มี ถนนสวนสยาม บรรจบถนนเสรีไทย
มีนบุรี 26+075 แยกเมืองมีน ถนนสุวินทวงศ์ ไปฉะเชิงเทรา ถนนเสรีไทย ไปบางกะปิ
ตรงไป: ถนนสีหบุรานุกิจ ไปมีนบุรี
มีนบุรี−ฉะเชิงเทรา (ถนนสุวินทวงศ์)
กรุงเทพมหานคร มีนบุรี 26+370 แยกหทัยราษฎร์ ถนนหทัยราษฎร์ ไปสายไหม ไม่มี
28+098 แยกร่มเกล้า-สุวินทวงศ์ ไม่มี ถนนร่มเกล้า ไปลาดกระบัง
28+500 แยกนิมิตใหม่ ถนนนิมิตใหม่ ไปลำลูกกา (คลอง 7) บรรจบกับ ถนนลำลูกกา ถนนสุวินทวงศ์ ไปหนองจอก, ฉะเชิงเทรา
29+000 แยกรามคำแหง-สุวินทวงศ์ ไม่มี ถนนรามคำแหง ไปมีนบุรี, สะพานสูง, บางกะปิ
แยกราษฎร์อุทิศ ถนนราษฎร์อุทิศ ไปหนองจอก, บรรจบถนนเลียบวารี ไม่มี
หนองจอก 38+600 แยกลำผักชี ถนนเชื่อมสัมพันธ์ ไปหนองจอก ถนนฉลองกรุง ไปลาดกระบัง
42+250 แยกวัดใหม่กระทุ่มล้ม ถนนอยู่วิทยา ไปหนองจอก ถนนร่วมพัฒนา ไปลาดกระบัง
49+605 แยกหลวงแพ่ง ถนนทหารอากาศอุทิศ ไปอำเภอบางน้ำเปรี้ยว, ปราจีนบุรี ไม่มี
ฉะเชิงเทรา เมืองฉะเชิงเทรา 63+712 แยกสตาร์ไลท์ ถนนเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทราด้านเหนือ ไปอำเภอบางน้ำเปรี้ยว ไม่มี
70+090 ทางแยกต่างระดับฉะเชิงเทรา ถนนมหาจักรพรรดิ์ เข้าเมืองฉะเชิงเทรา ไม่มี
ตรงไป: ถนนสิริโสธร ไปอำเภอบางปะกง, ชลบุรี, บางนา
ถนนมหาจักรพรรดิ์ (สุวินทวงศ์−สะพานฉะเชิงเทรา)
ฉะเชิงเทรา เมืองฉะเชิงเทรา 70+090 เชื่อมต่อจาก: ถนนสุวินทวงศ์
ไม่มี ถนนศรีโสธรตัดใหม่ ไปวัดโสธรวรารามวรวิหาร
ไม่มี ถนนสวนสมเด็จ ไปศาลากลางจังหวัด
71+600 แยกมหาจักรพรรดิ์ (สะพานข้ามแยก) ตรงไป: สะพานฉะเชิงเทรา
ถนนชุมพล ไปอำเภอบางน้ำเปรี้ยว ถนนมรุพงษ์ ไปโรงพยาบาลพุทธโสธร
ถนนศุขประยูร
ฉะเชิงเทรา เมืองฉะเชิงเทรา 71+600 สะพานฉะเชิงเทรา ข้ามแม่น้ำบางปะกง
75+128 แยก พล.ร.๑๑ (คอมเพล็กซ์) ทล.304 ไปอำเภอพนมสารคาม, อำเภอกบินทร์บุรี ถนนเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทราด้านใต้ ไป อำเภอบางปะกง, ชลบุรี
ตรงไป: ถนนศุขประยูร ไปอำเภอพนัสนิคม, ชลบุรี
ฉะเชิงเทรา−กบินทร์บุรี
ฉะเชิงเทรา บางคล้า 89+232 แยกบางคล้า ทล.3121 ไปอำเภอบางคล้า ทล.3121 ไปอำเภอแปลงยาว
92+510 แยกหนองปลาตะเพียน ไม่มี ทล.3551 ไปอำเภอแปลงยาว
พนมสารคาม 106+028 แยกพนมสารคาม ทล.3378 ไปอำเภอบางคล้า ทล.3076 ไปอำเภอสนามชัยเขต
106+480 ทล.3076 ไปอำเภอบ้านสร้าง ไม่มี
109+000 แยกหนองเค็ด ทล.319 ไปปราจีนบุรี ทล.304 ไปอำเภอกบินทร์บุรี
121+704 ทางแยกต่างระดับชำขวาง ไม่มี ทล.331 ไปอำเภอสัตหีบ
127+160 แยกเขาหินซ้อน ไม่มี ทล.359 ไปสระแก้ว, บุรีรัมย์
ปราจีนบุรี ศรีมหาโพธิ 137+266 แยกระเบาะไผ่ ทล.3078 ไปอำเภอประจันตคาม ไม่มี
141+822 แยกกลองรั้ง ทล.3281 ไปอำเภอศรีมหาโพธิ ไม่มี
142+601 ไม่มี ทล.3079 ไปสระแก้ว
กบินทร์บุรี 165+316 แยกกบินทร์บุรี ถนนสุวรรณศร ไปปราจีนบุรี ถนนสุวรรณศร ไปสระแก้ว
กบินทร์บุรี−สะพานต่างระดับนครราชสีมา
ปราจีนบุรี กบินทร์บุรี 166+184 ทล.3627 ไปปราจีนบุรี ทล.3627 ไปสระแก้ว
176+227 แยกนาดี ทล.3290 ไปอำเภอนาดี ไม่มี
นครราชสีมา ปักธงชัย 275+769 แยกปักธงชัย ถนนเดชอุดม ไปอำเภอสีคิ้ว, สระบุรี ถนนเดชอุดม ไปอุบลราชธานี
เมืองนครราชสีมา 284+614 ถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา ไปอำเภอสีคิ้ว, สระบุรี ถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา ไปอำเภอโชคชัย
286+773 ไม่มี ทล.2310 ไปสวนสัตว์นครราชสีมา
298+515 ทางต่างระดับนครราชสีมา ถนนมิตรภาพ ไปสระบุรี ถนนมิตรภาพ ไปนครราชสีมา
ตรงไป: ทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมา ไปจังหวัดขอนแก่น
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

สถานที่สำคัญ

[แก้]
ถนนรามอินทรา
ถนนสุวินทวงศ์
  • สถานีตำรวจนครบาลสุวินทวงศ์
  • โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 4
  • วัดแสนสุข
ถนนสืบศิริ

ระบบขนส่งมวลชน

[แก้]

รถไฟฟ้าสายสีชมพู

รถไฟฟ้าสายสีเขียว

รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งชื่อทางหลวงแผ่นดินและสะพานขนาดใหญ่ - ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 67 ตอน 67 ง, 12 ธันวาคม พ.ศ. 2493
  2. อนุสรณ์ ๒ ชาติ ถนน ๓๐๔ ‘โคราช-กบินทร์บุรี'
  3. "พาสำรวจรายละเอียดและความคืบหน้าโครงการขยายถนน 304 เชื่อมผืนป่าปักธงชัย – กบินทร์บุรี – Korat Start Up".

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]