ข้ามไปเนื้อหา

ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3
ข้อมูลของเส้นทาง
ส่วนหนึ่งของ
ความยาว303 กิโลเมตร (188 ไมล์)
ด้านเหนือ 34 กิโลเมตร (21 ไมล์) ด้านตะวันออก 97 กิโลเมตร (60 ไมล์) [1]
ด้านใต้ 77 กิโลเมตร (48 ไมล์)[ต้องการอ้างอิง]
ด้านตะวันตก 101 กิโลเมตร (63 ไมล์)[1]}
ทางแยกที่สำคัญ
ถนนวงแหวนรอบกรุงเทพมหานคร
ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ด้านหนือ
ความยาว34 กิโลเมตร (21 ไมล์)
ปลายทางทิศตะวันตกด้านตะวันตก ใน อ.เมืองสุพรรณบุรี จ.สุพรรณบุรี
ทางแยก
ที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันออก ทล.32 ใน อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา
ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ด้านตะวันออก
ความยาว97 กิโลเมตร (60 ไมล์)
ปลายทางทิศเหนือ ทล.32 ใน อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา
ทางแยก
ที่สำคัญ
ปลายทางทิศใต้ ถนนเทพรัตน/ทางพิเศษบูรพาวิถี ในอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ
ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ด้านใต้
ความยาว34 กิโลเมตร (21 ไมล์)
ปลายทางทิศตะวันออก ถนนเทพรัตน/ทางพิเศษบูรพาวิถี ในอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ
ทางแยก
ที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตก ทล.พ.82 / ถ.พระรามที่ 2 ในเมืองสมุทรสาคร สมุทรสาคร
ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ด้านตะวันตก
ความยาว70 กิโลเมตร (43 ไมล์)
ปลายทางทิศใต้ ทล.พ.82 / ถ.พระรามที่ 2 ในเมืองสมุทรสาคร สมุทรสาคร
ทางแยก
ที่สำคัญ
ปลายทางทิศเหนือทล.32 / ถ.พหลโยธิน ใน อ.บางปะอิน จ.อยุธยา
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 91 หรือ ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 เป็นโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายหลัก มีระยะทางยาว 303 กิโลเมตร ทางสายนี้เป็นโครงข่ายทางหลวงที่มีความสำคัญในการพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งกับพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก โดยการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดคับคั่งบนถนนกาญจนาภิเษก และในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล[2] ถนนสายนี้ได้รับการกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 2 และ ทางหลวงเอเชียสาย 123 โดยผ่าน 7 จังหวัดดังนี้[3]

พื้นที่เส้นทางที่ถนนพาดผ่าน

[แก้]
แขวง/ตำบล เขต/อำเภอ จังหวัด
ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3
ด้านเหนือ
ดอนตาล เมืองสุพรรณบุรี สุพรรณบุรี
หนองน้ำใหญ่ ผักไห่ พระนครศรีอยุธยา
อมฤต
ป่าโมก ป่าโมก อ่างทอง
บางปลากด
หันสัง บางปะหัน พระนครศรีอยุธยา
ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3
ด้านตะวันออก
หันสัง บางปะหัน พระนครศรีอยุธยา
ทางกลาง
ตาลเอน
บ้านขล้อ
แม่ลา นครหลวง
พระนอน
บ้านชุ้ง
ไผ่ล้อม ภาชี
ภาชี
โคกม่วง
ระโสม
โพธิ์สาวหาญ อุทัย
หนองแขม หนองแค สระบุรี
หันตะเภา วังน้อย พระนครศรีอยุธยา
สนับทึบ
วังจุฬา
บึงกาสาม หนองเสือ ปทุมธานี
บึงบา
บึงสนั่น ธัญบุรี
บึงทองหลาง ลำลูกกา
คลองสิบ หนองจอก กรุงเทพมหานคร
คู้ฝั่งเหนือ
โคกแฝด
ลำผักชี
ทับยาว ลาดกระบัง
ขุมทอง
บางเสาธง บางเสาธง สมุทรปราการ
ทางพิเศษวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3
ด้านใต้
บางเสาธง บางเสาธง สมุทรปราการ
บางเพรียง บางบ่อ
บางปลา บางพลี
แพรกษาใหม่ เมืองสมุทรปราการ
ท้ายบ้านใหม่
ท้ายบ้าน
แหลมฟ้าผ่า พระสมุทรเจดีย์
นาเกลือ
ท่าข้าม บางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
พันท้ายนรสิงห์ เมืองสมุทรสาคร สมุทรสาคร
โคกขาม
บางหญ้าแพรก
บางกระเจ้า
บ้านบ่อ
บางโทรัด
ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3
ด้านตะวันตก
บางโทรัด เมืองสมุทรสาคร สมุทรสาคร
หลักสาม บ้านแพ้ว
สามพราน นครปฐม
นครชัยศรี

รายละเอียดของเส้นทาง

[แก้]

ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 แบ่งออกเป็น 4 ส่วนต่อเนื่องกัน ได้แก่

  1. ด้านเหนือ (สุพรรณบุรี-ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ) ระยะทาง 68 กิโลเมตร
  2. ด้านตะวันออก
    1. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 - ถนนรังสิต-นครนายก ระยะทาง 70 กิโลเมตร
    2. ถนนรังสิต-นครนายก - ถนนเทพรัตน ระยะทาง 52 กิโลเมตร
  3. ด้านใต้ (ถนนเทพรัตน - ถนนพระรามที่ 2) ระยะทาง 78 กิโลเมตร [4]
  4. ด้านตะวันตก (ถนนพระรามที่ 2 - สุพรรณบุรี]) ระยะทาง 97 กิโลเมตร (เริ่มดำเนินการจากถนนพระรามที่ 2 - ทางหลวงพิเศษหมายเลข 81 ระยะทาง 30 กิโลเมตร เป็นส่วนแรก) [1] [4]

ด้านเหนือ

[แก้]

ช่วงสุพรรณบุรี - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32

[แก้]

จุดเริ่มต้นของแนวเส้นทางอยู่บริเวณตำบลดอนตาล อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี มุ่งหน้า ทางทิศตะวันออก ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 บริเวณตำบลหนองน้ำใหญ่ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และมุ่งหน้าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3454 และตัดข้ามแม่น้ำน้อย บริเวณตำบลอมฤต อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จากนั้นตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3501 และข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบล ป่าโมก อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง มุ่งหน้าต่อทางทิศตะวันออกตัดผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 309 ที่ตำบลบางปลากด อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง จากนั้นมุ่งหน้าสู่ทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือ จนไปสิ้นสุดที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ตำบลหันสัง อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ด้านตะวันออก

[แก้]

ช่วงทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 - ถนนรังสิต-นครนายก

[แก้]

จุดเริ่มต้นของแนวเส้นทางอยู่บริเวณทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ที่ตำบลหันสัง อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มุ่งหน้าสู่ทิศตะวันออกไปตัดกับถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 (บางปะหัน-เจ้าปลุก) แล้วมุ่งสู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้เล็กน้อยจนตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3013 (ทล.347-นครหลวง) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3467 (นครหลวง-ท่าเรือ) และตัดข้ามแม่น้ำป่าสัก บริเวณ ตำบลแม่ลา อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และมุ่งหน้าสู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ตัดกับ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2008 (ทล.33-บ้านปากแรด) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 5026 (ทช.3008-บ้านตลาด) ก่อนที่ แนวเส้นทางจะเบี่ยงลงใต้เล็กน้อยและตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33(บางปะหัน-โคกแดง) ที่ตำบลภาชี อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มุ่งหน้าต่อทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตัดผ่าน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3027 (ทล.329-บ้านดอนข่อย) และหมายเลข 3012 (บ้านชายสิงห์-บ้านท่าหิน) ก่อนจะเปลี่ยนทิศทางไปยังทิศ ใต้เล็กน้อยและตัดกับถนนทางหลวงหมายเลข 3043 (อุทัย-หนองตาโล่) และทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 ที่ตำบลโพธิ์สาวหาญ อำเภออุทัย และมุ่งหน้าสู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้เข้าสู่ จังหวัดสระบุรี ผ่านอำเภอหนองแค และเข้าสู่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอีกครั้งที่ อำเภอวังน้อย ก่อนตัด กับถนนพหลโยธิน (ต่างระดับบางปะอิน-หนองแค) ที่ตำบลสนับทึบ อำเภอวังน้อย จากนั้นมุ่ง หน้าสู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้เข้าสู่ จังหวัดปทุมธานี ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1021 (ทล.1-ทล.3261) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3261 (คลอง 10-หนองเสือ) ก่อนที่จะเปลี่ยนทิศทางไปทางทิศใต้ จนไปสิ้นสุดแนวเส้นทางที่ถนนรังสิต-นครนายก ที่ตำบลบึงสนั่น อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี

ช่วงถนนรังสิต-นครนายก - ถนนเทพรัตน

[แก้]

จุดเริ่มอยู่บริเวณถนนรังสิต-นครนายก ที่ตำบลบึงสนั่น อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี มุ่งหน้าสู่ทิศใต้จนตัดกับถนนลำลูกกา (ลำลูกกา-คลอง16) และมุ่งหน้าสู่ทิศใต้เข้าสู่ กรุงเทพมหานคร ตัดผ่านถนนมิตรไมตรีและถนนเลียบวารี บริเวณแขวงคู้ฝั่งเหนือ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร แล้วมุ่งหน้าสู่ทิศใต้ค่อนไปทางทิศตะวันออก เล็กน้อยตัดถนนทางหลวงหมายเลข 304 (แยกเข้ามีนบุรี-คลองหลวงแพ่ง) และตัดผ่านถนนฉลองกรุง จากนั้นมุ่งหน้าลงทิศใต้ค่อนไปทางตะวันออกผ่านเขตหนองจอก ก่อนแนวเส้นทางจะเปลี่ยนไปทางทิศใต้ บริเวณแขวงขุมทอง เขตลาดกระบัง และมาตัดกับถนนหลวงแพ่ง ก่อนเข้าสู่ จังหวัดสมุทรปราการ และ เข้าตัดกับถนนทางหลวงหมายเลข 7 (แขวงคลองสองต้นนุ่น-พิมพา) ที่ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ จากนั้นมุ่งหน้าสู่ทางทิศใต้ จนไปสิ้นสุดแนวเส้นทางที่ถนนทางหลวงหมายเลข 34 (ทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-บางวัว) ที่ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ โดยเส้นทางในช่วงนี้จะสร้างในรูปแบบสะพานบกทั้งหมด เนื่องจากก่อสร้างบนพื้นที่ลุ่มดินเหนียว[5]

ด้านใต้

[แก้]

ถนนเทพรัตน - ถนนพระรามที่ 2

[แก้]

จุดเริ่มต้นของแนวเส้นทางอยู่บริเวณถนนเทพรัตน (ทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-บางวัว) ที่ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ โดยแนวเส้นทางมุ่งหน้าไปทางทิศใต้ตัดกับ ทางหลวงหมายเลข 3268 (บางพลี-บางบ่อ) จากนั้นแนวเส้นทางเข้าสู่เขตพื้นที่ อำเภอบางบ่อ ตำบลบางเพรียง แล้วเปลี่ยนทิศทางไปทางทิศตะวันตก เข้าสู่เขตพื้นที่ อำเภอบางพลี ที่ตำบลบางปลา แนวเส้นทางตัดกับทางหลวงหมายเลข 3256 (บางปู-บางพลี) ที่ตำบลบางปลา จากนั้นแนวเส้นทางเข้าสู่อำเภอเมืองสมุทรปราการ โดยแนวเส้นทางมุ่งขนานกับถนนท้องถิ่น สป.ก. 16-001 (ถนนแพรกษา) ที่ตำบลแพรกษาใหม่ แนวเส้นทางเบี่ยงไปมุ่งหน้าทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ผ่านตำบลแพรกษา จากนั้น แนวเส้นทางตัดกับทางหลวงหมายเลข 3 (แบริ่ง-ท้ายบ้าน) ที่ตำบลท้ายบ้านใหม่ แนวเส้นทางเบี่ยงไป ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ก่อนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ตำบลท้ายบ้าน แนวเส้นทางมุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เข้าสู่อำเภอพระสมุทรเจดีย์ โดยแนวเส้นทางขนานกับทางหลวงหมาย 3243 (ทางเข้าวัดแหลมฟ้าผ่า) ผ่านตำบลแหลมฟ้าผ่า ตำบลนาเกลือ จากนั้นแนวเส้นทางผ่านแขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร แนวเส้นทางเข้าสู่อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร โดยแนวเส้นทางผ่าน ตำบลพันท้ายนรสิงห์ ตำบลโคกขาม ตำบลบางหญ้าแพรก และข้ามแม่น้ำท่าจีน ผ่านตำบลท่าจีน ตำบลบางกระเจ้า ตำบลบ้านบ่อ จากนั้นแนวเส้นทางเบี่ยงมุ่งสู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ที่ตำบลบางโทรัด และสิ้นสุดเส้นทางที่แนวเส้นทางที่ทางหลวงหมายเลข 35 (สะพานข้ามแม่น้ำท่าจีนฝั่งตะวันตก-นาโคก) ที่ตำบลบางโทรัด อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

ด้านตะวันตก

[แก้]

ช่วงถนนพระรามที่ 2 - สุพรรณบุรี

[แก้]

จุดเริ่มต้นของแนวเส้นทาง อยู่บริเวณถนนพระรามที่ 2 (ดาวคะนอง-วังมะนาว) ที่ตำบลบางโทรัด อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร มุ่งหน้าไปยังทิศตะวันตกเฉียงเหนือผ่านคลองท่าแร้ง ก่อนที่แนวเส้นทางจะเปลี่ยนไปทางทิศเหนือตัดกับถนนทางหลวงหมายเลข 375 (บ้านบ่อ-ลำลูกบัว) ที่ตำบลหลักสาม อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร มุ่งหน้าต่อไปทางทิศเหนือ ตัดกับถนนทางหลวงชนบทหมายเลข สค. 3011 (บ้านแพ้ว-กระทุ่มแบน) ตำบลหลักสาม อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร จากนั้นมุ่งหน้าต่อเข้าสู่ จังหวัดนครปฐม ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 1037 (ถนนคลองทางหลวง) จนไปสิ้นสุดที่บริเวณแนวเส้นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายเชียงราย-นราธิวาส MR1 ช่วงนครปฐม-สุพรรณบุรี ที่ตำบลบางระกำ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "เวนคืนถนนวงแหวนใหม่ เชื่อม 7 จังหวัด-ผ่าม.พฤกษา". ประชาชาติธุรกิจ. 2021-06-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-03. สืบค้นเมื่อ 2020-06-14.
  2. http://www.ring3west.com/ เก็บถาวร 2018-08-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สาย วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ด้านตะวันตก
  3. https://www.outerring3east.com/ เก็บถาวร 2019-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โครงการสำรวจและออกแบบรายละเอียดถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3
  4. 4.0 4.1 เส้นทาง MR10 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 เก็บถาวร 2022-02-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , แผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง
  5. รายละเอียดมอเตอร์เวย์ วงแหวนกรุงเทพ รอบที่ 3 (M91) ด้านตะวันออก ช่วง ธัญบุรี จากถนน รังสิต-นครนายก (ทล. 305) - บางพลี ถนนบางนา-ตราด (ทล. 34) , โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure